ปรมัตถธรรม 4 คืออะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แปะแปะ, 26 พฤศจิกายน 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]

    บรรดาคำสั่งสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดเวลา ๔๕ ปี รวมได้ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
    เมื่อประมวลและจัดสรรสงเคราะห์เป็นหมวดหมู่ได้ ๓ หมวด

    ๑. พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่แสดงไว้เป็นข้อบังคับ เป็นระเบียบแบบแผนให้ประพฤติปฏิบัติ
    ผู้ล่วงละเมิดหรือไม่ปฏิบัติจะต้องมีโทษตามชั้น ๆ ที่กำหนดไว้

    ๒. พระสุตตันตปิฏก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่แสดงไว้ โดยยกบุคคลขึ้นเป็นตัวอย่างทั้งในทางดีและทางชั่ว
    มุ่งหมายให้ผู้ศึกษาได้รู้ถึงสมมุติสัจจะรู้ความจริงตามความเป็นไปของโลก พระสูตรนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ให้อัธยาศัยสงบ
    และมีจิตใจแน่วแน่มั่นคง

    ๓. พระอภิธรรมปิฎก มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่ล้วนเป็นปรมัตถสัจจะ คือเป็นความจริงอันมีเนื้อความไม่เปลี่ยนแปลงผันแปร
    เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เห็นแจ้งในสภาวธรรมนั้น ๆ โดยไม่กล่าวอ้างบุคคล พระอภิธรรมนี้เป็นพื้นฐานที่จะสร้างสรรค์ให้มีสติว่องไว
    และมีปัญญาหลักแหลม

    ๑. บาลี หมายถึง พระพุทธพจน์ คือถ้อยคำที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาโดยตรง
    ๒. อรรถกถา หมายถึง คำอธิบาย หรือขยายความของท่านอรรถกถาจารย์ เพื่อให้คำหรือเนื้อความในบาลีให้ละเอียดชัดเจนเข้าใจง่ายขึ้น
    ๓. ฎีกา หมายถึง คำอธิบายขยายความในอรรถกถาให้ชัดเจนอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งท่านฎีกาจารย์ได้อธิบายไว้
    ๔. อนุฎีกาจารย์ คือ ผู้ที่อธิบายข้อสงสัยในฎีกา
    ๕. เกจิอาจารย์ คือ อาจารย์อื่น ๆ ที่แสดงความเห็นในข้อธรรม เพื่ออธิบายขยายความในข้อธรรมโดยทั่ว ๆ ไป
    [​IMG]
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  2. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ปรมัตถธรรม 4 คือ
    จิต เจตสิก รูป นิพพาน

    ( จิ. เจ. รุ. นิ. )

    [​IMG]

    แผนผังปรมัตถธรรม 4​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2011
  3. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ความเบื้องต้น
    เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และได้ทรงสอนมนุษย์และเทพยดา เป็นเวลา ๖ พรรษาแล้วก็ทรงแสดงยมกปฏิหาริย์ที่ใต้ต้นมะม่วง ชื่อว่า กัณฑัมพฤกษ์ ใกล้นครสาวัตถี เพื่อประสงค์จะทรมานบรรดาเดียรถีย์ทั้งหลายเมื่อเสร็จการแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้ว ทรงพิจารณาว่า พระพุทธเจ้าในอดีตเมื่อสิ้นสุดยมกปาฏิหาริย์แล้วเสด็จไปไหน ก็ทรงเห็นว่าเสด็จไปชั้นดาวดึงส์พิภพ จึงเหยียบยืนบนพื้นปฐพีด้วยพระบาทข้างหนึ่ง วางพระบาทข้างที่สองลงบนยอดเขายุคันธร แล้วยกพระบาทก้าวแรกไปเหยียบยอดเขาสิเนรุ ทรงประทับนั่งบนแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ แล้วทรงแสดงอภิธรรมกถาตั้งแต่ต้นพรรษา แก่เทพยดาในหมื่นจักรวาลที่มาประชุมกัน ในเวลาภิกขาจารทรงเนรมิตพุทธนิมิตขึ้นแสดงธรรมแทน ทรงชำระพระทนต์และชำระพระโอษฐ์ที่สระอโนดาต รับบิณฑบาตในหมู่ชนชาวอุตรกุรุทวีปแล้วกลับมาเสวยที่ริมสระอโนดาต ซึ่งพระสารีบุตรเถระมารอรับเสด็จอยู่ทุกวัน พระองค์โปรดประทานอภิธรรมกถาโดยสังเขปนัย แต่ทรงแสดงแก่เทพยดาและพรหมโดยวิตถารนัย ตลอด ๓ เดือน ธรรมาภิสมัยได้แก่เทวดาถึง ๘๐ โกฎิด้วยประการฉะนี้
    อภิธรรมกถา มีการแสดง ๓ นัย คือ
    ๑. พระพุทธองค์แสดงแก่เทวดาและพรหมในชั้นดาวดึงส์ด้วย วิตถารนัย คือนัยพิสดาร
    ๒. พระพุทธองค์ แสดงแก่ พระสารีบุตร ที่ริมสระอโนดาตด้วย สังเขปนัย คือโดยย่อ
    ๓. พระสารีบุตร แสดงแก่สานุศิษย์ ๕๐๐ ที่เคยเกิดเป็นค้างคาวด้วย นาติวิตถารนาติสังเขปนัย (กึ่งย่อกึ่งพิสดาร)
    พระอานนท์ทรงจำมาแสดง ปรากฎอยู่ในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์เป็น นาติวิตถารนาติสังเขปนัย ที่รวบรวมไว้ในพระอภิธรรมปิฎกนั้นเอง​
     
  4. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    จิตปรมัตถ์
    จิต คืออะไร
    จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ คือรู้อารมณ์อยู่เสมอ จึงเรียกว่ารู้อารมณ์ ดังพระบาลีที่ว่า อารมฺมณํ จินฺตตีติ = จิตฺตํ
    ธรรมชาติใด ย่อมรู้อารมณ์อยู่เสมอธรรมชาติชื่อว่า "จิต"
    อารมณ์ เป็นธรรมชาติที่ถูกจิตรู้ มี ๖ อย่าง คือ :-
    ๑. รูปารมณ์
    ๒. สัททารมณ์
    ๓. คันธารมณ์
    ๔. รสารมณ์
    ๕. โผฏฐัพพารมณ์
    ๖. ธรรมารมณ์
    การรู้อารมณ์มี ๓ แบบ คือ :-
    ๑. การรู้แบบสัญญารู้ คือ การรู้โดยกำหนดจดจำเอาไว้ เช่น จำได้ว่า สีขาว สีดำ ผู้หญิง ผู้ชาย เป็นต้น
    ๒. การรู้แบบปัญญารู้ คือ การรู้เหตุผลตามความเป็นจริง เช่นรู้สิ่งใดเป็นบุญ สิ่งใดเป็นบาปหรือรู้ รูป-นาม ตามความเป็นจริงเป็นการรู้เพื่อทำลายกิเลสมีความเห็นผิดเป็นต้น เรียกว่าปัญญารู้
    ๓. การรู้แบบวิญญานรู้ รู้ว่าได้มีการรับอารมณ์อยู่เสมอตามทวารต่างๆ ได้แก่ เห็น ได้ยินได้กลิ่น รู้รส รู้สึกสัมผัสถูกต้อง และรู้คิดเรื่องราวต่างๆ
    การรู้อารมณ์ของจิต จึงเป็นการรู้แบบวิญญานรู้นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2011
  5. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    คำว่า จิต หรือ วิญญาณ มีความหมายอย่างเดียวกัน
    ในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวรรค ได้แสดงไว้ จิตมีซื่อต่างๆกัน ที่ใช้เรียกขานกันถึง ๑๐ ชื่อ ดังแสดงว่า :-
    ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา มโนวิญฺญณธาตุ อิทํ จิตฺตํ
    อัฎฐสาลินีอรรถกถาธิบายไว้ว่า
    ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า จิต
    ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ชื่อว่า มโน
    จิตที่รวบรวมไว้ภายในนั้นแหละ ชื่อว่า หทัย
    ธรรมชาติฉันทะคือความพอใจที่มีอยู่ในใจ ชื่อว่า มานัส
    จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
    มนะที่เป็นอายตนะ คือเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
    มนะที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
    ธรรมชาติใดที่รู้อารมณ์ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า วิญญาณ
    วิญญาณที่เป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
    มนะที่เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งรู้อารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2011
  6. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    สามัญลักษณะของจิตจิตเป็นสังขตธรรม คือ เป็นธรรมชาติที่ถูกปรุงแต่งโดยอำนาจแห่งปัจจัยมี อารัมณปัจจัย อนันตรปัจจัย
    จิตจึงมีสภาวะลักษณะ หรือไตรลักษณะ คือ :-

