นาคารชุน ผู้กล้าในธรรมธรรม

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย santosos, 29 มกราคม 2010.

  1. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    พระพุทธเจ้าในพระพระนิพพาน ทรงชมพระนาคารชุนอย่างมากเมื่อข้าพเจ้าไปนิพพานด้วยมโนมยิทธิว่า
    นาคารชุนเป็นโพธิสัตว์ผู้กล้าในธรรม
     
  2. กิตติสัทโท

    กิตติสัทโท สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2010
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +0
    คุณ Santosos กล่าวชื่นชมตนเองก็เป็น ด้วย คุณธรรมจริงๆยังไม่มี ยังแอบอ้างว่าพระพุทธเจ้าทั้หลาย ยกย่องอีกว่าแก่ล้าในธรรม

    แก่กล้าในธรรม แต่ภูมิจิตไม่ถึงธรรมที่แก่กล้า มันก็ไม่ต่างกับปุถุชนธรรม จริงมั้ย โยม
     
  3. thaiboy74

    thaiboy74 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +207
    นาคารชุณใหนครับ

    ใช่ท่านนี้หรือเปล่า ผู้ที่เคยเป็นยามเฝ้าประตูที่มหาวิทยาลัยนาลันทา
    สอบสัมภาษณ์ผู้ที่จะมาสมัครตั้งแต่หน้าประตู

    ผู้ที่วางรากฐานของการศึกษาพุทธศาสนาแบบตรรกะวิภาษ ในสายmadyamika ซึ่งเป็นรูปแบบที่ธิเบตใช้ในปัจจุบัน หรือเปล่า



    [​IMG]
     
  4. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    [​IMG]

    โอ้ว พระโพธิสัตว์ นาคารชุนะ ผู้ยิ่งใหญ่
    ผู้เรียบเรียงสุดยอดแห่งคัมภีร์ วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร
    "Homage to the Great Nagarjuna Bodhisattva"
     
  5. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ไหนๆ กระทู้นี้ก็ชื่นชมท่านนาคารชุนะโพธิสัตว์แล้ว
    ข้าพเจ้าจึงนำคุณความดีของท่านโพธิสัตว์นาคารชุนะมาบอกกล่าวให้รู้กัน

    ข้าพเจ้าได้คัดลอกมาจากเอกสารเก่าๆของข้าพเจ้า เกี่ยวกับวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร
    เพื่อให้ทุกท่านได้มีความรู้เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์องค์นี้ขึ้นมาบ้างเล็กน้อย

    [​IMG]

    ประวัติท่านคุรุนาคารชุน ผู้ก่อตั้งนิกายมาธยมิก "นิกายแห่งทางสายกลาง"

    สมัยพระเจ้ายัชญศรี เคาตมีบุตร กษัตริย์แห่งราชวงศ์ศาตวาหนะ มีคุรุพระองค์หนึ่งนามว่า นาคารชุนท่านเป็นคุรุที่ยิ่งใหญ่และสำคัญมากในพุทธศาสนามหายาน เป็นนักปรัชญาทางพระพุทธศาสนา จากการศึกษาพระไตรปิฏกเพียง ๙๐ วัน ก็มีความรู้แตกฉานในพุทธปรัชญา เป็นผู้ประพันธ์ปรัชญามหายานด้วยกวีนิพนธ์ ชื่อว่า มาธยมิกศาสตร์กวีนิพนธ์เล่มดังกล่าว ได้เป็นที่รวบรวมปรัชญานานานิกายทางพระพุทธศาสนาไว้เกือบหมด อีกทั้งปรัชญาทางศาสนาพราหมณ์ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องอาตมัน แล้วยังได้อธิบายถึงปรัชญาศูนยตาที่ท่านได้ประพันธ์ขึ้น ด้วยอรรถาธิบายพุทธมติระบบวิภาษวิธี ซึ่งก่อความตื่นเต้นในวงนักปราชญ์ทางพุทธศาสนา

    ท่านคุรุได้กำจัดพวกปรวาทีพ่ายแพ้ไปทุกหนแห่ง เผยให้เห็นถึงความเลิศเด่นของพุทธธรรม ด้วยปัญญาที่เลิศล้ำจนหาผู้เปรียบมิได้ในสมัยนั้น พวกพราหมณ์ทั้งหลายพากันกลัวในวาทะของท่านมาก ชื่อเสียงของท่านจึงโด่งดังอย่างรวดเร็ว และนิกายมาธยมิก ชื่อว่านิกายแห่งทางสายกลางหรือศูนยตวาทิน จึงได้แพร่หลายไปในหมู่ชนทุกชั้น จนกลายเป็นนิกายที่เด่นและเจริญรุ่งเรืองที่สุดของพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ ๑๐.

