ฝายน้ำล้น

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ปาฏิหาริย์, 3 ตุลาคม 2008.

  1. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    ขอรบกวน สอบถามหน่อยครับ
    ถ้าต้องการไปสร้างฝายน้ำล้นให้กับชาวบ้าน เพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำ
    จะต้องดำเนินการอย่างไร หรือไปร่วมกับหน่วยงานใด
    ตั้งใจว่าจะพาคนที่บริษัทไปช่วยกันทำในวันหยุด
    ...
    รบกวนด้วยนะครับ
     
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ดรื่องการประสานกับหน่วยงานนั้นเคยได้ยินว่าทางเครือปูนซีเมนต์ไทยมีโครงการสร้างฝายต้นน้ำครับ

    และเคยได้ดูรายการสารคดี

    เรื่องคนทำฝาย เป็นเรื่องที่คนธรรมดา ที่เป็นชาวบ้านคนหนึ่ง หันมากระตุ้นเตือน นำให้เพื่อนบ้านในหมู่บ้านมาร่วมกันทำฝายธรรมชาติ เพื่ออนุรักษ์ ป่าต้นน้ำ และ ชะลอแรงรักษาปริมาณน้ำ

    เริ่มต้นมีคนไปกัน คนสองคน โดยใช้เวลาในวันเสาร์อาทิตย์ที่หยุดงาน

    แรกๆ ได้ฝายประมาณ วันละฝาย


    ภายหลังมีคนไปร่วมมากขึ้น เป็น สิบ กว่าคน จนสามารถสร้างฝายต้นน้ำธรรมชาติ ได้ วันละ ยี่สิบฝาย


    เขาก็ยังทำกันอยู่เรื่อยๆ

    ผลที่ได้ปรากฏว่า จากที่พื้นที่หมู่บ้านแต่ก่อนแห้งแล้ง ไม่มีป่า

    ก็กลับมาชุ่มชื้นมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

    เมื่อป่ามา อาหาร ยาสมุนไพร สัตว์ป่า ก็กลับมา

    เมื่อไม่ต้องซื้อหาข้าวของ

    ก็มีเงินเหลือใช้

    ก็มีความสุขความพอเพียงขึ้น

    เมื่อเราให้กับธรรมชาติโดยไม่หวังผลตอบแทน อยู่ร่วมเป็นมิตรต่อธรรมชาติ

    ธรรมชาติก็ย้อนกลับมา ตอบแทนและจุนเจือชีวิตของเราครับ

    ลองติดต่อ มูลนิธิชัยพัฒนา กรมป่าไม้ ปตท. และเครือปูนซีเมนต์ไทยดูครับ
     
  3. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    เคยไปตามรอยพระบาทในป่าลึก แถวชลบุรี ไปเจอฝายกันนั้นที่เขาสร้างมาครับ เอามาฝากครับ

    อนุโมทนาด้วยครับ
    :VO

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    เอาข่าวกิจกรรมที่ผ่านมาของมูลนิธิกระจกเงา มาฝากครับ


    รวมพลฅนอาสาสร้างฝายเริ่มแล้ว <hr>
    โครงการการจัดการภัยพิบัติฯ เตือนภัยธรรมชาติป้องกันได้ แค่รวมใจกันเปิดรับอาสาสมัครสร้างฝายจนถึงพฤษภานี้
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td valign="top"> [​IMG]</td> <td valign="top"> </td> <td valign="top"> </td> <td> อาสาสมัครร่วมสร้างฝายชะลอน้ำ กันน้ำป่าไหลทำลายพื้นที่เสี่ยง โครงการการจัดการภัยพิบัติฯ เน้นการป้องกันล่วงหน้า ระบุลดความเสียหายได้จริง พร้อมกระจายความชื้น ลดไฟป่า รับอาสาอีกมากสร้างฝายจนถึงพฤษภานี้
    เมื่อวันที่ 16 – 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โครงการการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน มูลนิธิกระจกเงา โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ทำกิจกรรมการสร้างฝาย ร่วมกับอาสาสมัคร จำนวน 17คน ในชื่อกิจกรรม “อาสาสมัครสร้างฝายชะลอน้ำ รุ่นที่ 1” ณ พื้นที่ปฏิบัติการลำน้ำห้วยขม หมู่ 1 บ้านห้วยขมอาข่า ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
    ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ได้จริงไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงในการเกิดดินถล่ม
    </td> </tr> </tbody> </table>ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ทางโครงการฯ มุ่งหวังให้พื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติ สามารถลดความรุนแรงจากภัยธรรมชาติและน้ำป่าไหลหลาก, การช่วยชะลอการพังทลายของดิน, ชะลอความเร็วของกระแสน้ำ, ลดความรุนแรงของไฟป่า และยังส่งผลให้เกิดความชุมชื้นในวงกว้าง ซึ่งฝายที่ได้ทำในครั้งนี้ มีจำนวน 5 ฝายด้วยกัน ได้แก่ ฝายที่ 1 -2 และฝายที่ 4 เป็นฝายที่สร้างจากหินและปูนซึ่งจะช่วยชะลอการไหลของน้ำอย่างถาวร ​





    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td valign="top"> ฝายที่ 3 ดัดแปลงจากการสร้างทางกั้นน้ำ โดยใช้กระสอบทรายพร้อมกับนำไม้ไผ่มาปักกัน และฝายที่ 5 เป็นการสร้างฝายผสมผสานด้วยไม้ไผ่หิน และปูน ซึ่งฝายไม้ไผ่ที่เห็นนั้นชาวบ้านในพื้นที่เป็นคนทำขึ้น โดยเป็นฝายแบบคอกหมูซึ่งตรงกลางฝายนั้นจะใส่หินและผสมปูนเทราดลงไป เพื่อเสริมความแข็งแรง
    นางสาวกรกนก สำเนากลาง เจ้าหน้าที่โครงการ การจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน สำนักงานเชียงราย กล่าวว่า “การไปสร้างฝายมีความสำคัญมาก นอกจากจะช่วยชะลอน้ำ เก็บความชุ่มชื้นแล้ว ยังช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่าในฤดูแล้งอีกด้วย หากพูดถึงคำว่าอาสาสร้างฝาย นั่นก็หมายถึงผู้ที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคม กายพร้อมใจพร้อมช่วยสังคมอย่างลงแรงเต็มที่โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น ความรู้สึกที่มีต่ออาสาสร้างฝายรุ่นที่ 1 นี้คงจะเป็นการที่ได้เห็นกลุ่มอาสามีความสามัคคีกัน ได้เห็นรอยยิ้มและเสียงหัวเราะอีกทั้งการที่มีอาสาสร้างฝายจะเห็นประโยชน์ในระยะยาวอย่างแน่นอน ส่วนชาวบ้านที่ไปร่วมสร้างฝายด้วยกัน พวกเขารู้สึกดีใจมากที่เห็นกลุ่มอาสาเข้ามาช่วย
    </td> <td valign="top"> </td> <td valign="top"> [​IMG]</td> </tr> </tbody> </table>เหลือในพื้นที่ของเขา
    [​IMG]
    มันเป็นแรงจูงใจที่พวกเขาจะได้ไประดมชาวบ้านในพื้นที่ให้มาช่วยกันสร้างฝายอีกแรงหนึ่ง และสิ่งสำคัญที่สุดคือชาวบ้านก็จะรักพื้นที่ของเขามากขึ้นกว่าเดิม ใครที่มีความสนใจอยากลองสร้างสิ่งดีๆให้กับสังคม การสร้างฝายที่ตำบลแม่ยาว จังหวัดเชียงราย จะเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับทุกคน ผู้ที่สนใจเป็นอาสาสร้างฝายจะได้ทำงานร่วมกับชาวบ้านและเยาวชนในชุมชน อยากจะเชิญชวนให้มาสร้างความชุ่มชื้นให้ผืนป่าของเรา รับรองว่าทุกคนจะ ได้ประสบการณ์การช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริงจากที่นี่”

