ปฏิบัติธรรม คืออย่างไร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย trilakbooks, 30 พฤษภาคม 2012.

  1. trilakbooks

    trilakbooks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +414
    ปฏิบัติธรรม คืออย่างไร
    คำว่าปกิบัติธรรมนั้น หมายความว่าอย่างไร ปกิบัติธรรมก็คือ
    เอาธรรมมาปฏิบัติ เอาธรรามมาใช้ เอามาใช้ดำเนินชีวิตทำการทำงาน
    คือเอาธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง
    นั่นเอง เมื่อปฏิบัติธรรมก็หมายถึงว่า เอาธรรมมาใช้ในชีวิตจริง
    หรือเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต ถ้ายังไม่ได้ใช้ ก็ไม่เรียกว่า เป็นการปฏิบัติ

    ว่าถึงตัวคำว่า "ปฏิบัติ" เองนี้ เดิมนั้นแปลว่า "เดินทาง"
    มาจากภาษาบาลี ของเดิมนี้ มีคำคล้ายๆ กันอีกคำหนึ่ง คือ
    "ปฏิปทา"

    "ปฏิปทา" แปลว่าอะไร จะเห็นได้ในคำว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" ที่เรา
    แปลกันว่า "ทางสายกลาง" มัชฌมมา แปลว่า สายกลาง และปฏิปทา แปลว่าทาง
    ทางคืออะไร ทางนั้นคือ ที่ที่จะเดิน
    คำว่าปฏิปทา ก็คือ ที่ ที่ จะ เดิน

    คำว่าปฏิปทา กับคำว่าปฏิบัตินี้ เป็นคำเดียวกัน รากศัพท์อันเดียวกัน ถ้าเป็นกิริยา มีรูปเป็นปฏิปชฺชติ เช่นในคำว่า
    "มคฺคํ ปฏิปชฺชติ" แปลว่า เดินทาง

    เพราะฉะนั้น ปฏิปชฺชติ มาเป็น ปฏิบัติ หรือเป็นปฏิปทา ก็ตาม ก็แปลว่า การเดินทาง หรือแปลว่า ทางที่เดิน ถ้าเป็นการเดินทาง
    ที่เดินก็นิยมใช้ปฏิปทา เพราะฉะนั้น เราเอาถ้อยคำสำหรับสิ่งที่เป็นรูปธรรมนั้นเอง มาประยุกต์ใช้ในทางนามธรรม

    การเดินทางตามปกตินั้น เป็นการเดินทางภายนอก เป็น
    การเดินทางด้านวัตถุ เอาเท้าเดิน หรือแม้มีรถแล้ว เอารถวิ่งไป
    ตลอดจนไปด้วยเครื่องบิน ก็เรียกว่า เป็นการเดินทาง

    ทีนี้ ชีวิตของเราก็เหมือนกันขชี่วิตก็เป็นการเดินทางชนิดหนึ่ง
    แต่เรามักเปลี่ยนคำพูดจากเดินมาเป็นดำเนิน ที่จริง เดินกับดำเนินนั้น
    ก็ศัพท์เดียวกันนั่นแหละ เดินก็แผลงมาเป็นดำเนิน แล้วเรา
    ก็มีการดำเนินชีวิต ในการดำเนินชีวิตนั้น ก็เหมือนกับว่า เราเอาชีวิต
    นี้ไปเดินทาง หรือว่า เป็นการอยู่ของเรานั้นเปรียบเสมือนทาง
    ถ้าเป็นอยู่อย่างถูกต้อง ก็เรียกว่าเดินทางชีวิตอย่างถูกต้อง
    คือดำเนินชีวิตได้ดี ถ้าเดินทางชีวิตไม่ถูก ก็เรียกว่า ดำเนินชีวิตที่ผิด

    ................................................
    ศูนย์เผยแพร่หนังสือพระไตรปิฎก โดยศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์
    WWW.TRILAKBOOKS.COM
     

แชร์หน้านี้

Loading...