ประวัติและความเป็นมา ของจังหวัดเชียงราย

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย nemo413, 16 ตุลาคม 2019.

  1. nemo413

    nemo413 https://www.drivemate.asia

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2019
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    เชียงรายเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำกก จึงเป็นดินแดนที่มีผู้คนข้ามาตั้งหลักแหล่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีความรุ่งเรืองสืบต่อกันมาหลายยุคสมัย

    จากหลักฐานทางประวัติตาสตร์ที่กันพบในเขตที่ราบลุ่มรอบแม่น้ำกก สันนิษฐานได้ว่าบริเวณนี้เป็นศูนย์กลางของชุมชนมาแล้วตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 1800 เพราะมีร่องรอยของซากเมืองที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมและศิลปะอยู่ตามริมแม่น้ำกก ซากเมืองโบราณที่กันพบในปัจจุบันมีถึง 27 เมืองตั้งแค่ อ. ฝางของเชียงใหม่ซึ่งเป็นดันแม่น้ำกกมาจนถึงเมืองเชียงแสน โบราณสถานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำกกอย่างหนาแน่นและได้ขยายตัวสร้างบ้านแปงเมืองกันไม่ขาดสาย

    ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงรายเริ่มต้นในสมัยคันพุทธศตวรรษที่ 19 โดยพญามังราย หรือพ่อขุนเม็งรายมหาราช (พ.ศ. 1781-1860) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย บุตรของพญาลาวเม็ง ผู้ครองเมืองหิรัญนครเงินยาง (เชียงแสนในปัจจุบัน) ได้ขึ้นกรองราชย์แทนพญาลาวเม็งในปี พ.ศ. 1802 และได้ย้ายราชธานีจากเมืองหิรัญ-นครเงินยางมาสร้างราชธานีแห่งใหม่ที่ริมฝั่งแม่น้ำกกเมื่อ พ.ศ. 1805 และได้ขนานนามว่าเชียงราย อันหมายถึงเมืองของพญามังราย

    จากนั้นพญามังรายได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครือญาติสายเลือดลัวะจักราช เช่น เมืองเชียงไร เมืองไร เมืองป่ง เมืองเวียงคำ เชียงเงิน เชียงของ ฯลฯ เข้ามาไว้ในอำนาจ และแผ่อำนาจเข้าไปในเขตลุ่มน้ำปิง ปี พ.ศ. 1839 ทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ให้ชื่อราชธานีใหม่ว่านพบุรีศรีนครพิงค์-เชียงใหม่ และครองราชย์อยู่ที่ราชธานีใหม่แห่งนี้ โดยให้ราชโอรสไปครองเมืองเชียงรายแทนเชียงรายจึงกลายเป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่

    เมื่อพญามังรายสวรรคต อาณาจักรล้านนาอันมีเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีเกิดความแตกแยก เจ้าผู้ครองนครแก่งแย่งชิงอำนาจกันจนเกิดสงกรามกลางเมือง พระเจ้าบุเรงนองฉวยโอกาสเข้าตีอาณาจักรล้านนาจนสำเร็จ พม่าได้ปกกรองอาณาจักรล้านนาเป็นเวลากว่า 200 ปี และฟื้นฟูเมืองเชียงแสนขึ้นเป็นเมืองสำคัญในการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ

    ต้นพุทธศตวรรษที่ 24 สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พญากาวิละเป็นผู้มีบทบาทสูงในการเกลี้ยกล่อมให้บรรดาเมืองต่างๆ ในล้านนาร่วมมือกันต่อสู้กับพม่า แต่ยังไม่สำเร็จ กระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ทรงส่งกำลังมาสนับสนุนพญากาวิละต่อสู้กับพม่าจนเป็นผลสำเร็จ แล้วทรงสถาปนาให้เชียงใหม่เป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์ และแต่งตั้งพญากาวิละเป็นพระเจ้ากาวิละปกกรองเมืองเชียงใหม่

    ในปี พ.ศ. 2347 พระเจ้ากาวิละทรงยกทัพไปดีเมืองเชียงแสนและกวาดต้อนผู้คนออกจากบริเวณเมืองจนหมด เมืองต่างๆ รวมทั้งเชียงรายจึงถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2386 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 เชียงรายได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้งในฐานะเมืองบริวารของเชียงใหม่โดยมีเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าปกครองนคร

    ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินนโยบายสร้างความเป็นเอกภาพทางการเมือง ประกาศจัดตั้งมณฑลพายัพขึ้นในปี พ.ศ. 2427 และยกเลิกหัวเมืองประเทศราชล้านนาไทย เมืองเชียงรายจึงจัดเป็นเมืองหนึ่งซึ่งขึ้นตรงต่อมณฑลพายัพ ล่วงถึงสมัยรัชกาลที่ 6 การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลถูกยกเลิก เชียงรายจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดหนึ่งของสยามประเทศมานับแต่นั้น

    กลุ่มคนหลากหลายในเชียงราย

    พื้นที่ของ จ. เชียงรายมีกลุ่มชนหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ทั้งตามที่ราบและบนคอยสูง ซึ่งชนแค่ละกลุ่มมีศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมแตกต่างกันไปตามแต่วิถีดั้งเดิมที่บรรพบุรุษได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาสามารถจำแนกประชากรในเชียงรายเป็นชนชาติต่าง ๆ ได้ดังนี้

    คนเมือง เป็นกลุ่มชนใหญ่ที่สุด ในอดีตเรียกว่าไทยวนหรือลาวพุงคำ ผู้ชายมีรูปร่างโปร่งบางกว่าคนไทยภาคกลางเล็กน้อยส่วนผู้หญิงมีรูปร่าง ผิวพรรณ และหน้าตางดงาม ชาวไทยวนมีภาษาพูดต่างไปจากไทยภาคกลางเล็กน้อย และมีตัวหนังสือเฉพาะ แต่ปัจจุบันได้หันมาใช้ภาษาไทยกลางแทน อาศัยอยู่ในเรือนยกใต้ถุนสูง หน้าจั่วมีไม้ไขว้สลักลวดลายที่เรียกว่ากาแล ชาวไทยวนส่วนมากมีอาชีพทางการเกษตร แต่ก็มีฝีมือทางช่างและงานหัตถกรรมด้วย

    ㆍ ไทลื้อ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและตอนกลางของแขวงไชยบุรีในลาว

    ㆍ ไทเขิน เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำบินในรัฐฉานของผม แล้วอพยพเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณคอยแม่สลองชื่อไทเขินเพี้ยนมาจากไทขืนหรือไทบินนั่นเอง

    ㆍ ไทใหญ่ เรียกตัวเองว่าไต ส่วนคนเมืองเรียกว่าเงี้ยว และชาวพม่าเรียกว่าฉาน เพราะมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในรัฐฉาน ผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่กว่าคนไทยภาคกลาง ผู้หญิงมีผิวกล้ำกว่าชาวพม่า มีภาษาพูดแตกต่างจากคนเมืองและไทยภาคกลางเล็กน้อย แต่มีภาษาเขียนของตนเองชาวไทใหญ่ทำนา ทำไร่ และค้าขาย มีฝีมือทางหัตถกรรม ได้แก่ การหอผ้า การทำเครื่องปั้นดินเผา และงานแกะสลัก

    ㆍอีก้อ เรียกตัวเองว่าอาข่า รูปร่างเล็ก แต่แข็งแรงล่ำสันผิวสีน้ำตาลอ่อนหยาบกร้าน มีภาษาพูดคล้ายภาษามูเซอและลีซอ ไม่มีตัวอักษรใช้ ผู้หญิงนิยมไว้ผมยาว แต่รวบไว้แล้วใส่หมวกทับ สวมเครื่องประดับที่กอ ใส่เสื้อผ้าสีดำ ผู้ชายโกนหัวไว้ผมเปีย ชาวอาข่านิยมตั้งบ้านเรือนอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,200 ม. ขึ้นไปยังชีพด้วยการทำไร่เลื่อนลอย นับถือผี มีเสาชิงช้าและลานสาวกอดอยู่หน้าหมู่บ้าน

    ㆍมูเซอ เรียกตัวเองว่าลาหู่ มีรูปร่างสันทัด ผิวสีน้ำตาลอ่อนชอบกินหมาก มีภาษาพูดเฉพาะ แต่ไม่มีตัวอักษรใช้ แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ หลายกลุ่มตามลักษณ์การแต่กายของผู้หญิง ส่วนผู้ชายมูเซอไม่มีเครื่องแต่งกายประจำเผ่าแบผู้หญิง ชาวมูเซออาศัยบนภูเขาสูง ในบ้านยกพื้นสูง ยังชีพด้วยการทำไร่เลื่อนลอย เป็นชนเผ่าที่ชำนาญการล่าสัตว์เป็นอย่างมาก

    ㆍ เย้า เรียกตัวเองว่าเมี่ยน รูปร่างและผิวพรรณกล้ายคลึงกับคนจีนมาก ความสูงโดยเฉลี่ยจะเท่ากับคนไทยทั่วไป มีนิสัยขยันขันแข็งและทรหดอดทน มีภาษาพูดที่ใกล้เกียงกับภาษาแม้ว เพราะได้รับอิทธิพลมาจากภาษาจีนเช่นกัน ไม่มีตัวอักษรใช้ ต้องยืมอักษรจีนมาใช้เขียน โดยอ่านออกเสียงเป็นภาษาเย้า ชาวเย้ามักตั้งบ้านเรือนอยู่บนไหล่เขา ทำไร่ข้าวโพด ตีเหล็ก เย็บปักถักร้อย และทำเครื่องเงิน

    ㆍกะเหรี่ยง ผู้ชายรูปร่างสันทัดแข็งแรงล่ำสัน ช่วงขาใหญ่ ชาวกะเหรี่ยงแบ่งย่อยออกเป็นหลายเผ่า แต่ภาษามีความใกล้เคียงกัน สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ชาวกะเหรี่ยงมักตั้งบ้านเรือนแบบถาวร มีอาชีพทำนาและปลูกพืชไร่ มีทั้งที่ยังนับถือผีและหันมานับถือศาสนาพุทธหรือคริสต์

    ㆍลีซอ เป็นชนเผ่าที่มีสีผิวขาวกว่าเผ่าอื่น หน้าตากว้างกลม มีภาษาพูด แต่ไม่มีภาษาเขียน ผู้หญิงนิยมเกล้ามวยไว้ที่ท้ายทอย เมื่อมีงานพิธีจะโพกหัวและสวมห่วงเงินไว้ที่คอชาวลีซอนิยมตั้งบ้านเรือนในที่สูงกว่าอีก้อและมูเซอ ยังชีพด้วยการปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด และมีความชำนาญทางการล่าสัตว์

    ㆍแม้ว เรียกตัวเองว่าม้ง ท่าทางและลักษณะการพูดจะคล้ายคนจีน ผู้ชายก่อนข้างสูง ผู้หญิงรูปร่างสมส่วน ม้งไม่มีภาษาพูดที่แน่นอน ส่วนใหญ่ยืมภาษาอื่นมาใช้ บ้านม้งสร้างติดดินบนภูเขาสูงยึดอาชีพปลูกข้าไร่ ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ตีเครื่องเงิน และเย็บปักถักร้อยส่วนใหญ่นับถือผี แต่ก็มีบางส่วนหันมานับถือศาสนาพุทธและคริสต์

    ㆍ จีนฮ่อ เป็นกลุ่มชนชาวจีนที่เป็นอดีตทหารกองพล 93 ซึ่งหลบหนีการปราบปรามของจีนคอมมิวนิสต์ผ่านทางพม่าเข้ามายังประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2493-2499 มีวัฒนธรรมของตนเอง ใช้ภาษาจีนกลางและกวาง-คุ้ง ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่บนเขตพื้นที่ภูเขาของ จ. เชียงราย โดยเฉพาะบนคอยแม่สลองประกอบอาชีพหลักด้วยการทำการเกษตรและค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม และลัทธิขงจื๊อ



