พระกรุเนื้อ ชินเขียว มีจริง หรือไม่ (ศึกษาร่วมกันนะครับ)

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย แกะกล่อง, 19 มีนาคม 2012.

  1. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    ตามหัวข้อเลยครับ ครืออออ ว่า....... ตลอดหนึ่งปีที่เริ่มศึกษา(หัดดู) พระเครื่องกับพี่ๆมา แกะกล่องเกิดความสงสัยเป็นอย่างมากถึง พระกรุ เนื้อชินเขียว พี่บางท่านก็บอกว่ามีจริง พี่บางท่านก็บอกว่ายัดกรุ พี่บางท่านก็บอกว่าแก๊ ..............แล้วยังไงละทีนี้ น้องใหม่ แกะกล่อง มึนตึบ เรยยยยยย...:'(
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  2. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    สมัยก่อนชินเขียว เขายอมรับกันไม่กี่กรุ น้อยมากครับ ปัจจุบันไม่มีอะไรจะขายก็ต้องเอาชินเขียวมาขายครับ สมัยก่อนเขาเล่นหาชินเงินครับ
     
  3. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    ออ...พี่มันตรับครับ แล้วพระกรุชินเขียวมีจริงหรือไม่ครับ แกะกล่องลองเข้าไปค้นข้อมูลดู เห็นมีบอกเหมือนกันครับ ว่ามีจริง ดังนั้นหากมีจริง ก็น่าจะพิสูจน์ได้จาก สิ่งที่ปรากฏอบู่บนองค์พระ แล้วทำไมยังหาข้อยุติไม่ได้ครับ............งง จัง:'(
     
  4. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    แกะกล่องขออนุญาติพี่ท่านหนึ่งที่เคยนำพระเนื้อชินเขียวมาลงแสดงให้ดู โดยส่วนตัวแล้วแกะกล่องดูว่า เก่าเลยทีเดียวสำหรับพระองค์นี้ (พี่เจ้าของพระครับ แกะกล่อง ใส่ชื่อยูสไว้นะครับ หากต้องการให้ลบออก ช่วย pm มานาครับ) ขออนุญาติเพื่อนำมาศึกษาครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 99911.jpg
      99911.jpg
      ขนาดไฟล์:
      197.7 KB
      เปิดดู:
      6,497
  5. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    ส่วนองค์นี้เป็นพระของแกะกล่องเองครับ แกะกล่องก็ดูว่าเก่านะ ลองช่วยกันดูนะครับพี่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    ข้อมูลจาก อ.เล็ก พลูโต และ พี่ Vacharaphol

    พระมเหศวร เป็นหนึ่งในตำนานอันยิ่งใหญ่ของพระเนื้อชิน ซึ่งได้รับการจัดเข้าชุด ยอดขุนพลเนื้อชิน ประกอบด้วย พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย พระหูยาน จ.ลพบุรี พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี
    พระชินราชใบเสมา จ.พิษณุโลก พระมเหศวร จ.สุพรรณบุรี รวมเป็น ๕ ขุนพลจาก ๕ เมือง ที่เป็นแหล่งพระเครื่อง และอารยธรรมสำคัญของประเทศ <O:p></O:p>