    กิจกรรมอาสาสร้างฝายชะลอน้ำจะมีจนไปถึงเดือนพฤษภาคม ผู้ที่สนใจร่วมเป็นอาสากับเราได้ที่ www.siamvolunteer.com หรือที่​
    สำนักงานกรุงเทพฯ ติดต่อคุณจรัญ มาลัยกุล เบอร์โทรศัพท์ 081-018-3004,สำนักงานเชียงราย ติดต่อคุณกรกนก สำเนากลาง เบอร์โทรศัพท์ 084-046-2175 และเบอร์กลางโครงการการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน(เชียงราย) 086-344-2330
    เพื่อมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดภัยทางธรรมชาติกับเรา โครงการ การจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน

    http://www.mirror.or.th/autopagev4/show_page.php?topic_id=757&auto_id=3&TopicPk=
     
  5. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    ข่าวกิจกรรมที่ผ่านมาของ มูลนิธิกองทุนไทย ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์


    5 รางวัลป่างาม-น้ำใสฯ (ครั้งที่ 3) "ชวนคนเมืองรักษ์ป่า"
    สังคมอุตสาหกรรมเร่งให้คนเข้าสู่วงจรของการเผาผลาญทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ลืมหูลืมตา ใช่หรือไม่ว่า เพราะวิถีชีวิตที่ฉีกออกไปจากการพึ่งพาธรรมชาติทางตรงทำให้ระบบสำนึกเชิงคุณค่าในเรื่องสิ่งแวดล้อมของคนเมืองลดลง จนอาจกล่าวได้ว่า 'คน' วันนี้ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเพียงพอ
    [​IMG]
    มูลนิธิกองทุนไทย ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) จัดกิจกรรม ป่างามน้ำใส ร่วมใจรักษ์ (3) บริเวณหอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ 25-28 ตุลาฯ 3 ครั้ง นับจากปี 2546-2548 คือ การสร้างระบบความสัมพันธ์เชิงอนุรักษ์ เปิดมุมมองและปิดช่องว่างเรื่องสิ่งแวดล้อมระหว่างคนในชนบทกับคนในเมือง ให้เกิดความเข้าใจร่วมด้วยการมอบรางวัล 5 โครงการอนุรักษ์ดีเด่น
    [​IMG]กรรชิต สุขใจมิตร ผู้อำนวยการมูลนิธิกองทุนไทย กล่าวเปิดถึงที่มาที่ไปของการจัดกิจกรรมว่า "คนทุกภาคส่วนในสังคมไทยจำเป็นจะต้องมีส่วนในการพัฒนาสังคมร่วมกัน การสนับสนุนกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนขนาดเล็กซึ่งทำงานกับคนในชุมชนระดับรากหญ้าจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง" ทั้งนี้ ผู้อำนวยการมูลนิธิกองทุนไทย ย้ำถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติว่า จะต้องมาจากความร่วมมือของคนในทุกภาคส่วนสังคมไทย
    สำหรับโครงการที่ผ่านการพิจารณาทั้ง 5 โครงการ จะได้รับการสนับสนุนเป็นเงินรางวัลโครงการละ 50,000 บาท ซึ่งทั้ง 5 โครงการที่ผ่านการพิจารณา ล้วนแล้วแต่เป็นองค์กรที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมมายาวนาน
    พิชาญ ทิพวงษ์ จาก โครงการสร้างฝายชะลอความชื้น ผู้ประสานงานกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูถ้ำ ภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น กล่าวถึงประเด็นหลักของการดำเนินโครงการว่า "ฝายชะลอความชื้นจะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการกักเก็บน้ำยามหน้าแล้งสำหรับดับไฟป่าและแหล่งสำรองน้ำจืดเอาไว้ใช้ในทุก ๆ ด้าน" ทั้งนี้ ยังเป็นแหล่งเพาะ-ขยายพันธุ์ปลาในธรรมชาติที่ยั่งยืน
    [​IMG]กลุ่มอนุรักษ์ภูถ้ำ-ภูกระแต คือ องค์กรชุมชนที่ประกอบด้วยคนทุกเพศวัยจากเด็กจนถึงคนหนุ่มคนสาวและผู้สูงอายุใน 11 หมู่บ้าน ที่รวมตัวกันทำงานมานับตั้งแต่ ปี 2541 ทั้งนี้ ป่าภูถ้ำ-ภูกระแต เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติภูระงำ ทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำของบึงละหานนาและลุ่มน้ำชี แหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สำคัญทางภาคอีสาน จากการทำงานมายาวนาน พิชาญย้ำว่า "ได้ทำให้ชาวบ้านตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลรักษาป่า สิ่งที่ยืนยันเรื่องนี้ได้ คือ จำนวนอาหารในป่าที่เพิ่มมากขึ้น" ผู้ประสานงานย้ำว่าต่อไปจะเน้นการขยายงานไปยังพื้นที่อื่น ๆ
    โครงการอนุรักษ์-ฟื้นฟูลุ่มน้ำแม่ละอุป ต.แจ่มหลวง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ การรวมตัวของชุมชนกะเหรี่ยงนักอนุรักษ์ เดชา มหรรณพนทีไพร จากองค์กรเครือข่ายลุ่มน้ำแม่ละอุปเล่าถึงที่มาที่ไปของโครงการให้ฟังว่า "โครงการอนุรักษ์-ฟื้นฟูลุ่มน้ำแม่ละอุปเกิดจากการมองปัญหาป่าไม้และให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ซึ่งปัญหาใหญ่ในวันนี้ คือ การบุกรุกป่า" จุดกำเนิดของลุ่มน้ำแม่ละอุปอยู่บนภูเขาสูงและป่าทึบใน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เดชาบอกว่า "หากป่าหมด คนอยู่ไม่ได้"
