ธรรมะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 3 มีนาคม 2011.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้เชื่ออะไรง่ายๆ ให้เชื่อเมื่อรู้ด้วยตนดังนี้

    เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล

    ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใครประพฤติให้

    เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้ ท่านควร

    ละธรรมเหล่านั้นเสีย เมื่อนั้น

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 338

    ๕. กาลามสูตร (เกสปุตตสูตร)

    ว่าด้วยมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง

    [๕๐๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า (ผู้มีคุณควรคบ หรือมี

    คุณควรนับถือ) พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จจาริกไปในโกศลชนบท

    (เมืองขึ้นในแว่นแควนโกศล) บรรลุถึงเกสปุตตนิคม (เมืองชื่อเกสปุตตะ)

    ซึ่งเป็นที่อยู่แห่งหมู่ชนกาลามโคตร (วงศ์กาลาม) ชาวเกสปุตตนิคมได้

    ทราบว่า พระสมณโคดมสักยบุตร เสด็จออกผนวชจากสักยสกุล เสด็จมา

    ถึงเกสปุตตนิคมแล้ว

    ฯลฯ

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า ควรแล้วท่านจะสงสัย ความสงสัย

    ของท่านเกิดขึ้นแล้วในเหตุควรสงสัยจริง ท่านอย่าได้ถือโดยได้ฟังตาม

    กันมา อย่าได้ถือโดยลำดับสืบ ๆ กันมา อย่าได้ถือโดยความตื่นว่า

    ได้ยินอย่างนี้ๆ อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา

    อย่าได้ถือโดยนัยคือคาดคะเน อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ

    อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันลัทธิของตน อย่าได้ถือโดยเชื่อ

    ว่า ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ถือโดยความนับถือว่า สมณะผู้นี้

    เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล

    ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใครประพฤติให้

    เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้ ท่านควร

    ละธรรมเหล่านั้นเสีย เมื่อนั้น

    ฯลฯ

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 235
    อจินติตสูตร
    ว่าด้วยอจินไตย ๔
    [๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ อย่างนี้ไม่ควรคิด ผู้ที่คิด
    ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า อจินไตย ๔ คือ
    อะไรบ้าง คือ
    ๑. พุทธวิสัยแห่งพระพุทธทั้งหลาย เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด
    ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า
    ๒. ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะ
    พึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำปากเปล่า
    ๓. วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วน
    แห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า
    ๔. โลกจินดา (ความคิดในเรื่องของโลก) เป็นอจินไตยไม่ควรคิด
    ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล อจินไตย ๔ ไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึง
    มีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า.
    จบอจินติตสูตรที่ ๗


    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๕๘ - หน้าที่ ๒๗๓

    ๔. สิริชาดก

    (ว่าด้วยโภคะเกิดแก่ผู้มีบุญ)

    [๔๕๑] ผู้ไม่มีบุญ จะเป็นผู้มีศิลป์หรือไม่ก็ตาม

    ย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก

    ผู้มีบุญย่อมใช้สอยทรัพย์เหล่านั้น

    [๔๕๒] โภคะเป็นอันมากย่อมล่วงเลยสัตว์

    เหล่าอื่นไปเสีย เกิดขึ้นในที่ทั้งปวงเทียว

    สำหรับผู้มีบุญอันกระทำไว้ ใช่แต่เท่านั้น

    รัตนะทั้งหลายก็บังเกิดขึ้นแม้ในที่มิใช่บ่อเกิด

    [๔๕๓] ไก่ แก้วมณี ไม้เท้า และหญิงชื่อว่า

    บุญญลักษณาเทวี ย่อมเกิดขึ้นแก่อนาถบิณ-

    ฑิกเศรษฐีผู้ไม่มีบาป มีบุญอันกระทำไว้แล้ว.

    จบ สิริชาดกที่ ๔
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 591
    ๑๐. สุปุพพัณหสูตร

    ว่าด้วยเวลาที่เป็นฤกษ์ดี

    [๕๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริต ด้วยกาย
    ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้านั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์

    เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ใน

    เวลากลางวัน เวลากลางวันนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์

    เหล่าใดพระพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเย็น เวลา

    เย็นนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น.

    (นิคมคาถา)
    กายกรรม วาจากรรม มโนกรรม
    ความปรารถนาของท่าน เป็นประทักษิณ
    เป็นฤกษ์ดี มงคลดี แจ้งดี รุ่งดี
    ขณะดี ครู่ดี และเป็นการบูชาอย่างดีใน

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓- หน้าที่ 592
    พรหมจารีทั้งหลาย คนทำกรรมอัน

    เป็นประทักษิณแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อัน

    เป็นประทักษิณ ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้มี
    ประโยชน์อันได้แล้ว ถึงซึ่งความสุข งอก
    งามในพระพุทธศาสนา เป็นผู้หาโรคมิได้
    สำราญกายใจ พร้อมด้วยญาติทั้งปวง
    เทอญ.
    จบสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐
    จบมงคลวรรคที่ ๕
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 49​
    ๙. นักขัตตชาดก
    ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
    [๔๙] " ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลา ผู้มัว
    คอยฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์
    ดวงดาวจักทำอะไรได้."
    จบ นักขัตตชาดกที่ ๙
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๕๖ - หน้าที่ ๓๗๒

    ธรรมดา คนเราถึงจะชื่อว่าชีวก (บุญรอด) ก็ดี จะชื่อว่า อชีวก (ไม่รอด) ก็ดี

    ก็ตายทั้งนั้น ชื่อ เป็นเพียงบัญญัติสำหรับเรียกกัน, ถึงจะชื่อว่า ธนปาลี(คนรวย) ก็ดี

    จะชื่อว่า อธนปาลี (คนจน) ก็ดี ก็เป็นคนเข็ญใจได้ทั้งนั้น ชื่อเป็นเพียงบัญญัติ

    สำหรับเรียกกัน, ถึงจะชื่อว่า ปันถกะ (ผู้ชำนาญในหนทาง) ก็ดี แม้จะชื่อว่า อปันถกะ

    (ผู้ไม่ชำนาญในหนทาง) ก็ดี ก็หลงทางได้เหมือนกัน ชื่อเป็นเพียงบัญญัติสำหรับ

    เรียกกัน ความสำเร็จเพราะชื่อ มิได้มีเลย ความสำเร็จมีได้เพราะการกระทำเท่านั้น.

