พระผงสุพรรณ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย panno, 15 กรกฎาคม 2011.

  1. panno

    panno สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +2
    ....รบกวนผู้มีความรู้...comment...พระองค์นี้ครับ...ขอบคุณครับ........:VO
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 11.1.jpg
      11.1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      125.7 KB
      เปิดดู:
      4,218
    • 22.2.jpg
      22.2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.1 KB
      เปิดดู:
      1,371
    • DSC04977.JPG
      DSC04977.JPG
      ขนาดไฟล์:
      183.7 KB
      เปิดดู:
      1,468
    • DSC04980.JPG
      DSC04980.JPG
      ขนาดไฟล์:
      147.5 KB
      เปิดดู:
      1,702
  2. paraw

    paraw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,269
    ค่าพลัง:
    +868
    พระผง สุพรรณพิมพ์หน้าแก่ แบบตัดยอด เก้แท้รอสายตรงครับ
     
  3. panno

    panno สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +2
    ด้านข้าง ซ้าย...ขวา....ล่าง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.1.JPG
      1.1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      173.1 KB
      เปิดดู:
      399
    • 1.2.JPG
      1.2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      144.1 KB
      เปิดดู:
      521
    • 1.3.JPG
      1.3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      158.4 KB
      เปิดดู:
      430
  4. Bigzys

    Bigzys Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,123
    ค่าพลัง:
    +34
    ถ้าถามผมดูด้านข้างรอยตอกตัดยังไม่ชอบครับ
     
  5. panno

    panno สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +2
    ...จากการศึกษามาพบว่า...
    1.ตำหนิพระองค์นี้มีครบทุกจุดตำ ที่สำคัญ....ไล่ตำหนิมากกว่า18จุด
    2.ขนาดองค์พระถูกต้อง ตามหลัก <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->ความสูงประมาณ 2.50-2.70 ซม. ความกว้างช่วงล่างประมาณ 1.60-1.80 ซม.
    3.ความเหี่ยวย่น บนองค์พระ เป็นไปตามธรรมชาติ และอายุของพระ
    4.รอยเส้นเสี้ยน มีให้เห็น อยู่ทั่วไปบนองค์พระด่านหน้า
    5.สีสัน ของพระเป็นไปตามธรรมชาติ มีรารักเกิดขึ้นทั่วไป แลดูสวย งาม (เคยล้างด้วยนำ้ร้อนและเช็ดด้วยสำลี ราดำที่ว่าก็ไม่มีทีท่าว่าจะหลุด)
    6.ด้านหลังองค์ เป็นลายนิ้วมือแบบมัดหวาย ซึ่งหาดูค่อยข้างยาก ถ้าสังเกตุดูให้ดูรอยนิ้วมือด้านบน และด้านล่างจะมีลักษณะเส้นลายนิ้วมือใหญ่
    7.การตัดตอกด้านข้างเป็นไปตามธรรมชาติ มีการยุบเป็นแอ่ง ตามอายุของพระ เส้นการตัดไม่ตรงเสียทีเดียว และยังมีรารัก หรือน้ำว่าน เกาะให้เห็น ไม่สามารถล้างออกได้ (เคยล้างด้วยนำ้ร้อนมาแล้ว)
    สุดท้ายใครมีความเห็นอย่างไร เม้นต่อได้เลยนะครับ......
     
