ธรรมปฏิเวธ เรื่อง การขับเคลื่อนสังคมด้วยพลังของผีเสื้อโบยบิน (Butterfly effect)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย มะกะโท, 19 มกราคม 2010.

  1. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    ธรรมปฏิเวธ เรื่อง การขับเคลื่อนสังคมด้วยพลังของผีเสื้อโบยบิน




    ทฤษฎี “ไร้ระบบ” (Choas theory) กล่าวถึง การที่เราไม่อาจคาดการณ์ผลลัพธ์ จากเหตุปัจจัยเพียงบางตัวได้ และปฏิเสธการใช้สมการเส้นตรง ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เช่น การคาดว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะดีขึ้น จากการดูตัวเลขที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อันนี้ เป็นการเชื่อในสมการเส้นตรงซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ในโลกแห่งความเป็นจริงซับซ้อนมากกว่านั้น การใช้สมการเส้นตรง ทำให้หลง ติดกับดักของเหตุปัจจัยเพียงบางตัว และหลงลืมปัจจัยอีกมากมาย ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น อาจกลายเป็นปัจจัยเล็กๆ ที่ส่งผลกระทบยิ่งใหญ่อย่างคาดไม่ถึงก็ได้ ที่เรียกว่า Butterfly effect คือ แม้แต่การกระพือปีกบินของผีเสื้อก็อาจส่งผลกระทบถึงดวงดาวได้ ทฤษฎีนี้ไม่ได้อธิบายในเชิงรูปธรรมที่จับต้องได้มากนัก ทำให้ยากแก่การทำความเข้าใจ ดังนั้น จะขอยกตัวอย่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในอดีต เช่น ในประเทศจีนยุคสมัยหนึ่ง ที่ฮ่องเต้เรืองอำนาจมาก ไม่มีใครโค่นล้มอำนาจลงได้ แต่ด้วยเพียงผู้หญิงคนเดียวที่ไม่ยอมยิ้มเลย เพียงเพื่อให้ผู้หญิงคนนี้ยิ้ม กลับทำให้ราชวงศ์นั้นล่มสลายลง อันนี้ ค่อนข้างเห็นภาพชัดไหม สิ่งเล็กๆ ที่ไม่คาดคิดว่าจะส่งผลให้เกิดผลกระทบอันยิ่งใหญ่ได้ แต่ก็เกิดขึ้นมาแล้ว นี่ก็คือรูปหนึ่งของทฤษฎี “ไร้ระบบ”




    อนึ่ง อย่าเพิ่งสรุปว่าแนวคิดไร้ระบบคือการทำลายระบบนะครับ เพราะแนวคิดนี้ ส่งผลได้ทั้งในเชิง สร้าง, รักษา และทำลาย ทีเดียว แต่ที่น่าสนใจคือ “ตัวแปร” หรือ เหตุปัจจัยเล็กๆ ที่ไม่คาดคิด แต่กลับส่งผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่ได้ต่างหาก เราอาจหลงงมงายอยู่กับตัวแปรบางตัวที่เราใช้กันบ่อยๆ เช่น ตัวแปรด้านราคาน้ำมัน, ราคาทองคำ ฯลฯ สมมุติว่าถ้าตัวแปรเหล่านี้เกิดขึ้นจาก “Manual effect” ละ เช่น ถ้ามีคนวางแผนอยู่เบื้องหลัง เพื่อกำหนดให้ราคาสิ่งเหล่านี้ขึ้นและลงตามแต่เขาจะกำหนด ซึ่งแรกๆ มันอาจเป็นตลาดเสรีจริงแต่หลังๆ คนบางกลุ่มอาจกระทำการบางอย่าง และควบคุมมันได้ ดังนี้ ตัวแปรเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่ลวงตาเราได้มาก เมื่อเอาตัวแปรเหล่านี้มาพิจารณา ทำให้ได้สมการเส้นตรงว่าแนวโน้มเศรษฐกิจดีขึ้นบ้าง แย่ลงบ้าง แต่นั่น กลายเป็นว่าเราไม่ได้ข้อมูลที่สะท้อนความเป็นจริงเลย ตรงกันข้าม เรากลับได้แต่ข้อมูลที่มีเบื้องหลัง มีผู้ชักใยบงการให้เกิดตัวเลขเหล่านี้ขึ้นมาหลอกเราทั้งนั้น อย่างนี้ สิ่งที่เราใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาก็ถูกครอบงำ ถูกชี้นำ และถูกทำให้เราคิด, เชื่ออย่างนั้น เพื่อหวังผลบางประการเท่านั้นเอง