    (ข้อความบางตอนจาก ...ชาตกัฏฐกถา อรรถกถา ขุททกนิกาย ชาดก นามสิทธิชาดก)

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่มที่ ๗๕ - หน้าที่ ๑๐๒

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เรา เมื่อครั้งเป็นสุเมธดาบส ได้คิดว่า

    (เป็นข้อความที่ท่านสุเมธดาบสสอนตนเอง)

    “… ธรรมดาว่า น้ำ ย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและคนเลวโดยเสมอกัน ชะล้าง

    มลทินคือธุลี(สิ่งสกปรก)ออกได้ แม้ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงเจริญ

    เมตตาบารมี เจริญเมตตาไปสม่ำเสมอในชนผู้ทำประโยชน์และผู้ไม่ทำประโยชน์แล้ว

    ท่านจักบรรลุสัมโพธิญาณ”

    (ข้อความบางตอนจาก ... พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีปกรณ์)


    อวิชชาสูตร

    ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล
    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี
    พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูล
    รับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
    ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม
    เกิดร่วมกับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป
    ความเห็นผิด ย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบด้วยอวิชชา
    ความดำริผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นผิด

    เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด
    การงานผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด
    การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด
    พยายามผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพผิด
    ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด
    ตั้งใจผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม
    เกิดร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป
    ความเห็นชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา
    ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ
    เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ
    การงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ
    การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ
    พยายามชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ
    ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ
    ตั้งใจชอบย่อมบังเกิดมีแก่ผู้มีระลึกชอบ.
    จบอวิชชาสูตรที่ ๑​

    ข้อความเตือนสติจากชั่วโมงสนทนาพระสูตร
    ข้อความเตือนสติที่มาจากส่วน สนทนาที่เกี่ยวข้องกับพระสูตร
    1. อรรถของศีล[1]
    สีลน แปลได้หลายอรรถ ที่ว่า สีลน เพราะเป็นมูลราก คือ เป็นเบื้องต้นของกุศล

    ที่ว่า สีลน เพราะรวบรวมคือไม่กระจัดกระจาย หมายเอากรรมในทวารมีกายกรรม

    เป็นต้น ไม่กระจัดกระจาย โดยความมีระเบียบอันดี ที่ว่า สีลน เพราะความเป็นที่

    รองรับ คือ รองรับกุศลเบื้องสูง ที่ว่า สีลน เพราะเป็นที่ตั้งมั่นด้วยดี เป็นที่ตั้งมั่น

    ของกุศลที่เป็นเบื้องสูง

    2. อานิสงส์ของศีล[2]
    ๑) เป็นผู้ไม่เสื่อมจากโภคะ
    ๒) เป็นผู้มีชื่อเสียงเกียรติยศขจรขจายไปไกลด้วยอำนาจของคุณความดี
    ๓) เป็นผู้ไม่เก้อเขินเมื่อเข้าสู่บริษัท
    ๔) เป็นผู้ที่ไม่หลงกระทำกาลกิริยา
    ๕) เมื่อละจากโลกนี้ไปแล้ว ผู้มีศีล ย่อมมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

    3. นัยของศีลโดยนัยของกุศลศีล และ อกุศลศีล
    ศีลที่กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค วิสุทธิมรรค บุญญกริยาวัตถุ ๑๐ บารมี ๑๐ อนุ-

    ปุพพิกถา เป็นต้น เป็นกุศลศีล คือ ธรรมฝ่ายดีที่เป็นเจตนาหรือเจตสิก
    อกุศลศีล หมายถึง ธรรมฝ่ายไม่ดี คือเป็นผู้ทุศีลหรือว่ามีศีลวิบัติ แต่ศีลส่วนใหญ่

    มุ่งหมายถึงธรรมที่เป็นฝ่ายกุศล

    4. นัยของศีลในพระคาถา
    พระสีลวเถระ ได้กล่าวโดยยกศีลเป็นประธานตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งสูงสุดคือ

    โลกุตตร-ศีล คือ มรรคจิตเกิดขึ้นขณะนั้นก็มีศีล คือในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นมีองค์

    ของศีลคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และ สัมมาอาชีวะ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็วิรัติ งด

    เว้น ประหาร ทำลายทุจริต ไม่ให้เกิดขึ้นเป็นสมุจเฉท(ตัดหรือถอนขึ้นได้อย่าง

    เด็ดขาดไม่เกิดอีกเลย)

    5. ศีลที่ประกอบด้วยปัญญาและไม่ประกอบด้วยปัญญา
    ศีลที่ประกอบด้วยปัญญาก็มี ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็มี เพราะฉะนั้นจึงมีทั้งโลกิยะ

    และ โลกุตตระ ศีลเป็นที่ตั้งของสิ่งที่ดีงาม จนกระทั่งถึงความดับกิเลส เพราะ

    เป็นที่ตั้งของสัมมาทิฏฐิ

    6. ศีลโดยนัยของจาริตศีลและวาริตศีล
    จาริตศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม การแสดงความนอบน้อมแก่คนที่ควรนอบน้อม

    การบูชาพระรัตนตรัยก็เป็นการกระทำและความประพฤติ ทางกาย ทางวาจา ที่ดี

    งาม ถ้ามีมานะ กริยาที่ดีงามและความนอบน้อม เกิดขึ้นไม่ได้ ปัญญามีความเข้า

    ใจธรรมมากขึ้น ความอ่อนน้อมจะเพิ่มขึ้น ตามกำลังของปัญญา ส่วนวาริตศีล คือ

    ขณะที่วิรัติทุจริต เช่น ศีล ๕ เป็นต้น

    7. ศีลโดยนัยของแก่นพรหมจรรย์
    คนที่ไม่ฆ่าสัตว์ แต่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมแล้ว จะถึงพรหมจรรย์นั้นเป็นไปไม่ได้