  6. panno

    panno สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +2
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> (1.) พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่
    พระหนุ (คาง) เป็นคางเหลี่ยม ป้านเล็กน้อยเหมือนคางคน มีเส้นเอ็นคอแสดงให้เห็นที่มุมคางทั้งสองด้าน คือ เป็นเส้นต่อจากปลายสามเหลี่ยมลากลงหาพื้นผนัง โดยเฉพาะที่มุมคางด้านซ้ายมือพระมีเส้นเอ็นคอเส้นเล็กๆ โตเท่าเส้นผมปรากฏให้เห็น ลากมุมคางลงมาหัวไหล่ซ้ายแล้วมือกลืนหายไปที่ไหล่และโผล่ต่อลงมาที่ซอกแขน ซ้ายจนถึงแขนตรงข้อมือซ้ายทะลุลงมาที่ข้อพระบาท (ข้อเท้า) ขวาพระชงฆ์ลงบรรจบที่อาสนะ (ฐานพระ) เส้นนี้เป็นตำหนิพิมพ์ของพระผงสุพรรณหน้าแก่ ต้องสังเกตให้ดีจากองค์ที่ติดพิมพ์ชัดๆ
    พระกรรณ (ใบหู) ใบหูขวายาวกว่าใบหูซ้าย แยกอธิบายได้ดังนี้
    ใบหูด้านขวาของพระ (ซ้ายมือของเรา) ใบหูเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้พิจารณาพระผงสุพรรณหน้าแก่จะยาวกว่าใบหูซ้ายมาก มีร่องเหมือนหูคนลากลงเป็นเส้นค่อนข้างหนาแต่มีเส้นคมบางลากลงถึงปลายหู ซึ่งแหลมคมมากและยาวไม่จรดไหล่ มีลักษณะคดงอเข้าหาใบหน้า ที่ซอกใบหูมีติ่งเนื้อเกินเป็นตุ่มเล็กๆ เป็นตะปุ่มตะป่ำเรียงลงมา ตุ่มเล็กบ้างใหญ่บ้าง
    ใบหูด้านซ้ายของพระ เป็นเส้นใบหูที่หนา ช่วงบนใบหูที่ปมเป็นตะขอลากขึ้นจากแนวระดับตาซ้ายปลายบนแหลม การวางใบหูห่างจากใบหน้ามาก ลากลงยาวเสมอมุมปาก หูซอกใบหูมีเนื้อเกินเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำเป็นตัวเชื่อมระหว่างใบหูกับแก้ม ใบหูซ้ายสั้นมาก ปลายหูช่วงล่างแตกเป็นสองแฉกมีปลายแหลมเป็นชายธงลากปลายขึ้นบรรจบแก้มซ้าย เป็นตำหนิพิมพ์พระผงสุพรรณหน้าแก่อีกที่หนึ่งใบหูมีเส้นหน้าเกือบเท่ากัน ทั้งสองข้าง ปลายบนของใบหูมีลักษณะแหลมเฉียงและหักงอเป็นตะขอเข้าหาใบหน้าตรงระดับตาซ้าย ล้อกับปลายหูล่าง
    พระศอ (คอ) กลืนหายไม่ปรากฏให้เห็นชัดเจน เห็นเพียงแต่ความโค้งและมีเสี้ยนปรากฏมากเป็นแนวตั้งขึ้นหาพระหนุ (คาง)
    พระอังสกุฎ (ไหล่) ไหล่กว้างมีลักษณะมนอูม ไหล่ขวาจะยกเล็กน้อย ลักษณะทั่วไปไหล่กว้างและดูห่างจากคางมาก
