เรื่องเด่น ธาตุ ๔ (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย rachotp, 30 กันยายน 2022.

  1. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,218
    กระทู้เรื่องเด่น:
    251
    ค่าพลัง:
    +23,891
    13.jpg

    "...พิจารณาร่างกาย ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ร่างกายของเรานี่ ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ

    15.jpg

    หนัง เนื้อ กระดูก จัดว่าเป็นของแข็ง พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า 'ธาตุดิน'


    น้ำในร่างกายมีน้ำลาย ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้น อย่างนี้เป็น 'ธาตุน้ำ' คือ ทำธาตุดินให้อิ่มเอิบชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา


    อาการพัดไปในร่างกาย เรียกว่า 'ธาตุลม' ก็มีลมหายใจ เป็นต้น


    แล้วความอบอุ่นในร่างกาย เรียกว่า 'ธาตุไฟ'


    ที่ร่างกายของเรานี้ ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ มันเข้ามาประชุมกันเป็นเรือนร่างชั่วคราว ที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า ไอ้ร่างกายนี้ มันเป็นเพียงธาตุ ๔ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ท่านบอกว่าการพิจารณาร่างกาย เห็นแต่เพียงว่ามันเป็นธาตุ ๔ โดยเฉพาะ

    11.jpg

    ถ้าธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มันยังสามัคคีกันเพียงใด ร่างกายของเราก็ถือว่าเป็นร่างกายที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความสุข ถ้าธาตุในร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งพร่องไป อาการป่วยไข้ไม่สบาย มันก็เกิดมีความทุกข์ เหมือนกับโต๊ะ ๔ ขา ถ้ามันสั้นไปเสียขาหนึ่ง วางแล้วมันก็ยังตั้งอยู่ได้ แต่มันโขยกเขยก มันไม่เรียบร้อย ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ร่างกายเราก็เหมือนกัน

    14.jpg

    ทีนี้เจ้าธาตุ ๔ นี่ มันจะทรงตัว มีกำลังสม่ำเสมอกันตลอดเวลาก็หาไม่ มันมีการเสื่อม บางวาระธาตุน้ำน้อยไป หายใจไม่สะดวก ความอึดอัดมันก็เกิดขึ้น สำหรับธาตุดิน ถ้าน้อยไปร่างกายก็ทรุดโทรมอย่างกับคนแก่

    เด็ก คนหนุ่ม คนสาว ธาตุดินสมบูรณ์บริบูรณ์ มีเนื้อหนังเปล่งปลั่ง ดูสวยสดงดงาม ดูดีน่าชม แต่พออายุ ๓๐ ล่วงไปแล้ว ธาตุดินมันเสื่อมไป

    10.jpg

    ทีนี้การพิจารณาร่างกาย ก็เป็นแต่เพียงร่างกาย ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ อันนี้เป็น 'สมถภาวนา' ใน 'มหาสติปัฏฐานสูตร' พระพุทธเจ้าสอนทั้งสมถะและวิปัสสนาร่วมกันไป..."


    หลวงพ่อพระราชพรหมญาณ
    (พระมหาวีระ ถาวโร)
    วัดจันทาราม (ท่าซุง) จ.อุทัยธานี

    12.jpg


    คัดลอกเนื้อหาบางส่วนมาจากหน้าที่ ๔๔-๔๕ ในนิตยสารธรรมปฏิบัติ 'ธัมมวิโมกข์' ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔๕๓ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑

    Credit: ขอขอบพระคุณที่มาจาก Facebook สายลมแห่งธรรม


     

แชร์หน้านี้

Loading...