    อนิจจลักษณะ คือ สภาพความไม่เที่ยง แปรปรวน
    ทุกขลักษณะ คือ สภาพทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นเบียดเบียน
    อนัตตลักษณะ คือ สภาพความไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นแก่นสารที่เหนืออำนาจการบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใดๆได้

    เพราะจิตมีสภาพไตรลักษณ์ดังกล่าวนี้ จิตจึงมีการเกิด-ดับ สืบต่อเนื่องกันไปเป็นสาย และการเกิด-ดับสืบต่อนี้รวดเร็วมาก
    มีอนุมานว่า ชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตเกิด-ดับถึงแสนโกฎิขณะ

    สังขตธรรมอื่น คือ เจตสิกและรูปก็มีสามัญลักษณะเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการที่เข้าใจสภาวะลักษณะอันแท้จริงของจิตนั้นได้
    จะต้องพิจารณาจากวิเสสลักษณะ คือ ลักษณะพิเศษประจำตัวของจิต ๔ ประการที่เรียกว่า ลักขณาทิจตุกะของจิตคือ:-

    วิชานนลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
    ปุพฺพงฺคมรสํ มีการเป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
    สนฺธานปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเกิดสืบเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฏ
    นามรูปปทฏฺฐานํ มีนามรูป เป็นเหตุใกล้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2011
  7. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]

    ประมาณปี พ.ศ. ๙๐๐ เศษ มีพระเถระผู้มีความรู้ความสามารถแตกฉานในพระไตรปิฎกท่านหนึ่ง มีนามว่า
    พระอนุรุทธเถระ เป็นชาวเมืองกาวิลกัญจิ แขวงมืองมัทราช ทางทิศใต้ของประเทศอินเดีย ท่านได้มาศึกษา
    พระอภิธรรมอยู่ที่เมืองอนุราชบุรี สำนักวัดตุมูลโสมาราม ประเทศสีลังกา มีความสัดทัดจัดเจนแตกฉานมาก

    นามของท่านปรากฎทั่วไป ท่านได้อาศัยบาลี อรรถกถา ฎีกาและอนุฎีกา อันเป็นหลักสำคัญ แล้วรวบรวบร้อย
    กรอง ย่อความมาจากพระอภิธรรมปิฎกที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาว่าด้วยเรื่องสภาวธรรมอันลึกซึ้ง
    ละเอียดละออพิสดารเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยากแก่การศึกษา และยากแก่การที่จะอธิบายให้บังเกิดความเข้าใจได้ง่ายๆ

    ท่านได้อุตส่าห์พยายามย่อคัมภีร์อันแสนที่จะลุ่มลึกนี้ โดยแยกแยะลำดับเรื่องออกมาให้ง่ายแก่การศึกษาและจดจำ
    ชื่อว่า "อภิธัมมัตถสังคหะ" เพื่อหวังประโยชน์อันไพศาลที่จะให้ประชาชนเกิดปัญญาทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วย
    ดวงจิตที่เต็มไปด้วยความกรุณา

    เป็นการยากยิ่ง ที่ผู้ใดที่จะศึกษาโดยตรงจากคัมภีร์พระอภิธรรม ๗ คำภีร์ให้เกิดความเข้าใจโดยมิต้องอาศัย
    พระอภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งรจนาโดย พระอนุรุทธาจารย์ให้เป็นพื้นฐานรองรับเสียก่อน เริ่มต้นตั้งแต่ปริเฉทที่ ๑
    ถึงปริเฉทที่ ๙ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับความนับถือในฐานะเป็นพระคันถรจนาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะ
    อันท่านผู้ศึกษาที่มีความเข้าใจได้เหตผลจะเว้นกราบไหว้ระลึกถึงพระคุณของท่านด้วยความซาบซึ้งเสียมิได้

    การที่ท่านได้รจนาอภิธัมมัตถสังคหะ จากคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎกทั้ง ๗ คัมภีร์ออกมาเป็นอีกคัมภีร์หนึ่ง
    ก็เพื่อให้ผู้ศึกษาบังเกิดความสับสน โดยเรียงลำดับจากง่ายๆ ขึ้นไปนี้เองได้เป็นเหตุให้บางท่านที่มิได้เคยศึกษา
    พระอภิธรรมมาก่อน ทั้งอ่านอภิธัมมัตถสังคหะด้วยตนเองก็ยังไม่อาจเข้าใจ จึงได้กล่าวหาว่า

    พระอภิธัมมัตถสังคหะไม่ใช่พุทธพจน์ เพราะเป็นการแต่งขึ้นโดยพระอนุรุทธาจารย์ในภายหลัง เมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้เอง
    ความจริง ผู้บรรยายอภิธรรมส่วนมาก และผู้ศึกษาพระอภิธรรมที่มีความเข้าใจพอสมควร ย่อมประจักษ์แก่ตนเองว่า
    พระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ กับพระอภิธัมมัตถสังคหะที่ท่านพระอนุรุทธาจารย์รจนาขึ้นนั้น มิได้มีเนื้อความแตกต่างกันเลย

    แม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นองค์ธรรม หรือตัวเลขมากมาย ที่บังคับควบคุมเอาไว้มิให้กระจัดกระจายนั้น ก็มิได้มีความขัดแย้งกันเลย
    ทั้งท่านจะแต่งคัมภีร์นี้ท่านก็ยังสรรเสริญพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียก่อพร้อมด้วยแสดงความเคารพตั้งแต่เริ่มต้นปริเฉทที่ ๑

    อย่างไรก็ดีท่านผู้ศึกษาก็ย่อมเป็นผู้มีความคิดพิจารณา เป็นผู้มีเหตุผลของตนเอง เมื่อท่านได้ศึกษาไปไม่ต้องจบปริเฉทที่ ๑
    ท่านก็จะทราบด้วยตนเองว่าพระอภิธรรม ๗ คำภีร์นั้น ไม่มีผู้ใดในโลกจะแต่งขึ้นมาเองได้ เว้นไว้แต่จะต้องอาศัยพระสัพพัญญุตญาน
    ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น เพราะไม่เคยศึกษาจึงไม่มีความเข้าใจในพระอภิธรรมเลย

    พระอภิธรรมจะเกิดขึ้นในโลกได้นั้น จะต้องอาศัยพระสัพพัญญุตญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
    ดังมีสาธกบาลี ที่แสดงไว้ในพระไตรปีฎกปริวารบาลีว่า
    พุทฺธจนฺเท อนุปฺปนฺเน พุทฺธาทิจฺเจ อนุคฺคเต
    เตสํ สภาวธมฺมานํ นามมตฺตํ น นายติ