    “สุดยอด” ในเชียงราย

    ที่เที่ยว

    ย่านเทศบาลนครเชียงราย

    ตัวเมืองเชียงรายไม่ใหญ่มากนัก การจราจรไม่พลุกพล่าน มีถนนสายหลักถือ ถ. พหลโยธินเก่า(กางหลวงหมายเลข ) ซึ่งผ่านสถานีขนส่งและย่านไนท์บาซาร์ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญส่วนใหญ่เป็นวัดเก่าแก่เช่น วัดพระแก้ว วัดพระสิงห์ เป็นต้น

    หากเริ่มคันจากห้าแยกพ่อขุนฯ (อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช) เป็นศูนย์กลางสามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวก

    การเดินทางในตัวเมือง

    - รถสองแถว เป็นรถซูบารุสีฟ้า เขียนว่ารอบเวียง ไปตามจุดต่างๆ ในเมือง ค่าโดยสารตามระยะทาง

    - สามล้อถีบ จุดจอดมีอยู่หลายแห่ง เช่น ที่ห้าแยกพ่อขุนฯ, ตรงข้ามไปรษณีย์เชียงรายใกล้ตลาดเทศบาล ถ. อุตรกิจ, หน้าไนท์บาซ่าร์, หน้า รพ โอเวอร์บรู๊ค ถ. สิงหไคล, หน้าสำนักงานประปาเชียงราย

    - รถรางแอ่วเมือง ไม่เสียค่าบริการ วิ่งไปตามเส้นทางประวัติศาสตร์ หรือที่เรียกว่าเส้นทางเล่าขาน 9 ตำนานนครเชียงราย ผ่านอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายฯ อนุสาวรีย์สมเด็จพระปิยะมหาราช วัดพระสิงห์ วัดพระแก้ว วัดงำเมือง วัคพระธาตุคอยจอมทอง วัดมิ่งเมืองหอนาฬิกา และศาลพระพรหม รถรางมีวันละสองรอบ คือ เวลา 09.30 น. และ 13.30 น. ขึ้นรถได้ที่สถานีค้นทางถือหลังอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายฯ

    - ขี่จักรยาน ไม่เสียค่าบริการ ติดต่อที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบริเวณหลังอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายฯ


    อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช

    สักการะพ่อขุนเม็งราย

    บริเวณอนุสาวรีย์เป็นทางเข้าเมือง เรียกว่าห้าแยกพ่อขุนฯ ริม ถ. พหลโยธิน อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายฯ เป็นที่เคารพสักการะของชาวเชียงราย รอบอนุสาวรีย์จัดทำเป็นสวนดอกไม้อย่างสวยงาม มีร้านขายของที่ระลึกของเทศบาล

    ที่ตั้ง ริม ถ. พหลโยอินใจกลางเมืองเชียงราย บริเวณจุดตัดของ ถ. พหลโยธิน และทางหลวงหมายเลข 1232 (เชียงราย-เวียงชัย)

    รถยนต์ส่วนตัว จากสี่แยกแม่กรณ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1ผ่านแยกศรีทรายมูล ไปทางห้าแยกพ่อขุนฯ อนุสาวรีย์อยู่ทางซ้ายมือ

    สิ่งน่าสนใจ

    อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายฯ เป็นรูปหล่อโลหะสง 2 ม. ทรงยืนบนแท่นสูง พระหัตถ์ซ้ายทรงพระแสงดาบโดดเด่นเป็นสง่าริม ถ. พหลโยธินก่อนเข้าเมืองเชียงราย

    พ่อขุนเม็งรายเป็นกษัตริย์ผู้สร้างเมืองเชียงรายและเมืองเชียงใหม่ เป็นพระราชโอรสของพญาลาวเม็งแห่งราชวงศ์ลัวะจักราชซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ครองเมืองหิรัญนครเงินยาง (เมืองเชียงแสน) กับพระนาง อั้วมิ่งจอมเมืองหรือพระนางเทพคำข่าย เจ้าหญิงแห่งเวียงเชียงรุ้ง พระองค์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน เอกศก จุลศักราช 601 (ตรงกับ พ.ศ. 1782) เสด็จสวรรคตที่เมืองเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 1854 รวมพระชนมายุได้ 72 พรรษา พ่อขุนเม็งรายทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เม็งราย ได้ทรงรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา โดยมีเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองหลวง

    พิพิธภัณฑ์และศูนย์ศึกษาชาวเขา

    เรียนรู้วิถีชาวเขา

    - เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-18.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น.

    - ค่าเข้าชม 50 บาท

    - มีร้านอาหาร เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-24.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00-24.00 น.

    - โทร. 0-5374-0088 / http://www.pda.or. th/chiangrai/

    จัดตั้งขึ้นโดยสมาคมพัฒนาระชากรและชุมชนชาวเขา หรือ PDA (The Population & Community Development Association) ที่ทำงานค้านพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมให้การศึกษาแก่ชาวเขา การ

    จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มุ่งให้นักท่องเที่ยวได้ความรู้และเกิดความเข้าใจในวิถีชีวิตชาวเขามากขึ้น

    ที่ตั้ง ชั้น 3 ตึกพีดีเอ ถ. ธนาลัย อ. เมือง

    รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกพ่อขุนฯ ใช้ ถ. สิงหไคล ผ่านวัด กลางเวียง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้า ถ.รัตนาเขต จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตาม ถ. ธนาลัยอีกประมาณ 350 ม. พิพิธภัณฑ์อยู่ทางซ้ายมือ

    สิ่งน่าสนใจ

    -พิพิธภัณฑ์ชาวเขา จัดแสดงเกี่ยวกับชาวเขาหกเผ่าในภาคเหนือของไทย คือ ม้ง อาข่า ลาหู่ ลีซอ เย้า และกะเหรี่ยงแสดงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายประจำเผ่า เครื่องมือเครื่องใช้ที่ประยุกต์จากวัสดุธรรมชาติเช่นไม้ไผ่

    นอกจากนี้ยังมีการฉายสไลด์มัลติวิชันเรื่องราวของชาวเขา เป็นภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ประวัติความเป็นมาอันยาวนานกว่า 5,500 ปีของฝิ่นและการแพร่มายังเอเชียอาคเนย์

    ภายในพิพิธภัณฑ์ยังเป็นศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวและจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกจากชาวเขา เช่น ย่าม เสื้อผ้า เครื่องประดับ อีกด้วย

    วัดกลางเวียง

    นมัสการเสาหลักเมือง

    - โทร. 0-5371-3104

    เป็นวัดเก่าแก่อยู่กู่เมืองเชียงรายมาแต่โบราณ ภายในวัดมีศิลปกรรมล้านนาประยุกต์ปรากฏอยู่ในโบสถ์และหอไตร

    ที่ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองเชียงราย บริเวณสี่แยก ถ. อุตรกิจตัดกับ ถ. รัตนาเขต อ. เมือง

    รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกพ่อขุนฯ ไปตาม ถ. สิงหไคล เลี้ยวซ้ายเข้า ถ. รัตนาเขต ผ่าน สภ. เชียงรายไปประมาณ 200 ม. พบสี่แยก ผ่านสี่แยกไปพบวัดอยู่ทางขวามือ

    ประวัติ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1975 เดิมบริเวณวัดมีต้นจันทน์แดงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ต้นหนึ่งถือเป็นไม้มงคลใช้บูชาพระตามธรรมเนียมโบราณ ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่าจั๋นต๊ะโลกหรือวัดจันทน์โลก ต่อมาพบว่าวัดแห่งนี้อยู่ใจกลางเมืองพอดี จึงได้สถาปนาสะคือเวียงหรือเสาหลักเมืองขึ้น จึงได้ชื่อว่าวัดจันทน์โลกกลางเวียง ในปี พ.ศ. 2446 เกิดพายุใหญ่พัดคันจันทนแดงหักโค่นลงมา โบสถ์และวิหารพังทลายต้องบูรณะใหม่ ชื่อวัดจึงเหลือเพียงวัดกลางเวียง เพราะไม้จันทน์นั้นล้มลงแล้ว

    สิ่งน่าสนใจ

    -เสาหลักเมือง หรือสะดือเวียงซึ่งสร้างขึ้นใหม่แทนของเดิมที่ล้มไปนานแล้วนั้น ประดิษฐานอยู่ในมณฑปทรงฟักทองยอดแหลม ภายนอกมีรูปปั้นท้าวจตุโลกบาล ทำหน้าที่พิทักษ์สะดือเวียงตามกคิดวามเชื่อของชาวล้านนา ส่วนตำแหน่งที่เคยมีนจันทนแดงอยู่ ปัจจุบันทางวัดได้สร้างเจดีย์ขึ้น รอบฐานเจดีย์มีช้างทรงเครื่องยืนรายล้อมอยู่ เรียกว่าเจดีย์วัคช้างก้ำกลางเวียง ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร


    หอวัฒนธรรม

    ชมอาคารโบราณและรอยพิมพ์พระบาท

    - ต้องติดต่อล่วงหน้า โทร. 0-5371-1111, 0-5371-1420

    ชื่ออย่างเป็นทางการคือ หอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปลายปี พ.ศ. 2545 ดำเนินงานโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เพื่อรวบรวมประวัติศาสตร์วัฒนธรรมประเพณีของเมืองเชียงราย

    ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดหลังเดิม ถ. สิงหไคล อ. เมือง

    รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกพ่อขุนฯใช้ ถ. สิงห ไคล ตรงไปจนผ่าน สภ. เชียงราย หอวัฒนธรรมอยู่ทางซ้ายมือ ตรงข้ามกับสำนักงาน ททท.

    สิ่งน่าสนใจ

    -อาคารหอวัฒนธรรม เป็นอาการศาลากลางหลังเดิมสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม เป็นอาการสามชั้น สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2443 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ขณะพระพลอาษาเป็นข้าหลวงเมืองเชียงราย จุดเคนของตัวอาการคือ ทางเข้าค้านหน้าก่ออิฐถือปูนรูปอาร์กโค้ง หน้าอาคารมีพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5

    -ห้องจัดแสดง แบ่งเป็นห้องต่างๆ หกห้อง ภายในโถงชั้นล่างมีบอร์ดนิทรรศการ ห้องแรกจัดแสดงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใน จ. เชียงราย ที่สำคัญที่สุดคือ รอยพระบาทบนแบบพิมพ์ที่พระราชทานไว้เมื่อปี พ.ศ. 2525 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการยุติการต่อสู้ระหว่างรัฐกับคอมมิวนิสต์ในพื้นที่คอยยาวและคอยผาหม่น

    นอกจากนี้มีห้องประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงรายตั้งแต่ยุคดึกคำบรรพ์ จัดแสคงโบราณวัตถุ พระพุทธรูป พระพิมพ์ มีการจัดแสดงเครื่องแต่งกายของชนเผ่าใบลาน พับสา ตำรายา กฎหมายจารอักขระล้านนา รวมทั้งหุ่นจำลองทัศนียภาพมุมสูงของตัวเมืองเชียงราย เป็นบ้านเมืองริมแม่น้ำกก และกลุ่มชนต่างๆ ในเชียงรายภาษาและวรรณกรรม ห้องวัฒนธรรมห้าเชียง หมายถึง เชียงรายเชียงใหม่ เชียงตุง เชียงรุ้ง(สิบสองปั่นนา) และเชียงทอง (หลวง-พระบาง) ที่มีความสัมพันธ์ด้านการเมืองและเศรษฐกิจมานับแค่โบราณปัจจุบันมีการเชื่อมโยงห้าเชียงในด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว


    วัดพระสิงห์

    นมัสการรอยพระพุทธบาท ชมโบสถ์ลานนา

    - เปิดเวลา 08.00-17.30 น.