    การยอมรับและเชื่อถือตัวแปรเก่าๆ ข้อมูลเก่าๆ อยู่ในกรอบอยู่ในระบบเดิมๆ ทั้งๆ ที่ระบบเดิมนั้นอาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้วนั้น เท่ากับตกเป็นเครื่องมือของใครบางคนได้ง่ายๆ แต่การเอาตัวเองออกจากกรอบ แล้วโบยบินไปอย่างอิสระ เหมือนผีเสื้ออย่างนั้น แม้ผีเสื้อจะเล็ก แต่มันอาจกลายเป็น “เหตุปัจจัย” ที่สำคัญและส่งผลกระทบอันยิ่งใหญ่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง, พัฒนา ไปตามแนวทางการบินของผีเสื้อตัวนั้นก็ได้ การเอาตัวเองออกจากกรอบข้อมูล กรอบกรงขัง กรอบระบบเดิมๆ ที่ใครบางคนสร้างไว้ หรือคุมไว้ ได้อย่างเบ็ดเสร็จแล้ว จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของแนวคิดทฤษฎีไร้ระบบเท่านั้น แต่ขั้นต่อไป ยังมีการกระพือปีกบิน และนำทางให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลง และขับเคลื่อนไปของสังคมอีกเช่น การตายของสืบ นาคะเสถียร คนๆ หนึ่งที่ไม่เคยเด่นดังอะไร ทำงานตามอุดมการณ์ของตนเท่านั้น ทว่า การตายของเขา กลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ในวงการอนุรักษ์ คนเราทุกคนก็ต้องตายกันทั้งนั้น แต่คุณ สืบเลือกที่จะตายอย่างไม่ไร้ค่า การตายของเขา ก็เข้าข่าย Butterfly effect ได้เหมือนกัน ในขณะที่การทำงานในระบบ ภายใต้ระบบงานราชการเดิมๆ ของเขานั้น กลับไม่อาจก่อให้เกิดกระแสการอนุรักษ์ได้แต่อย่างใดเลย นี่คือ การกล้าที่จะออกจากระบบ การเลือกที่จะใช้แนวทางไร้ระบบ ในรูปแบบและแนวทางของตนเอง ซึ่งก็ได้ผลทันตา




    การเลือกใช้ตัวแปรนอกระบบ ที่ไม่เคยอยู่ในระบบมาก่อนเลย ไม่ใช่ของง่าย แต่บุคคลจะหยิบใช้ตัวแปรนี้มาเล่นแม้เพียงน้อยให้ผลมหาศาลได้นั้นจำต้องหลุดออกจากระบบเดิมๆ ให้ได้ก่อน ไปอย่างผีเสื้อที่โบยบินอย่างอิสรเสรี นั่นแหละคือจุดเริ่มต้นของพลังมหาศาล




    สำหรับประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา เราได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของทฤษฎีไร้ระบบเต็มๆ แต่เป็นไปเพื่อการล้มล้างหรือทำลายระบบเดิม การสร้างความปั่นป่วนด้วยวิธีต่างๆ นั้น เป็นการกระทำโดย “ทดลองสุ่ม” สุ่มไปสุ่มมา เพื่อหวังว่าการทดลองสุ่มนั้นจะนำไปสู่การค้นพบโดยบังเอิญและกลายเป็น Butterfly effect คือเริ่มจุดเล็กและส่งผลมหาศาล อันอาจนำไปสู่การทำลายล้างระบบได้ในที่สุด ในการทดลองทั้งปีที่ผ่านมานั้น ผู้กระทำยังไม่ค้นพบตัวแปรที่ว่านั้นโดยบังเอิญ เนื่องจากการลงมือซ้ำๆ ย้ำๆ แต่ตัวแปรเดิมๆ วิธีการเก่าๆ การลงมือที่ไม่หลากหลาย คล้ายการดื้อและดันอยู่ด้านเดียว ทั้งที่จริง สรรพสิ่งมีหลายด้าน บางด้านยิ่งพยายามทำลาย กลับยิ่งเข้มแข็ง แต่มันก็อาจมีบางด้านที่ “ผุกร่อน” อยู่มาก ด้วยเหตุนี้ ผู้กระทำการทำลายล้าง จึงไม่อาจกระทำการได้สำเร็จ




