ที่มาคำว่า สีกา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย titawan, 21 มิถุนายน 2009.

  1. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    ทำไมพระเรียกผู้หญิงว่า "สีกา"

    หากเราสงสัยกันว่า ทำไมพระท่านถึงเรียกผู้หญิงว่าสีกา เป็นสีอื่นไม่ได้เหรอ มีคำตอบให้ว่า
    เป็นสีอื่นไม่ได้หรอก ต้องเป็นสีกานั่นแหละ เพราะคำนี้ตัดมาจากคำว่า อุบาสิกา ซึ่งเป็นคำที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้หญิงที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง คำ อุบาสิกา คงจะยาว เรียกไม่สะดวกปาก จึงถูกตัดเหลือเพียง “สิกา” แล้วกลายเป็น “สีกา” ในที่สุด

    เมื่อมีอุบาสิกาแล้วก็ต้องมีอุบาสก ซึ่งหมายถึงชายผู้แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา เรียกอย่างสั้นว่า “ประสก”

    อุบาสิกาจึงคู่กับอุบาสก และสีกาก็คู่กับประสก


    “ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”
     
  2. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    โยม
    ความหมาย

    น. คําที่พระสงฆ์ใช้เรียกบิดามารดาของตนหรือเรียกผู้ใหญ่รุ่นราวคราวเดียวกับบิดามารดา
    เช่น โยมพ่อ โยมแม่ โยมย่า โยมยาย โยมน้า; เป็นคําใช้แทนชื่อบิดามารดาของพระภิกษุสามเณร;
    เรียกผู้ที่เป็นบิดามารดาของพระว่า โยมพระ; เรียกผู้ที่แสดงตนเป็นผู้อุปการะพระภิกษุสามเณรโดยเจาะจงว่า
    โยมอุปัฏฐาก; เรียกฆราวาสที่อยู่ปฏิบัติรับใช้พระภิกษุสามเณรในวัดว่า
    โยมวัด; เรียกฆราวาสผู้อุปการะพระทั่ว ๆ ไป ว่า โยมสงฆ์.

    อีกนัยหนึ่ง

    โยม
    คำแปล

    น. คำที่พระสงฆ์เรียกบิดามารดาของท่านหรือ เรียกผู้ใหญ่ผู้มีอายุเสมอบิดามารดา.

    พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร


    การที่พระเรียกฆราวาสว่าโยม กับการที่ฝ่ายฆราวาสเรียกตนเองว่าโยมนี้ ก็ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นในยุคของเรา
    ตามหลักฐานในประวัติศาสตร์ ทั้งพระมหาอุปราชา ทั้งพระเจ้ากรุงธนบุรี
    ต่างก็แทนตนเองว่าโยมเมื่อตรัสกะพระสงฆ์องค์เจ้าในสมัยนั้นเช่นกัน




    พระพุทธองค์ทรงบัญญัติคำเหล่านี้ใช้เอง ด้วยนะ
    เช่น คำว่า คุณ นี้มาจากภาษาบาลีซึ่งแปลมาจากคำว่า อาวุโส ซึ่งหมายถึงท่านผู้มีอายุ
    (ซึ่งใช้เรียกผู้ที่มีพรรษาหรืออายุน้อยกว่า)
    ฉะนั้น โดยสรุปก่อนว่า พระท่านจะเรียกญาติโยม ๒ อย่างคือ
    1. โยม(กับผู้ที่ให้ความเคารพหรือให้เกียรติ์ หรือ
    2. คุณ(เพื่อให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติและแสดงความใกล้ชิดสนิทกัน) ก็ได้

    ซึ่ง ตามหลักของพระวินัย พระพุทธองค์ทรงบัญญัติคำเหล่านี้ขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความเป็นพี่เป็นน้องกัน
    และสำหรับการใช้กับญาติโยม เช่น คำว่า คุณ เป็นต้น ก่อนที่จะเรียกชื่อจริงตามมา เช่น คุณปูเป้ เป็นต้น

