ประเพณีแข่งเรือยาว มรดกแห่งความเชื่อและความศรัทธาสามัคคี

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 4 สิงหาคม 2006.

แท็ก: แก้ไข
  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] -->
    [​IMG]


    การแข่งขันเรือยาวประเพณี เป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ อันก่อให้เกิด ความสามัคคีแห่งหมู่คณะทั้งฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร ดังพระคาถาที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานจารึกไว้บนหน้าบันอุโบสถ "ภ.ป.ร." วัดวังทองวราราม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงตัดลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๑๙ ที่ว่า



    "ทยฺชาติยา สามคฺคิยํสติสญฺชานเน โภชิสิยํ รกฺขนฺติ" ซึ่งหมายถึง "คนชาติไทยจะรักษาความเป็นไทยอยู่ได้ ด้วยมีสติสำนึกอยู่ในความสามัคคี"
    การทำเรือยาวแต่ละลำนั้นเกี่ยวข้องกับความเชื่อและพิธีกรรมตั้งแต่แรกเริ่มหาต้นตะเคียนเลยทีเดียว ทั้งนี้ อ.ขวัญทอง สอนศิริ (โจ้) ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมเรือพายแห่งประเทศไทย และ เลขานุการชมรมเรือยาว จ.พิษณุโลก อธิบายว่า เหตุที่ใช้ไม้ตะเคียนมาขุดทำเรือยาวนั้น เพราะมีคุณสมบัติเป็นไม้เนื้อแข็ง ลอยน้ำและพุ่งน้ำได้ดี ไม่ผุง่าย ถ้าดูแลดีมีอายุการใช้งานนับร้อยปี
    ไม้ตะเคียนมีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมคือ ไม้ตะเคียนทอง เพราะผิวไม้จะมีสีออกเหลืองทอง นอกจากนี้แล้วชาวบ้านมักเลือกต้นตะเคียนที่อยู่ริมห้วย ต้นที่มีเงาทอดลงไปในน้ำ หรือรากแช่น้ำ เป็นไม้ที่นางไม้เฮี้ยนมาก จะนำโชคชัยชนะความสำเร็จมาสู่ทีมเรือได้
    จากความเชื่อมาแต่โบราณที่ว่า ต้นตะเคียนมีนางไม้ คือ นางตะเคียน สิงสถิตรักษาอยู่ ดังนั้นก่อนตัดต้นตะเคียนจะต้องตั้งศาลเพียงตา ทำพิธีเซ่นไหว้นางไม้ หรือนางตะเคียน ที่สถิตประจำต้นตะเคียนต้นนั้น เพื่อบอกกล่าวขออนุญาตตัด ขณะเดียวกันก็เป็นการเชิญนางไม้ไปอยู่ด้วยเพื่อเป็น แม่ย่านางเรือ
    เมื่อขุดเป็นลำเรือและทดสอบดีแล้ว จึงทำพิธีตั้งชื่อเรือ เป็นมงคลนามตามคติความเชื่อของแต่ละทีม โดยมีคตินิยมตั้งคำนำหน้าด้วยคำว่า เจ้าแม่ เพราะเชื่อกันว่าแม่ย่านางเรือเป็นผู้หญิง หรือนิยมใช้คำนำหน้า คำว่า เทพ เพราะถือว่านางไม้ตะเคียน เป็นเทพ หรือ รุกขเทวดา ประเภทหนึ่ง
    คติความนิยมในการตั้งชื่อเรือยาวนั้น อ.โจ้ บอกว่า บางแห่งนิยมเอาชื่อแม่น้ำ ชื่อวัด ชื่อบ้าน จังหวัด ถิ่นฐานที่พบไม้ รวมทั้งเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นขณะตัดหรือขุดเรือมาตั้งเป็นมงคลนาม อาทิ เจ้าแม่ตาปี วัดกลางใหม่ เจ้าแม่ธารทิพย์ สุราษฎร์ธานี เทพนรสิงห์ เสาไห้ สระบุรี เทพปทุม วัดโบสถ์ ปทุมธานี เทพธนูทอง วัดใหญ่ พิษณุโลก หงษ์ทอง หงส์นคร วัดเกาะหงส์ นครสวรรค์
    บางท้องถิ่นนำชื่อตัวละคร หรือสัตว์ในวรรณคดีไทยมาตั้งเป็นมงคลนาม อาทิ เรือไกรทอง วัดหัวดง พิจิตร จหมื่นไวทย์ วัดตะเคียนเลื่อน ขุนช้าง วัดขุนไกร สุพรรณบุรี พญาราชสีห์ วัดหาดมูลกระบือ
    นอกจากนี้แล้วยังพบอีกว่า มีการตั้งชื่อให้เป็นเดชเป็นอำนาจ เป็นที่เกรงขามของเรือคู่แข่งขัน อาทิ เดชสมิง วัดแหลมทราย ชุมพร ศรทอง ศรพรหมมาส วัดวังกลม พิจิตร หรือเรือสาวดวงแก้ว วัดปลาไหลอินทร์บุรี สิงห์บุรี แชมป์ประเทศไทย ประจำปี ๒๕๔๘ นำเอานามของมารดาเจ้าของเรือ คือคุณแม่ดวงแก้ว สุขสวัสดิ์ มาตั้งเป็นชื่อเรือ
    ในขณะที่หน่วยงานที่นำกำลังพลมาเล่นเรือยาวเพื่อรักษาประเพณีและปฏิบัติการจิตวิทยามวลชนอันเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติในด้านพลังทางสังคมจิตวิทยา มาตั้งเป็นมงคลนามของเรือเพื่อประชาสัมพันธ์หน่วยงาน อาทิ เรือเจ้าแม่ประดู่ทอง กองทัพเรือ เรืออัครโยธิน กรมสื่อสารทหารบก ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน สมุทรสาคร เป็นต้น
    อ.ขวัญทอง ยังบอกด้วยว่า พิธีเชิญเรือลงน้ำต้องใช้ฤกษ์งามยามดี รวมทั้งทำการบวงสรวงเชิญนางไม้ นางตะเคียน ลงสถิตเป็นแม่ย่านางเรือ
    บางแห่งบางทีมอาจมีพิธีสงฆ์ พิธีเบิกตาเรือ หรือการรำถวายแม่ย่านาง แล้วแต่ความพร้อมของแต่ละทีม ก่อนนำเรือลงน้ำในแต่ละฤดูกาลแข่งขันประจำปี จะทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือที่ศาลเพียงตาประจำเรือ บริเวณโรงเก็บเรือ หรือมีพิธีสงฆ์ เพื่อความเป็นสิริมงคล แล้วจึงนำเรือลงน้ำ โดยนิยมเอาหัวเรือแตะท้องน้ำ พุ่งหัวเรือไปทางเหนือก่อน เป็นการเอาโชคชัย บางทีมบางแห่งอาจมีพิธีเห่กล่อมแม่ย่านางก่อนลงน้ำในลุ่มน้ำน่าน
    เมื่อถึงวันแข่งขัน ในภาคเช้า เจ้าของทีมเรือยาวจะจัดเครื่องเซ่น ได้แก่ บายศรี เครื่องเซ่นไหว้ อาทิ กล้วย มะพร้าวอ่อน ผลไม้ ขนม ข้าว ไก่ น้ำ เหล้า ตามคติความเชื่อของแต่ละทีมและท้องถิ่น ธูปเทียน พวงมาลัย เซ่นไหว้แม่ย่านาง ซึ่งประดับตกแต่งโขนเรือด้วยผ้าแพรพรรณหลายสี ตามโฉลกของแม่ย่านางเรือแต่ละลำ ที่บวงสรวงเสี่ยงทายตามที่แม่ย่านางชอบ ฝีพายเรือจะใส่เสื้อที่มีสีสันสวยงามตามโฉลกสีของทีมเรือตนเองเช่นกัน

