ประวัติตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชไทย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 18 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    ประวัติตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชไทย


    ปลื้ม โชติษฐยางกูร


    คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์ ชั้นปริญญาตรี คณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๐, หน้า ๑๕๐​
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดระฆังโฆษิตาราม
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๓๙
    [​IMG]
    [​IMG]

    พระประวัติในเบื้องต้น

    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระนามเดิมว่า ศรี (บางตำราเขียนว่า สี) พระประวัติในเบื้องต้น มีความเป็นมาอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐาน ปรากฏแต่เพียงว่า เดิมเป็นเพียงพระอาจารย์ศรี อยู่วัดพระเจ้าพนัญเชิงกรุงเก่า เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้หนีภัยสงครามไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช<SUP></SUP>ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชครั้งแรกครั้น พ.ศ. ๒ภ๑๒ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จลงไปตีเมืองนครศรีธรรมราชทรงพบพระอาจารย์ฟัก ณ เมืองนครศรีธรรมราชนั้นจึงทรงอาราธนาให้มาอยู่วัดระฆังแต่ครั้งที่ยังมีชื่อว่าวัดบางว้าใหญ่ <SUP></SUP> ครั้นเสด็จกลับจากเมืองนครศรีธรรมราชมายังกรุงธนบุรีแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงตั้งพระอาจารย์ศรี เป็นสมเด็จพระสังฆราช ใน พ.ศ. ๒ต๑๒ นั้นเอง<SUP></SUP> นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงธนบุรี
    ถูกถอดจากตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช

    ถึงพ.ศ. ๒๓๒๔ อันเป็นปีสุดท้ายแห่งรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระสัญญาวิปลาสสำคัญพระองค์ว่าได้บรรลุพระโสดาปัตติผล จึงดำรัสถามพระราชาคณะว่า พระสงฆ์ปุถุชนจะไหว้นบเคารพคฤหัสถ์ซึ่งเป็นพระโสดาบันบุคคลได้หรือไม่ พระราชาคณะบางพวกที่เกรงพระราชอาญาก็ถวายพระพรว่า พระสงฆ์ปุถุชนควรจะไหว้นบคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันบุคคลได้ แต่สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดบางว้าใหญ่ พระพุฒาจารย์ วัดบางว้าน้อย พระพิมลธรรม วัดโพธาราม ถวายพระพรว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
    วัดมหาธาตุ

    พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกลนทร์
    นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๕ กันยายน ๒๕๓๙
    พระประวัติเบื้องต้น

    สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงมีพระประวัติในเบื้องต้นเป็นมาอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐานเช่นเดียวกับสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) เมื่อครั้งกรุงธนบุรี ทรงเป็นพระราชาคณะที่ พระญาณสมโพธิ อยู่วัดมหาธาตุ ถึง พ.ศ. ๒๓๒๓ ในสมัยกรุงธนบุรี ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมเจดีย์
    มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดให้เลื่อนเป็นพระพนรัตน <SUP>๑</SUP> ซึ่งเป็นตำแหน่งรองสมเด็จพระสังฆราช ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ว่า
     
  4. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
    วัดมหาธาตุ

    พระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกลนทร์
    นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙
    พระประวัติในเบื้องต้น

    สมเด็จพระสังฆราช (มี) มีพระประวัติในเบื้องต้นเป็นมาอย่างไร ไม่ทราบรายละเอียด ปรากฏแต่เพียงว่า ประสูติเมื่อครั้งรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพุธ เดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๑๒ ตรงกับวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๒๙๓
    เมื่อครั้งกรุงธนบุรี ทรงเป็นพระเปรียญเอกอยู่วัดเลียบ (วัดราชบุรณะ)
    ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกและสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระวินัยรักขิต<SUP></SUP>แทนตำแหน่งที่ พระอุปาฬี ซึ่งเป็นตำแหน่งพระราชาคณะสามัญมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาโดยทรงพระราชดำริว่า ที่พระอุปาฬี ต้องกับนามพระอรหันต์ จึงโปรดให้แปลงนามเลยใหม่เป็นพระวินัยรักขิต ฉะนั้น สมเด็จพระสังฆราช (มี) จึงทรงเป็นพระราชาคณะในราชทินนามที่ พระวินัยรักขิต เป็นรูปแรก
    .ศ. ๒๓๓๗ ในรัชกาลที่ ๑ โปรดให้เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระพิมลธรรม ในคราวเดียวกับที่ทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก) และสมเด็จพระพนรัตน วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) ถึงรัชกาลที่ ๒ เมื่อสมเด็จพระพนรัตน วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) ถึงมรณภาพราวต้นรัชกาล จึงทรงตั้งเป็น สมเด็จพระพนรัตน <SUP></SUP>
    สมณทูตไปลังกาครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระพนรัตน สมเด็จพระสังฆราช (มี) ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจที่สำคัญครั้งหนึ่ง คือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระราชดำริที่จะให้พระสงฆ์ไทยออกไปสืบข่าวพระศาสนายังลังกาทวีป แต่เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ขณะนั้นทรงชราภาพ จึงทรงมอบหมายให้สมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นผู้จัดสมณทูตเพื่อออกไปยังลังกาทวีปครั้งนี้ ดังมีรายละเอียดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารว่า
    "เมื่อปีมะเส็งเอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑พ.ศ. ๒๓๕๒ แต่ในปลายรัชกาลที่ มีพระภิกษุชาวลังกาชื่อพระวลิตรภิกษุรูป กับสามเณร รูปเข้ามาจากเมืองนครศรีธรรมราชมาถึงกรุงเทพฯโปรดให้วลิตรภิกษุกับสามเณรชื่อรัตนปาละไปอยู่ในสำนักสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุสามเณรอีกรูป ชื่อหิธายะ ให้ไปอยู่ในสำนักสมเด็จพระวันรัตน์วัดพระเชตุพน
    ต่อมาในรัชกาลที่ สามเณรลังกาทั้ง รูป ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุสยามวงศ์ เพราะถือว่าเป็นวงศ์เดียวกับพระสงฆ์ในลังกาทวีปซึ่งได้รับอุปสมบทแต่พระอุบาลีที่ออกไปในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศครั้งกรุงเก่า จึงโปรดให้สามเณรทั้ง นี้เป็นนาคหลวงบวชในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชทานนิตยภัตไตรปีสืบมา
    ครั้นมาถึงปีระกา เบญจศก จุลศักราช ๑๑๗๕ .ศ. ๒๓๕๖ มีพระลังกาเข้ามาถึงกรุงเทพฯ อีกรูป ชื่อพระศาสนวงศ์ อ้างว่าพระมหาสังฆนายกในลังกาทวีปให้เชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้ามาถวายแด่สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา แต่ไม่มีสมณสาสน์หรือสำคัญอันใดมา ครั้นไต่ถามถึงการพระศาสนาในลังกาทวีป พระศาสนวงศ์ก็ให้การเลื่อนเปื้อนไปต่าง ซ้ำมาเกิดรังเกียจไม่ปรองดองกันกับพระลังกาที่เข้ามาอยู่แต่ก่อน วัตรปฏิบัติก็ไม่น่าเลื่อมใสด้วยกันทั้ง ๒ รูป จึงเป็นเหตุให้ทรงแคลงพระราชหฤทัยว่าจะมิใช่พระที่ได้รับอุปสมบทมาแต่ลังกาทวีป
    ทรงพระราชดำริว่าพระสงฆ์ในลังกาทวีปก็เป็นสมณวงศ์อันเดียวกันกับพระสงฆ์ในสยามประเทศ เคยมีสมณไมตรีต่อกันมาแต่ครั้งกรุงเก่า แต่เริดร้างมาเสียเพราะเกิดเหตุศึกสงคราม ไม่ได้ไปมาหาสู่ถึงกันช้านาน บัดนี้กรุงสยามก็ได้ประดิษฐานพระนครรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี มีอิสระมั่นคงแล้ว แลได้ข่าวว่าลังกาทวีปเสียแก่อังกฤษ การพระศาสนาแลศาสนวงศ์ในลังกาทวีปจะเป็นอย่างไร ควรจะสืบสวนให้ทราบความจริงไว้ จึงทรงเผดียงสมเด็จพระวันรัตน์ (มี) วัดราชบุรณะ กับพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) ให้จัดหาพระภิกษุสงฆ์ทั้งฝ่ายคณะใต้แลคณะเหนือ จะมีองค์ใดศรัทธาออกไปยังลังกาทวีปบ้าง
    สมเด็จพระวันรัตนจัดได้พระวัดราชบุรณะ รูป คือ พระอาจารย์ดีรูป พระอาจารย์เทพรูป ๑ พระแก้วรูป พระคงรูป พระห่วงรูป พระพุทธโฆษาจารย์จัดได้พระวัดมหาธาตุ รูป คือ พระอาจารย์อยู่รูป พระปรางรูป พระเซ่งรูป ๑พระม่วงรูป รวมพระสงฆ์ไทย รูป ครั้งนั้นพระรัตนปาละ พระหิธายะชาวลังกา ซึ่งเข้ามาอุปสมบทในกรุงเทพฯ ทราบว่าพระสงฆ์สมณทูตไทยจะออกไปลังกา ถวายพระพรลาจะออกไปเยี่ยมญาติโยมของตนด้วย โปรดให้ไปกับสมณทูต พระสงฆ์ที่จะไปจึงรวมเป็น ๑๐ รูปด้วยกัน
    เมื่อจัดพระได้พร้อมแล้ว ถึงเดือน ขึ้น ๑๑ ค่ำ ป็จอ ฉศก .ศ. ๒๓๗๕ โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์สมณทูตเข้าไปรับผ้าไตรแลเครื่องบริขารต่อพระหัตถ์ แลโปรดให้จัดต้นไม้เงินทอง ๑๖ สำรับเทียนใหญ่ธูปใหญ่ ๓๐๐ คู่ เป็นของทรงพระราชอุทิศส่งไปบูชาพระทันตธาตุ และพระเจดียฐานในลังกาทวีป แลโปรดให้จัดเครื่องสมณบริขาร ๓ สำรับ คือ บาตร ฝาแลเซิงประดับมุก ถลกบาตรสักหลาดแดง ไตรแพรปักสี ย่ามหักทองขวางเป็นของพระราชทานพระสังฆนายก พระอนุนายก แลพระเถระซึ่งรักษาพระทันตธาตุ เมืองสิงขัณฑศิริวัฒนบุรี แลมีสมณสาสน์ของสมเด็จพระสังฆราช ไปถึงพระสังฆนายกด้วยฉบับหนึ่ง โปรดให้หมื่นไกร กรมการเมืองนครศรีธรรมราช เป็นไวยาวัจกรสมณทูต แลคุมต้นไม้เงินทองสิ่งของพระราชทานไปด้วย
    สมณทูตลงเรือกรมอาสาจามไปจากกรุงเทพฯ เมื่อ วันเดือน ขึ้น ๑๓ ค่ำ ถูกลมว่าวพัดกล้าคลื่นใหญ่ เรือไปชำรุดเกยที่ปากน้ำเมืองชุมพร พระยาชุมพรจัดเรือส่งไปเมืองไชยา พระยาไชยาจัดเรือส่งต่อไป ถึงเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อ ณ เดือน ขึ้น ค่ำ ไม่ทันฤดูลมที่จะใช้ใบไปลังกาทวีป สมณทูตจึงต้องค้างอยู่เมืองนครศรีธรรมราช ๑๑ เดือน ในระหว่างนั้น พระวลิตรภิกษุ กับพระศาสนวงศ์ พระลังกาที่อยู่ในกรุงเทพฯ ทราบว่าพระสงฆ์ไทยยังค้างอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช ถวายพระพรลาว่าจะกลับไปบ้านเมืองกับสมณทูตไทย เมื่อได้พระราชทานอนุญาตแล้ว ก็ตามออกไปยังเมืองนครศรีธรรมราช แต่เมื่ออกไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว พระวลิตรภิกษุ กับพระรัตนปาละ พระหิธายะ ที่มาบวชในกรุงเทพฯ ไปประพฤติตัวไม่เรียบร้อยต่าง พระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เห็นว่า ถ้าให้พระลังกา ๓ รูปนั้นไปกับพระสงฆ์สมณทูตไทยเกรงจะไปเกิดเหตุการณ์ให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ จึงจัดส่งไปเกาะหมากทั้ง ๓ รูป ให้กลับไปบ้านเมืองของตนตามอำเภอใจ คงให้ไปกับพระสงฆ์ไทยแต่พระศาสนวงศ์รูปเดียว แต่เมื่อไปขึ้นบกในอินเดียแล้วพระศาสนวงศ์ก็หลบหายไปอีก
    พระสงฆ์สมณทูตไทยไปบกจากเมืองนครศรีธรรมราช ไปลงเรือที่เมืองฝรั่ง ได้ออกเรือเมื่อ ณ เดือน ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีกุน สัปตศก จุลศักราช ๑๑๗๗ .ศ. ๒๓๕๘ ไปกับเรือที่บรรทุกช้างไปขายในอินเดีย พระยานครศรีธรรมราชมีจดหมายไปถึงสังฆนาเกน นายห้างพราหมณ์อยู่ เมืองบำบุดบำดัด ซึ่งเป็นคนชอบกับเจ้าพระยานคร ได้เคยรับซื้อช้างกันมาเสมอทุกปี
    ครั้นเรือไปถึงเมืองบำบุดบำดัด สังฆนาเกนได้ทราบความในหนังสือเจ้าพระยานครแล้ว ก็ช่วยเป็นธุระรับรองพระสงฆ์สมณทูต แลให้เที่ยวหาจ้างคนนำทางที่จะไปลังกา พระสงฆ์ต้องคอยท่าอยู่อีกเดือนหนึ่ง จึงได้บลิม แขกต้นหนคน เคยมาค้าขายที่เมืองฝรั่งพูดไทยได้เป็นล่าม แลนำทางไป ต้นไม้ทองเงินธูปเทียนแลเครื่องบริขารของพระราชทานนั้นบลิมก็รับไปด้วย เรียกค่าจ้างเป็นเงิน ๑๘๐ รูเปีย
    ออกเดินไปจากเมืองบำบุดบำดัด เมื่อ เดือน แรม ค่ำ ไป ๗๖ วันถึงท่าข้ามไปเกาะลังกา บลิมจ้างเรือไปส่งไปวัน ๑ ถึงเกาะลังกา ขึ้นเดินไปจากท่าเรืออีก ๓ วัน ถึงเมืองอนุราธบุรี เมื่อ วันเดือน บุรพาสาธขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีชวด อัฐศก .ศ. ๒๓๕๙
    พักอยู่ที่เมืองอนุราธบุรี วัน กุมารสิยูม ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองอนุราธบุรีนั้น จัดคนนำทางส่งต่อไปเมืองสิงขัณฑศิริวัฒนบุรี เดินไปได้ ๑๖ วัน ถึงคลองน้ำชื่อว่า วาลุกคงคา เมื่อ วันเดือน ทุติยาสาธขึ้นค่ำ
    ขุนนางเมืองสิงขัณฑทราบว่าพระสงฆ์ไทยไปถึงคลองวาลุกคงคา จึงแต่งให้พันนายบ้านราษฎรออกมาปฏิบัติ ทำปะรำดาดผ้าขาวให้พักอาศัยอยู่คืนหนึ่ง รุ่งขึ้น วันเดือน ๘ ทุติยาสาธขึ้น ค่ำ พระสงฆ์ สามเณร ราษฎรชาวลังกาชายหญิง ออกมารับสมณทูตไทยแห่เข้าไปในเมือสิงขัณฑ ให้ไปอยู่วัดบุปผาราม
    เวลานั้นอังกฤษพึ่งได้เกาะลังกาเป็นเมืองขึ้นใหม่ ๆ เจ้าเมืองอังกฤษกำลังเอาใจชาวลังกา ให้เห็นว่าไม่ประสงค์จะเบียดเบียนพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ชาวลังกาเคยได้รับนิตยภัตจตุปัจจัยมาแต่เมื่อยังมีพระเจ้าแผ่นดินสิงหฬปกครองอย่างไร ก็คงให้อย่างนั้น พระสงฆ์ไทยก็ได้รับความอุปการะเหมือนกับพระสงฆ์ชาวลังกาด้วยทุกอย่าง
    ฝ่ายพระสังฆนายก พระอนุนายกชาวสิงหฬ ก็ช่วยทำนุบำรุง พาสมณทูตไทยไปหาเจ้าเมืองอังกฤษ ขอลูกกุญแจมาไขเปิดพระทันตธาตุมนเทียร แลเชิญพระทันตธาตุออกให้นมัสการ แล้วพาไปนมัสการพระพุทธบาทบนยอดเขาสุมนกูฏ ได้ไปเที่ยวนมัสการพระเจดีย์ฐานที่สำคัญทุกแห่ง
    สมณทูตไทยอยู่ในลังกาทวีป ๑๒ เดือนจึงลาพระสังฆนายก พระอนุนายกกลับมา พระสังฆนายก พระอนุนายก ประชุมพร้อมกันทำสมณสาสน์ตอบให้สมณทูตไทยถือเข้ามาถึงสมเด็จพระสังฆราชฉบับ ๑ ในสมณสาสน์นั้นว่า พระสังฆนายก พระอนุนายก ได้ช่วยทำนุบำรุงพระสงฆ์ไทยตั้งแต่ไปจนกลับมา มีความผาสุกทุกองค์ จัดได้พระเจดีย์แก้วผลึกสูง นิ้วบรรจุพระบรมธาตุ พระองค์ พระพุทธรูปกาไหล่ทองคำหน้าตัก นิ้วองค์หนึ่ง ฉลองพระเนตรองค์หนึ่ง ถวายเข้ามาในสมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา แลจัดได้พระเจดีย์กาไหล่ทองคำองค์หนึ่งสูง ๑๒ นิ้ว บรรจุพระบรมธาตุ พระองค์ แว่นตาศิลาอันหนึ่ง ถวายสมเด็จพระสังฆราช อนึ่ง เมื่อสมณทูตไทยกลับมาคราวนั้นได้หน่อพระมหาโพธิเมืองอนุราธบุรีเข้ามาด้วย ต้น
    พระสงฆ์ไทยออกจากเมืองสิงขัณฑ เดือน แรม ค่ำ ปีฉลู นพศก .ศ. ๒๓๖๐ ขุนนางอังกฤษที่เป็นเจ้าเมืองกลัมพู เอาเป็นธุระฝากเรือลูกค้ามาส่งที่เมืองบำบุดบำดัด แล้วสังฆนาเกนเศรษฐีเสียค่าระวาง ให้เรือกำปั่นลูกค้ามาส่งที่เมืองเกาะหมาก ขึ้นพักอยู่ที่เมืองเกาะหมาก ๔ เดือน
    พระยานครศรีธรรมราชทราบว่า พระสงฆ์ซึ่งไปลังกากลับมาถึงเมืองเกาะหมากแล้ว จึงแต่งหรือไปรับ แลจัดส่งเข้ามา ถึงกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือน แรมค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๘๙ .ศ. ๒๓๖๑
    แลต้นพระมหาโพธิที่ได้มานั้น พระอาจารย์เทพ ขอเอาไปปลูกไว้ที่เมืองกลันตันต้นหนึ่ง เจ้าพระยานครขอเอาไปปลูกที่เมืองนครสองต้น ได้เข้ามาถวายสามต้น โปรดให้ปลูกไว้ที่วัดสุทัศน์ต้นหนึ่ง วัดมหาธาตุต้นหนึ่ง วัดสระเกศต้นหนึ่ง แล้วทรงตั้งพระอาจารย์ดีเป็นที่พระคัมภีรปรีชา ตั้งพระอาจารย์เทพเป็นที่พระปัญญาวิสารเถร พระห่วงนั้นทรงเห็นว่าได้เรียนหนังสือ รู้ภาษามคธมาก ได้ช่วยเป็นล่ามโต้ตอบกับชาวลังกา ไม่เสียรัดเสียเปรียบ เป็นคนฉลาดไหวพริบดี จึงทรงตั้งให้เป็นพระวิสุทธิมุนี เป็นพระราชาคณะทั้ง รูป พระสงฆ์ที่ได้เป็นสมณทูตไปลังกานอกจากนั้น พระราชทานไตรปืแลนิตยภัตต่อมา เดือนละ บาทบ้าง บาทบ้างทุกรูป <SUP></SUP>
    พระกรณียกิจครั้งนี้นับว่าเป็นพระเกียรติประวัติที่สำคัญ เพราะเป็นการรื้อฟื้นศาสนไมตรีระหว่างไทยกับลังกา ที่เริดร้างกันมากว่าครึ่งศตวรรษ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทั้งเป็นการปูทางให้แก่สมณทูตไทยในรัชกาลต่อมา ซึ่งยังผลให้คณะสงฆ์ไทยและลังกา มีการติดต่อสัมพันธ์กันใกล้ชิดยิ่งขึ้น อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่กันและกัน ในทางพระศาสนาในเวลาต่อมาเป็นอันมาก
    สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    .ศ. ๒๓๕๙ ในรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงตั้ง สมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามว่า “สมเด็จพระอริยวงษญาณ” เมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๙ ปีชวด พ.ศ. ๒๓๖๙ มีสำเนาประกาศทรงตั้ง ดังนี้
    "ศิริศยุภมัศดุอดีตกาลพระพุทธศักราชชไมยะสหัสสังวัจฉรไตรยสตาธฤกษ์เอกูณสัฏฐีเตมสประจุบันกาล มุสิ กสังวัจฉรมาสกาลปักษ์ยครุวารสัตตดฤษถีบริเฉทกาลอุกฤษฐ์ สมเด็จบรมธรรมฤกมหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงทศพิธราชธรรมอนันตคุณวิบุลยอันมหาประเสริฐ ทรงพระราชศรัทธามีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนาให้สมเด็จพระพนรัตน เป็นสมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติยวราสังฆราชาธิบดีศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤกษษรทักษิณา สฤทธิสังฆคามวาสี อรัญวาสี เปนประธานถานาทุกคณะนิกรจัตุพิธบรรพสัช สถิตย์ในพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหารพระอารามหลวง ให้จฤกถฤๅตฤกาลอวยผล พระชนมายุศมศรีสวัสดิ พิพัฒนมงคลวิมลทฤฆายุศม ในพระพุทธศาสนาเถิด" <SUP></SUP>
    ในพระประวัติสมเด็จพระสังฆราช (มี) นี้เองที่ปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกว่า สมเด็จพระสังฆราชในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีราชทินนามว่า "สมเด็จพระอริยวงษญาณ" กระทั่งถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแก้เป็น "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ" และใช้พระนามนี้สืบมาจนปัจจุบัน
    เกิดธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ

    สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงเป็น สมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกที่ทรงตั้งในรัชกาลที่ ๒ และทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก ที่เมื่อทรงตั้งแล้วโปรดให้แห่จากพระอารามเดิมมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เป็นการเริ่มต้นธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราช จากพระอารามเดิมมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ ซึ่งเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๒ เมื่อคราวทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (มี) นี้เป็นครั้งแรกและวัดมหาธาตุก็ได้เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนตลอดรัชกาลที่ ๒
    พิธีแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุนั้นทำอย่างไร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า
    "ในรัชกาลที่ ต้องทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราชถึง พระองค์ ตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นต้นมา ล้วนอยู่พระอารามอื่นก่อน แล้วจึงมาสถิตวัดมหาธาตุทั้งนั้น เมื่อจะเป็นสมเด็จพระสังฆราช บางพระองค์แห่มาสถิตวัดมหาธาตุก่อนแล้ว จึงรับพระสุพรรณบัตร บางพระองค์รับพระสุพรรณบัตรก่อนแล้วจึงแห่มาสถิตวัดมหาธาตุ คงจะเกี่ยวด้วยฤกษ์ทรงสถาปนา ถ้าฤกษ์อยู่ในเวลาพระศพสมเด็จพระสังฆราชองค์ก่อนยังอยู่ที่ตำหนัก ก็รับพระสุพรรณบัตรก่อน พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน แล้วจึงแห่สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่มาสถิตวัดมหาธาตุ ถ้าฤกษ์สถาปนา เป็นเวลาพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อนแล้ว ก็แห่มาสถิตวัดมหาธาตุก่อน แล้วจึงรับพระสุพรรณบัตร คราวทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (มี) นี้ เห็นได้ชัดโดยวันในจดหมายเหตุว่า เมี่อทรงตั้งนั้นสมเด็จพระสังฆราช (สุก) สิ้นพระชนม์ยังไม่ถึง ๓ เดือน คงยังไม่ได้พระราชทานเพลิงพระศพ

    แต่กระบวนแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิตพระอารามจะเป็นอย่างไร ยังหาพบจดหมายเหตุไม่ เข้าใจว่าจะเป็นทำนองเดียวกันกับกระบวนแห่พระสุพรรณบัตรแลตราพระมหามณฑปไปส่งยังพระอาราม คือ ในวันทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราชนั้น ตอนบ่ายแห่พระสุพรรณบัตรแลตราพระมหามณฑป ไปส่งยังพระอาราม มีกระบวนเกณฑ์ แห่สวมเสื้อกางเกงหมวกตามอย่างกระบวน ถือธงมังกรไปข้างหน้า ๔๐ แล้ว ถึงคู่แห่นุ่งถมปักลาย สวมเสื้อครุยแลลอมพอกขาว ถือดอกบัวสด ๔๐ แล้วถึง กองชนะ ๒๐ จ่าปี่ จ่ากลอง แตรฝรั่ง ๔ แตรงอน สังข์ รวม ๓๒ คน สวมเสื้อหมวกแดง แล้วถึงเครื่องสูง บังแซก รวม ๑๘ คน นุ่งกางเกงยก เสื้อมัสรู่ เกี้ยวผ้าลาย แล้วถึงราชยานกงรับพระสุพรรณบัตรแลตราพระมหามณฑป มีขุนหมื่นอาลักษณ์นุ่งถมปักลายสวมเสื้อครุยลอมพอก นั่งประคองคน กระบวนหลังมีเครื่องสูง แล้วถึงเกณฑ์แห่ มีคู่แห่ ๒๐ แลคนถือธง ๒๐ เป็นหมดกระบวน

    ในค่ำวันนั้นมีจุดดอกไม้เพลิง ดอกไม้พุ่ม ๗ ชั้น ๒๐ พุ่ม ระทาสูง ศอก ๑๐ ระทา พะเนียง ๓๐ บอก จุดที่นอกพระระเบียงข้างหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    แต่กระบวนแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิตพระอาราม คงมีเสลี่ยงกงเชิญพระพุทธรูป พระธรรม แลพระสุพรรณบัตร ทราบแต่ว่าสมเด็จพระสังฆราชทรงวอช่อฟ้า<SUP></SUP>

    วัดมหาธาตุได้เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราชต่อเนื่องกันมา ๔ พระองค์ คือ
    .สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ซึ่งทรงเป็นสมเด็จพระ สังฆราชมาแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงตอนต้นรัชกาลที่ ๒
    . สมเด็จพระสังฆราช (มี) พระองค์ที่ ๑ ในรัชกาลที่ ๒
    . สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พระองค์ที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๒
    . สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) พระองค์ที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งมีพระชนม์มาถึงปีที่ ๑๙ ในรัชกาลที่ ๓
    มาในรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบุรณะ สืบต่อจากสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุกำลังอยู่ในระหว่างบูรณปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) จึงสถิต ณ วัดราชบุรณะจนถึงสิ้นพระชนม์ ต่อแต่นั้นมา เมื่อทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ ก็มิได้มีการแห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุอีก ธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุจึงเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๒
    เกิดอธิกรณ์ครั้งสำคัญ

    ในป็แรกที่ทรงตั้ง สมเด็จพระสังฆราช (มี) นั้นเอง ก็ได้เกิดอธิกรณ์ซึ่งนับว่าเป็นครั้งสำคัญและครั้งแรกขึ้นในรัชกาล เพราะมีพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังของคณะสงฆ์ต้องอธิกรณ์เมถุนปาราชิกพร้อมกันถึง ๓ รูป ดังมีบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดาร ว่า
    ในเดือน ๑๒ ป็ชวดอัฐศก (พ.ศ. ๒๓๕๙) นั้น มีโจทก์ฟ้องว่า พระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) วัดมหาธาตุ รูป พระญาณสมโพธิ (เค็ม) วัดนาคกลางรูป พระมงคลเทพมุนี (จีน) วัดหน้าพระเมรุกรุงเก่ารูป ทั้ง รูปนี้ประพฤติผิดพระวินัยบัญญัติข้อสำคัญ ต้องเมถุนปาราชิกมาช้านาน จนถึงมีบุตรหลายคน โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรักษ์รณเรศ กับพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงพิจารณาได้ความเป็นสัตย์สมดังฟ้อง จึงมีรับสั่งเอาตัวผู้ผิดไปจำไว้ คุก<SUP></SUP>
    ตำแหน่งที่ พระพุทธโฆษาจารย์นั้น เป็นตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ รองลงมาจากตำแหน่งที่ สมเด็จพระวันรัตน หรือเป็นลำดับที่ ๓ ในสังฆมณฑลนับแต่สมเด็จพระสังฆราชลงมา และพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) รูปนี้ นับว่าเป็นกำลังสำคัญของคณะสงฆ์ในขณะนั้น เพราะเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้จัดสมณทูตไปลังกาเมื่อต้นรัชกาล สมเด็จพระสังฆราช (มี) ขณะยังเป็นที่ สมเด็จพระพนรัตน กับพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) นี้เอง ที่เป็นผู้จัดการเรื่องสมณทูตไปลังกา เป็นที่เรียบร้อย สมพระราชประสงค์ จึงนับว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย เมื่อมาเกิดอธิกรณ์ขึ้นเช่นนี้ คงเป็นที่ทรงโทมนัสเป็นอย่างมาก และก็คงตกเป็นภาระของสมเด็จพระสังฆราชนั่นเอง ที่จะต้องสะสางและปรับปรุงการคณะสงฆ์ให้ดีขึ้น ดังปรากฏความในพระราชพงศาวดารว่า
    ที่เกิดเหตุปรากฏว่าพระราชาคณะเป็นปาราชิกหลายรูปคราวนั้น เห็นจะทรงพระวิตกถึงการฝ่ายพระพุทธจักรมาก ปรากฏว่าได้ทรงเผดียงสมเด็จพระสังฆราช (มี) แลสมเด็จพระวนรัตน (อาจ)วัดสระเกษ ให้แต่งหนังสือโอวาทานุสาสนี แสดงข้อวัตรปฏิบัติอันสมควรแก่สมณะมณฑล คัดแจกทั่วไปตามพระอาราม เป็นทำนองสังฆาณัติแลการชำระความปาราชิกก็สืบสวนกวดขันขึ้นแต่ครั้งนั้นมาจนสิ้นรัชกาลที่ แลต่อมาในรัชกาลที่ ๓ ด้วย<SUP></SUP>
    หนังสือโอวาทานุสาสนีดังกล่าวนี้โปรดให้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ มีสาระสำคัญว่าด้วยเรื่องให้พระอุปัชฌาย์ อาจารย์พระราชาคณะถานานุกรมเอาใจใส่สั่งสอนพระภิกษุสามเณรให้อยู่ในจตุปาริสุทธิศีล ๔ ผู้ที่จะเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์จะต้องมีความรู้เรื่องพระวินัยและสังฆกรรมเป็นอย่างดีและปฏิบัติให้ถูกต้อง
    แต่เป็นที่น่าเสียใจว่า ต่อมาอีก ๓ ปีสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) ผู้แต่งหนังสือโอวาทานุสาสนีเอง ก็ต้องอธิกรณ์ ด้วยประพฤติต่อศิษย์ผิดสมณสารูป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ จึงโปรดให้ถอดจากสมณศักดิ์และไล่จากวัดมหาธาตุ จึงไปอยู่ที่วัดไทรทอง (ซึ่งภายหลังต่อมาได้สร้างเป็นวัดเบญจมบพิตรดังปรากฏอยู่ในบัดนี้) จนถึงมรณภาพในรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) รูปนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ จะทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราชสืบต่อกันมาจากสมเด็จพระสังฆราช (มี) ถึงกับโปรดให้แห่มาอยู่วัดมหาธาตุแล้ว แต่มาเกิดอธิกรณ์เสียก่อนดังกล่าว <SUP></SUP> เหตุการณ์ครั้งนี้ คงเป็นเรื่องสะเทือนใจพุทธศาสนิกชน ยิ่งกว่าเมื่อครั้งพระราชาราชคณะ ๓ รูปต้องอธิกรณ์ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะพระเถระที่ต้องอธิกรณ์ครั้งนี้ เป็นถึงว่าที่สมเด็จพระสังฆราช และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะที่ไม่ห่างกันนัก
    พิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์

    .ศ. ๒๓๖๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ มีพระราชประสงค์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลให้พิเศษยิ่งกว่าที่เคยทรงปฏิบัติมา จึงทรงมีพระราชราชปุจฉาต่อสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชจึงได้ถวายพระพรให้ทรงกระทำการสักการะบูชาพระศรีรัตนตรัยในวันวิสาขบูชา เยี่ยงสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแต่ปางก่อนเคยกระทำมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้กำหนดพิธีวิสาขบูชาขึ้น เป็นธรรมเนียมตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๖๐ นั้นเป็นต้นมา นับเป็นการทำพิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเหตุให้มีการทำพิธีวิสาขบูชากันสืบมาจนปัจจุบัน เหตุการณ์สำคัญครั้งนี้นับว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระสังฆราช (มี) โดยแท้ นับเป็นพระเกียรติประวัติที่สำคัญครั้งหนึ่งของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น
    พิธีวิสาขบูชาที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ โปรดให้จัดขึ้นในครั้งนั้นทำอย่างไร พระราชพงศาวดารได้บันทึกไว้ดังนี้ คือ
    ทำโคมปิดกระดาษ ปักเสาไม้ไผ่ ยอดผูกฉัตรกระดาษ พระราชทานไปปักจุดเป็นพุทธบูชาตามพระอารามหลวงวัดละสี่เสาอย่าง ๑ หมายแผ่พระราชกุศลแก่ข้าราชการ ให้ร้อยดอกไม้มาแขวนเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดารามทั้ง ๓ วันอย่าง ๑ มีดอกไม้เพลิงของหลวงตั้งจุดเป็นพุทธบูชาที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามอย่าง ๑ นิมนต์พระสงฆ์ให้อุโบสถศีลและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ราษฎรตามพระอารามหลวงฝั่งตะวันออก ๑๐ วัด ฝั่งตะวันตก ๑๐ วัด เครื่องกัณฑ์เป็นของหลวงพระราชทาน และให้อำเภอกำนันป่าวร้องตักเตือนราษฎรให้ไปรักษาศีลฟังธรรมและห้ามการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอย่าง ๑ ทำธงจรเข้ไปปักเป็นพุทธบูชาตามพระอารามหลวงวัดละคันอย่าง ๑ เลี้ยงพระสงฆ์ในท้องพระโรง พระราชทานสลากภัต แล้วสดัปกรณ์พระบรมอัฐิอย่าง ๑ <SUP>๑๐</SUP>
    ปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม

    เหตุการณ์สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในยุคของสมเด็จพระสังฆราช (มี) คือ การปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มาแบ่งเป็น ๓ ชั้น เรียกว่า บาเรียนตรี บาเรียนโท บาเรียนเอก หลักสูตรที่ใช้เรียนใช้สอบก็คือพระไตรปิฎกทั้ง ๓ คัมภีร์ ได้แก่ พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม มาถึงสมัยรัชกาลที่ ๒ ในระหว่างที่สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงเป็นมหาสังฆปรินายก (พ.ศ. ๒๓๕๙ - ๒๓๖๒) จึงได้โปรดให้ปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรมเพื่อให้ภิกษุสามเณรที่สอบไล่ได้เป็นบาเรียนมีความรู้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยขยายการศึกษาออกไปเป็น ๙ ประโยค ผู้สอบไล่ได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไปจึงเรียกว่าเป็นบาเรียน (หรือเปรียญ)
    ชั้นบาเรียนที่ปรับปรุงใหม่ในรัชกาลที่ ๒ ดังกล่าวนี้ ก็มีอัตราเทียบได้กับชั้นบาเรียนอย่างเก่าได้ดังนี้
    ๓ ประโยค จัดเป็นบาเรียนตรี
    ๔ ๕ ๖ ประโยค จัดเป็นบาเรียนโท
    ๗ ๘ ๙ ประโยค จัดเป็นบาเรียนเอก <SUP>๑๑</SUP>
    สำหรับหลักสูตรการสอบที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และคงใช้เป็นแบบสืบมาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น คือ
    บาเรียนตรี แปลพระสูตร
    บาเรียนโท แปลพระสูตรและพระวินัย
    บาเรียนเอก แปลพระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม <SUP>๑๒</SUP>
    หลักสูตรพระปริยัติธรรมที่โปรดให้จัดขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๒ นั้น มีดังนี้
    ประโยค ๑ ๒ ๓ แปล ธัมมปทัฏฐกถา
    ประโยค ๔ แปล มังคลัตถทีปนี บั้นต้น
    ประโยค ๕ แปล บาลีมุตตกวินัย วินิจฉัย สังคหะ / สารัตถสังคหะ
    ประโยค ๖ แปล มังคลัตถทีปนี บั้นปลาย
    ประโยค ๗ แปล ปฐมสมันตัปปาสาทิกา
    ประโยค ๘ แปลวิสุทธิมัคคปกรณ์
    ประโยค ๙ แปล สารัตถทีปนี <SUP>๑๓</SUP>
    หลักสูตรพระปริยัติธรรมที่จัดขึ้นใหม่เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (มี) ดังกล่าวนี้ ได้ใช้เป็นแบบแผนการศึกษาพระปริยัติธรรม ของคณะสงฆ์ไทย สืบมาจนปัจจุบัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงในบางประโยคบ้าง เพียงเล็กน้อย และในการปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม ของพระภิกษุสามเณร เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ ดังกล่าวนี้ แม้จะไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน ว่าสมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงเป็นผู้จัดการ แต่ก็คงจะกล่าวได้อย่างไม่ผิดจากความเป็นจริง ว่าสมเด็จพระสังฆราช (มี) คงจักมีส่วนอย่างสำคัญในการจัดการครั้งนี้ เพราะเป็นที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย และได้จัดการในเรื่องสำคัญ ๆ สนองพระราชดำริเป็นที่เรียบร้อยมาแล้วหลายอย่าง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ นับเป็นพระเกียรติประวัติที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น
    พระกรณียกิจพิเศษ

    .ศ. ๒๓๖๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์ ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม เป็นพระอาจารย์ถวายสรณะและศีล เมื่อทรงผนวชแล้ว เสด็จไปประทับ ณ วัดมหาธาตุเป็นเวลา ๑ พรรษา จึงทรงลาผนวช <SUP>๑๔</SUP>
    พระอวสานกาล

    สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงดำรงตำแหน่งมหาสังฆปรินายกอยู่เพียง ๓ ปี กับ ๑ เดือน ระยะเวลาสั้น ๆ ดังกล่าวนี้ ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ขึ้นหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์อันเป็นการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่คณะสงฆ์ ซึ่งทุกเหตุการณ์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้นได้ทรงมีส่วนอย่างสำคัญในการจัดการให้เรื่องนั้น ๆ สำเร็จลุล่วง หรือผ่านพ้นไปด้วยดี สมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์เมื่อวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำเดือน ๑๐ ปีเถาะเอกศก จุลศักราช ๑๑๘๑ ตรงกับวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๓๖๒ ในรัชกาลที่ ๒ พระชนมายุ ๗๐ พรรษา
    ถึงเดือน ๑ โปรดให้ทำเมรุผ้าขาวที่ท้องสนามหลวง แล้วชักพระศพสมเด็จพระสังฆราช (มี) เข้าสู่เมรุ มีวารสมโภช ๓ วัน ๓ คืน พระราชทานเพลิงเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๑ ตรงกับวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๖๒ <SUP>๑๕</SUP>
    เชิงอรรถ

    . เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ กรมพระดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียง ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๖๖ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร หน้า ๘๐.
    . ตำนานคณะสงฆ์. พระนิพนธ์ สมเด็จ ฯ กรมพระดำรงราชานุภาพ ในงานพระราชทาน เพลิงศพร้อยเอกอนันต์ ชูเอม พ.ศ. ๒๕๑๓ หน้า ๔๓.
    . เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์. อ้างแล้ว หน้า ๘๐.
    . พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒. สมเด็จ ฯ กรมพระดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ พิมพ์เฉลิมพระเกียรติ์ เนื่องในงานบำเพ็ญกุศลบรมราชานุสรณ์ประจำปี ๒๕๓๓ หน้า ๙๙ - ๑๐๓.
    . เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์. อ้างแล้ว หน้า ๘๑.
    . เรื่องประวัติวัดมหาธาตุ. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ พิมพ์เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๖๑ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร หน้า ๔๑-๔๕.
    . พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฯ รัชกาลที่ ๒. อ้างแล้ว หน้า ๑๑๖.
    . เล่มเดียวกัน หน้าเดียวกัน.
    . เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์. อ้างแล้ว ๘๖-๘๗.
    ๑๐. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ฯ รัชกาลที่ ๒. อ้างแล้ว หน้า ๑๒๐-๑๒๓.
    ๑๑. ตำนานคณะสงฆ์. อ้างแล้ว หน้า ๔๕-๔๖.
    ๑๒. เล่มเดียวกัน หน้าเดียวกัน.
    ๑๓. อธิบายเรื่องการสอบพระปริยัติธรรม ใน ประชุมพระนิพนธ์เกี่ยวกับตำนานทางพระพุทธศาสนา. ของ สมเด็จ ฯ กรมพระดำรงราชานุภาพ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเทพคุณาธาร (ผล ชินปุตฺโต) พ.ศ. ๒๕๑๔ หน้า ๒๔๒-๒๔๓.
    ๑๔. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฯ รัชกาลที่ ๒. อ้างแล้ว หน้า ๑๒๓.
    ๑๕. เล่มเดียวกัน หน้า ๑๔๗ - ๑๔๘
    [​IMG]
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="ประวัติ สมเด็จพระสังฆราช (มี)";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits1.gits.net.th/data/i0017685.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.net/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.net/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT>
     