    ซอกรักแร้ ห่างจากลำตัวมากจนเห็นชัด ซอกรักแร้ซ้ายมีรอยขยับติดที่ลำตัวเป็นลอนๆ สองลอนเป็นตำหนิพิมพ์หน้าแก่อีกที่หนึ่ง
    พระพาหา (ลำแขน) ลำแขนมองดูเป็นเส้นเล็กผอมบางลำแขนซ้าย ประทับนั่งแบบปางมารวิชัย เริ่มวาดเป็นเส้นบางเป็นลำเล็กๆ จากไหล่หักมุมโค้งมนลงเป็นแนวดิ่งลงมาถึงข้อศอก แล้วข้อศอกจะรางเลือนตรงหักมุมข้อศอกพอดี แล้วลาดออกเทมาเป็นลำแขนจนฝ่ามือที่ค่อนข้างใหญ่ปรากฏนิ้วปลายนิ้วมือ
    สรุป การทอดแขนซ้ายนี้มี 3 จังหวะ คือจากไหล่ถึงข้อศอกเป็นต้นแขนแสดงให้เห็นกล้ามเนื้อลูกหนูบางๆ แบบคนผอม ข้อศอกกลีบหาย จังหวะที่สองจากข้อพับที่กลืนหายมาเป็นลำแขนถึงข้อมือและจากข้อมือถึงปลาย นิ้วทั้งห้า ซึ่งถ้าเรากลับมาดูจะเหมือนหัวหงส์หรือหัวห่าน ที่ได้ข้อมือซ้ายมีตำหนิพิมพ์เป็นจุดกลมๆ เล็กๆ หนึ่งจุดต้องสังเกตจึงจะเห็น มีเฉพาะของพิมพ์ผงสุพรรณหน้าแก่
    ลำแขนขวา เป็นลำทอดลงมาสองจังหวะ คือจากไหล่ขวาวาดมนลงมาถึงข้อพับหน้า เป็นต้น แขน จากข้อพับเป็นลำแขนและฝ่ามือค่อนข้างใหญ่แบบศิลปะอู่ทองคว่ำจดปลายเข่าตรง หน้าตักแบบสะดุ้งมาร ตรงนี้ต้องสังเกตฝ่ามือให้ดีเป็นตำหนิพิมพ์ที่ฝ่ามือนิ้วที่จับเข่าปลายตัก จะติดกันเป็นพรืดทั้งสี่นิ้วและที่ปลายนิ้วตัดเป็นเส้นตรง ส่วนนิ้วหัวแม่มือออกเหมือนก้ามปู และปลายนิ้วหัวแม่มือตัดเป็นแฉกแบบหางลูกศรหรือหางนกแซงแซง เป็นตำหนิพิมพ์ที่สำคัญที่ใช้สังเกตอีกที่หนึ่ง
    พระอุระ (หน้าอก) อกพระผงสุพรรณหน้าแก่มือกว้าง ยอกดอกอูมแอ่นขึ้นจากซอกคอขึ้นมาสู่อก และลาดเทเอียงลงสู่ท้อง แสดงความอวบอูมล่ำสันยกเป็นพระสัน (เต้านม) ติดกัน สองลอน มองดูเหมือนหัวช้าง
    พระอุทร ท้องแห้งลาดเทเป็นรูปตัววี เทลาดลงจากพระอุระ และกลืนหายลงสู่พื้นตรงแนวขึ้นตรงกึ่งกลางฝ่ามือซ้ายแนวลาดเอียงที่กลืนหาย สู่ลงพื้น ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าแนวขอบของพระอุทร (ท้อง) ด้านขวาพระยกขอบสูงขึ้นแล้วลาดเทลงซ้ายสู่พื้นผนัง ขอบที่ยกยาวเกือบหัวแม่มือซ้ายที่เป็นรูปคล้ายหัวหงส์หรือหัวห่าน และตามแนวหน้าท้องนี้จะมีคลื่นลอนท้องเป็นเส้นๆ ตามแนวยาวลงไม่ปรากฏว่ามีพระนาภี (สะดือ) สำหรับพระผงสุพรรณทุกพิมพ์