    แปลว่า พระจันทร์ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่อุบัติขึ้น พระอาทิตย์ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่ปรากฎขึ้น
    ใครๆ ก็ไม่สามารถที่จะรู้แม้เพียงแต่ชื่อของสภาวธรรมเหล่านี้ได้เลย​

    ที่มา............
    คัดลอกมาจาก คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะปริเฉทที่ ๑ นายวรรณสิทธิ ไวทยะเสวี​
     
  8. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสริรํ คุหาสยํ
    เย จิตตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มาร พนฺธนา

    แปลว่า ชนทั้งหลายใดจักระวังจิต ซึ่งไปไกล ไปเดี่ยว ไม่มีสรีระ มีคูหา เป็นที่อาศัยไว้ได้ ชนทั้งหลายนั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
    จากคาถาธรรมบทนี้ แสดงสภาพของจิตให้ได้ทราบไว้หลายนัย :-
    ทูรงฺคมํ
    จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ไปได้ไกล หมายถึง จิตสามารถน้อมเอาอารมณ์ที่ไกลแสนไกล ที่เคยพบเห็นมาแล้ว เอามาคิดนึกได้
    ไม่ใช่จิตออกจากร่างไปท่องเที่ยวได้ไกล
    เอกจรํ
    จิต เป็นธรรมชาติไปเดี่ยว หรือไปดวงเดียว หมายถึง จิตรู้อารมณ์ได้ทีละอย่าง จิตขณะหนึ่งจะรู้อารมณ์หลายอย่างพร้อมกันไม่ได้
    จิตขณะหนึ่งรู้อารมณ์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เนื่องจากจิตเกิด-ดับรวดเร็วมาก จึงเหมือนกับว่าสามารถรู้อารมณ์ได้หลายอย่าง
    ในคราวเดียวกันได้ จิตขณะหนึ่งๆย่อมรู้อารมณ์ได้อย่างเดียวเท่านั้น
    อสรีรํ
    จิต เป็นนามธรรมไม่มีรูปร่างสัณฐานให้ได้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ต้องรู้ได้ด้วยใจเท่านั้น มีสภาวะเป็นอรูปธรรม จึงไม่อาจแสดง
    รูปร่างสัณฐานให้ปรากฎได้
    คุหาสยํ
    จิตเป็นธรรมชาติที่ต้องอาศัยวัตถุเป็นที่เกิดและที่อาศัย สำหรับสัตว์ที่เกิดในปัญจโวการภูมิ คือ ภูมิที่มีขันธ์ ๕ วัตถุที่อาศัยมี ๖ แห่งได้แก่
    จักขุวัตถุ. โสตวัตถุ. ฆานวัตถุ. ชิวหาวัตถุ. กายวัตถุ. และหทยวัตถุ. โดยสภาวปรมัตถธรรม ได้แก่ ปสาทรูป ๕ และหทัยวัตถุ ๑
    จิตจะล่องลอยออกไปนอกวัตถุที่อาศัยไม่ได้ แม้เวลาตาย จิตก็ดับลงพร้อมกับความดับของหทยวัตถุรูป นั่นเอง

    จิตของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากจิตพระอรหันต์ ย่อมถูกอาสวกิเลสผูกพันอยู่เป็นประจำ ทำให้ไม่รู้ความจริงของรูปนาม คือทุกขสัจจะ
    จึงเกิดสำคัญผิดว่า รูปนามขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวเรา ปรารถนาความสวย ความสุข ความเที่ยง วิปลาสไปจากความจริงเสมอ
    เพราะเหตุนั้นพระพุทธองค์จึงให้ระวังรักษาจิตให้พ้นจากเครื่องผูกของมาร (กิเลส)โดยจะต้องเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นทางเดียว
    ที่จะทำให้หมดจดจากกิเลส แจ้งพระนิพพาน และพ้นจากสังขารทุกข์ได้

    ฉะนั้น จึงไม่มีจิตของใครที่เกิดมาพร้อมความบริสุทธิ์ได้ ต้องถูกกิเลสมารผูกพันไว้ทั่วหน้ากัน จำเป็นต้องฟังธรรม
    และปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์เท่านั้น จึงจะสามารถหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกแห่งมารได้​
     
  9. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]อำนาจจิต
    จิต นอกจากจะรู้อารมณ์เป็นลักษณะแล้ว ยังมีกิจหรือหน้าที่เป็นประธานในธรรมทั้งปวง คือ
    ทำให้สำเร็จการงานทั้งหลาย ทางกาย วาจา ใจ ดังในธรรมบท กล่าวว่า

    มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
    มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา
    ตโตนํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ
    ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า สำเร็จได้ด้วยใจ ถ้าบุคคลใด มีใจชั่ว พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม
    เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมตามบุคคลนั้นไปดุจล้อหมุนตามรอยเท้าแห่งโค ที่นำแอกไปอยู่ ฉะนั้น

    มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
    มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา
    ตโตนํ สุขมเนฺวติ ฉายาว อนุปายินี
    ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า สำเร็จได้ด้วยใจ ถ้าบุคคลใด มีใจดีแล้ว พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม
    เพราะความดีนั้น สุขย่อมตามบุคคลนั้นไปดุจเงาติดตามตน ฉะนั้น​

    แสดงว่า การงานต่างๆของสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำบาป ทำบุญอย่างไรก็ตาม ล้วนสำเร็จด้วยจิตทั้งสิ้น
    ถ้าไม่มีจิตแล้วก็ไม่อาจทำกรรมอะไรได้เลย จิตจึงมีอำนาจกระทำความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายให้วิจิตรต่างๆ ดังวจนะว่า:-

    จิตฺตีกโรตีติ=จิตฺตํ แปลความว่า ธรรมชาติใด ทำความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลายให้วิจิตร ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
    ฉะนั้น จิตจึงมีอำนาจทำให้ธรรมชาติทั้งหลายเป็นไปโดยวิจิตร ประมวลความวิจิตรของจิตไว้ ๖ ประการ

    ๑. วิจิตรโดยกระทำ หมายความว่า วัตถุสิ่งของที่ปรากฎอยู่ในโลกและความประพฤติเป็นไปของสัตว์ทั้งหลายนั้น
    ย่อมมีความงดงามแปลกระหลาดน่าพิศวง และน่าสยดสยองั้น ล้วนสำเร็จด้วยจิต

    ๒. วิจิตรด้วยตนเอง หมายถึง สภาพของจิตนั้นเอง มีความเป็นไปอย่างน่าพิศวงนานาประการ มีทั้งจิตที่เป็น อกุศล. กุศล. วิบาก. อภิญญา.
    และกิริยา. เช่น จิตมีราคะ.จิตมีโทสะ.และจิตมี ศรัทธา. อภิญญา. ปัญญา.และจิตที่สงบ เป็นต้น

    ๓. วิจิตรในการสั่งสมกรรม และกิเลส หมายถึงกรรม คือการกรทำและกิเลสเครื่องทำให้จิตใจเศร้าหมอง ที่ปรากฏขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย
    อยู่เป็นประจำนั้น เพราะมีการสั่งสมไว้ในจิตมาแล้วแต่ในอดีต ครั้นมารับอารมณ์ใหม่ในปัจจุบัน ก็สนับสนุนกรรมและกิเลสให้ปรากฎขึ้นมาใหม่
    และจะเก็บสั่งสมไว้ต่อไปอีก

    ๔. วิจิตรในการรักษาวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้ หมายถึง กรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่จิตก่อให้เกิดขึ้น
    ผลของกรรมคือวิบาก ย่อมไม่สูญหายไปไหน แม้กรรมนั้นจะเล็กน้อย หรือได้กระทำมาแล้วช้านานปานใดก็ตาม ผลแห่งกรรม คือวิบากนั้น
    จะติดตามไปให้ต้องรับผล เมื่อถึงโอกาส

    ๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานตนเอง หมายถึง จิตที่ก่อให้เกิดการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นก็ตามเมื่อได้กระทำอยู่เสมอๆ
    เป็นนิตย์แล้วย่อมติดเป็นนิสสัยเป็นสันดานทำให้เกิดการกระทำนั้นอยู่เรื่อยๆไป ทั้งนี้ เพราะเมื่อจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
    และทำให้จิดดวงใหม่เกิดสืบต่อกันไปเรื่อยๆ จิตดวงเก่าที่ดับไปนั้น ย่อมมอบกิจการงานให้จิตดวงใหม่โดยไม่ขาดสาย
    ในลักษณะที่เป็นอนันตรปัจจัย และอาเสวนปัจจัย เป็นต้น

    ๖. วิจิตรด้วยอารมณต่างๆ หมายถึง จิตย่อมรับอารมณ์ต่างๆ อยู่เสมอ คือประเดี๋ยวเห็น ประเดี๋ยวได้ยิน ประเดี๋ยวได้กลิ่น รู้รส เป็นต้น
    สับเปลี่ยนเวียนวนอยู่ในอารมณ์ทั้ง ๖ มีรูปารมณบ้าง สัททารมณ์บ้าง คันธารมณ์บ้างเป็นต้น

    ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหมดที่วิจิตรพิสดารนั้น เพราะอำนาจแห่งจิต คือ มีจิตเป็นผู้กระทำให้วิจิตร
    ในสิ่งที่ไม่มีชีวิต ก็ได้แก่วัตถุสิ่งของทั้งหลายที่ปรากฎอยู่ในโลก และสิ่งที่มีชีวิตก็ได้แก่สัตว์ทั้งหลาย​
     
  10. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    จำนวนจิต
    เมื่อกล่าวตามสภาวลักษณะของจิตแล้ว มีจำนวนเพียง ๑ เท่านั้น
    เพราะจิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ขณะใดจิตเกิดขึ้น ขณะนั้นการรู้อารมณ์ก็เกิดขึ้น
    จะห้ามการรู้อารมณ์ไม่ให้เกิดขึ้นก็ไม่ได้ สภาวลักษณะของจิตเมื่อกล่าวโดยทั่วไป
    จึงรู้อารมณ์เพียงอย่างเดียว เมื่อนับจำนวนโดยสภาวลักษณะแล้วจึงมีเพียง ๑

    แต่จะกล่าวถึงลักษณะที่รู้อารมณ์พิเศษของจิตแล้ว จิตจะมีความสารถในการรู้อารมณ์ไม่เหมือนกัน
    โดยอำนาจการปรุงแต่งของเจตสิกที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีที่อาศัยและมีอารมณ์เดียวกันกับจิต
    จึงทำให้จิตมีความสามารถในการรู้อารมณ์เป็นพิเศษแตกต่างกันออกไป เช่น รู้ในเรื่องที่เป็นบุญ เป็นบาป
    รู้ในการสงบระงับในกาม คือ รู้ในเรื่องรูปฌาน อรูปฌาน และรู้อารมณ์พระนิพพาน

    เพราะฉะนั้น เมื่อจะศึกษากันถึงความพิสดารของจิตแล้วจะต้องศึกษาประเภทต่างๆ ของจิตที่รับอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ต่อไป
    ซึ่งจำแนกจิตออกไปทั้งหมดได้อย่างย่อ ๘๙ และพิสดารได้ ๑๒๑ รอโพสต์หน้าต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  11. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    จำแนกประเภทจิตโดยนัยต่างๆ
    จิตจำนวน ๘๙ หรือ ๑๒๑ นั้นจำแนกเป็นนัยต่างๆ ได้ ๙ นัย
    ๑. ชาติเภทนัย คือการแยกประเภทของจิตโดยชาติ มี ๔ ชาติได้แก่
    อกุศลชาติ, กุศลชาติ, วิปากชาติ, กิริยาชาติ
    ๒. ภูมิเภทนัย คือการแยกประเภทของจิตโดยภูมิมี ๔ ภูมิ ได้แก่
    กามภูมิ, รูปภูมิ, อรูปภูมิ, โลกุตรภูมิ,
    ๓. โสภณเภทนัย คือการแยกประเภทของจิตที่ดีงามประเภทหนึ่ง
    เรียกว่า โสภณจิต, และประเภทจิตที่เหลือนอกนั้น เรียกว่า อโสภณจิต
    ๔. โลกเภทนัย คือการแยกประเภทของจิตที่เป็นอยู่ในโลกทั้ง ๓
    มี กามโลก, รูปโลก, อรูปโลก,เรียกว่า โลกียจิต กับจิตที่พ้นจากความเป็นไปในโลกทั้ง ๓ ที่เรียก โลกุตรจิต
    ๕. เหตุเภทนัย คือการแยกประเภทของจิตที่ประกอบด้วยเหตุ
    ที่เรียกว่า สเหตุกจิต และที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ที่เรียกว่า อเหตุกจิต
    ๖. ฌานเภทนัย คือการแยกประเภทของจิตที่สามารถกระทำฌาน
    ที่เรียกว่า ฌานจิต และที่ไม่สามารถกระทำฌาน เรียกว่า อฌานจิต
    ๗. เวทนาเภทนัย คือการแยกประเภทของจิตโดยการเสวยอารมณ์ ได้แก่ จิตที่เกิดพร้อมด้วย
    สุขเวทนา, ทุกขเวทนา, โสมนัสสเวทนา, โทมนัสสเวทนา, และอุเบกขาเวทนา,
    ๘. สัมปโยคเภทนัย คือการแยกประเภทของจิตโดย
    สัมปยุต, และวิปปยุต
    ๙. สังขารเภทนัย คือการแยกประเภทของจิตโดยสภาพมีกำลังแก่กล้า
    เรียกว่า อสังขาริก และที่มีกำลังอ่อนกว่า เรียกว่า สสังขาริก

    การอธิบายต่อไปนี้ พระอนุรุทธาจารย์ แสดงจิตโดยภูมิเภทนัยก่อน เพราะเป็นการแสดงความเป็นไปของจิตที่ท่องเที่ยวไปในภูมิต่างๆ มีกามภูมิ เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  12. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    จิตปรมัตถ์

    ลักษณะของจิต

    จิตมีความหมายเข้าใจสับสนกันอยู่ ปุถุชนส่วนมากเข้าใจว่าเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง
    สิงสถิตย์อยู่ในร่างกายของคนและสัตว์ คืออยู่ที่หัวใจ
    หรือบางท่านก็ว่าอยู่ที่มันสมอง ไม่เกิดไม่ดับคงสภาพอยู่ ดังนั้นเป็นนิตย์นิรันดร
    เมื่อเกิดขึ้นครั้งแรกนั้นบริสุทธิ์ผุดผ่องประภัสสร ไม่มีมลทินมัวหมอง
    ต่อ ๆ มาจึงมีกิเลสตัณหา เข้าครอบงำเป็นเหตุให้เศร้าหมองหมกหมุนอยู่ในโลภโกรธหลง
    ทำให้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสาร (ผู้ที่ยังต้องเกิดอีก)
    เที่ยวล่องลอยไปเพื่อหาโอกาสที่จะเกิดหรือปฏิสนธิใหม่
    เหมือนดังบุคคลที่สละทิ้งบ้านเก่าท่องเที่ยวไปหาบ้านใหม่อยู่ฉะนั้น
    นี้เป็นความเข้าใจของปุถุชนเป็นส่วนมาก
    ซึ่งเป็นความเข้าใจห่างไกลจากความแท้จริงของสภาวธรรมที่เรียกว่าจิต