    - โทร. 0-5371-1735

    เป็นพระอารามหลวงเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองเชียงราย เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงอย่างสวยงามถวัลย์ ดัชนี ศิลปินมีชื่อชาวลันนาเป็นผู้ออกแบบและแกะสลักบานประตู

    ที่ตั้ง ถ. สิงหไคล ต. เวียง อ. เมือง

    รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกพ่อขุนฯ ใช้ ถ. สิงหไคล ไปจนผ่านหอวัฒนธรรม แล้วเลี้ยวชายตรงสามแยกข้างหอวัฒนธรรมไปตาม ถ. ท่าหลวงประมาณ 80 ม. ประตวัดพระสิงห์อยู่ทางขวามือ

    ประวัติ ตามตำนานกล่าวว่า เจ้ามหาพรหมเจ้าเมืองเชียงรายไปอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากเมืองกำแพงเพชรมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ตามพระบัญชาของพญากือนาแห่งเมืองเชียงใหม่

    ต่อมาเจ้ามหาพรหมได้ทูลขอพระพุทธสิหิงค์มาไว้ที่วัดพระสิงห์เพื่อทำพิธีหล่อจำลองขึ้นอีกองค์หนึ่ง แต่พญากือนาสวรรคตเสียก่อนเจ้าแสนเมืองมาได้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่แทน เจ้ามหาพรหมคิดจะชิงราชสมบัติจึงยกทัพจากเมืองเชียงรายไปตีเชียงใหม่ แต่เจ้าแสนเมืองมาสามารถป้องกันเมืองเชียงใหม่ไว้ได้ ทั้งยังยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้สำเร็จ จึงทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับคืนเชียงใหม่

    สิ่งน่าสนใจ

    -รอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานในมณฑปหน้าโบสถ์เป็นรอยพระพุทธบาทจำลองบนแผ่นศิลา กว้าง 5 นิ้ว ยาว 2 ฟุตมีอักษรขอมโบราณจารึกว่า กุศลาธมุมา อกุศลาธมุมา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพญามังราย

    -โบสถ์ มีอายุกว่าร้อยปี สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2432-2433 เป็นโบสถ์ไม้รูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนา สมัยเชียงแสน มีการบูรณะสองครั้ง คือ เมื่อ พ.ศ. 2504 โดยพระครูสิกขาลังการ และครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.

    2533 โดย ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินล้านนาผู้มีชื่อเสียงเป็นผู้ออกแบบและแกะสลักบานประตูโบสถ์เป็นเรื่องดิน น้ำ ลม ไฟ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน หน้าตักกว้าง 2.04 ม. สูง 2.84 ม.ภายในโบสถ์ยังประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์จำลอง สร้างจากสำริดปิดทองหน้าตักกว้าง 37 ซม. สูง 66 ซม. มีรูปปั้นสิงห์สองตัวยืนเฝ้าประตูโบสถ์


    วัดพระแก้ว

    ไหว้พระหยกเชียงราย ชมวัดโบราณ

    - เปิดเวลา 06.00-17.30 น.

    ภายในวัดมีศิลปกรรมแบบล้านนาประยุกต์ที่งดงาม ทั้งโบสถ์ หอพระหยก และยังมีจิตรกรรมฝาผนังภายในโบสถ์ให้ชมอีกด้วย

    ที่ตั้ง ถ. ไตรรัตน์ ต. เวียง อ. เมือง

    รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกพ่อขุนฯ ใช้ ถ. สิงหไคล ไปจนผ่าน สภ. เชียงราย รพ. โอเวอร์บรู๊ค ให้เลี้ยวซ้ายข้างโรงพยาบาลไปตาม ถ. ไตรรัตน์ประมาณ 100 ม. ทางข้าวัดอยู่ทางขวามือ

    ประวัติ เป็นวัดเก่าแก่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด เดิมชาวบ้านเรียกว่าวัคป่าเยียะ ซึ่งมีความหมายว่าวัดป่าไผ่ เพราะบริเวณวัดมีไผ่พันธุ์พื้นเมืองชนิดหนึ่งคล้ายไผ่สีสุก ไม่มีหนาม ชาวบ้านนิยมนำมาทำหน้าไม้และคันธนู ต่อมามีการคั้นพบพระแก้วมรกตหรือ

    พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่วัดนี้ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ)ชาวเมืองเชียงรายจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดพระแก้ว

    สิ่งน่าสนใจ

    ㆍ โบสถ์ เดิมเป็นวิหาร บูรณะขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2533 เป็นโบสถ์แบบล้านนา หลังคาช้อนหลายชั้น ทีหน้าบันประดับลายปูนปั้นและไม้แกะสลักที่อ่อนช้อยงดงาม ภายในมีสิ่งน่าสนใจ คือ

    - จิตรกรรมฝาผนัง เป็นผลงานของศิลปินหลายคน เป็นเรื่องตามตำนานพระแก้วมรกดที่อัญเชิญจากเกาะลังกา รอนแรมกลางทะเลมายังพุกาม แต่ถูกพายุพัดไปจนถึงเมืองกัมพูชา ภาพการอัญเชิญพระแก้วมรกตมายังเมืองอโยธยา กำแพงเพชร และเชียงราย ภาพประชาชนชาวเชียงรายจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่สมเด็จย่าในวโรกาสเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา เมื่อ พ.ศ. 2533

    - พระเจ้าล้านทอง เป็นพระประธานในโบสถ์ สร้างด้วยสำริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2 ม. สูง 2.8 ม. เดิมประดิษฐานที่วัดล้านทองซึ่งเป็นวัดเก่าร้าง ชาวบ้านอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดดอย-งำเมือง ก่อนจะมาประดิษฐานที่วัดพระแก้ว เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2504

    ㆍเจดีย์ เป็นเจดีย์โบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใดมีสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ทาสีทองฐานแปดเหลี่ยม เหนือฐานเป็นบัวคว่ำบัวหงาย หน้ากระดานช้อนสามชั้น และลดหลั่นขึ้นไปอีกหลายชั้นจนถึงองค์ระฆัง ส่วนเหนือองค์ระฆังที่เป็นปล้องไฉนช้อนลดหลั่นขึ้นไปอีกเก้าชั้นจนถึงปลียอด เป็นสถานที่ค้นพบพระแก้วมรกตเมื่อ พ.ศ. 1977

    ㆍหอพระหยก (หอพระแก้ว) อยู่ด้านตะวันตกของโบสถ์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2533 เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระหยกเชียงรายเป็นอาการไม้ทรงมณฑป กว้าง 8 ม. ยาว 12 ม. ประดับไม้แกะสลักสีทอง ศิลปะล้านนาประยุกต์ หอพระหยกนี้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนเริ่มสร้าง

    พระหยกเชียงรายที่ประดิษฐานอยู่ภายในนั้น เป็นพระพุทธรูปหยกที่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวเชียงรายร่วมกันสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนกรินทราบรมราชชนนีเจริญพระชนมายุ 90 พรรษ เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2533 พระองค์พระราชทานนามพระพุทธรูปหยกองค์นี้ว่า "พระพุทธรัตนากรนวุติวัสสานุสรณ์มงคล"อันมีความหมายว่าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นอากรแห่งรัตนะ และโปรดเกล้าฯ ให้เรียกนามสามัญว่า "พระหยกเชียงราย" โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ โบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    พระหยกเชียงรายสร้างด้วยหยกจากแคนาดา แกะสลักโดยโรงงานวาลินนานูก กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ขนาดหน้าตักกว้าง 47.9 ชม. สูง 65.9 ชม. ชาวเมืองเชียงรายได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดนี้


    ㆍพิพิธภัณฑ์

    - เปิดวันศุกร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น.

    เป็นอาการไม้สองชั้นชื่อ "อาการแสงแก้ว" เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศรีเชียงราย พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน ด้านข้างมีตงซึ่งแกะสลักจากไม้เป็นรูปพญานาก ส่วนบนเป็นรูปหงส์ ด้านหน้ามีขันดอก ขันแก้ว และสัตภัณฑ์ (งานศิลปะทางภาคเหนืออย่างหนึ่งใช้จุดเทียนบูชา) แกะสลักเป็นรูปนาคพันกัน

    นอกจากนี้ยังมีตู้พระไตรปิฎก ธรรมาสน์ เครื่องอัฐบริขารของสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรในกรุงเทพฯซึ่งเป็นชาวเชียงราย

    ชั้นบนจัดแสดงพระพุทธรูปโบราณศิลปะล้านนา พม่า ไทลื้อทั้งที่แกะสลักจากไม้ หยก และสร้างด้วยสำริด


    วัคงำเมือง

    นมัสการพ่อขุนเม็งราย

    - เปิดเวลา 08.00-16.00 น.

    เป็นวัดสำคัญที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยเชียงแสน และเป็นที่ประดิษฐานกู่หรือที่เก็บพระอัฐของพ่อขุนเม็งราย ผู้สถาปนาอาณาจักรลันนา

    ที่ตั้ง อยู่ด้านหลังวัคพระแก้ว อ. เมือง

    รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกพ่อขุนฯใช้ ถ. สิงหไคลไปจนผ่าน สำนักงาน ททท. รพ. โอเวอร์บรู๊ค แล้วเลี้ยวขวาเข้า ถ. ไกรสรสิทธิ์ จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้า ถ. ดอยทอง แล้วเลี้ยวซ้ายอีกครั้งที่ประตูขะต๊ำ วัดอยู่ทางขวามือ

    ประวัติ แต่เติมบนคอยงำเมืองมีเพียงกู่บรรจุพระอัฐิของพ่อขุน-เม็งรายเท่านั้น ยังมิได้เป็นวัดแต่อย่างใด กระทั่งเมื่อปี พ,ศ. 2032 พญาศรรัชฎาเงินกองทรงสร้างวัดขึ้นและให้ชื่อว่าวัคงำเมือง ต่อมา

    มีการบูรณะเพิ่มเติมอีกครั้งโดยเจ้าฟ้ายอดงำเมือง ผู้เป็นโอรสซึ่งครองนครเชียงแสน โดยสร้างวิหารและเสนาสนะขึ้นในปี พ.ศ. 2220 หลังจากนั้นวัดงำเมืองก็ชำรุดทรุดโทรมลงเพราะขาดการทำนุบำรุงกลายเป็นวัดร้างมานาน จนถึง พ.ศ. 2495 จึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่

    สิ่งน่าสนใจ

    ㆍสถูปหรือกู่พ่อขุนเม็งราย เป็นที่บรรจุพระอัฐิของพ่อขุนเม็งราย ซึ่งเจ้าขุนครามหรือพญา

    ไชสงครามโอรสของพ่อขุนเม็งรายได้อัญเชิญมาบรรจุในสถูปและประดิษฐานไว้ ณ คอยแห่งนี้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ต่อมาสถูปพังทลายลงเหลือแค่ฐานศิลาแลงกว้าง 8 ม.

    ด้านหน้าสถูปมือนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายฯ ฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์ ประทับโดยมีดาบวางบนพระเพลา ภายใต้ร่มเศวตฉัตรที่แกะสลักอย่างสวยงาม


    วัดพระธาตุดอยจอมทอง

    นมัสการพระธาตุเก่าแก่และเสาสะดือเมือง 108 หลัก

    - เปิดเวลา 06.00-18.00 น.

