ประติมากรรมใต้ทะเล

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 8 มกราคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>8 มกราคม 2549 15:21 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ก่อนอื่นก่อนใด ต้องขอกล่าวสวัสดีปีใหม่กับคุณผู้อ่านที่รักทุกท่าน นักเขียนรายนี้อยู่คู่ "ผู้จัดการ" นับนิ้วแล้วได้สิบปี หากปราศจากความสนับสนุนของคุณ ๆ คงไม่มีวันนี้ปีที่สิบ คิดหวังสิ่งใดในทางที่ดีขอให้สมปรารถนานะครับ แล้วก็...มีออมไม่มีอดอย่าลืมนะ ไม่งั้นติดหนี้หัวโตเหมือนนักเขียนไม่รู้ด้วย

    ปีใหม่ทั้งที คอลัมน์นี้ต้องนำเสนอเรื่องใหม่ ๆ ผมจึงคัดเลือกเรื่องที่ใหม่กิ๊ก เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นครั้งแรกในเมืองไทย เท่าที่ค้นมาครั้งแรกในเอเชียด้วยซ้ำ แหล่งเที่ยวที่ผมกำลังจะกล่าวถึงคือ "ประติมากรรมใต้ทะเล"

    ก่อนเข้าเรื่องขอย้อนดูการเที่ยวทะเลสักนิด เราไม่กล่าวถึงการเล่นทรายชายหาดหรือกุมมือเคียงกันดูตะวันตกดิน แต่เน้นเฉพาะการดำน้ำดูกุ้งหอยปูปลาปะการังล้ำค่าแสนงามนัก การดำน้ำแบ่งเป็น 2 ประเภท หนึ่งคือดำน้ำตื้นหรือ Snorkeling อีกหนึ่งคือดำน้ำลึกหรือ SCUBA กิจกรรมอย่างหลังถือเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สุดสำคัญ จากรายงานของททท.พบว่า SCUBA นี่แหละคือท่องเที่ยวเชิงนิเวศทำรายได้สูงสุดของไทย ฉีกกิจกรรมอื่นไปไกล เพราะมีผู้ให้ความสนใจยินดีจ่ายเงินสองสามหมื่นเพื่อลงทะเลดูปลาแค่สี่ห้าวัน

    การดำน้ำเป็นที่นิยมขนาดไหน ? ผมค้นตัวเลขโดยรวมไม่ได้ แต่บอกได้โดยใช้การยกตัวอย่าง "หมู่เกาะสิมิลัน" แหล่งเที่ยวที่มีการดำน้ำ SCUBA มากสุดแห่งหนึ่งของไทย จากข้อมูลของอุทยานก่อนเหตุการณ์สึนามิ มีผู้เข้ามาดำน้ำลึกในอุทยานมากกว่า 70,000 คน แต่ละคนไม่ได้ดำเพียงหนึ่งหรือสองครั้ง แต่ว่ากันเป็นสิบ ๆ ตัวเลขดังกล่าวยังน้อยเมื่อเทียบกับความเป็นจริง ที่ผมเชื่อว่าอาจเป็นแสนคน

    เมื่อมีการท่องเที่ยว ย่อมเกิดผลกระทบ สะสมติดต่อกันมานับสิบปีหรือกว่านั้น จนเมื่อสักสี่ห้าปีก่อน ทีมงานวิชาการศึกษาแล้วพบว่า แหล่งท่องเที่ยวดำน้ำบางแห่งได้รับผลกระทบมากจนสิ้นสวย เกิดเหตุการณ์ "ปิด" จุดดำน้ำขึ้นเป็นครั้งแรกของไทยก็ว่าได้ จุดนั้นคือ "กองหินแฟนตาซี" จนถึงปัจจุบันแม้มีแววว่าเริ่มฟื้นตัว แต่ยังเปิดให้บริการไม่ได้ นั่นเป็นหนึ่งตัวอย่างเห็นชัด เมื่อเราใช้ประโยชน์จากธรรมชาติแบบไม่ทะนุถนอม ผลที่เกิดขึ้นย่อมสะท้อนมาถึงพวกเรา อย่างน้อยนักเที่ยวต่างชาติก็ไม่ได้เห็นจุดที่เคยเป็นความทรงจำประทับใจในฐานะ "ใต้ทะเลสวยสุดแห่งหนึ่งของโลก"

