ปัญหาเรื่องคาถาชินบัญชรครับ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย ฟ้าทมิฬ, 19 พฤศจิกายน 2010.

  1. ฟ้าทมิฬ

    ฟ้าทมิฬ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +24
    พอดีติดปัญหาคาใจเรื่องคาถาชินบัญชรมานานแล้วนะครับ

    ๕. ทักขิเณสะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
    กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

    ตรงนี้ รู้สึกว่าบางคนเค้าจะให้แก้เป็น ลา เพราะเขาบอกว่า
    ถ้าเป็นโล จะแปลความหมายไม่ได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่จริง
    อะไรยังไงแน่ครับ

    ส่วนอีกท่อนนึง

    ๖.เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
    นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว

    ก็เห็นมีบางที่ใช้เป็น โต นะครับ

    ไม่ทราบว่าแบบไหนถูกแบบไหนผิดหรือว่ายังไงก็ได้ครับ
    ผู้รู้ช่วยตอบทีครับ
     
  2. PrinceCharming

    PrinceCharming เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +773
    เลือกเอาสักหนึ่ง version ครับ ที่ตัวเองสวดแล้วรู้สึกสบายใจที่สุด ไม่รู้สึกสับสน หรือลังเลสงสัยใดๆทั้งสิ้น

    ตอนเลือกๆให้ดีๆๆๆที่สุดครับ พอเลือกเสร็จแล้วห้ามลังเล สงสัยอีกเป็นอันขาด

    ต้องเชื่อมั่นและถวายชีวิตกับ version ที่เราเลือกครับ ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่างทาง

    โมทนาครับ ^______________________^


    เคยได้ยินไหมครับเรื่องพระภาวนาคาถาผิด จาก นะโมพุทธายะ เป็น นะโมพุทธาแยะ แล้วยังเสกก้อนหินเป็นขนมปังฉันได้ เพราะท่านเชื่อ 100% ว่าของท่านถูก

    เพราะฉะนั้น key point เรื่องนี้คือ ความเชื่อมั่นของเราเองครับ คาถาจะผิดบ้างถูกบ้างไม่เป็นไร เล็กๆน้อยๆอนุโลมได้ อย่าให้จิตมาพะวงกับเรื่องเหล่านี้เลยครับมันจะเป็นนิวรณ์ ตั้งใจปฏบัติดีกว่า

    แต่ควรหา version ที่ถูกต้องสักนิดก็ดีครับ พยายามหาอย่างดีที่สุด ได้แค่ไหน เอาแค่นั้น

    ^______________^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2010
  3. kritdaddyrock

    kritdaddyrock Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +86
    สองท่อนนั้น
    ทั้ง ราหุโล และ ราหุลา
    กับ เกสันเต และ เกสันโต มีความหมายเดียวกันครับใช้ได้ทั่งคู่

    ผมเคยอ่านในหนังสือพระคาถาชินบัญชร ใน SE-ED เป็นเล่มใหญ่ปกแข็งอย่างดี ได้นำพระคาถาชินบัญชร ที่มีคำผิดเพี้ยนกันมาไล่วิเคราห์ทีล่ะคำ ในท่อนนี้ท่านบอกว่าใช้ได้เหมือนกันครับ ยังไงก็เลือก ซักเวอร์ชั่นอย่างที่คุณ PrinceCharming แนะนำไว้ละครับ สบายใจได้หายห่วง...

