ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 2 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    ปัญหา ได้ทราบว่ามีปัญหาบางประเภทที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาดังกล่าวนั้นมีอะไรบ้าง ? และเพราะเหตุไรพระพุทธองค์ไม่ทรงตอบ ?

    พุทธดำรัสตอบ
     
  2. vera_p

    vera_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +588

    ท่านเจ้าของกระทู้มีจุดหมาย จะบอกกล่าว สอน เพ่งประโยชน์เกื้อกูลสิ่งใดก็จงกล่าวเถิด เพราะในห้องอายตนะแห่งพุทธภูมินี้ มีสภาพอ่อนน้อม พร้อมรับฟังอยู่แล้ว ท่านไม่ต้องเกรงใจ

    เรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหานั้น ข้าพเจ้าจะนำเอาบทความมาให้อ่านเลย เพราะถ้าหากเจ้าของกระทู้ไปค้นหาในห้องพระไตรปิฎกออนไลน์คงจะได้รับคำตอบ
    บทความมีดังนี้

    ปัญหาที่ พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ

    จุดมุ่งหมายของพุทธไม่ใช่แต่การสนทนาโต้ตอบหาเหตุผลทางความคิดทางปรัชญา แต่มุ่งที่การหลุดพ้นจากความทุกข์ต่าง ๆ เมื่อถูกถามปัญหาเกี่ยวกับอภิปรัชญา พระองค์จะปฏิเสธไม่ตอบเงียบเฉย นิ่งเสีย และบอกว่าไม่ควรถาม การนิ่งไม่ยอมตอบ ไม่ใช่เป็นเพราะความไม่รู้ แต่ถือว่าเป็นความฉลาดอย่างยิ่งต่างหาก เพราะแม้ตอบแล้วก็จะยังไม่จบอยู่ดี ปัญหาทาง อภิปรัชญาที่นักคิดสมัยนั้นชอบโต้แย้งกันโดยถามหาที่สุดโลก เป็นต้น แต่พระพุทธเจ้าไม่ตอบเรียกว่า อัพยากฤตปัญหา 10 อย่าง คือ

    1. โลกเที่ยง
    2. โลกไม่เที่ยง
    3. โลกมีที่สุด
    4. โลกไม่มีที่สุด

    5. สรีระ (ร่างกาย) และชีพ (วิญญาณ) เป็นอันเดียวกัน
    6. สรีระ (ร่างกาย) และชีพ (วิญญาณ) เป็นคนละอย่างกัน
    7. ตถาคตจะเกิดใหม่อีกเมื่อตายไป

    8. ตถาคตจะไม่เกิดใหม่อีกเมื่อตายไป
    9. ตถาคตทั้งจะเกิดใหม่และไม่เกิดอีกหลังจากตายไป
    10. ตถาคตไม่ใช่ทั้งจะเกิดใหม่และไม่เกิดอีกหลังจากตายไป

    ข้อสังเกต
    ข้อ 1 - 4 โต้เถียงในเรื่องเกี่ยวกับโลก หรือ วัตถุ (รูปธรรม)
    ข้อ 5 - 6 โต้เถียงในเรื่องสภาวะของชีวะ (วิญญาณ) ที่เรียกว่า อาตมัน (นามธรรม)
    ข้อ 7 - 10 โต้เถียงในเรื่อง การเวียนว่ายตายเกิด การเกิดใหม่
    ( อ้างอิง มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2530), เล่ม 12 ข้อ 309 หน้า 308. )

    เหตุผลที่ พระพุทธเจ้าไม่ทรงสนพระทัย ไม่ตอบปัญหา, การโต้เถียงปัญหาทางอภิปรัชญา ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1.ไม่เป็นประโยชน์ คนพูดโต้เถียงกัน กว่าจะได้คำตอบก็ตายก่อน ทั้งนักคิด ชาวตะวันตก และนักคิดชาวตะวันออกได้พยายามมาตั้งหลายพันปีจนถึงทุกวันนี้ก็ยังตอบไม่ถูกสักคน
    2. ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ คิดไปก็เสียเวลาเปล่า
    3. ไม่ใช่เรื่องรีบด่วน มีเรื่องอื่นที่เร่งด่วนกว่าที่จำต้องรีบคิดแก้ไข คือทุกคนมีทุกข์ต้องรีบดับทุกข์ก่อน
    4. ไม่ใช่เพราะพระองค์ไม่รู้คำตอบ

    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าครั้นถูกถาม พระองค์จะนิ่งเฉยเสีย หรือปฏิเสธตรงๆ หรือให้ยกคำถามไว้ก่อนว่ายังไม่สมควรตอบ การไม่ตอบเป็นความฉลาด ถ้าตอบ "ใช่" ก็ต้องตกอยู่ในข่ายของสัสสตวาทะ (ความเห็นว่า วิญญาณเที่ยง) ถ้าตอบ "ไม่ใช่" ก็จะอยู่ในข่าย อุจเฉทวาทะ (ความเห็นว่าวิญญาณขาดสูญ) ผู้ใดมีศักยภาพสามารถรู้อดีต และอนาคตไม่มีขีดจำกัดจะรู้ และตอบปัญหานี้ได้ดี

    ท่าทีในการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า 4 วิธี
    เมื่อมีปัญหาถามมา พระพุทธเจ้ามีวิธีจัดการกับคำถาม สามารถจำแนกวิธีตอบของพระพุทธ
    เจ้าได้ 4 แบบ คือ
    1. ตอบตรงๆ (ใช่ หรือไม่ใช่) เรียกว่า เอกังสพยากรณ์
    2. ตอบแบบวิเคราะห์ (แยกตอบ) เรียกว่า วิภัชชพยากรณ์
    3. ตอบแบบย้อนถามว่าหมายถึงอะไร เรียกว่า ปฏิปุจฉาพยากรณ์
    4. บางคราวปัญหาต้องยกเอาไว้ก่อน เรียกว่า ฐปนียพยากรณ์
    ( อ้างอิง ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, เล่ม 11 ข้อ 225 หน้า 241. )