    พระเพลา (หน้าตัก) ประทับนั่งปางมารวิชัย พระชงฆ์ซ้ายห่างกันมาก ขนาดของพระชงฆ์ทั้งสองข้างเป็นเส้นบางมาก ขอให้ผู้ศึกษาจำขนาดพระชงฆ์และระยะห่างของการซ้อนพระชงฆ์ให้ดีและรูปแบบของ พระชงฆ์ทั้งสองข้างด้วย เพราะของเทียมทำได้ไม่เหมือน
    พระชงฆ์ขวา เป็นเส้นบางมีลักษณะค่อนข้างตรง หัวเข่าบางกว่าพระชงฆ์ซ้าย มีรอยของฝ่าพระบาทน้อยมองดูคล้ายจะเป็นเส้นตรงปลายพระบาทมีรอยขยักให้เห็น นิ้วแม่เท้าขวาเป็นปมใหญ่รอยขยักของข้อพระบาทตื้นกว่าพระชงฆ์ซ้ายมาก
    พระชงฆ์ซ้าย เป็นเส้นบางอ่อนช้อยกว่าพระชงฆ์ขวา เริ่มจากหัวเข่าซ้ายที่หนามากมาถึงตรงกลางพระชงฆ์จะมีรอยขยักคอดเล็กน้อย เป็นรอยคอดของข้อเท้าและเปลี่ยนเป็นเส้นบางมากมีลักษณะแบนเทลงมาพื้นผนัง แสดงเป็นเส้นฝ่าเท้าที่บางมากและมีลักษณะโก่งขึ้นแล้วงอลงเป็นนิ้วหัวแม่ เท้าซ้ายบางชัดเจนมากงอขึ้นบรรจบกับหัวเข่าขวา
    ถ้าสังเกตให้ดีช่องว่างระหว่างขาที่ซ้อนกันนี้จะมีเส้นแตกเล็กๆ เป็นเสี้ยนเหมือนรากไม้ลากโยงเข้าหากันแผ่วๆ ในบางที่ใช้เป็นที่สังเกตและเป็นตำหนิพิมพ์
    อาสนะ (ฐานพระ) ฐานของพระสุพรรณหน้าแก่เป็นฐานหมอน ด้านบนที่รองรับพระเพลาเป็นถมขอบสักที่คมขนาดกับพระชงฆ์ซ้ายวาดห่างจาก หน้าตักเป็นช่องไฟห่าง พอๆ กับช่องไฟของพระเพลา ที่ขอบด้านบนของอาสนะกินไปซ้ายยาวประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของอาสนะ จะมีรอยขยักเหมือนหัวผานของคันไถ เหมือนเงี่ยงเบ็ดตกปลาเป็นแง่และลาดลงไปทางขวามือเรา ด้านล่างของฐานพระจะลาดเทมนลงหาพื้นผนังมุมด้านใต้ของอาสนะพระผงสุพรรณโค้ง มาขึ้นกับพระชานุ พระทั้งสองข้าง หัวผานของอาสนะชั้นนี้เป็นตำหนิพิมพ์ที่สำคัญอีกที่หนึ่ง ผู้ศึกษาต้องจำขนาดและตำแหน่งของหัวผ่านให้ดี
    การตัดกรอบพิมพ์ พระผงสุพรรณตัดกรอบเป็นทรงสามเหลี่ยมทรงชะลูดปลายด้านบนมีทั้งไม่ตัดเจียน และตัดเจียน มีทั้งตัดเจียนเป็นทรงห้าเหลี่ยมไม่แน่นอน บางองค์มุมเหลี่ยมด้านล่างจะถูกกลบมุมเล็กน้อย ส่วนพระผงสุพรรณพิมพ์หน้าหนุ่มจะถูกตัดเจียนที่มุมล่างมากเห็นได้ชัด ว่าเจตนาเจียนออกรอยตัดอกด้านข้างมีทั้งรอบตอกเป็นแนวนอนระนาบหรือเป็นแนว เฉียง 45 องศา ด้านล่างจะถูกตัดขอบเป็นแนวดิ่งและมักมีรอยอกดันออกจากแม่พิมพ์เป็นรอยบุบ เป็นแอ่งท้องกระทะตื้นๆ พระผงสุพรรณส่วนใหญ่ด้านหลังจะถูกด้วยน้ำหนักมือไม่เท่ากันทำให้เนื้อช่วงบน ของพระบาง และด้านล่างหากกว่ากันจนเป็นได้ชัด ลักษณะด้านข้างของพระผงสุพรรณอีกประการหนึ่ง คือผิดด้านข้างจะมันเลื่อมเหมือนทายรีเทนโดยรอบ โดยเฉพาะด้านล่าง และจะเห็นรอยตอกตัดมีสีคล้ายลงรักน้ำเกลี้ยงสีเข้ม ทั้งนี้เพราะเกิดจากน้ำว่านที่ละลายออกมาเคลือบผิวและรอยตอกตัดเป็นสีน้ำตาล แกมดำคล้ายรักน้ำเกลี้ยง น้ำว่านนี้ละลายออกมาเคลือบผิวพระแน่นมากขณะถูกเผาไฟ
    การพิจารณาเนื้อ สี คราบรารัก พระผงสุพรรณเป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านร้อยแปด เนื้อพระละเอียดมีแร่ทรายปนน้อยมาก มีคราบผิวที่เรียบมัน เนื่องจากผิวถูกอาบด้วยน้ำว่านที่ละลายมาเคลือบ และมีเสี้ยนและริ้วรอยธรรมชาติเป็นแนวเล็กๆ ตามยาวของพระที่พบมากคือด้านหน้า ด้านหลังมีรอยพิมพ์นิ้วมือ เท่าที่สังเกตจะพบว่าเป็นรอยนิ้วมือคนพิมพ์คนเดียวกัน อันนี้ผู้เขียนยังไม่กล้ายืนยันแต่จากการได้พระผงสุพรรณผ่านมือมากก็พบว่า ลายมือเป็นลายก้นหอย ตรงกลางที่เป็นก้นหอยจะติดแผ่วๆ และปูดขึ้น ลายมือหยาบแบบนิ้วมือคนโบราณ ลายมือคนสมัยนี้ถ้านำมากดพิมพ์จะเล็กมาก ส่วนลายนิ้วมือแบบมัดหวายน้อยมากอาจเป็นลายนิ้วมือแบบก้นหอยไม่ได้ศูนย์จึง ทำให้ลายนิ้วมือเบี้ยวคล้ายลายมือแบบมัดหวาย
    สีของพระผงสุพรรณ ที่พบบ่อยที่สุด คือ สีแดง สีตับเป็ด หรือน้ำตาล สีดำ สีเขียวใบมะกา หรือ สีเขียวเข้มเกือบดำ พระทุกองค์จะมีรารักหรือราดำเป็นจุดๆ มีคราบความเก่า คราบกรุเป็นดินสีน้ำตาลลอมดำ ในกรณีที่เป็นพระเนื้อสีดำจะมีคราบกรุเป็นดินผสมคราบสีขาวคล้ายน้ำปูนขาว และคราบขี้ค้างคาวในกรุมีสีดำแกมน้ำตาลจับหนามาก ถ้าเป็นพระสีตับเป็ดจะพบคราบกรุสีน้ำตาลแกมดำ ผิวมีความฉ่ำมันเหมือนทาด้วยรักน้ำเกลียง บางองค์ผิวมีความมันเหลือมเหมือนมีน้ำมันยางฉาบผิว เกิดจากน้ำสีเหมือนยางไม้หรือน้ำมันยาง หรือรักน้ำเกลียง ทำให้พระสีนี้มีความซึ่งน่ารัก พระสีแดงพิกลมักจะมีคราบรารักติดเป็นจุดๆ ครบดังกล่าว จะมีความหนาติดเป็นปื้นๆ เพราะรารักเป็นพืชชนิดที่งอกขึ้นมาในองค์พระขณะที่พระบรรจุอยู่ในกรุ ขณะที่มีความชื้น เมื่อรารักแห้งจะมีสีดำแกมน้ำตาล และพระผงสุพรรณไม่มีพระเนื้อสีขาว