    ก็ให้ประโยชน์ ๒ ด้าน คือ
    ๑. ในด้านของพระภิกษุจะได้เตือนตนเองว่า ตนเองเป็นพระนะ จะได้ระมัดระวังการแสดงออก
    เพราะบางครั้งการเรียกชื่อโดยตรงเหมือนความเคยชินในอดีตนั้น (โดยไม่มีคุณนำหน้า) ทำให้ลืมตัวได้เหมือนกัน
    ๒. คือ ใช้สำหรับเตือนญาติโยมคฤหัสถ์ด้วยว่า คุณกำลังสนทนากับพระนะ ไม่ใช่เพื่อนอย่างสมัยก่อนแล้ว
    (ที่อาจจะลืมตัว มาเล่นศีรษะก็ได้) คำว่า คุณ นี้จึงมีประโยชน์มาก เพื่อแยกความรู้สึกให้เกิดความรู้สึกต่างออกไป
     
  3. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    'ความจงใจควา: พูดถึงการเรียกถึงตัวเองกับพระหรือพระเรียกฆารวาส ใช้ว่าอย่างไรบ้างเจ้าค่ะ เช่น พระจะเรียกตัวเองว่าอัตมา พระเรียกฆารวาสโยม แล้วฆารวาสเรียกตัวเองอย่างไรเจ้าคะ

    พระปิยะลักษณ์: ที่คุณถามเรื่องการใช้ศัพพนามนั้น พระเรียกตนเองว่า อาตมา โดยมาก แปลว่า ฉัน (มาจากคำว่า อตฺตา แปลว่า ตน) ส่วนการเรียกญาติโยมโดยมากเรียกว่า โยม หรือ คุณ แล้วตามด้วยชื่อก็ได้นะ

    ป้านพ ค่ะ: เช่นโยมป้านพ ใช่ไหมเจ้าคะ

    แต่ถ้าเป็นญาติโยมเรียกตัวเอง จะเรียกว่า โยม ก็ได้นะเป็นคำพื้นๆ แม้จะไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริงนัก (เพราะคนส่วนมากเรียกตัวเองว่า โยม ตามพระที่เรียกมา)
    โยมป้านพ ก็ใช้ได้จ๊ะ หรือจะใช้ว่า ดิฉัน ก็ได้

    แล้วเรียกตัวเองด้วยชื่อเล่นเลย เหมาะสมไม๊เจ้าคะ

    อ๋อ ก็ใช้ได้ ส่วนมากใช้ในกรณีที่เราเด็กกว่าพระท่านมากสักหน่อย เช่น ๓ ปีขึ้นไป
    คืออย่างนี้นะ อาตมาขอขยายความการใช้ศัพพนามนิดนึงนะ
    ความจริงแล้วตามหลักแท้ๆ นะ ถ้าคุณเป็นบิดามารดาของพระท่านเท่านั้น จึงเรียกตนเองว่าโยม หรือโยมพ่อ-โยมแม่ เพราะคำว่า โยม แปลว่า พ่อและแม่ (parent) เท่านั้น
    ซึ่งแต่เดิมพระท่านจะเรียกพ่อหรือแม่ของท่านว่า โยม หรือบางครั้งก็เรียกโดยอนุโลมเอาว่า ลุง ป้า น้า อา ที่เคารพนับถือว่า โยมลุง โยมป้า เป็นต้น ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ในฐานะที่เคารพเสมอด้วยพ่อแม่

    แล้วคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติล่ะเจ้าคะ

    แต่ที่นี้บางครั้งพระท่านก็ไพร่ไปเรียกคนอื่นๆ ที่มิใช่ญาติผู้ใหญ่ของตนว่า โยม ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะว่าเรียกโดยเป็นการแสดงออกถึงความเคารพที่มีให้ หรือเป็นการให้เกียรติ์นั่นเอง ซึ่งก็เลยถือเอาว่าใช้ทั่วไปกับคนที่พระท่านให้ความเคารพหรือให้ความสำคัญ

    อ๋อ เจ้าค่ะ แล้วจริงๆมีคำอื่นใช้เรียกหรือเปล่าเจ้าคะ

    ตอนนี้พระรุ่นหลังๆ บางครั้งก็ไม่รู้ทำเนียมนี้ ก็เลยเจอใครก็เรียกว่าโยมไปเสียหมด ก็เลยติดกันทั้งประเทศ เอ๋ย! ติดใช้คำนี้กันทั้งคณะสงฆ์ โดยบางครั้งก็เรียกรวมว่า ญาติโยมทั้งหลาย เป็นต้น

    ใช่แล้ว ญาติโยมกันทั้งประเทศเลย

    เดี๋ยวนะ ก่อนจะตอบคำถามของคุณ.... อาศัยว่าในปัจจุบันใช้กันว่า ญาติโยม ทั่วไปหมด ก็เลยต้องเลยตามเลย เพราะเป็นที่นิยมกันแล้ว ซึ่งคุณก็ใช้เรียกตัวเองว่าโยมได้นะ เพราะได้รับการยอมรับทั่วไปว่าใช้ได้
    แต่จริงๆ แล้ว ตามหลักวิชาทางภาษา พระท่านจะเรียกคนที่เป็นคฤหัสถ์ที่มีอายุใกล้เคียงกันตน หรือมีอายุน้อยกว่าตนว่า คุณ เป็นคำสามัญที่ถูกต้อง แล้วคุณเองก็อาจเรียกตนเองว่า ดิฉัน หรือ ใช้ชื่อจริงของตนเลยก็ได้นะ เช่น เป้เจ้าค่ะ ป้านพเจ้าค่ะ หรือถ้าเป็นผู้ชาย ก็เรียกตนเองว่า ผม ก็ได้

    เจ้าค่ะ งั้นตอนนี้ก็เหมาะสมแล้ว

    ตอนนี้อยากจะอธิบายสักเล็กน้อย พระพุทธองค์ทรงบัญญัติคำเหล่านี้ใช้เองด้วยนะ เช่น คำว่า คุณ นี้มาจากภาษาบาลีซึ่งแปลมาจากคำว่า อาวุโส ซึ่งหมายถึงท่านผู้มีอายุ (ซึ่งใช้เรียกผู้ที่มีพรรษาหรืออายุน้อยกว่า)
    ฉะนั้นโดยสรุปก่อนว่า พระท่านจะเรียกญาติโยม ๒ อย่างคือ โยม(กับผู้ที่ให้ความเคารพหรือให้เกียรติ์ หรือคุณ(เพื่อให้ถูกต้องตามพุทธบัญญํติและแสดงความใกล้ชิดสนิทกัน) ก็ได้

    ซึ่งตามหลักของพระวินัย พระพุทธองค์ทรงบัญญัติคำเหล่านี้ขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความเป็นพี่เป็นน้องกัน และสำหรับการใช้กับญาติโยม เช่น คำว่า คุณ เป็นต้น ก่อนที่จะเรียกชื่อจริงตามมา เช่น คุณปูเป้ เป็นต้น ก็ให้ประโยชน์ ๒ ด้าน คือ ๑. ในด้านของพระภิกษุจะได้เตือนตนเองว่า ตนเองเป็นพระนะ จะได้ระมัดระวังการแสดงออก เพราะบางครั้งการเรียกชื่อโดยตรงเหมือนความเคยชินในอดีตนั้น (โดยไม่มีคุณนำหน้า) ทำให้ลืมตัวได้เหมือนกัน

    เจ้าค่ะ ก็เหมือนกับที่เราเรียกกัน ถ้าไม่มีคุณ

    และ ๒. คือ ใช้สำหรับเตือนญาติโยมคฤหัสถ์ด้วยว่า คุณกำลังสนทนากับพระนะ ไม่ใช่เพื่อนอย่างสมัยก่อนแล้ว (ที่อาจจะลืมตัว มาเล่นศีรษะก็ได้) คำว่า คุณ นี้จึงมีประโยชน์มาก เพื่อแยกความรู้สึกให้เกิดความรู้สึกต่างออกไป

    เจ้าค่ะ

    ตอนนี้จะขอพูดถึงส่วนของคุณฯ บ้างนะ ในการเรียกพระภิกษุ ถ้าว่าตามพระวินัยจะใช้คำว่า ท่าน หรืออาจประกอบด้วยชื่อพระท่านตามท้ายก็ได้ ซึ่งคำว่า ท่าน แปลมาจากคำบาลีว่า อายัสมา ซึ่งแปลแบบโบราณว่า ท่านผู้เจริญ ใช้เรียกคนที่มีอายุมากกว่าเรา เช่น ญาติโยมเรียกพระด้วยความเคารพ เพราะมีอายุมากกว่า หรือมีศีลเหนือกว่า