    แม้ว่าการใช้ Butterfly effect ในทางการทำลายล้าง อาจมีอยู่ก็จริง แต่การใช้ไปในทางสร้างสรรค์ ก็มีอยู่ได้ควบคู่เช่นกัน สิ่งนี้อาจดูล่อแหลมและเสี่ยงต่อการถูกมองว่าเป็นการสร้างความปั่นป่วนให้เกิดขึ้นในสังคม แต่สรรพสิ่งในโลกย่อมเกิดขึ้นอย่างคู่ขนานกัน ทั้งการสร้างและการทำลายล้าง เมื่อมีผู้ใช้ Black butterfly effect หรือการขับเคลื่อนด้วยปัจจัยนอกระบบในเชิงลบ ก็ย่อมมี White butterfly effect หรือการขับเคลื่อนด้วยปัจจัยนอกระบบในเชิงบวกด้วยเช่นกัน อนึ่ง ไม่ว่าจะใช้ไปในทางสร้างสรรค์หรือทำลายล้าง ก็นับเป็นเพียงกระบวนการตามปกติ ตามธรรมชาติ ของพลวัตรทางสังคมเท่านั้นเอง




    “พลังนอกรีต” อาจเป็นคำอธิบายลักษณะของ Butterfly effect ได้ดีอีกคำหนึ่ง ในภาวะที่ระบบมีความมั่นคงมาก พลังนอกรีตนี้ จะถูกต่อต้านและทำลายได้อย่างง่ายดาย แต่ในภาวะที่ระบบมีความอ่อนแอ และไม่อาจอยู่ได้อีกต่อไปถึงวาระต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว คือ หมดอายุการใช้งาน และต้องถึงกาลดับสลายลงนั้น พลังนอกรีต จะมีความโดดเด่นมาก กลายเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้เลยทีเดียว การทำตัวออกนอกกรอบ นอกรีต นอกระบบ อยู่อย่างไร้ระบบ กลายเป็นพลังใหม่ ที่ทำให้คนในสังคมสนใจ และกลายเป็นกระแสแฟชั่นได้ง่ายๆ เช่น การขับรถแข่งกันอย่างไม่มีเหตุผลของเด็กแว้นท์ ซึ่งเริ่มต้นจากเด็กกลุ่มเล็กๆ แล้วแพร่ขยายไปยังสังคมที่กว้างขึ้น หลายกลุ่มมากขึ้น และบางกลุ่มก็ขยายจำนวนมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ กลายเป็น Black butterfly effect ที่ส่งผลเชิงลบต่อสังคมโดยรวม หากเราทำวิจัยเราพบว่าการเกิดขึ้นของกลุ่มเด็กแว้นท์ ก็มากพอๆ กับกลุ่มพระสงฆ์ที่ห่มผ้าจีวรสีแตกต่างไปจากเดิม หรือมีพฤติกรรมต่างไปจากเดิม นี่คือ พลังนอกรีตทั้งหมด อนึ่ง พลังนอกรีตเหล่านี้ ไม่ได้เลวร้ายทั้งหมด มีทั้ง Black butterfly effect และ White butterfly effect ด้วย ในกลุ่ม White butterfly effect นำมาซึ่งทางออกใหม่ๆ และกลายเป็นที่นิยมของคนในสังคม เช่น การแต่งงานของหญิงไทยกับชาวต่างชาติ เพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ นำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ซึ่งเกิดทั้งชีวิตเก่าและชีวิตใหม่ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เกิดมาด้วย อันนี้ ก็นับว่าเป็น White butterfly effect แบบหนึ่งเหมือนกัน ซึ่งผลลัพธ์ของการกระทำนี้ อาจยังไม่ถึงขั้นสั่นสะเทือนสังคมในยุคนี้ได้ เนื่องจากเด็กรุ่นใหม่ที่เกิดจากการผสมข้ามวัฒนธรรมและเชื้อชาตินี้ ยังไม่เติบโตมากพอที่จะสร้างแรงขับเคลื่อนและแนวคิดใหม่ๆ ได้ แต่หากเราย้อนกลับไปดูดาราไทย เราพบว่ามีดาราไทยจำนวนมาก ที่เป็นลูกครึ่งไทยฝรั่ง และมีอิทธิพลต่อกระแสแฟชั่น และกระแสการตลาดในประเทศเรามากในช่วงยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง ซึ่งหากมองย้อนกลับไปในยุคนั้น เด็กเหล่านี้ได้รับแรงต่อต้านจากระบบเดิมๆ มากทีเดียว