    เท่าที่จำได้รู้สึกในเล่มนั้น จะกล่าวถึงท่อนที่ว่า
    ชิ นา นา นา กับบางตำราที่เขียนว่า ชิ นา นา
    ว่าตำราของ ชิ นา นา นา น่าจะผิดเพี้ยนเพราะเมื่อแปลความหมายแล้วไม่ได้

    ผิดถูกยังไงก็ขออภัยด้วยนะครับ พอดีผมเคยอ่านมานานมากแล้ว แต่หลังจากอ่านผมก็ท่องอย่างสบายใจมากขึ้นจริงๆนะครับ "โดยส่วนตัวผมเลือกสระอา ครับเพราะรู้สึกไม่ต้องทำปากมาก 55555+"
     
  4. ซีดีธรรมะ

    ซีดีธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +822
    ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระคาถาชินบัญชรได้ที่นี่ครับ
    http://www.luangputo.com/Menu02/Mainmenu.htm
    http://www.luangputo.com/forum/index.php?board=2.0


    [​IMG]



    และขอเชิญฝึกปฏิบัติธรรมด้วยองค์พระสมเด็จโต และซีดีภาวนา
    http://www.luangputo.com/Menu03/Mainmenu.htm
    http://www.luangputo.com/forum/index.php?board=6.0



    [​IMG]




    [​IMG]


    แจกฟรีซีดีภาวนา... ใช้ฝึกร่วมกับการสวดพระคาถาชินบัญชรได้ดีเยี่ยม
    http://palungjit.org/threads/ซีดีภาวนา-นวตกรรมใหม่-ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม.252173/
    9
    9
    9
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2010
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]

    ขออนุญาตนำข้อมูลที่เคยได้พบเห็น มาขยายประสบการณ์ร่วมกันนะคะ
    หากผิดพลาดประการใด ขอสมาลาโทษ ขอมีผู้รู้แท้สูงชาติสัจจะธรรม แสดงแจ้งประจักษ์จริง สาธุ สาธุ สาธุ





    ที่มาข้อมูล : บทสวดมนต์พระไตรญาณชินบัญชร ของสมเด็จโต<!-- google_ad_section_end -->



    [​IMG]


    ขอการปฏิบัติบุญกิริยานี้บูชาคุณพระสัทธรรมเจ้าทั้งปวง

    ขออานิสงฆ์มหาธรรมทานจงมีไปสู่ทุกสรรพชิวิต
    ขอให้ข้าพเจ้าและทุกดวงจิตทุกดวงวิญญาณ ได้รับรสพระธรรมแล้ว มีจิตผ่องใส
    เป็นบ่อที่เกิดแห่งคุณ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ สูตะ จาคะ
    ปัญญามีความเพียร ขันติ
    เป็นผู้กำเนิดแห่งไตรเหตุ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ)
    ได้ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุด
    และห่างไกลพ้นเขตมารทั้งหลายโดยพลันและตลอดกาลเทอญ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2010
  6. พอชูเดช

    พอชูเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,276
    ค่าพลัง:
    +4,339
    สาธุครับ

    -มหาโมทนากับกุศลจิตทุกท่าน ขอให้สำเร็จตามที่ปรารถนาครับ

    สาธุ
     
  7. ฟ้าทมิฬ

    ฟ้าทมิฬ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +24
    ขอขอบคุณทุกท่านมากๆครับ สำหรับความรู้ดีๆที่มอบให้
     