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า จิตเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง
    ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปธรรม คือไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ด้วยตา
    หรือสัมผัสถูกต้องได้ด้วยกาย จึงเป็นเรื่องที่ปุถุชนเข้าใจได้ยากอยู่เอง
    เพราะไม่มีลักษณะที่จะหยิบยกจับถูกต้องมองเห็นได้
    แต่ถึงกระนั้นก็ดี ก็ยังมีลักษณะที่จะ รู้จักจิตได้ในทางอาการที่แสดงออก
    เช่นเมื่อตาสัมผัสกับรูป จิตก็รู้คือเห็นและรู้ว่าสวยงามดีไม่ดีเหล่านี้
    และเป็นอาการของจิต จิตมีคุณลักษณะ รู้ซึ่งอารมณ์ที่มากระทบ
    "อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ" รู้ในเมื่อขณะกระทบอารมณ์ คือ

    รูปารมณ์ (รูป)กระทบจักขุปสาท รู้ "เห็น"
    สัททารมณ์ (เสียง) กระทบโสตปสาท รู้ "ได้ยิน"
    คันธารมณ์ (กลิ่น) กระทบฆานปสาท รู้ "กลิ่น"
    รสารมณ์ (รส) กระทบชิวหาปสาท รู้ "รส"
    โผฏฐัพพารมณ์ (สัมผัสถูกต้อง) กระทบกายปสาท รู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
    ธรรมารมณ์ (เรื่องราว) กระทบใจ รู้ "คิดนึก"

    ธรรมชาติที่รู้หรือธาตุรู้นี้แหละเรียกว่า จิต
     
  13. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    จิตคืออะไร

    ธรรมชาติใดที่รู้อารมณ์ ธรรมชาติคือ จิต อารมณ์ คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ ปกติ การรู้มี 3 ชนิด คือ
    1) รู้โดยสัญญาเจตสิก เหมือนเด็กเห็นเหรียญเงิน รู้ว่าเป็นของกลม ๆ แต่ไม่รู้ว่า เงิน
    2) รู้โดยจิต เหมือนผู้ใหญ่เห็นเหรียญเงิน รู้ว่าเป็นของกลม ๆ และเป็นเงิน
    3) รู้โดยปัญญา เหมือนผู้เชี่ยวชาญดูเหรียญเงิน รู้ซึ้งว่าเป็นเหรียญจริงหรือปลอม
    และประกอบด้วยธาตุอะไรด้วย
    ดังนั้น การรู้โดยจิตเป็นการรู้มากกว่าการรู้โดยสัญญา แต่ไม่รู้ชัดแจ้วเหมือนการรู้ โดยปัญญาบุคคหนึ่งกำลังคิดถึงคู่รักของตน
    หรือกำลังคิดถึงรสมะนาว ขณะนั้นอะไรคือจิต อะไรคืออารมณ์ จิตก็คือ การคิดหรือนึก ส่วนอารมณ์ คือ คู่รัก หรือรสมะนาว
    ดังนั้น การคิดนี้ หมายถึง จิตได้ปกติ การคิดมี 3 อย่าง คือ
    1) การคิดโดยวิตกเจตสิก (อุหนนจินฺตา) เป็นการมุ่งถึงคิดในแง่ของให้จิตกับ อารมณ์มาสัมพันธ์กัน
    2) การคิดโดยจิต (วิชานนจินฺตา) เป็นการมุ่งถึงคิดในแง่รู้อารมณ์
    3) การคิดโดยปัญญาเจตสิก (ปชานนจินฺตา) เป็นการมุ่งคิดถึงในแง่มีความเข้าใจ รู้ชัดแจ้ง
    ดังนั้น การคิดโดยจิตเป็นการคิดในแง่ของการรู้อารมณ์ผิดกับการคิดโดยวิตกหรือ โดยปัญญา
    จิตจะว่างจากอารมณ์ได้ไหม ? ไม่ได้เลย จิตเกิดขึ้นมาทุกครั้ง ต้องรู้อารมณ์เสมอ ไป จิตคือตัวการรู้ได้อย่างไรย่อมไม่ได้
    เมื่อมีการรู้ ย่อมมีสิ่งที่ถูกรู้เสมอไป
    การรู้อารมณ์ของจิตนี้มีประเภทต่าง ๆ กันออกไปมี จิตหลายชนิดมักจะรู้กาม อารมณ์ ซึ่งได้แก่อารมณ์ที่กามตัณหาสามารถเข้าไปยึดมั่นได้
    มีจิตบางชนิด ที่รับรู้ อารมณ์อันมีกำลังแรงกล้ามาก จนสามารถให้เกิดสมาธิจิตถึงขั้นฌานจิตได้ และมีจิต บางชนิดที่รับรู้อารมณ์อันมีสภาพอมตสุข
    อันได้แก่พระนิพพาน ยังให้จิตที่รับรู้พ้นจาก วัฏสงสาร
    จิตที่รู้อารมณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวรู้โดยเป็นอกุศลก็มีเป็นกุศลก็มี และเป็นอพยากตะ คือไม่บุญไม่บาปก็มี
    ด้วยเหตุนี้ จิตจึงแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังอยู่ในหัวข้อต่อไป

    ความหมายประเภทของจิต
    การกระทำของคนเราโดยทั่วไป ไม่ว่าการพูดจา กิริยาท่าทาง หรือทางคิดนึกมี อาการต่าง ๆ ออกไป บางคนพูดจาเหมือนพุ่งหอกไปทิ่มแทงจิตใจผู้อื่น
    ให้เจ็บช้ำ บาง คนพูดจาเหมือนโปรยดอกไม้หอมให้แก่ผู้อื่น บางคนมักหน้าบูดหน้าบึ้ง บางคนหน้าตา ยิ้มแย้มแจ่มใส บางคนมักคิดร้ายต่อผู้อื่น
    บางคนมีจิตเมตตอารี การที่เกิดการกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ เพราะอาศัยจิตใจที่ต่างกัน หากแยกจิตตามกฎแห่งกรรมแล้ว
    แยกออกได้เป็น 5 จำพวกใหญ่ ๆ ซึ่งได้แก่
    จำพวกที่ 1 จิตบาป (อกุศลจิต)
    จำพวกที่ 2 จิตที่เป็นผลบาป (อกุศลวิบากจิต)
    จำพวกที่ 3 จิตบุญ (กุศลจิต)
    จำพวกที่ 4 จิตที่เป็นผลของบุญ (กุศลวิบากจิต
    จำพวกที่ 5 กิริยาจิต<!-- google_ad_section_end -->
     
  14. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    จำพวกที่ 1 จิตบาป (อกุศลจิต) คำว่า บาป หรือ อกุศล คือ สภาพที่ไม่ดีไม่งาม เป็นสิ่งที่ชั่วหยาบต่ำทราม
    เพราะเป็นสิ่งที่มีโทษ ให้ผลเป็นทุกข์ ได้รับสิ่งที่ไม่น่าใคร่ ไม่น่าปรารถนา (อาทีนว) สรุปว่าจิตบาป หรือ อกุศลจิต คือ
    จิตที่มีโทษให้ผลเป็นทุกข์ ซึ่งแยกออกตามรากแก้วของจิตได้ 3 ประเภท คือ
    ประเภทที่ 1 จิตที่มีรากแห่งความยินดี ติดใจ (โลภมูลจิต)
    ประเภทที่ 2 จิตที่มีรากแห่งความประทุษร้าย (โทสมูลจิต)
    ประเภทที่ 3 จิตที่มีรากแห่งความมืดบอด (โมหมูลจิต)