  5. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
    วัดมหาธาตุ
    http://mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet04.htm
    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 80%; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 68.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=91>ภูมิลำเนาเดิม
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=284>(ไม่ปรากฏ)
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 68.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=91>วันประสูติ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=284>วันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีฉลู จ.ศ. ๑๐๙๕ พ.ศ. ๒๒๗๖ ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกษฐ แห่งกรุงศรีอยุธยา
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 68.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=91>วันสถาปนา
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=284>วันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ ในรัชกาลที่ ๒
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 68.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=91>วันสิ้นพระชนม์
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=284>วันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๖๕ ในรัชกาลที่ ๒ (๔ กันยายน ๒๓๖๕)
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 68.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=91>พระชนมายุ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=284>๘๙ พรรษา
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 281.45pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=375 colSpan=2>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑ ปี ๑๐ เดือน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
    พระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ ทรงพระคุณพิเศษในด้านวิปัสสนาธุระจนมีพระฉายานามอันเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ประชาชนว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน” เพราะทรงสามารถแผ่พรหมวิหารธรรมให้ไก่ป่าเชื่องเป็นไก่บ้านได้
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู จุลศักราช ๑๐๙๕ พ.ศ. ๒๒๗๖ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ, สันนิษฐานกันว่าคงเป็นชาวกรุงเก่า, ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เมื่อครั้งกรุงธนบุรีเป็นพระอธิการอยู่วัดท่าหอย ริมคลองคูจาม (ในพระราชพงศาวดาร เรียกว่าคลองตะเคียน) ในแขวงรอบกรุงเก่า มีพระเกียรติคุณในทางบำเพ็ญสมถภาวนา ผู้คนนับถือมาก.
    ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นปฐมรัชกาลแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์, เมื่อได้ทรงจัดการข้างฝ่ายอาณาจักรเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้ทรงพระราชดำริจัดการข้างฝ่ายพุทธจักรเพื่อทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา ซึ่งเสื่อมโทรมเศร้าหมองเพราะการจลาจลวุ่นวายในบ้านเมืองจึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระราชาคณะในตำแหน่งต่างๆตามโบราณราชประเพณี และได้ทรงแสวงหาพระเถระผู้ทรงคุณพิเศษจากที่ต่างๆมาตั้งไว้ในตำแหน่งที่สมควร เพื่อช่วยรับภาระ ธุระทางพระพุทธศาสนาสืบไป และก็ในคราวนี้เองที่ได้ทรง “โปรดให้นิมนต์พระอาจารย์วัดท่าหอยคลองตะเคียน แขวงกรุงเก่า มาอยู่วัดพลับ ให้เป็นพระญาณสังวรเถร” พระอาจารย์วัดท่าหอยดังกล่าวนี้ก็คือ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) นั้นเอง.
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ได้ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่ครั้งยังทรงเป็นพระอาจารย์สุก วัดท่าหอย กรุงเก่า, ครั้นเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จึงได้โปรดให้นิมนต์มาอยู่ในกรุงเทพฯ และทรงตั้งเป็นราชาคณะที่ พระญาณสังวรเถร ดังกล่าวแล้ว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระฝ่ายอรัญวาสีนิยมความสงบวิเวก จึงได้โปรดให้มาอยู่วัดพลับ อันเป็นวัดสำคัญฝ่ายอรัญวาสีของธนบุรีครั้งนั้น คู่กับวัดรัชฎาธิษฐาน และอยู่ไม่ไกลจากพระนคร, และเพื่อให้สมพระเกียรติที่เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน จึงได้โปรดฯให้สร้างวัดพระราชทานใหม่ในที่ติดกับวัดพลับนั่นเอง, เมื่อสร้างพระอารามใหม่เสร็จแล้ว ก็ได้โปรดฯ ให้รวมวัดพลับเข้าไว้ในเขตของพระอารามใหม่นั้นด้วย แต่ยังคงใช่ชื่อว่าวัดพลับดังเดิม, ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ จึงได้พระราชทานชื่อใหม่ว่า วัดราชสิทธาราม ดังที่ปรากฏสืบมาจนบัดนี้, บริเวณอันเป็นวัดพลับเดิมนั้นอยู่ด้านตะวันตกของวัดราชสิทธารามปัจจุบันนี้.
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือเป็นอันมากของพระบรมราชวงศ์มาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ปรากฏนามพระญาณสังวรเถร เป็นพระกรรมวาจาจารย์แทบทุกพระองค์ นับแต่คราวทรงผนวชพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เป็นศิษย์ของสมเด็จพระญาณสังวรมาแต่ก่อน ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระเจดีย์ขึ้น ๒ องค์ เป็นคู่กันอยู่ที่ลานหน้าวัดราชสิทธาราม (อันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระญาณสังวร), องค์หนึ่งขนานนามว่า “พระศิราศนเจดีย์” ทรงอุทิศในพระนามของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, อีกองค์หนึ่งมีนาม ว่า “พระศิรจุมภฏเจดีย์” เป็นพระบรมราชูทิศในพระนามของพระองค์เองยังปรากฏอยู่, ตรัสว่าเพราะได้เคยเป็นศิษย์สมเด็จพระญาณสังวรมาด้วยกันทั้ง ๒ พระองค์.”
    ในรัชกาลที่ ๒ โปรดให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ในปีเดียวกันกับสมเด็จพระสังฆราช (มี) ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชและนั่งหน้าสมเด็จพระสังฆราช “ด้วยได้เห็นบัญชีนิมนต์พระสวดมนต์ในสวนขวา มีนามสมเด็จพระญาณสังวรอยู่หน้าสมเด็จพระสังฆราช เห็นจะเป็นด้วยมีพรรษาอายุมากกว่า” สมเด็จพระญาณสังวรได้รับพระราชทานพัดงาสาน ซึ่งโปรดให้ทำวิจิตรกว่าพัดสำหรับพระราชาคณะสมถะสามัญ (คือ สวนที่โปรดให้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเป็นการเติมแต่งของเดิมที่สร้างขึ้นแล้ว ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เพื่อเป็นที่เสด็จประพาสในเวลาว่างพระราชกิจ และเสด็จทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเวลาเทศกาลนักขัตฤกษ์บ้าง, ที่เรียกว่า สวนขวา เพราะอยู่ฝ่ายขวาพระราชมนเทียร, ทุกวันนี้รื้อหมดแล้ว)
    สำหรับวัดพลับ หรือวัดราชสิทธารามนั้น นับแต่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ได้มาอยู่ครองแต่ครั้งยังทรงเป็นที่ พระญาณสังวรเถรแล้ว ก็ได้กลายเป็นสำนักปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระที่สำคัญดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ใน เรื่องประวัติวัดมหาธาตุ ว่า “ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ วัดอรัญวาสีที่สำคัญ ก็คือวัดสมอราย ๑ กับวัดราชสิทธาราม ๑” และพระเกียรติคุณในทางวิปัสสนาธุระของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นั้น คงเป็นที่เคารพนับถือทั้งในฝ่ายเจ้านายในพระบรมราชวงศ์และในหมู่ประชาชนทั่วไป จึงได้ทรงเป็นพระราช อุปัธยาจารย์และเป็นพระอาจารย์ของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์หลายพระองศ์ ดังได้กล่าวมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นพระเจ้าหลานเธอใน รัชกาลที่ ๑ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ก็ได้เสด็จมาประทับทรงบำเพ็ญเนกขัมมปฏิบัติ และทรงศึกษาวิปัสสนาธุระในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (สุก) แต่ครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระญาณสังวรเถร ณ วัดราชสิทธารามนี้เป็นเวลา ๑ พรรษา โดยมีพระตำหนักสำหรับทรงบำเพ็ญสมาธิกรรมฐานโดยเฉพาะเรียกว่า พระตำหนักจันทน์ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชนกนาถ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ทรงสร้างถวาย ยังคงมีอยู่สืบมาจนบัดนี้. เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า มงกุฎฯ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในรัชกาลที่ ๒ ก็ได้เสด็จไปประทับศึกษาวิปัสสนาธุระในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (สุก) แต่ครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระญาณสังวรเถร ณ วัดราชสิทธารามเช่นกัน ดังที่พระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้ใน เรื่องวัดสมอรายอันมีนามว่า ราชาธิวาส ว่า “ได้ทรงประทับศึกษาอาจาริยสมัยในสำนักวัดราชาธิวาส ทรงทราบเสร็จสิ้นจนสุดทางที่จะศึกษาต่อไปอีกได้ จึงได้เสด็จย้ายไปประทับอยู่ ณ วัดราชสิทธาราม คือวัดพลับ ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญเชี่ยวชาญในการวิปัสสนาอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชในที่นั้น แต่หาได้ประทับประจำอยู่เสมอ ไม่เสด็จไปอยู่วัดพลับบ้าง กลับมาอยู่สมอรายบ้าง เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จึงทรงสร้างพระศิรจุมภฏเจดีย์ไว้เป็นคู่กันกับพระศิราศนเจดีย์ ที่ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสำคัญว่าเคยเสด็จ ประทับศึกษา ณ สำนักอาจารย์เดียวกัน.” เกี่ยวกับราชประเพณีนิยมทรงศึกษาวิปัสสนาธุระของเจ้านายในพระบรมราชวงศ์ที่ทรงผนวชนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระอธิบายไว้ว่า “อนุโลมตามราชประเพณีครั้งกรุงเก่า ดังเช่นสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ทรงผนวชแล้วเสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดประดู่นั้นเป็นตัวอย่างด้วยเป็นวัดอรัญวาสี อยู่ที่สงัดนอกพระนครเพราะการศึกษาธุระในพระศาสนามีเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายคันถธุระต้องเล่าเรียนพระปริยัติธรรมโดยมคธภาษา อันต้องใช้เวลาช้านานหลายปี ไม่ใช่วิสัยผู้ที่บวชอยู่ชั่วพรรษาเดียวจะเรียนให้ตลอดได้แต่วิปัสสนาธุระอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นการฝึกหัดใจในทางสมถภาวนา อาจเรียนได้ในเวลาไม่ช้านัก และถือกันอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าชำนิชำนาญในทางสมถภาวนาแล้ว อาจจะนำคุณวิเศษอันนั้นมาใช้ในการปลุกเศกเพื่อประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนในวิชา พิไชยสงครามได้ในภายหลัง ด้วยเหตุนี้ เจ้านายที่ทรงผนวชมาแต่ก่อนจึงมักเสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดอรัญวาสี เพื่อทรงศึกษาภาวนาวิธี.”
    นัยว่าการศึกษาวิปัสสนาธุระของสำนักวัดราชสิทธารามในสมัยที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงครองวัดอยู่นั้นเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะผู้ครองวัดทรงเชี่ยวชาญและมีกิตติคุณในด้านนี้เป็นที่เลื่องลือ. ครั้นสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชและเสด็จมาสถิต ณ วัดมหาธาตุแล้ว การศึกษาวิปัสสนาธุระแม้จะยังมีอยู่ก็ไม่รุ่งเรืองเท่ากับสมัยที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ยังทรงครองวัดนั้นอยู่.
    พ.ศ. ๒๓๖๒ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์, พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นสมเด็จพระสังฆราช แล้วโปรดให้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เดิมทรงพระราชดำริที่จะตั้งสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) วัดสระเกศ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ถึงได้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เมื่อ ณ เดือน ๔ ปีเถาะ เอกศกนั้นแล้วแต่เมื่อปีมะโรง โทศก ข้างต้นปีเกิดอหิวาตกโรคมาก ยังไม่ทันจะได้ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) เป็นสมเด็จพระสังฆราช, ถึงเดือน ๑๑ มีโจทก์ฟ้องกล่าวอธิกรณ์สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) ว่าชอบหยอกเอินศิษย์หนุ่มด้วยกิริยาที่ไม่สมควรแก่สมณะ ชำระได้ความเป็นสัตย์ อธิกรณ์ไม่ถึงเป็นปาราชิก จึงเป็นแต่ให้ถอดเสียจากตำแหน่งพระราชาคณะ และเนรเทศไปจากพระอารามหลวง. ตำแหน่งพระสังฆราชนั้น ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม เป็นสมเด็จพระราชาคณะผู้ใหญ่และได้เป็นพระอาจารย์ เป็นที่เคารพในพระราชวงศ์ จึงโปรดให้แห่สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เมื่อ ณ วันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ ขึ้น ๔ ค่ำ ครั้งถึง ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ พ.ศ. ๒๓๖๓ จึงทรงตั้งสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั้น พระชนมายุได้ ๘๘ พรรษาแล้ว ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ไม่ถึง ๒ ปี ก็สิ้นพระชนม์ เหตุที่ไม่ได้ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชมาแต่ก่อน เพราะทรงเป็นพระราชาคณะฝ่ายสมถะ, แต่ประเพณีการเลือกสมเด็จพระสังฆราช คงถือเอาคันถธุระเป็นสำคัญ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระจึงไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชมาแต่ก่อน มาในครั้งนี้เห็นจะทรงพระราชดำริว่า พรรษาอายุท่านมากอยู่แล้ว มีพระราชประสงค์จะสถาปนาให้ถึงเกียรติยศที่สูงสุดให้สมกับที่ทรงเคารพนับถือ เข้าใจว่าเห็นจะถึงทรงวิงวอน ท่านจึงรับเป็นสมเด็จพระสังฆราช.
    อนึ่ง ธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุนั้นได้มีขึ้นในรัชกาลที่ ๒ โดยได้โปรดให้แห่สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดราชบุรณะ ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มาสถิต ณ วัดมหาธาตุเป็นพระองค์แรก พระองค์ที่ ๒ คือสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แห่จากวัดราชสิทธารามมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ พระองค์ที่ ๓ คือสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แห่จากวัดสระเกศมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ พระองค์สุดท้ายคือ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๓), ในประกาศสถาปนาว่าสถิต ณ วัดมหาธาตุ แต่ไม่ได้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุตามประกาศ เพราะขณะนั้นวัดมหาธาตุกำลังปฏิสังขรณ์ทั่วพระอาราม สมเด็จพระสังฆราช (นาค) จึงสถิต ณ วัดราชบุรณะอันเป็นพระอารามเดิมจนสิ้นพระชนม์ แต่นั้นมาธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุก็เป็นอันเลิกไป.
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ ๑ ปีกับ ๑๐ เดือน ก็สิ้นพระชนม์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๖๕ มีพระชนม์มายุได้ ๘๙ โดยปี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระศพ เมื่อตั้งที่พระเมรุท้องสนามหลวง พระโกศองค์นี้ นอกจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับพระบรมวงศานุวงศ์ที่พระเกียรติยศสูงบางพระองค์ มีปรากฏว่าได้ทรงแต่พระศพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นี้พระองค์เดียว นับเป็นการถวายพระเกียรติอย่างสูงด้วยเหตุที่ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือ อย่างยิ่งนั้นเอง ส่วนการพระเมรุนั้นโปรดให้ทำเมรุผ้าขาวที่ท้องสนามหลวง พระราชทานเพลิงพระศพเมื่อเดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๓๖๕ นั้น ครั้นพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว ได้โปรดให้ปั้นพระรูปบรรจุพระอัฐิประดิษฐานไว้ในกุฏิกรรมฐานหลังหนึ่งบริเวณด้านหน้าพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม เพื่อเป็นที่ทรงสักการะบูชาตลอดจนสานุศิษย์และผู้เคารพนับถือ สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้.
    ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ช่างหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ขนาดย่อมขึ้นอีก ประดิษฐานไว้ในหอพระนาก พร้อมกันกับรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม ซึ่งเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ของพระองค์ ในปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๘๗ ได้โปรดให้หล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) อีกองค์หนึ่งขนาดเท่าพระองค์จริง, พระราชดำริเดิม เข้าใจว่าคงจะทรงสร้างขึ้นสำหรับประดิษฐานไว้ ณ วัดมหาธาตุ อันเป็นที่สถิตของพระองค์เมื่อทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช, แต่ยังไม่ทันได้เชิญไปประดิษฐาน เพราะการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดมหาธาตุยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน, พระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) องค์ดังกล่าวนี้ จึงค้างอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้แห่ไปประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุ ปรากฏตามหมายรับสั่งในรัชกาลที่ ๔ ว่า โปรดให้เชิญไปเมื่อวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๑๔ พ.ศ. ๒๓๙๕ และโปรดให้สร้างแท่นจำหลักมีลวดลายเป็นรูปไก่เถื่อนเป็นที่รองรับพระรูปเพิ่มเติมขึ้น และยังคงสถิตอยู่ในพระวิหารวัดมหาธาตุมาจนบัดนี้.
    ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวรนั้น นับว่าเป็นตำแหน่งพิเศษในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นตำแหน่งที่พระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระโดยเฉพาะ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงตั้งพระอาจารย์สุก วัดท่าหอย ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณพิเศษในทางวิปัสสนาธุระเป็นที่พระราชาคณะนั้น ก็ทรงตั้งในราชทินนามว่า พระญาณสังวรเถร อันเป็นราชทินนามที่แสดงถึงความเป็นผู้ทรงคุณในทางวิปัสสนาธุระ ครั้นมาในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดให้สถาปนาพระญาณสังวรเถร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ก็โปรดให้สถาปนาในราชทินนามว่า สมเด็จพระญาณสังวร ตามราชทินนามเดิมที่ได้รับพระราชทานแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ ครั้นสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชในเวลาต่อมา, ราชทินนามที่ สมเด็จญาณสังวร ก็ไม่ได้โปรดพระราชทานสถาปนาพระเถระรูปใดอีกเลยนับแต่รัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมา กระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งเป็นรัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดให้สถาปนา พระสาสนโสภณ (สุวฑฺฒโน เจริญ คชวัตร) วัดบวรนิเวศวิหารในราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ นับเป็นสมเด็จพระญาณสังวร รูปที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับแต่ปีที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๕ ในรัชกาลที่ ๒ มาจนถึงปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดให้สถาปนา พระสาสนโสภณ (สุวฑฺฒโน) ขึ้นเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ นั้น เป็นเวลา ๑๕๐ ปีพอดี ซึ่งเป็นเวลายาวนานถึง ๖ รัชกาลที่ว่างเว้นมิได้ทรงพระกรุณาโปรดให้สถาปนาพระเถระรูปใดในราชทินนามตำแหน่งนี้ เพราะฉะนั้นตำแหน่งที่สมเด็จพระญาณสังวรนี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นตำแหน่งที่มีความหมายสำคัญในประวัติการณ์ของ คณะสงฆ์ไทยตำแหน่งหนึ่ง.
    ย่อความจาก "ธรรมจักษุ"
    นิตยสารทางพระพุทธศาสนารายเดือน
    จัดทำโดย มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    [​IMG]
    พระประวัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุ่ฒาจารย์ (โต)
    http://www.soonphra.com/geji/putachan/
    เรื่องประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อันเนื่องด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น ได้ฟังผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่า ท่านได้เล่าเรียนในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) เปรียญเอก วัดระฆัง เป็นพื้น และได้เล่าเรียนต่อสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุบ้าง นอกจากนี้จะได้เล่าเรียน ที่ใดอีกบ้าง หาทราบไม่ เล่าว่าเมื่อเป็นนักเรียนท่านมักได้รับคำชมเชยจากครูบาอาจารย์เสมอว่ามีความทรงจำดี ทั้งมีปฏิภาณอัดยอดเยี่ยม ดังมีเรื่องเล่าขานกันว่าเมื่อท่านเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นั้น ก่อนจะเรียนท่านกำหนดว่า วันนี้ท่านจะเรียนตั้งแต่นี่ถึงนั่น ครั้นถึงเวลาเรียนท่านก็เปิดหนังสือออกแปลตลอด ตามที่กำหนดไว้ท่านทำดังนี้เสมอ จนสมเด็จพระสังฆราชรับสั่งว่า "ขรัวโตเขามาแปลหนังสือให้ฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันดอก" ยังมีข้อน่าประหลาดอีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านเรียนรู้ปริยัติธรรมแต่ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ (ในสมัยก่อนนั้น การสอบพระปริยัติธรรมไม่ได้ออกเป็นข้อสอบเหมือนทุกวันนี้ การสอบในครั้งนั้นต้องสอบพระปริยัติธรรมต่อพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นการสอบด้วยปากเปล่า สุดแต่ผู้เป็นประธานกรรมการ และกรรมการจะสอบถามอย่างใด ต้องตอบให้ได้ ถ้าตอบไม่ได้ก็หมายความว่าตกเพียงแค่นั้น)
    พระอาจารย์องค์สำคัญที่สุดของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คือสมเด็จพระสังฆราช "ไก่เถื่อน” (สุก) (สมเด็จพระสังฆราช (สุก) พระองค์นี้ เดิมอยู่วัดท่าหอย ริมคลองคูจาม ในแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดูพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑) เมื่อรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงอาราธนามาตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระญาณสังวร ด้วยทรงเห็นว่าเป็นผู้มีชื่อเสียงในทางวิปัสสนาธุระเป็นที่นับถือของชนทั้งหลาย ถึงกับกล่าวกันว่า ทรงไว้ซึ่งเมตตาพรหมวิหารแก่กล้าถึงกับสามารถเลี้ยงไก่เถื่อน ให้เชื่อง ได้เหมือนไก่บ้าน ทำนองเดียวกับที่สรรเสริญพระสุวรรณสาม โพธิสัตว์ในเรื่อชาดก ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อพ.ศ. ๒๓๖๓ คนทั้งหลายจึงพากันถวายพระฉายานามว่า "พระสังฆราชไก่เถื่อน" และได้เสด็จมาประทับ ณ วัดมหาธาตุเพียง ๑ ปี ก็สิ้นพระชนม์ทรงพระชันษาได้ ๙๐ เมื่อถวายพระเพลิงศพแล้ว โปรดฯ ให้ปั้นรูปบรรจุอัฎฐิไว้ในกุฏีหลังหนึ่ง ด้านหน้าพระอุโบสถ
    อัจฉริยภาพ ในการสร้างพระสมเด็จฯ นั้น เข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับการศึกษามาจากพระอาจารย์พระองค์นี้ กล่าวคือ พระวัดพลับ ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นี้ (สร้างตอนดำรงสมณศักดิ์เป็นพระญาณสังวร ครองวัดพลับวัดนี้อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ฝั่งเหนือ จังหวัดธนบุรี เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตัววัดเดิมอยู่ทางด้านริม เดี๋ยวนี้ค่อนไปทางตะวันตก ) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงอาราธนา พระอาจารย์สุก (สังฆราชไก่เถื่อน) มาจากวัดหอย จังหวัดพระนาคศรีอยุธยานั้น ท่านขออยู่วัดอรัญญิก จึงโปรดให้อยู่วัดพลับแล้วสร้างพระอารามหลวงเพิ่มเติมขยายออกมาอีก สมเด็จพระญาณสังวรนี้ ทรงเป็นพระอาจารย์ทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระเจ้านายมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ก็ดี ล้วนเคยศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ทั้งนั้น ที่วัดนี้ยังมีตำหนักจันทร์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เมื่อทรงผนวช นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ยังโปรดให้ซ่อมพระอาราม แล้วพระราชทานเปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดราชสิทธาราม" ถึงในรัชกาลที่ ๔
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้สร้างพระเจดีย์ ทรงเครื่องไว้ข้างหน้าพระอาราม ๒ องค์ ๆ หนึ่งนามว่า "พระศิราลพเจดีย์"(พระเจดีย์องค์นี้ทรงอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อีกองค์หนึ่ง ทรงขนานนามว่า "พระศิราจุมพฎุเจดีย์" (พระเจดีย์พระองค์นี้ทรงสร้างเป็นส่วนพระองค์เอง ทั้งนี้เพื่อเป็นที่ระลึกว่า ได้เคยมาทรงศึกษาพระวิปัสสนา ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ) เมื่อพิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นได้ว่า มีลักษณะของเนื้อ เหมือนเนื้อของพระสมเด็จฯ (ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ) ที่สุด แต่พระวัดพลับมีอายุในการสร้างสูงกว่าพระสมเด็จฯฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เอาแบบอย่างส่วนผสมผสานมาดัดแปลง และยิ่งพระสมเด็จฯพิมพ์ทรงหลังเบี้ยด้วยแล้วก็ยิ่งสังเกตได้ว่า ดัดแปลงเค้าแบบมาจากพระวัดพลับทีเดียว
    อนึ่ง การทรงไว้ซึ่งความเมตตากรุณา อันเป็นที่รักแห่งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีคุณลักษณะคล้ายคลึงสมเด็จพระสังฆราชพระอาจารย์พระองค์นี้มาก เข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีความเลื่อมใสและเจริญรอยตามพระอาจารย์แทบทุกอย่าง................
    [​IMG]
    พระประวัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระเครื่อง
    http://www.tumnan.com/miracle/miracle_l.html
    พระสมเด็จ อรหัง วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร
    ก่อนกำเนิดพระเครื่อง พิมพ์สมเด็จวัดระฆังฯ นั้น พระสมเด็จอรหัง นับว่าเป็นยอดพระเครื่อง ต้นสกุลพระ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ แบบชิ้นฟัก มาก่อนนานแล้วผู้ริเริ่มพระเครื่องที่เรียกเราเรียกกันจนติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า พระสมเด็จฯ และเป็นผู้สร้างพระสมเด็จ อรหัง ด้วยนั้นก็คือ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน
    พระสมเด็จพระสังฆราช หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า พระสังฆราชไก่เถื่อน นี้นับเป็นพระอาจารย์ผู้ยิ่งยงในวิทยาคมด้านเมตตามหานิยมผู้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี และยังเป็นพระบรมราชาจารย์ของล้นเกล้าฯ ในรัชกาลที่ 2, ที่ 3 และที่ 4 อีกด้วย
    พระสังฆราชญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ผู้ให้กำเนิดต้นสกุล พระพิมพ์สมเด็จ องค์นี้ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 2 ขึ้น 10 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1095 หรือ พ.ศ. 2276 ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยา ในรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ท่านเป็นชาวกรุงเก่าชื่อ สุก และเข้าใจว่าก่อนถึงอายุ 34 ปี คือ พ.ศ. 2310 ซึ่งเป็นระยะที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งสุดท้ายนั้น ท่านได้บวชมาก่อนแล้วหลายพรรษา จนปรากฏชัดจากพงศาวดารว่า ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่ วัดท่าหอย เมื่อสมัยกรุงธนบุรี นี่เอง
    พระอาจารย์สุก หรือ พระญาณสังวรเถระ หรือ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 ของราชวงศ์จักรีนี้ นับว่าเป็นผู้หนึ่งที่ยืนดูการกระทำอันโหดร้ายของพม่าเมื่อคราวกรุงแตกมาแล้ว เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้อาราธนาลงมาอยู่ที่วัดราชสิทารามนั้น ก็เห็นจะเป็นด้วย พระองค์ประสูติ เมื่อ พ.ศ. 2279 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์เช่นกัน
    นับแต่พระองค์ได้รับราชการเมื่อปลายสมัยอยุธยาจนกรุงแตกแล้วนั้น ก็ได้ทราบถึงเกียรติคุณของ พระอาจารย์สุก มาบ้างแล้ว จึงได้อาราธนาท่านลงมาอยู่ที่วัดพลับเมื่อประมาณ พ.ศ. 2325
    สมเด็จพระสังฆราช ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 ของกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2363 ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น 2 ค่ำปีมะโรง และได้ย้ายจากวัดพลับมาอยู่ที่วัดมหาธาตุได้เพียงปีเศษก็สิ้นพระชนม์ ณ วัดมหาธาตุ พระนคร เมื่อวันศุกร์เดือน 10 แรม 4 ค่ำ ปีมะเมีย ในรัชกาลของพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงนับว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์เดียว ที่ได้เห็นเหตุการณ์พม่าเผากรุงศรีอยุธยาและผนวชอยู่ในพระบวรพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอยุธยา, สมัยกรุงธนบุรี, จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์, รวมพระชนมายุได้ถึง 90 ปี
    พระญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ระหว่างอยู่ที่วัดราชสิทธารามนั้น ปรากฏว่าได้เป็นที่นับถือของชาวบ้านตลอดขึ้นไปจนถึงเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ต่างก็พากันไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เห็นจะเป็นเพราะบรรดาสานุศิษย์เหล่านั้นต่างก็ได้เห็นกฤตยาคมอันขลังด้านเมตตาพรหมวิหารของท่าน ซึ่งสามารถเรียก ไก่เถื่อน จากป่าเป็นฝูง ๆ มากรับการโปรยทานจากท่านเต็มลานวัดทุก ๆ วันนั้นเอง
    เหตุนี้ชาวบ้านสมัยนั้นจึงพากันเรียกท่านว่า พระสังฆราชไก่เถื่อน เพราะท่านสามารถเรียกไก่เถื่อนออกมาจากป่าด้วยแรงอาคม และยิ่งได้ลิ้มรสอาหารเสกจากท่านด้วยแล้ว ไก่เถื่อนที่ว่าถึงกับไม่ยอมกลับเข้าป่า และเชื่องเป็นไก่บ้านไปเลย
    การกำเนิดพระสมเด็จ อรหัง
    นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงโปรดให้พระอาจารย์สุกหรือพระญาณสังวรเถระ มาอยู่ที่วัดราชสิทธารามหรือวัดพลับ ที่ อ. บางกอกใหญ่ นครหลวงฝั่งธนบุรี แล้ว ต่อมาวัดนี้ก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ การทรงผนวชของพระราชวงศ์แต่ละพระองค์นั้น ภายหลังมักจะเสด็จไปศึกษาวิปัสสนา ที่สำนักพระญาณสังวร ณ วัดราชสิทธารามอยู่เสมอ เช่นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น พระญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ก็ได้เป็นพระบรมราชาจารย์ของพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์นี้ด้วย
    จากการที่สมเด็จฯ ท่านยิ่งใหญ่ด้านอาคมขลังจนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วนั้นจะเป็นด้วยทนการวิงวอนจากบรรดาสานุศิษย์หรือผู้คนที่นับถือท่านมากราย อยากจะได้พระเครื่องของท่านไว้คุ้มครองบ้างก็ได้ ด้วยเหตุนี้เอง, พระเครื่องพิมพ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชิ้นฟัก ซึ่งสร้างด้วยผงวิเศษสีขาวนั้น สมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ จึงได้ให้กำเนิดพระสมเด็จดังกล่าวนี้ขึ้นมาเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2360
    เล่ากันว่า พระสมเด็จอรหัง ที่สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อนได้เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกนั้น ท่านยังดำรงตำแหน่งเป็นพระราชาคณะอยู่ที่วัดพลับ พระเครื่องพิมพ์สมเด็จฯส่วนหนึ่งเมื่อได้รับการปลุกเสกแล้ว ท่านก็แจกจ่ายให้ไปบูชากันโดยถ้วนทั่วและเป็นที่เข้าใจกันว่า พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ปฐมฤกษ์นั้นก็คือ พิมพ์ เกศเปลวเพลิง ซึ่งด้านหลังจะไม่ปรากฏมีอักขระคำว่า อรหัง จารึกลงไว้เลย
    สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ท่านได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการสร้างพระพิมพ์สมเด็จอรหังต่อมาอีก มีหลายพิมพ์ที่เสร็จแล้วท่านก็แจกสานุศิษย์ต่อไปโดยมิได้ลงกรุ แต่พระอีกจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อท่านได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช และได้ย้ายมาอยู่ที่วัดมหาธาตุแล้ว ก็เข้าใจว่าพระสมเด็จอรหังส่วนหลังนั้น ท่านคงได้นำมาบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดมหาธาตุแห่งนี้ไว้เป็นจำนวนมากทีเดียว
    พุทธลักษณะ, เนื้อ,และพิมพ์
    พระสมเด็จอรหัง ของสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อนนี้ เท่านี้ปรากฏอยู่ในวงการพระเมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว จะแยกแบบออกได้ถึง 5 พิมพ์ ด้วยกันดังนี้
    1. สมเด็จอรหัง พิมพ์สังฆาฏิ เป็นพระเนื้อผงสีขาวที่นิยมกันมากมีขนาดกว้าง 2 ซ.ม. สูง 3 ซ.ม. ครึ่ง พุทธลักษณะเป็นพระปางสมาธิประทับนั่งบนฐาน 3 ชั้น เห็นชายสังฆาฏิห้อยชัดเจนทุกองค์ ด้านขอบข้างองค์พระจะถูกอัดออกมาตามแบบแม่พิมพ์โดยไม่มีการตัดด้วยเส้นตอกเลย และโปรดสังเกตการประทับนั่ง เข่าจะแคบและตรง ส่วนด้านหลังจะปรากฏอักขระคำว่า อรหัง จารึกไว้ด้วย พระสมเด็จพิมพ์นี้แยกออกเป็น 2 แบบ คือ 1. แบบเศียรโต และ 2. แบบเศียรเล็ก
    2. พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ฐานคู่ เป็นพระเนื้อผงสีขาว เข่ากว้างและโค้งกว่าพระพิมพ์สังฆาฏิ โดยเฉพาะฐานสร้างเป็นเส้นเล็กคู่ นอกจากนั้นทั้งขนาด, ขอบด้านข้าง, และหลัง คงเหมือนกับ พิมพ์สังฆาฏิ ทุกอย่าง
    3. พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เกศเปลวเพลิง นี่เป็นอีกพิมพ์หนึ่งซึ่งนอกจากจะมีน้อยแล้ว แม้จะหาชมก็ยากนัก พระพิมพ์นี้ทั้งความงามและขนาดจะเหมือนกับ พิมพ์สังฆาฏิ มีเพี้ยนอยู่บ้างก็ตรงที่มีเกศขมวดม้วนเป็นตัว อุ และรูปทรงค่อนข้างชะลูด ส่วนฐานประทับถึงแม้จะเป็นแบบ 3 ชั้น แต่ก็หนาวกว่ากันมาก พระพิมพ์นี้เป็นพระเนื้อผงสีขาว ด้านหลังเป็นแบบราบโดยไม่มีอักขระขอมปรากฏให้เห็นเลย ส่วนขนาดจะเท่ากับพิมพ์แรก ๆ
    4. พระสมเด็จอรหัง พิมพ์โต๊ะกัง ขนาดพระพิมพ์นี้จะเท่ากับ 3 พิมพ์แรกสัญลักษณ์ที่ควรจดจำกับพระสมเด็จพิมพ์โต๊ะกัง นี้ได้ง่าย ๆ ก็คือ เป็นพระผงผสมว่านเนื้อออกสีแดงคล้าย ปูนแห้ง แม้ค่อนข้างหย่อนงามไปบ้าง แต่ก็เป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่หาชมได้ยาก ด้านหลังของพระพิมพ์นี้จะถูกปั๊มลึก ปรากฏเป็นอักขระคำว่า อรหัง นูนขึ้นมา ผิดกับ 3 พิมพ์แรกซึ่งถูกจารึกบุ๋มลงไปด้วยการจารึกเส้นเล็ก ๆ ด้วยมือตอนเนื้อพระยังไม่แห้ง
    5. พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก พระพิมพ์นี้จะมีขนาดสูงเพียง 2.3 ซ.ม. เท่านั้น เป็นพระเนื้อผงสีขาว ซึ่งมีพุทธลักษณะเหมือนเช่นกับทุก ๆ พิมพ์ที่กล่าวไปแล้ว หากแต่ได้เพิ่มประภามณฑลล้อมรอบเศียรขึ้นมาอีกแบบเท่านั้นเอง นับว่าเป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่หาชมได้ยากพอ ๆ กับพิมพ์เกศเปลวเพลิงทีเดียวสำหรับด้านหลังจะลงจารึกคำว่า อะระหัง ไว้ด้วยเช่นกัน
    พระสมเด็จอรหัง มีสองกรุ
    พระสมเด็จอรหังทั้ง 5 พิมพ์ ดังได้กล่าวไปแล้วนั้น บางพิมพ์ตรงกัน แต่เนื้อกลับไม่เหมือนกัน หรือบางพิมพ์จารึกที่ลงไว้ด้านหลังกลับเป็นอักขระเล็กบ้าง, ใหญ่บ้าง, โดยไม่เท่ากันนั้น ก็เพราะพระสมเด็จอรหังนี้ มีแยกออกเป็น 2 กรุดังจะกล่าวไว้พอเป็นสังเขปดังนี้
    1. พระสมเด็จอรหัง กรุวัดมหาธาตุ กล่าวกันว่ามีผู้พบพระเพียง 3 พิมพ์เท่านั้น คือ 1. พิมพ์สังฆาฏิ 2. พิมพ์ฐานคู่ 3. พิมพ์เล็ก โดยจะเป็นพระเนื้อผงสีขาวทั้งหมดส่วนพิมพ์เกศเปลวเพลิงนั้น ต่างก็พูดกันว่า เป็นพระเครื่องพิมพ์แรกที่สมเด็จท่านอาจทำเป็นการทดลอง และได้แจกจ่ายไปก่อนแล้ว ตั้งแต่เมื่อครั้งอยู่ที่วัดพลับก็ว่าได้ พระสมเด็จกรุวัดมหาธาตุนี้ โดยทางเนื้อจะละเอียดขาวและมีความแน่นตัวมาก พระทุก ๆ องค์หากมิได้ใช้ หรือเมื่ออกจากกรุใหม่ ๆ จะมีฝ้าคราบขาวนวลหุ้มติดอยู่ทุกองค์บางองค์ก็ปิดทองล่องชาด และบางองค์ถึงกับเนื้องอกแบบพระวัดพลับก็มี ส่วนด้านหลังอักขระที่จารึกไว้นั้น ตัวอักษรจะเท่ากัน และค่อนข้างใหญ่กว่าของกรุวัดสร้อยทองอีกเล็กน้อย
    2. พระสมเด็จอรหัง กรุวัดสร้อยทอง พระสมเด็จกรุนี้ได้มีผู้พบภายหลังจากกรุวัดมหาธาตุ ได้เผยโฉมออกมาแล้ว พระที่พบคือสมเด็จอรหังพิมพ์สังฆาฏิ, พิมพ์โต๊ะกัง, และพิมพ์ฐานคู่ ซึ่งเป็นพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด พิมพ์แรกจะเห็นชายสังฆาฏิชัดเจน เช่นเดียวกับกรุวัดมหาธาตุแต่เนื้อจะหยาบกว่า แก่ผงเกสรดอกไม้และมีทรายปนอยู่ด้วย ส่วน พิมพ์โต๊ะกัง เป็นพระเนื้อสีแดง มีคราบกรุจับนวลขาวทั่วไป ตราปั๊มด้านหลังจะปรากฏแบบลึกนูนขึ้นมาชัดเจนอ่านง่าย ส่วนพิมพ์เล็กไม่ปรากฏพบอยู่ในกรุนี้เลย
    เรื่องสมเด็จอรหังกรุวัดสร้อยทองนี้ บางท่านก็ว่าสมเด็จพระสังฆราชสุก ท่านได้สร้างให้กับวัดนี้ไว้ แต่พระภิกษุผู้ชราชื่อ แพร ซึ่งอยู่ที่วัดสร้อยทอง ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า... พระสมเด็จกรุนี้ ความจริงแล้ว ผู้สร้างคือพระอาจารย์ กุย ซึ่งเป็นศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อนอีกองค์หนึ่ง ท่านได้สร้างไว้โดยใช้แม่พิมพ์เดิม แต่เนื้อและการลงจารึกด้านหลังจะเล็กผิดกว่ากันมาก
    ส่วนเรื่องพระสมเด็จอรหัง พิมพ์โต๊ะกัง นั้นเข้าใจว่าได้มีชาวจีนสร้างเป็นกุศลร่วมลงกรุไว้ที่วัดสร้อยทอง พระพิมพ์นี้จึงมีสีแดง สีแห่งความรุ่งโรจน์ ซึ่งชาวจีนนิยมกันมาก และที่เรียกว่า พิมพ์โต๊ะกัง ก็เห็นจะเป็นเพราะตราด้านหลังคำว่า อรหัง ซึ่งโดยปกติแล้ว จะใช้เหล็กแหลมเขียน แต่พระสมเด็จอรหังสีแดงพิมพ์นี้กลับใช้ตราปั๊มลึกนูน โดยตัวอักขระหนังสือจะนูนขึ้นมาเหมือนกับตราปั๊มของร้านทอง ตั้งโต๊ะกัง ที่ปั๊มติดกับสร้อย เลยเป็นเหตุให้นักเลงพระยุคนั้นเห็นดีเห็นชอบเรียกชื่อพระพิมพ์นี้ว่า พระสมเด็จอรหัง พิมพ์โต๊ะกัง ตั้งแต่นั้นมา
    เดี๋ยวนี้ ไม่ว่าคุณจะมีพระสมเด็จอรหังพิมพ์โต๊ะกังหรือไม่โต๊ะกังก็ตามที ขอให้มีพระองค์พอสวยก็แล้วกัน ถ้าไม่พูดถึงพระพุทธคุณท่านเด็ดในทางมหานิยมอยู่แล้ว ผมขอรับรองว่าคุณ ๆ ที่มีพระพิมพ์นี้ไว้จะยืน ยิ้มแบบโต๊ะกัง ได้อย่างสบายมาก เพราะขณะนี้เขาเสนอราคาเช่ากันองค์ละใกล้แสนหรืออาจจะเลยแสนไปแล้วก็ว่าได้
    พุทธคุณของพระสมเด็จอรหัง
    สำหรับเรื่องพุทธคุณการใช้จากผู้ได้ประสบการณ์กับพระสมเด็จพิมพ์นี้มาแล้วนั้นถึงแม้ว่าจะไม่ดังกระฉ่อนเช่นพระสมเด็จวัดระฆังฯ หรือสมเด็จบางขุนพรหมก็ตาม ได้มีนักเผชิญโชคผู้ได้มีประสบการณ์อันมหัศจรรย์จากพระสมเด็จอรหังมาแล้ว ถึงกับตื่นตะลึงและหวงแหนกันยิ่งนัก เพราะพระสมเด็จพิมพ์นี้ดีทางเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดเหมือนเช่นพระสมเด็จวัดระฆังฯทุกอย่าง ยกเว้นพระสมเด็จอรหังสีแดงเท่านั้นซึ่งนอกจากจะมีมหานิยมแล้วยังเพิ่มด้านกระพันชาตรีไว้อีกทางหนึ่งด้วย
    เพื่อให้เรื่องพระสมเด็จอรหัง ยอดพระ ต้นสกุลพระสมเด็จ ของ สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ได้จบลงอย่างสมบูรณ์ ต่อไปนี้ผมจึงขอเสนอเรื่องราวตอนหนึ่งที่คุณ เฉลิม แก้วสีรุ้ง ซึ่งเป็นชาวนนทบุรี ได้เผชิญกับอิทธิปาฏิหาริย์จากพระสมเด็จอรหังจนถึงกับตะลึงงันอยู่กับที่มาแล้ว เป็นเรื่องทิ้งท้ายไว้ดังต่อไปนี้...
    เรื่องก็มีอยู่ว่า เมื่อ พ.ศ. 2508 คุณเฉลิมมีอาชีพรับซื้อขายผลไม้เป็นประจำอยู่ที่เมืองนนท์ วันหนึ่งมีชาวสวนข้างบ้านมาบอกจะขายทุเรียนส่วนหนึ่งให้ และขอร้องให้ไปดูด่วนด้วย คุณเฉลิมรักทุเรียนมากจนลืมลั่นกุญแจบ้าน และลืมจนกระทั่ง พระสมเด็จอรหัง พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำหนัก 3 บาท กับกระเป๋าเงินซึ่งมีเงินอยู่ในนั้นถึงแปดพันบาทด้วย
    คุณเฉลิมมานึกขึ้นได้ก็เหตุการณ์ได้ผ่านไปแล้วถึง 3 ชั่วโมง เขาจึงรีบกลับบ้านทันทีแต่ก็ต้องถึงกับตะลึงงันอยู่กับที่เมื่อมาถึงบ้าน เพราะขณะนั้นประตูบ้านได้เปิดอ้า ข้าวของในบ้านถูกรื้อกระจัดกระจายเกลื่อน เสื้อผ้าส่วนหนึ่งและเข็มขัดนาคของภรรยาเขาได้ถูกคนร้ายลักไป แต่...คุณพระช่วย ครับ, คุณพระได้ช่วยคุณเฉลิมไว้อย่างปาฏิหาริย์จริง ๆ ด้วย ที่ว่าปาฏิหาริย์ก็เพราะทั้งสร้อยคอรวมทั้งพระและเงินอีกแปดพันบาท ที่กองอยู่หน้าโต๊ะเครื่องแป้งอย่างชนิดที่ใครโผล่เข้าไปในบ้านก็ต้องมองเห็นได้อย่างถนัดตาทีเดียวนั้น ของดังกล่าวยังคงอยู่ ณ ที่นั้นโดยไม่มีใครมาขยับไปไหนเลย
    เรื่องนี้คุณเฉลิมบอกกับผู้เขียนว่า นั่นคือผลแห่งการแคล้วคลาด อันเกิดจากอิทธิปฏิหาริย์ของพระสมเด็จอรหังได้พรางตาคนร้ายไว้แน่ ๆ หรือถ้าใครว่าไม่แน่ละก้อคนร้ายกลุ่มนั้นก็คงจะตาบอดเท่านั้นเอง
    คุณเฉลิมบอกว่า ขณะนี้ผมได้ย้ายบ้านและเป็นเจ้าของสวนลำไยอยู่ที่เชียงใหม่แล้วสาเหตุที่ได้เปลี่ยนอาชีพจนพอจะมีกินกับเขาบ้างแล้วนี้ ก็เรื่อง พระสมเด็จอรหัง ท่านช่วยผมอีกเหมือนกัน ผมได้อาราธนาบูชาขอโชคลาภท่านเพื่อขอทุนไปซื้อลำไย ด้วยการไปซื้อลอตเตอรี่ที่จังหวัด 2 ใบ คุณเฉลิมยืนยันว่าไม่ชอบและไม่เคยซื้อกับเขาเลย นอกจากครั้งนี้เท่านั้น พอถึงเวลาหวยออก ทั้งเขาและภรรยาดีใจจนแทบเป็นลมเป็นแล้งเอาทีเดียวทั้งนี้ก็เพราะสลากลอตเตอรี่ทั้ง 2 ใบนั้น ใบแรกถูกรางวัลที่ 3 และอีกใบหนึ่งก็ถูกเลขท้าย 3 ตัวด้วย
    นี่คือเรื่องราวที่คุณเฉลม แก้วสีรุ้ง ได้เล่าให้กับผู้เขียนฟังเมื่อ พ.ศ. 2512 ซึ่งขณะนั้นเขาและครอบครัวได้ครองเรือนกันอย่างผาสุขด้วยฐานะที่มั่นคงพอสมควรแล้ว และสิ่งเดียวที่ไม่มีใครมาพรากจากคอเขาได้เลยคือ พระสมเด็จอรหัง เนื้อผงสีขาวองค์เดียวที่เขารักหวงแหนราวกับชีวิตติดตัวเขาอยู่ตลอดเวลาทีเดียว
    เดี๋ยวนี้เราก็รู้แล้วว่า พระสมเด็จอรหัง นอกจากผู้สร้างจะเป็นสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระบรมราชาจารย์ของในหลวงทั้ง 3 พระองค์แล้ว ยังเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ อีกด้วย และสำหรับด้านพระเครื่องฯ พระสมเด็จอรหัง ก็คือพระต้นสกุลพระสมเด็จทั้งหมด อันเปรียบได้ดั่ง จักรพรรดิพระสมเด็จ ซึ่งเปี่ยมด้วยพุทธาคมมนต์ขลังด้านมหานิยมและแคล้วคลาด จากสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ผู้เลี้ยงไก่ป่าให้เชื่องได้ดังไก่บ้านไว้เต็มลานนั่นเอง
    [​IMG]
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="ประวัติ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits1.gits.net.th/data/i0017685.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.net/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.net/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT>
     