    เพราะเป็นแต่เพียงศีลซึ่งอาจสะสมมาที่จะไม่ฆ่า โดยอัธยาศัย แต่คนที่มีปัญญา

    ขณะที่เว้นวิรัติมีความเข้าใจด้วยว่า ขณะนั้นเป็นอกุศลกรรม เป็นการเบียด

    เบียน เป็นการประทุษร้าย จิตขณะที่สามารถทำร้าย ทำลายใครขณะนั้นได้

    เป็นอกุศลขนาดไหน ทุกชีวิตไม่มีใครต้องการให้เสียไปทำลายไป รักชีวิต

    ด้วยกันทุกคน เพราะฉะนั้นศีลก็ยิ่งมีมากขึ้น และบริสุทธิ์ขึ้นตามกำลังของ

    ปัญญา


    8. ความหมายของ “การสมาทานศีล และ

    การที่ศีลไม่กำเริบย่อมมีด้วยกำลังแห่งญาณ”

    สมาทานศีล คือ กุศลศีล เป็นขณะที่ถือศีลเป็นข้อปฏิบัติ โดยไม่ละเมิดในศีลแต่

    ละข้อ ซึ่งไม่ใช่การบอกแล้วท่องตาม
    กำเริบ คือ ความขาด ด่าง พร้อยของศีล
    ศีลไม่กำเริบ คือ ศีลที่ถึงความมั่นคง ไม่เสีย ไม่หวั่นไหวไปในทางที่เป็นอกุศล
    ศีลไม่กำเริบย่อมมีด้วยกำลังแห่งญาณ คือ ปัญญา เข้าใจที่ถูกต้องตามความ

    เป็นจริงแล้ว ศีลจะค่อยๆบริสุทธิ์ขึ้น ไม่ล่วงละเมิด จนกระทั่งจะถึงความบริสุทธิ์

    สมบูรณ์ แล้วก็ไม่ล่วงศีลอีกเลย เมื่อเป็นพระโสดาบัน

    การสมาทานศีล และ การที่ศีลไม่กำเริบย่อมมีด้วยกำลังแห่งญาณ คือ การ

    ถือศีลเป็นข้อประพฤติปฏิบัติเฉพาะตน เช่น ความคิดความตั้งใจที่จะไม่ฆ่า เพราะ

    การเห็นโทษของการประทุษร้ายกันน่ารังเกียจ ทำให้มีการเสียชีวิตไป แต่บางกาล

    อาจจะฆ่า ในเวลาที่มีโจรภัย กุศลเจตนาที่คิดไว้ตั้งใจไว้ที่จะเว้นทุจริต แต่เมื่อ

    อกุศลศีลกำเริบก็เป็นเหตุทำให้ล่วงทุจริตได้ จนกว่าจะถึงความมั่นคงของ

    ปัญญา


    9. ศีล และ อุตตริมนุสสธรรม
    กุศลศีลหรือกุศลจิตทุกประเภทเป็นที่ตั้งของอุตตริมนุสสธรรมทั้งหมด ซึ่งหมายถึง

    ฌาน มรรค ผล นิพพาน

    10. ปาริสุทธิศีล และ ศีลวิสุทธิ
    ความหมายของปาริสุทธิศีล ๔
    คือ ศีลที่ต้องเป็นไปด้วยสติ เพราะถ้าไม่มีสติ ศีลจะถึงความบริสุทธิ์ไม่ได้ ได้แก่
    ปาฏิโมกขสังวรศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ สิกขาบทข้อต่างๆ
    อินทรียสังวรศีล เป็นการสำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    อาชีวปาริสุทธิศีล การเลี้ยงชีพในทางที่ถูกที่ควร
    ปัจจยสันนิสสิตศีล เป็นความบริสุทธิ์จากการที่พิจารณาก่อนใช้สอยปัจจัย

    ความหมายของศีลวิสุทธิ ในวิสุทธิ ๗
    ศีลวิสุทธิ
    มาจาก ปาริสุทธิศีล ๔ คือประมวลไว้ซึ่งความเป็นไปและความเป็นอยู่

    สำหรับเพศที่บริสุทธิ์ แต่จะวิสุทธิ ก็ต่อเมื่อมีปัญญารู้ตามความเป็นจริง เพราะ

    จะนำไปสู่ ทิฎฐิวิสุทธิ คือ มีความเห็นถูกต้องว่าแม้ขณะนั้นก็เป็นธรรมซึ่งไม่ใช่สัตว์

    บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
    ศีลในศาสนา จะถึงวิสุทธิศีลได้ คือ รู้แจ้งอริยสัจธรรม ถ้าไม่มีปัญญาก็ไม่ถึง

    เพราะได้อย่างมากเป็นเพียงศีลที่บริสุทธิ์ เป็นเพียงปาริสุทธิศีล แต่ไม่ใช่วิสุทธิ

    ศีล เพราะยังมีความเป็นเราที่รักษาอยู่


    • ทางบริสุทธิ์ขึ้นของปาฏิโมกขสังวรศีล
    เมื่อกุศลเกิดเป็นไปในปาฏิโมกขสังวรศีล ไม่ล่วงละเมิดสำรวมทางตา หู จมูก

    ลิ้น กาย ไม่ประพฤติในทางที่ไม่สมควร รักษาพระปาฏิโมกข์เพราะสติเกิดขึ้นเห็น

    ประโยชน์ ขณะนั้นศีลเป็นปาริสุทธิ แม้สามารถท่องพระปาฏิโมกข์ได้ทั้งหมด แต่

    ปราศจากความเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังเป็นอยู่ ขณะนั้นก็ไม่ใช่วิสุทธิ เพราะถ้า

    เป็น วิสุทธิต้องนำไปสู่การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม

    • ทางบริสุทธิ์ขึ้นของอินทรียสังวรศีล
    อินทรียสังวรศีล หรือการสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีการสำรวมหลายอย่าง

    เช่น ไม่ไปสู่สถานที่ไม่ควรไป การเดินบิณฑบาตของพระภิกษุ ที่ไม่ติดข้องเหลียว

    ซ้ายแลขวา แต่เมื่อได้ฟังธรรม เข้าใจตามความจริงว่า ขณะเห็นคือมีสิ่งที่ปรากฏ

    ให้เห็น ไม่ใช่สิ่งที่ควรติดข้องหรือยินดี เพราะสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ ปรากฏเพียง