    จำพวกที่ 2 จิตที่เป็นผลของบาป (อกุศลวิบากจิต) คำว่าอกุศลวิบาก คือผลของ บาป
    คำว่าผลของบาปมุ่งหมายถึงผลโดยตรงจากอกุศลจิต เหมือนกับเม็ดมะม่วง เมื่อ นำไปปลูก ย่อมเจริญเติบโต
    และออกผลซึ่งก็คือ ผลมะม่วง ผลมะม่วงเป็นผลโดยตรง จากการปลูกเม็ดมะม่วงข้อนี้ฉันใด
    จิตที่เป็นผลของบาปนี้เป็นผลโดยตรงจากจิตบาป ก็ฉันนั้น
    ตัวอย่างจิตที่เห็นสิ่งไม่ดี (อกุศลวิบากจักขุวิญญาณ) เช่น ศพตายโหง มูลสุนัข จิตที่ได้ยินเสียงไม่ดี (อกุศลวิบากโสตวิญญาณ)
    เช่น เสียงด่า เสียงจากพวกปากหอย ปากปู จิตที่ได้กลิ่นไม่ดี (อกุศลวิบากฆานวิญญาณ) จิตที่ลิ้มรส ไม่ดี (อกุศลวิบากชิวหา -วิญญาณ)
    จิตที่ทำหน้าที่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต นรก อสรกาย

    จำพวกที่ 3 จิตบุญ (กุศลจิต) เป็นจิตที่ไม่มีโทษให้เป็นผลเป็นสุข ได้รับสิ่งที่น่าใคร่ น่าปรารถนา เช่น จิตที่มีการละเว้นจากมิจฉาชีพ
    จิตที่มีเจตนาเสียสละทรัพย์สินเพื่อช่วย คนจน จิตที่เมตตา จิตที่รักษาศีล จิตที่มีความซื่อสัตย์ต่อคนรัก
    จิตที่มีปัญญาในบาปบุญ คุณโทษ จิตที่มีสมาธิขั้นญาน จิตที่มีอริยมรรค 8 เพื่อทำลายกองทุกข์ทั้งปวง เป็นต้น

    จำพวกที่ 4 จิตที่เป็นผลของบุญ เป็นจิตที่เป็นผลโดยตรงของจิตบุญ ตัวอย่าง จิตที่เห็นดี ๆ เช่น ได้เห็นคู่รักของตน เห็นพระ
    จิตที่ได้ยินเสียงดี ๆ เช่น ได้ยอนเสียงการ บรรยายธรรมเป็นต้น จิตที่ได้กลิ่นหอม ๆ จิตที่ลิ้มรสอร่อย ๆ จิตที่รับสัมผัสดี ๆ
    จิตที่ทำ หน้าที่เกิดเป็นมนุษย์เป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหม เป็นต้น

    จำพวกที่ 5 กิริยาจิต เป็นจิตที่ไม่เป็นบุญ และไม่เป็นบาป และไม่ใช่เป็นผลของ บุญ และไม่ใช่เป็นผลของบาป เนื่องจากเป็นจิตที่เกิดขึ้นแล้ว
    ไม่ทำให้เกิดจิตที่เป็นผล ของตน เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำ จึงเรียกว่ากิริยาจิต ผิดกับจิตบุญหรือบาป ซึ่งสามารถ ทำให้เกิดจิตที่เป็นผลของตน
    คือ จิตผลบุญ หรือจิตผลบาป<!-- google_ad_section_end -->
     
  15. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    การศึกษาพระอภิธรรม ที่เขาเรียนกันทั่วไป ต้องท่องต้องจำ ดังแสดงไว้ดังนี้
    [​IMG]
    อกุศลจิต 12 แบ่งเป็น
    โลภมูลจิต หรือโลภสหคตจิต ซึ่งมีจำนวน ๘ ดวง คือ

    ๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโลภมูลจิตฺตํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๒. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโลภมูลจิตฺตํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
    ๓. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโลภมูลจิตฺตํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๔. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโลภมูลจิตฺตํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
    ๕. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโลภมูลจิตฺตํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๖. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโลภมูลจิตฺตํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
    ๗. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโลภมูลจิตฺตํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๘. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโลภมูลจิตฺตํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

    -โทสมูลจิต หรือ ปฏิฆจิต ซึ่งมี ๒ ดวง คือ

    ๑. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโทสมูลจิตฺตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๒. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโทสมูลจิตฺตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

    -โมหมูลจิต หรือ โมมูหจิต ซึ่งมีจำนวน ๒ ดวงนั้น คือ

    ๑. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ อสังฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโมหมูลจิตฺตํ
    จิตหลงเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความสงสัย เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๒. อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ อสังฺขาริกํ กามาวจรอกุศลโมหมูลจิตฺตํ
    จิตหลงเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2011
  16. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    อเหตุกจิต 18 ดังนี้
    [​IMG]
    -อกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของบาปอกุศล ซึ่งมีจำนวน ๗ ดวงนั้น ได้แก่

    ๑. อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล เห็นรูปที่ไม่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๒. อุเปกขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้ยินเสียงที่ไม่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๓. อุเปกขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้กลิ่นที่ไม่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๔. อุเปกขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้รสที่ไม่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๕. ทุกฺขสหคตํ กายวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา เป็นผลของอกุศล กายถูกต้องสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๖. อุเปกขาสหคตํ สมฺปฏิจฺฉนจิตฺตํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล รับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๗. อุเปกขาสหคตํ สนฺตีรณจิตฺตํ อสังขาริกํ กามาวจรอกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผล เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน


    อเหตุกกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของบุญกุศล ซึ่งมีจำนวน ๘ ดวงนั้น ได้แก่

    ๑. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ จกฺขุวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอเหตุกกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล เห็นรูปที่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๒. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ โสตวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอเหตุกกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้ยินเสียงที่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๓. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ ฆานวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอเหตุกกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้กลิ่นที่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๔. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอเหตุกกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้รสที่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๕. สุขสหคตํ กุสลวิปากํ กายวิญฺญาณํ อสังขาริกํ กามาวจรอเหตุกกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา เป็นผลของกุศล กายได้สัมผัสถูกต้องสิ่งที่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๖. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ สมฺปฏิจฺฉนจิตฺตํ อสังขาริกํ กามาวจรอเหตุกกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล รับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๗. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ สนฺตีรณจิตฺตํ อสังขาริกํ กามาวจรอเหตุกกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    ๘. โสมนสฺสสหคตํ กุสลวิปากํ สนฺตีรณจิตฺตํ อสังขาริกํ กามาวจรอเหตุกกุศลวิปากจิตตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา เป็นผลของกุศล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดียิ่ง เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    -อเหตุกกิริยาจิต เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำ ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖ เป็นจิตที่ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป และไม่ใช่ผลของบุญหรือผลของบาปด้วยมีจำนวน ๓ ดวง ได้แก่

    ๑. อุเปกฺขาสหคตํ ปญฺจทฺวาราวชฺชนจิตฺตํ อสังฺขาริกํ กามาวจรอเหตุกกิริยจิตตํ
    จิตที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ พิจารณาอารมณ์ทางทวารทั้ง ๕
    มีความหมายว่า เป็นจิตที่พิจารณาอารมณ์ที่มากระทบนั้นว่าเป็นอารมณ์ทางทวารไหน จะได้เป็นปัจจัยให้สัญญาณแก่วิญญาณจิตทางทวารนั้นรับอารมณ์ อุปมาเหมือนนายทวารที่รักษาประตูพระราชวัง คอยเปิดให้เข้าตามฐานะของบุคคลนั้นๆ

