พระกรุบางขลัง จ.สุโขทัย

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 29 พฤศจิกายน 2009.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระกรุบางขลัง จ.สุโขทัย

    คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง

    โดย ราม วัชรประดิษฐ์



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    จังหวัดสุโขทัย ราชอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ในสมัยโบราณ มีความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านการปกครอง สามารถขยายอาณาเขต ไปได้กว้างขวาง และด้านการศาสนา พระมหากษัตริย์ทุกๆ พระองค์ล้วนเป็นอัครศาสนู ปถัมภก ทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนาและเผยแผ่สืบทอดเรื่อยมา จะเห็นได้จากโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่ยังคงปรากฏเป็นหลักฐานสืบมาจนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบ พระพุทธรูปและพระพิมพ์มากมายหลายพิมพ์ทรง บางพิมพ์ก็มีมาแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย อันนับเป็นมรดกล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น "พระ กรุบางขลัง" หรือบางคนเรียกว่า "พระร่วงนั่ง กรุบางขลัง" นับเป็นหนึ่งในพระกรุที่เก่าแก่ของสุโขทัย ซึ่งแม้พุทธลักษณะองค์พระจะไม่งดงามเฉกเช่นพระกรุอื่นๆ แต่ถ้าพูดถึงทางด้านพุทธคุณแล้ว เรียก ได้ว่ามีความเข้มขลังสมชื่อ "บางขลัง" จริงๆ โดยเฉพาะทางด้านแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี เป็นที่เลื่องลือทีเดียวครับผม

    กิตติศัพท์ความขลังของ "พระกรุบางขลัง" นั้น มีกล่าวขวัญกันมาตั้งแต่ก่อนเปิดกรุเสียอีก มีอยู่เรื่องหนึ่งกล่าวกันว่า

    ณ ตำบลบางขัน ซึ่งเป็นตำบลเล็กๆ ในสุโขทัย สมัยก่อนยังไม่เจริญ พื้นที่เป็นป่ารกชัฏมีพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ขึ้นปกคลุม โดยเฉพาะ "ไผ่" ชาวบ้านจึงมักออกไปหาหน่อไม้ เมื่อเดินลึกเข้าไปก็พบถ้ำแห่งหนึ่งอันเป็นสถานที่ที่บรรจุพระกรุบางขลัง แต่มีเหตุการณ์ที่เรียกว่าเป็นความเข้มขลังและน่าอัศจรรย์เอามากๆ คือ เมื่อมีผู้หยิบพระกรุติดตัวออกมาแม้แต่เพียงองค์เดียว ผู้นั้นจะไม่สามารถหาทางออกจากถ้ำได้เลยเหมือนเดินอยู่ในเขาวงกต แต่เมื่อนำพระกรุไปคืนที่เดิมก็จะออกจากถ้ำมาได้ ผู้ที่ทราบเรื่องและเดินทางเข้าไปพิสูจน์ต่างเป็นเหมือนกันทุกราย จึงสันนิษฐานกันว่าผู้สร้างอาจยัง ไม่ต้องการให้นำออกมาแพร่หลายในเวลานั้นก็เป็นได้

    ต่อมาเมื่อมีการหักร้างถางพงป่ารกชัฏนี้เพื่อทำเป็นไร่นา "พระ กรุบางขลัง" จึงได้ปรากฏสู่สายตา และกลายเป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง โดยเฉพาะชาวเมืองสุโขทัยและผู้ที่ทราบกิตติศัพท์ความขลังและพุทธคุณ

    พระกรุบางขลังเป็นพระเนื้อชิน แบบครึ่ง ซีก กรอบโดยรอบเป็นทรงสามเหลี่ยมชะลูด แบบพระผงสุพรรณ มีพุทธศิลปะแบบอู่ทอง ด้านหน้าองค์พระประทับนั่ง แสดงปางสมาธิเพชร ไม่มีอาสนะรองรับ พระเกศเป็นแบบเกศปลีสั้น ไรพระศกเห็นเป็นไรลากผ่านพระกรรณทั้ง 2 ข้าง แล้วผายออกเกือบจดพระอังสา พระพักตร์กลมแบบผลมะตูม พระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ ไม่ปรากฏเด่นชัด ลำพระศอนูน พระอังสากว้างและมนลง พระอุระใหญ่แล้วคอดกิ่วมาทางพระนาภีคล้าย "หัวช้าง" แบบพระผงสุพรรณ พระเพลาแคบผิดส่วน ช่วงหัวเข่าทั้งสองนูน ส่วนด้านหลังเป็นหลังลายผ้าหยาบและเป็นแอ่งกระทะเล็กน้อย

    เนื่องจาก "พระกรุบางขลัง" เป็นพระที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง จึงเป็นธรรมดาที่ย่อมมีการทำเทียม ดังนั้น การพิจารณาพระแท้-พระเก๊ต้องพิจารณาอย่างละเอียด เริ่มด้วยการสัมผัสขอบโดยรอบขององค์พระ เนื่องด้วยความคมของขอบจะลบเลือนไปตามกาลเวลา แต่ถ้าเป็นพระใหม่ขอบจะคม หรือถ้ามีการ ตัดหรือตกแต่งทำให้ลบเลือนด้วยวิธีอื่นก็จะสามารถสัมผัสถึงความแตกต่างได้ อีกทั้งเรื่องเนื้อขององค์พระ พระเนื้อชินเมื่อผ่านกาลเวลายาวนานให้ใช้หลักการพิจารณาพระเนื้อชิน โดยทั่วไป คือ สังเกตผิวขององค์พระ ปฏิกิริยาต่างๆ ที่เกิดตามอายุ รวมถึงสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสนิมขุม รอยระเบิดจากภายในสู่ภาย นอก สนิมไข กระทั่งพื้นผิวภายนอกก่อนใช้หลังใช้

    สังเกตให้ดี ของเทียมดูไม่ยากครับผม
    ข่าวสดออนไลน์

    ˹ѧ
     

แชร์หน้านี้

Loading...