    ชั่วคราว อินทรียสังวรศีลจะบริสุทธิ์ขึ้น ละเอียด ด้วยความเห็นถูกต้องว่าเป็น

    ธรรม


    • ทางบริสุทธิ์ขึ้นของปัจจยสันนิสสิตศีล
    ปัจจยสันนิสสิตศีล ไม่ใช่เพียงท่องหรือเพียงว่าจะบริโภคเพื่ออยู่ หรือเพื่อศึกษา

    ธรรม หรือเพื่อปฏิบัติธรรม นั้นเป็นแต่เพียงความคิด แต่ขณะที่ ปฏิปตฺติ คือ

    สามารถที่จะถึงลักษณะที่เป็นธรรมที่ศึกษาได้ไม่ว่าในขณะไหน แม้ในขณะที่ได้

    ใช้สอยบริขารต่างๆ เช่น ขณะใช้สอยบาตร ปัญญารู้ธาตุเย็น ร้อน อ่อน แข็งตาม

    ความเป็นจริง ขณะนั้นศีลจะบริสุทธิ์ได้ยิ่งขึ้น จนถึงวิสุทธิได้ก็ต่อเมื่อมีความรู้

    ความเข้าใจ

    11. ศีลที่หยั่งลงท่ามหาสมุทรคือพระนิพพาน
    ผู้รักษาศีลโดยไม่มีปัญญา แม้จะสมาทานศีล ๕ แต่ถ้าไม่รู้แจ้งสภาพธรรมตาม

    ความเป็นจริง ก็ยึดติดว่าเป็นเรา เพราะความเห็นผิดยังไม่ดับ จึงสามารถไปเกิดใน

    อบายภูมิได้ สำคัญที่จะต้องประกอบด้วยปัญญา จึงจะหยั่งลงสู่ท่ามหาสมุทร คือ

    พระนิพพานได้

    12. ความหมายของจิตตวิสุทธิ ใน วิสุทธิ๗[3]
    จิต ในที่นี้หมายถึง สมาธิ ตามนัยของ ศีล สมาธิ ปัญญา
    สมาธิ ในที่นี้ หมายถึง ตั้งแต่ตทังคสมาธิ อุปจารสมาธิจนถึงอัปปนาสมาธิ
    ขณะใดที่มีความเห็นที่ถูกต้องว่าเป็นธรรม ขณะนั้นเป็นจิตตวิสุทธิ คนที่

    เจริญฌานแต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่จิตตวิสุทธิ เพราะไม่สามารถนำไปสู่ความเป็น

    ทิฎฐิวิสุทธิ ความเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล หรือนามรูปปริจเฉทญาณ

    ได้

    13. การอนุเคราะห์บุคคลอื่นเพื่อความเข้าใจศีล
    จะช่วยเขาหรือช่วยเรา ปัญญาของใครก็ช่วยคนนั้น ถ้าเรามีความเห็นถูก ก็

    สามารถช่วยให้คนอื่นเข้าใจถูกได้ เพราะฉะนั้นก่อนอื่นตัวเองต้องเห็นถูกก่อน

    ข้อความเตือนสติจากบทสนทนาอื่นที่ได้รับประโยชน์ในชั่วโมงพระสูตร
    14. รู้อกุศลจิตของคนอื่นโดยความเป็นเรา
    ธรรมทำให้แต่ละคนได้รู้ความจริงว่า เวลาที่อกุศลจิตเกิด นอกจากจะไม่รู้ความจริง

    ว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา เป็นธรรมที่สะสมมามีปัจจัยเกิดถึงเป็นอย่างนั้น ก็ยังเพิ่มโดย

    การที่อกุศลนั้นไปเห็นอกุศลของคนอื่น

    15. จุดประสงค์ของการฟัง
    การฟังธรรมทุกครั้ง เพื่อละความหวัง ละความต้องการ ละการยึดถือธรรมใน

    ขณะนี้ว่าเป็นเราเป็นเขาหรือว่าเป็นใคร
    คือฟังธรรมให้เข้าใจจริงๆว่าเป็นธรรม

    นี่คือจุดประสงค์ของการฟัง

    16. โคจร
    ความหมายของโคจร
    โค คือ อินทรีย์ หมายถึง มนินทรีย์
    จร คือ การไป หรือ การท่องเที่ยวไป
    โคจร หมายถึง อารมณ์เป็นที่ท่องเที่ยวไปของจิต (จิต เป็นมนินทรีย์)

    ความหมายของอุปนิสสย โดยนัยของอนันตรูปนิสสย
    อุป คือกำลัง
    นิสฺสย คือ ที่อาศัย
    อนนฺตร คือ ไม่มีระหว่างคั่น
    จิตเป็นธาตุที่สามารถที่จะสะสมกุศลและอกุศลทุกอย่าง สืบต่อมาจาก

    จิตขณะก่อนทันทีที่จิตดับก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น เกิด

    สืบต่อทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น


    อุปนิสสยโคจร โดยนัยที่มี พระธรรมเป็นอารมณ์
    อุปนิสสยโคจร อารมณ์ของจิตธาตุรู้เกิดขึ้นต้องมีสิ่งที่ให้จิตรู้ อารมณ์นั้น

    คือพระธรรมที่ทรงแสดงซึ่งมีคุณค่าประมาณไม่ได้เลย เพราะทำให้สามารถ

    ละอกุศลซึ่งสะสมมาแล้วในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีทางใดเลยที่อกุศลจะหมดสิ้น

    ไปได้ ถ้าไม่ใช่ด้วยปัญญา

    อารักขโคจรที่เกิดเพราะอาศัยอุปนิสสยโคจรเป็นปัจจัย
    กุศลจิตที่เกิดขึ้น เป็นผลจากอุปนิสสยโคจรที่ได้ฟังธรรม เป็นขั้น อารัก-

    ขโคจร
    คือ แทนที่จะเป็นอกุศล ขณะนั้นธรรมที่ฟังแล้วก็เป็นปัจจัยให้

    อารักขาจิตไม่ให้เป็นอกุศล
    ถ้าไม่ได้ฟังธรรมก็เป็นอกุศลไปแล้ว
    ด้วยเหตุนี้จาก อุปนิสสยโคจร ก็เป็นอนัตตา ถึงอารักขโคจรก็เป็นอนัตตา

    ใครฟังธรรมแล้วจะเกิดกุศลขณะไหนก็มาจากการฟังเข้าใจ

    ปัญญาที่สามารถรู้ลักษณะเฉพาะ
    เมื่อปัญญาเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยมีกำลัง ก็จะทำให้สติสัมปชัญญะรู้ลักษณะ