    พระมเหศวร แตกกรุจากพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองสุพรรณบุรี เมื่อปี ๒๔๕๖ ร่วมกรุเดียวกับ ผงสุพรรณ พระกำแพงศอก พระท่ามะปราง พระลีลาระเวง พระลีลาหลังซุ้มอรัญญิก พระซุ้มจิก พระซุ้มระฆัง พระปทุมมาศ พระกำแพงนิ้ว พระสุพรรณยอดโถ พระสุพรรณหลังพระ ฯลฯ <O:p></O:p>
    คำว่า มเหศวร หมายถึง พระอิศวร ซึ่งมีฤิทธิ์อำนาจมากในบรรดาเทพเทวดาทั้งปวง เหมาะสมและเป็นมงคลอย่างยิ่งต่อการนำมาเรียกชื่อพระพิมพ์นี้ ด้วยอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์จากประสบการณ์ของผู้บูชาพระมเหศวรเป็นประจักษ์พยานยืนยัน จากหลังฐานในใบลานทองที่พบในกรุ บ่งชี้ว่า พระมเหศวรและพระในกรุนี้ สร้างโดยพระเจ้าอู่ทอง ประมาณปี ๑๘๘๖ โดยจัดเป็นพิธีหลวง มีฤาษีผู้ทรงฤทธิ์เป็นผู้ทำพิธีปลุกเสก<O:p></O:p>
    ศิลปะของพระมเหศวร เป็นแบบอู่ทองยุคกลาง จุดเด่นอยู่ตรง การวางรูปแบบพิมพ์พระให้มี ๒ด้านกลับหัว ซึ่งไม่เคยปรากฎในพระกรุใดมาก่อน ถือเป็นการสร้างพระที่แปลกพิสดารเปี่ยมสีสันน่าสนใจยิ่ง สันนิษฐานว่า แม่พิมพ์ของพระมเหศวร จะมีลักษณะแบบเบ้าประกบ มีเดือยอยู่กลางองค์ระหว่างองค์พระ พระบางองค์จึงยังมีรอยก้านชนวนให้เห็นอยู่ นอกจาก พิมพ์ ๒ หน้า หรือ สวนคู่ แล้ว ยังมีพิมพ์ สวนตรง คือ ทำเป็นพระสองหน้าแต่ไม่กลับหัวกัน และ พิมพ์ สวนเดี่ยว ที่มี พระหน้าเดียว ด้านหลังเป็นลายผ้าตัดขอบชิดองค์พระไม่เหลือปีกบน และล่าง อย่างพิมพ์สวนคู่ พิมพ์สวนเดี่ยว บางองค์ด้านหลังเป็นพิมพ์ซุ้มระฆัง หรือ นาคปรก ก็มี แต่พบน้อยมาก <O:p></O:p>
    สำหรับ พิมพ์สวนคู่ แบ่งเป็น พิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก แต่ละพิมพ์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื้อพระมเหศวร มีเฉพาะ เนื้อชินเงิน และ ชินตะกั่ว เท่านั้น ส่วน ชินเขียว ไม่ใช่พระของเมืองสุพรรณ เนื้อพระจะต่างจาก กับเนื้อชินของเมืองอื่น ๆ อย่างเช่น พระเมืองอยุธยา จะเป็นเนื้อ ชินแข็ง หรือ ชินกรอบ ผิวประทุขาว หรือ พรายเงิน ส่วน พระมเหศวร เป็นพระเนื้อ ชินสังฆวานร คือ ชินค่อนข้างอ่อนกว่า พระมเหศวรบางองค์ที่ เนื้อแก่ดีบุก และ ปรอท เนื้อจะเป็น สีเงินยวง ถ้าสภาพสมบรูณ์ ผิวจะปรากฏ คราบปรอท และ คราบไขมัน ที่เป็นเกร็ดสีน้ำตาลแทรกแซมกัน เมื่อผสมกันแล้ว ทำให้ผิวปรอทเป็น สีทองกลายเป็นเอกลักษณ์ของผิวพระมเหศวรอย่างหนึ่ง <O:p></O:p>
    แต่หากผ่านการบูชาใช้ สัมผัสเหงื่อไคล จึงจะเกิด สนิมดำ บางองค์อาจเกิด สนิมขุม และ รอยผุระเบิดเกิดจากความร้อนในกรุ แต่ตามซอกยังต้องมีผิวปรอทสีทองหลงเหลืออยู่บ้าง ถ้าเนื้อ แก่ตะกั่ว ผิวจะออกสีเทาแต่เนื้อในยังคงเจือสีเงิน เพราะเป็นเนื้อตะกั่วผสมปรอท และดีบุก ไม่ใช่เนื้อตะกั่วล้วน ๆ ส่วนคราบไข และสนิมต่าง ๆ เหมือนกัน<O:p></O:p>
    มเหศวรมีชื่อเสียงโด่งดังมายาวนาน ผู้พกพาบูชาไม่เคยพบความผิดหวัง เป็นพระที่สร้างมาสำหรับ "ใช้" อย่างแท้จริง นอกจากจะเชื่อถือได้ทาง คงกระพัน และ มหาอุด แล้ว ยังช่วย เสริมส่งความเจริญรุ่งเรืองแก่ชีวิต กลับร้ายให้กลายเป็นดี ดึงชะตาชีวิตที่ตกต่ำ หรือมีเคราะห์ ให้พลิกฟื้นคืนขึ้นมา ทำให้หมดเคราะห์หมดโศก ปราศจากโรคภัย โดยถือคติที่สร้างองค์พระ กลับหัว กลับหาง มีด้วยกันสองด้าน เหมือนกับชะตาชีวิตของคนเรา มีขึ้นมีลง มีโชคดี ก็ต้องมีโชคร้าย มีกลางวัน ก็ต้องมีกลางคืน องค์พระมีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับการแขวนบูชา ดูมีสง่าราศีเป็นอย่างยิ่ง <O:p></O:p>