    - โทร. 0-5371-6055

    ปูชนียสถานสำคัญของเชียงรายที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดคอยจอมทองตั้งอยู่บนคอยจอมทองที่สามารถมองลงมาเห็นตัวเมืองเชียงรายได้อย่างชัดเจน ตามตำนานระบุว่าเป็นวัดเก่าแก่ก่อนที่พญามังรายจะมาตั้งเมืองเชียงรายเมื่อ พ.ศ. 1805 โดยพระองค์ทรงกำหนดให้คอยจอมทองเป็นสะคือเมืองหรือใจกลางเมือง

    ที่ตั้ง ตั้งอยู่บนคอยจอมทอง บ้านคอยจอมทอง ต. เวียง อ.เมือง

    รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกพ่อขุนฯ ใช้ ถ. สิงหไคล ไปจนผ่าน รพ. โอเวอร์บรู๊ค แล้วเลี้ยวขวาเข้า ถ. ไกรสรสิทธิ์ จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้า ถ. คอยทองวัดอยู่ทางขวามือ



    สิ่งน่าสนใจ

    ㆍพระธาตุดอยจอมทอง ตามพงศาวดารโยนกกล่าวว่า พระธาตุนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1483 ในสมัยพญาเรือนแก้วผู้กรองนครไชยนารายณ์ (ปัจจุบันคือบริเวณ อ. เวียงชัย) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระเจ้าพังคราชแห่งนครโยนกนากพันธุ์ทรงอัญเชิญมาโดยแยกกันไปประดิษฐานไว้สามที่ คือวัดพระธาตุจอมกิตติ วัคพระธาตุคอยตุงและวัดพระธาตุคอยจอมทอง

    ต่อมาในปี พ.ศ. 1805 เมื่อพญามังรายสร้างเมืองเชียงรายขึ้นได้ทรงบูรณะพระธาตุคอยจอมทองที่พังลงเพราะแผ่นดินไหว ควบคู่กับการสร้างเมือง องค์พระธาตุเป็นเจดีย์แบบล้านนา หุ้มแผ่นทองจังโกทั้งองก์ สูงประมาณ 20 ม. ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมช้อนลดหลั่นขึ้นไปห้าชั้น

    ㆍเสาสะดือเมือง 108 หลัก ตั้งอยู่บนรูปแบบสมมุติของจักรวาลตามคติที่มีมาแต่โบราณ ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออก ลานรอบนอกหมายถึงแผ่นดิน ล้อมรอบด้วยกูน้ำอันเปรียบได้กับน้ำมหานทีสีทันคร รอบในยกขึ้นเป็นหกชั้นหมายถึงสวรรค์ทั้งหกของกามภูมิ แล้วยกขึ้นอีกสามชั้นซึ่งหมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และชั้นบนสุดเปรียบได้กับนิพพาน

    สำหรับตัวเสาสะคือเมืองเป็นคั่งเขาพระสุเมรุ ตั้งอยู่บนฐานสามเหลี่ยม หมายถึงตรีกูฏบรรพหรือผาสามเส้า ล้อมด้วยเสา108 ต้น อันหมายถึงสิ่งสำคัญในจักรวาลและล้อมรอบอีกชั้นด้วยร่องน้ำห้าร่องซึ่งเปรียบเป็นปัญจมหานทีลดหลั่นเป็นชั้นไหลลงสู่พื้นดิน

    ตามคติโบราณของล้านนา เสาสะคือเมืองจะใหญ่เท่าห้ากำมือและสูงเท่ากับความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน โคนเสาสะคือเมืองนี้จึงใหญ่เท่ากับห้าพระหัตถ์คำ และเสาสูงเท่กับส่วนสูงแห่งพระวรกายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์เสด็จฯ มาเจิมเสาสะคือเมืองนี้เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2531 ชาวเชียงรายมีความเการพศรัทธาเสาสะดือเมืองนี้มาก นิยมมาสรงน้ำเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวเมืองและเชื่อว่าน้ำที่สรงเสาสะคือเมืองแล้วเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์

    วัดมิ่งเมือง (วัดช้างมูบ)

    ชมความงามของศิลปะล้านนาผสมไทใหญ่

    - โทร. 0-5371-3704, 0-5371-6960, 08-1746-3353

    เป็นวัดขนาดเล็กในตัวเมือง เดิมชื่อวัดช้างมูบ สันนิษฐานว่า เมื่อครั้งมีการอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงรายไปยังเชียงใหม่ ช้างทรงของพระแก้วมรกตได้หมอบคอยอยู่ที่หน้าวัดแห่งนี้ จึงเป็นที่มาของชื่อวัดที่ต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดมิ่งเมือง ชาวไทใหญ่บูรณะเมื่อ พ.ศ.2420 และเคยมีเจ้าอาวาสเป็นชาวไทใหญ่ ดังนั้นศิลปะของวัดนี้จึงผสมผสานระหว่างล้านนาและไทใหญ่

    ที่ตั้ง ถ. ไตรรัตน์ ต. เวียง อ. เมือง

    รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกพ่อขุนฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1ด้านหน้าอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายฯ ทางที่จะไปสี่แยกแม่กรณ์ แต่ชิดขวาบริเวณกำแพงเมือง แล้วเลี้ยวขวาเข้า ถ. พหลโยธินสายเก่า

    ผ่านวัดศรีเกิดแยกหอนาฬิกาวัดอยู่ทางขวามือ เยื้องโรงแรมแสนภู

    สิ่งน่าสนใจ

    ㆍวิหาร ศิลปะไทใหญ่ผสมล้านนา ผนังด้านในกรุด้วยไม้แกะสลักประคับกระจกสี มีรูปช้างหมอบ ฝ้าเพดานเป็นลวดลายอันวิจิตรภายในประดิษฐานหลวงพ่อพระศรีมิ่งเมือง

    พระประธานปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน ยอดพระเกตุโมผีสลักจกแก้วโป้งข่ามเป็นรูปดอกบัว

    ㆍพระธาตุมิ่งเมือง เป็นเจดีย์ขนาดเล็กก่ออิฐถือปูน มีเจดีย์บริวารทั้งสี่มุมทาสีขาวทั้งองค์ เดิมเป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่า ต่อมามีการบูรณปฏิสังขรณ์ เปลี่ยนมาเป็นเจดีย์ศิลปะล้านนา

    ㆍสถาปัตยกรรมบ่อน้ำ มีการสร้างหลังคาเป็นชมโขงประดับด้วยปูนปั้นรูปช้างหมอบ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ในสมัยโบราณชาวบ้านใช้ประโยชน์จากบ่อน้ำแห่งนี้เพราะตั้งอยู่ชานเมือง เป็นที่แวะพักก่อนเข้าออกเมือง


    ที่เที่ยว

    ย่าน อ. เมือง

    ย่าน อ. เมืองมีที่เที่ยวที่เป็นที่รู้จักหลายแห่ง เช่น ไร่แม่ฟ้าหลวง วัดร่องขุ่น นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์บ้านคำของ ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินเลื่องชื่อของเมืองไทย ในเส้นทางนี้ยังมีโรงผลิตเซรามิกที่ดอยดินแดงของ สมลักษณ์ ปัติบุญ อีกด้วย

    การท่องเที่ยวตามลำน้ำกกก็เป็นไฮไลต์ของเส้นทางนี้ หรือจะขับรถไปตามเส้นทางเลียบลำน้ำกกก็ได้ เป็นเส้นทางฟากหนึ่งผ่านบ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม อีกฟากเป็นเส้นทางไปยังบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร


    นั่งเรือเที่ยวลำน้ำกก

    ชมทิวทัศน์แม่น้ำกก

    - ควรเตรียมอุปกรณ์กันแดดไปด้วย

    - ติดต่อเช่าเรือ โทร. 0-5375-0009

    ลงเรือเที่ยวลำน้ำกกเป็นหนึ่งในกิจกรรมขึ้นชื่อของ จ. เชียงราย เส้นทางเรือเริ่มจากเชียงราย

    ไปบ้านท่าตอน อ. แม่อาย จ.เชียงใหม่ เป็นการแล่นเรือทวนสายน้ำ จึงใช้เวลามากกว่าการล่องเรือจากบ้านท่าตอนมา จ. เชียงราย แต่จุดท่องเที่ยวเด่นๆ อยู่ในเขต อ. เมืองเชียงรายเป็นส่วนใหญ่ (สำหรับการล่องแพต้องล่องจากบ้านท่าตอนมายัง จ. เชียงรายเท่านั้น)

    แม่น้ำกกเป็นแม่น้ำสายหลักของเชียงราย ต้นน้ำเกิดจากเขาทางด้านเหนือของเมืองกกในรัฐเชียงตุงของพม่า ไหลเข้าเขตประเทศไทยที่ช่องน้ำแม่กกใน ต. ท่าตอน อ. แม่อาย จ. เชียงใหม่จากนั้นไหลเข้า อ. แม่จัน จ. เชียงราย ผ่าน อ. เชียงแสนแล้วไปลงแม่น้ำโขงที่บ้านสบกก ต. ปาสัก อ. เชียงแสน แม่น้ำกกช่วงที่อยู่ในประเทศไทยยาว 110 กม. ฤดูหนาวระคับน้ำในแม่น้ำกกกำลังเหมาะแก่การล่องเรือ ธรรมชาติสองฝั่งน้ำสวยงาม ส่วนช่วงเดือน-เม.ย. แม่น้ำตื้นเขินจึงอาจไม่มีเรือวิ่ง

    ที่ตั้ง ท่าเรืออยู่ที่สะพานแม่ฟ้าหลวง บ้านน้ำลัด ด. ริมกก อ. เมือง

    รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกพ่อขุนฯใช้ ถ. สิงหไคลไปจนถึงสามแยกรพ. โอเวอร์บรู๊ค เลี้ยวขวาไปตาม ถ. ไกรสรสิทธิ์ แล้วเลี้ยวขวาอีกครั้งไปตาม ถ. แม่ฟ้าหลวง เมื่อข้ามสะพานแม่ฟ้าหลวงไปจะพบท่าเรืออยู่บริเวณเชิงสะพานค้านขวามือ

    สิ่งน่าสนใจ

    สองฝั่งแม่น้ำกกมีทิวทัศน์สวยงาม และระหว่างทางยังสามารถแวะชมหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ได้ เช่น บ้านแม่สลัก (เขตแดนเชียงใหม่-เชียงราย) บ้านใหม่ (หมู่บ้านไทใหญ่) บ้านเมืองงาม(หมู่บ้านกะเหรี่ยง) บ้านจะคือ (หมู่บนมูเซอ) บ้านผามูบใหม่ (บ้านมูเซอใหม่) บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตรซึ่งเป็นจุดนั่งช้างเที่ยวปาและน้ำตกห้วยแม่ซ้าย

    มีเรือโดยสารวิ่งประจำทางระหว่างเชียงราย-ท่าตอน (เชียงใหม่)วันละหนึ่งเที่ยว ออกเวลา 10.30น. สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเช่าเหมาลำ(เรือหางยาว นั่งได้ลำละหกคน) อัตราค่าเช่าตามระยะทางตั้งแต่ 600-2,000 บาท

    พิพิธภัณฑ์อูบคำ

    ชมบัลลังก์เจ้าฟ้าเมืองไต ผ้า และเครื่องเงินโบราณ

    - เปิดเวลา 08.00-17.00 น.

