นักคณิตศาสตร์อัจฉริยะที่มีผลงานมากที่สุดและสติเฟื่องที่สุดในยุคนี้.

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Por.f.R.P.Fenyman, 30 ตุลาคม 2008.

  1. Por.f.R.P.Fenyman

    Por.f.R.P.Fenyman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +17
    <TABLE id=AutoNumber19 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height=33 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" height=20>ครั้งหนึ่งผมเคยมีหนังสืออัตชีวะประวัตินักคณิตศาสตร์ที่ชอบมากคนหนึ่ง หนังสือชื่อ The man Who loved Only Numbers : The Story of Paul and the Search for Mathematical Truth หนังสือเล่มนี้หนา 302 หน้า และมีราคา $23 อันที่จริงแล้วชื่อหนังสือเล่มนี้ไม่สมบูรณ์นัก เพราะนอกจากคณิตศาสตร์แล้ว ยังรักเด็กและแม่ของเขามาก เมื่อเขา "จากไป" เถ้ากระดูกของเขาถูกนำไปฝังใกล้เถ้าของแม่เขาในประเทศฮังการี วันนี้มีโอกาสที่จะนำมาเล่าให้ทุกท่านฟัง
    </TD></TR><TR><TD width="100%" height=5><HR></TD></TR><TR><TD width="100%" height=1>
    พอล แอร์ดิช ( 26 มี.ค. พ.ศ. 2456 - 20 ก.ย. พ.ศ. 2539) นักคณิตศาสตร์ผู้โดดเด่น ทั้งในด้านผลงาน และพฤติกรรมอันแปลกประหลาด ผลงานตีพิมพ์ของเขามีจำนวนมหาศาล มีผู้ร่วมตีพิมพ์รวมแล้วนับร้อยคน และเกี่ยวพันกับหลาย ๆ สาขาในคณิตศาสตร์ อาทิ คณิตศาสตร์เชิงการจัด (combinatorics), ทฤษฎีกราฟ (graph theory), ทฤษฎีจำนวน (number theory), การวิเคราะห์แบบคลาสสิก (classical analysis), ทฤษฎีการประมาณ (approximation theory), ทฤษฎีเซต (set theory) และ ทฤษฎีความน่าจะเป็น (probability theory)
    ประวัติ
    แอร์ดิช เกิดในเมืองบูดาเปสท์ ประเทศฮังการี(ที่จริงแล้วชื่อของเขา ควรออกเสียงว่า "แอร์-เดิร์ช" ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Air-dersh")



    พ่อแม่ของเขาเป็นยิวที่ไม่เคร่งครัดนัก. ไม่เพียงแต่แอร์ดิชเท่านั้น ที่เป็นผลผลิตของสังคมยิวในบูดาเปสท์ยุคนั้น, แต่ยังมีนักคิดชื่อดังอีกอย่างน้อย 5 คน ได้แก่ ยูจีน แวกเนอร์ (Eugene Wigner) นักฟิสิกส์ และวิศวกร, เอดเวอร์ด เทลเลอร์ (Edward Teller) นักฟิสิกส์ และการเมือง, ลีโอ ซิลลาร์ด (Le&oacute; Szil&aacute;rd) นักเคมี ฟิสิกส์ และการเมือง, จอห์น วอน นอยแมน (John von Neumann) นักคณิตศาสตร์ และโพลีแมท (polymath), และ จอร์จ ลูคอทช์ (Georg Luk&aacute;cs) นักปรัชญา. แอร์ดิชได้เผยความเป็นเด็กมหัศจรรย์ออกมา ตั้งแต่อายุยังน้อย และในเวลาต่อมาไม่นานนัก ก็ได้รับการยอมรับจากคนในวัยเดียวกัน ว่าเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์

    ถึงแม้ว่าเขาจะมีชื่อเสียงโด่งดัง และยังได้รับรางวัลจำนวนมาก ซึ่งช่วยให้เขาสามารถอยู่ได้อย่างสุขสบายไปตลอดชีวิต แอร์ดิชกลับใช้ชีวิตอย่าง "คนจรจัด" โดยการร่อนเร่ไปตามงานประชุมทางวิทยาศาสตร์ และบ้านของเพื่อนนักคณิตศาสตร์ตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นเวลาถึง 50 ปี