    การใช้พลังนอกรีต, นอกกรอบ, นอกระบบ เพื่อขับเคลื่อนสังคมในทางสร้างสรรค์ หรือ White butterfly effect นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการทำลายระบบเดิมๆ หรือการสร้างวิถีแบบไร้กรอบกฎหมายขึ้นมา แต่เป็นการเริ่มต้นที่ตัวเราเอง ตัวเล็กๆ กระทำการอยู่นอกระบบ วิถีหรืออำนาจเดิมๆ เอาตัวเองออกมากระทำการอย่างอิสรเสรี เพื่อกระพือให้เกิด กระแสการขับเคลื่อนทางสังคมไปในทางสร้างสรรค์ดังเช่น การที่ มหาตมะ คานธีร์ เลือกที่จะออกจากวังวนอำนาจ มาใช้ชีวิตอยู่อย่างพื้นๆ เหมือนชาวอินเดียทั่วไปฉะนั้น

    –จบ-


    ธรรมปฏิเวธ เรื่อง การขับเคลื่อนสังคมด้วยการสร้างความปั่นป่วนแก่ระบบ




    ในปรัชญาหนึ่งของรัฐศาสตร์ได้กล่าวถึงทฤษฎี “ไร้ระบบ” ซึ่งค่อนข้างตรงกันข้ามกับมุมมองการสร้างโลก ให้มีระบบ หรือระบอบอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การที่คนกลุ่มหนึ่งที่มีอิทธิพลมากต่อโลก รวมตัวกันแล้ว วางแผนจัดการโลกให้เป็นไปตามแบบแผนที่เขาต้องการ เช่น ให้เป็นระบอบประชาธิปไตยเหมือนๆ กัน หรือพยายามยั่วยุให้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงประเทศต่างๆ ให้เป็นสังคมนิยมเหมือนๆ กัน เป็นต้น แนวคิดหลังนี้ เป็นแนวคิดของ “ระบบ” ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิด “ความไร้ระบบ” ซึ่งจะกล่าวต่อไป




    อนึ่ง ธรรมชาตินั้นมีความหลากหลาย ในความหลากหลายนั้นมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนโยงใยกันไปมา ทำให้สิ่งต่างๆ คงสมดุลอยู่ได้ และขับเคลื่อนไป ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัย แต่เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์พยายามจัดการมัน พยายามสร้างรูปแบบ ระบบ ระบอบต่างๆ ขึ้น มนุษย์กำลังทำลายสิ่งที่ดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาตินั้น ซึ่งในกระบวน การทำลายนี้ ก็จัดเป็นหนึ่งในธรรมชาติของความหลากหลายด้วย ดังนั้น มันจึงคู่กับการ “อนุรักษ์” ดังนั้น เราจึงพบสีสันความหลากหลายที่คู่กันเสมอระหว่าง นักอนุรักษ์ และนักพัฒนา เมื่อเรายืนอยู่ข้างการอนุรักษ์ หรือการพัฒนา อย่างใดอย่างหนึ่ง เรากำลังยืนอยู่ห่างความหลากหลาย แต่เมื่อใดที่เรายืนอยู่ทั้งสองฝั่ง โดยไม่จมปลักอยู่กับข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อนั้น เรากำลังยืนอยู่ข้างความหลากหลาย เรายอมรับทั้งสองทาง และปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ อย่างไม่มีระบบ ไม่มีระบอบ ซึ่งในความไม่มีระบบระบอบนั้น ก็มีทั้งความมีระบบ และความไม่มีระบบคู่กัน เป็นความหลากหลายที่อยู่คู่กันนั่นเอง




    แนวคิดของทฤษฎี “ไร้ระบบ” นั้น ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวถึง ถ้าผู้อ่านต้องการศึกษาก็ไปศึกษาเองได้ แต่ในที่นี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึง “ความหลากหลายของการมีและไม่มีระบบ” อันเป็นแนวคิดที่คล้ายกับทฤษฎีไร้ระบบ คือ การยอมรับในธรรมชาติ ของการมีและไม่มีระบบ ไม่จำเป็นต้องหาระบบ หารูปแบบใดๆ มาครอบงำ หรือสร้างขึ้นใหม่ ให้แก่สังคม แต่สังคมจะดำเนินไปเอง ทดลองเอง และเข้าสู่ความมีระบบและไม่มีระบบ ด้วยตัวของมันเอง นี่คือ การไม่ยึดติดในความมีระบบ และไม่มีระบบ แต่ก่อนที่ความหลากหลายเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ ย่อมต้องมีกระบวนการขับเคลื่อนสังคมก่อน ซึ่งผู้เขียนใช้คำว่าการสร้างความปั่นป่วนให้เกิดขึ้นแก่ระบบ ไม่ใช่การทำลายระบบ แต่เป็นการกระตุ้น กระบวน การเกิดความหลากหลายของสังคม ให้มีทั้งความมีระบบ และความไร้ระบบ ไร้ระเบียบ เมื่อนั้น กระบวนการทางธรรมชาติ ก็จะขับเคลื่อนสังคมไปเอง ไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะชนะหรือพ่ายแพ้ แต่ทั้งหมดนั้น ก็คือ ส่วนหนึ่งของความหลากหลายในสังคมมนุษย์




