พระคาถาบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย Flankspeed, 26 ธันวาคม 2010.

  1. Flankspeed

    Flankspeed เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +628
    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง

    โดย ราม วัชรประดิษฐ์



    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    วันที่ 28 ธันวาคมที่จะถึงนี้ นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาติไทย เนื่องด้วยเป็นวันคล้ายวันขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของสยามประเทศครับผม

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช 1096 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นชาวจีนชื่อ นายไหฮอง หรือ หยง แซ่แต้ เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์ พระราชชนนีชื่อ นางนกเอี้ยง (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระเทพามาตย์) ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับจวนเจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก

    เมื่อทรงพระเยาว์ เจ้าพระยาจักรีได้ขอสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และตั้งชื่อพระองค์ว่า "สิน" พออายุได้ 9 ขวบ ก็นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส

    ครั้นอายุ 13 ปี ได้นำเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ตามประเพณีของการรับราชการในสมัยนั้น ระหว่างรับราชการนายสินใฝ่ใจศึกษาด้านภาษาต่างประเทศหลายภาษา ทั้ง ภาษาจีน ภาษาญวน และภาษาแขก จนสามารถพูดได้ 3 ภาษาอย่างคล่องแคล่ว พออายุ 21 ปี เจ้าพระยาจักรีได้ประกอบการอุปสมบทให้นายสิน ณ วัดโกษาวาส (ปัจจุบัน คือวัดเชิงท่า) จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นเวลา 3 พรรษา จึงลาสิกขากลับมาเข้ารับราชการดังเดิม เนื่องจากนายสินเป็นผู้ฉลาดรอบรู้ขนบธรรมเนียมราชกิจต่างๆ จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็กรายงานด้วยราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทยและกรมวังศาลหลวง <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์เสด็จสวรรคต ในปีพ.ศ. 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร เสด็จเสวยราชสมบัติประมาณ 3 เดือน ก็ถวายสิริราชสมบัติแก่พระเจ้าเอกทัศน์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือ นายสินก็ปฏิบัติราชการด้วยความวิริยะอุตสาหะ จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ครั้นเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรมลงก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น "พระยาตาก" ปกครองเมืองตากแทน

    ปีพ.ศ. 2308 พระยาตาก (สิน) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ามาช่วยราชการสงครามที่กรุงศรีอยุธยา ด้วยฝีมือการสู้รบปกป้องพระนครอย่างเข้มแข็ง จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น "พระยาวชิรปราการ (สิน)" สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองเดิมที่ถึงแก่กรรม

    ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยา ก็เสียแก่พม่า ต่อมา พระยาตากสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนได้ และคิดจะปฏิสังขรณ์กรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใหม่ แต่เห็นว่าได้รับความเสียหายเป็นอันมากยากที่จะบูรณะให้เหมือนดังเดิม จึงเลือก "เมืองธนบุรี" เป็นราชธานี ซึ่งคำว่า "ธน" หมายถึง ทรัพย์สิน อันเป็นมงคลนามตรงกับพระนามเดิมของพระองค์

    ทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2311 ขณะมีพระชนมายุได้ 34 พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ประชาชนทั่วไปยังนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตาก สินมหาราช พระองค์เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ จ.ศ. 1144 ปีขาล ตรงกับวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระชนมายุ 48 พรรษา รวมสิริราชสมบัติ 15 ปี

    ทางราชการ โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ ขึ้น ที่วงเวียนใหญ่ ธนบุรี ให้กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ และศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ทำการปั้น ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์และเททองพระเศียรเป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราช ดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2497

    ขณะที่วัดสุทัศนเทพวราราม โดยท่านเจ้าคุณศรีสัจจาญาณมุนี (สนธิ์) ได้ดำริจัดสร้าง "พระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขนาดเล็ก" ขึ้น โดยใช้ชนวนเก่าที่เหลือจากการเท พระกริ่งรุ่นต่างๆ ของสายวัดสุทัศน์มาผสมด้วย ลักษณะเป็นรูปหล่อเหมือนเต็มองค์ทรงเครื่องกษัตริย์นักรบ สวมพระมาลาพระหัตถ์ซ้ายทรงพระแสงดาบ ประทับนั่งบนพระแท่นฐาน 2 ชั้น เนื้อสีเหลืองอมเขียว ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีน

    ในวันที่ 28 ธันวาคมนี้ กระผมจึงขอเรียนเชิญชาวไทยทั่วประเทศ ร่วมกราบสักการะดวงพระวิญญาณแห่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ และเพื่อป้องกันภัยพิบัติ กำจัดเสี้ยนศึกศัตรู สร้างความเป็นสิริมงคลกับตนเอง มีพระคาถาบูชาจำง่ายๆ สั้นๆ ครับผม

    ตั้งนะโม 3 จบ และอธิษฐานบูชา 9 คาบ ว่าโอม ปู่ตาก ตะกุ อิ ตัล ตากสินราชะโยตังอิ

    [FONT=Tahoma,]หน้า 31[/FONT]

    </TD><!-- เริ่มภาพชุดทั้งหมด --><!-- จบภาพชุดทั้งหมด --><!-- เริ่มข่าวเกี่ยวเนื่อง --><!-- จบข่าวเกี่ยวเนื่อง -->
    <!-- ใส่แสดงความคิดเห็นท้ายข่าว -->
     
  2. นักธรรมเอก

    นักธรรมเอก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +761
    ดีมากเลยครับสำหรับข้อมูล
    ที่บ้านผมก็นำพระรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมาหราชตั้งไว้บูชาด้วย ถวายมาลัยดอกไม้ และถวายน้ำทุกเช้า ได้พระรูปมาจากวัดบางกุ้ง จ.สมุทรสงคราม หลายปีแล้วแต่ไม่ได้มีคาถาบูชาเลยเพียงแต่กล่าวคำขอถวายบูชา ระลึกถึงพระองค์ท่านเท่านั้นเองครับ
     
  3. SALEEN

    SALEEN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +130
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  4. มรรค 8 ประการ

    มรรค 8 ประการ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    884
    ค่าพลัง:
    +2,643
    สวัสดีครับ ผมอยากทราบที่มาของบทบูชานี้ครับ เพราะไม่เคยได้ยินมาก่อน
     
  5. เสือมังกร

    เสือมังกร สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ตั้งนะโม 3 จบ และอธิษฐานบูชา 9 คาบ ว่าโอม ปู่ตาก ตะกุ อิ ตัล ตากสินราชะโยตังอิ
    [FONT=Tahoma,]หน้า 31[/FONT]


    ขอเพิ่มเติม ครับ

    โอม สิโน ราชาเทวะ ชะยะตุภะวัง สัพพะศัตรูวินาสสันติ

    ฉบับวัดนาคกลางวรวิหาร กรุงเทพ(ซอยร.ร.ทวีธาภิเษก)
    โอม สิโน ราชาเทวะ นะมามิหัง
    โอม สิโน ราชาเทวะ ชะยะตุภะวัง สัพพะศัตรูวินาสสันติ
    สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะตะถาคะโต
    สิทธิเตโช ชะโย นิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตะรัง
    สัพพะกัมมัง ประสิทธิ ภะวันตุเม
     

แชร์หน้านี้

Loading...