    การตัดกรอบพระผงสุพรรณหน้าแก่
    ความสูงประมาณ 2.50-2.70 ซม. ความกว้างช่วงล่างประมาณ 1.60-1.80 ซม. ความหนาช่วงล่างประมาณ 0.55-0.90 ซม.
    มาตรฐานการตัดกรอบพระผงสุพรรณ ความสูง ความกว้าง และความหนาอาจผิดไปจากที่กล่าวแล้วเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับผู้พิมพ์พระจะกดพิมพ์และตัดกรอบ รวมทั้งการหดตัวขณะเผาพระด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.51.jpg
      1.51.jpg
      ขนาดไฟล์:
      135.8 KB
      เปิดดู:
      321
  7. ืnbclassic

    ืnbclassic สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +8
    จขกท ตั้งใจศึกษามาขนาดนี้ ก็ต้องเอาใจช่วยครับ ส่วนตัวผมนั้นพระหลักผมหลบ ^-^
     
  8. panno

    panno สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอบคุณครับ....โดยส่วนตัว...จากการศึกษามาผมมีความเชื่อว่าในการสร้างพระเพื่อบรรจุลงกรุไดๆ จะต้องทำการสร้างถึง84000ตามหลัก พระธรรมขัน...จึงมีความรู้สึกว่า...พระที่สร้างออกมาเยอะขนาดนี้...จะมีเหลืออยู่ไม่กี่องค์ในปัจจุบัน...จากการลักลอบขุดในครั้งแรก...คนที่ขุดได้พระไปเท่าไหร่...และกว่าจะเปิดกรุอย่างเป็นทางการ...พระโดนลักลอบออกไปแล้วเท่าไหร่...และหากพระชำรุดเสียหายจะเสียหายเกินครึ่งเชียวหรือ...นั่น...คือสาเหตุที่คิดว่ายังมีพระดีๆหมกอยู่ตามบ้านเรือนคนที่ไม่รู้อีกจำนวนมาก...
    จึงไม่คิดที่จะท้อ...ในการหาพระดีๆมา...คงไม่มีปัญญาในการไปเช่าจากเซียนใหญ่....ซึ่งราคานั้นไม่อาจเอื้อมที่เดียว....
    แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าของเทียมจะมีน้อย....มันมีเยอะเสียกว่าที่สร้างบรรจุกรุเสียอีก...และก็ยังทำออกมาทุกวัน...
    โดยส่วนตัวไม่เคยคิดว่าพระหลักๆจะต้องอยู่กับพวกเซียนใหญ่เท่านั้น....การทำให้พระมีจำนวนน้อย...เท่าไหร่ราคาพระก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น...ลองคิดดู...พระแท้หลายองค์โดนตีเป็นพระเทียมในงานประกวด...ก็มาก...เพื่อให้พระแท้ดูว่ามันมีน้อยจริง...อย่างนั้นจริงหรือ...
    ผมเจอพระเทียมมาเยอะมากจนพอจะแยกเยะได้ว่า...ของแท้ของเทียมแตกต่างกันอย่างไร...ต้องศึกษาอย่างจริงจัง...ทุกตำราทุกอาจารย์์์...ไม่ปักใจกับตำราใด้ตำราหนึ่ง...อาจารย์ใดอจารย์หนึ่ง...เพราะเชื่อว่าไม่มีไครเกิดทันตอนพระสร้างแน่...แต่อาศัยความชำนาญ...ในการดูของเทียมและของแท้...เทียบเคียงกันเยอะๆ บ่อยๆ...บางทีท่านก็อาจเป็นผู้โชคดีได้ครอบครองของดี...ในราคาที่พอเช่าซื้อกันได้...แน่นอน...ขึ้นชื่อว่าเซียนหรือไม่เซียนก็เป็นคนเหมือนกันทั้งนั้น...ไม่มีไครเกิดทันตอนที่พระสร้าง...แต่อยู่ที่การศึกษาค้นคว้าครับ...
     
  9. panno

    panno สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +2
    ลองดูพระเก่า อีกองค์...ครับ...องค์...ตามสูตร...ตามตำรา...ครับ...เป็นพิมใหญ่....สนิมตีนกา...สนิมขุม...ไขวัว...มีอยู่ในองค์เดียวกัน...อีกอย่าง...พระทั้งสองด้านต้องไม่เหมือนกัน...
    สีดำำ..ของจริงจะสวยงามกว่าในภาพมากครับ....:VO
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    ครับพระสวยดีครับ
    การหาความรู้ด้วยตัวเองนับว่าเยี่ยมครับ แถมได้อะไรมาก็มาแบ่งปันคนอื่นอีก นับว่ามีน้ำใจนะครับ
    ผมก็เป็นคนที่ชอบหาความรู้ด้วยตนเอง แต่พออ่านมากเข้าก็คิดว่าตัวผมนี้แน่นัก ไม่สนใจคำติของใครทั้งนั้น มองคนที่ติพระเราว่าเป็นจริงหรือเปล่า มั่วมั้ง หรือต้องการพระเรา
    นานเข้าก็เกิดความดื้อรั้นคิดว่าประสบการณ์และความรู้เราแน่น ขึ้นเทียบชั้น ปรากฎว่าร่วงไม่เป็นท่า ประสบการณ์ที่ว่าแน่นก็ดูพระเราเองที่จับๆมาก็ปลอมซะส่วนใหญ่ ต้องถอยหลังตั้งต้นใหม่เสียเวลาเป็นปี ฟังคนอื่นมากขึ้น

    ไม่มีอะไรนะครับเล่าให้สนุกๆเฉยๆ
    มีคนบอกว่าดูพระนะตำราหาไม่ยากใครสอนก็ได้ แต่ประสบการณ์สอนไม่ได้ครับ
     