    ที่เพื่อนนักคณิตศาสตร์ของเขา จะต้องถูกปลุกขึ้นมากลางดึก โดยผู้มาเยือนที่ไม่ได้คาดฝัน พอล แอร์ดิช ชายผู้ไร้บ้าน และมีถุงใบใหญ่เพียงใบเดียว สำหรับใส่สิ่งของจำเป็น เขามักจะปรากฏตัวที่หน้าประตูบ้านเพื่อน พร้อมกับคำพูด "หัวผมเปิดอยู่" ("my brain is open") แล้วพักอยู่ที่บ้านของเพื่อนคนนั้น นานพอที่จะมีงานวิจัยตีพิมพ์ร่วมกันสองสามชิ้นจึงจากไป ในหลาย ๆ ครั้ง เขามักจะขอให้เพื่อนที่กำลังร่วมงานกันอยู่ปัจจุบัน ช่วยคิดว่าควรจะไปหาใครต่อดี ลักษณะการทำงานของเขานั้น มีผู้นำไปเปรียบเทียบอย่างขำขันว่า เป็นเช่นเดียวกับการวิ่งไปในลิงก์ลิสต์ (เมื่อเขาแก้ปัญหาอันหนึ่งได้ เขาก็จะกระโดดจากปัญหานั้น ไปยังสู่อีกปัญหาหนึ่งเสมอ ไม่รู้จบ) ข้าวของเครื่องใช้ รวมถึงสิ่งที่มีค่าในทางโลก ไม่มีความหมายกับเขา โดยเขาได้บริจาคเงินที่ได้จากรางวัล หรือแหล่งทุนต่าง ๆ ให้กับผู้คนที่ต้องการในหลาย ๆ โอกาส

    เขาเคยกล่าวเล่น ๆ ว่า "นักคณิตศาสตร์ คือเครื่องจักรสำหรับเปลี่ยนกาแฟ ให้กลายเป็นทฤษฏีบท แอร์ดิชดื่มกาแฟจัด และหลังจากปี พ.ศ. 2514 เขาเริ่มใช้สารแอมเฟตามีน แม้ว่าเพื่อน ๆ ของเขาจะทักท้วงจนกระทั่งได้มีการพนันด้วยเงิน 500 ดอลลาร์สหรัฐ ว่าแอร์ดิชจะไม่สามารถหยุดใช้แอมเฟตามีนได้ถึงหนึ่งเดือน แอร์ดิชก็ชนะการพนันครั้งนั้น แต่เขาก็ได้ตัดพ้อว่า มันทำให้คณิตศาสตร์ต้องหยุดการพัฒนาไปถึงหนึ่งเดือนเต็ม ๆ เขากล่าวว่า "ก่อนหน้านี้ เมื่อมองกระดาษ หัวของผมก็เต็มไปด้วยไอเดีย ตอนนี้ผมเห็นแค่กระดาษเปล่า ๆ เท่านั้นเอง" หลังจากที่ชนะพนัน เขาก็กลับไปทำเช่นเดิมทันที

    แอร์ดิช ได้บัญญัติศัพท์บ้า ๆ บอ ๆ เฉพาะตัว อยู่จำนวนหนึ่ง เขาพูดถึง "the Book" ว่าเป็นหนังสือ (ในจินตนาการ) ซึ่งพระเจ้าได้บันทึกบทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่ดี และสวยงามที่สุดเอาไว้ (จริง ๆ แล้วเขาไม่นับถือเทพเจ้า และมักแทนพระเจ้าเล่น ๆ ด้วยคำว่า "อภิฟาสซิสต์ - Supreme Fascist") เมื่อเขาเห็นบทพิสูจน์อันสวยงามเป็นพิเศษ เขาก็จะร้องออกมาว่า "บทพิสูจน์อันนี้ต้องมาจาก the Book แน่ ๆ" คำประหลาด ๆ อื่น ๆ ของแอร์ดิช มีทั้ง "เอปซิลอน" ซึ่งหมายถึงเด็ก, "เจ้านาย" หมายถึงผู้หญิง (แน่นอนว่า "ทาส" ก็จะต้องหมายถึงผู้ชาย), คนที่เลิกทำงานด้านคณิตศาสตร์ไปแล้ว เรียกว่า "ตายแล้ว", คนที่ตายไปจริง ๆ เรียกว่า "จากไป", เครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือ "ยาพิษ", ดนตรีคือ "เสียงรบกวน (noise)", การสอนเล็คเชอร์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ คือการไป "แสดงธรรม" นอกจากนี้ ประเทศต่าง ๆ ที่เขาเห็นว่า ไม่ได้ให้อิสรภาพแก่ประชาชนอย่างพอเพียง ก็จะถูกพิจารณาว่า เป็นพวกจักรวรรดินิยม และได้รับชื่อเล่น ซึ่งจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตัวเล็กเท่านั้น เช่น สหรัฐอเมริกา คือ "samland", สหภาพโซเวียต เป็น "joedom" (ตามชื่อ Joseph Stalin), และ อิสราเอล เป็น "israel" ในคำจารึกหน้าหลุมศพของเขา เขาได้บอกให้เขียนข้อความว่า "ในที่สุด ข้าพเจ้าก็ไม่เขลาลงอีกต่อไป" ("V&eacute;gre nem butulok tov&aacute;bb" ในภาษาฮังกาเรียน)

    เขา"จากไป"ด้วยโรคหัวใจ ในวันที่ 20 ก.ย. พ.ศ. 2539 ขณะเข้าร่วมการประชุมวิชาการ ในเมืองวอซอว์ ประเทศโปแลนด์