    เรียกท่านปิยะลักษณ์ก็ถูกแล้วใช่ไหมเจ้าคะ

    จ๊ะ
    ตอนนี้อย่างพระเรียกกันบ้างนะ (ถือว่าเป็นเกร็ด) คือ พระท่านจะเรียกพระที่มีพรรษามากกว่าว่า ท่าน... และเรียกพระที่มีพรรษาน้อยตนว่า คุณ... (อันนี้ตามวินัยนะ) แต่ความเป็นจริงเพราะอาศัยการให้เกียรติ์ซึ่งกันและกัน จึงต่างก็เรียกกันและกันว่า ท่าน ก็ได้

    ภาษาไทยนี่มาจากคำในพุทธศาสนาทั้งนั้นเลย

    คำว่า หลวงพี่ หลวงพ่อ หลวงปู่ นี้ เป็นคำเรียกเฉพาะในสังคมไทยเท่านั้น เนื่องจากเรานิยมเรียกผู้ที่เราให้ความเคารพสูงสุดว่า หลวง เช่น คำว่า ในหลวง เป็นต้น ซึ่งมาจากวัฒนธรรมให้ความเคารพสูงสุดต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ ตอนนี้พอมาเรียกพระบ้าง ก็เลยพลอยไปเรียกว่า หลวง... ไปด้วย เพราะให้ความเคารพมาก

    เจ้าค่ะ แล้วคำว่าพระล่ะเจ้าคะ

    แต่ทว่า การใช้คำว่าหลวง... ก็มีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันนะจ๊ะป้านพ เช่น เรียกพระที่มีพรรษามากจริงๆ หรืออายุมากและบวชแต่ยังหนุ่มว่า หลวงปู่
    จ๊ะ ขอเก็บคำถามคุณเป้ไว้ก่อนนะจ๊ะ ใกล้จะถึงแล้ว
    ตอนนี้ คำว่า หลวงพ่อ ก็ใช้เรียกพระที่มีอายุคราวพ่อ และเรียก หลวงพี่ กับพระที่ท่านมีอายุคราวพี่ หรืออายุใกล้เคียงกัน

    อย่างนี้ ป้านพ 60 แล้ว ก็หลวงพี่ ตามหลานๆไม่ถูกใช่ไหมคะ

    คุณนพจ๊ะ ใช่ได้จ๊ะ เรียกแบบให้ความเคารพ

    เจ้าค่ะ

    จะกล่าวคำสวัสดี(ลา) พระอย่างไรเจ้าคะ

    คราวนี้มาถึงคำว่า พระ ตามที่คุณปูเป้ถามบ้าง โดยปกติเราจะเรียกพระท่านว่า พระ หรือ พระ... เช่น พระปิยะลักษณ์ เป็นต้น ก็ต่อเมื่อพระท่านมีอายุคราวลูกคราวหลาน หรือมีอายุน้อยกว่าเรามาก โดยทั่วไปคือประมาณตั้งแต่ ๔ ปีขึ้นไป
    คุณจะไปแล้วหรือ

    ถามไว้ก่อนเจ้าค่ะ

    การลาพระท่าน มิได้มีคำเฉพาะหรอกนะ แต่นิยมใช้ว่า นมัสการลาเจ้าค่ะ หรือ กราบลาเจ้าค่ะ ก็ได้
    ตอนนี้เป็นคำสุดท้ายแล้ว คือคำว่า หลวงตา อันนี้เป็นคำที่ในปัจจุบัน ค่อนข้างใช้อย่างไม่สุภาพนัก โดยในความหมายแท้ก็คือ เรียกพระที่ท่านบวชเมื่อแก่แล้ว (แล้วก็ไม่ค่อยได้ศึกษาเล่าเรียน) มักจะเป็นผู้แข็งกระด้าง ถือตัวว่าอายุมากแล้วไม่ค่อยยอมฟังใคร ฉะนั้น ไม่นิยมเรียกนัก โดยจะไปใช้คำว่า หลวงปู่ แทนถ้าท่านน่าเคารพนับถือ ใช้อย่างนี้นะจ๊ะ

    เหรอเจ้าคะ คิดว่าเรียกพระที่อายุมากแหมือนพ่อเราซะอีก

    เอาล่ะ ราตรีสวัสดิ์ได้แล้วกระมัง คุณป้านพและคุณปูเป้

    นมัสการลาเจ้าค่ะ

    สาธุ

    ที่มา จากสรรพนามเรียกพระ |<!-- End main-->
     

แชร์หน้านี้

Loading...