    ตามประวัติพระคุรุนาคารชุน เกิดในสกุลพราหมณ์ บิดาเป็นขุนนางที่ร่ำรวยมาก ทางภาคใต้ของอินเดีย ที่เมืองวิทารภะ ในปฐมวัย ท่านเป็นเด็กที่ฉลาดปราดเปรื่องมาก เพราะสามารถร่ำเรียนพระเวทและศิลปะการต่อสู้จนเชี่ยวชาญ เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยรุ่น ด้วยความคึกคะนอง ท่านคุรุนาคารชุน กับเพื่อนรักที่สนิท ๒ คน ชักชวนกันไปที่เขาลูกหนึ่งเพื่อเล่าเรียนวิชามายาศาสตร์ล่องหนหายตัวจากฤาษีท่านหนึ่ง จนกระทั่งพวกเขาทั้ง ๓ สำเร็จวิชาล่องหนหายตัว

    ในปัจฉิมวัย ท่านได้ใช้ชีวิตส่วนมากอยู่ทางอินเดียตอนใต้ คือที่ศรีบรรพต หรือศรีไศล ท่านได้ถือเอาสถานที่แห่งนั้นเป็นศูนย์กลางแห่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และท่านได้ดับขันธ์ลง ณ มหาวิหารแห่งหนึ่งที่เมืองอมราวดี ในแคว้นอันธระ ทักษิณาบท ปัจจุบันนี้อินเดียทางใต้ยังมีโบราณสถานแห่งหนึ่ง ซึ่งมีซากสถูปพระเจดีย์ชื่อว่านาคารชุนโกณฑะมีหลักฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายธิเบตได้กล่าวยืนยันว่าท่านเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทาด้วยคนหนึ่ง เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๗.

    ผลงานสำคัญของพระคุรุนาคารชุน ท่านเป็นนักปราชญ์และนักตรรกวิทยาที่มีชื่อเสียงที่สุดรูปหนึ่ง ผลงานของท่านที่ประพันธ์ยังมีเหลือปรากฏอยู่ คือ

    ๑. มาธยมิก การิกา หรือมาธยมิกศาสตร์ มี ๔๐๐ การิกาใน ๒๗ ปริเฉท ซึ่งนับว่าเป็นมูลฐานแห่งปรัชญาของท่านเล่มหนึ่ง กวีนิพนธ์ปรัชญาเล่มนี้เป็นที่รวมหายานสูตรทั้งหลาย หรือเรียกว่าเป็นหัวใจของมหายานก็ได้ บรรจุหลักตรรกวิทยา และอภิปรัชญาชั้นสูงของมหายาน เพราะกวีนิพนธ์เล่มนี้เองที่ทำให้ท่านคุรุนาคารชุนมีชื่อเสียงปรากฏเด่นเป็นที่กล่าวถึงของพวกพุทธศาสนิกมหายานทุกนิกาย และได้ยกย่องท่านไว้ในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ มาจนกระทั่งทุกวันนี้.

    ๒. อกุโตภยา เป็นหนังสือที่ท่านแต่งอธิบายข้อความในมาธยมิกา อกุโตภยา แปลว่า ปลอดภัยหรือหาภัยแต่ที่ไหนไม่ได้”.

    ๓. สุหทุลเลขะ เป็นหนังสือที่ท่านเขียนถึงเพื่อน คือ พระเจ้ายัชญศรี เคาตมีบุตร เป็นหนังสือท่วงทำนองจดหมาย แต่แฝงไว้ซึ่งคติธรรม.

    ๔. มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ เป็นสูตรดั้งเดิมที่สุด กับทั้งเป็นพระสูตรว่าด้วยศูนยตา และสูตรนี้มีอยู่หลายคัมภีร์ เช่น อัษตสหัสริกะวัชรัจเฉทิกะปรัชญาปารมิตาสูตร และอัษตสหัสริกะปรัชญาปารมิตาหฤทยะ โดยเฉพาะปารมิตาหฤทยสูตรนี้ท่านคุรุนาคารชุนได้ประพันธ์ย่นย่อจากมหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ มาเป็นหัวใจหรือแก่นแห่งมหาปรัชญาปารมิตาแห่งปวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายที่สั้นที่สุดในบรรดาพระสูตร ด้วยระบบตรรกวิภาษวิธี
     
  6. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    [​IMG]


    एवं मया श्रुतम्। एकस्मिन् समये भगवान् राजगृहे विहरति स्मगृध्रकूटे पर्वते महताभिक्षुसंघेन सार्धं महता च बोधिसत्त्वसंघेन। तेन खलु समयेनभगवान् गम्भीरावसंबोधं नाम समाधिं समापन्नः। तेन च समयेन आर्यावलोकितेश्वरोबोधिसत्त्वो महासत्त्वो गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यां चरमाणः एवं व्यवलोकयतिस्म। पञ्च स्कन्धांस्तांश्च स्वभावशून्यं व्यवलोकयति॥