    ๒. อุเปกฺขาสหคตํ มโนทฺวาราวชฺชนจิตฺตํ อสังฺขาริกํ กามาวจรอเหตุกกิริยจิตตํ
    จิตที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ พิจารณาอารมณ์ทางมโนทวาร
    มีความหมายว่า จิตนี้ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ทั้ง ๕ ทางทวาร ๕ และมีหน้าที่พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๖ ที่เกิดทางมโนทวารคือทางใจนึกคิดโดยตรงด้วย

    ๓. โสมนสฺสสหคตํ หสิตุปฺปาทจิตฺตํ อสังฺขาริกํ กามาวจรอเหตุกกิริยจิตตํ
    จิตที่ยิ้มแย้มของพระอรหันต์ เกิดพร้อมด้วยความโสมนัส เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    มีความหมายว่า จิตดวงนี้เป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์ทั้งหลายโดยเฉพาะ บุคลลอื่นที่มิใช่พระอรหันต์ ไม่ได้ยิ้มแย้มด้วยจิตดวงนี้ แต่ยิ้มและหัวเราะด้วยจิตดวงอื่น ซึ่งจะขอกล่าวถึงต่อเมื่อได้แสดงกามจิต<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2011
  17. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    มหากุศลจิต 24 ดังนี้
    มหากุศลจิต เรียกว่า มหากุศลเฉยๆ ก็ได้ ที่ว่าเป็นมหากุศล เพราะ

    ก. เป็นกุศลจิตที่กว้างขวางมากมายมีได้ทั่วไป กล่าวคือสัตว์ในอบาย ( สัตว์นรก สัตว์เปรต สัตว์อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน )
    มนุษย์ เทวดา ตลอดจนรูปพรหม อรูปพรหม สามารถที่จะมีมหากุศล หรือประกอบกรรมอันเป็นมหากุศลนี้ได้
    ข. เป็นที่ตั้งของกุศลทั้งปวง และยังเป็นปัจจัยก่อให้เกิดกุศลฌานจิต มัคคจิต ผลจิต ทั้งเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพานได้ด้วย
    [​IMG]
    โสภณจิต 24
    มหากุศลมี ๘ ดวง ได้แก่

    - โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรมหากุศลจิตตัง
    มหากุศลดวงที่ ๑ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    - โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรมหากุศลจิตตัง
    มหากุศลดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
    - โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรมหากุศลจิตตัง
    มหากุศลดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    - โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรมหากุศลจิตตัง
    มหากุศลดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
    - อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรมหากุศลจิตตัง
    มหากุศลดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    - อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรมหากุศลจิตตัง
    มหากุศลดวงที่ ๖ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
    - อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรมหากุศลจิตตัง
    มหากุศลดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    - อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรมหากุศลจิตตัง
    มหากุศลดวงที่ ๘ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    - มหาวิบากจิต มีจำนวนเท่ากันกับมหากุศลจิต คือ ๘ ดวง ได้แก่

    - โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรมหาวิปากจิตตัง
    มหาวิบากดวงที่ ๑ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    - โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรมหาวิปากจิตตัง
    มหาวิบากดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
    - โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรมหาวิปากจิตตัง
    มหาวิบากดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    - โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรมหาวิปากจิตตัง
    มหาวิบากดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
    - อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรมหาวิปากจิตตัง
    มหาวิบากดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    - อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรมหาวิปากจิตตัง
    มหาวิบากดวงที่ ๖ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
    - อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรมหาวิปากจิตตัง
    มหาวิบากดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    - อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรมหาวิปากจิตตัง
    มหาวิบากดวงที่ ๘ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    -มหากิริยาจิต ๘ ดวง ได้แก่

    - โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรมหากิริยจิตตํ
    มหากิริยาจิตดวงที่ ๑ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    - โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรมหากิริยจิตตํ
    มหากิริยาดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
    - โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรมหากิริยจิตตํ
    มหากิริยาดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    - โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรมหากิริยจิตตํ
    มหากิริยาดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
    - อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรมหากิริยจิตตํ
    มหากิริยาดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    - อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรมหากิริยจิตตํ
    มหากิริยาดวงที่ ๖ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
    - อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรมหากิริยจิตตํ
    มหากิริยาดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    - อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ กามาวจรมหากิริยจิตตํ
    มหากิริยาดวงที่ ๘ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    จบกามาวจรจิต 54<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2011
  18. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    รูปาวจรจิต 15 แบ่งออกเป็น
    รูปาวจรมหากุศลจิต เป็นจิตที่บำเพ็ญจนถึงรูปฌาน เป็นจิตที่ตกแต่งบุญกุศลไว้เพื่อรับสมบัติ คือ เป็นรูปพรหมในพรหมโลก มีจำนวน ๕ ดวง คือ
    [​IMG]
    ๑. วิตกฺก วิจาร ปีติ สุข เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ ปฐมฌาน มหากุสลจิตฺตํ
    รูปาวจรมหากุศลดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง เป็นปฐมฌานมหากุศล
    ๒. วิจาร ปีติ สุข เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ ทุติยฌาน มหากุสลจิตฺตํ
    รูปาวจรมหากุศลดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูงเป็นทุติยฌานมหากุศล
    ๓. ปีติ สุข เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํตติยฌาน มหากุสลจิตฺตํ
    รูปาวจจรมหากุศลดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง เป็นตติยฌานมหากุศล
    ๔. สุข เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ จตุตฺถฌาน มหากุศลจิตฺตํ
    รูปาวจรมหากุศลดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง เป็นจตุตถฌานมหากุศล
    ๕. อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ ปญฺจมฌาน มหากุสลจิตฺตํ
    รูปาวจรมหากุศลดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง เป็นปัญจมฌานมหากุศล

    -รูปาวจรวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่เสวยสมบัติซึ่งรูปาวจรมหากุศลจิต ได้ตกแต่งมาให้ เป็นจิตของรูปพรหมในพรหมโลกจำนวน ๕ ดวง อันเป็นจำนวนที่เท่ากันกับรูปาวจรมหากุศลจิต รูปาวจรวิบากจิต มีจำนวน ๕ คือ

    ๑. วิตกฺก วิจาร ปีติ สุข เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ ปฐมฌาน วิปากจิตฺตํ
    รูปาวจรวิบากดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง เป็นปฐมฌานวิบาก
    ๒. วิจาร ปีติ สุข เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ ทุติยฌาน วิปากจิตฺตํ
    รูปาวจรวิบากดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูงเป็นทุติยฌาณวิบาก
    ๓. ปีติ สุข เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํตติยฌาน วิปากจิตฺตํ
    รูปาวจจรวิบากดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง เป็นตติยฌานวิบาก
    ๔. สุข เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ จตุตฺถฌาน วิปากจิตฺตํ
    รูปาวจรวิบากดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง เป็นจตุตถฌาณวิบาก
    ๕. อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ ปญฺจมฌาน วิปากจิตฺตํ
    รูปาวจรวิบากดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง เป็นปัญจมฌาณวิบาก

    -รูปาวจรมหากิริยาจิต เป็นจิตโดยเฉพาะของพระอรหันต์ที่เข้ารูปฌานตามสำนวนเก่าอธิบายว่า รูปาวจรมหากุศลกับรูปาวจรมหากิริยาก็เหมือนกัน ต่างแต่ที่เกิด รูปาวจรมหากุศลเกิดในสันดานปุถุชนและเสกขบุคคล ( เสกขบุคคล คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ) ส่วนรูปาวจรมหากิริยาเกิดในสันดาน พระขีณาสพ ( พระขีณาสพ หรือ อเสกขบุคคล คือ พระอรหันต์ ) รูปาวจรมหากิริยาจิต มีจำนวน ๕ ดวง คือ