    เฉพาะของสิ่งหนึ่ง
    ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซึ่งธรรมดาและปรกติด้วย เพราะเหตุ

    ว่าการเกิดดับสืบต่อของสภาพธรรมเนียนมาก ยากที่จะรู้จิต ๑ ขณะ แต่

    เพราะปัญญาก็เนียนอย่างนั้น จึงสามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม

    ที่กำลังปรากฏได้


    17. กุศลที่มีผลว่างเปล่า
    กุศลขั้นทานบ้าง ศีลบ้างไม่ได้ประกอบด้วยปัญญาสามารถทำให้เกิดเป็นมนุษย์ได้

    มีรูปร่างสวยงามมีทรัพย์สมบัติ แล้วก็มีบริวาร มีทุกสิ่งทุกอย่าง มียศ มีรูป มีเสียง มี

    กลิ่น มีรส มีโผฏฐัพพะ แต่ไม่มีปัญญา ก็เหมือนสิ่งที่ว่างเปล่า กล่าวคือ มีมาแล้ว

    ในสังสารวัฏฏ์ก็ไม่เหลือ


    18. แนวทางในการศึกษาพระไตรปิฎก (พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม)​
    คิดว่าเข้าใจแล้ว แต่ความจริงยังไม่เข้าใจ เช่น พูดถึงเห็นเป็นนามธรรม ความ

    จริงแต่ละคำลึกซึ้ง แต่ผ่านไปสนใจเรื่องอื่น
    ฟังแค่ไหน เข้าใจเรื่องที่กำลังฟัง ฟังเรื่องวิถีจิตไม่ใช่จำชื่อวิถีจิต แต่เข้าใจ

    ความเป็นไปของธรรม ซึ่งเป็นอย่างนี้โดยที่ใครก็บังคับบัญชาไม่ได้ เพื่อที่

    จะได้มั่นคงในความเป็นอนัตตา




    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ ๔๒๕

    ๑. สีลวเถรคาถา
    ว่าด้วยคาถาของพระสีลวเถระ
    พระสีลวเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
    [๓๗๘] ท่านทั้งหลาย พึงศึกษาศีลในศาสนานี้ ด้วยว่าศีลอัน

    บุคคลศึกษาดีแล้ว สั่งสมดีแล้ว ย่อมนำสมบัติทั้งปวง

    มาให้ในโลกนี้ นักปราชญ์ เมื่อปรารถนาความสุข ๓

    ประการ คือ ความสรรเสริญ ๑ การได้ความปลื้มใจ ๑

    ความบันเทิงในสวรรค์เมื่อละไปแล้ว ๑ พึงรักษาศีล ด้วยว่า

    ผู้มีศีล มีความสำรวม ย่อมได้มิตรมาก ส่วนผู้ทุศีล

    ประพฤติแต่กรรมอันลามก ย่อมแตกจากมิตร นรชนผู้ทุศีล

    ย่อมได้รับการติเตียน และ ความเสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีล

    ย่อมได้รับการสรรเสริญและชื่อเสียงทุกเมื่อ ศีลเป็นเบื้องต้น

    เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย และเป็นประธาน

    แห่งธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงชำระศีลให้บริสุทธิ์

    สังวรศีลเป็นเครื่องกั้นความทุจริต ทำจิตให้ร่าเริง เป็นท่าที่

    หยั่งลงมหาสมุทร คือ นิพพาน ของพระพุทธะทั้งปวง

    เพราะฉะนั้น พึงชำระ ศีลให้บริสุทธิ์ ศีลเป็นกำลังหาที่เปรียบ-

    มิได้ เป็นอาวุธอย่างสูงสุด เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ เป็นเกราะ

    อันน่าอัศจรรย์ ศีลเป็นสะพาน เป็นศักดิ์ใหญ่ เป็นกลิ่นหอม

    อย่างยอดเยี่ยม เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ บุคคลผู้

    สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ศีลเป็นเสบียง

    อันเลิศ เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอัน

    ประเสริฐยิ่งนัก เป็นเครื่องหอมฟุ้งไปทั่วทิศานุทิศ คน-

    พาล ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นในศีล ย่อมได้รับการนินทาในเวลา

    ที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมได้รับทุกข์

    โทมนัสในอบายภูมิ ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในที่ทั่วไป

    ธีรชนผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีในศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญ

    ในเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ครั้นตายไปแล้ว ก็ได้รับ

    ความสุขโสมนัสในสวรรค์ ย่อมรื่นเริงใจในที่ทุกสถาน

    ในโลกนี้ ศีลเท่านั้นเป็นยอด และผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด

    ในโลกนี้ ความชนะในมนุษยโลกและเทวโลก ย่อมมีได้

    เพราะศีลและปัญญา.


    จบสีลวเถรคาถา.
    สีลวเถรคาถา (ว่าด้วยคาถาของพระสีลวเถระ)

    ------------------------------

    พระสีลวเถระ (แปลว่าพระผู้มีศีล) ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

    สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้า

    พระองค์นี้ ท่านเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสารในกรุงราชคฤห์ มีชื่อว่า สีลวะ

    เมื่อท่านเจริญวัยแล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูประสงค์จะฆ่าท่าน จึงยกขึ้นสู่ช้างตัวตกมัน

    ดุร้าย แม้จะพยายามด้วยวิธีต่าง ๆ ก็ไม่สามารถจะฆ่าท่านได้ เพราะท่านเกิดในภพ

    สุดท้าย จะไม่มีอันตรายต่อชีวิตในระหว่างที่ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์


    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความเป็นไปนั้น จึงตรัสสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะไป

    นำสีลวกุมาร มา พระเถระ ก็ได้นำสีลวกุมาร มาพร้อมด้วยช้างด้วยกำลังแห่งฤทธิ์.

