ถ้า "พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นที่ไทย" ทำไมไม่มีร่องรอยของศาสนาเชน

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เอกอิสโร, 4 มกราคม 2013.

  1. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เนื่องจาก เคยมีเพื่อนสมาชิก ทั้งใน Palungjit และ Pantip เคยถาม เกี่ยวกับ ร่องรอย หรือหลักฐานของศาสนาเชน ในเมืองไทย ถ้า ศาสนาพุทธเกิดที่เมืองไทย เพราะคนทั้งหลาย ถูกทำให้เชื่อว่า ศาสนาเชนและศาสนาพุทธ เกิดขึ้นในเวลาไล่ๆ กัน เกิดคู่กันในชมพูทวีป มีศาสดา คือ "ท่านนิครนถ์นาถบุตร" ที่ปราหฏอยู่ใน พระไตรปิฎกและอรรถกถา ของฝ่ายพุทธเถรวาท ผมจึงขอ แสดงทัศนะของผม ดังนี้


    เรียน คุณ BlueDelphi

    ที่ว่า....ถ้าสมมุติฐานของ จขทก. ถูกต้อง...
    สภาพแวดล้อม ทางโบราณคดี วัตถุต่างๆตั้งแต่สมัยที่ยังแยกกันอยู่เป็นเมืองต่างๆ
    ทั้งในเขตประเทศไทยปัจจุบัน และประเทศเพื่อนบ้าน ก็ควรหลงเหลือส่วนของ ศาสนาเชนด้วย
    ...

    ผมขอ อนุญาตยก คำตอบ ข้อสงสัย เรื่อง ทำไมไม่มีร่องรอยของศาสนาเชน ใน ประเทศไทย ถ้าศาสนาพุทธเกิดขึ้นที่เมืองไทย ที่เคยตอบ คุณ ท่าน dhammashare ดังนี้

    เรียน ท่าน dhammashare

    จาก คคห. ที่ว่า

    "ผมได้ตั้งข้อสังเกตง่ายๆไปในกระทู้นั้น
    เรื่องนักบวชเชน (เปลือยกาย) ทำไมไม่มีอยู่ในเมืองไทยเลย
    และไม่เคยมีประวัติว่ามีด้วย ทั้งๆ ที่เป็นคู่แข่งสำคัญของพุทธศาสนา
    แต่ยังสืบทอดอยู่ที่ประเทศอินเดียจนถึงปัจจุบัน"


    ผมก็จะขออธิบาย ตามความเข้าใจ เป็นดังนี้

    1. ในพระไตรปิฎก และอรรถกถา ไม่มีการกล่าว ถึง นักบวช "เชน" ไม่มีคำว่า ศาสนา "เชน" หรือ แม้แต่ เรื่องราวของท่าน "ศาสดามหาวีระ" ที่เป็น เจ้าศาสดา ของ ศาสนาเชน

    2. มีแต่นักประวัติศาสตร์ นักการศาสนา สมัยเมื่อไม่นาน ที่ไป สรุปเอาเองว่า "ท่านนิครนถ์นาถบุตร" คือ "ศาสดามหาวีระ" และเป็น ศาสดาของศาสนาเชน ที่อินเดีย

    3.เพราะฉะนั้น ในประเทศไทย จึงไม่มีเรื่องราวของท่าน "ศาสดามหาวีระ" หรือ เรื่องราวของ "ศาสนาเชน" เพราะ "ศาสนาเชนในอินเดีย" ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา หรือพระพุทธเจ้าของเรา เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล เพราะ เกิดขึ้นคนละที่ ศาสนาเชนเกิดขึ้นที่อินเดียปัจจุบัน แต่ศาสนาพุทธเกิดที่ประเทศไทยปัจจุบัน

    4. ถ้าศาสนาพุทธเกิดขึ้นในประเทศไทยปัจจุบันจริง ลัทธิของท่านนิครนถ์นาถบุตร (ที่นักการศาสนาและนักประวัติศาสตร์ ขโมยประวัติของท่านไปเป็นประวัติของศาสดามหาวีระ) ทำไมจึงไม่ปรากฏหลงเหลือหลักฐาน ร่องรอย ในประเทศไทย? คำถามนี้ น่าจะถามและตอบมากกว่า