    ในปัจจุบันมีการบุกรุกป่าขยายพื้นที่ทำมาหากินเพิ่มมากขึ้น ขณะพื้นที่ป่ามีจำนวนจำกัด เพราะตระหนักถึงปัญหา เดชาบอกว่า ชาวบ้านจาก 4 หมู่บ้านบริเวณลุ่มน้ำแม่ละอุปนี้จึงรวมตัวตั้งเครือข่ายลุ่มน้ำแม่ละอุป ในปี 2546 "ดูแลอนุรักษ์ตั้งกฎการใช้ทรัพยากรป่า จัดเวรยามตรวจป่า ปลูกป่าเสริม ทำฝายดักตะกอน แบ่งเป็นป่าอนุรักษ์ 58,000 ไร่ ป่าต้นน้ำ 13,000 ไร่ ป่าใช้สอย 14,000ไร่ และพื้นที่ป่าอื่น ๆ 10,040 ไร่" พร้อมกับฟื้นฟูพิธีกรรมดั้งเดิมของชุมชนกะเหรี่ยงจนป่าเริ่มคืนความสมบูรณ์ และได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (UNDP)
    [​IMG]บำเพ็ญ ไชยรักษ์ จากโครงการสนับสนุนชุมชนฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่า ผู้ประสานงานชมรมอนุรักษ์-ฟื้นฟู ลุ่มน้ำสงคราม อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร ปฎิบัติการที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิต เธอกล่าวว่า "40 ปีที่ผ่านมาป่าบุ่ง-ป่าทามบริเวณลุ่มน้ำสงครามสูญเสียไปมากมาย ผลมาจากการไม่มีการศึกษาเพื่อผลเชิงอนุรักษ์อีกทั้งยังเกิดการรุกทำลายป่าของนายทุนในพื้นที่" เพราะฉะนั้น การฟื้นฟูป่าบุ่ง-ป่าทามลุ่มน้ำสงครามถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน เธอย้ำ
    ลักษณะพิเศษของป่าบุ่ง-ป่าทาม คือ น้ำจะท่วมเจิ่งในฤดูฝนและจะแห้งเป็นที่ลุ่มอุดมสมบูรณ์ในฤดูแล้ง การตัดทำลายป่าบุ่ง-ป่าทามในรอบ 40 ปี ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง เธอบอกต่อว่า "การออกสัมปทานป่า จับจองพื้นที่ตัดทำลายเพื่อเผาถ่านทำให้บุ่ง-ทามตลอดลุ่มน้ำสงครามตกอยู่ในสภาพป่าเสื่อมโทรม จนปี 2539 ชาวบ้านกว่า 10 หมู่บ้านรวมตัวกันตั้งชมรมและสนับสนุนการทำงานเชิงอนุรักษ์-ฟื้นฟู จัดตั้งธนาคารพันธุ์ไม้และฟื้นฟูป่าบุ่ง-ป่าทามด้วยการปลูกป่าในพื้นที่สาธารณะ" การทำงานสอดประสานงานอนุรักษ์ให้แก่ชาวบ้านเป็นสิ่งสำคัญ เธอย้ำ
    สำหรับ กลุ่มป่าชุมชนร่องท่อน ต.ชมพู อ.เนินมะปราง อรวรรณ คล่ำดิษฐ์ ผู้ประสานงานโครงการ ฟื้นฟูวิถีท้องถิ่นพึ่งพิงธรรมชาติ ระบุอย่างมีนัยสำคัญถึงการทำงานอนุรักษ์ว่า "การออกสัมปทานในปี 2525 ส่งผลให้เกิดการบุกเบิกพื้นที่ป่าเพื่อทำมาหากินขนานใหญ่ ชาวบ้านต้องกลับมาทบทวนถึงความสำคัญของงานเชิงอนุรักษ์ จัดกิจกรรมคืนป่าสักทองและทำแนวกันไฟ จัดระบบประปาภูเขา ประสานความร่วมมือทำงานเชิงอนุรักษ์ระหว่าง วัด-ป่า-ชุมชนเข้าด้วยกัน" เป็นความลงตัวในการสร้างเครือข่ายการทำงาน
    การหมดไปของทรัพยากรป่าไม้ทำให้ชีวิตชาวร่องท่อนเป็นไปอย่างยากลำบาก กลุ่มป่าชุมชนร่องท่อนจึงถูกจัดตั้งในปี 2540 “ถือเป็นการสรุปบทเรียนครั้งใหญ่" อรวรรณสรุปก่อนจะอธิบายต่อมาว่า "การทำงานเน้นส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทร่วมในการดูแลรักษาป่าโดยเริ่มต้นจากป่าชุมชนที่เหลืออยู่ 130 ไร่ จัดกระบวนการสร้างกติกาการเรียนรู้รักษาป่าอย่างยั่งยืน" อรวรรณ ระบุต่อมาว่าต่อไปมีแผนขยายพื้นที่ป่าเพิ่มเติมเป็น 175 ไร่
    [​IMG]สุดท้าย โครงการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนเพื่ออนุรักษ์ป่าชุมชนต้นน้ำพอง จ.เพชรบูรณ์ ผลจากการให้สัมปทานและส่งเสริมการปลูกข้าวโพด พืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ทำให้ป่าบริเวณต้นน้ำพองสูญหาย จิระศักดิ์ ตรีเดช เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าชุมชนต้นน้ำพอง เปิดเรื่องว่า "ป่าชุมชนในเขต อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ คือ ความสำคัญของระบบนิเวศน์และความยั่งยืนของน้ำพองทั้งลุ่ม ผืนป่าต้นน้ำเหล่านี้ช่วยซับและกักเก็บน้ำที่ไหลหล่อเลี้ยงแม่น้ำพอง แม่น้ำแห่งชีวิตของคนนับล้านในภาคอีสาน"
    "ป่าผืนนี้ยังเป็นแหล่งอาหาร สมุนไพรซึ่งสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ป่า เพราะฉะนั้น ผลจากการสัมปทานป่าในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมาและการปลูกพืชเศรษฐกิจ ข้าวโพดเพียงชนิดเดียวทำให้พื้นที่ป่าแถบนี้ลดลงอย่างรวดเร็ว" โครงการขยายความร่วมมือเชิงอนุรักษ์ ลุ่มน้ำพอง จึงให้ความสำคัญกับ 'ป่า' ซึ่งเป็นแหล่งความมั่นคงทางด้านอาหาร การทำงานเชิงเครือข่ายจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน จิระศักดิ์ ระบุว่า "เริ่มง่าย ๆ เราทำค่ายสร้างเครือข่ายอนุรักษ์จนเกิดพัฒนาการมีการอนุรักษ์วังปลาตลอดลำน้ำพองและลุ่มน้ำสาขา" คืนความมั่นคงทางด้านอาหารสู่ชุมชนพื้นที่
    ธรรมชาติเป็นสิ่งเกี่ยวเนื่องต่อกันและแผนต่อไป จิระศักดิ์ ระบุว่า ต้องปลูกป่าให้ได้มากกว่า 5,000 ต้น นำความอุดมสมบูรณ์กลับคืน เพิ่มปริมาณอาหารในธรรมชาติ สังคมวันนี้บีบรัดเสียจนคนไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างสำนึกใหม่ในการมองธรรมชาติ การทำงานระบบเครือข่ายสร้างความร่วมมือถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เขาสรุป
    [​IMG][​IMG]
    [​IMG] [​IMG]