    - ค่าเข้าชม คนไทย ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 200 บาท (ถ้า 20 คนขึ้นไป คนละ100 บาท) ชาวต่างชาติผู้ใหญ่ -300 บาท เด็ก 30 บาท (ถ้า 20 คนขึ้นไป คนละ150 บาท)

    - โทร. 0-5371-3349, 08-1992-0342 / hilp://www.oubkhammuseum.com

    เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กของเอกชน จัดแสดงศิลปวัตถุโบราณที่นั้นเกี่ยวกับชาวไตอันเป็นรากเหง้าของชาวล้านนาในปัจจุบัน ภายในพิพิธภัณฑ์มีผ้าทอเลียนแบบผ้าหอโบราณ ฝีมือประณีต เป็นอีกแหล่งที่สะสมโบราณวัตถุหายาก

    ที่ตั้ง ถ. หน้าค่าย ต. รอบเวียง อ. เมือง ติดกับตลาดเด่นห้า

    รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกผ่อนฯใช้ ถ. สิงหไคล แล้วเลี้ยวซ้ายเข้า ถ. รัตนาเขต ถึงสี่แยกที่ 2 ให้เลี้ยวขวาเข้า ถ. ธนาลัย ตรงไปจนถึงสี่แยกเด่นห้าแล้วเลี้ยวขวา พิพิธภัณฑ์อยู่ทางขวามือ

    ประวัติ อาจารย์จุลศักดิ์ สุริยะไชย ซึ่งเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์มีความสนใจเรื่องศิลปวัฒนธรรมของล้านนา จึงสะสมเครื่องเงิน เครื่องเขิน ผ้าโบราณ โดยเฉพาะเครื่องใช้ต่างๆ ของบรรดาเจ้าฟ้า เจ้านางในราชสำนักทางเหนือ เพราะไม่ต้องการให้สิ่งมีค่าเหล่านี้ตกอยู่ในมือคนต่างชาติ ใช้เวลาสะสมนานกว่า 20 ปีจึงเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์

    ชื่อ "อูบคำ" มาจากภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ขัดจนเรียบลงรักปิดทอง เป็นภาชนะหรือสำรับใส่เครื่องเสวยของกษัตริย์ล้านนาและพระสงฆ์

    สิ่งน่าสนใจ

    อาคารพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็นคุ้มต่างๆ สามคุ้มติดกัน เก็บโบราณวัตถุแยกตามชนิด ได้แก่

    - คุ้มเจ้าฟ้า จัดแสดงเครื่องเงินนับพันชิ้นของชนเผ่าไดในล้านนา เครื่องเขินเครื่องใช้ในราชสำนักของเจ้าเมือง โบราณวัตถุชิ้นสำคัญคือบัลลังก์เจ้าฟ้าเมืองไต เป็นไม้แกะสลักอย่างอ่อนช้อยสวยงาม ปิดทองเหลืองอร่าม อายุกว่า 300 ปี เจ้าของพิพิธภัณฑ์ระบุว่าเป็นเพียงชิ้นเคียวในโลกที่มีสภาพสมบูรณ์

    - คุ้มบัวเลื่อน จัดแสดงฉลองพระองค์ไหมคำของเจ้าฟ้าล้านนาหอขึ้นจากไหมและเส้นทองคำ เป็นลวดลายโบราณที่งดงาม น้ำหนักรวมกว่า 2 กก.

    - คุ้มอูบคำ เก็บรักษาพระพุทธรูปโบราณศิลปะเชียงแสนอายุนับพันปี พระพุทธรูปหยกขาวทรงเครื่องทองคำ เครื่องประดับเงินโบราณ และอูบคำเครื่องใช้ของกษัตริย์ล้านนาจำนวนหลายสิบชิ้นนอกจากนี้ยังมีถ้ำทองคำ เป็นถ้ำหาสีทอง เปิดไฟสว่าง ภายในจัดแสดงพระพุทธรูปและโบราณวัตถุ


    หาดเชียงราย

    ปีกนิกริมน้ำกก

    - มีร้านอาหารและห้องน้ำ

    หาดทรายริมแม่น้ำกกใกล้ตัวเมืองเชียงรายเป็นที่ที่ชาวเชียงรายนิยมมานั่งพักผ่อนในช่วงแดดร่มลมตก ปกติไม่นิยมลงเล่นน้ำเพราะน้ำค่อนข้างขุ่นและไหลเชี่ยว ยกเว้นในเทศกาลสงกรานต์ ตลอดแนวริมลำน้ำมีร้านอาหารเรียงรายนับสิบร้าน สนนราคาไม่แพงเกินไป สามารถเช่าเสื่อนั่งเล่นริมน้ำได้ แต่ถ้าสั่งอาหารไม่ต้องเสียค่าเช่าเสื่อ

    ที่ตั้ง ต. ฮ่องลี่ อ. เมือง ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 3 กม.

    รถยนต์ส่วนตัว จากสี่แยกเด่นห้า ใช้ ถ. หน้าค่ายตรงไปทางแม่น้ำกก ถนนเลียบหาดเชียงรายอยู่ทางขวามือ มีร้านค้าเรียงราย

    สิ่งน่าสนใจ

    เป็นหาดทรายริมลำน้ำกก ฝั่งตรงข้ามเป็นเทือกเขาหินปูนทิวทัศน์สวยงาม เหมาะสำหรับปิกนิกยามเย็น มีเรือนำนักท่องเที่ยวต่างชาติแล่นผ่านเป็นระยะ บรรยากาศจะคึกคักเป็นพิเศษในช่วงฤดูร้อน ชาวบ้านนิยมพาบุตรหลานมาเล่นน้ำและนำอาหารมากินริมน้ำ


    ไร่แม่ฟ้าหลวง

    สัมผัสสถาปัตยกรรมล้านนา

    - เปิดเวลา 08.30-17.00 น. ปิดวันจันทร์

    - ค่าเข้าชม คนไทย 100 บาท คนเชียงรายที่พกบัตรประชาชน 50 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท

    - โทร. 0-5371-1968 / htlp://www.maefahluang.org

    มีพื้นที่กว้างขวางถึง 150 ไร่ บรรยากาศสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมล้านนาอันทรงคุณค่า ท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้นานาพรรณ เป็นพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือแม่ฟ้าหลวงที่พระองค์ทรงเลือก จ. เชียงรายเป็นสถานที่ประทับและทรงงาน ไร่แม่ฟ้าหลวงอยู่ในความดูแลของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

    ที่ตั้ง บ้านป่างิ้ว ต. รอบเวียง อ. เมือง

    รถยนต์ส่วนตัว จากสี่แยกเด่นห้าใช้ ถ. หน้าค่าย ผ่านค่ายเม็งราย ไปจนถึงบ้านฮ่องลี่ เลี้ยวซ้ายแล้วเลี้ยวขวาเข้า ถ. ป่างิ้วไปประมาณ 1 กม. ไร่แม่ฟ้าหลวงอยู่ทางซ้ายมือ

    สิ่งน่าสนใจ

    ㆍหอคำ ชาวเชียงรายร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่แม่ฟ้าหลวงเนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษาเมื่อปี พ.ศ. 2527 เป็นสถาปัตยกรรมล้านนาฝีมือช่างไม้พื้นบ้านใน จ. เชียงราย และ จ.แพร่ ภายในหอคำเป็นที่เก็บรวบรวมศิลปวัตถุและงานพุทธศิลป์ มีทั้งพระพุทธรูปล้านนา พระพุทธรูปพม่า และเครื่องไม้แกะสลักที่ใช้ในการพระศาสนาเช่นสัตภัณฑ์ (เชิงเทียนไม้เก่าแก่) ตุงกระด้าง (ตุงหรือธงไม้) ขันดอก (ภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ) เป็นต้น

    บรรยากาศภายในหอคำศักดิ์สิทธิ์และขรึมขลัง เพราะไม่เปิดไฟฟ้า ใช้แสงธรรมชาติ พระพุทธรูปองค์สำคัญในหอคำคือพระพร้าโต้ซึ่งมีจารึกว่าสร้างในปี พ.ศ. 2236 โดยชาวบ้านซึ่งเพิ่งย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่ ยังไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสมในการสลักเสลาพระพุทธรูปไม้ให้ประณีต จึงใช้เพียงมีดโต้เป็นเครื่องมือแกะสลัก พระพุทธรูปมีลักษณะแข็งแรงและสง่างาม

    ㆍหอคำน้อย อาการศิลาแลง หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ดไม้สักเป็นที่เก็บจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีฝุ่นบนกระดานไม้สัก สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในช่วงคันรัชกาลที่5แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยช่างเขียนชาวไทลื้อ ภาพแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ การแต่งกาย และวัฒนธรรมล้านนาเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว

    ㆍหอแก้ว จากหอคำน้อย เมื่อเดินผ่านป่าสมุนไพรไปทางทิศใต้จะพบอาการหลังใหญ่ถือหอแก้วซึ่งแบ่งพื้นที่เป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งใช้เป็นที่ทำกิจกรรม เช่น การประชุมสัมมนา จัดเลี้ยง ฯลฯ มีระเบียงยื่นลงไปในสระน้ำกว้างใหญ่ อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการ ทั้งนิทรรศการหมุนเวียนและนิกรการถาวรซึ่งเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับไม้สัก ทั้งในด้านพฤกษศาสตร์และด้านที่เป็นวัสดุอันเลื่องชื่อสำหรับสร้างสรรค์งานศิลปะ


    บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม บ่อน้ำร้อนผาเสริฐ

    แช่น้ำร้อนริมน้ำกก

    - มีบ้านพักติดแม่น้ำกกจำนวนสามหลัง และที่กางเต็นท์

    - ติดต่อที่ อช. ลำน้ำกก โทร. 08-1883-5407

    บ่อน้ำร้อนริมแม่น้ำกกปัจจุบันเป็นที่ตั้งของที่ทำการ อช. ลำน้ำกก เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวที่ล่องเรือตามลำน้ำกกมานาน มีทิวทัศน์สวยงามร่มรื่น ในช่วงฤดูหนาวมีโปรแกรมขี่ช้างเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวจะได้ขี่ช้างข้ามลำน้ำกกไปยังบ่อน้ำร้อน

    ที่ตั้ง ต. ดอยฮาง อ. เมือง ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 23 กม.

    รถยนต์ส่วนตัว จากสี่แยกเด่นห้าใช้ ถ. หน้าค่ายไปจนถึงบ้านฮ่องลี่ เลี้ยวซ้ายแล้วเลี้ยวขวาเข้า ถ. ป่างิ้ว ผ่านไร่แม่ฟ้าหลวง บ้านดอยฮาง สภาพทางเป็นถนนลาดยางลัดเลาะขึ้นเขาขนานไปกับลำน้ำกกเมื่อถึงบ้านผาเสริฐให้ตรงไปตามทางไป อช. ลำน้ำกกอีก 2 กม.

    เรือหางยาว ใช้บริการเรือหางยาวได้ที่ท่าเรือเชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง ระยะทาง 800 ม. ค่าบริการ 800 บาท (นั่งได้ 8 คน)

    สิ่งน่าสนใจ

    ㆍ บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม อยู่ริมฝั่งแม่น้ำกกที่ไหลผ่านแก่งหิน ฝั่งตรงข้ามเป็นภูเขาสูง บริเวณบ่อน้ำร้อนมีดันไม้ใหญ่ขึ้นร่มครึ้มตอนเช้าไอร้อนจากบ่อน้ำร้อนทำให้เกิดไอหมอกลอยปกคลุมไปทั่วบริเวณ บรรยากาศสวยงาม

    บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยมเป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติรูปวงรี ขนาดกว้างประมาณ 5-10 ม. ยาว 20 ม. มีน้ำร้อนผุดขึ้นมาช้าๆ จากนั้นจะไหลไปตามห้วยเล็กๆ สู่บ่อซีเมนต์ที่ทำไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวลงไปแช่ น้ำร้อนมีอุณหภูมิ 67 องศาเซลเชียสมีแร่ฟลูออไรด์ ไนเตรตซัลเฟต ไอโอดีน ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย

    ㆍบ่อน้ำร้อนผาเสริฐ อยู่ใกล้บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม แต่อยู่ในความดูแลของ อบต. ดอยฮาง นักท่องเที่ยวนิยมอาบน้ำร้อนที่นี้เพราะมีทั้งแบบสระว่ายน้ำและแบบแบ่งเป็นห้องอาบ ค่าบริการ 30 บาท




    วัดร่องขุ่น

    ชมผลงานศิลปินชื่อดัง เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

    - เปิดเวลา 06.30-18.00 น.