  6. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
    วัดมหาธาตุ
    คัดลอกจาก http://mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet05.htm
    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 538px; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 90px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>ภูมิลำเนาเดิม
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 416px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>(ไม่ปรากฏ)
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 90px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>วันประสูติ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 416px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>วันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๐๔ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 90px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>วันสถาปนา
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 416px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>เดือน ๔ ปี มะแม ตรงกับเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ ในรัชกาลที่ ๒
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 90px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>วันสิ้นพระชนม์
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 416px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>วันศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๔ ค่ำ ปีขาล ๒๓ กันยายน ๒๓๘๕ ในรัชกาลที่ ๓
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 90px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>พระชนมายุ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 416px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>๘๑ พรรษา
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 520px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top colSpan=2>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๙ ปี ๖ เดือน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุ
    พระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระประวัติเบื้องต้น
    สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) มีพระประวัติเบื้องต้น เป็นมาอย่างไรไม่ปรากฏรายละเอียด ทราบแต่เพียงว่า ประสูติในในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๐๔ เดิมจะได้เปรียญและเป็นพระราชาคณะตำแหน่งใดมาก่อนหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐาน กระทั่งมาในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงปรากฏหลักฐานว่าเป็นพระเทพโมลี อยู่วัดหงษ์ ถึงรัชกาลที่ ๒ เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระพรหมมุนี แล้วเลื่อนขึ้นเป็นที่พระพิมลธรรม เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๕๙ ในคราวเดียวกับที่ทรงตั้ง สมเด็จพระสังฆราช (มี)
    อนึ่ง วัดหงษ์นี้ แต่เดิมมาเรียกกันว่า วัดเจ๊สัวหงบ้าง วัดเจ้าสัวหงบ้าง วัดเจ้าขรัวหงบ้าง ตามชื่อของคหบดีจีนที่เป็นผู้สร้างวัด มาในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเป็นพระอารามที่อยู่ติดกับพระราชวัง และพระราชทานชื่อว่า วัดหงษ์อาวาสวิหาร จึงได้เป็นพระอารามหลวงและพระอารามสำคัญมาแต่ครั้งนั้น มาในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ครั้งยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงปฏิสังขรณ์ จึงพระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า วัดหงษ์อาวาสบวรวิหาร เพราะเป็นพระอารามที่อยู่ใกล้กับพระราชวังเดิม อันเป็นที่ประทับของสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ จึงได้พระราชทานเปลี่ยนนามอีกครั้งหนึ่งว่า วัดหงสาราม ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อทรงปฏิสังขรณ์เสร็จบริบูรณ์แล้ว จึงพระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า วัดหงส์รัตนาราม ดังที่เรียกกันสืบมาจนปัจจุบัน
    พ.ศ. ๒๓๖๒ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชดำริจะทรงตั้ง สมเด็จพระพนรัตน์ (อาจ) วัดสระเกศ เป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงโปรดให้แห่ไปอยู่วัดมหาธาตุ เพื่อเตรียมการทรงตั้งต่อไป และโปรดให้พระพิมลธรรม (ด่อน) ย้ายจากวัดหงษ์มาครองวัดสระเกศสืบต่อจาก สมเด็จพระพนรัตน์ (อาจ) ในปี พ.ศ. ๒๓๖๒ นั้น
    สำหรับสมเด็จพระพนรัตน์ (อาจ) นั้นเมื่อแห่ไปอยู่วัดมหาธาตุได้ ๘ เดือน ยังมิทันได้ทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็เกิดอธิกรณ์ขึ้นเสียก่อน จึงโปรดให้ถอดเสียจากสมณฐานันดร แล้วให้ออกไปเสียจากวัดมหาธาตุ จึงไปอยู่ที่วัดไทรทอง (บางที่เรียกว่า วัดแหลม) ซึ่งเป็นวัดเบญจมบพิตรในบัดนี้ จนถึงมรณภาพ
    พ.ศ. ๒๓๖๓ ทรงโปรดให้เลื่อน พระพิมลธรรม (ด่อน) เป็นสมเด็จพระพนรัตน์ ในคราวเดียวกันกับที่ทรงตั้ง สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม เป็นสมเด็จพระสังฆราช
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ครั้น พ.ศ. ๒๓๖๕ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงตั้ง สมเด็จพระพนรัตน์ (ด่อน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อเดือน ๔ ในศกนั้น แต่ไม่พบสำเนาประกาศสำเนาทรงตั้ง เมื่อทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว จึงโปรดให้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุเช่นเดียวกับสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อนๆ นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ สุดท้ายที่สถิต ณ วัดมหาธาตุ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๒ และทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ ๒ ปีเศษ ก็สิ้นรัชกาลที่ ๒
    พระกรณียกิจพิเศษ
    ในปลายรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจสำคัญ คือทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์ ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ตรงกับกับวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ เมื่อทรงผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดมหาธาตุ ๓ วัน แล้วเสด็จไปประทับศึกษาวิปัสสนาธุระ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) หลังจากทรงผนวชได้เพียง ๑๕ วัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็เสด็จสวรรคต เมื่อออกพรรษาแล้ว ได้เสด็จกลับมาประทับ ณ วัดมหาธาตุ เพื่อทรงศึกษาภาษาบาลีต่อไป พระตำหนักอันเป็นที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวชครั้งนั้น คือตรงที่ปัจจุบันสร้างเป็นวิหารโพธิลังกา ซึ่งอยู่ทางมุมวัดมหาธาตุด้านทิศตะวันออก หลังพระบวรราชานุสาวรีย์สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทในบัดนี้
    การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาครั้งสำคัญ
    เนื่องมาจากการทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยของสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ครั้งนั้น ได้ก่อให้เกิดการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ที่นับว่าสำคัญครั้งหนึ่ง ในประวัติการณ์ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยในเวลาต่อมา กล่าวคือ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับมาประทับทรงศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดมหาธาตุ จนทรงรอบรู้ในภาษาบาลีและเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกแล้ว ก็ทรงพิจารณาเห็นความบกพร่องในวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในยุคนั้น ดังพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า
    “ผลแห่งการที่ทรงศึกษาและพิจารณาทั่วถึงละเอียดเข้า ก็ให้เกิดความสลดพระราชหฤทัยไปว่าวัตรปฏิบัติแลอาจาริยสมัย ซึ่งได้นำสั่งสอนกันสืบๆ มานี้ เคลื่อนคลาดห่างเหิน แลหยาบหย่อนไปเป็นอันมาก ดูประหนึ่งว่าจะมีรากเง่าเค้ามูลอันเน่าผุไปเสียแล้ว”
    ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว จึงเป็นเหตุให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริปรับปรุงแก้ไขวัตรปฎิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตาม พระธรรมวินัยดังที่ได้ทรงศึกษาจากท่าน ผู้รู้และพิจารณาสอบสวนกับพระไตรปิฏกที่ได้ทรงศึกษาจนเชี่ยวชาญแตกฉาน โดยพระองค์เองทรงประพฤตินำขึ้นก่อนแล้วภิกษุสามเณรอื่นๆ ที่นิยมเลื่อมใสก็ประพฤติตาม
    ในระยะแรกที่ทรงพระราชดำริปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ดังกล่าวนั้น ยังเสด็จประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ จึงทรงรู้สึกไม่สะดวกพระราชหฤทัย เพราะวัดพระมหาธาตุเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช ทั้งทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระองค์ด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงทรงย้ายไปประทับ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) อันเป็นวัดที่อยู่นอกกำแพงพระนคร ทั้งนี้ก็คงเพราะความที่ทรงเคารพในสมเด็จพระสังฆราช และเพื่อจะได้ไม่เป็นที่ขัดข้องพระทัยของสมเด็จพระสังฆราชเกี่ยวกับการปฏิบัติของพระองค์นั่นเอง
    เมื่อเสด็จไปประทับ ณ วัดสมอรายแล้ว ก็ทรงปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ตามแนวแห่งพระราชดำริได้สะดวกนั้น กระทั่งมีผู้ปฏิบัติตามเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นตามลำดับจนกลายเป็นพระสงฆ์หมู่ใหญ่ ซึ่งได้รับการขนานนามในเวลาภายหลังต่อมาว่า คณะธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า พระสงฆ์ธรรมยุต
    พระราชดำริในการปรับปรุงแก้ไขพระศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมิได้จำกัดอยู่เฉพาะ เรื่องวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์เท่านั้น แต่รวมตลอดไปถึงการศึกษาพระปริยัติธรรม และการเทศนาสั่งสอนพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัทด้วย จึงนับเป็นช่วงแห่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญช่วงหนึ่งของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
    สมณทูตไปลังกา
    สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ทรงพระชนม์สืบมาถึงรัชกาลที่ ๓ และในปีสุดท้ายแห่งพระชนมชีพของสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นพร้อมกันกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงผนวชอยู่และทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร อยู่ในขณะนั้นว่า การพระศาสนาในลังกาจะเป็นอย่างไร ไม่ได้ไปสืบสวนให้ทราบความช้านานหลายปีมาแล้ว อีกประการหนึ่ง หนังสือพระไตรปิฏกที่ฉบับของไทยยังบกพร่อง ควรจะสอบสวนกับฉบับลังกามีอยู่หลายคัมภีร์ ถ้าแต่งพระภิกษุสงฆ์ไทยเป็นสมณทูตไปลังกาอีกสักครั้งหนึ่ง เห็นจะเป็นการดี ทรงพระราชดำริเห็นพร้อมกันเช่นนี้จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกสรรพระภิกษุที่จะส่ง ไปลังกา และมีสมณลิขิตไปถึงสังฆนายกตามพระราชประสงค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกได้พระภิกษุสงฆ์ธรรมยุติกา ๕ รูป พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรชาวลังกาอีก ๕ รูป ซึ่งเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ เมื่อ ๒ ปีก่อน และเดินทางกลับบ้านเมืองของตนในคราวนี้ด้วยได้ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยเรือหลวง ชื่อจินดาดวงแก้ว เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๒ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓๘๕ สมณทูตชุดนี้เดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๖ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๘๖ พร้อมทั้งได้ยืมคัมภีร์พระไตรปิฎกมาด้วย ๔๐ คัมภีร์
    ตามเรื่องราวที่ปรากฏแสดงว่า การสมณทูตไทยไปลังกาครั้งนี้ ยังประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะทำให้คณะสงฆ์ไทยมีโอกาสได้คัมภีร์พระไตรปิฎกจากลังกามาสอบสวนกับพระไตรปิฏกของไทยในส่วน ที่บกพร่องสงสัย ให้สมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้คัมภีร์พระไตรปิฎกที่เป็นหลักฐานสำคัญของพระพุทธศาสนาครบถ้วนสมบูรณ์สืบมาดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
    ชำระพระสงฆ์ครั้งใหญ่
    ในตอนปลายสมัยของสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) นี้ ได้มีการชำระความพระสงฆ์ที่ประพฤติอนาจารครั้งใหญ่ ดังที่บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารว่า “เมื่อ ณ เดือน ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เกิด ชำระความพระสงฆ์ที่ประพฤติอนาจารมิควร ได้ตัวชำระสึกเสียก็มาก ประมาณ ๕๐๐ เศษ ที่หนีไปก็มาก พระราชาคณะเป็นปาราชิกก็หลายรูป” นับเป็นการชำระสะสางอลัชชีในคณะสงฆ์ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ปรากฏในประวัติการณ์ของคณะสงฆ์ ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งเป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมของคณะสงฆ์ในยุคนั้นในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึง ความเอาพระทัยในการคณะสงฆ์ของ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอย่างจริงจัง ทรงพยายามชำระสะสางการพระศาสนาและการคณะสงฆ์ให้บริสุทธิบริบูรณ์อย่างเต็มพระสติปัญญาอยู่เสมอ
    พระอวสานกาล
    สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่ ๑๙ ปี ๖ เดือน สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๔ ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๓๘๕ รวมพระชนมายุได้ ๘๑ พรรษา โปรดให้ทำเมรุผ้าขาวแล้วพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันเสาร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๕
    ย่อความจาก "ธรรมจักษุ"
    นิตยสารทางพระพุทธศาสนารายเดือน
    จัดทำโดย มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    [​IMG]
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="ประวัติ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits1.gits.net.th/data/i0017685.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.net/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.net/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT>
     