    ทีมงาน ThaiNGO
    มูลนิธิกองทุนไทย

    http://www.thaingo.org/HeadnewsKan/scb48.htm
     
  6. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    ฝายชะลอน้ำ CSR ของ 2 บริษัทปูนซีเมนต์

    กระแสการทำโครงการเพื่อตอบแทนสังคมของบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ กำลังเดินไปในทิศทางเดียวกัน นั่นก็คือ การอนุรักษ์และรักษาป่าต้นน้ำในพื้นที่ภาคเหนือให้ยังคงสภาพเดิม และเป็นต้นธารของแม่น้ำสำคัญของประเทศต่อไป

    อย่างน้อยก็มีผู้ผลิตปูนซีเมนต์ 2 รายที่จริงจังกับโครงการฝายชะลอความชุ่มชื้นตามแนวพระราชดำริ คือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย และบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ที่ออกมาทำในเวลาใกล้เคียงกัน

    น้ำได้กลายเป็นเรื่องหลักที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทยให้ความสำคัญในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของบริษัทมีเรื่องการดูแลแหล่งต้นน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น อย่างเช่นโครงการ SCG Do It Green ก็สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องน้ำ

    ดนัย บัวเลิศ กรรมการผู้จัดการ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด อธิบายถึงสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่ว่า โรงงานที่ลำปางจะเกิดไฟป่าทุกปี แม้ว่าทางโรงงานจะแก้ปัญหาด้วยการจัดทำแนวกันไฟ ตั้งหน่วยลาดตระเวน อบรมการดับไฟป่าให้กับพนักงาน แต่ก็ไม่ได้ทำให้ไฟป่าลดน้อยลง จนสุดท้ายก็ทดลองเลือกใช้วิธีแนวป่าเปียก (Wet Fire Break) โดยใช้ฝายชะลอน้ำมาเป็นตัวแก้ปัญหา

    รูปแบบของฝายชะลอน้ำ คือภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ฝายแม้ว เมื่อชาวเขาต้องการกักเก็บน้ำไว้ใช้ ก็จะโยนก้อนหินลงไปกั้นทางน้ำตามลำธารต่างๆ ทำให้น้ำไหลช้าลง และสามารถสำรองนำเอาไว้ไช้ได้นานขึ้น

    ต้นแบบแนวคิดนี้ได้มาจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ ห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีต้นแบบของฝายชะลอน้ำให้ดู รวมถึงผลที่ได้รับจากการทำวิธีการนี้

    เขาบอกว่า บริษัทได้เริ่มทดลองทำฝายชะลอน้ำตัวแรกตั้งแต่ปี 2547 ด้วยการใช้วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่นำมาดัดแปลง โดยจะเน้นว่าไม่ต้องซื้อหา และฝายตัวแรกถูกสร้างขึ้นที่บริเวณเรือนรับรอง ซึ่งเป็นจุดที่เกิดไฟป่าทุกปี ผลที่ได้พบว่าสามารถลดจำนวนที่เกิดไฟป่าลงได้ รวมทั้งยังลดความรุนแรงจากไฟป่าได้ด้วย

    เมื่อได้คำตอบที่พอใจแล้ว การสร้างฝายชะลอน้ำจึงเกิดตามมาอย่างมากมายตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งเพียงปีเดียวสามารถสร้างฝายชะลอน้ำไปถึง 222 ตัว เฉลี่ยคร่าวๆ ก็คือในเวลา 1.5 วัน จะมีฝาย ชะลอน้ำเกิดขึ้น 1 ตัว

    "การเพิ่มจำนวนของฝายชะลอน้ำในโรงปูนที่ลำปาง จะให้อาสาสมัครเป็นเจ้าภาพสร้างฝาย โดยไม่มีการบังคับ และช่วงหลังได้พัฒนาเป็นฝายวันเกิด พนักงานที่เกิดเดือนเดียวกันก็รวมตัวช่วยกันสร้างฝายชะลอน้ำ" ดนัยบอกถึงเหตุผลที่ฝายชะลอน้ำของปูนซิเมนต์ไทย ลำปาง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

    หลังจากที่ลงมือทำกันมาต่อเนื่อง 2 ปีผลที่ออกมาล่าสุดพบว่า พื้นที่ของโรงงานจำนวน 1,000 ไร่ มีฝายชะลอน้ำแล้ว 250 ฝาย จำนวนไฟป่าที่เคยเกิดขึ้นสูงสุด 226 ครั้ง ในปี 2542 เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2548 เกิดไฟป่าเพียง 2 ครั้งเท่านั้น ส่วนปีนี้ เกิดขึ้นเพียง 4 ครั้ง และสภาพป่าเริ่มกลับมาสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง

    นอกจากนี้ยังได้มีการถ่ายทอดความรู้เรื่องการก่อสร้าง วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างฝายให้กับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้ฝายชะลอน้ำเกิดขึ้นกระจายไปตามพื้นที่ฝ่ายต่างๆ ให้มากที่สุดและชุมชนที่ได้รับความรู้และนำไปพัฒนาได้รวดเร็วที่สุด ก็คือบ้านสามขา ที่อยู่ในอำเภอแม่ทะ เพราะที่นี่มีชุมชนที่เข้มแข็ง ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้าน ฝายชะลอน้ำที่บ้านสามขา จึงเกิดขึ้นเต็มพื้นที่ป่าของหมู่บ้าน

    ทั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทยและบ้านสามขา ต่างก็ถ่ายทอดความรู้ด้านการสร้างฝายชะลอน้ำให้กันและกัน จนขณะนี้บ้านสามขา กลายเป็นอีกต้นแบบหนึ่งของการฟื้นฟูป่าของชาวบ้าน รองมาจากโครงการพระราชดำริที่ห้วยฮ่องไคร้

    สำหรับฝายชะลอน้ำที่ปูนซิเมนต์ไทยก่อสร้างมีทั้งแบบถาวร แบบกึ่งถาวร และแบบชั่วคราว ใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ไม้ล้ม ก้อนหิน ทราย เถาวัลย์ มาก่อสร้าง โดยจะสร้างให้มีความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร ต้นทุนก่อสร้างประมาณ 5,000 บาทต่อฝาย อายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปี

    ในส่วนของปูนซีเมนต์นครหลวง รุ่งโรจน์ สุนทรเสถียรกุล รองประธานอาวุโส การบริหาร และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บอกว่า บริษัทตั้งงบประมาณไว้ปีละ 9 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นให้ได้ 880 ฝาย โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2550-2552

    พื้นที่ในการสร้างฝายปีนี้อยู่ใน 3 จังหวัดคือ อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย เขตอำเภอแม่ริม อำเภอเมือง และอำเภอหางดง เชียงใหม่ จำนวน 300 ฝาย อำเภอแม่ทา จังหวัดลำปางจำนวน 400 ฝาย และอำเภอปัว จังหวัดน่านอีก 200 ฝาย

    รุ่งโรจน์ถือเป็นกลุ่มแรกของปูนซีเมนต์นครหลวงที่ลงมือสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น โดยได้ความรู้และรูปแบบการสร้างมาจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่อยู่ในอำเภอดอยสะเก็ด ที่นี่เป็นแหล่งความรู้ของการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นที่สมบูรณ์ที่สุด