    - โทร. 0-5367-3579, 0-5367-3967-8

    วัดร่องขุ่นเป็นวัดในบนเกิดของ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินชื่อดังของเมืองไทยซึ่งได้ปวารณาตนเข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ที่เคยทรุดโทรมให้กลับมีชีวิตชีวา ศิลปกรรมภายในวัดเป็นศิลปะร่วมสมัยอันโดดเด่นด้วยลายปูนปั้นประดับกระจก แตกต่างจากวัดโดยทั่วไป กลายเป็นต้นแบบให้วัดอีกหลายแห่ง

    วัดร่องขุ่นเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติซึ่งหลั่งไหลไปชมความงามกันไม่ขาดสาย สร้างความเจริญให้ชุมชนรอบข้าง

    ที่ตั้ง บ้านร่องขุ่น ต. ป้าอ้อดอนชัย อ. เมือง ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 13 กม.

    รถยนต์ส่วนตัว จากตัวเมืองเชียงรายใช้ทางหลวงหมายเลข 1 มุ่งหน้าไปทาง อ. แม่สรวย ผ่านสี่แยกแม่กรณ์ไปประมาณ 9 กม. พบทางแยกขวาไปน้ำตกขุนกรณ์ (ทางหลวงหมายเลข 1208) ให้เลี้ยวเข้าไป 100 ม. วัดอยู่ทางซ้ายมือ

    ประวัติ พ.ศ. 2430 มีชาวบ้านเข้ามาอยู่อาศัยบริเวณลำธารที่ไหลลงสู่แม่น้ำแม่ลาวซึ่งมีสีขุ่น จึงเรียกกันติดปากว่า "บ้านฮ่องขุ่น" หรือบ้านร่องขุ่น ต่อมาชาวบ้านสร้างวัดร่องขุ่นเพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนา ณ ริมฝั่งน้ำแม่ลาวด้านทิศตะวันออก แต่แม่น้ำได้เซาะตลิ่ง ชาวบ้านจึงย้ายวัดมาตั้งอยู่ตรงข้ามถนนค้านทิศตะวันตกคิดกับลำน้ำร่องขุ่น

    พระไสว ชาคโร ซึ่งชาวบ้านเลื่อมใสมาก ได้สร้างโบสถ์ขึ้นในปีพ.ศ. 2507 จน พ.ศ. 2537 สภาพโบสถ์ทรุดโทรมมากเนื่องจากขาดปัจจัยบูรณปฏิสังขรณ์ด้วยภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก นายเฉลิมชัยโฆษิตพิพัฒน์ จึงได้ปวารณาตนเข้ามาสานต่อใน พ.ศ. 2540 เพื่อสร้างโบสถ์ถวายเป็นพุทธบูชา หวังให้เป็น "งานศิลป์เพื่อแผ่นดิน"

    โครงการก่อสร้างวัดเมื่อเสร็จสมบูรณ์จะประกอบด้วยหมู่สถาปัตยกรรมทั้งสิ้นเก้าหลัง มีโบสถ์ ปราสาทบรรจุพระธาตุ พิพิธภัณฑ์ศาลาราย เมรุ หมู่กุฏิ ศาลาการเปรียญ และศาลารับรองแขกที่มาเยี่ยมชมวัด

    สิ่งน่าสนใจ

    ㆍ โบสถ์ เป็นโบสถ์สีขาว ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วสามชั้น ตัวโบสถ์ประดับลวดลายปูนปั้นช่อฟ้า ใบระกา บางส่วนทำเป็นรูปนาก มกร และสัตว์ในเทพนิยายด้วยสีขาวของอาการและความใสแวววาวของกระจกที่ติดประคับจึงดูกล้ายโบสถ์ล่องลอยอยู่ในม่านหมอก หน้าบันประดับด้วยปูนปั้นสีขาว เป็นรูปพระพุทธเจ้า ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนังและมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร

    นอกจากโบสถ์แล้วยังมีสิ่งปลูกสร้างอื่นอีก คือ หมู่กฏิวิหาร เมรุศาลาราย พิพิธภัณฑ์ และศาลารับรองแขก ดำเนินการก่อสร้างโดยไม่มีเงื่อนไขด้านเวลามาเป็นตัวกำหนด

    สิ่งก่อสร้างภายในวัดล้วนมีความหมายในทางพุทธศาสนา เช่น สีขาวของโบสถ์แทนพระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า กระจกขาวหมายถึงพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์และจักรวาล สระน้ำที่โบสถ์ตั้งอยู่หมายถึงสีทันดรมหาสมุทรในไตรภูมิ


    น้ำตกขุนกรณ์

    ชมน้ำตกสูงที่สุดในเชียงราย

    อยู่ในเขต อช. ลำน้ำกก ต้นน้ำตกอยู่ที่เทือกเขาดอยช้าง บริเวณน้ำตกร่มรื่นด้วยตันไม้นานาชนิด บรรยากาศคึกคักในช่วงเดือน เม.ย.-ส.ค. เพราะเป็นช่วงที่น้ำตกสวยงามที่สุดและน้ำใสสะอาด

    ที่ตั้ง ต. แม่กรณ์ อ. เมือง ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 34 กม.

    รถยนต์ส่วนตัว จากวัดร่องขุ่น ให้ไปตามทางหลวงหมายเลข 1208 ประมาณ 5 กม. พบสามแยกให้เลี้ยวซ้ายไปทาง อ. แม่สรวย 2.5 กม. พบทางแยกขวาระหว่างหลัก กม. 14-15 ให้เลี้ยวไปอีก 11.5 กม. ถึงลานจอดรถบริเวณที่ทำการวนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ เดินต่ออีก 400 ม.ถึงตัวน้ำตก

    สิ่งน่าสนใจ

    เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดของ จ. เชียงราย มีความสูง 70 ม. สายน้ำไหลพลิ้วเป็นสายยาวลงสู่แอ่งน้ำด้านล่างซึ่งเต็มไปด้วยโขดหินใหญ่จากนั้นสายน้ำจะไหลต่อไปตามห้วยขุนกรณ์ขนานกับทางเดินไปตลอดนักท่องเที่ยวสามารถเล่นน้ำได้บริเวณแอ่งน้ำตกและลำห้วย

    เส้นทางเดินเข้าน้ำตกระยะทาง 400 ม. เป็นทางดินเรียบบางช่วงเดินขึ้นเนินเตี้ย สองข้างทางร่มรื่นไปด้วยทิวไม้และปาไผ่


    บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร

    ขี่ช้าง ชมชีวิตชาวเขา

    - บริการเวลา 08.00-16.00 น.

    - ติดต่อที่ชมรมช้างบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตรทัวร์ โทร. 08-7176-2090 ถ้ามาเป็นหมู่คณะต้องติดต่อล่วงหน้า 3 วัน

    นอกจากมีชาวกะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านแห่งนี้แล้ว ยังมีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าอาข่าและลาหูในละแวกใกล้เคียงอีกด้วย หมู่บนกะเหรี่ยงรวม-มิตรเป็นจุดที่ช้างเที่ยวชมหมู่บนชาวเขาที่ได้รับการส่งเสริมด้านคุณภาพชีวิตและการท่องเที่ยวจากองค์กรเอกชนจนประสบความสำเร็จ ปัจจุบันจัดเป็นศูนย์กลางของชาเขาในแถบ อ. เมือง

    ที่ตั้ง บ้านรวมมิตร ต. แม่ยาว อ. เมือง ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 19 กม.

    รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกพ่อขุนฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ไปทาง อ. แม่จัน ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำกกไปแล้วให้เลี้ยวซ้ายเข้า ถ. แม่กก พบป้ายบอกทางไปน้ำตกห้วยแม่ซ้าย ให้ไปตามป้ายบอกประมาณ 3.5 กม. พบสามแยกให้เลี้ยวขวาไปอีก 4.5 กม. ถึงบ้านทรายมูลให้เลี้ยวซ้าย ตรงไปตามทางผ่านบ้านริมกก ไปตามทางหลวงชนบทอีก 8 กม. ถึงหมู่บ้าน

    เรือหางยาว ใช้บริการเรือหางยาวได้ที่ท่าเรือเชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง ค่าบริการ 800 บาท (นั่งได้ 8 คน)

    สิ่งน่าสนใจ

    . ขี่ช้าง ช้างหนึ่งเชือกนั่งได้สองคนขี่ช้างท่องเที่ยวคือเส้นทางไปบ้านจะต๋อของชาวลาหู่ ในเที่ยวกลับจะพาเดินท่องลำน้ำกกกลับมายังแคมป์ช้าง นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านชาวขาเผ่าต่างๆ เช่น กะเหรี่ยงอาข่าล่าหู่เย้าฯลฯให้นักท่องเที่ยวที่สนใจข้าไปศึกษาวิถีชีวิตของพวกเขาได้

    เส้นทางที่ได้รับความนิยมคือเส้นทางไปบ้านยะฟู ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวถลู่ (มูเซอ) เพราะผ่านทุ่งนาและน้ำตก ส่วนทางบ้านจะคอจะได้ชมวิถีชีวิตของชนเผ่าลาหู่ หากมีเวลาไม่มากอาจเดินชมรอบหมู่บ้านและลงลุยแม่น้ำกกก็ได้


    น้ำตกห้วยแม่ซ้าย

    เล่นน้ำตกใหญ่กลางป่า

    น้ำตกขนาดกลางในเขต อช. ลำน้ำกก เส้นทางเข้าสู่ตัวน้ำตกค่อนข้างไกลและทุรกันดาร เหมาะสำหรับรถกระบะ หรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น นักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวน้ำตกด้วยการนั่งช้างจากบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร

    ที่ตั้ง บ้านห้วยแม่ซ้าย ต. แม่ยาวอ. เมือง ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 19 กม.

    รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกพ่อขุนฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำกกไปทาง อ. แม่จั่น เลี้ยวซ้ายเข้า ถ. แม่กกไป 3.5 กม. จากนั้นเลี้ยวขวาตรงไปบ้านทรายมูล ผ่าน สภ. แม่ยาว ถึงแยกบ้านทุ่งหลวงให้เลี้ยวซ้ายไปตามทาง ผ่านบ้านอาข่า จนถึงบ้านลาหู่จะแล พบทางแยกซ้ายขึ้นเนินชันเป็นทางดิน (ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อหรือรถกระบะแรงดี) ให้เลี้ยวเข้าไปอีก 1 กม.

    สิ่งน่าสนใจ

    น้ำตกมีสองชั้น ห่างกันประมาณ 100 ม. ต้นน้ำอยู่ที่คอยบ่อน้ำตกชั้นที่ 1 สายน้ำไหลตกจากหน้าผาสูง 15ม. ผ่านโขดหินใหญ่ปกคุลมด้วยเฟิน มอสส์ และตะไคร่เขียว ส่วนน้ำตกชั้นที่ 2 เป็นหน้าผาสูง 20 ม. ด้านหน้าเป็นแอ่งน้ำใส เย็นฉ่ำ เหมาะสำหรับลงเล่นน้ำนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมมาท่องเที่ยวมากกว่าชาวไทย

    น้ำตกโป่งพระบาท

    อาบน้ำแร่ แช่น้ำตกใกล้เมือง

    - มีร้านอาหารและเครื่องดื่ม

    - มีที่กางเต็นท์

    - โทร. 08-5615-6290

    เป็นน้ำตกเล็กๆ ซึ่งกำลังจะถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของ อช. ลำน้ำกกเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติใกล้เมืองเชียงราย คนในท้องถิ่นนิยมมาปิกนิก เล่นน้ำตก และอาบน้ำแร่ที่น้ำพุร้อนโป้งพระบาทบริเวณทางเข้าน้ำตก

    ที่ตั้ง ต. บ้านคู่ อ. เมือง

    รถยนต์ส่วนตัว จาก อ. เมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ไปทาง อ. แม่จัน ระหว่างหลัก กม. 836-837 พบตลาดบ้านดู่บริเวณปากทางแยกซ้าย ให้ข้าไปอีก 2.7 กม. ผ่านน้ำพุร้อนโป่งพระบาทจากนั้นตรงไปจนสุดถนที่น้ำตกโป่งพระบาทระยะทางรวม 8 กม.