  7. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)
    วัดราชบูรณะ
    คัดลอกจาก http://mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet06.htm
    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 80%; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 77.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=103>ภูมิลำเนาเดิม
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 348.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=465>(ไม่ปรากฏ)
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 77.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=103>วันประสูติ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 348.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=465>๑๙ มีนาคม ๒๓๐๑ วันอาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปีขาล จ.ศ. ๑๑๒๐ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ แห่งกรุงศรีอยุธยา
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 77.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=103>วันสถาปนา
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 348.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=465>วันพุธ แรม ๑๑ เดือน ๖ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๘๖ ในรัชกาลที่ ๓
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 77.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=103>วันสิ้นพระชนม์
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 348.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=465>ปีระกา พ.ศ. ๒๓๙๒ ในรัชกาลที่ ๓
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 77.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=103>พระชนมายุ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 348.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=465>๘๖ พรรษา
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 426.1pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568 colSpan=2>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๕ ปีเศษ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบุรณะ
    พระองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระประวัติในเบื้องต้น
    สมเด็จพระสังฆราช (นาค) ก็เช่นเดียวกับสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน ๆ คือ มีพระประวัติเบื้องต้นเป็นมาอย่างไร ไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบแต่เพียงว่าประสูติในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์รัชกาลสุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปีขาล จ.ศ. ๑๑๒๐ ตรงกับวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๐๑ สันนิษฐานว่า เป็นพระราชาคณะที่ พระนิกรมมุนี มาแต่ในรัชกาลที่ ๑
    ถึงรัชกาลที่ ๒ เลื่อนเป็นพระพรหมมุนี เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๕๙ ในคราวที่ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช ต่อมา ในรัชกาลที่ ๒ หรือในรัชกาลที่ ๓ ไม่ทราบแน่ เลื่อนเป็นพระธรรมอุดม ถึงปีชวด พ.ศ. ๒๓๗๓ ในรัชกาลที่ ๓ เลื่อนเป็นสมเด็จพระพนรัตน
    สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พ.ศ. ๒๓๘๕ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) สิ้นพระชนม์และพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อเดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ศกนั้น
    ครั้น ปีเถาะ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๘๖ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (นาค) เป็นสมเด็จพระสังฆราชในราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงษญาณ
    ในประกาศทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (นาค) นั้น ระบุว่าสถิต ณ วัดมหาธาตุ ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แต่ในความเป็นจริง สมเด็จพระสังฆราช(นาค)มิได้เสด็จมาสถิต ณ วัดมหาธาตุเพราะขณะนั้นวัดมหาธาตุอยู่ในระหว่างการปฏิสังขรณ ครั้งใหญ่ซึ่งต้องรื้อลงแล้วทำใหม่ดุจสร้างใหม่ทั่วทั้งพระอาราม โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะให้เป็นที่อยู่จำพรรษาของภิกษุสามเณรได้ ๑,๐๐๐ รูป ได้เริ่มลงมือปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ จนสิ้นรัชกาลที่ ๓ ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี จนต้นรัชกาลที่ ๔ จึงสำเร็จบริบูรณ์ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) จึงสถิต ณ วัดราชบุรณะ จนถึงสิ้นพระชนม์ธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ ก็เป็นอันเลิกไปตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระสังฆราช (นาค) เป็นต้นมา นับแต่นั้นมา สมเด็จพระสังฆราชเคยสถิตอยู่ ณ พระอารามใด เมื่อก่อนที่จะเป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็ยังสถิตอยู่ ณ พระอารามนั้นสืบไป ดังที่ถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมกันต่อมาจนถึงทุกวันนี้
    สมณทูตไทยไปลังกา
    ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดส่งสมณฑูตไปลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ เพื่อสืบข่าวพระศาสนาและยืมคัมภีร์พระไตรปิฎกในส่วนที่ไทยยังบกพร่อง สมณฑูตชุดนี้ได้เดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ ในต้นปี พ.ศ. ๒๓๘๖ อันเป็นปีที่ทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (นาค) ครั้นปี พ.ศ. ๒๓๘๗ พระสงฆ์ลังกาฝากหนังสือเข้ามาเตือนหนังสือพระไตรปิฏกที่ยืมมาเที่ยวก่อน ๔๐ พระคัมภีร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้จัดสมณฑูตออกไปยังลังกาอีกครั้งหนึ่ง นับเป็นครั้งที่ ๒ ในรัชกาลนี้ พระสงฆ์ที่ไปในครั้งนี้ ๖ รูป
    สมณฑูตชุดนี้ก็เป็นพระภิกษุสามเณรธรรมยุตล้วนเช่นเดียวกับชุดก่อน สมณฑูต ๗ รูปพร้อมด้วยพระภิกษุชาวลังกาอีก ๑ รูป และไวยาวัจกร ๑๐ คน ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เมื่อเดือน ๑๒ ข้างแรม พ.ศ. ๒๓๘๗ โดยเรือหลวงอุดมเดชและได้กลับมาถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๔ ปีเดียวกัน พร้อมกับได้ยืมหนังสือพระไตรปิฏกเข้ามาอีก ๓๐ คัมภีร์ และในคราวนี้ได้มีภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ชาวลังกาติดตามมาด้วยถึง ๔๐ คนเศษ
    เป็นที่น่าสังเกตว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ไทยกับลังกาได้มีการติดต่อกันในทางพระศาสนาค่อนข้างใกล้ชิด ทั้งโดยทางราชการและโดยทางเอกชน ทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ชาวลังกาได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยบ่อย ๆ และโปรดให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชและทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ทำหน้าที่ต้อนรับดูแลพระสงฆ์ลังกา ตลอดถึงจัดสมณฑูตไทยออกไปลังกาตามพระราชประสงค์ถึง ๒ ครั้ง ที่วัดบวรนิเวศวิหารถึงต้องมีหมู่กุฏิไว้รับรองพระสงฆ์ลังกาโดยเฉพาะ เรียกว่าคณะลังกา (คือตรงที่เป็นพระวิหารพระศาสดาในบัดนี้) ดังที่กล่าวไว้ในตำนานวัดบวรนิเวศวิหารว่า
    “ครั้งนั้น พระเปรียญ (วัดบวรนิเวศวิหาร) พูดมคธได้คล่อง มีพระลังกาเข้ามา (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) จึงต้องทรงมีหน้าที่เป็นผู้รับรองในราชการ มีคณะไว้สำหรับพระลังกาที่วัด (บวรนิเวศวิหาร) ตั้งอยู่ที่เป็นพระวิหารพระศาสดาในทุกวันนี้ ทรงสื่อสารกับคณะสงฆ์ที่ลังกา บางคราวก็ทรงแต่งสมณฑูตส่งไปลังกาโดยราชการก็มี”
    การที่ต้องมีคณะลังกาไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น แสดงว่าคงมีพระสงฆ์ลังกาเข้ามาพำนักอยู่บ่อยๆ หรือเป็นประจำ และที่น่าสนใจก็คือ พระเปรียญวัดบวรนิเวศวิหารครั้งนั้นไม่เพียงแต่พูดมคธได้คล่องเท่านั้น แต่บางท่านยังสามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องอีกด้วย เช่น พระอมระ (คือพระอมราภิรักขิต เกิด) ซึ่งเป็นสมณฑูตไปลังกาถึง ๒ ครั้ง ในรัชกาลที่ ๓ ชาวลังกาก็ชมว่า “พูดได้เหมือนอังกฤษทีเดียว” สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี) ซึ่งเป็นสมณฑูตไปลังกาแต่ครั้งยังเป็นพระราชาคณะที่ พระอโนมศิริมุนี ในรัชกาลที่ ๔ ก็สามารถเทศนาเป็นภาษามคธให้ชาวลังกาฟังได้ อันแสดงให้เห็นว่าการศึกษาภาษาบาลีของพระสงฆ์ไทยยุคนั้นเจริญก้าวหน้ามาก ทั้งมีความตื่นตัวในการศึกษาภาษาของชาวตะวันตก เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้นด้วย ทั้งนี้ก็โดยมีพระสงฆ์สำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดบวรนิเวศวิหารเป็นผู้นำ ซึ่งแบบอย่างอันนี้ได้ตกทอดมาจนถึงยุคของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ในรัชกาลที่ ๕
    พระอวสานกาล
    สมเด็จพระสังฆราช (นาค) ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่ ๕ ปีเศษ สิ้นพระชนม์เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๙๒ รวมพระชนมายุได้ ๘๖ พรรษา
    ย่อความจาก "ธรรมจักษุ"
    นิตยสารทางพระพุทธศาสนารายเดือน
    จัดทำโดย มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    [​IMG]
     
  8. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส


    [​IMG]





    คัดลอกจาก http://www.watpho.com/wasukri_th.html
    พระประวัติ
    ประสูติ
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑ ) อันเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระมารดา คือ เจ้าจอมมารดาจุ้ย พระสนมโท ต่อมาได้เลื่อนเป็น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2006
  9. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์)
    วัดบวรนิเวศวิหาร