    "ฝายตัวแรกของปูนซีเมนต์นครหลวงอยู่ที่บ้านทับกระเปา จังหวัดลำพูน สร้างเป็นฝายปูนชั้นเดียว มีพนักงานร่วมกันสร้าง 30 คน แต่ชาวบ้านมาช่วยเป็นร้อยคนใช้เวลา 1 วันก็เสร็จ โดยสามารถสร้างได้ถึง 3 ตัว" เขาเล่าถึงจุดเริ่มต้นของฝายปูนนก

    ฝายของบริษัทปูนซีเมนต์ถูกชาวบ้านตั้งคำถามว่า ใช้ปูนซีเมนต์มากกว่าฝายที่ชาวบ้านสร้างเอง ซึ่งชาวบ้านให้คำตอบด้วยว่า เมื่อเจ้าของปูนมาเอง เลยไม่ต้องห่วงเรื่องใช้ปูนมากหรือน้อย

    ขณะนี้การสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นของปูนซีเมนต์นครหลวง มีถึง 4 รุ่นแล้ว และกระจายลงไปในพื้นที่เป้าหมาย 3 จังหวัด

    ถึงโครงการจะกำหนดไว้ 880 ฝาย แต่รุ่งโรจน์เชื่อว่าเมื่อครบ กำหนดแล้วน่าจะสร้างได้มากกว่า และอาจจะมีการต่ออายุโครงการ นี้ออกไปอีกก็ได้

    นอกจากนี้ทางปูนซีเมนต์นครหลวง ยังทำหน้าที่กระจายข่าวสารชักชวนลูกค้า พนักงาน นักเรียน นักศึกษา กลุ่มอาสาสมัครต่างๆ เข้ามาสร้างฝายของตัวเองด้วย เหมือนกับการออกค่ายอาสาตามมหาวิทยาลัยนั่นเอง

    ทั้งสองบริษัทลงมือสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น โดยมีพื้นฐานความรู้มาจากโครงการห้วยฮ่องไคร้ ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2525 มีเนื้อที่ 8,500 ไร่ เดิมสภาพพื้นที่แห้งแล้ง กลายเป็นป่าเสื่อมโทรม แต่ขณะนี้สภาพป่ากลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง รวมถึงโครงการพัฒนาอาชีพต่างๆ ถูกนำมาทดลองใช้ที่นี่ เพื่อเป็นต้นแบบนำไปใช้กับโครงการและพื้นที่อื่นๆ

    ไม่แน่ในอนาคต อาจจะมีฝายชะลอความชุ่มชื้นที่เกิดจากความร่วมมือของปูนซิเมนต์ไทยกับปูนนครหลวงขึ้นมาสัก 1 ฝายก็ได้

    http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=59647
     
  7. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    ปูนอินทรีชู​แนวคิด "สร้างฝายลด​โลกร้อน" ​เน้น​แก้ปัญหา​แบบยั่งยืน คืนสมดุลสู่ธรรมชาติ

    Friday, 29 February 2008 00:49 -- อสังหาริมทรัพย์
    ปูนอินทรีชู​แนวคิด “สร้างฝายลด​โลกร้อน” ​เน้น​แก้ปัญหา​แบบยั่งยืน คืนสมดุลสู่ธรรมชาติ ​เดินหน้า​โครง​การ ๘๐ พรรษา ๘๘๐ ฝาย อินทรีสร้างถวาย​ในหลวง ปีที่ ๒ หวังสร้างกระ​แสห่วง​ใยสิ่ง​แวดล้อม สาน​แนวพระราชดำริต่อ​เนื่อง บริษัท ปูนซี​เมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ​ผู้ผลิต​และจัดจำหน่าย “ปูนอินทรี” ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา สานต่อ​โครง​การ “๘๐ พรรษา ๘๘๐ ฝาย อินทรีสร้างถวาย​ในหลวง” อย่างต่อ​เนื่อง​เป็นปีที่ ๒ ภาย​ใต้​แนวคิด Global Warming – สร้างฝายลด​โลกร้อน คืนสมดุลสู่ธรรมชาติ หวังกระตุ้น​ให้ประชาชนทั่วประ​เทศตื่นตัวกับภาวะ​โลกร้อน​และหันมามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง พร้อมประกาศพื้นที่​เร่งด่วนสร้างฝาย​เพิ่ม​ความชุ่มชื้นตลอดปี ๒๕๕๑



    จันทนา สุขุมานนท์ รองประธานบริหาร (ลูกค้าสัมพันธ์) บริษัท ปูนซี​เมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ​ในฐานะ​ผู้ริ​เริ่ม​โครง​การ ๘๐ พรรษา ๘๘๐ ฝาย อินทรีสร้างถวาย​ในหลวง กล่าวว่า “หลังจากที่ปูนอินทรี​ได้​เปิดตัว​และดำ​เนิน​โครง​การ ๘๐ พรรษา ๘๘๐ ฝาย อินทรีสร้างถวาย​ในหลวง มาตลอดระยะ​เวลา ๑ ปีที่ผ่านมา ถือ​ได้ว่า​โครง​การประสบ​ความสำ​เร็จ​ได้รับ​ความสน​ใจจาก​ผู้​เกี่ยวข้อง​ ทั้งพนักงาน ​ผู้บริหาร คู่ค้า สื่อมวลชน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่ว​ไปจากทั่วประ​เทศ​เป็นจำนวนมาก ​ซึ่งนับว่า​เราสามารถสร้าง​การรับรู้​ถึง​ความสำคัญ​และประ​โยชน์ของ​ การสร้างฝายชะลอ​ความชุ่มชื้น อัน​เป็น​การน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสม​เด็จพระ​เจ้าอยู่หัว ​และถวาย​แด่พระองค์ท่าน​ใน​โอกาสทรง​เจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา”