     
  7. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    มเหศวรของแท้ดำสนิท สนิมไม่ใช่สีเขียวครับ หลังๆเห็นนักเล่นในสนามซื้อขายชินเขียวกัน แต่แบบนั้นคนยุคก่อนเล่นเป้นของเก๊ครับ
     
  8. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    ขอบคุณข้อมูลจากพี่ Kim9

    **แนวทางดูธรรมธาติความเก่าของพระเนื้อชิน**

    พระเนื้อชิน ถ้าเป็นพระสวย จะเห็นคราบปรอทคลุมองค์พระทั้งองค์ โดยเฉพาะด้านหน้า แต่คราบจะไม่เสมอกันทั้งองค์ ดูเผินๆ เหมือนพระใหม่แต่หากส่องดูจะพบว่าปรอทมีความแห้งไม่แวววาวเหมือนของใหม่ และควรจะมีรอยปริรานหรือรอยระเบิดจากสนิมชินเงินบริเวณพื้นผิวองค์ด้านหน้าหรือด้านหลัง ซึ่งจะมีทุกองค์ไม่มากก็น้อย ส่วนพระใช้ช้ำ บนพื้นผิวที่ถูกสัมผัสมากๆ ก็จะมีลักษณะแวววาวหม่นๆ ของตะกั่วผสมเงิน จะพบปรอทเล็กน้อยตามซอกองค์พระ มักจะพบรอยปริรานและรอยระเบิดผุจากสนิมตีนกาเสมอ

    พระชินแก่ตะกั่ว พระชินแก่ตะกั่วมักจะไม่มีรอยปริรานหรือระเบิดของชินให้เห็นเนื้อจากตะกั่วมีความอ่อนตัวอยู่ แต่จะพบคราบสนิมชินตะกั่วเป็นคราบดำๆ อยู่ตามซอกต่างๆ ขององค์พระ ส่วนบริเวณที่มีการสัมผัสมากจะคล้ายตะกั่ว

    พระชินเขียว พระชินเขียวที่มีอายุเก่าแก่จะขึ้นไขคล้ายไข่แมงดาไขจะมีความมันชื้นอยู่ในตัวไม่แห้ง

    พระตะกั่วสนิมแดง พระเนื้อตะกั่วเมื่ออยู่ในกรุที่มีความร้อนชื้นเป็นเวลาหลายร้อยปีจะเกิดสนิมตะกั่วสีแดงขึ้นและคลุมด้วยคราบไขคล้ายหินปูนอีกชั้นหนึ่งเมื่อล้างคราบหินปูนออกด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้อง ก็จะเห็นผิวสนิมแดงที่เป็นธรรมชาติ คือ ปริราน เหมือนใยแมงมุมทั่วๆ ทั้งองค์พระที่เป็นสนิมแดงนั้นๆ
     
  9. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    ครับพี่มันตรัย..........