  8. ยุบล

    ยุบล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +167
    พระคาถาที่คุณบุญญสิกขา ลง พิมพ์ผิด(แล้วทำให้ผิดหลักพยัญชนะสังโยค,ผิดหลักการแต่งฉันท์ซึ่งหลักการแต่งฉันท์แต่ละฉันท์นั้นจะกำหนด ลหุ,ครุ อย่างเคร่งครัด แม้กระทั่งการอ่านฉันท์แต่ละฉันท์นั้นก็มีทำนองเป็นเอกลักษณ์เป็นเฉพาะ),ออกเสียงผิด การจะพิมพ์ภาษาพระบาลีให้อ่านแบบภาษาไทยก็ระวังนิดหนึ่งนะขอรับ อานิสงค์การสร้างพระธรรมแม้บทๆหนึ่งยิ่งกว่าสร้างพระพุทธรูปเป็นไหนๆ ปรากฎมีอยู่10จุด
    1.สัมพุทธะปัณชะเร ผิดหลักพยัญชนะสังโยค ที่ควรเป็นคือ สัมพุทธะปัญชะเร แปลว่าในขอบเขต,หน้าต่าง,กรงธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    2.วะทะโต ตัวนี้เป็น วะทะ ธาตุในความกล่าว ที่ควรเป็นคือ วะสะโต
    3.ชินะปัญชะระมัชเณหิ คำนี้เป็นตะติยาวิภัตติและพิมพ์ศัพท์ผิดด้วย ซึ่งผิดคณะฉันท์ ที่ควรเป็นคือ ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ แปลว่าในท่ามกลางแห่งชินะบัญชร
    4.มะฮีตะเร ควรเป็นมะหีตะเร ภาษาพระบาลีไม่มีตัว ฮ ขอรับ แต่เวลาอ่านเปล่งเสียงให้ออกเสียง ห เป็น ฮ (ย ร ล ว ส ห ฬ 7ตัวนี้เป็น อัฑฒสระ คือมีเสียงกึ่งมาตราเพราะพยัญชนะเหล่านี้ บางตัวก็รวมลงในสระเดียวกันด้วยพยัญชนะอื่น ออกเสียงพร้อมกันได้ บางตัวแม้เป็นตัวสะกด ก็คงออกเสียงหน่อยหนึ่งพอให้รู้ได้ว่าตัวนั้นเป็นตัวสะกด บางคนบางท่านขลาดที่จะอ่านออกเสียงตัว ห ขลาดที่จะเขียนตัว ห ในภาษาพระบาลีเพราะไม่รู้วิธีอ่านไม่เข้าใจวิธีเขียน)เพราะฉะนั้นควรพิมพ์ มะหีตะเร แล้วหมายเหตุให้อ่านว่า มะฮีตะเร จะควรกว่าขอรับ
    5.อิเจวมันโต ผิดหลักสนธิขอรับ ควรเป็น อิจเจวะมันโต แปลว่านิจนิรันดรเทอญ
    6.ชิตาริสังโค ผิดหลักพยัญชนะสังโยคขอรับที่ควรเป็นคือ ชิตาริสังโฆ(ชิตะ+อริ+สังโฆ) แปลว่า ชนะหมู่แห่งข้าศึก นะขอรับ
    7.ชินะปัณชะเรติ ที่ควรเป็นคือ ชินะปัญชะเรติ (ชินะ+ปัญชะเร+อิติ)แปลว่าในขอบเขต,หน้าต่าง,กรงธรรมของสมเด็จพระชินสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอรับ
    8.วะมะโสตัตเก ศัพท์นี้แปลไม่ได้ความควรเป็น วามะโสตะเก แปลว่า ณ,ที่หูเบื้องซ้าย
    9.สิละเตเชนะ สิละตัวนี้แปลว่าศิลา รวมแปลว่า ด้วยเดชแห่งศิลา ซึ่งไม่ใช่ที่ควรเป็นคือ สีละเตเชนะ แปลว่าด้วยเดชแห่งศีล ขอรับ
    10. พาหิรัชณัตตุปัททะวา ตัว ฌ ขอรับมิใช่ตัว ณ ที่ควรเป็นคือ พาหิรัชฌัตตุปัททะวา(พหิ+รัชฌ+อุปัททะวะ) แปลว่าอุปัทวะ(เครื่องขัดข้อง)ทั้งภายในและภายนอก
    ...........
    ความถูกต้องก็คือความถูกต้องร่ำไปขอรับ หลักการรจนากาพย์,โคลง,ฉันท์ฯลฯในพระพุทธศาสนามีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนขอรับ
    ...........
    ฉบับของ องค์สมเด็จพระสังฆราช องค์ปัจจุบันกับหลวงพ่อเจ้าคุณเที่ยงวัดระฆังฯถูกนะขอรับเพียง แต่คนนำเผยแผ่ อาจจะจำท่องมาพิมพ์ และพิมพ์ผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการ แต่จะถามว่าขลังไหมก็ย่อมขลังเพราะทำด้วยศรัทธา,ด้วยความเพียรก่อเกิด (เมื่อท่องบ่นบ่อยๆยอมก่อให้ได้สมาธิ3 ซึ่งนำพาไปสู่....ได้)แต่จะให้ดีที่สุดก็คือดำรงแบบแผนไว้.
    .........
    พระพุทธศาสนาจะหายไปจริงๆก็ต่อเมื่อมนุษย์(พุทธศาสนิกชน)ไม่สามารถจำพระธรรมเพียงบทๆหนึ่งไว้ได้.
    .
    ขอฉลโฉมบารมีด้วยคนนะขอรับคุณ บุญญสิกขา
     