    अथायुष्मान्शारिपुत्रो बुद्धानुभावेन आर्यावलोकितेश्वरं बोधिसत्त्वमेतदवोचत्- यः कश्चित्कुलपुत्रो [वा कुलदुहिता वा अस्यां] गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यांचर्तुकामः, कथं शिक्षितव्यः ? एवमुक्ते आर्यावलोकितेश्वरो बोधिसत्त्वो महासत्त्वःआयुष्मन्तं शारिपुत्रमेतदवोचत्- यः कश्चिच्छारिपुत्र कुलपुत्रो व कुलदुहिता वा [अस्यां] गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यां चर्तुकामः, तेनैवंव्यवलोकितव्यम्-पञ्च स्कन्धांस्तांश्च स्वभावशून्यान् समनुपश्यति स्म। रूपंशून्यता, शून्यतैव रूपम्। रूपान्न पृथक् शून्यता, शून्यताया न पृथग् रूपम्। यद्रूपंसा शून्यता, या शून्यता तद्रूपम्। एवं वेदनासंज्ञासंस्कारविज्ञानानि च शून्यता। एवंशारिपुत्र सर्वधर्माः शून्यतालक्षणा अनुत्पन्ना अनिरुद्धा अमला विमला अनूनाअसंपूर्णाः। तस्मात्तर्हि शारिपुत्र शून्यतायां न रूपम्, न वेदना, स संज्ञा, संस्काराः, न विज्ञानम्, न चक्षुर्न श्रोत्रं न घ्राणं न जिह्वा न कायो न मनो नरूपं न शब्दो न गन्धो न रसो न स्प्रष्टव्यं न धर्मः। न चक्षुर्धातुर्यावन्नमनोधातुर्न धर्मधातुर्न मनोविज्ञानधातुः। न विद्या नाविद्या न क्षयो यावन्न जरामरणंन जरामरणक्षयः, न दुःखसमुदयनिरोधमार्गा न ज्ञानं न प्राप्तिर्नाप्राप्तिः।तस्माच्छारिपुत्र अप्राप्तित्वेन बोधिसत्त्वानां प्रज्ञापारमितामाश्रित्य विहरतिचित्तावरणः। चित्तावरणनास्तित्वादत्रस्तो विपर्यासातिक्रान्तो निष्ठनिर्वाणः।त्र्यध्वव्यवस्थिताः सर्वबुद्धाः प्रज्ञापारमितामाश्रित्य अनुत्तरांसम्यक्संबोधिमभिसंबुद्धाः। तस्माद् ज्ञातव्यः प्रज्ञापारमितामहामन्त्रःअनुत्तरमन्त्रः असमसममन्त्रः सर्वदुःखप्रशमनमन्त्रः सत्यममिथ्यत्वात्प्रज्ञापारमितायामुक्तो मन्त्रः। तद्यथा- गते गते पारगते पारसंगते बोधि स्वाहा। एवंशारिपुत्र गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यायां शिक्षितव्यंबोधिसत्त्वेन॥

    अथ खलु भगवान् तस्मात्समाधेर्व्युत्थाय आर्यावलोकितेश्वरस्यबोधिसत्त्वस्य साधुकारमदात्- साधु साधु कुलपुत्र। एवमेतत् कुलपुत्र, एवमेतद्गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यं चर्तव्यं यथा त्वया निर्दिष्टम्। अनुमोद्यतेतथागतैरर्हद्भिः॥

    इदमवोचद्भगवान्। आनन्दमना आयुष्मान् शारिपुत्रःआर्यावलोकितेश्वरश्च बोधिसत्त्वः सा च सर्वावती परिषत् सदेवमानुषासुरगन्धर्वश्चलोको भगवतो भाषितमभ्यनन्दन्॥

    इति प्रज्ञापारमिताहृदयसूत्रं समाप्तम्।
     
  7. thaiboy74

    thaiboy74 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +207
    เพิ่มเติมนิดหน่อยเรื่องการศึกษาพุทธศาสนาแบบวิภาษวิธี

    วิธีนี้ไม่ได้เพิ่งเริ่มมีสมัยท่านนาคารชุน
    แรก ๆ เท่าที่มีหลักฐานและเป็นที่ยอมรับก็คือ
    วรรณกรรมเรื่อง มิลินทปัญหา เป็นวิธีการถามตอบปัญหาทางพุทธศาสนาแบบเป็นขั้นเป็นตอน
    จากยุคนั้น เข้าสู่ยุคนาลันทา การถามตอบปัญหาเหล่านี้ได้พัฒนาอย่างเป็นระบบระเบียบ
    และมีการสร้างรูปแบบการถามตอบอย่างเป็นขั้นเป็นตอนมีแบบแผนชัดเจน