    เรายังใช้ประโยชน์จากทะเลสืบต่อมา ทะนุถนอมบ้างแต่ยังไม่พอ จนเกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิ ทีนี้ก็ยุ่งแล้วสิ จุดดำน้ำบางแห่งต้องปิดเพราะสภาพใต้ทะเลเปลี่ยนแปลง แน่นอนว่ายังมีอีกหลายจุดที่สวยอยู่ แต่เมื่อคิดถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่กลับเข้ามาเยือนอันดามัน ตามที่เราคาดหวังไว้ หมายถึงเราจะมีคนมามากขึ้น แต่จุดดำน้ำมีน้อยลง ผลกระทบในแต่ละจุดย่อมรุนแรงกว่าอดีตเห็นชัดเจน

    บางคนพูดกันถึงค่า Carrying Capacity หรือความสามารถในการรองรับของธรรมชาติ เช่น จุดนี้ดำน้ำได้แค่ 200 คนต่อวันนะ ผมบอกตามตรง ตัวเลขอะไรก็เขียนได้ แต่ใครจะบอกได้ว่าจริงหรือไม่ อีกอย่าง...ใครจะเป็นคนคอยดูแลให้เกิดขึ้นตามที่เขียนไว้ในกระดาษ และดูแลยังไง ? จากประสบการณ์บอกได้ว่าเราคงยากทำเช่นนั้น ตัวเลขก็ยังคงเป็นตัวเลขต่อไป

    เหล่านักวิทยาศาสตร์ทางทะเลจึงสุมหัว ปรึกษากับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ถึงเวลางัดกึ๋นสุดท้ายออกมาใช้ เราเคยศึกษาตัวอย่างจากเมืองนอก ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีรูปปั้น "พระเยซู" อยู่ใต้ทะเล นักดำน้ำลงไปดูกันหลายหมื่น เขาทำเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว แต่เราจะใช้เทคนิคเดียวกันเพื่อการอนุรักษ์ เป็นไปได้ไหม ?

    เป็นไปได้ นั่นคือคำตอบหลังสุมหัว หากเราเลือกพื้นทรายสักแห่งในแหล่งดำน้ำอันเป็นที่นิยม เอาจุดที่มีแต่ทรายหรืออย่างดีก็มีก้อนหิน ไม่ใช่แนวปะการังหรือแหล่งดำน้ำที่ผู้คนนิยม บนพื้นทรายเฉย ๆ ดังกล่าว หากเรานำประติมากรรมลงไปวางไว้ กระตุ้นความสนใจอีกนิด น่าจะมีผู้คนอยากเข้าไปชม โดยเฉพาะการดำน้ำแบบ Check Dive

    เช็คไดฟ์หมายถึงการดำน้ำครั้งแรกในทริป บางคนไม่ได้ดำมาสามสี่ปี บางคนเพิ่งเรียนจบเมื่อวันจันทร์ วันศุกร์มาสิมิลันแล้วล่ะ แน่นอนว่าย่อมเกิดความทุลักทุเล ตีนกบเตะโดนกัลปังหาปะการังอ่อนแบบไม่ตั้งใจ บ้างก็ลงไปคลุกทรายฟุ้งกระจายตกทับสัตว์ทะเลตายแหง แต่ครั้นจะให้ทำ Check Dive ในเขตพื้นทรายเฉย ๆ นักเที่ยวจ่ายเงินตั้งเยอะใครจะไปยอมดูทราย แต่ถ้าเป็นเขตประติมากรรมใต้น้ำล่ะ ?

    อยากให้คุณหลับตาคิดภาพตาม พื้นทรายความลึก 10-18 เมตร เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ น้ำใสพอมองเห็นได้ไกล มีประติมากรรมขนาดสูง 1.5-2 เมตรเรียงรายเป็นจุด ๆ ทั้งหมด 12 อันหรือ 12 นักษัตร อันนี้เป็นรูปเด็กน้อยวิ่งไล่หนูหรือ "ปีชวด" นักดำน้ำว่ายลัดเลาะหาปีเกิดของตนเอง บ้างพลาดพลั้งเตะโดนก็ไม่พังเพราะทำจากไฟเบอร์ หรือถึงพังก็ยังซ่อมได้ ทรายฟุ้งกระจายทับไฟเบอร์ไม่ตายจ้ะ หลังจากว่ายวนจนเจอปีเกิด นักดำน้ำที่ปัจจุบันมีกล้องดิจิตอลติดมือแทบทุกคน ถ่ายภาพคู่กับรูปปั้นปีเกิด ก่อนว่ายตรงเข้าใจกลาง

    ณ ตรงนั้นคือที่ตั้งของ "แม่น้ำเจ้าพระยา" ประติมากรรมจากบรมครูศิลปิน อาจารย์กำจร สุนพงษ์ศรี จัดทำมาตั้งแต่พ.ศ.2518 เป็นภาพสาวน้อยเลอโฉมรวบผมโพสต์ท่า เราขอท่านมาสร้างใหม่ให้ใหญ่ขึ้น ให้ชาวไทยชาวต่างชาติได้ประจักษ์ในฝีมือช่างศิลป์เมืองไทย ใครเห็นแล้วไม่ถ่ายภาพถือว่าใจแข็ง