    สีลวกุมารลงจากช้าง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง มีศรัทธา ขอบวชในพระพุทธศาสนา

    อบรมเจริญวิปัสสนา ไม่นาน ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ อยู่ในรัฐโกศล

    ต่อมา พระเจ้าอชาตศัตรูทรงสั่งบังคับให้ราชบุรุษทั้งหลายไปฆ่าท่าน แต่ราชบุรุษ

    เหล่านั้นไปยังที่อยู่ของท่านแล้ว ได้ฟังธรรมกถาที่ท่านแสดง เกิดความสลดสังเวช

    มีจิตเลื่อมใส แล้วบวช, ท่านพระสีลวเถระ ได้แสดงธรรมแก่บรรพชิตเหล่านั้น

    ด้วยคาถาทั้งหลาย ตามที่ปรากฏแล้วนั่นแล
    .





    เอาบุญมาฝากวันนี้ตั้งใจว่าจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
    รักษาศีล เจริญภาวนา และที่ผ่านมาได้อนุโมทนากับผู้ที่ให้อาหารเป็นทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆ
    และน้องที่ให้การเอื้อเฟื้อ อนุโมทนากับผู้ที่ไปทำบุญเป็นประจำ และตั้งใจว่าจะอนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง
    ถวายข้าวพระพุทธ สร้างพระและเจดีย์และนำดอกไม้บูชาพระรัตนตรัย ให้อาหารสัตว์เป็นทาน
    อนุโมทนากับเพื่อนๆที่ตั้งใจศึกษาการรักษาโรคอย่างไม่หยุดหย่อน
    เมื่อวานนี้ได้ให้ความรู้หนังสือให้ผู้อื่นอ่าน และทุกๆวันก็ได้สวดมนต์โดยสวดชุมนุมเทวดาก่อน
    และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



    ขอเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพสมทบทุนสร้างกุฎิกรรมฐาน ณ วัดเพชรมงคล ต.ปางตาไว อ.ปางศิลาทอง จ.กำแพงเพชร

    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างกุฎิกรรมฐาน เพื่อให้พระสงฆ์ในวัดได้ประกอบศาสนกิจ และใช้ในการปฎิบัติธรรมนั่งสมาธิ และเป็นการสร้างกุศลให้แก่ตนเอง แต่ทางวัดยังขาดทุนทรัพย์ที่จะดำเนินการก่อสร้าง จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมเป็นเจ้าภาพตามกำลังทรัพย์ตามกำลังศรัทธา ตอนนี้ทางวัดยังขาดปัจจัยในการก่อสร้าง จึงขอให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญ จงมีความสุข มีสุขภาพพลานมัยแข็งแรง มีวรรณผ่องใส มีทรัพย์มหาศาล เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป เทอญ

    ร่วมบริจาคได้ที่
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
    ชื่อบัญชี วัดเพชรมงคล เลขที่บัญชี 284-2-71890-5

    หรือ ติดต่อได้ที่ พระปลัดยิ้ม ปภากโร โทร 086-1166916




    http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=2449
    เชิญบูชาวัตถุมงคลร่วมมหาบุญกฐินปลดหนี้ ปี ๒๕๕๔
    เพื่อสร้างพระอุโบสถ วัดรัตนานุภาพ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส


    กำหนดการวันทอดกฐิน


    วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔


    ณ วัดรัตนานุภาพ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส



    เนื่องด้วยท่านพระครูประโชติรัตนานุรักษ์ (สว่าง จนฺทวํโส) เจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ เพื่อนรุ่นน้องที่ให้ความเคารพนับถือพระอาจารย์เล็ก
    (คบหากันมาเกือบยี่สิบปีแล้ว) ท่านได้ทำการก่อสร้างพระอุโบสถวัดรัตนานุภาพ ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งขึ้นใหม่
    ในขณะนี้ยังขาดปัจจัยอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ทางคณะสะพานบุญ จึงได้กราบเรียนพระอาจารย์เล็กเพื่อขอถวายงานรับใช้
    ทำการบอกบุญกฐินปลดหนี้ ประจำปี ๒๕๕๔ เพื่อสร้างพระอุโบสถ วัดรัตนานุภาพ



    กฐินปลดหนี้ครั้งนี้ ได้นำวัตถุมงคลที่ได้รับจากครูบาอาจารย์หลายท่าน ในสายหลวงพ่อที่รักยิ่งของพวกเรา
    และวัตถุมงคลที่มีผู้มีจิตศรัทธาสละมาเพื่อกองกฐิน ออกให้ร่วมบุญ


    กระผมจึงขอกราบเรียนแจ้งให้ท่านผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านทราบ เพื่อที่จะได้ร่วมกันสานต่องานพระศาสนาให้สำเร็จลุล่วงสืบไป


    สามารถโอนเงินร่วมบุญตามกำลังศรัทธาหรือร่วมบูชาวัตถุมงคลได้ที่


    ธนาคาร : กสิกรไทย.......................................
    สาขา : ถนนรัชดาภิเษก หข. .....................
    เลขที่บัญชี : ๐๘๙-๒-๘๐๕๖๙-๗ (089-2-80569-7)
    ชื่อบัญชี : นายชัยรัตน์ ธรรมทัตโต .....................
    โทรศัพท์ติดต่อ : ๐๘๖-๖๖๖-๗๗๖๔ (086-666-7764).........

    (ขอความกรุณาในการโอนเงินควรมีเศษสตางค์เพื่อให้ง่ายในการตรวจสอบ เช่น ๑,๐๐๐.๕๙ บาท)






    เจ้าภาพพระไตรปิฎก ๙๑ พร้อมตู้ น้อมถวาย หลวงพ่อชำนาญ
    กราบขอพระคุณและโมทนาในบุญทุกประการนะครับ
    หวังประสงค์สิ่งใดขอให้สัมฤทธิ์สำเร็จในฉับพลัน ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้ เทอญ.