    4.1 ในสมัยพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้าของเรา ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ มีลูกศิษย์ของท่านนิครนฐ์นาถบุตร ได้เคย โต้ตอบปัญหากับพระพุทธองค์ และที่สุด ครั้งนั้น สัจจกนิครนถ์ผู้นิคันถบุตร ได้ชื่นชม อนุโมทนา พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังปรากฏใน มหาสัจจกสูตร ความว่า



    สัจจกนิครนถ์ทูลถามปัญหา

    [๔๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี. ก็สมัย
    นั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งดีแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรมีพระพุทธประสงค์จะเสด็จเข้าไป
    เพื่อบิณฑบาตในเมืองเวสาลี เวลานั้น สัจจกนิครนถ์ ผู้เป็นนิคันถบุตร เมื่อเที่ยวเดินเพื่อยืด
    แข้งขา ได้เข้าไปที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน. ท่านพระอานนท์ได้เห็นสัจจกนิครนถ์กำลังเดินมาแต่
    ไกล ครั้นแล้วจึงทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัจจกนิครนถ์นี้เป็นนักโต้ตอบ
    พูดยกตนว่าเป็นนักปราชญ์ ชนเป็นอันมากยอมยกว่าเป็นผู้มีความรู้ดี เขาปรารถนาจะติเตียน
    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค
    ทรงพระกรุณาประทับอยู่สักครู่หนึ่งเถิด.
    พระผู้มีพระภาคจึงประทับอยู่บนอาสนะที่เขาปูถวาย. ขณะนั้น สัจจกนิครนถ์เข้าไปถึงที่
    พระผู้มีพระภาคประทับ ครั้นแล้วทูลปราศรัยกับพระองค์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
    ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

    ฯลฯ

    สัจจกนิครนถ์สรรเสริญพระผู้มีพระภาค
    [๔๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกนิครนถ์ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    พระโคดมผู้เจริญ เรื่องที่ท่านกล่าวมานั้น น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี พระโคดมผู้เจริญ อันข้าพเจ้า
    มาสนทนากระทบกระทั่ง ทั้งไต่ถามด้วยถ้อยคำที่ปรุงแต่งมาอย่างนี้ก็มีผิวพรรณสดใส ทั้งมีสีหน้า
    เปล่งปลั่ง เพราะท่านเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าจำได้ว่า ข้าพเจ้า
    เป็นผู้ปรารภโต้ตอบวาทะกะท่านปูรณะ กัสสป แม้ท่านปูรณะ กัสสปนั้น ปรารภโต้ตอบวาทะ
    กับข้าพเจ้า ก็เอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสีย และชักนำให้พูดนอกเรื่อง ทั้งทำความโกรธเคือง
    ขัดแค้นให้ปรากฏ พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าจำได้ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ปรารภโต้ตอบวาทะกะท่าน
    มักขลิ โคศาล ... ท่านอชิตะ เกสกัมพล ... ท่านปกุธะกัจจายนะ ... ท่านสัญชัย เวลัฏฐบุตร ... ท่าน
    นิครนถ์ นาฏบุตร แม้ท่านนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น ปรารภโต้ตอบวาทะกับข้าพเจ้า ก็เอาเรื่องอื่นมา
    พูดกลบเกลื่อนเสียและชักนำให้พูดนอกเรื่อง ทั้งทำความโกรธเคืองขัดแค้นให้ปรากฏ ส่วนพระ
    โคดมผู้เจริญอันข้าพเจ้ามาสนทนากระทบกระทั่ง ทั้งไต่ถามด้วยถ้อยคำที่ปรุงแต่งมาอย่างนี้ ก็มีผิว
    พรรณสดใส ทั้งมีสีหน้าเปล่งปลั่ง เพราะท่านเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโคดมผู้เจริญ
    มิฉะนั้น ข้าพเจ้าขอลาไปในบัดนี้ ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่ต้องทำมาก.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ท่านจงสำคัญกาลที่ควรในบัดนี้เถิด.
    ครั้งนั้น สัจจกนิครนถ์ผู้นิคันถบุตร ชื่นชม อนุโมทนา พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
    ลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป ดังนี้แล.