    [​IMG]
    [​IMG]
    พระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    พระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    คัดลอกจาก http://mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet08.htm
    นับแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ ในรัชกาลที่ ๔ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกจนตลอดรัชกาล เป็นเวลา ๑๕ ปี ฉะนั้น ในรัชกาลที่ ๔ จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชจนเกือบตลอดรัชกาล เพราะสมเด็จฯ กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่เพียงปีเศษ ตอนต้นรัชกาลเท่านั้น
    เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้น สมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นที่สองจาก สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    มาในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้โปรดสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราช ตลอดช่วงต้นแห่งรัชกาล เป็นเวลาถึง ๒๓ ปี ฉะนั้น ในช่วงต้น รัชกาลที่ ๕ จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชอยู่ถึง ๒๓ ปี จึงได้ทรงสถาปนา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ เป็นสมเด็จพระสังฆราช นับเป็นพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระประวัติในเบื้องต้น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ และเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ อันเป็นวันเริ่มสวดมนต์ ตั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงได้พระราชทานนามว่า พระองค์เจ้าฤกษ์
    ทรงผนวช
    พ.ศ. ๒๓๖๕ พระชนมายุ ๑๓ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุ สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักพระญาณสมโพธิ (รอด) ครั้งทรงผนวชเป็นสามเณรได้ ๔ พรรษา ประชวรไข้ทรพิษต้องลาผนวชออกมารักษาพระองค์ เมื่อหายประชวรแล้ว สมเด็จกรมพระราชบวรมหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงจัดการให้ทรงผนวชเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่ง
    พ.ศ. ๒๓๗๒ พระชนมายุครบทรงผนวชเป็นพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ทรงลาผนวชออกสมโภช แล้วแห่พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ เจ้าฟ้าอาภรณ์ ที่จะทรงผนวชเป็นเป็นสามเณรในเวลานั้น ในการทรงผนวชเป็นพระภิกษุนั้น สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส กับพระวินัยรักขิต วัดมหาธาตุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้วทรงศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ ณ วัดมหาธาตุนั้น เช่นกัน ในเวลานั้น (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระเจริญพระชนมายุกว่า ๕ พรรษา) เป็นเหตุให้ทรงเลื่อมใสในลัทธิธรรมวินัยตามอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ภายหลังจึงได้ทรงอุปสมบทซ้ำอีกครั้งหนึ่งในนทีสีมา โดยพระสุเมธาจารย์ (พุทธวังสะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมจนทรงแตกฉานในภาษาบาลี แต่ไม่ทรงเข้าสอบเพื่อเป็นเปรียญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก ที่เคยพระราชทานแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อครั้งยังมิได้ทรงเป็นพระราชาคณะให้ทรงถือเป็นเกียรติยศ สืบมา พระนิพนธ์อันเป็นเครื่องแสดงถึงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลีของพระองค์ก็คือ พระนิพนธ์เรื่อง สุคตวิทัตถิวิธานซึ่งทรงนิพนธ์เป็นภาษาบาลีว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์คืบพระสุคตอันเป็นมาตราวัดที่มีกล่าวถึงในทาง พระวินัย นอกจากนี้ ก็ได้ทรงนิพนธ์เรื่องเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เป็น ภาษาบาลีไว้อีกหลายเรื่อง นับว่าทรงเป็นปราญ์ทาง ภาษาบาลีที่สำคัญพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์
    ในรัชกาล ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะสมณศักดิ์ เสมอพระราชาคณะสามัญ พระราชทานตาลปัตรแฉกถมปัดเป็นพัดยศ
    พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะยังทรงผนวชอยู่ ทรงเป็นพระเถราจารย์ประธานแห่งพระสงฆ์ธรรมยุตินิกายทรงลาผนวชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นรัชกาลที่ ๔ จึงได้ทรงสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าฤกษ์ เป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ทรงอิศริยยศเป็นประธานาธิบดีแห่งพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสสเทว)
    วัดราชประดิษฐ์


    [​IMG]
    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 86.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=115>ภูมิลำเนาเดิม
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=284>แขวงบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 86.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=115>วันประสูติ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=284>๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๕๖ วันพฤหัสบดี แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีระกา จ.ศ. ๑๑๗๕
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 86.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=115>วันสถาปนา
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=284>๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ในรัชกาลที่ ๕
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 86.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=115>วันสิ้นพระชนม์
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=284>๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ในรัชกาลที่ ๕
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 86.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon" vAlign=top width=115>พระชนมายุ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon" vAlign=top width=284>๘๗ พรรษา
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 399px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT-WIDTH: 1.5pt; BORDER-RIGHT-COLOR: #800000" vAlign=top colSpan=2>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๕ ปี ๒ เดือน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
    พระประวัติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
    สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว)
    พระองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


    คัดลอกจาก http://mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet09.htm

    เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) เป็นชาวตำบลบางไผ่ จังหวัดนนทบุรีประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๘ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช ๑๑๗๕ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๖ ในรัชกาลที่ ๒ โยมบิดาชื่อ จันท์ โยมมารดาชื่อ สุข มีพี่น้องชายหญิงรวมด้วยกัน ๕ คน
    กล่าวกันว่า โยมบิดาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นชาวตำบลบางเชิงกราน จังหวัดราชบุรี ได้เคยบวชเรียน จนเป็นผู้ชำนาญในการเทศน์มิลินท์และมาลัย แม้เมื่อลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาสแล้วก็ยังเรียกกันติดปากว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    พระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ)
    วัดบวรนิเวศวิหาร




    [​IMG]
    [​IMG]

    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ภูมิลำเนาเดิม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    วันประสูติ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๓ วันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๒๑ ในรัชกาลที่ ๔
    วันสถาปนา ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ วันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ในรัชกาลที่ ๖
    วันสิ้นพระชนม์ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ในรัชกาลที่ ๖
    พระชนมายุ ๖๐ พรรษา ๓ เดือนเศษ
    ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๐ ปี ๗ เดือนเศษ

    คัดลอกจาก http://mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet10.htm

    [​IMG]

    หลังจากสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์ สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ไม่ทรงสถาปนาพระเถระรูปใด ในตำแหน่งที่ สมเด็จพระสังฆราช อีกจนตลอดรัชกาล ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชอยู่เป็นเวลา ๑๑ ปี ถึงรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กล่าวอย่างสามัญทั่วไปก็คือ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั่นเอง
    พระประวัติเบื้องต้น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ และเจ้าจอมมารดาแพ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๒๑ ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๓ เมื่อวันประสูติ นั้นฝนตกใหญ่ พระบรมชนกนาถจึงทรงถือเป็นมงคลนิมิตพระราชทานนามว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ หลังจากประสูติได้เพียงปีเดียว เจ้าจอมมารดาของพระองค์ก็ถึงแก่กรรมพระองค์จึง ทรงอยู่ในความเลี้ยงดูของกรมหลวงวรเสฐสุดา (พระองค์เจ้าบุตรี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งเป็นพระญาติ ทรงเรียกว่าเสด็จป้า มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ต่อมา ทรงย้ายมาอยู่กับท้าวทรงกันดาร (ศรี) ผู้เป็นยาย
    เมื่อพระชนมายุ ๘ พรรษา ทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลี ทรงศึกษาอยู่จนสามารถแปลธรรมบทได้ก่อนที่จะทรงผนวชเป็นสามเณร และทรงเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษกับครูฝรั่งเมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาโหราศาสตร์กับครูที่เชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์มาแต่พระชนม์ยังน้อย
    ทรงผนวช
    เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับเจ้านายอื่นอีก ๒ พระองค์ สมเด็จพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา (พระนามเดิม ศิขเรศ) เป็นประทานสรณะและศีล เมื่อทรงผนวชแล้ว มาประทับ ณ วัด บวรนิเวศวิหาร ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ ๒ เดือนเศษ จึงทรงลาผนวช
    ครั้น พระชนมายุ ๒๐ พรรษา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๒๒ สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จันทรังสี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงผนวชแล้วเสด็จมาอยู่จำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ถึงหน้าเข้าพรรษาของปีนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาทรงถวายพุ่มพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามราชประเพณี และในคราวนั้น ได้เสด็จฯ ไปถวายพุ่มพรรษาแด่พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ซึ่งเพิ่งทรงผนวชใหม่ถึงกุฏิที่ประทับ พร้อมทั้งทรงกราบด้วยพระอาการเคารพ อันเป็นพระอาการที่ไม่เคยทรงปฏิบัติต่อพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์อื่นที่ทรงผนวช เป็นเหตุให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้นทรงตัดสินพระทัยไม่ทรงลาผนวชแต่วันนั้น
    ทรงทำทัฬหีกรรม อุปสมบทซ้ำ
    หลังจากทรงจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ๑ พรรษาแล้ว ได้เสด็จไปจำพรรษาที่ ๒ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม ในสำนักของพระจันทโคจรคุณ (ยิ้ม) ผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ในระหว่างที่ประทับ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามนั้นเอง ได้ทรงทำทัฬหีกรรม อุปสมบทซ้ำอีกครั้งหนึ่งตามธรรมเนียมนิยมของพระสงฆ์ธรรมยุตในครั้งนั้น โดยพระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เดช ฐานจาโร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่ครั้งยังเป็นพระเปรียญอยู่วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ณ โบสถ์แพ หน้าวัดราชาธิวาส เมื่อ วันที่ ๓ มกราคม ๒๔๒๒
    ทรงกรมและเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง
    เมื่อทรงผนวชได้ ๓ พรรษา ทรงเข้าแปลพระปริยัติ ธรรมหน้า พระที่นั่ง ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตมโหราฬ ห้องเขียวท่ามกลางประชุมพระราชาคณะผู้ใหญ่ ๑๐ รูป มีสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นประธาน ทรงแปลได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค และทรงหยุดอยู่เพียงนั้น
    หลังจากทรงแปลพระปริยัติธรรมได้เป็น เปรียญ ๕ ประโยคแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระอิศริยยศเป็น กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะรองในธรรมยุตินิกาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ พระองค์ทรงเป็นเจ้าคณะรองในคณะธรรมยุตเป็นพระองค์แรกและทรงเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ทรงมีพรรษายุกาลน้อยที่สุด คือ ๓ พรรษาเท่านั้น
    ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร
    พ.ศ.๒๔๓๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์สิ้นพระชนม์พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดให้สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสขณะเมื่อทรงดำรงพระอิศริยยศ เป็นกรมหมื่น ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารสืบต่อจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ นับเป็นเจ้าอาวาสพระองค์ที่ ๓
    ครั้น ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ทรงพระกรุณาโปรดเลื่อนพระสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต นับเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตพระองค์ที่ ๒ ทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตเมื่อทรงมีพรรษายุกาล ๑๕ พรรษา
    เมื่อทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ได้ทรงเริ่มพัฒนากิจการพระศาสนา โดยทรงเริ่มทำขึ้นภายในวัดบวรนิเวศวิหารก่อนเป็นการทดลองเพื่อดูผลได้ผลเสียและทรงปรับปรุงแก้ไขจนทรงเห็นว่า มีผลดีเป็นคุณประโยชน์แก่พระศาสนาเป็นส่วนรวม จึงทรงขยายออกในวงกว้าง กล่าวเฉพาะที่สำคัญ คือ
    การศึกษาพระปริยัติธรรมในภาษาไทย
    ทรงริเริ่มให้ภิกษุสามเณรที่บวชใหม่เล่าเรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทยเพื่อให้รู้จักพระพุทธศาสนาทั้งส่วนที่เป็นธรรมและวินัยในขั้นพื้นฐานในชั่วระยะเวลาอันสั้น โดยพระองค์ได้ทรงสอนด้วยพระองค์เอง มีการสอบความรู้ของภิกษุสามเณรที่เรียนด้วยวิธีสอบแบบใหม่คือวิธีเขียน ต่อมาได้มีภิกษุสามเณรไม่เฉพาะแต่พระใหม่เท่านั้นที่นิยมเล่าเรียนพระธรรมวินัยแบบใหม่ที่พระองค์ทรงจัดขึ้นนี้ และนิยมแพร่หลายออกไปถึงวัดอื่นๆ ด้วย เมื่อทรงเห็นว่าเป็นการเล่าเรียนที่มีประโยชน์ต่อภิกษุสามเณรทั่วไป จึงได้ทรงกำหนดให้เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับคณะสงฆ์ในเวลาต่อมา ที่เรียกว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์)
    วัดราชบพิธ
    พระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    [​IMG]
    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 550px; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 135px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>ภูมิลำเนาเดิม
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 383px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 135px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>วันประสูติ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 383px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๒ วันศุกร์แรม ๗ ค่ำเดือนอ้าย ปีมะแม จ.ศ. ๑๒๒๑ ในรัชกาลที่ ๔
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 135px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>วันสถาปนา
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 383px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ในรัชกาลที่ ๖
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 135px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>วันสิ้นพระชนม์
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 383px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ในรัชกาลที่ ๘
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 135px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>พระชนมายุ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 383px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top>๗๘ พรรษา
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 532px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top colSpan=2>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๖ ปี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    คัดลอกจาก http://mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet11.htm
    พระประวัติเบื้องต้น
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าภุชงค์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้นหนึ่ง กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ กับ หม่อมปุ่น ชุมพูนุท ประสูติ เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม ๗ ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๒ เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้ตามเสด็จคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ จนถึงเมืองสิงคโปร์ แล้วโปรดให้อยู่เล่าเรียนในโรงเรียนแรฟฟัล ณ เมือง สิงคโปร์นั้น พร้อมกับหม่อมเจ้าอื่นๆ อีกราว ๒๐ องค์ ทรงเล่าเรียนอยู่ที่เมืองสิงคโปร์เป็นเวลา ๙ เดือน เมื่อทางกรุงเทพฯ ได้มีการเปิดโรงเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเจ้านายขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ จึงโปรดให้กลับมาเล่าเรียนต่อที่กรุงเทพฯ
    ทรงผนวช
    พ.ศ. ๒๔๑๖ พระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระยศกรมหมื่นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร แต่ยังทรงเป็นหม่อมเจ้าพระราชาคณะ เป็นพระอาจารย์ เมื่อทรงผนวชแล้วเสด็จอยู่ที่วัดราชบพิธ ทรงเล่าเรียนพระปริยัติธรรมต่อมาจนถึงพระชนมายุครบอุปสมบท จึงทรงอุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อทรงอุปสมบทแล้วก็เสด็จประทับ ณ วัดราชบพิธตามเดิม ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม ๒ ครั้ง ได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค
    พ.ศ. ๒๔๓๐ เมื่อทรงอุปสมบทได้ ๘ พรรษา ทรงพระกรุณาโปรดตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสถาพรพิริยพรต
    ทรงเป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย
    พ.ศ. ๒๔๓๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะทรงดำรงพระยศ กรมหมื่น ได้ทรงพระดำริจัดตั้งสถาบันการศึกษาแบบใหม่สำหรับภิกษุสามเณร ตลอดถึงจัดตั้งโรงเรียนสำหรับกุลบุตรขึ้น เรียกว่า มหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อจัดการศึกษาสำหรับภิกษุสามเณรและกุลบุตรให้ทันสมัย และเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ขณะทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ พระสถาพรพิริยพรต ก็ทรงเป็นกรรมการพระองค์หนึ่งในกรรมการชุดแรกของมหามกุฏราชวิทยาลัย นับว่าทรงเป็นผู้ร่วมบุกเบิกกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยมาแต่เริ่มต้น และได้ทรงเริ่มมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้ามาจนตลอดพระชนม์ชีพ ของพระองค์
    พ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่เสมอชั้นเทพ
    พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมปาโมกข์ในราชทินนามเดิม
    ทรงครองวัดราชบพิธ
    พ.ศ. ๒๔๔๔ พระองค์เจ้าอรุณนิภาคุณากร เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ สิ้นพระชนม์ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ทรงครองวัดราชบพิธสืบต่อมา นับเป็นเจ้าอาวาสพระองค์ที่ ๒
    พ.ศ. ๒๔๔๙ ทรงสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้ารองที่ พระพรหมมุนี เจ้าคณะรองในคณะกลาง ในราชทินนามเดิมพร้อมทั้งทรงสถาปนาพระอิสริยยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
    พ.ศ. ๒๔๕๓ ในรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาพระอิสริยยศเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ ทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง
    ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    พ.ศ. ๒๔๖๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๖๔ ครั้นถึงวันที่ ๒๐ สิหาคม ๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ และทรงสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลสังฆปริณายก
    ถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศเป็น กรมหลวง
    คำเรียกตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมี ๓ อย่าง
    เมื่อทรงสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ เป็น สมเด็จสกลสังฆปริณายก ประธานาธิบดีแห่งสงฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร นั้น โปรดสถาปนาคำสำหรับเรียกตำแหน่งนี้ว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • somdet-11.jpg
      somdet-11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.5 KB
      เปิดดู:
      671
  13. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    สมเด็จพระสังฆราช (ติสสเทโว แพ )
    วัดสุทัศน์เทพวราราม
    [​IMG]
    คัดลอกจาก http://arcbs.bansomdej.ac.th/rLocal/stories.php?story=02/04/05/4941383
    ผู้จัดทำข้อมูล รสสุคนธ์ ไตรรงค์
    พระสังฆราชองค์ที่ 12 พ.ศ. 2481-2487
    สมเด็จพระสังฆราช วัดสุทัศน์เทพวราราม พระนามเดิมว่า แพ พระฉายานาม ติสสเทว ประสูติในรัชกาลที่ 4 วันพุธ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 บิดาชื่อ นุตร์ มารดาชื่อ อ้น เป็นชาวสวนบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี มีพี่น้องร่วมมารดาบิดาเดียวกันรวม 7 คน คือ
    1. นางคล้าม
    2. สมเด็จพระสังฆราช (แพ)
    3. หลวงพุทธพันธพิทักษ์ (อยู่)
    4. นางทองคำ พงษ์ปาละ
    5. นางทองสุข
    6. นายชื่น
    7. นายใหญ่
    เมื่อพระชนมายุได้ 7 ขวบ ได้ไปศึกษาอักขระสมัยอยู่ที่วัดทองนพคุณ เนื่องจากท่านบิดาเลื่อมใสในสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) มาตั้งแต่ท่านยังครองวัดนพคุณ ครั้นชนมายุได้ 13 ปี จึงพาไปถวายเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) เมื่อครั้งยังเป็นพระธรรมวโรดม มาอยู่วัดราชบูรณะ ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. 2411 แล้วกลับไปเล่าเรียนอยู่วัดทองนพคุณตามเดิม ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระอาจารย์โพ วัดเศวตรฉัตร
    ครั้นถึงรัชกาลที่ 5 เมื่อชนมายุได้ 16 ปี สมเด็จวันรัต (สมบูรณ์) ให้ไปรับมาอยู่กับท่านที่ วัดพระเชตุพน เพราะสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) ได้มาอยู่ในวัดนั้น ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) เป็นพื้น นอกจากนั้นได้เล่าเรียนกับเสมียนตาสุขบ้าง พระโหราธิบดี (ชุ่ม) บัาง พระอาจารย์โพบ้าง ได้เข้าสอบพระปริยัติธรรมเป็นครั้งแรกที่พระที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ เมื่อปี พ.ศ. 2419 แต่แปลตกหาได้เป็นเปรียญในปีนั้นไม่
    และในปี พ.ศ. 2419 นั้นเอง อายุครบอุปสมบท แต่สมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) อาพาธ ต้องอยู่ประจำเพื่อพยาบาล จึงมิได้มีโอกาสอุปสมบท และเมื่อสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) ใกล้ถึงมรณภาพนั้น ท่านแนะนำให้ไปอยู่เป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ แต่ครั้งยังเป็นพระเทพกวี
    ครั้นสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) มรณภาพแล้ว จึงได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (แดง) แล้วอุปสมบทที่วัดเศวตรฉัตรอันอยู่ใกล้เป็นบ้านและสำนักเรียนเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2422 แล้วมาอยู่ที่วัดสุทัศน์กับสมเด็จพระวันรัต (แดง) ต่อมา ในตอนนี้ได้เล่าเรียนกับสมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นพื้นและได้ไปเรียนกับสมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์บ้าง
    เมื่อสมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อครั้งยังเป็นพระเทพกวี ได้เลื่อนเป็น พระธรรมวโรดม ได้ตั้งให้ท่านเป็นพระครูใบฎีกา ใน ฐานานุกรมตำแหน่งนั้น แล้วเลื่อนเป็นพระครูวินัยธรโดยลำดับ เมื่อเป็นพระครูวินัยธรได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งที่ 2 ที่พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ เมื่อปี พ.ศ. 2425 ได้เป็นเปรียญ 4 ประโยค ต่อมาปี พ.ศ. 2428 เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกเป็นครั้งที่ 3 ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แปลได้อีกประโยค 1 รวมเป็น 5 ประโยค
    ปี พ.ศ. 2423 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระศรีสมโพธิ์ ถึงปี พ.ศ. 2439 อันเป็นวันในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครบหมื่นวันแห่งการเสวยราชย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม พระราชทานตาลิปัตรแฉกประดับพลอย และเพิ่มนิตยภัต ในคราวเดียวกันกับที่ได้โปรดให้ พระธรรมวโรดม (แสง) วัดราชบูรณะ เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    ถึงปีจอ พ.ศ. 2441 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพโมลี สถิต ณ วัสดุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร มีนิตยภัตเดือน 4 ตำลึงกึ่ง
    ต่อมา พ.ศ. 2443 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระเทพโมลีเป็นพระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณนายกตรีปิฏกมุนี มหาคณาธิบดีสมณิศร บวรสังฆราม คามวาสี สถิต ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง
    ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระราชทานหิรัญบัฎ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระพรหมมุนี เมื่อปี พ.ศ. 2455
    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 100%; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width="100%">พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ ฯลฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าพระธรรมโกศาจารย์เจ้าคณะมณฑลนครไชยศรีเป็นเปรียญทรงพระปริยัติธรรม มีปฏิบัติอันงาม นำให้เกิดความเลื่อมใสของพุทธบริษัททั่วไป ได้เป็นภารธุระแก่พระศาสนา เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสและเจ้าอาวาส ทำนุบำรุงวัดสุทัศน์เทพวรารามให้เจริญโดยลำดับมา บริหารรักษาพระสงฆ์เรียบร้อยดีในฝ่ายปริยัติ ได้เป็นผู้จัดการเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดสุทัศน์เทพวรารามอันเป็นสถานศึกษาใหญ่ตำบลหนึ่ง เมื่อถึงคราวสอบพระปริยัติธรรมในสนามหลวงได้เป็นกรรมการสอบด้วยรูปหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงหยั่งทราบคุณสมบัติของพระธรรมโกษาจารย์มาตั้งแต่เดิม จึงได้ทรงยกย่องในตำแหน่งพิเศษ พระราชทานตาลิปัตรแฉกประดับพลอยให้ถือมีพระเกียรติยศเสมอพระราชาคณะชั้นเทพ แต่ครั้งยังเป็นพระศรีสมโพธิ์ เมื่อครั้งจัดคณะสงฆ์ในมณฑลหัวเมือง ได้ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลนครไชยศรี ก็มีน้ำใจเห็นแก่พระพุทธศาสนา บริหารคณะมณฑลมาด้วยความเรียบร้อยจนทุกวันนี้ ครั้นถึงแผ่นดินปัจจุบันทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เป็นประธานแห่งสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักร พระธรรมโกศาจารย์ก็ได้เป็นกำลังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอด้วยรูปหนึ่ง ในการบริหารคณะสงฆ์เมื่อคราวจัดคณะกลางในกรุงเทพฯ พระธรรมโกศาจารย์ได้รับตำแหน่งในหน้าที่เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะแขวงสำเพ็ง จัดการปกครองให้เข้าระเบียบเป็นอันดี พระธรรมโกศาจารย์มีอัธยาศัยเป็นแก่พระพุทธศาสนาเป็นการธุระในกรณียกิจนั้น ๆ โดยลำดับมาฉะนี้ในเวลานี้มีพรรษายุการจัดว่าเป็นผู้ใหญ่ และเป็นหลักอยู่รูปหนึ่งในคณะสงฆ์ สมควรจะสถาปนาพระธรรมโกศาจารย์ เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่เจ้าคณะรองมีนามจารึกในหิรัญบัฎว่า พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายก ตรีปิฎกธรรมมาลังการวิภูษิต มัชฌิมคณิศร บวรสังคารามคามวาสี สังฆนายก เจ้าคณะรองคณะากลางสถิต ณ วัดสุทัศน์ เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง มีนิตยภัตเดือนละ 32 บาท มีถานานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ 8 รูป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ต่อมาถึงปีกุน พุทธศักราช 2466 ได้รับพระราชทานสุพรรณบัฏเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#800000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#f3f3f3 border=2><TBODY><TR><TD>จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ดำรัสสั่งให้สถาปนาพระพรหมมุนีไว้ในตำแหน่งสมเด็จ พระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี มีราชทินนานามตามที่จารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ นิพัทธนคุณ ศิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศลวิมลศีลขันธ์สรรพสมณคุณ วิบุลยประสิทธิ์ บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี มหาสังฆนายกสถิต ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ครั้นถึง พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ได้ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระวันรัต
    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 100%; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width="100%">ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค 2472 พรรษาปัจจุบันสมัย สัปตมสัมพัตสร กุมภาพันธ์มาส จตุรวิงค์สุรทิน จันทรวาร โดยกาลปริเฉก
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width="100%">พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่าฐานันดรศักดิ์เจ้าคณะใหญ่หนใต้อันเป็นตำแหน่งสำคัญในมหาเถรสมาคมยังว่างอยู่ สมควรจะยกพระมหาเถรเจ้าผู้ถึงพร้อมด้วยสมณคุณขึ้นสถิตในสมณศักดิ์ และสถาปนาสมณฐานันดรเจ้าคณะสงฆ์แทนที่สืบไป บัดนี้จวนกาลฉัตรมงคลอุดมสมัย ควรจะผดุงอิสริยยศพระมหาเถระไว้ให้บริบูรณ์โดยอนุกรมตามตำแหน่ง เพื่อจะได้แบ่งภาระช่วยกันประกอบศาสนกิจให้สำเร็จประโยชน์แก่บรรพชิตแลคฤหัสถ์ตามสามารถ
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width="100%">ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี ประกอบด้วยคุณธรรมอันโกศลวิมลปฏิภาณญาณปรีชา ดำเนินในสัมมาปฏิบัติ ทรงสมณคุณพหุลกิจปรหิตจรรยา แจ้งอยู่ในประกาศสถาปนา เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี เมื่อพระพุทธศาสนายุกาล 2466 พรรษานั้นแล้ว บัดนี้ก็เจริญด้วยชนมายุกาลรัตตัญญุภาพเป็นผู้ทราบประจักษ์แจ้งในธรรมเนียมประเพณีพิธีสงฆ์ทั้งปวงแต่กาลนาน มีพรหมจริยาวัตรศีลสมาจารย์เรียบร้อยสมบูรณ์บริสุทธิ์ควรนับเป็นสุตพุทธมุนีศาสนาภิรัต มีอัธยาศัยหนักน้อมไปในทางพระพุทธศาสนายั่งยืนอยู่ในจารีตสมณวงศ์ เป็นหลักเป็นประธานสงฆ์คณะมหานิกายในปัจจุบัน ยากที่จะมีผู้เสมอเหมือนทั้งตั้งอยู่ตำแหน่งพระราชาคณะมานานถึง 40 ปี สถิตในมหาเถระธรรมราศีเป็นครุภาวนียสถานแห่งสงฆ์อันพิเศษ เป็นเหตุให้ถึงอปริหานิยธรรม สมควรเป็นทักษิณมหาคณิศวราจารย์ราชาคณะผู้ใหญ่ ที่อิสริยยศยิ่งกว่าสมณนิกรคามวาสีและอรัญวาสีหนใต้ทั้งปวง
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width="100%">จึงมีพระบรมราชโองการ มาน พระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้สถาปนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะทักษิณศวราธิบดี มีพระราชทินนามจารึก ในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระวันรัตปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร มหาทักษิณคณิศร บวรสังฆารามคามวาสี อรัญวาสี สถิต ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง เจ้าคณะใหญ่หนใต้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    หลังจากที่ได้รับพระสุพรรณบัฏเป็นสมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่หนใต้ แต่ พ.ศ. 2472 มา ได้ปกครองคณะสงฆ์ให้เจริญเรียบร้อยก้าวหน้ามาโดยลำดับ มิได้ระส่ำระส่าย เป็นไปในทางวิวัฒนาการ ผู้อยู่ในบังคับบัญชาก็ได้รับความสุขสำราญชื่นชมยินดี ความติดขัดแม้จะมีก็ระงับได้ด้วยความสุขุมปรีชา เป็นที่พำนักปรึกษาของเจ้าคณะซึ่งมีข้อความข้องใจในการบริหาร ชี้แจงนโยบายการบริบาลคณะสงฆ์ โดยสันติวิธีเป็นที่นิยมยินดีของพุทธบริษัททั่วไป
    การปกครองคณะสงฆ์ร่วมในจังหวัดพระนครนั้นเล่าตั้งแต่แรกเริ่มจัดระเบียบเข้าสู่ระบอบใหม่ในทำนองการคณะแขวง สมเด็จก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงดำรงตำแหน่งแต่เดิมมา ครั้งก่อนเรียกว่าแขวงสำเพ็ง ครั้งยุคต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นแขวงคณะนอก จังหวัดพระนคร ในคราวที่ฝ่ายอาณาจักรโอนอำเภอพระโขนงมาขึ้นจังหวัดพระนครพอดี ในคราวที่ฝ่ายอาณาจักรยุบฐานะจังหวัดมีนบุรี อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนั้น คืออำเภอมีนบุรี อำเภอบางกะปิ อำเภอลาดกระบัง อำเภอหนองจอก ก็โอนมาขึ้นในจังหวัดพระนคร การคณะสงฆ์ในอำเภอนั้น ๆ ทั้งหมดก็โอนมาขึ้นกับคณะแขวงนอก จังหวัดพระนคร ต้องเพิ่มภาระในการปกครองขึ้นอีกมาก กระนั้นก็สู้บั่นบากควบคุมการคณะให้เรียบร้อยเจริญดีเป็นลำดับมา
    ในด้านการศึกษา ก็ได้แนะนำปลูกภิกษุสามเณรให้เกิดแนะนำให้เกิดอุตสาหะในการเรียนการสอน เพื่อการศึกษาแพร่หลายดี จึงได้ขอให้ทางการเปิดสถานที่ทำการสอบความรู้ นักธรรมขึ้นเป็นประจำ ในอำเภอนั้น ๆ จนเป็นปึกแผ่นถาวรมาจนถึงยุคนี้ ถึง พ.ศ. 2479 เมื่อตำแหน่งปลัดแขวงในพระนครว่างลง สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์วัดราชบพิธ จึงได้มีพระบัญชาให้ย้ายท่านเข้ามาเป็นปลัดแขวงในพระนคร และท่านก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้เรียบร้อยตลอดมา
    ในส่วนพระปริยัติธรรมท่านได้รับหน้าที่เป็นแม่กองสนามหลวงฝ่ายบาลีทำการสอบความรู้พระปริยัติธรรมพระภิกษุสมเณรในพระราชอาณาจักรตั้งแต่ พ.ศ. 2471
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น นภวงศ์)
    วัดบวรนิเวศวิหาร
    พระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    [​IMG]
    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 104.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=139>ภูมิลำเนาเดิม
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 234pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=312>เป็นพระโอรสในหม่อมเจ้าถนอม และหม่อมเอม
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 104.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=139>วันประสูติ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 234pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=312>๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๕ วันศุกร์ แรม ๗ ค่ำเดือน ๑๒
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 104.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=139>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 234pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=312>ปีวอก จ.ศ. ๑๒๘๔ ในรัชกาลที่ ๕
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 104.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=139>วันสถาปนา
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 234pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=312>๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ในรัชกาลที่ ๘
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 104.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=139>วันสิ้นพระชนม์
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 234pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=312>๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ ในรัชกาลปัจจุบัน
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 104.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=139>พระชนมายุ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 234pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=312>๘๕ พรรษา ๑๑ เดือน
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 104.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=139>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 234pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=312>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๒ ปี ๑๐ เดือน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    คัดลอกจาก http://mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet13.htm