    นายกิตติศักดิ์ สมวุฒิกรชัย
    ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา ศิริราช ออมทรัพย์
    เลขที่บัญชี 016-402195-6

    หรือ ร่วมบุญมาทางผม (ผมจะได้รวบรวมไปทางสายเดียวกัน ขอปิดยอด วันที่ 20 มีนาคม 2554 นะครับ)
    นายยุทธพงษ์ อนุวัฒน์มงคล
    ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา ย่อยสีลม
    เลขที่บัญชี 168-2-01166-9
    T. 089-1050414
    ร่วมทำบุญ แล้วขอความกรุณา ช่วยแจ้ง sms ด้วยนะครับ



    เชิญร่วมบุญหล่อพระหลวงปู่ดู่เนื้อโลหะ หน้าตัก 29 นิ้ว ณ วัดถ้ำเมืองนะ จ.เชียงใหม่ -- 26 มี.ค. 54
    บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ
    ชื่อบัญชี นายปีเตอร์ แสงมงคลเลิศสิริ
    เลขที่บัญชี 171-4-150032

    ส่วนท่านใดที่ประสงค์จะเขียนแผ่นทองเหลืองเพื่อร่วมฝากกระแส สามารถส่งมาได้ที่อยู่ด้านล่างนี้

    ณัฐพร สุรพิทยานนท์
    342/10 - 11 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 080-919 9185

    หมายเหตุ : รับแผ่นทองถึงวันพุธที่ 23 มี.ค. 2554 เท่านั้นนะ



    ขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องทุกท่าน ร่วมบุญสมทบทุนบริจาคปัจจัยสร้างห้องน้ำถวายแด่วัดจำปาสะเอิง ตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    บัญชีธนาคาร ไทยพาณิชย์
    ประเภท ออมทรัพย์
    ชื่อบัญชี พระครูปลัดสุเมธี ปิยสีโล
    เลขที่บัญชี5932268075
    โทรสอบถามได้ที่ พระครูปลัดสุเมธี ปิยสีโล(ครูบาน้อย) โทร 086 079 8534
    <o:p></o:p>



    ขอเชิญร่วมจัดพิมพ์หนังสือระเบียบสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม วัดอัมพวัน

    ถวายหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม



    การร่วมบุญ มีดังนี้

    1.เปิดร่วมบุญได้ตั้งแต่บัดนี้ - 15 มีนาคม 2554

    2.ตั้งเป้าไว้ที่ 1,000 เล่ม เล่มละ 10 บาท (รับไปเรื่อยๆ จนกว่าถึงวันสุดท้าย)

    3.แสดงรายชื่อผู้จัดพิมพ์และระบุจำนวนเล่ม

    4.หากต้องการรับไปถวายด้วยตนเองกรุณาแจ้งจำนวน

    5.โอนปัจจัยร่วมบุญได้ที่

    บัญชีชื่อ นายศักดิ์สิทธิ์ แซ่ตั้ง
    ธนาคารกรุงไทย สาขาตลาดพลู
    เลขที่#155-0-24389-6 ประเภทออมทรัพย์
    เมื่อท่านโอนปัจจัยร่วมบุญแล้ว กรุณาแจ้งด้วยนะครับ 082-392-6924




    (^_^) โครงการถักหมวกไหมพรม...ถวายพระสงฆ์ - รับถึงก่อนเข้าพรรษา ปี2554
    พี่ๆ เพื่อนๆ ท่านใดสนใจร่วมบุญได้ ตั้งแต่บัดนี้ - ไปถึงวันเข้าพรรษา ปี 2554 นะครับ
    บัญชี กรุงเทพ สาขาพุทธมณฑล
    เลขที่#247-0-73231-0
    ชื่อบัญชี ชวัลณภัค วีระเชวงกุล

    ที่อยู่...คุณชวัลณภัค วีระเชวงกุล
    39/273 หมู่ 10 ม.สิริกานต์-บางใหญ่ ต.บางแม่นาง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140



    ขอเชิญนมัสการพระธรรมเจดีย์ อายุ 2000 ปี ณ พุทธมณฑล นครปฐมครับ <o:p></o:p>
    ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 20 พ.ค. 54 ครับ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    โครงการก่อสร้างวิหารไพวรรณ์ อุตตโม
    เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
    วัดอัคคาราม บ.อัคคะ ต.อัคคะคำ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด<o:p></o:p>

    จึงขอเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายร่วมบริจาคในการก่อสร้างครั้งนี้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป
    ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
    ชื่อบัญชี เงินอุดหนุนบูรณวัดปี 2553 วัดอัคคาราม อ.โพธิ์ชัย สาขาโพธิ์ชัย
    เลขที่บัญชี 096 – 2 – 15609 -6 ประเภทออมทรัพย์
    ขออนุโมทนาบุญกับผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ต้องการใบอนุโมทนาบัตร
    เจ้าอาวาส พระอธิการบุญช่วย ปญญาธโร โทร. 089-5724612
    ประธานอำนวยการก่อสร้าง พระมหาสมพร กิตติวณณ โทร. 086-2419519<o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เชิญร่วมบูรณะพระธาตุเจดีย์อายุกว่า๓๕oปี ที่วัดพระธาตุจอมทอง แม่สะเรียง <o:p></o:p>
    เนื่องจากพระธาตุเจดีย์วัดจอมทองแห่งนี้มีอายุกว่า ๓๕o ปี ได้มีสภาพทรุดโทรมมากอย่างที่เห็นในรูป
    ทางเจ้าอาวาสและพระลูกวัดเห็นสมควรบูรณะซ่อมแซมพระธาตุเจดีย์แห่งนี้ให้เร็วที่สุด
    ผู้ที่มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบุญได้ที่

    ๑.ตู้ร่วมบุญที่วัดจอมทองแม่สะเรียง : หลวงพ่อครูบาอินสม สุวีโร(เจ้าอาวาสวัดจอมทอง)
    +++โทร:089-9291010