    สำหรับท่านที่มีแนวคิดในการสร้างระบบ ระเบียบนั้น ย่อมที่จะเลือกที่จะมีตำแหน่ง และอำนาจ เพื่อเข้าสู่กระบวนการบริหารและการจัดการสิ่งต่างๆ ให้ดำเนินไปตามแบบแผนที่ตนต้องการ แต่สำหรับนักคิดที่นิยม ความไร้ระบบนั้น กลับทำสิ่งตรงข้าม ส่วนการยอมรับความหลากหลายของการไร้ระบบและการมีระบบนั้น แตกต่างออกไป คือ ใช้วิธีการของความไร้ระบบ ออกจากระบบ เพื่อกระตุ้นระบบ ทำให้ระบบ ขับเคลื่อนไป ทั้งกลุ่มที่นิยม ความมีระบบ และความไร้ระบบ ไร้ระเบียบ กระบวนการสร้างความปั่นป่วนนี้ หากมีมากเกินไป จะเป็นการ “ทำลาย” แต่ถ้ามีน้อยเกินไป ก็ไม่อาจขับเคลื่อนสังคมได้ ดังนั้น การกระตุ้นระบบด้วยการสร้างความปั่นป่วนนี้จึงเป็นกระบวนการหนึ่งของการขับเคลื่อนสังคมโดยเคารพความหลากหลายของทั้งฝ่ายมีระบบ และไร้ระบบ ผลสุดท้าย ความยึดมั่นในระบบอาจค่อยสลายลง กลายเป็นความไร้ระบบระเบียบ และนำไปสู่ความมีระบบระเบียบแบบใหม่ นั่นคือ “พลวัตรของสังคม” มีระบบ เพื่อไม่มีระบบ ไม่มีระบบ เพื่อมีระบบ ก่อเกิด สร้างสรรค์ ทำลาย กันและกัน ให้เกิดและดับไป ตามยุคตามสมัย เมื่อการเกิดดับของความมีและไม่มีระบบ เกิดขึ้นอย่างสมดุลแล้ว สังคม ย่อมขับเคลื่อนดำเนินไปทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยไม่ติดปลักในความมีระบบ หรือความไร้ระบบ อีกต่อไป




    ขอยกตัวอย่างเป็นนิทาน ให้ง่ายต่อความเข้าใจดังนี้




    สมมุติ ประเทศเกาหลีสมัยโบราณ มีขุนนางที่เห็นแก่ตัวมากเกินไป การได้มีอำนาจเป็นขุนนาง อาจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เพราะแรงขับเคลื่อนไม่เพียงพอ เหมือนเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุงฉะนั้น ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงโดยการมีอำนาจเป็นขุนนางคนหนึ่ง อาจไม่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ได้เลย ดังนั้น การเป็น “โจรปล้นขุนนาง” ก็อาจกลายเป็นการขับเคลื่อนสังคม ภายใต้วิธีการของทฤษฎี “ความไร้ระบบ” ก็ได้ ซึ่งในกระบวนการนี้ ไม่ได้ปล้นจนชนชั้นขุนนางถูกทำลายลง แต่เป็นเพียงการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชนชั้นขุนนาง และนำไปสู่ “ความพอดี” ของความหลากหลายระหว่าง “ความมีระบบ” และ “ความไร้ระบบ” นั่นคือ ชนชั้นขุนนาง ไม่ได้ถูกทำลายลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทางที่ดีในท้ายที่สุด แทนที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยอำนาจขุนนางด้วยกัน ซึ่งขุนนางดีมีน้อยเกินไปนั้น กลับเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยใช้การสร้าง “ความปั่นป่วน” ในแบบ “ไร้ระบบ” เพื่อกระตุ้น “ระบบ” ให้พัฒนาไปสู่ทางที่ดีแทน นี่ไม่ใช่การทำลายระบบ จึงไม่ใช่การไปสู่ความไร้ระบบ ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่การยึดติดในระบบเดิมๆ แต่อย่างใด ดังนี้ ชนชั้นขุนนาง ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้