    พระประวัติเบื้องต้น
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระนามเดิมหม่อมราชวงศ์ชื่นทรงเป็นโอรสหม่อมเจ้าถนอม และหม่อมเอม ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๕ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา จึงทรงเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ทรงเนื่องในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย เพราะกรมหมื่นมเหศวรวิลาสและพระอนุชา คือ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ วรฤทธิราชมหามกุฏ บุรุษยรัตนราชวโรรส) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย ซึ่งเป็นธิดาของพระอินทรอไภย (เจ้าฟ้าทัศไภย) โอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (ราชพัสดุของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีบางอย่างที่ทรงได้รับสืบต่อมา เช่น พระแท่นหินอ่อนยังอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร) ส่วนหม่อมเอมเป็นธิดาพระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย) ซึ่งเป็นบุตรเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) บุตรเจ้าพระยามหาโยธา (พญาเจ่ง) ต้นสกุลคชเสนี
    เมื่อมีพระชนมายุพอจะเป็นมหาดเล็กได้ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ฯ สยามมกุฏราชกุมารในรัชกาลที่ ๕ ได้เป็น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • somdet-13.jpg
      somdet-13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.5 KB
      เปิดดู:
      714
  15. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตติโสภโณ)
    วัดเบญจมบพิตร

    [​IMG]
    [​IMG]
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>ภูมิลำเนาเดิม
    </TD><TD>ตรอกหลังตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานครเป็นบุตรขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ พิณโรจน์) และนางปลั่ง
    </TD></TR><TR><TD>วันประสูติ
    </TD><TD>๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ วันจันทร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉูล จ.ศ. ๑๒๕๑ ในรัชกาลที่ ๕
    </TD></TR><TR><TD>วันสถาปนา
    </TD><TD>๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
    </TD></TR><TR><TD>วันสิ้นพระชนม์
    </TD><TD> ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๕ ในรัชกาลปัจจุบัน
    </TD></TR><TR><TD>พระชนมายุ
    </TD><TD>๗๓ พรรษา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๒ ปี ๑ เดือน
    คัดลอกจาก http://mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet14.htm
    [​IMG]
    พระประวัติ
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ปลด กิตติโสภโณ)
    วัดเบญจมบพิตร
    พระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ประสูติ
    สมเด็จพระสังฆราช (กิตติโสภณมหาเถระ) พระนามเดิม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    พระประวัติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทยมหาเถร)
    วัดสระเกศ
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    พระองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    [​IMG]

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; MARGIN-LEFT: 1cm; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 95.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=127>ภูมิลำเนาเดิม
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 330.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=441>เรือนแพหน้าวัดกัลยาณมิตร อำเภอบางกอกใหญ่ ธนบุรี บุตรนายตรุษ นางจันทร์
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 95.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=127>วันประสูติ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 330.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=441>๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ในรัชกาลที่ ๕
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 95.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=127>วันสถาปนา
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 330.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=441>๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 95.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=127>วันสิ้นพระชนม์
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 330.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=441>๑๕ พฤษภาคม พ.ศ ๒๕๐๘ ในรัชกาลปัจจุบัน
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 95.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=127>พระชนมายุ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 330.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=441>๙๐ พรรษา ๕ เดือน
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; BACKGROUND: #f3f3f3; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 426.1pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568 colSpan=2>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๒ ปี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คัดลอกจาก http://mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet15.htm