    ผลงานทางคณิตศาสตร์
    แอร์ดิช เป็นคนหนึ่ง ที่มีผลงานตีพิมพ์ออกมามหาศาล ทั้งชีวิตเขาเขียนบทความทางคณิตศาสตร์ ถึงประมาณ 1,500 ชิ้น (เกือบจะมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ ของวงการคณิตศาสตร์ เป็นรองเพียงแค่นักคณิตศาสตร์ระดับออยเลอร์) ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นการร่วมทำกับผู้อื่น เขามีผู้ร่วมตีพิมพ์รวมแล้วราว 500 คน และได้ทำให้การร่วมงานกันทางคณิตศาสตร์ กลายเป็นการสมาคมแบบหนึ่ง ซึ่งนักคณิตศาสตร์หลาย ๆ คนชื่นชอบ และพยายามเลียนแบบวิธีการทำงานของเขา ในเวลาต่อมา

    จากการที่เขามีผลงานจำนวนมากนั้นเอง เพื่อน ๆ ของเขาจึงได้ร่วมกันกำหนด หมายเลขแอร์ดิช ขึ้นมาเล่น ๆ โดยการนับนั้นเริ่มต้นที่หมายเลข 0 ซึ่งให้กับแอร์ดิชคนเดียวเท่านั้น ในขณะที่หมายเลข 1 จะให้กับผู้ที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกับแอร์ดิช ส่วนผู้ที่มีผลงานร่วมกับเหล่าหมายเลข 1 นี้ก็จะได้รับหมายเลข 2 และตัวเลขก็จะวิ่งในลักษณะนี้ไปเรื่อย ๆ ประมาณ 90% ของนักคณิตศาสตร์ทั้งโลก มีหมายเลขแอร์ดิชต่ำกว่า 10 (ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอย่างใด เพราะมองได้ว่าเป็นปรากฏการณ์โลกแคบแบบหนึ่ง) มีเรื่องเล่าตลก ๆ ว่า นักเบสบอลระดับตำนาน ผู้มีชื่ออยู่ในหอเกียรติคุณ แฮงค์ แอรอน (Hank Aaron) มีหมายเลขแอร์ดิชเบอร์ 1 เพราะทั้งคู่เซ็นชื่อลงในลูกเบสบอลลูกเดียวกัน เมื่อมหาวิทยาลัยจอร์เจีย ให้ปริญญากิตติมศักดิ์กับทั้งคู่ในวันเดียวกัน

    ต่อไปนี้คือรายชื่อของผู้ที่มีผลงานร่วมกับแอร์ดิชมากที่สุดส่วนหนึ่ง

    ยูซัฟ อาลาวี
    บีลา โบลโลบาช
    สเตฟาน เบอร์
    ฟาน ชวง
    ราล์ฟ ฟาวดรี
    โรนัลด์ เกรแฮม
    อันดราส จียาร์ฟาส
    อันดราส ฮัจนาล
    อีริค ไมล์เนอร์
    ยาโนส พาช
    คาร์ล โพเมอร์รานส์
    ริชชาร์ด ราโด (หนึ่งในผู้ร่วมตีพิมพ์ทฤษฎีบทแอร์ดิช-โค-ราโด อันโด่งดัง)
    อัลเฟรด เรนยี
    โวจ์เทค ริเดิล
    ซี.ซี. รุสโซ
    อันดราส ซาโคซี
    ดิค เชลป์
    มิคลอส สิโมโนวิทส์
    วีรา ซอส
    โจเอล สเปนเซอร์
    เอนเดอร์ ซีเมอร์รีดี
    พอล ทูราน
    ปีเตอร์ วิงค์เลอร์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    และเมื่อเขา "จากไป" นั้น สมาคมคณิตศาสตร์ของอเมริกัน (The American Mathematical Society and the Mathematics Association of America) ได้จัดงานประชุมไว้อาลัย ที่ประชุมได้กล่าวถึงผลงานของเขา และเล่าเกร็ดชีBabe Ruth ได้เคยสร้างสถิติที่ home run = 714 ครั้ง และเมื่อ Hank Aaron ทำลายสถิติ = 715 ครั้ง ได้กล่าวว่า 714 =2 x 3 x 7 x 17 ซึ่ง 2 + 3 + 7 + 17 = 29 และ 715 = 5 x 11 x 13 ซึ่ง 5 + 11 + 13 = 29 เช่นกัน วิตด้านความเฉลียวฉลาดว่องไวของ ว่าในประวัติของการเล่นเบสบอล แล้ว ก็ได้แสดงวิธีพิสูจน์ว่า หากเรามีเลข 2 จำนวนเรียงกัน (714, 715) ที่สามารถแยกตัวประกอบ (factor) ได้และตัวประกอบเหล่านี้เป็นเลขเฉพาะ ผลบวกของตัวประกอบจะเท่ากันเสมอ ปัจจุบันนักคณิตศาสตร์รู้จักเลขชุดนี้ว่า Ruth-Aaron number
     

แชร์หน้านี้

Loading...