    4.2 ภายหลัง เมื่อท่านสัจจกนิครนถ์ ถึงแก่ความตาย พระพุทธเจ้าของเรา ได้พยากรณ์ว่า ท่านจะได้ กลับมาเกิด และบรรลุความเป็นพระอรหันต์ที่ลังกาทวีป ดังนั้น สานุศิษย์ของท่าน ที่ไม่ได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนาหลังจากการตายของท่าน และหากจะยังมีหลงเหลืออยู่อีก ก็คงจะได้รับการสงเคราะห์จากท่าน ในอีก 200 กว่าปีต่อมา ดังนั้น เมื่อผ่านมา 2,500 กว่าปี คงจะไม่มีหลงเหลือให้เราได้เห็นแล้วหล่ะ ดังปรากฏใน อรรถกถามหาสัจจกสูตรที่ ๖ เล่ม ๑๙ อรรถาถา พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ความว่า


    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ๒ พระสูตรนี้ แก่
    นิครนถ์นี้. พระสูตรต้นมีภาณวารเดียว พระสูตรนี้ มีภาณวารครึ่ง ถาม
    ว่า นิครนถ์นี้ แม้ฟัง ๒ ภาณวาร ครึ่งแล้ว ยังไม่บรรลุธรรมาภิสมัย ยัง
    ไม่บวช ยังไม่ตั้งอยู่ในสรณะ ดังนี้แล้ว เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาค
    เจ้า จึงทรงแสดงธรรมแก่เขาอีก ตอบว่า เพื่อเป็นวาสนาในอนาคต. จริง
    อยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า บัดนี้อุปนิสัยของนิครนถ์นี้ ยังไม่มี
    แต่เมื่อเราปรินิพพานล่วงไปได้ ๒๐๐ ปีเศษ ศาสนาจักประดิษฐานอยู่ตัมพปัณณิทวีป
    นิครนถ์นี้จักเกิดในเรือนมีสกุลในตัมพปัณณิทวีปนั้น บวชในเวลาถึงพร้อมแล้ว
    เรียนพระไตรปิฏก เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
    เป็นพระมหาขีณาสพ ชื่อว่า กาลพุทธรักขิต
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเหตุนี้ จึงทรงแสดงธรรมเพื่อเป็นวาสนาในอนาคต.

    เมื่อพระศาสนาประดิษฐานในตัมพปัณณิทวีปนั้น สัจจกะแม้นั้น
    เคลื่อนจากเทวโลกเกิดในสกุลแห่งอำมาตย์ สกุลหนึ่ง. ในบ้านสำหรับภิกขา
    จารแห่งทักษิณาคิริวิหาร บรรพชาในเวลาเป็นหนุ่ม สามารถบรรพชา
    ได้เรียนพระไตรปิฏก คือ พระพุทธพจน์ บริหารคณะหมู่ภิกษุเป็นอันมาก
    แวดล้อมไปเพื่อจะเยี่ยมพระอุปัชฌาย์ ลำดับนั้น อุปัชฌาย์ของเธอคิดว่า
    เราจักท้วงสัทธิวิหารริก จึงบุ้ยปากกับภิกษุนั้น ผู้เรียนพระไตรปิฏกคือพระ
    พุทธพจน์มาแล้ว ไม่ได้กระทำสักว่าการพูด ภิกษุนั้นลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง
    ไปสำนักพระเถระ ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อกระผมทำคันถกรรมมาสำ
    นักของท่าน เพราะเหตุไร ท่านจึงบุ้ยปาก ไม่พูดด้วย กระผมมีโทษอะไร
    หรือ. พระเถระกล่าวว่า ท่านพุทธรักขิต ท่านทำความสำคัญว่า ชื่อว่า
    บรรพชากิจของเราถึงที่สุดแล้ว ด้วยคันถกรรมประมาณเท่านี้หรือ ท่านพุทธ
    รักขิต. กระผมจะทำอะไรเล่าขอรับ. พระเถระกล่าวว่า เธอจงละคณะตัด
    ปปัญจธรรมไปสู่เจติยบรรพตวิหาร กระทำสมณธรรมเถิด. ท่านตั้งอยู่ใน
    โอวาทของพระอุปัชฌาย์กระทำอย่างนั้น จึงบรรลุพระอรหัตต์พร้อมด้วย
    ปฏิสัมภิทา
    เป็นผู้มีบุญ พระราชาทรงบูชา มีหมู่ภิกษุเป็นอันมาก
    เป็นบริวารอยู่ในเจติยบรรพตวิหาร.