    เลยไปอีกนิด แต่ยังอยู่ในสวนใต้น้ำแห่งเดียวกัน คือที่ตั้งของ Time Capsule ใต้น้ำแห่งแรก (ของไทยนั่นแน่ แต่ของโลกผมไม่ทราบ ค้นไม่เจอจ้ะ) ภายในใส่ข้อมูลเรื่องราวของหนึ่งปีที่ผ่านมา ปีที่คนไทยสนใจทะเลมากสุด อาจเป็นภาพจากเด็ก ๆ เรียงความ หนังสือ ฯลฯ เพื่ออีกสิบปีเราจะมาเปิดชมกัน จุดนี้ได้รับความสนับสนุนจาก "แสงโสม" เนื่องจากงบประมาณของภาครัฐจำกัด

    ยังมีอีกจุดที่แสงโสมช่วยสนับสนุน "ตู้ไปรษณีย์ใต้น้ำแห่งแรกของเอเชีย" ผมจำได้ว่ามีการทำตู้แบบนี้ที่ประเทศวานูอาตู แต่อันนี้เป็นแบบไทย ๆ สร้างโดยก๊อปปี้ตู้ไปรษณีย์ใหญ่สุดและสวยสุดของไทยที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ใครที่ว่ายเข้ามาอาจลองส่งไปรษณีย์โดยใช้โปสการ์ดกันน้ำ (แผ่นพลาสติกเขียนด้วยปากกา Permanent หรือใช้ถุงพลาสติกซิปใส่โปสการ์ดไว้) หย่อนโปสการ์ดเข้าไปในตู้ ทุกสัปดาห์จะมีนักดำน้ำคอยมาเก็บโปสการ์ดให้ ก่อนนำไปส่ง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ในภายหลัง ไม่ต้องเดือดร้อนถึงการสื่อสารแห่งประเทศไทย

    เอาละครับ เชิญลืมตาได้ ทั้งหมดที่กล่าวมาจะไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป เพราะการออกแบบทำเสร็จเรียบร้อย ถึงเวลาของการจัดทำและการติดตั้ง ภายในเดือนเมษายน ปีนี้ (2549) เราจะได้เห็นสวนใต้น้ำที่ผมเล่ามา ณ หมู่เกาะสิมิลัน

    และไม่ใช่ที่นั่นเพียงแห่งเดียว ยังมีอีก 5 แห่ง ในเมืองระนองเราจะพบกับ "แม่ไม้มวยไทยและพระอภัยมณี" ที่ภูเก็ตพบกับ "เวียงวัง ณ ราชา" กระบี่เจอกัน "คำขวัญและพญาลิง" ตรังเป็น "พะยูนกามเทพ" และสุดท้ายคือสตูล "โจรสลัดตะรุเตา" โครงการดังกล่าวจัดทำโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับ 3 มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ รามคำแหง และสงขลานครินทร์ ทุกแห่งสนับสนุนประติมากรรมเพิ่มเติมโดย "แสงโสม" รวมงบลงทุนทั้งภาครัฐภาคเอกชน สวนใต้น้ำแต่ละแห่งมูลค่า 5 ล้านบาท ทั้งหมด 6 สวน 6 จังหวัดอันดามัน

    ทั้งหมดนั้น ขอเน้นย้ำ เป้าหมายหลักมิใช่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว วัตถุประสงค์คือดึงคนออกจากแนวปะการัง นักดำน้ำที่ไปดำน้ำอยู่ในบริเวณนั้น เขาและเธออาจเปลี่ยนใจออกมาดำน้ำในสวนของเราสักครั้ง หมายถึงจำนวนคนดำน้ำในแนวปะการังจะลดลง สรรพสัตว์ใต้ทะเลมีโอกาสฟื้นตัวมากขึ้น เป็นการใช้เทคนิคด้านการจัดการเพื่อการอนุรักษ์แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ยังหมายถึงการศึกษาวิจัยที่ต้องทำควบคู่ เพื่อประเมินผลความสำเร็จที่เกิดขึ้น

    แน่นอนว่าย่อมมีผลพลอยได้ เกิดแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่นักดำน้ำให้ความสนใจ เป็นหนึ่งในตัวชูโรงสำหรับอุตสาหกรรมดำน้ำในรูปแบบ
     

แชร์หน้านี้

Loading...