    สิ่งน่าสนใจ

    . น้ำตกโป่งพระบาท เป็นน้ำตกเล็กๆ มีน้ำตลอดปี แต่ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ลักษณะเป็นลำธารเล็กๆ ไหลลดหลั่นมาตามลาดหินเกิดเป็นแก่งขนาดเล็กตลอดความยาวลำธารประมาณ 700 ม. มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น แก่งกระดานลื่น แก่งจู๋จี๋แก่งรื่นรมย์ แก่งเชยชม แก่งนางอาย แก่งหินงาม ไปสิ้นสุดที่แก่งผาลาด ซึ่งมีลักษณะเป็นสายน้ำไหลตกจากผาหินสูงประมาณ 8 ม. ลงมายังแอ่งน้ำเล็กๆ

    . น้ำพุร้อนโป้งพระบาท เป็นน้ำพุขนาดเล็กอยู่บริเวณทางเข้าน้ำตกโป้งพระบาท มีห้องอาบน้ำพุร้อนอย่างเป็นสัดส่วน ค่าบริการคนละ 50 บาท (เด็กเล็กไม่เสียค่าบริการ)




    พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

    ชมผลงานและความคิดของ ถวัลย์ ดัชนี

    - เปิดเวลา 08.00-17.00 น.

    - ติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม โทร. 0-5370-5834, 0-5370-6127, 08-9767-4444 /www.thawan-duchanee.com

    เป็นบ้านของ ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ผู้มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลังจำนวนมากถวัลย์ได้อุทิศทั้งพลังกายและพลังใจ รวมทั้งทุนทรัพย์ส่วนตัวรังสรรค์งานศิลปะ ทั้งสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และการแกะสลักไว้ที่นี่ให้คนรุ่นใหม่ได้ชื่นชม แม้ว่ายังไม่เปิดเป็นทางการ แต่ผู้ที่สนใจก็สามารถเข้าชมได้

    ที่ตั้ง บ้านแม่ปูคา ต. นางแล อ. เมือง

    รถยนต์ส่วนตัว จากตัวเมืองเชียงราย ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ไปทาง อ. แม่จันผ่านตลาดบ้านดู่ไปจนถึงบนเสริมสุขให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอย 1 ไปตามทางคอนกรีตในหมู่บ้าน มีป้ายบอกทางเป็นระยะ สังเกตสิ่งก่อสร้างกล้ายวิหารวัดที่เห็นได้แต่ไกล

    สิ่งน่าสนใจ

    อาคารร่วม 40 หลังถูกจัดวางอย่างลงตัวในบริเวณอันร่มรื่น มีทั้งวิหาร หอคำ บ้านเรือ หอไตร โรงแกะไม้ หอกลอง ที่โดดเด่น คือ

    - วิหาร เป็นอาคารขนาดใหญ่สถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงามโดยเฉพาะบานประตูไม้ขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายสวยงามมากภายในอาการจัดแสดงงานศิลปะที่น่าสนใจ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอาการพิพิธภัณฑ์ศิลปะ

    - ศาลาพระทองไสยาสน์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ อาการศาลามีประตูไม้แกะสลักลงรักปิดทองอย่างสวยงาม

    - อูบเปลวปล่องฟ้า ภายในจัดแสดงเก้าอี้ทำจากเขาควาย ซากจระเข้ และหอยจำนวนมากจัดวางอย่างมีศิลปะ

    - ศาลามืด เป็นที่รวบรวมมีดหลากหลายรูปแบบ บางส่วนใช้เขาสัตว์เป็นด้ามมีด



    ที่เที่ยว

    ช่วง อ. แม่จัน-ดอยแม่สลอง-ดอยหัวแม่คำ

    เส้นทางท่องเที่ยวดอยแม่สลองสายเก่า (ทางหลวงหมายเลข 1130) เริ่มที่บ้านป้าซาง ถนนลัดเลาะไปตามไหล่เขาสูงชันและคดเคี้ยว ผ่านบ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ ทั้งอาข่า ลาหู่ เย้า และจีนฮ่อ เส้นทางนี้ยังเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 1338 ที่ไปยังพระดำหนักดอยตุง แต่เส้นทางแคบและกดเคี้ยว ต้องใช้คนขับที่มีประสบการณ์

    ส่วนเส้นทางสายใหม่ เริ่มจากทางหลวงหมายเลข 1089 ไปทางน้ำพุร้อนปาตึง บ้านกิ่วสะไต แล้วขึ้นสู่คอยแม่สลอง ทางสายนี้ขับรถง่ายกว่า ขากลับอาจมาทางสายเก่าซึ่งมีรีสอร์ตและบ้านพักตากอากาศหลังใหญ่ เส้นทางนี้ต้องผ่านด่านตรวจของทหารพรานด้วย


    พิพิธภัณฑ์พระ-ประทีป โกลด์แลนด์

    ชมพระพุทธรูปโบราณและสุดยอดพระเครื่อง

    - เปิดเวลา 09.00-16.30 น.

    - ค่าเข้าชม คนไทย ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก50 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท

    - โทร. 0-5365-3038-9, O8-1603-8474

    เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมพระพุทธรูปจากทุกยุคสมัย ภายในห้องโถงแบ่งออกเป็นส่วนจัดแสดงพระพุทธรูปและพระเครื่อง เหมาะสำหรับผู้สนใจพระพุทธรูป

    ที่ตั้ง ถนนสายแม่จัน-เชียงแสน ต. จอมสวรรค์ อ. แม่จัน

    รถยนต์ส่วนตัว จาก อ. แม่จัน ใช้ทางหลวงหมายเลข 1016 ไปทาง อ. เชียงแสน ผ่าน รร. อนุบาลจอมสวรรค์ไป 500 ม. ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางอีก 600 ม ถึงพิพิธภัณฑ์



    สิ่งน่าสนใจ

    มีพระพุทธรูปโบราณหลายยุคสมัย เช่น สมัยคันธารราษฎร์ทวารวดี เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง ลพบุรี อยุธยารัตนโกสินทร์ รวมทั้งมีสุดยอดพระเครื่องเบญจภาคีพระเครื่องชุดเบญจสุดยอดขุนพล พระร่วงรางปืนพระสมเด็จวัดระฆัง พระกริ่งปวเรศ (1 ใน 22 องค์ของประเทศไทย) พระกริ่งจีน พระกริ่งเขมร พระกริ่งวัดสุทัศน์ พระกริ่งวัดบวรฯ พระสมเด็จจิตรลดา หลวงปู่ทวดทุกพิมพ์ เหรียญพระเกจิชื่อดังต่างๆ อย่างหลวงพ่อกลั่น เหรียญรัชกาลที่ 5 แบบต่างๆ และพระอื่นๆ ให้ชมอีกมากกว่า 2,000 องค์


    ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

    ชมมินิไลต์แอนด์ชาวนด์และชีวิตคนคอย

    - ติดต่อฝ่ายสัมพันธ์ชาวเขา โทร. 0-5391-8415

    เป็นจุดแวะชมพิพิธภัณฑ์ชาวขาก่อนขึ้นคอย หรือจะชมการแสดงแสงสี เสียงในช่วงกลางคืนที่จัดเป็นพิเศษในฤดูหนาวก็ได้

    ที่ตั้ง บ้านป่าเมี่ยง ต. ปาซาง อ. แม่จัน

    รถยนต์ส่วนตัว จาก อ. แม่จันใช้ทางหลวงหมายเลข 1130 ไปประมาณ 2 กม. ศูนย์พัฒนาฯ อยู่ทางขวามือ แถวบ้านป้าเมี่ยง

    สิ่งน่าสนใจ

    ㆍมินิไลต์แอนด์ซาวนด์อาข่าคนภูเขา

    - เปิดแสดงเฉพาะฤดูหนาว หากมาเป็นหมู่คณะต้องคิดต่อล่วงหน้า

    - แสดงเวลา 20.00-20.30 น.

    การแสดงแสง สี เสียง เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวอาข่าซึ่งเป็นชาวขากลุ่มใหญ่ที่สุดใน จ. เชียงรายที่เกี่ยวโยงกับธรรมชาติ การแสดงประกอบด้วยพิธีกรรมต่างๆ เช่น การโล้ชิงช้าในช่วงปลายเดือน ส.ค. -ต้นเดือน ก.ย. การเล่นลูกข่างในช่วงปีใหม่ราวปลายเดือน ธ.ค. ที่เรียกว่าปีใหม่ลูกข่าง

    ㆍพิพิธภัณฑ์ชาวเขา

    - เปิดเวลา 08.00-16.30 น.

    เป็นห้องแสดงขนาดเล็ก มีบอร์ดนิทรรศการและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย แสดงประวัติความเป็นมาของชาวเขาเจ็ดเผ่าใน จ. เชียงราย ได้แก่อาข่า (อีก้อ) ลาหู่ (มูเซอ) กะเหรี่ยง ม้ง เย้า ลีซอ และขมุ นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของชาวเขาจำพวกผ้าปัก งานฝีมือต่างๆ ยาหม่อง สบู่สมุนไพรที่ผลิตโดยชาวเขา


    น้ำพุร้อนป้าตึง

    จุดแวะพักระหว่างทาง

    - ค่าธรรมเนียมอาบน้ำแร่ ห้องธรรมดา 20 บาท/คน ห้องวีไอพี 30 บาท/คน

    - มีร้านอาหาร

    - โทร. 08-1998-2593

    น้ำพุร้อนขนาดเล็กในสวนแห่งนี้เป็นจุดแวะพักรถระหว่างทางไปและกลับจากคอยแม่สลอง อยู่ในความดูแลของ อบต. ป่าตึง

    ที่ตั้ง บ้านป่าตึง ต. ป่าตึง อ. แม่จัน

    รถยนต์ส่วนตัว จาก อ. แม่จัน ใช้ทางหลวงหมายเลข 1089 ไปประมาณ 7 กม. พบทางแยกซ้ายมือ ให้เลี้ยวเข้าไปอีก 400 ม.


    สิ่งน่าสนใจ

    บริเวณน้ำพุร้อนจัดเป็นสวนหย่อมและสร้างฐานคอนกรีตล้อมบริเวณน้ำพุร้อน มีห้องอาบน้ำแร่ แยกหญิง-ชายจำนวน 15 ห้อง เป็นห้องแบบตักอาบ และห้องแบบมีที่ลงแช่ หรือเรียกว่าห้องวีไอพี


    ดอยแม่สลอง (บ้านสันติคีรี)

    ชิมชาอู่หลง ชมคอกชากุระ ไหว้พระธาตุ

    เป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีนฮ่อแห่งกองพล 93 ซึ่งตั้งหลักแหล่งบนคอยแห่งนี้มานานกว่า 40 ปี ปัจจุบันชุมชนนี้มีชื่อว่าหมู่บ้านสันติ-คีรี ตั้งอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1200 ม. อากาศเย็นสบายตลอดปีรายได้หลักมาจากการปลูกชาอู่หลง

    บ้านสันติคีรีเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรประมาณ 800 หลังคาเรือน ในหมู่บ้านมีทั้งวัด โบสถ์คริสต์ มัสยิด ธนาคาร และไฟฟ้าโทรศัพท์ ครบครัน

    ที่ตั้ง ต. แม่สลองนอก อ. แม่ฟ้าหลวง

    รถยนต์ส่วนตัว จาก อ. แม่จันใช้ทางหลวงหมายเลข 1089 (แม่จัน-ท่าตอน) ผ่านน้ำพุร้อนป่าตึง บ้านห้วยหินฝน ไปจนถึงหลักกม. 55 แล้วเลี้ยวขวาที่สามแยกกิ่วสะไตไปตามเส้นทางขึ้นดอยคดเคี้ยวอีก 15 กม.