    4.3 ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ และท่านนิครนถ์นาถบุตร เสียชีวิตไปก่อน ได้เกิดการทะเลาะและแตกแยกในหมู่ศิษย์ ดังปรากฏใน อรรถกถา ปาสาทิกสูตร ดังนี้

    ว่าด้วยสาวกนิครณฐ์แตกกัน
    [๙๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทในสวนอัมพวันของพวก ศากยะ มีนามว่า
    เวธัญญา ในสักกชนบท ก็สมัยนั้นแล นิครณฐ์นาฏบุตร ทำกาละแล้วที่เมืองปาวาไม่นานนัก
    เพราะกาลกิริยาของนิครณฐ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครณฐ์แตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก เกิดบาด
    หมางกัน เกิดทะเลาะวิวาทกัน ขึ้น เสียดแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรม
    วินัยนี้ ข้าพเจ้า รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ทั่วธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้า
    ปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควร จะกล่าวก่อน
    ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผัน
    แปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้า ข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย
    มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ คงมีแต่ ความตายเท่านั้น จะเป็นไปในพวกสาวกของนิครณฐ์
    นาฏบุตร พวกสาวกของ นิครณฐ์นาฏบุตรแม้เหล่าใด ที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว พวกสาวก
    แม้เหล่านั้น มีอาการเบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอย ในพวกสาวกของนิครณฐ์นาฏบุตร
    โดยเหตุที่ธรรมวินัยอันนิครณฐ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรม ที่จะนำผู้
    ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่าน ผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ
    ประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งพาอาศัย ฯ
    [๙๕] ครั้งนั้น สามเณรจุนทะอยู่จำพรรษาในเมืองปาวา ได้เข้าไปหา ท่านพระอานนท์ซึ่ง
    อยู่ในสามคาม ครั้นกราบไหว้ท่านพระอานนท์แล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้
    กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครณฐ์นาฏบุตร ทำกาละแล้วที่เมืองปาวาไม่นาน
    นัก เพราะกาลกิริยาของนิครณฐ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครณฐ์แตกกันแล้ว เกิดแยกกันเป็นสอง
    พวก ฯลฯ โดยเหตุ ที่ธรรมวินัยอันนิครณฐ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรม
    วินัยที่ จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่ ท่านผู้
    เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่
    พึ่งพาอาศัย ฯ

    เมื่อสามเณรจุนทะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะสามเณรจุนทะว่า อาวุโส
    จุนทะ มีมูลเหตุแห่งถ้อยคำนี้ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าละ อาวุโส จุนทะ มาเถิด เราจักเข้า
    ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว พึงทูลบอกเรื่องนี้ แด่พระผู้มีพระภาค สามเณร
    จุนทะรับคำของท่านพระอานนท์ แล้ว
    ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์และสามเณรจุนทะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
    ประทับ ครั้นแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
    ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สามเณรจุนทะนี้ ได้บอก
    อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครณฐ์นาฏ บุตรทำกาละแล้วที่เมืองปาวาไม่นานนัก เพราะกาล
    กิริยาของนิครณฐ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครณฐ์นาฏบุตรแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก ฯลฯ
    โดยเหตุที่ธรรมวินัย อันนิครณฐ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำ
    ผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็น สัมมาสัม
    พุทธะประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งพาอาศัย
    ดังนี้ ฯ

    เท่านี้ คุณ dhammashare คงจะตอบข้อสังเกต ของคุณที่ว่า


    "ผมได้ตั้งข้อสังเกตง่ายๆไปในกระทู้นั้น
    เรื่องนักบวชเชน (เปลือยกาย) ทำไมไม่มีอยู่ในเมืองไทยเลย
    และไม่เคยมีประวัติว่ามีด้วย ทั้งๆ ที่เป็นคู่แข่งสำคัญของพุทธศาสนา
    แต่ยังสืบทอดอยู่ที่ประเทศอินเดียจนถึงปัจจุบัน"

    ได้หรือยัง?

    ผมจะสรุปสุดท้าย ให้คุณ BlueDelphi ก็คือ ในทัศนะของผม...

    ศาสนาเชน เกิด อยู่ที่ อินเดีย จึงเหลืออยู่ที่อินเดีย

    แต่

    ศาสนาพุทธ เกิด อยู่ที่ ไทย จึงเหลืออยู่ที่ ไทย

    เราจะให้ฝรั่งหลอกไปอีกนานแค่ไหนครับ?

    ตื่นเถิดเหล่าพุทธะทั้งหลาย จงมาเป็น
    ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานกันเถิด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...