    พระประวัติเบื้องต้น
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิมว่า อยู่ พระนามฉายาว่า ญาโณทโย ประสูติ
    เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕ ที่เรือนแพหน้าวัดกัลยาณมิตร อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี โยมบิดาชื่อ ตรุษ โยมมารดา ชื่อ จันทร์
    เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักบิดาผู้เป็นบุรพาจารย์ และต่อมาเมื่อมีพระชนมายุพอสมควร ได้มาอยู่ในสำนักของพระอาจารย์ช้าง วัดสระเกศ ได้ทรงเล่าเรียนสืบมาจนกระทั่งได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณร จึงได้ทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลี ทรงศึกษามูลกัจจายน์ในสำนักของพระอาจารย์ช้าง ต่อมาได้ทรงศึกษาในสำนักของพระธรรมกิติ (เม่น) บ้าง ในสำนักเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (แดง) บ้าง และในสำนักพระยาธรรมปรีชา (ทิม) บ้าง
    บรรพชาอุปสมบท
    เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในสำนักพระอาจารย์ช้าง วัดสระเกศ พระนครได้ทรงศึกษาสามเณรสิกขารวมทั้งพระธรรมวินัย ตลอดจนตำราโหราศาสตร์
    พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีศาสดาราม เป็นครั้งแรก ทรงได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค
    พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้อีก ๑ ประโยค รวมเป็น ๔ ประโยค
    ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๗ เมื่อมีพระชนมายุครบอุปสมบท ทรงได้รับอุปสมบทที่วัดสระเกศ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมทานาจารย์ (จุ่น) วัดสระเกศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระธรรมกิติ (เม่น) วัดสระเกศ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    หลังจากได้ทรงอุปสมบทแล้ว ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค
    พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งสุดท้าย ทรงแปลได้เป็นเปรียญ ๙ ประโยค เมื่อพระชนมายุ ๒๘ พรรษา
    เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงได้เป็นเปรียญ ๙ ประโยคองค์แรกในรัชกาลที่ ๕ จึงทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้นำรถยนต์หลวงมาส่งจนถึงพระอารามที่อยู่เป็นพิเศษและนับตั้งแต่นั้นมา ถ้าเปรียญใดสอบได้ ๙ ประโยค ก็ทรงพระกรุณาโปรดให้นำรถยนต์หลวงส่งเปรียญรูปนั้นจนถึงที่ เป็นธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบันนี้
    เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช นับแต่ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมมาตั้งแต่ประโยคต้น จนถึงประโยคสุดท้าย คือ ประโยค ๙ ไม่เคยแปลตกเลย
    หน้าที่การงาน
    พ.ศ. ๒๔๔๕ เมื่อทรงได้เป็นเปรียญ ๙ ประโยคแล้ว ก็ทรงดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสนามหลวง สอบไล่พระปริยัติธรรม ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามตลอดมา
    พ.ศ. ๒๔๕๘ เมื่อย้ายสถานที่สอบพระปริยัติธรรมจากในพระบรมมหาราชวัง มาสอบที่วัดเบญจมบพิตรและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่น ทรงเปลี่ยนวิธีการสอบจากวิธีแปลด้วยปาก มาเป็นสอบด้วยวิธีเขียนเหมือนกันทุกประโยค ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นต้นมา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจประโยคด้วย
    พ.ศ. ๒๕๐๕ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตติโสภณมหาเถร) วัดเบญจมบพิตร สิ้นพระชนม์และในศกเดียวกัน ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕ ขึ้น โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะรัฐสภา และรัฐบาลได้รับสนองพระบรมราชโองการให้ประกาศพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นต้นมา สมเด็จฯ ก็ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ตามผลแห่งพระราชบัญญัติฉบับนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ทรงใช้ความรู้ความสามารถปฏิบัติหน้าที่โดยความเรียบร้อยดีตลอดมา
    ครั้นถึงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา ให้ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เนื่องในพระราชพิธีฉัตรมงคล
    พระกรณียกิจด้านต่างๆ
    ในด้านการศึกษา ในฐานะที่ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าสำนักเรียนวัดสระเกศ พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์ ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกบาลีและนักธรรมให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป มีภิกษุสามเณรทั้งในวัดและต่างวัดได้มาอาศัยศึกษาเล่าเรียน จนปรากฏว่ามีนักเรียนสอบไล่ได้นักธรรม และบาลีเป็นจำนวนมาก เพิ่มขึ้นทุกปี
    สำหรับพระภิกษุที่เป็นเปรียญและนักธรรมในสำนักวัดสระเกศ ที่ได้ออกไปเผยแผ่การศึกษาในต่างจังหวัดจนปรากฏว่าได้รับหน้าที่และดำรงสมณศักดิ์ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก
    นอกจากนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์อุปถัมภ์กิตติมศักดิ์ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาตั้งแต่เริ่มเปิดการศึกษา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ตลอดมา
    ในด้านการบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อทรงได้รับพระกรุณาโปรดให้ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว ก็ได้ทรงเริ่มบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถทั่วทั้งหลัง ได้ต่อหน้าชานพระวิหารให้กว้างใหญ่ขึ้น ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่เข้าไปนมัสการพระอัฏฐารส ในพระวิหารเป็นอย่างมาก ได้ทรงปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถนนในวัดให้มีสภาพดีขึ้นกว่าเก่ามาก ได้ทรงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์บรมบรรพตจนสำเร็จเรียบร้อย ได้ทรงสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมและหอสมุดของวัดขึ้น นับว่าพระองค์ได้ทรงสร้างถาวรวัตถุไว้เป็นอย่างมาก
    ในด้านการเผยแพร่พระศาสนา พระองค์ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมาก และทรงกระทำตามกาลด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงสนับสนุนพระภิกษุผู้สามารถที่จะทำการเผยแพร่พระศาสนาทั้งในและนอกประเทศ ทรงยกย่องพระภิกษุผู้ทำหน้าที่ในการเผยแพร่ ทรงสนับสนุนองค์การและสมาคมที่ทำงานพระศาสนาด้านนี้
    เมื่อพระองค์ทรงได้รับสถาปนาดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกแล้ว พระองค์ทรงบริหารการคณะสงฆ์ โดยมิทรงคำนึงถึงความชราภาพ ทรงทำทุกอย่างเพื่อความสงบสุขของ สังฆมณฑล พระองค์รับสั่งเสมอว่า สังฆราช ไม่ใช่ สังฆราชี
    ในด้านการติดต่อกับชาวต่างประเทศ พระองค์ทรงปฏิสันถารต้อนรับผู้มาถึงพอเหมาะพอดี เป็นที่สบายใจแก่อาคันตุกะนั้นๆ แม้บางครั้งผู้เข้าเฝ้าเป็นคนต่างศาสนา พระองค์ก็ทรงสามารถปฏิสันถารให้เหมาะแก่ผู้นั้น ซึ่งเรื่องนี้ มีผู้หนักใจกันมาก เพราะพระองค์ทรงชรา เกรงไปว่าจะทรงปฏิสันถารขาดตกบกพร่อง แต่กลับตรงกันข้าม และปรากฏชัดแล้ว
    สิ้นพระชนม์
    โดยปกติเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช มีพระพลานามัยดีตลอดมา แต่เพราะทรงชราพระองค์จึงประชวรด้วยโรคพระหทัย วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๐๘ ได้เกิดพระโลหิตอุดตันในสมอง คณะนายแพทย์ได้นำพระองค์ไปรับการรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลศิริราช แต่พระอาการหนักมาก เพราะท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชทรงชรามากแล้ว สุดที่คณะนายแพทย์จะถวายการพยาบาล พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๘ เวลา ๐๒.๒๐ น. ซึ่งหากนับโดยสุริยคติในปัจจุบัน ตรงกับวันเพ็ญกลาง เดือน ๖ วันวิสาขบูรณมี สิริพระชนมายุได้ ๙๐ พรรษา ๕ เดือน ๑๔ วัน
    ย่อความจาก "ธรรมจักษุ"
    นิตยสารทางพระพุทธศาสนารายเดือน
    จัดทำโดย มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    พระประวัติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายีมหาเถร)
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    พระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ข้อมูลจาก นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
    [​IMG]
    ชาติกาลและชาติภูมิ
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายีมหาเถร) ประสูติ ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา นพศก จุลศักราช ๑๒๕๙ (ร.ศ. ๑๑๖) ที่บ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี.ท่านบิดาชื่อ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    พระประวัติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
    สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร)
    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๑
    [​IMG]
    พระประวัติเบื้องต้น
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) ทรงเป็นชาวสุพรรณบุรี ประสูติเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ตรงกับวันอังคาร แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก เวลา ๒๔ นาฬิกาเศษ ณ ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านบิดาชื่อ เน้า สุขเจริญ ท่านมารดาชื่อ วัน สุขเจริญ ทรงเป็นบุตรคนที่ ๖ ในจำนวนพี่น้อง ๘ คน
    ในเบื้องต้นทรงเล่าเรียนภาษาไทยกับท่านบิดาจนสามารถอ่านหนังสือแบบเรียนเร็ว เล่ม ๑-๒ ได้จบ
    ต่อมาท่านบิดาจึงพาไปฝากเป็นศิษย์พระอาจารย์หอม วัดสองพี่น้อง ซึ่งเป็นญาติ จากนั้นจึงทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลีอักษรขอม และคัมภีร์มูลกัจจายน์ ที่เรียกกันว่า หนังสือใหญ่ กับพระอาจารย์หอมและพระอาจารย์จ่าง ปุณฺณโชติ ซึ่งภายหลังได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็น พระครูอุภัยภาดารักษ์ และเมื่อตกเย็น ก็ทรงต่อสวดมนต์กับพระอาจารย์ ที่เรียกว่า ต่อหนังสือค่ำ
    พ.ศ. ๒๔๕๔ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐ พรรษา พระอาจารย์หอมได้พามาฝากเป็นศิษย์อยู่วัดมหาธาตุกับพระอาจารย์ป่วน ผู้เป็นญาติฝ่ายท่านมารดา (ภายหลังย้ายไปอยู่วัดพระเชตุพน ต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระครูบริหารบรมธาตุ เป็นเจ้าอาวาสวัดนางชีภาษีเจริญ)
    พ.ศ. ๒๔๕๕ พระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ย้ายมาอยู่กับพระอาจารย์สด (ซึ่งภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ณ วัดพระเชตุพน และในปีนั้น ได้ทรงกลับไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสองพี่น้อง โดยพระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) เจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง เป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ. ๒๔๕๖ ต้องทรงลาสิกขาออกไปช่วยครอบครัวทำนาอยู่ระยะหนึ่ง เพราะท่านบิดาป่วย ครั้นพระชนมายุ ๑๘ พรรษา ก็กลับบรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงกลับมาอยู่วัดพระเชตุพน เพื่อทรงศึกษาเล่าเรียนต่อ
    พ.ศ. ๒๔๖๐ พระชนมายุ ๒๒ พรรษา ทรงกลับอุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) เจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง เจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์โหน่ง วัดสองพี่น้อง (ต่อมาย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน ตำบลดอนมะดัน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระศากยปุตติยวงศ์ (เผื่อน ติสฺสทตฺโต สุดท้ายได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระวันรัต) วัดพระเชตุพน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๖๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง
    ศึกษาพระปริยัติธรรม
    เมื่อเข้ามาอยู่วัดพระเชตุพนแล้ว จึงทรงเริ่มศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างจริงจังในสำนักของ สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) แต่ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศากยปุตติยวงศ์ และกับพระมหาปี วสุตฺตโม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นต้นมา สอบไล่ได้นักธรรมและเปรียญชั้นต่างๆ มาเป็นลำดับ ดังนี้
    .ศ. ๒๔๕๖ สอบได้นักธรรมชั้นตรี
    . ศ. ๒๔๕๘ สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ขณะทรงเป็นสามเณร
    .ศ. ๒๔๖๒ สอบได้นักธรรมชั้นโท
    .ศ. ๒๔๖๓ สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค
    .ศ. ๒๔๖๖ สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค
    .ศ. ๒๔๗๐ สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค
    นอกจากการศึกษาพระปริยัติธรรมแล้วยังทรงใฝ่พระทัยในการศึกษาภาษาต่างประเทศด้วยเท่าที่จะทรงมีโอกาสศึกษาได้ กล่าวคือ ทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับหลวงประสานบรรณวิทย์ และทรงศึกษาภาษาจีนกับนาย กมล มลิทอง
    ตำแหน่งหน้าที่ในการคณะสงฆ์
    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงรับภาระหน้าที่ทางการคณะสงฆ์มาแต่ทรงเป็นพระเปรียญ เริ่มแต่หน้าที่ภายในพระอารามไปจนถึงหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ ดังนี้
    .ศ. ๒๔๖๓ เมื่อทรงเป็นเปรียญ ๔ ประโยค ทรงเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ชั้นไวยากรณ์
    .ศ. ๒๔๖๗ เมื่อทรงเป็นเปรียญ ๕ ประโยคแล้ว ทรงเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมชั้นประโยค ๓ ทรงทำหน้าที่เป็นครูในสำนักเรียนวัดพระเชตุพนอยู่นานถึง ๒๕ ปี
    .ศ. ๒๔๘๓ เมื่อยังทรงเป็นพระเปรียญเป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยแผนก พระวินัย
    .ศ. ๒๔๘๔ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน เป็นพระคณาจารย์เอกทางเทศนาและในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๘๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่พระอมรเวที
    .ศ. ๒๔๘๖ เป็นเจ้าคณะตรวจการภาคบูรพา (สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด)เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค ๒ (อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร สุพรรณบุรี) เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย
    .ศ. ๒๔๘๗ เป็นพระอุปัชฌาย์
    .ศ. ๒๔๘๘ เป็นสมาชิกสังฆสภา
    .ศ. ๒๔๘๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชสุธี
    .ศ. ๒๔๙๐ สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน ถึงมรณภาพ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชสุธี จึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน เป็นกรรมการสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และในคราวเดียวกันได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเวที
    .ศ. ๒๔๙๑ เป็นสังฆมนตรี (สมัยที่ ๑ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน เป็นกรรมการและเลขาธิการ ก.ส.พ. (กรรมการสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมดิลก
    .ศ. ๒๔๙๒ เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค ๒ (สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด) เป็นสภานายกสภาพระธรรมกถึก
    .ศ. ๒๔๙๓ เป็นสังฆมนตรี (สมัยที่ ๒)
    .ศ. ๒๔๙๔ เป็นสังฆมนตรี (สมัยที่ ๓)เป็นสังฆมนตรีและสังฆมนตรีสั่งการแทนสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่ (สมัยที่ ๔) เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค ๗ (สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์) เป็นประธาน ก.จ.ภ. (กรรมการเจ้าคณะตรวจการภาค) เป็นอนุกรรมการอบรมศีลธรรมและวัฒนธรรมแก่ข้าราชการและประชาชน (ก.อ.ช.)
    .ศ. ๒๔๙๖ เป็นประธานกรรมการสงฆ์แห่งโรงพยาบาลสงฆ์
    .ศ. ๒๔๙๗ เป็นประธานทอดผ้าป่าวันโรงพยาบาลสงฆ์ โดยทรงริเริ่มในนามสภาพระธรรมกถึก เป็นกรรมการวิทยุกระจายเสียงวันธรรมสวนะ
    .ศ. ๒๔๙๘ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการทำนุบำรุงโรงพยาบาลสงฆ์
    .ศ. ๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระธรรมวโรดม เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ (สมัยที่ ๕)
    .ศ. ๒๕๐๐ เป็นกรรมการ ก.ส.พ. เป็นกรรมการอุปถัมภ์กิตติมศักดิ์ มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย
    .ศ. ๒๕๐๑ เป็นประธานกรรมการปรับปรุงตลาดเฉลิมโลก
    พ.ศ. ๒๕๐๒-๘ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่ (สมัยที่ ๖)
    พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้รับพระราชทานสถาปนา เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระวันรัตเป็นกรรมการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาปริยัติธรรม แผนกบาลี
    พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งประกาศใช้แทน พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดโสธรวราราม จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๗
    พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และรักษาการในตำแหน่ง เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก หนเหนือ และหนใต้ เป็นกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์
    พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นแม่กองงานพระธรรมทูต
    พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในระหว่างที่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายีมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชเสด็จเยือนศรีลังกาเป็นทางการ ะรหว่างวันที่ ๑๐ - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๐ เป็นประธานจิตตภาวันวิทยาลัย
    พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นเจ้าคณะนครหลวง กรุงเทพธนบุรี
    พ.ศ. ๒๕๑๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สืบต่อจาก สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายีมหาเถร) วัดมกุฏกษัตริยาราม นับเป็นพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" bgColor=#fffff5 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=590>
    ประกาศสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
    ภูมิพลอดุลยเดช ปร.
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราซ บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรตกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยทื่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆฑรณายก ได้ว่างลง เป็นการสมควรที่จะสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะ ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เพื่อจักได้บริหารการพระศาสนาให้สมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕ และตามระเบียบราชประเพณีสืบไป และโดยที่ได้ทรงสดับคำกราบบังคมทูลของหัวหน้าคณะปฏิวัติและสังฆทัศนะในมหาเถรสมาคมโดยเอกฉันทมติ
    จึงทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระวันรัต เป็นพระมหาเถระ เจริญในสมณคุณเนกขัมมปฏิบัติ สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร รัตตัญญูมหาเถรกรณธรรม ดำรงสถาพรอยู่ในสมณพรหมจรรย์ตลอดมาเป็นเวลาช้านาน ได้ประกอบกรณียกิจเป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่พุทธจักรและอาณาจักรอย่างไพศาล ดั่งมีอรรถจริยาปรากฏเกียรติสมภาร ตามความพิสดารในประกาศสถาปนาเป็นสมเด็จพระราซาคณะ มหาสังฆนายก เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔แล้วนั้น
    ครั้นต่อมา สมเด็จพระวันรัต ยิ่งเจริญด้วยอุตสาหวิรยาธิคุณมิได้ท้อถอย สามารถประกอบพุทธศาสนกิจยังการพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นเป็นลำดับตลอดมา ในการปกครองคณะสงฆ์ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕ สมเด็จพระวันรัต ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเป็น แม่กองงานพระธรรมทูต ตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน อนึ่ง ในคราวที่สมเด็จพระสังฆราชเสด็จไปเยือนประเทศศรีลังกาเป็นทางราชการ ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลประเทศนั้น สมเด็จพระวันรัตก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช เมื่อเดือนกุมภาพันธ์พุทธศักราช ๒๕๑๐
    ในการปริยัติศึกษา เป็นกรรมการพิจารณาร่างหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกภาษาบาลี ตั้งแต่ชั้นเปรียญตรีถึงชั้นเปรียญเอก ในฐานะนายกสภาแห่งสภาพระธรรมกถึก ได้จัดตั้งทุนไว้สำหรับส่งเสริมให้พระภิกษุผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ ไปศึกษาวิชาเพิ่มเติม ณ ต่างประเทศ
    เป็นผู้อุปถัมภ์อภิธรรมมูลนิธิวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพระอภิธรรมแก่ประชาชน และได้จัดสร้างอาคารเรียนขึ้น ๑ หลัง สำหรับใช้เป็นสถานศึกษาพระอภิธรรม ในการปกครองพระอาราม ก็ได้เอาใจใส่ควบคุมดูแลระวังรักษา และจัดการบูรณะปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมปูชนียวัตถุและสิ่งก่อสร้างในพระอาราม ซึ่งชำรุดทรุดโทรมเสียหาย ทั้งในบริเวณพุทธาวาสและสังฆาวาสให้กลับคืนดีในสภาพมั่นคงถาวรสะอาดเรียบร้อยดีขึ้นตลอดมา ดังเป็นที่ปรากฏอยู่แล้ว
    อนึ่งสมเด็จพระวันรัตไต้จัดตั้งมูลนิธิขึ้นไว้เป็นทุนถาวรสำหรับบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามเริ่มตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ เป็นต้นมา มูลนิธินี้ ได้รับพระราชทานนามว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • somdet-17.jpg
      somdet-17.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.8 KB
      เปิดดู:
      660
  19. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    พระประวัติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถระ)
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    พระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    [​IMG]
    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 122.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=163> ภูมิลำเนาเดิม
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=284>ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 122.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=163>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=284>เป็นบุตรนายบาง นางผาด นิลประภา
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 122.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=163>วันประสูติ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=284>๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ในรัชกาลที่ ๕
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 122.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=163>วันสถาปนา
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=284>๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 122.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=163>วันสิ้นพระชนม์
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=284>๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๑ ในรัชกาลปัจจุบัน
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 122.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=163>พระชนมายุ
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=284>๙๐ พรรษา ๕ เดือน
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 122.4pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=163>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid" vAlign=top width=284>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๔ ปี ๒ เดือน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    คัดลอกจาก http://mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet18.htm
    ชาตกาลและชาติภูมิ
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสนมหาเถระ) ท่านบิดาชื่อ บาง นิลประภา ท่านมารดาชื่อ ผาด นิลประภา เป็นบุตรคนที่ ๑ ในจำนวน ๓ คน ประสูติเมื่อวันพุธขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๔๐ เวลา ๑๙.๓๓ น. ที่บ้านตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    บรรพชา-อุปสมบท
    บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๖ ปี ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๕๕ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นพระอุปัชฌายะ พระวินัยมุนี (แปลก วุฑฺฒิญาโณ) วัดราชบพิธ เป็นศีลาจารย์ บรรพชาอยู่จนครบอุปสมบท
    อุปสมบท ณ วัดราชบพิธสถิตมหามาราม เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๖๑ สมเด็จพระสังราชเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอุปัชฌายะ พระวินัยมุนี (แปลก วุฑฺฒิญาโณ) วัดราชบพิธ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระญาณดิลก (รอด วราสโย) วัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นศีลาจารย์ มีพระฉายาว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • somdet-18.jpg
      somdet-18.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.2 KB
      เปิดดู:
      661
  20. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    พระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
    สกลมหาสังฆปรินายก
    (เจริญ สุวฑฺฒโน)
    สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    [​IMG]
    คัดลอกจาก http://www.moe.go.th/tsssc/databhu/pha01.htm

    พระนามเดิม
    ( เจริญ สุวฑฺฒโน คชวัตร เปรียญธรรม 9 ประโยค)
    ทรงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช 2532
    สมเด็จพระญาณสังวร 2515
    พระสาสนโสภณ 2504
    พระธรรมวราภรณ์ 2499
    พระโศภนคณาภรณ์ 2498
    พระโศภนคณาภรณ์ 2495
    พระโศภนคณาภรณ์ 2490
    เปรียญธรรม 9 ประโยค 2485
    พระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ

    สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติภิบาล อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปรินายก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา วิสุทธจริยาธิสมบัติ สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต ปาวจนุตตมพิสาร สุขุมธรรมวิธานธำรง วชิรญาณวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร บวรธรรมพิตร สรรพคณิศร มหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวง ทรงเจริญพระชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติ วิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนาเทอญ.
    ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2532
    ทรงดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์เป็น
    - ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
    - เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
    - เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร
    ศึกษาพระปริยัติธรรม ได้ตามลำดับดังนี้
    .ศ. 2472 สอบได้นักธรรมชั้นตรี
    .ศ. 2473 สอบได้นักธรรมชั้นโท และเปรียญธรรม 3 ประโยค
    .ศ. 2475 สอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 4 ประโยค
    .ศ. 2476 อุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม จำพรรษาที่วัดนี้ 1 พรรษา แล้วกลับมาวัดบวรนิเวศวิหาร อุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติ และสอบไล่เปรียญธรรม 5 ประโยค
    .ศ. 2477,2478,2481 และ 2484 สอบได้เปรียญธรรม 6,7,8 และ 9 ประโยคตามลำดับ
    .ศ. 2484 เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวักบวรนิเวศวิหาร
    .ศ. 2489 เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย
    พ.ศ. 2490 ได้รับพระทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระโศภณคณาภรณ์ และเป็นกรรมมหามงกุฏราชวิทยาลัย
    พ.ศ. 2493 เป็นกรรมการเถรสมาคม คณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว
    พ.ศ. 2494 เป็นกรรมการอำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นกรรมการแผนกตำราของมหามงกุฏราชวิทยาลัย
    พ.ศ. 2495 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในพระราชทินนามเดิม
    .ศ. 2496 เป็นกรรมการตรวจชำระ คัมภีร์ฎีกา
    .ศ. 2497 เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตประเภทถาวร
    .ศ. 2498 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในพระราชทินนามเดิม
    .ศ. 2499 เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมวราภรณ์ และรักษาการวินัยธรชั้นฎีกา
    พ.ศ. 2501 เป็นกรรมการคณะธรรมยุติ และเป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนา และมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.)
    พ.ศ. 2503 เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองสั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุติ
    พ.ศ. 2504 เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้อำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการณ์เจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค และเป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ. 2506 เป็นกรรมการเถรสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการชุดแรก ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
    พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ และได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระราชาคณะในพระราชทินนามนี้ มีขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฬ้า ฯ เป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานสมศักดิ์นี้เป็นองค์แรก และต่อมาก็มิได้พระราชทานสมณศักดิ์นี้แก่พระเถระรูปใดอีกเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2363 ถึงปี พ.ศ. 2515 เป็นเวลาถึง 152 ปี
    พ.ศ. 2517 เป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต
    พ.ศ. 2528 เป็นรองประธานกรรมการสังคีติการสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก และเป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎก เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    พ.ศ. 2531 รักษาการเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เป็นนายกกรรมการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นนายกสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย
    ผลงานของพระองค์ตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมามีอยู่เป็นเอนกอนันต์ พอจะสรุปได้ดังนี้
    ด้านการพระศาสนาในต่างประเทศ
    พระองค์ได้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการมาโดยลำดับ ดังนี้
    พ.ศ. 2509 ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตในต่างประเทศ ได้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีเปิดวัดพุทธประทีบ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และดูกิจการพระธรรมทูตในประเทศอังกฤษและอิตาลี
    พ.ศ. 2511 เสด็จไปดูการพระศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ อันเป็นผลให้ต่อมาได้มีการวางแผนร่วมกับชาวพุทธอินโดนีเซีย ในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น และได้ส่งพระธรรมทูตชุดแรกไปยังอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้ส่งพระภิกษุจากวัดบวรนิเวศ ออกไปปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2516 และตั้งสำนักสงฆ์ในปี พ.ศ. 2518
    พ.ศ. 2514 เสด็จไปดูการพระศาสนา และการศึกษาในประเทศเนปาล และอินเดีย ปากีสถาน ตะวันออก (บังคลาเทศ) ทำให้เกิดงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเนปาล ในขั้นแรก ได้ให้ทุนภิกษุ สามเณรเนปาลมาศึกษาพระพุทธศาสนาในไทย ที่วัดบวรนิเวศ ฯ
    พ.ศ. 2520 เสด็จไปบรรพชาชาวอินโดนีเซีย จำนวน 43 คน ที่เมืองสมารัง ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เถรวาทอินโดนีเซีย
    พ.ศ. 2528 ทรงเป็นประธานคณะสงฆ์ ไปประกอบพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถ วัดจาการ์ต้าธรรมจักรชัย ณ ประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นการผูกพันธสีมาอุโบสถวัดพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นครั้งแรกของประเทศอินโดนีเซีย และในปีเดียวกันนี้ ได้เสด็จไปเป็นประธานบรรพชา กุลบุตรศากย แห่งเนปาล จำนวน 73 คน ณ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
    พ.ศ. 2536 เสด็จไปเจริญศาสนาสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน เป็นครั้งแรก ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน
    พ.ศ. 2538 เสด็จไปเป็นประธาน วางศิลาฤกษ์วัดไทย ณ ลุมพินี ประเทศเนปาล ซึ่งรัฐบาลไทยจัดสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
    ด้านสาธารณูปการ
    ได้ทรงบูรณะซ่อมสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุอันเป็นสาธารณประโยชน์เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ
    ปูชนียสถาน ได้แก่ มณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง พระเจดีย์ วัดบวรนิเวศ ฯ พระบรมธาตุ เจดีย์ศรีนครินทรมหาสันติคีรี ดอยแม่สลอง
    พระอาราม ได้แก่ วัดสันติคีรี ดอยแม่สลอง เชียงราย วัดรัชดาภิเศก อำเภอบ่อพลอย กาญจนบุรี วัดล้านนาสังวราราม อำเภอจอมทอง เชียงใหม่ วัดพุมุด อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี วัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง ชลบุรี นอกจากนั้นยังทรงอุปถัมภ์วัดไทยในต่างประเทศอีกหลายแห่งคือ วัดพุทธรังสี นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย วัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร เมืองกิรติปูร เนปาล
    โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมัธยมญาณสังวร ยโสธร โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต กาญจนบุรี
    โรงพยาบาล ได้แก่ การสร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาล และตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต กาญจนบุรี โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม ชลบุรี และโรงพยาบาลสกลมหาสังฆปรินายก เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์ แด่สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ รวม 19 แห่ง ได้เริ่มก่อสร้างไปแล้วหลายแห่ง
    พระนิพนธ์

    ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก ทั้งที่เป็นตำรา พระธรรมเทศนา และทั่วไป พอประมวลได้ดังนี้
    ประเภทตำรา ทรงเรียบเรียงวากยสัมพันธ์ ภาค 1-2 สำหรับใช้เป็นหนังสือประกอบ การศึกษาของนักเรียนบาลี และทรงอำนวยการจัดทำ ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
    ประเภทพระธรรมเทศนา มีอยู่เป็นจำนวนมาก เท่าที่พิมพ์เป็นเล่มแล้วเช่น ปัญจคุณ 5 กัณฑ์ ทศพลญาณ 10 กัณฑ์ มงคลเทศนา โอวาทปาฎิโมข์ 3 กัณฑ์ สังฆคุณ 9 กัณฑ์ เป็นต้น
    ประเภทงานแปลเป็นภาษาต่างประเทศ ทรงริเริ่มและดำเนินการให้แปลตำราทางพุทธศาสนา จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการศึกษาพระพุทธศาสนา เช่น นวโกวาท วินัยมุข พุทธประวัติ ภิกขุปาติโมกข์ อุปสมบทวิธี และทำวัตรสวดมนต์ เป็นต้น
    ประเภททั่วไป มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นการนับถือพระพุทธศาสนา หลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านล้ำเลิศ 45 พรรษาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสั่งสอนอะไร (ไทย-อังกฤษ) วิธีปฎิบัติตนให้ถูกต้องทางธรรมะ พระพุทธศาสนากับสังคมไทย เรื่องกรรม ศีล (ไทย-อังกฤษ) แนวปฎิบัติในสติปัฎฐาน อาหุเณยโย อวิชชา สันโดษ หลักธรรมสำหรับการปฎิบัติอบรมจิต การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่ บัณฑิตกับโลกธรรม แนวความเชื่อ บวชดี บุพการี-กตัญญูกตเวที คำกลอนนิราศสังขาร และตำนาน วัดบวรนิเวศ เป็นต้น
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...