    คำตอบต่ออัพยากฤตปัญหาเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่เปล่าประโยชน์ และจากฐานความคิดทางปรัชญาเอง นักปรัชญาก็ยังหาไม่พบคำตอบอันสุดท้ายเป็นที่ยอมรับกันได้โดยทั่วไป เพราะคิดแล้วไม่รู้จักจบสิ้นดังกล่าว ดังนั้น พระองค์ จึงไม่ตอบปัญหานี้

    อีกอย่างนึง

    พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนหมอผ่าตัดผู้ป่วยที่ถูกลูกศรปักอก หมอไม่จำเป็นต้องใส่ใจว่าคนยิงเป็นใคร ทำไมคนร้ายจึงยิง หมอทำหน้าที่เพียงเร่งผ่าตัดช่วยชีวิตให้เร็วที่สุด ....แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมให้ผ่าตัด โดยตั้งเงื่อนไขว่า “ต้องหาคนยิงให้ได้ก่อน ..เขาหน้าตาเป็นอย่างไร? ผู้หญิงหรือผู้ชาย...ต้องให้เขาบอกเหตุผลที่ยิงให้ได้ก่อน...ผมจึงจะยอมให้หมอผ่าเอาลูกศรออก” ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็รับรองได้ว่า “ผู้ป่วยตายแหง๊แก๊ !???” ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์พระไตรปิฏกจูฬมาลุกยสูตร เล่ม ๑๓ ข้อ ๑๒๖ หน้า ๑๓๘ ดังนี้

    “หากมีใครกล่าวว่า „ตราบใดที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงตอบเราว่า „โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง? ฯลฯ (..โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร )‟ ตราบนั้นเราก็จักยังไม่ปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระองค์ ต่อให้บุคคลนั้นสิ้นชีวิตไปตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องลูกศรที่อาบยาพิษอย่าง

    ร้ายแรง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของบุรุษนั้น พึงไปหาแพทย์ผู้ชํานาญในการผ่าตัดมารักษาบุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า „ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเรา เราก็จักไม่ให้ถอนลูกศรนี้ออกไป‟ ฯลฯ

    บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า „ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง เราว่า เป็นลูกศรธรรมดา ลูกศรคม ลูกศรหัวเกาทัณฑ์ ลูกศรหัวโลหะ ลูกศรหัวเขี้ยวสัตว์ หรือลูกศรพิเศษ ตราบนั้นเราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป‟ ต่อให้บุรุษนั้นตายไป เขาก็จะไม่รู้เรื่องนั้นเลย [21]

    “เราไม่ตอบปัญหาว่า „โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง? ฯลฯ (..โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร )‟ เราไม่ตอบเพราะเหตุไร? เราจึงไม่ตอบเพราะปัญหานั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความคลายทุกข์ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้และเพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่ตอบ ปัญหาอะไรเล่าที่เราตอบ คือปัญหาว่า „นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา‟ เราตอบเพราะเหตุไร? เราตอบเพราะปัญหานั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็น ไปเพื่อความคลายทุกข์ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงตอบ

    เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำปัญหาที่เราไม่ตอบว่าเป็นปัญหาที่เราไม่ตอบ และจงจำปัญหาที่เราตอบว่าเป็นปัญหาที่เราตอบเถิด” [22]
     
  3. timetime

    timetime เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2005
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +3,373
    เคยอ่าน เจอนะครับ หรือเคยได้ฟัง หลวงพ่อฤาษีเทศน์

    มีพวกเดียรถีย์(พวกนอกศาสนา) คนหนึ่ง เข้ามาหาพระพุทธเจ้า เดียรถีย์คนนั้นได้ถามคำถามไปหลายคำถาม แต่พระพุทธเจ้า ไม่ทรงตอบ

    เพราะว่า พระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยญาณว่า เดียรถีย์คนนั้น จะเอาไปโอ้อวด กับพวก เดียรถีย์ด้วยกัน ว่า ข้าได้ไปโต้ตอบกับพระพุทธเจ้ามาแล้ว เป็นการอวดเก่ง กล้า สามารถในทางที่ผิดมหันต์

    ผู้ไม่มีศัทธา พระพุทธเจ้า จะไม่สอน
    เหมือนตอนที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระญาติ ตอนนั้นทั้งหมดนั้งอยู่ตรงหน้าพระบรมศาสดา แต่ละคนก็มียศ มีศักดิ์ คิดว่า ข้าเป็นพี่ เป็นน้า เป็นยศใหญ่กว่า จึงไม่ยกมือไหว้
    พระองค์เห็น ดังนั้น จึงได้ทรมาน ความคิดเหล่านั้น โดยการ เหาะ แล้ว วนไปวนมา
    จนพระญาติ เกิดความเลื่อมใส่ ศัทธรา แล้วพระองค์ ทรงเทศน์สอน จน พระญาติ บรรลุธรรม ตามอันดับ


    ธรรมขององค์พระศาสดา ตรัสไว้ดีแล้ว
    อนุโมทนา สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2009
  4. neung48

    neung48 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +457
    ยาวจัง ท่านก็ตอบทุกข้อแหละ ถ้าเป็นเรื่องทุกข์กะการพ้นทุกข์
     

แชร์หน้านี้

Loading...