    ข้อมูลหลายกระแสเหลือเกิน เกาะกล่องมึนไปหมด พี่มันตรัยครับ องค์ของแกะกล่อง น่าจะมีอายุประมาณเท่าไรครับ เห็นพี่ๆเข้ามาคุย แกะกล่องค่อยอุ่นใจ ครับ

    แกะกล่องเคยคุยกับ คุณ ลักษณ์ ก็ได้ข้อมูลตรงกับพี่มันตรับครับ คือ กรุสรพรรณ ไม่มีชิน(อุทุมพร) แกว่างั้น แต่องค์นี้เป็นพระแท้ และเก่าด้วย

    ผนวกกับแกะกล่องก็เห็นว่ามีพระกรุเนื้อชินเขียว อีกหลายองค์ ที่ดูเก่ามีอายุ ครับ

    ขอยืมภาพเพื่อการศึกษาครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3JpQe7ofGmu.jpg
      3JpQe7ofGmu.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.6 KB
      เปิดดู:
      3,597
  10. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    หากตัดตำนานและ ประวัติ ออก ไปชั่วคราว เพื่อทำการวิเคราะห์ ธรรมชาติและ ศิลป์ เพื่อช่วยกันหาคำตอบ จากร่องรอยที่ปรากฎ สู่สายตา โดยแบ่งแบบนี้จะได้หรือไม่

    1. โลหะที่ใช้สร้าง

    2. ร่องรอยธรรมชาติ

    3. ศิลป์

    เราพอจะใช้เป็นข้อสรุปได้ใหมครับ พี่ๆ
     
  11. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    พระเก๊ยุคแรกๆของประเทศไทย คือพระเนื้อชินครับ สมัยก่อนขุดกระเจอพระเนื้อชิน คนเขาจะนิยมเก็บเอาไว้ แต่ถ้าเป็นเนื้อดินก็แทบจะไม่มีค่ามีราคา แม้แต่นางพญา ผง สุพรรณเมื่อก่อนที่จะบรรจุเข้าเป็นเบญจภาคี ไม่แพงครับ ผ่านมานานวันเข้าเนื้อดินก็ได้รับความนิยม เขาว่าชุดกิมตึ๋งที่เป็นเนื้อดินยังเจ้าของยังหวงกว่าผงสุพรรณเลยครับ(ได้ยินมาแบบนี้นะอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดก็ได้) เพราะพระกรุเนื้อชินแท้ๆหายากมาก ตอนเล่นพระใหม่ๆเคยพูดกับรุ่นใหญ่ในสนามว่าผมอยากศึกษาพระเนื้อชิน มีแต่คนส่ายหน้า พูดเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า "เอางั้นเลยนะ พระเนื้อชินพระกรุเก๊ดีฉิบหายเลย" ส่วนมากพูดแบบนี้นะครับ ยิ่งพระมเหศวร หายาก ของแท้แทบจะไม่มีปรากฏ อีกหน่อยจะเหมือนพระร่วงหลังรางปืน หาของแท้ดูไม่ได้
     
  12. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    โลหะที่ใช้ในการสร้างแกะกล่องลองอ่านจากหลายแหล่งข้อมูล มีข้อมูลที่ใกล้เคียกันมาก ซึ่งบางท่านลงทุนขนาดนำองค์พระไปทำการ X-RAY เพื่อหาส่วนผสมของโลหะที่ใช้สร้างองค์พระกันเลยทีเดียว พบว่ามักประกอบด้วย

    แร่พลวง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เงิน และ ทองคำ

    อาจต่างกันไปบ้าง จากอัตราส่วนที่ต่างกัน แต่โดยรวม ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ แกะกล่องอ่านจากหลายๆบทความชี้ให้เราเห็นว่า " เนื้อชิน " จะต้องมีตะกั่วผสมอยู่บ้างไม่มากก็น้อย
     
  13. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    ครับพี่มันตรัย............