    สมมุติ ประเทศเกาหลี มีความยึดมั่นถือมั่นในจารีตประเพณีดั้งเดิม จนวัฒนธรรมล้าหลัง ไม่มีการพัฒนา และไม่ทันนานาอารยประเทศ อันจะนำไปสู่ภัยในอนาคตได้ ทว่า ชนชั้นขุนนางทั้งหลายไม่มีใครกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเลย วันหนึ่ง เกิดขุนนาง
    คนหนึ่ง แหกคอก</PERSONNAME> แหวกม่านประเพณี กล้าที่จะทำลายประเพณีเก่าๆ ยอมให้คนประณามว่าเป็นผู้ผิดจารีต แล้วนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมได้ เช่น การยอมเกลือกกลั้วกับนางคณิกา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแสดง ระบำรำฟ้อน ซึ่งศิลปวัฒนธรรมการแสดงตกอยู่กับเหล่านางคณิกา ส่วนการแสดงของนักแสดงในพระราชวังกลับล้าหลังไม่ทันสมัย เพราะความยึดติดในจารีตเก่าๆ อันนี้ ก็เข้าข่ายการสร้างความปั่นป่วน ให้เกิดขึ้นแก่ “ระบบ” อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงบางประการได้เช่นกัน ซึ่งกรณีนี้ ผู้กระทำ อาจต้องโทษ โดนอาญาแผ่นดินได้ แต่การกระทำนี้ แม้ไม่ได้รับการยอมรับในช่วงต้นของการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อการเปลี่ยนแปลงได้ดำเนินไปจนถึงที่สุดแล้ว ลูกหลานย่อมเห็นชัดว่านี่คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งย่อมเป็นธรรมดาที่คนในยุคสมัยนั้นจะต่อต้านในช่วงต้นนั่นเอง




    สมมุติ ประเทศจีนสมัยต้นราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนยังมีหลายแคว้น แต่ละแคว้นปกครองแตกต่างกัน ทำให้ประเทศไม่มีความเป็นปึกแผ่น การทำสงครามระหว่างแคว้นเกิดขึ้นเสมอ ดังนี้ เกิดขุนนางคนหนึ่ง แสร้งเข้ากับบางแคว้น เพื่อสร้างความมั่นคงจากรากฐานปูทางไว้ก่อน จากนั้น ก็แสร้งไม่พัฒนาด้านการทหาร แต่ย้ายไปทำงานให้กับแคว้นอื่นๆ ไปเรื่อยๆ เพื่อหลอกแคว้นอื่นๆ ว่าเป็นการพัฒนาหลายๆ แคว้น ทว่า กลับลอบทำให้เกิดความอ่อนแอขึ้นกับแคว้นอื่นๆ ไม่นานนัก ก็เกิดสงครามขึ้น แคว้นหลายแคว้นที่เคยมีจุดดี จุดด้อยต่างกัน และไม่อาจเอาชนะกันได้ ทำสงครามกันต่อเนื่องยาวนาน ก็เปลี่ยนไป คือ มีแคว้นๆ หนึ่งที่แข็งแกร่งจากรากฐาน ส่วนแคว้นอื่นๆ กลับอ่อนแอทั้งหมด ในที่สุด ประเทศก็รวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันได้ด้วยการมีแคว้นๆ หนึ่ง เป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีความเข้มแข็งมากที่สุด เมื่อทำลายขั้วอำนาจระหว่างแคว้นสิ้นลงแล้ว ประเทศรวมเป็นหนึ่งแล้ว ระบบที่ใช้พัฒนาแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดนั้น ก็กลายเป็น “ระบบของประเทศ” ไปในที่สุด อันนี้ ไม่ต้องเร่ไปขายความคิดทีละแคว้นๆ เพื่อให้ยอมรับระบบใหม่นี้เลย นี่ก็คือ วิธีการเปลี่ยนแปลงประเทศทั้งประเทศ โดยการใช้ระบบ และทำลายระบบ ควบคู่กันไป เมื่อการมีระบบและทำลายระบบ เกิดขึ้นถึงจุดหนึ่ง ก็นำไปสู่ระบบใหม่อันเป็นสากลต่อไป



    ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างของการไม่ยึดติดในความมีระบบ และความไร้ระบบ การยอมรับความหลากหลายของการมีและไม่มีระบบ การเลือกใช้ยุทธวิธีของการมีและไม่มีระบบ ตลอดจนการสร้างและการทำลายระบบควบคู่กันไป รวมทั้งการ “ปั่นป่วนระบบ” อันนำไปสู่การขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงสังคมในที่สุด บทความขอจบลงเพียงเท่านี้

    ...