    รูปาวจรมหากุศลจิต เป็นจิตที่บำเพ็ญจนถึงรูปฌาน เป็นจิตที่ตกแต่งบุญกุศลไว้เพื่อรับสมบัติ คือ เป็นรูปพรหมในพรหมโลก มีจำนวน ๕ ดวง คือ

    ๑. วิตกฺก วิจาร ปีติ สุข เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ ปฐมฌาน มหากิริยจิตฺตํ
    รูปาวจรมหากิริยาดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง เป็นปฐมฌานมหากิริยา
    ๒. วิจาร ปีติ สุข เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ ทุติยฌาน มหากิริยจิตฺตํ
    รูปาวจรมหากิริยาดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูงเป็นทุติยฌานมหากิริยา
    ๓. ปีติ สุข เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํตติยฌาน มหากิริยจิตฺตํ
    รูปาวจรมหากิริยาดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง เป็นตติยฌานมหากิริยา
    ๔. สุข เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ จตุตฺถฌาน มหากิริยจิตฺตํ
    รูปาวจรมหากิริยาดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง เป็นจตุตถฌานมหากิริยา
    ๕. อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ ปญฺจมฌาน มหากิริยจิตฺตํ
    รูปาวจรมหากิริยาดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง เป็นปัญจมฌานมหากิริยา

    จบรูปาวจรจิต 15<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2011
  19. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    อรูปาวจรจิต 12 มีดังนี้
    - อรูปาวจรมหากุศลจิต เป็นจิตที่บำเพ็ญจนถึงอรูปฌาน เป็นจิตที่ตกแต่งบุญกุศลไว้เพื่อรับสมบัติ ก็มีอย่างละ ๔ คือ
    [​IMG]
    - อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ อากาสานัญฺจายตนฌาน มหากุศลจิตฺตํ
    อากาสานัญจายตนมหากุศล จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุด
    - อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ วิญฺญานัญฺจายตนฌาณ มหากุศลจิตฺตํ
    วิญญานัญจายตนมหากุศล จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด
    - อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ อากิญฺจัญฺญายตนฌาณ มหากุศลจิตฺตํ
    อากิญจัญญายตนมหากุศล จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุด
    - อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ เนวสัญฺญานาสัญฺญายตนฌาณ มหากุศลจิตฺตํ
    เนวสัญญานาสัญญายตนมหากุศล จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง กำหนดความมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่(มีแต่สัญญาละเอียด)

    - อรูปาวจรวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่เสวยสมบัติซึ่งอรูปาวจรกุศลจิตได้ตกแต่งมาให้ เป็นจิตของอรูปพรหมในพรหมโลก มีจำนวน ๔ ดวง อันเป็นจำนวนที่เท่ากันกับอรูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรวิบากจิต ๔ ดวง คือ

    - อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ อากาสานัญฺจายตนฌาน วิปากจิตฺตํ
    อากาสานัญจายตนวิบาก จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุด
    - อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ วิญฺญานัญฺจายตนฌาณ วิปากจิตฺตํ
    วิญญานัญจายตนวิบาก จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด
    - อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ อากิญฺจัญฺญายตนฌาณ วิปากจิตฺตํ
    อากิญจัญญายตนวิบาก จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุด
    - อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ เนวสัญฺญานาสัญฺญายตนฌาณ วิปากจิตฺตํ
    เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง กำหนดความมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่(มีแต่สัญญาละเอียด)

    - อรูปาวจกิริยาจิต เป็นจิตโดยเฉพาะของพระอรหันต์ที่เข้าอรูปฌานมีสำนวนเก่าอธิบายว่า อรูปาวจรกุศลกับอรูปาวจรกิริยานั้นเหมือนกันต่างแต่ที่เกิด อรูปาวจรกุศลเกิดในสันดานปุถุชน และเสกขบุคคล ส่วนอรูปาวจรกิริยาเกิดในสันดาน อเสกขบุคคล ( คือ พระอรหันต์ ) อรูปาวจรกิริยาจิต มีจำนวน ๔ ดวง คือ

    - อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ อากาสานัญฺจายตนฌาน มหากิริยจิตฺตํ
    อากาสานัญจายตนมหากิริยา จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุด
    - อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ วิญฺญานัญฺจายตนฌาณ มหากิริยจิตฺตํ
    วิญญานัญจายตนมหากิริยา จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด
    - อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ อากิญฺจัญฺญายตนฌาณ มหากิริยจิตฺตํ
    อากิญจัญญายตนมหากิริยา จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุด
    - อุเปกฺขา เอกคฺคตา สหิตํ สสังฺขาริกํ เนวสัญฺญานาสัญฺญายตนฌาณ มหากิริยจิตฺตํ
    เนวสัญญานาสัญญายตนมหากิริยา จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง กำหนดความมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่(มีแต่สัญญาละเอียด)

    จบอรูปาวจรจิต 12

    ทั้งหมดนี้คงเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่<!-- google_ad_section_end -->
     
  20. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    โลกุตรจิต 8
    [​IMG]
    [​IMG]
    โลกุตรจิต 8 เป็นจิตที่พ้นจากโลก หมายความว่า เป็นจิตที่เหนือสภาวธรรมที่มีอยู่ในโลก หรือเป็นจิตที่มีความสามารถรับอารมณ์พิเศษที่เหนือโลกคือ
    นิพพานอารมณ์จิตเหล่านี้มี 8 ดวง และสามารถรับนิพพานอารมณ์ โดยแน่นอนอย่างเดียว จึงเรียกจิต 8 ดวงนี้ว่า โลกุตรจิต

    โลกุตฺตรจิตฺต เมื่อแยกศัพแล้วได้แก่
    โลก+อุตฺตร+จิตฺต = โลกุตฺตรจิตฺต
    โลก หมายถึง โลกทั้ง 3 คือ กามโลก, รูปโลก, อรูปโลก,
    หรืออีกนัยหนึ่ง
    โลก หมายถึง สิ่งที่ต้องแตกดับสูญสิ้น เป็นธรรมดา
    อุตฺตร หมายความว่า เหนือ หรือ พ้น

    โลกกุตรจิต จึงหมายถึงจิตที่เหนือโลกทั้ง 3 หรือจิตที่พ้นจากการท่องเที่ยวไปในโลกทั้ง 3 หมายความว่า จิตนี้มีอารมณ์ที่เหนือโลก มีอารมณ์ที่พ้นจาก
    โลก กล่าวคือโลกุตรจิต มีนิพพานเป็นอารมณ์ และนิพพานนี้จัดเป็นธรรมที่พ้นโลก เป็นธรรมที่เหนือโลกทั้ง 3
    โลกุตรจิต เป็นจิตที่พ้นจากการเกิดดับนั้น ก็มิได้หมายความว่า จิตจะไม่เกิดไม่ดับ จิตก็ยังมีสภาพเกิดดับของจิตเป็นจิตที่รับอารมณ์พิเศษอันพ้นจากการ
    เกิดดับ อารมณ์ที่กล่าวนี้ก็คือ พระนิพพาน เป็นอารมณ์ที่ไม่มีการเกิดดับ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความพินาศ เป็นธรรมที่พ้นจากการปรุงแต่งเป็นอสังขตธรรม
    ธรรมดาธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในโลกทั้ง 3 ย่อมเกิดดับทั้งสิ้น แต่นิพพานเป็นธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ เป็นธรรมที่พ้นจากการเกิดดับ
    นิพพานจึงเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก พ้นจากการปรุงแต่งด้วยปัจจัยธรรม คือ กรรม จิต อุตุ และอาหารทั้งสิ้น​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2011
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...