    “จากปีที่ผ่านมาพบว่าทั่ว​โลก​ได้ตื่นตัวกับปัญหาภาวะ​โลกร้อน ​หรือ Global Warming กันอย่างมาก ​ซึ่งสา​เหตุหนึ่งมาจาก​การ​เสียสมดุลทางธรรมชาติ​ทำ​ให้สภาพอากาศ​แปรปรวน ก่อ​ให้​เกิดภัยธรรมชาติ​ในหลายประ​เทศ สร้าง​ความ​เสียหาย​ทั้งชีวิต​และทรัพย์สิน​เป็นอย่างมาก ​เราจึงหยิบยกปัญหา​โลกร้อนขึ้นมา​เป็น​แนวคิดสำคัญของ​การดำ​เนิน​โครง​การ ​ในปีที่ ๒ นี้ ด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญที่ต้อง​การมุ่งรณรงค์​ให้ประชาชนทั่วประ​ เทศตื่นตัวกับปัญหา​และผลกระทบจากภาวะ​โลกร้อน รวม​ทั้ง​ความสำคัญของ​การสร้างฝายดักตะกอน​และ​เ​ก็บกัก​ความชุ่มชื้น​ ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ​เพื่อช่วยฟื้นฟู​และบำรุงรักษาทรัพยากรดิน น้ำ ​และป่า​ไม้ ​ซึ่ง​เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยฟื้นฟูสมดุลธรรมชาติ​และบรร​เทาปัญหาภาวะ​โลกร้อน​ได้” คุณจันทนา กล่าว​เสริม
    ​โครง​การ ๘๐ พรรษา ๘๘๐ ฝาย อินทรีสร้างถวาย​ในหลวง ​ในปี​แรกของ​การดำ​เนิน​โครง​การสามารถสร้างฝาย​ได้จำนวน ๑,๐๕๕ ฝาย ​โดยครอบคลุมพื้นที่​ในจังหวัด​เชียง​ใหม่ น่าน ​และลำพูน​ซึ่ง​แบ่ง​เป็นฝาย​แบบท้องถิ่น​เบื้องต้นจำนวน ๙๗๒ ฝาย ​และฝายคอนกรีตจำนวน ๘๓ ฝาย ​เกินกว่า​เป้าหมายที่​ได้ตั้ง​ไว้​ถึง ๒๐%
    ​ในปี ๒๕๕๑ นี้ บริษัท ปูนซี​เมนต์นครหลวงจะดำ​เนิน​การสร้างฝายชะลอน้ำรวมอีก ๘๘๐ ​แห่ง ​โดยมี​แผนงานที่จะสร้าง​ในจังหวัด​เชียง​ใหม่ บริ​เวณ อ.สันกำ​แพง อ.พร้าว ​และ อ.ฝาง จำนวน ๔๓๐ ฝาย จังหวัดน่าน อ.ปัว จำนวน ๑๐๐ ฝาย จังหวัดลำพูน อ.​แม่ทา จำนวน ๑๐๐ ฝาย จังหวัด​เพชรบูรณ์ อ.​เขาค้อ จำนวน ๑๒๐ ฝาย ​และจังหวัดสระบุรี อ.​แก่งคอย อีกจำนวน ๑๓๐ ฝาย ​ซึ่งจะยังคง​เชิญชวน​ให้ประชาชน​ในท้องถิ่น นักศึกษา พนักงาน​และ​ผู้บริหารบริษัทฯ รวม​ถึงสื่อมวลชน​เข้ามามีส่วนร่วม​ใน​การสร้างฝาย ​และ​เข้าร่วม​โครง​การต่างๆ ที่จะจัดขึ้น​เพื่อ​ให้​ความรู้​ความ​เข้า​ใจ​เกี่ยวกับปัญหาภาวะ​โลกร้อน ​ทั้งนี้ ฝายที่​ได้มี​การสร้างขึ้น​แบ่งออก​เป็น ๓ ประ​เภท คือ ฝายที่สร้างจากวัสดุธรรมชาติ ฝายหิน ​และฝายคอนกรีต​เสริม​เหล็ก ​โดย​การ​เลือก​แบบจะพิจารณาตามสภาพภูมิประ​เทศ วัสดุที่​เหมาะสม ​และประ​โยชน์ที่ชุมชนจะ​ได้รับ
    “ทาง​โครง​การจะมุ่งประชาสัมพันธ์​ให้ประชาชน​เห็นว่าปัญหาภาวะ​โลกร้อน​เป็น ​เรื่อง​ใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถมีส่วนช่วยกัน​แก้​ไข ​และกระตุ้น​การมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วประ​เทศ นัก​เรียน นักศึกษา สื่อมวลชน รวม​ทั้ง​ผู้บริหาร​และพนักงานของบริษัทฯ นอกจากนี้ จะมี​การสัมมนา​และศึกษาวิจัยผล​การดำ​เนิน​โครง​การดังกล่าว ​เพื่อประมวล​ให้​เห็น​ถึงประ​โยชน์ของ​โครง​การอย่าง​เป็นรูปธรรมมากขึ้น ​และ​เพื่อ​เป็นข้อมูลสำหรับ​การค้นคว้า​และพัฒนาต่อยอดต่อ​ไป” นางสาวจันทนากล่าว
    สอบถามรายละ​เอียด​เพิ่ม​เติม​ได้ที่
    คุณนาฎฤดี กระถิน​เทศ
    บริษัท ปูนซี​เมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)
    ​โทร. 0-2797-7000, 089-819-3737
    คุณรัชฎา ปสันตา /คุณพิมพ์​ไพลิน ธีระลีลา
    ดีซี คอนซัล​แทนส์ ​แอนด์ มาร์​เ​ก็ตติ้ง คอมมูนิ​เคชั่นส์
    ​โทร. 0-2610-2362, 0-2610-2372

    http://www.newswit.com/news/2008-02-29/0049-d05dfdbeca9cee23beaed516f627cee9/
     
  8. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ยังมีโครงการดีๆเพื่อส่วนรวมอีกมากครับ เมื่อไรที่มีการสร้างเครือข่ายและประสานเชื่อมโยงกันได้ก็จะยิ่ง เพิ่มประโยชน์ให้ส่วนรวมได้อีกมากครับ
     
  9. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    ขอบคุณ คุณเล้ก และน้องนากา นะครับ
    จะเอาข้อมูลไปศึกษา แล้ว ดำเนินการกันนะครับ
     
  10. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
    อยากไปสร้างงงง ด้วยยยยย ซานุก ๆ หรือเปล่า พี่ ???
     
  11. คุณ 4

    คุณ 4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +5,159
    มีอีกกิจกรรมที่ที่ทำงานผมกำลังวางแผนจะไปกัน คือ ไปปลูกปะการังที่สัตหีบครับ
    ใช้เวลาอย่างเร่งรัดก็ประมาณ 3 ชั่วโมงเสร็จ รายละเอียดจะไปถามคณะทำงานกิจกรรมให้นะคับ ^^
     
  12. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    อ่านเจอในเวบ เหมือนกัน ครับ ว่ามีไปปลูกปะการัง กับเก็บขยะ ที่สัตหีบ
     
  13. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    ปลูกปะการัง ปลูกอย่างไรอ่ะ
     
  14. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
    ;aa22ขอสนุกเรื่องฝายด้วยสักคน ครับ

    ;welcome2ฝ่ายน้ำล้นดังภาพนี่ ในหน้าฝนนี่น่าจะช่วยได้ในการที่จะชลอน้ำ ไม่ให้ไหลทเลงมาอย่างรวดเร็ว คงไม่ถึงกั้นเก็บกักน้ำ ถ้าทำไม่แข็งแรงก็อาจพังในระหว่างที่น้ำหลาก ในหน้าฝนนีจะทำได้ก็ในพื้นที่ ที่ไม่ลาดชันมากนัก ตามลำราง หรือลำธารน้ำ ลำห้วยขนาดเล็กและใหญ่ แต่ไม่สามารถทำได้ดีในพื้นที่ตามดอยสูง ๆ เพราะมีความลาดชันมาก ถ้าเป็นพิ้นที่ราบ ๆ ตามดอยสูง ๆ แรงของน้ำจะพัดเอาท่อนไม้และหินมาถล่มทลายฝาย และ พายุฝนลูกเดียว เศษดิน ไม้ หิน จะเต็มฝ่ายเลย ฝ่ายก็จะกลายเป็นขั้นบันไดไป