    อาจจะทำกันจนแยกเก๊แท้ ไม่ออก ก็เป็นได้ จึงไม่ค่อยนิยมกัน:'(
     
  14. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    ลองวิเคราะส่วนผสมของโลหะที่ใช้สร้างพระกันก่อนนะครับ ว่าจากข้อมูลที่เราพอจะค้นได้นั้น เป็นข้อมูลที่พอจะใช้เป็นแนวทางในการศึกษาต่อได้หรือไม่ เริ่มจากสีของเนื้อชินก่อนนะครับ จากภาพพระเนื้อชินที่แกะกล่องนำมาเป็นกรณีศึกษานั้น พบว่าเนื้อโลหะด้านใน หากเปิดผิว หรือ คราบกรุออกไปแล้วนั้น จะมีสำออกดำ และ จะเป็นมันวาว เมื่อสัมผัสกับ ไขมันที่ออกจากร่างกายของเรา ส่วนนี้น่าจะเป็น ส่วนผสมหลักที่ใช้ในการสร้างองค์พระ

    ปิดเทอร์มนี้ต้องเอาดีให้ได้...............:mad:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    หากโลหะที่ใช้ในการหล่อพระเนื้อชินเขียวประกอบด้วย แร่พลวง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เงิน และ ทองคำ เมื่อนำมาเทียบกับสีของสินแร่ต่างๆได้ดังนั้

    1. ตะกั่ว มีสี เทาเงิน
    2. สังกะสี มีสี เทาเงิน
    3. พลวง มีสี เทา
    4. ดีบุก มีสี ดำ นำตาล

    เงินและทองคำ เป็นโลหะมีค่าจึงไม่มีการนำมาเติมมากนัก
     
  16. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    ทีนี้มาถึงในส่วนของ จุดหลอมเหลวของโลหะแต่ละชนิด(องศาซี)

    1. ดีบุก 232
    2. ตะกั่ว 328
    3.สังกะสี 420
    4. พลวง 630

    เหตุที่ต้อง กล่าวถึงสี และ จุดหลอมเหลวของโลหะเหล่านี้เนื่องจาก ต้องการพิสูจน์ ว่าชนิดของโลหะที่กล่าวกันไว้ในบทความต่างๆนั้น เป็นไปอย่างถูกต้องหรือไม่ ต่อไป
     
  17. Phaake

    Phaake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,818
    ค่าพลัง:
    +319
    ชินเขียว เกิดขึ้นได้กับพระเนื้อโลหะผสม ทุกองคื ขึ้นอยู่กับส่วนผสม แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดคือ จะไม่เกิดกับพระบรรจุกรุ เพราะชินเขียวเป็นอ็อกไซค์ ที่ทำปฎิกิริยา กับ ความชื้นและ อากาศ ที่สถาวะแวดล้อมแบบเปิด ซึ่งโลหะบรรจุกรุ จะเป็นสถาวะปิดจะเกิดเป็นสถาพสนิมขึ้นหนาปกคลุม และ กัดกร่อนผิวเนื้อพระ ครับ

    เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
     
  18. Phaake

    Phaake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,818
    ค่าพลัง:
    +319
    และเนื้อสีเขียว เกิดขึ้นจากแร่ทองแดง เป็นองคืประกอบหลักๆครับ
     
  19. DHAMMAPHOL

    DHAMMAPHOL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,744
    ค่าพลัง:
    +2,105
    "กระทู้นี้ว่าด้วย ชินเขียว ครับ ไม่ใช่ สนิมเขียว"
     
  20. แกะกล่อง

    แกะกล่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +155
    พี่พระเอกมาแว้ว

    แกะกล่องหาข้อสรุปไม่ได้ครับ ว่า พระเนื้อชินเขียว มีขึ้นกรุจริงใหม ข้อมูลขัดแย้งกันมาก

    รบกวนพี่พระเอก ช่วยดูองค์ข้างบนด้วยครับ ว่าแท้ ไม่แท้ อย่างไร
     

แชร์หน้านี้

Loading...