    "ก่อนจะลงนั่งในเรือ ฝีพายจะต้องทำความเคารพเรือและแม่ย่านางก่อนทุกครั้ง โห่ร้องเอาฤกษ์เอาชัยสามลา ก่อนนำเรือออกจากท่าน้ำไปร่วมการแข่งขันในแต่ละเที่ยวและทำความเคารพเมื่อจะลงจากเรือ คือ ขนบประเพณี ความเชื่อถือที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจวนจนปัจจุบัน" อ.โจ้ กล่าว


    ปฏิทินการแข่งขันเรือยาวเดือนสิงหาคม ๒๕๔๙
    วัน/เดือน รายการแข่งขัน และ สนามแข่งขัน จังหวัด ประเภทเรือที่แข่งขัน
    ๕-๖ ส.ค. เรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน อ.เสาไห้ สระบุรี จิ๋ว เล็ก ใหญ่
    ๗ ส.ค. เรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน เฉลิมพระเกียรติ จ.เพชรบุรี เพชรบุรี ๗ ฝีพาย, ๒๓ ฝีพาย, เล็ก
    ๑๒-๑๓ ส.ค. เรือยาวประเพณีเทิดพระเกียรติ ๑๒ สิงหา มหาราชินี วัดมะขาม ปทุมธานี เล็ก กลาง ใหญ่
    ๑๙ ส.ค. เรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน สธ. วัดบึงตะโกน อ.เมืองพิจิตร จิ๋ว (๑๒), เล็ก, ใหญ่
    ๒๐ ส.ค. เรือยาวประเพณีวัดท่าฬ่อ อ.เมือง จ.พิจิตร จิ๋ว (๑๒), ใหญ่
    ๑๙-๒๐ ส.ค. เรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน คลองชลประทานดี ๗ สมุทรสาคร ๕ ฝีพาย, เล็ก ,ใหญ่ (คลองตาขำ)
    ๒๖ ส.ค. เรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน สธ. วัดหาดมูลกระบือ อ.เมืองพิจิตร จิ๋ว (๑๒), เล็ก(๓๐), ใหญ่(๕๕)
    ๒๗ ส.ค. เรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน ส.ก . วัดหัวดง อ.เมืองพิจิตร จิ๋ว, ใหญ่


    0 เรื่อง/ภาพ ไตรเทพ ไกรงู 0




    ที่มา : คมชัดลึก

    http://www.komchadluek.net/2006/08/04/j001_34233.php?news_id=34233


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...