    ;welcome2 ในช่วงหลังฤดูฝน ก็ยังทำฝายน้ำล้น เพื่อกักเก็บน้ำได้ทัน และจะทำได้ดี เพราะไม่มีน้ำหลาก ไม่ต้องกลัวฝายพัง หรือ ฝายเต็มไปด้วยเศษไม้ ดิน และ หิน น้ำที่ซึมออกมาจากดินที่เก็บน้ำสะสมไว้จะทยอยไหลซึมมาตาม ลำห้วย ลำธารน้ำ ตรงนี้ ถึงจะเรียก ฝายน้ำล้น เก็บกักน้ำให้เต็มฝาย ไอ้ที่ล้นออกมาก็ไปเก็บในที่ต่ำฝายปลายทางต่อ ๆ ไป ถ้าในพื้นที่ราบ ถ้าผ่านหลายหมู่บ้าน ในหน้าแล้ง ก็ต้องเจรจากันดี ๆ เพราะบ้านใต้จะตีกับบ้านเหนือ เพราะว่าบ้านทางเหนือไม่ยอมปล่อยน้ำ ถึงขั้นต้องแบกจอบไปฟันทำนบหรือฝ่ายกั้นน้ำ ทำฝ่ายแล้วต้องเตรียมไปอย่าศึกด้วย .........

    ;welcome2ฝ่ายชลอน้ำในฤดูน้ำหลาก เท่าที่เห็นเขาจะไม่ทำเป็นฝ่ายน้ำล้น แต่เขาจะทำเหมือนรอดักน้ำ อาจปักไม้ไผ่ ขวางทางน้ำ สลับไปมา ตามกำลังเท่าที่จะทำได้ แบบนี้จะช่วยลดความเร็วและความแรงของน้ำ ( ไม้ไผ่มันอ่อนและมีสปริง มันลู่ตามน้ำได้และดีดกลับได้ )

    ;welcome2ถ้าเป็นลำห้วยตามป่าหรือตามเชิงดอย ตามร่องห้วย ถ้าไม่ตัดไม้ใหญ่บริเวณใกล้กับธารน้ำ ส่วนใหญ่ในหน้าแล้งน้ำจะไม่แห้ง แต่ถ้าพวกตัดหมดไม่เหลือ ก็เรียบร้อย ยังไม่ทันแล้งก็หมด เพราะเท่าที่สังเกตุ ตามดอย การบุกรุกถางป่าของชาวไทยภูเขาสมัยก่อน ถางหมด พอหน้าแล้งน้ำในลำห้วยก็หมดตามไปด้วย เหมือนกับถมบอน้ำของตัวเอง จริง ๆ ถ้าเขาถางบนสันเนินแล้วเหลือไม้ใหญ่ตามร่องห้วยไว้เขาก็จะพอมีน้ำใช้ได้ตลอดปี อันนี้เป็นบทเรียน จากการสังเกตุที่เคยอยู่ดอยมา

    ;welcome2ห้ามไม่ให้ถางไม่ได้ เพราะเขาต้องเพราะปลูก แต่ให้
    ถางเป็นที่ ๆ ให้เหลือไว้ตามร่องห้วยเพื่อรักษาแหล่งน้ำไว้ใช้ดื่มกิน ตอน
    นั้นก็ช้าไปแล้ว อดน้ำแล้วถึงคิดได้

    ;welcome2ในปี พศ.๒๕๒๒ ได้รับภาระกิจทำประปาภูเขา ซึ่งเป็นการทดลองครั้งแรกของโครงการแผ่นดินธธรรมแผ่นดินทอง มีรุ่นพี่เป็นหัวหน้าชุด เราเป็นรอง รุ่นพี่เป็นคน กทม. นี่เอง มาจากสนามเป้า เราก็คนเมืองศิวิไล คิดแบบคนเมือง ก็ทำกันแบบคนไม่ได้เรียนรู้วิถึชีวิตของเขา ไม่ได้เรียนรู้ธรรมชาติของกาลอากาศในพื้นที่ เราลาดตระเวนหาลำห้วยที่อยู่เหนือหมู่บ้าน กะว่าจะทำอ่างคอนกรีตขวางทางน้ำแล้วต่อท่อลงมาในหมู่บ้าน เลือกพื้นที่ได้แล้วก็รายงานขอรับการสนับสนุน อุปกรณ์ต่าง เล่นกันเกือบครึ่งเดือน เสร็จตามความคาดหมาย ใช้ได้ดีเกือบครึ่งเดือนเหมือนกัน พายุดีเปรสชั่นเข้าพัดผ่านตอนบนของประเทศไทย ๗ วันให้หลังชาวบ้านมารายงานว่าน้ำไม่ไหลแล้ว ครับ ท่าน

    ;aa22พากันไปดูปรากฏว่าเต็มครับ เต็มอ่างเลย หิน ไม้ ดิน
    ชาวบ้านก็เลยต้องไปทำรางรินเหมือนเดิม ใช้ไดเเป็นปกติ

    ;welcome2อันนี้คิดเอาเอง น่ะ ครับ ว่า เก็บรักษาแหล่งน้ำซับไว้ให้ดี อย่าตัดไม้ และควรปลูกเพิ่ม ให้ครอบคลุมเข้าไว้มาก ๆ ทำรางรินมากักเก็บไว้ในถังเก็บหลาย ๆ ขนาด มีสักสองที่ ไว้สำรอง แล้วต่อท่อมายังหมู่บ้าน อย่างนี้จะดีกว่า

    ;welcome2บางท่านอ่านแล้วอาจสงสัยว่ารางรินทำอย่างไร ก็ น้ำที่
    ซึมจากใต้ดิน นั้นแหละ ครับ เหลาไม้ไผ่ด้วยอีเหน็บ ให้ปลายแหลม
    เอาปลายแหลมเสียบไปกับดินทำรางไม้ไผ่ต่อมาที่ถังน้ำ น้ำที่ซึมมาจากดินก็
    จะค่อย ๆ ไหลออกมาไปตามรางไม้ไผ่ลงสู่ถัง

    ;aa22เรื่องฝายนี่มันหนักก็ไอ้ตอนแบกหิน แบกถุงทราย และไอ้ตอกหลักนี่อีก ถ้าเจอหินก็หนักหน่อย ขอ อนุโมทนา ครับ ที่ไปสร้างทานบารมีและไปช่วยลดโลกร้อน

    ;welcome2ที่ปรียนันท์ นี่ก็เหมือนกัน คุณ Tamsak จะทำ
    ฝายเก็บกักน้ำในฤดูฝน จากยอดเขารัง ไล่ลงมาหา ปรียนันท์ธรรม
    สถาน กะว่าจะทำสักสิบฝาย นี่ก็ใกล้หมดฝนแล้ว คงต้องรอฝน
    หน้า ล่ะ มั้ง........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 ตุลาคม 2008
  15. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    ที่บ้านมีฝายน้ำล้นด้วย แบบว่า กักน้ำจากภูเขาไว้ แล้วให้น้ำเต็มฝายเราก่อน ค่อยไหลไปข้างล่าง อิอิ จะเห็นแก่ตัวไปป่าวหว่า แป่ว
     