    ประวัติ ดอยแม่สลองเป็นชุมชนของอดีตทหารจีนกองพล 93 สังกัดพรรคก๊กมินตั๋งของนายพลเจียงไคเช็ค ทำการรบอยู่ทางตอนใต้ของจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในจีน เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์นำโดยเหมาเจ๋อตุงยึดอำนาจสำเร็จพรรคก๊กมินตั๋งจึงถอยร่นไปปักหลักที่เกาะได้หวัน กองพล 93 กลายเป็นกองกำลังพลัดถิ่น ถูกกดดันอย่างหนักจนถอยร่นเข้ามาในเขตพม่าแต่ถูกฝ้ายพม่าผลักดัน เกิดการปะทะกันหลายครั้งจนต้องถอยชนมาถึงเทือกคอยคุงชายแดนไทย

    ฝ่ายพม่าได้ร้องเรียนไปยังสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2496 และมีมติให้อพยพกองกำลังพลัดถิ่นไปยังไต้หวัน แต่ทหารสังกัดนายพลหลี่เหวินฝาน และนายพลต้วนซีเหวิน ราว 3 หมื่นคน ทำเรื่องขอลี้ภัยในประเทศไทย เนื่องจากไม่แน่ใจในอนาคต เพราะไต้หวันเป็นเพียงเกาะเล็ก ๆ

    รัฐบาลไทยจัดสรรให้ทหารของนายพลหลี่เหวินฝานไปอยู่ที่ถ้ำง้อบ อ. ฝาง จ. เชียงใหม่ ส่วนทหารสังกัดนายพลต้วนซีเหวิน 15,000 คนอยู่บนคอยแม่สลองตั้งแค่ปี พ.ศ. 2504 เพื่อเป็นกันชนกับชนกลุ่มน้อยทำให้คอยแม่สลองในยุคแรกเป็นดินแคนลี้ลับต้องห้าม มีปัญหายาเสพติดและกองกำลังคิดอาวุธมาตลอด ทางการไทยจึงแก้ปัญหาโดยโอนกองกำลังเหล่านี้มาอยู่ในความดูแลของกองบัญชาการทหารสูงสุด

    กระทั่งปี พ.ศ. 2516 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทหารจีนคณะชาติให้อาศัยในแผ่นดินไทยอย่างเป็นทางการ ยุติการค้าฝิ่น ปลดอาวุธ และหันมาทำอาชีพเกษตรกรรม โดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ริเริ่มโครงการปลูกชา และปลูกสนสามใบเพื่อทดแทนป่า ชุมชนบนคอยแม่สลองได้ชื่อใหม่ว่าบ้านสันติดีรี มีการออกบัตรประชาชนให้สมาชิกในชุมชนเมื่อปี พ.ศ. 2521 คอยแม่สลองจึงคืนสู่ความสงบและเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญนับแต่นั้นมา

    สิ่งน่าสนใจ

    ㆍชาอู่หลง เป็นพืชเศรษฐกิจของบ้านสันติดีรี มีพื้นที่ปลูกหลายพันไร่และต้นชามากกว่า 2 ล้านต้น ที่นี่จึงมีไร่ชา โรงอบชา และร้านจำหน่ายชาหลายสิบร้านเรียงรายบนถนนสายหลักที่ผ่านกลางหมู่บ้าน ชาที่มีชื่อเสียงคือชาอู่หลงซึ่งมีกลิ่นหอมพิเศษ ต้องมีวิธีการดื่มเฉพาะแบบชาวไต้หวัน ร้านจำหน่ายชาทุกร้าน เช่น วังพุดตาล ร้านชานายพลด้วน จะเชิญชวนให้ผู้มาเยือนได้ทดลองชิมชา พูดคุยสอบถามถึงวิธีการชงชา เลือกซื้อหาชาและอุปกรณ์ชงชาแบบต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถไปชมไร่ชาและการเก็บชาโดยไม่เสียค่าเข้าชมได้อีกด้วย

    ㆍซากุระเมืองไทย

    - ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การไปเที่ยวชมคือเดือน ธ.ค.-ก.พ.

    เส้นทางเข้าสู่หมู่บนสันติดีรีทั้งด้านบันกิ่วสะไตและบ้านอีก้อ-สามแยก มีต้นนางพญาเสือโคร่งเรียงรายคลอดสองข้างทางเป็นระยะทางกว่า4กม. ฤดูหนาวต้นนางพญาเสือโคร่งจะทิ้งใบจนหมดและผลิดอกสีชมพูพราวไปทั้งตัน ดูราวกับดอกซากุระของญี่ปุ่น ตันนางพญา-เสือโคร่งเหล่านี้เป็นไม้พื้นถิ่นบนคอยทาภาคเหนือ เป็นไม้โตเร็วที่นำมาปลูกไว้บนคอยแม่สลองในช่วงปี พ.ศ. 2525

    ㆍพระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทราสถิตมหาสันติคีรี ดั้งอยู่บนยอดสูงสุดที่ระดับความสูง 1,500 ม. เหนือหมู่บ้านสันติคีรี ห่างจากหมู่บ้าน 4 กม มีถนนลาดยางตัดขึ้นไปยังพระบรมธาตุฯ แต่ถนนสูงชันคดเคี้ยวมาก

    พระบรมธาตุฯ สร้างแล้วเสร็จราวปีพ.ศ. 2539 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนกรินทราบรมราชชนนี เป็นเจดีย์แบบล้านนาประยุกต์ บนฐานสี่เหลี่ยมลดชั้น สูงประมาณ 30 ม. ฐานกว้างด้านละประมาณ 15 ม. ประดับกระเบื้องสีเทา มีซุ้มจระนำด้านละสามซุ้ม เรือนธาตุประดับพระพุทธรูปยืนสี่ทิศ องก์ระฆังประดับแผ่นทอง แกะสลักลวดลาย ใกล้กับองค์เจคีย์เป็นวิหารแบบล้านนาประยุกต์

    ที่ตั้งของพระบรมธาตุฯ เป็นจุดสูงสุดของเทือกคอยแม่สลองจึงชมทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยเฉพาะในยามเย็น ขณะเดียวกันองค์พระธาตุก็เด่นเป็นสง่า มองเห็นแต่ไกล เป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งของคอยแม่สลอง

    ㆍสุสานนายพลด้วน อยู่บนเนินเหนือหมู่บ้าน แยกขึ้นไปทางด้านข้างคุ้มนายพลรีสอร์ตประมาณ 1 กม. สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 มีแท่นหินอ่อนบรรจุร่างนายพลต้วนซีเหวินอยู่ภายในศาลาเก๋งจีนขนาดใหญ่สีขาว พื้นปูหินอ่อน ด้านหลังแท่นบรรจุศพมีภาพถ่ายเก่าแก่เกี่ยวกับประวัติและผลงาน ด้านหน้าเป็นลาดเนินมีตัวอักษรจีนคำว่า "ต้วน" สีทองบนพื้นสีฟ้า สุสานนายพลตัวนอยู่บนเนินที่ระดับความสูงประมาณ 1,300 ม. สามารถมองเห็นบ้านสันติดีรีในหุบต่ำลงไปเบื้องล่าง เป็นจุดชมทิวทัศน์ของหมู่บ้านทีดีจุดหนึ่ง

    ㆍอนุสรณ์ชาวไทยเชื้อสายจีน

    - เปิดเวลา 08.00-17.00 น.

    - ค่าเข้าชม คนไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท

    สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงประวัติศาสตร์ว่าบ้านสันติคีรีเป็นหมู่บ้านของอดีตทหารจีนคณะชาติ (ทจช. ก๊กมินตั๋ง) กองพล 93 ที่ได้ช่วยราชการไทยต่อสู้และปราบปรามคอมมิวนิสต์ในพื้นที่คอยหลวงดอยยาว และดอยผ้าหม่น จ. เชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 2514-2528 และพื้นที่เขาย่า จ. เพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2524

    จากการสู้รบดังกล่าว อดีตทหารจีนคณะชาติได้เสียชีวิตและบาดเจ็บทุพพลภาพเป็นจำนวนมาก รัฐบาลไทยจึงกำหนดสถานะให้อดีตทหารจีนคณะชาติเหล่านี้เป็นผู้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศไทยและให้แปลงสัญชาติเป็นไทยได้

    อนุสรณ์สถานดังกล่าวออกแบบก่อสร้างและตกแต่งอย่างสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมจีน ภายในมีการจัดแสดงภาพถ่ายประวัติศาสตร์ในการดั้งรกรากอยู่ในประเทศไทย และมีห้องสมุดที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง


    ไร่ชา 101

    ชิมชา ชมกรรมวิธีผลิตชาอู่หลง

    - โทร. 08-1884-9088

    หากมาเที่ยว อ. แม่ฟ้าหลวง ควรหาโอกาสชิมชาพันธุ์ดี รสเยี่ยม ที่ปลูกบนยอดคอยสูงในอำเภอนี้ มีไร่ชาอยู่หลายแห่งที่เปิดให้ชิมและแวะซื้อเป็นของฝาก เช่นที่ไร่ชา 101

    ที่ตั้ง ต.แม่สลองนอกอ.แม่ฟ้าหลวง ห่างจกบ้านสันติดีรี 4 กม.

    รถยนต์ส่วนตัว ใช้เส้นทางแม่สลองสายเก่า (ทางหลวงหมายเลข 1130) ไปทางคอยแม่สลอง ผ่านบ้านอีก้อสามแยก ไปตามทางซึ่งเป็นทางโค้งขึ้นคอยจะเห็นไร่ชาตามลาดเขา ไร่และโรงงานชา 101 อยู่ทางซ้ายมือ ก่อนถึงคอยแม่สลองประมาณ 5 กม.

    สิ่งน่าสนใจ

    ㆍชมไร่ชาและการเก็บชา รอบบริเวณไร่ชา 101 เป็นแปลงปลูกชาตามลาดขา ลักษณะเป็นขั้นบันไคสวยงามบรรดาชาวเขาจะถือตะกร้าสานสำหรับใส่ยอดชา เดินเด็ดยอดอ่อนของต้นชาเป็นทิวแถวการเก็บชาแต่ละครั้งจะเว้นระยะ 45-50 วันจึงเริ่มเก็บใหม่

    ㆍชิมชา ในอาการเปิดโล่งบนสันเขามองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล อากาศเย็นสบาย เป็นที่ชงชากลิ่นหอมรสดี ต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคณะที่มาเยือน หากชื่นชอบก็สามารถซื้อชาพร้อมอุปกรณ์ชงชาที่มีหลากหลายรูปแบบคิดมือกลับไปได้ นอกจากนี้ยังมีอาหารว่างที่ใช้ชาอู่หลงเป็นเครื่องปรุง เช่น ไข่ต้มใบชา ชาลาเปาชาเขียว ให้ชิม

    สนับสนุนบทความโดย Drivemate
    บริการรถเช่าเชียงรายราคาประหยัด
    www.drivemate.asia
     

แชร์หน้านี้

Loading...