    ธรรมปฏิเวธ เรื่อง การลงจากอำนาจอย่างสง่างาม




    คนเรามีรุกได้ ต้องรับได้ และถอยได้ เมื่อบุคคลรุกก้าวขึ้นไปอยู่บนอำนาจแล้ว เขามักลงมาไม่ได้ อาจเพราะมันสูง เวลาไต่ขึ้นไปนั้น แหงนหน้าขึ้นอย่างเดียว จึงไต่ขึ้นไปเรื่อยๆ แต่พอขึ้นไปถึงสุดยอดแล้ว หันกลับลงมา พบว่าตนเองมาไกลเกินไป กว่าที่จะถอยหลังกลับได้ และหากพลาดก็ต้องตกลงมาตายอนาถเป็นแน่แท้ ดังนี้ บุคคลจำนวนมาก ที่ขึ้นแล้วลงไม่เป็น รุกแล้วถอยไม่ได้ บทความฉบับนี้ จึงขอเสนอเรื่องการลงจากอำนาจ ดังนี้




    อำนาจโดยเฉพาะทางการเมือง เป็นสิ่งที่ยากที่จะวางลง, ถอย หรือลงจากมาได้ง่ายๆ ผู้ที่ได้ครอบครองแล้ว หากปล่อยเสียอาจได้รับภัย ด้วยเพราะขณะอยู่ในอำนาจ มีอำนาจอยู่นั้น ได้ใช้อำนาจในการกระทำการต่างๆ ทำให้ผู้คนบางจำพวกโกรธแค้นอยู่ ทว่า คนไทยเรามีพระพุทธศาสนา ดังนี้ แม้ว่าองคุลีมารในอดีต เป็นโจรป่าฆ่าคนมามากมาย ก็ได้อาศัยร่มพระพุทธศาสนาอยู่เพื่อปฏิบัติจนถึงพระนิพพานได้ แม้ปัจจุบัน เราไม่รับบวชพระให้โจรที่มีคดีทางโลกติดตัว แต่สำหรับนักการเมืองที่ไม่มีคดีติดตัวนั้น สามารถบวชพระได้ หากเขาเห็นกาลอันควรลงจากตำแหน่งโดยสง่างาม ดีกว่ารอให้ศัตรูมารุมเล่นงานจนต้องร่วงลงมาจากตำแหน่งของตน นี่คือ คนที่รู้จักการถอย, การลงจากอำนาจได้อย่างสง่างาม ในประเทศไทยก็มีบางท่านที่ลงมาได้อย่างสง่างามก็มี บางท่านลงมาแล้วยังอยู่ทางโลก เมื่อทางโลกวุ่นวาย ก็ถูกเรียกตัวกลับไปรับใช้บ้านเมืองก็มี อันนี้ ลงมาสง่างามแล้ว แต่ไม่พ้นทางโลกอยู่ดี ดังนั้น ก็ต้องกลับเข้าไปรับความเสี่ยงใหม่ อีกครั้งหนึ่ง




    อำนาจเป็นสิ่งที่ได้มายาก และปล่อยวางได้ยาก ผู้ใดฝึกตนปล่อยวางอำนาจได้อย่างสง่างาม ย่อมได้ชื่อว่ามหาบุรุษเหมือนกัน เพราะได้กระทำสิ่งที่บุรุษอื่นๆ กระทำได้ยาก ให้สำเร็จได้ง่ายนั่นเอง





    http://www.oknation.net/blog/buddhabath/2010/01/19/entry-3
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2010
  2. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    [​IMG]
     
  3. รพินทร์ไพรวัลย์

    รพินทร์ไพรวัลย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +1,122
    ทฤษฎี “ไร้ระบบ” (Choas theory) *v*
    คนของระบบมาเจอเดี๋ยวเค้างอนเอาอีกนา...
     
  4. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    ถ้าเรารู้ว่าบ้านกำลังทรุด กำลังถล่มในวันหนึ่ง
    เราจะทำอย่างไร เราจะรักษา ค้ำไว้ ต่อไหม
    ถ้าหมดแรงค้ำของเราละ แล้วลูกๆ ที่อยู่ในบ้าน
    ของเราละ จะทำอย่างไร ไม่ถูกถล่มทับดอกหรือ?


    หรือเราคิดแต่ว่าจะหาคนมาแทนที่เรา ค้ำต่อเรา?
    ไม่มีแนวคิดที่ดีกว่าการรักษาสิ่งที่ไม่อาจรักษาหรอกหรือ?
     
  5. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    สร้าง รักษา หรือทำลาย
    ได้อย่างมากก็พรหมโลก
    เมื่อไม่อาจอยู่เหนือพรหมโลก
    จะอยู่เหนือพรหมลิขิตได้อย่างไร ?