  16. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    น้องเจนหรือเพื่อนท่านอื่นที่ต้องการเป็นอาสาสมัคร ลองโทรไปถามดูนะครับ
    ผมเสิร์ชจาก สยามโวลันเทียร์ มา
    ...
    [​IMG]

    กำหนดการไปทำบ้านอิฐประสาน


    ณ สถานที่ปฏิบัติธรรมพุทธะปฐม จังหวัดเพรชบูรณ์


    ได้กำหนดขึ้น คือ วันที่ 9-12 ตุลาคม 2551


    อาสาท่านใด สนใจ กรุณา แจ้งชื่อ และเบอร์ติดต่อกลับด้วย


    เราจะเดินทางโดย นัดพบกันที่ สถานีขนส่งผู้โดยสาร หมอชิต


    ค่าใช้จ่าย ที่อาสาต้องรับผิดชอบคือ ค่าเดินทาง 350บาท ไป-กลับ 700 บาท


    ค่าอาหาร และค่าที่พัก ทางสถานที่ปฏิบัติธรรมได้จัดเตรียมไว้ให้แล้ว


    มีปัญหา หรือ ข้อสงสัยติดต่อได้ที่


    คุณไข่เจียว 086-3629484, 086-0977110


    คุณกิ๊ฟ 086-6677845


    ยินดีต้อนรับอาสาทุกท่านครับ
     
  17. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    กราบโมทนาบุญกับความคิดดีๆ ของพี่รวิช และทีมงาน และโครงการของคุณสี่และทีมงาน และทุกๆ ท่านที่มีโครงการดีๆ ทั้งหลายด้วยค่ะ...

    รวมถึงกราบโมทนากับผู้ให้ข้อมูลทุกๆ ท่าน... อีกทั้งทุกๆ ท่านที่สนใจอยากจะร่วมช่วยกันทำความดีเพื่อผู้อื่นด้วยค่ะ...

    กราบโมทนาค่ะ... _/\_
     
  18. Ghosty Rat

    Ghosty Rat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +365
    ขอร่วมด้วย ถ้ามีใครจะทำฝายน้ำล้นเพื่อสังคมอย่างนี้เพราะอยากทำเพราะน่าสนุกและได้บำเพ็ญบุญไปในตัวด้วยครับ ^ 0 ^ บอกมาทางอีเมล์ neung_r@hotmail.com
     
  19. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ได้มีโอกาศไปสร้างฝายแม้วขนาดเล็ก ๆที่ป่าต้นน้ำ บนเทือกเขาเขตถ้ำวัวแดง

    ตอนแรกตั้งเป้าว่าสัก ฝาย สองฝายก็เก่งแล้ว

    ผลปรากฏว่า เป็นกิจกรรมอะไรที่ง่าย และสนุกมากๆ เห็นผล ทันตาเห็นเลย จึงสร้างกันได้ประมาณ 9 ฝายภายในเวลา ประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งทั้งหมดเป็นสมัครเล่นทั้งนั้น หากชาวบ้านที่แข็งๆในพื้นที่ เห็นความสำคัญและร่วมใจกันสร้างในท้องถิ่น ให้ได้ รวมตัวกันอาทิตย์ละ 1 วัน น่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 20-50 ฝายแน่นอน

    ซึ่งนั่นหมายถึง ป่าจะอุดมสมบูรณ์ขึ้น จากน้ำที่พักและเอ่อไปเลี้ยงต้นไม้รายทางน้ำ มีความชุ่มชื้นของผืนป่ายิ่งขึ้น

    ชาวบ้านเองก็ได้ประโยชน์จาก การชะลอการไหลของน้ำ น้ำมามากไม่มีน้ำป่าไหลบ่าทำลายหมู่บ้าน ยามหน้าแล้ง ก็เป็นแหล่งสะสมปริมาณน้ำ ให้เพียงพอยามหน้าแล้ง

    เอาล่ะลงมือกัน

    เริ่มต้นจากเราเดินทวนธารน้ำขึ้นไปยังต้นน้ำ

    จากนั้นก็เล็งทำเล ที่ มีแนวสอบบ้าง มีก้อนหินตามแนวทางน้ำเดิม

    ควรเลือกที่เพิ่งพ้นแนวโค้งมา เพื่อที่จะลดความเร็วของน้ำลงตามธรรมชาติมาบ้างแล้ว

    จากนั้น นำไม้มาปักเป็นหลัก นำไม้มาวางขวางธารน้ำ จากนั้นนำก้อนหินขนาดใหญ่ มาเรียงทับตามแนวขวาง เพื่อกั้นทางน้ำให้มีการเก็บกักน้ำให้เพิ่มขึ้น

    ซึ่งวัสดุก็หาเอาในเขตพื้นที่นั้นเอง เราเพียงแต่เป็นผู้ช่วยเหลือธรรมชาติบ้างเท่านั้น เมื่อทุกสิ่งอยู่ถูกที่ถูกทางก็เกิดประโยชน์มหาศาลขึ้นได้

    ไม้เราก็เอา ไม้หัก ไม้ล้มแถบนั้น

    พอทำเสร็จ สิ่งที่เห็นได้ ก็คือจากระดับน้ำเพียงแค่ ตาตุ่ม ก็เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละจุดจนถึง เข่า หรือเอวในบางจุด ซึ่งหากคำนวณปริมาณน้ำที่เราทดได้ในแต่ละจุดก็ ได้นับ หมื่นลิตร

    นี่หากเราได้นำอีเอ็ม หรือปุ๋ยน้ำชีวภาพไป รดที่ต้นด้วยล่ะก็ จะเป็นการช่วย ธรรมชาติ เร่งการย่อยสลาย สารอาหารจากวัสดุธรรมชาติ ลดความขุ่นของน้ำ และทำให้สายน้ำทั้งสาย ก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์ขึ้นได้อีกมากมาย ไล่ไปจนถึงปลายน้ำ

    นอกจากนี้ ภาวะน้ำที่มีการล้นลงต่างระดับยังเป็นการเพิ่มออกซิเจนลงในสายน้ำด้วย เห็นได้จากเกิด ฟองอากาศจำนวนมาก

    ที่สำคัญก็คือเมื่อเราลงเขาไปยังปลายน้ำ ได้พบว่า น้ำที่เป็นน้ำป่า มีสีแดง มีสีสะอาดใสขึ้น เนื่องจาก ผ่านการกรองผ่านชั้นหินเล็กๆที่เราได้วางเรียงเอาไว้หน้าฝาย

    หากชุมชน คนพื้นที่เข้าใจ เห็นความสำคัญ และลงมือทำพร้อมๆกันก็คงดีไม่น้อย

    เพราะได้ชวนเด็กๆชาวบ้านแถบนั้นไปทำฝายด้วยกันแล้ว เขาบอกว่า ไม่เอาหรอก หนาว
     
  20. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ไว้ไปสร้างฝายด้วยกันครับ สนุกมาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...