    ยุคเสื่อมของการศึกษาแบบนี้ ในทัศนของข้าพเจ้าคงอยู่ที่ในสมัยสังฆราจารย์ (เรื่องชื่อไม่แน่ใจ พอดีห่างหายจากตำหรับตำรามานาน ต้องขอโทษด้วย) ผู้ซึ่งเป็นชาวฮินดูผู้เก่งกล้า เข้ามาถือบวชในพุทธศาสนา และได้นำเอาพระพุทธเจ้ารวมเป็นหนึ่งในอวตารของพระนารายณ์ สมัยนั้น ทางปรัชญาและตรรกวิภาษวิธีไม่มีใครสู้ท่านได้สักคน

    การศึกษาพุทธศาสนาแนวนี้คงส่งต่ออย่างเป็นรูปธรรมไปที่ธิเบต จีน และบางส่วนไปไกลถึงญี่ปุ่น

    บทเรียนที่ทุกคนต้องผ่าน ตำราส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกัน คือเรื่อง ม้าสีขาว ซึ่งทดสอบวิธีคิดอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการผัสสะรับรู้ และแยกองค์ประกอบของการรับรู้

    ถ้าใครอยากทราบเพิ่มเติมเขียนมาถามได้ แต่ต้องใช้เวลาในการตอบนิดหน่อย เนื่องจากพื้นฐานวิธีคิด อิงเรื่องภาษาศาสตร์อยู่มาก คงต้องอาศัยเวลาในการปรับวิธีคิด
     
  8. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    สาธุๆครับ พูดถึงเดียรถีย์สังกราจารย์แล้วรู้สึกแค้นไม่หาย...อิอิ
    ไม่ใช่ไม่มีใครสู้ได้นะครับ แต่สังคมอินเดียสมัยนั้น พุทธเราอ่อนแอมากๆ
    ไปเจริญในดินแดนอื่นซะเป็นส่วนใหญ่ เลยทำให้เดียรถีย์ผู้นี้ทำการอันลามกได้สำเร็จ
    - - สังกราจารย์นี่ ฮินดูบางคนยังไม่ยอมรับเลย มาแนวไหนไม่รู้ โผล่มาอีกทีรวมพระศาสดาของเราเป็นปางอวตารเลย - - บันทึกหลังจากพุทธกาลตั้งเป็นพันๆปี
    ไม่มีเหตุผล ไม่มีข้อสนับสนุนเลย มากลืนกันมั่วๆชัดๆ
     
  9. plaspirit

    plaspirit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2008
    โพสต์:
    367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,118
    สาธุ ครับ นับถือท่าน นาคารชุน ผู้บรรลุปรัชญาปารมีหฤหัยสูตร ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2010
  10. บุตรพระแม่อนุตตรธรรม

    บุตรพระแม่อนุตตรธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    548
    ค่าพลัง:
    +428
    นาคารชุนะโพธิสัตตว์ ปราชญ์มาธยมิกะ ผู้ทรงคุณประโยชน์ต่อพุทธยาน อันไพศาล
    สาธุๆ
     
  11. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    มั่ยชมตน

    มั่ยชมตน มั่ยบอกว่าผม
     
  12. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    มี2ท่าน ในตอนนั้นมีผู้เรื่องชื่อ อยู่ด้วยกัน
     
  13. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ขยายความด้วยครับ ^^
     
  14. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    รูปมี2ท่าน

    มี2ท่านในรูป
     
  15. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,186
    ท่านนาคารชุนหล่อสู้ท่านกษิติครรภ์ไม่ได้เลยนิ



    .
     
  16. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    รูปของจีนนะ
     
  17. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,186

    จะรูปจีนรูปไทยก็หล่อสู้ไม่ได้อยู่ดีนั่นแหละ

    แล้วที่ว่าในรูปมี 2 ท่าน น่ะ หมายถึงใคร

    มาช่วยขยายความหน่อย

    ไอ้ประเภทเขียนสั้นๆ แล้วเข้าใจคนเดียวน่ะ เลิกซะทีเหอะ

    นี่ปีใหม่แล้วนะ ปรับปรุงใหม่ซะทีเถอะ

    รีบมาตอบเร็วๆ ด้วยละ



    .
     
  18. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    ในรูปมี องค์ที่อยู่ข้างๆ คนเราไม่รู้ไรเลยดีที่สุด
     

แชร์หน้านี้

Loading...