    หากไม่ยกจิตใจตนเองให้อิสระหลุดจากกระบวนการทั้งสาม
    ก็ไม่อาจหลุดออกจากพรหมลิขิต เมื่อพ้นจากพรหมโลกแล้ว
    พ้นจากคำทำนาย พ้นจากพรหมลิขิต เมื่อนั้นโบยบินแล้ว
    กำหนดเอง ลิขิตเอง ไม่ดีกว่าดอกหรือ?
     
  6. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    [​IMG]
     
  7. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    [​IMG]

    อิสรภาพที่สง่างาม...<SCRIPT language=JavaScript> MenuController.getInstance().bindHandlers($('zoomedOutMenu'),{"zoomedOutMenu":{"on":"#F7F7F7","off":"#BDBDBD","link":"#000000","border":"#000000"},"btn_decorateimage_menu_out":{"on":"#E3E4E6","off":"#F7F7F7","link":"#000000","border":"#000000"},"btn_share":{"on":"#E3E4E6","off":"#F7F7F7","link":"#000000","border":"#000000"}});</SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript> FullViewMenuController.getInstance().bindHandlers($('zoomedOutMenu'),'out');</SCRIPT>
     
  8. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    [​IMG]


    มาสิ โบยบินไปด้วยกัน...
     
  9. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    [​IMG]


    ผีเสื้อสีขาวโบยบินไปอย่างเสรี...
     
  10. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    [​IMG]


    ออกจากโลกที่คับแคบสู่โลกที่งดงาม...
     
  11. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    [​IMG]



    มีชีวิตอยู่ท่ามกลางมวลดอกไม้...
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    โดนสตั๊ฟ เป็นหมู่คณะเรย... นะ หุหุ
    เราชอบ ไมเคิล แจ๊คสัน เต้นมูนวอล์ค ไม่ชอบเพลงคลาสสิค ฟังแล้วหลับอุตุ
    free will กับโดนสตั๊ฟเป็นผีเสื้อ มันคนละทางนะ
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เราชอบแบบ ลูกไก่ที่แข็งแรงเจาะและถีบเปลือก เดินออกจากไข่ ด้วยตัวเอง
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แต่ถ้าเป็นหนอนอ้วนแข็งแรงกินใบหม่อนจนอิ่มแล้วสร้างรังไหมรอวันเติบโตเป็นผีเสื้อ
    และออกจากรังไหมได้ด้วยตัวเอง จะบินไปทางไหนก็ไปเอง ไม่ต้องฟังคำสั่งใคร
    ไม่ต้องมีหมู่คณะมาคอยเป่านกหวีด อะ ค่อยน่าสน ถึงจะเป็นผีเสื้อเสรี
    แม้แต่ดอกไม้ ก็ดึงดูดไม่ได้ แค่ดมกลิ่นกินน้ำหวาน แล้วก็บินจากไป
    ไม่หลงอยู่กับดอกไม้ แบบไปไหนไม่รอดเพราะขาดสติสตังค์ มีแต่หลง ไม่อาวววว
     
  15. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    [​IMG]


    ไป โบยบินไป...
     
  16. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    [​IMG]


    ด้วยปีกที่เต็มเปี่ยมด้วยพลังแห่งเสรีภาพ...
     
  17. ^ ^

    ^ ^ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +1,279
    ระบบ มีตั้งเยอะแยะ ระบบดีๆ ก็เอามาใช้ซะนะ ระบบเห่ยๆ ปล่อยมันตายๆ ไปเต๊อะ

    ระบบดีๆ เช่น สนธิสัญญาว่าด้วยการก่อการร้ายสากล ระบบประชาธิปไตย ประชาพิจาร
    ระบบพวกนี้น่าใช้ทั้งนั้นเลย เพราะมันเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนทั่วไป

    ส่วนระบบไหนไม่ดี อันนี้เป็นหน้าที่ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ตัดสิน เอาแระกันนะ
     
  18. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    [​IMG]


    สร้างความงดงามแก่โลกนี้ด้วยปีกทั้งสองข้าง...
    <!--mstheme-->
     
  19. pantham phuakph

    pantham phuakph เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +444
    Butterfly effect กับ "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" มันเหมือนกันรึเปล่าครับ

    ช่วยอธิบายให้หน่อย ขอบคุณที่เสนอบทความดีๆมาให้อ่าน
     
  20. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373

    ระบบทั้งดีและไม่ดี ติดขัด ไม่อาจเคลื่อนได้
    ต้องอาศัยสองปีกบางๆ ของผีเสื้อกระพือไป

    .....
     

แชร์หน้านี้

Loading...