    ๒.ทางธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี 509-1-27113-9
    ชื่อบัญชีเงินกองทุนซ่อมแซมพระธาตุจอมทอง สาขาแม่สะเรียง
    บัญชีออมทรัพย์
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอเชิญร่วมสร้างโรงครัวถวายวัดป่า
    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร โทร0860152130 อนุโมทนา สาธุๆ
    โดยสามารถบริจาคผ่านบัญชีได้ที่
    ธนาคารทหารไทย ออมทรัพย์ (สาขาอ่อนนุช)
    ชื่อบัญชี พระจิรวัฒน์ ญาณวโร
    เลขที่บัญชี 127-2-10027
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    น้อมอาราธนาบารมีแห่งองค์พุทธะ พระอรหันต์ทังหลาย[FONT= ] [/FONT]โปรดเป็นประธานในการรองรับทักษิณาทานของเหล่าพุทธบริษัท[FONT= ] [/FONT]เพื่อให้มีส่วนตรงต่อสัจธรรมอย่างฉับพลัน และได้มีส่วนเสียสละตามองค์พุทธะ[FONT= ] [/FONT]มหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย
    <O></O>
    วาระนี้ได้ดำริสร้างกุฏิสงฆ์ ณ วัดร่มโพธิธรรม บ้านหลัก [FONT= ]160 [/FONT]อ.หนองหิน[FONT= ] [/FONT]
    <O></O>
    จ.เลย [FONT= ]42180 [/FONT]เพื่อรองรับพระสหธรรมิก พระธรรมจาริก[FONT= ] [/FONT]และญาติธรรมทั้งหลาย ที่มาร่วมงานฟื้นฟูสัจธรรมของทุกปี
    <O></O>
    กาลนี้จึงบอกบุญมาเพื่อร่วมอนุโมทนาและร่วมเสียสละบริจาคทานได้<O></O>ที่ พระเอกชัย กิตติชโย[FONT= ] [/FONT]โดยผ่าน ธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อย คาร์ฟูเชียงใหม่[FONT= ] [/FONT]<O></O>บัญชี ออมทรัพย์[FONT= ] [/FONT]ชื่อบัญชี นายเอกชัย ปะระมะ เลขที่[FONT= ]590-0-21497-3<O></O> [/FONT]โทร. [FONT= ]083-0817438 [/FONT]ท่านใดต้องการซีดีสัจธรรมโปรดแจ้งชื่อและที่อยู่มาด้วย
    <O></O>
    [FONT= ]

    <O>[/FONT]

    </O><o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอเชิญร่วมงานประจำปี 2554 เป็นเจ้าภาพหล่อพระประทาน 9 องค์ ณ.วัดอัมพุวราราม ต.บ้านงิ้ว อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
    วันที่ 17-20 มีนาคม 2554
    บัญชี มูลนิธิชาวพุทธสุทธิจิตต์
    เลขที่ 118-5-104542
    ธ.กรุงเทพ สาขาสีลม
    ติดต่อสอบถาม พระครูวิสุทธิกิตติคุณ เจ้าอาวาสวัดอัมพุวราราม โทร.08-1833-3037 www.watumpu.org watumpu@hotmail.com<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    ด้วยบ้านของนายประสงค์ นางจันทร์จิรา ศรีวิชัย

    บ้านเลขที่ 263 หมู่ที่ 3 บ้านเด่น ตำบลบ้านแป้น

    อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000

    ได้ประสพอัคคีภัยไฟไหม้บ้านทั้งหลัง เสียหายกว่า 500,000 บาท
    ซึ่งเป็นบ้านไม้ชั้นเดียววอดไปเกือบทั้งหลัง ทำให้ผู้ประสพภัยดังกล่าวเกิดความเดือดร้อนในเรื่องของที่อยู่อาศัยและ เครื่องใช้อุปโภคบริโภค ในชีวิตประจำวัน


    ทางผมได้รับการประสานงานจากพระอาจารย์ณัฏฐนันท์ คุณวีโร
    รักษาการเจ้าอาวาสวัดหนองเรือ
    ให้มาบอกบุญช่วยเหลือผู้ประสพอัคคีภัยในครั้งนี้
    เพื่อเป็นการอนุเคราะห์ ช่วยเหลือ เยียวยาทางด้านจิตใจ
    ให้ผู้เกิดความเดือดร้อนได้มีกำลังใจต่อสู้ชีวิตกับสิ่งที่โหดร้ายที่สุดในชีวิต
    และจะได้เริ่มฟื้นฟูครอบครัวให้ดำรงอยู่ต่อไป

    สิ่งแรกที่ต้องการในตอนนี้คือปัจจัยในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
    ตอนนี้ครอบครัวลำบากมากไม่มีที่หลับที่นอน

    สำหรับท่านใดอยากจะร่วมช่วยเหลือครอบครัวของนายประสงค์ ในครั้งนี้ก็สามารถทำได้ที่

    โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาลำพูน
    เลขที่บัญชี 511-0-494290
    ชื่อบัญชี นางจันทร์จิรา ศรัวิชัย


    ธนาคารเพื่อการเกษตร (ธกส) สาขาลำพูน
    เลขที่บัญชี 047-2-91760-8
    ชื่อบัญชี นางจันทร์จิรา ศรีวิชัย


    ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

    พระอาจารย์ณัฏฐนันท์ คุณวีโร
    โทร 083-1143681
    อีเมล nutthanun_neung@hotmail.com<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    ร่วมบริจาคหนังสือให้ห้องสมุดโรงเรียนบ้านสันทรายคองน้อย
    <!-- google_ad_section_end -->โรงเรียนบ้านสันทรายคองน้อย หมู่ที่ 6 ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 50110
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    ร่วมเป็นเจ้าภาพบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ๕๗ รูป
    วัดบ้านห้วยน้ำขาว จ.กาญจนบุรี
    เนื่องด้วยทางในช่วงเดือนเมษายนทางโรงเรียนได้ปิดเทอมทางวัดจึงจัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนในช่วงว่าง
    วัตถุประสงค์
    ๑.บรรพชาถวายเป็นพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เนื่องในวันพระราชสมภพ ๒ เมษายน
    ๒.เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนไทย
    ๓.สร้างความสามัคคีแก่ บ้าน วัด โรงเรียน
    ๔.ฝึกหัดให้เยาวชนพึ่งพาตนเอง โดยการพาออกธุดงค์ไปในเขตวัดใกล้เคียง
    ในการบรรพชาสามเณรครั้งนี้ทางวัดได้จัดให้มีการบรรพชาในวันที่ ๒ - ๑๗ เมษายน ๒๕๕๔
    อายุในการรับสมัคร ๑๐ ปีขึ้นไปสามารถโทรสอบถามรายละเอียดได้ที่
    ๐๘๐-๖๔๖-๒๙๙๕
    ท่านใดสนร่วมเป็นเจ้าภาพบรรพชารูปละ ๙๙๙ บาท
    เป็นเจ้าภาพภัตตาหารมื้อละ ๔,๕๐๐ บาท
    ร่วมได้ทางธนาคาร กรุงไทย สาขา กาญจนบุรี
    ชื่อบัญชี วัดบ้านห้วยน้ำขาว
    เลขที่บัญชี ๗๑๓-๐-๐๑๘๙๘-๔ (713-0-01898-4
     

แชร์หน้านี้

Loading...