  9. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,437
    มาอ่านค่ะ...................
     
  10. paulaadi

    paulaadi สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +14
    คุณ ยุบล ตอบได้กระจ่างมาก เลยครับ

    ขอลิ้ง ที่ ยุบล ท่องอยู่ จะดีมากเลย คับ
     
  11. clearlove

    clearlove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +644
    ฟังมามีผู้รู้บอกไว้ว่า ถ้าท่องไปมากๆแล้วหูจะแว่ว จริงไหม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2010
  12. ตุ๊โต้ง

    ตุ๊โต้ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +223
    เป็นพระคาถาที่ผมสวดไม่ค่อยจะคล่องสวดยากกว่าพระคาถาอื่นมากครับสำหรับตัวผม...
     
  13. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ปุจฉา ตามมา วิสัชนา พาสาธุการ เจริญธรรม เจ้าค่ะ

    ปุจฉาวิสัชนาแปลว่าถามตอบกัน หมายถึงการถามและตอบกันไปมาเป็นการหาความรู้ความเข้าใจจากอีกฝ่ายหนึ่ง

    ปุจฉาวิสัชนา เป็นคำเรียกประเด็นธรรมที่มีการถามตอบกัน<o></o>
    ปุจฉาวิสัชนาคือ พระรูปหนึ่งเป็นผู้ถามอีกรูปหนึ่งเป็นผู้ตอบ โดยถามกันในเรื่องธรรมบ้าง เรื่องอื่นๆที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังบ้าง

    ปุจฉาวิสัชนาเป็นวิธีสอนอย่างหนึ่งของ พระพุทธเจ้า โดยทรงเปิดโอกาสให้ พระสงฆ์ หรือผู้เข้าเฝ้าถามปัญหาได้ และพระองค์ทรงตอบเอง เป็นทางเกิดปัญญาอย่างหนึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คู่สนทนาได้ซักไซ้ไล่เลียงถามจนกระทั่งได้คำตอบที่พอใจเป็นวิธีการให้ความรู้ตรงแก่ผู้สงสัยในเรื่องนั้นๆและเป็นการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองในการเรียนการสอน หรือการสนทนา<o></o>
    <o></o>
    อ้างอิงอธิบายความปุจฉา-วิสัชนา ความ : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    [​IMG]
    <o></o>

    <o></o>



    [​IMG]



    ด้วยช่วงระยะที่ผ่านมา มิได้เข้าข้องแวะเยี่ยมเยี่ยนพลังจิต
    วันนี้ มีโอกาส มาเห็น ปุจฉา ตามหา วิสัชนา บนกระทู้นี้ :)

    กราบขอบพระคุณ "คุณยุบล" ค่ะที่ได้สละเวลาอันมีค่า ช่วยขยายความเข้าใจให้กระจ่าง เพื่อสร้างสมบ่มเพาะ เติมเต็มสุตมยปัญญา สู่ ตรรกมยปัญญา เป็นมหาธรรมทาน เพื่ออนุชนผู้ศึกษา

    กราบสาธุ ไมตรีจิต มากมาย ขอเจริญในธรรมยิ่ง นะคะ :)



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...