  11. panno

    panno สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +2
    เป็นความคิดที่ดีครับ....อย่างที่คุณบอกผมก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกันในช่วงเล่นพระแรกๆ...ร่วงไม่เป็นท่ามานับครั้งไม่ถ้วน..จับพระองค์ละหลายๆหมื่น...สุดท้ายแทบจะขว้างทิ้งน้ำ...เคยคิดหยุดเล่นไปหลายครั้ง....แต่ด้วยความชอบก็กลับมาเล่นอีก...และระวังมากขึ้น....พระที่นำมาลงให้ชม...ไม่ใช่ว่าผมเพิ่งได้มาแล้วเอาให้ชมนะครับ....พระอยู่กับผมมานานมากจนมั่นใจ...ว่า...ใช่...จากการปรึกษาผู้ใหญ่หลายท่าน...และตำราที่ว่าแน่ๆ...เมื่อมั่นใจจึงนำมาลงให้ชมครับ...
    ขอบคุณมากครับสำหรับการแรกเปลี่ยนประสบการณ์...ขอบคุณครับ
     
  12. panno

    panno สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +2
    ครับผม...อีกองค์ที่ผมภูมิใจนำเสนอครับ...
    เป็นพระร่วง...ที่ลักษณะถูกต้องตามตำราอีกเช่นกัน...
    การเกิดไข...ในองค์พระ...การระเบิดออกจากภายใน....มองดูเป็นธรรมชาติครับ....ถ้าส่องดูของจริงด้วยกล้องจะเห็นเส้นแตกเป็นใยแมงมุมอยู่ภายในองค์พระ....เป็นอึกองค์หน่งที่น่าศึกษาครับ....เมื่อมองดูจะเห็นสีสันต่างๆเกิิดขึ้น...เช่นสีม่วงอมแดง...สีนำ้ตาลอมม่วง...สวยงามครับ....เผื่อไครเข้ามาดูลองดูนะครับ....ขอบคุณครับ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. panno

    panno สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +2
    ...หยุดให้คิด...
    โดยส่วนตัวในการเก็บสะสมพระ...ชอบพระเครื่องโดยเฉพาะพระเก่าเพราะว่า...เป็นคนพุทธครับ...เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า...เป็นหัวใจ
    การสะสมพระเครื่องโดยส่วนใหญ่แน่นอนว่า 70 กว่าเปอร์เซนต์หวังความรำ่รวยจากพระเครื่อง...อย่างเซียนพระดังๆหลายๆคน...และปฏิเสธไม่ได้ว่าผมเองก็แอบคิดอย่างนั้นอยู่เช่นกัน...คงเหมือนกับการซื้อหวยมั้ง...หวังถูกแต่สุดท้ายก็กินเรียบทุกที...แต่ในการซื้อหวยก็ใช่ว่าจะถูกกินเรียบเสมอไป....ไม่วันหนึ่งท่านอาจถูกแจ็คพ็อตเข้าก็ได้...หรืออย่างน้อยเลขท้ายสองตัว...ก็ยังดี...นักเล่นหวยหลายคนวิ่งออกหาเลขวัดโน้นวัดนี้กันจ้าละหวั่น...เจ้าพ่อเจ้าแม่หาไปทั่ว....แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า....จะเจ๋งกันซะทั้งหมด....บางทีอาจจะมีหนึ่งในพันที่โดนเข้าเต็มๆ....ก็ได้...แต่ร้อยละเก้าสิบเจ็ง....อุปมาอุปไม...คล้ายกับนักเล่นพระครับ....ออกหาพระกว้านซื้อพระ...ที่มีอยู่กลาดเกลื่อน....แท้บางเทียมบาง...แต่จะเทียมซะเยอะ....ประหนึ่งเหมือนกับล็อตเตอรรี่...ที่วางขายอยู่เกื่อนกลาด....1และ16คือความหวัง....นักเล่นพระวันประกวดพระเครื่องก็คืออวามหวังเช่นกัน....เท่าที่ดูมาหนึ่งในร้อยหรือหนึ่งในพันครับ...ที่หาซื้อพระราคาถูกตามตลาดพระจะโชคดี....นอกเสียจากว่าจะมีเงินถุงเงินถัง...ไปซื้อพระจากเซียนใหญ่มา...เปรียบ...เอาเงินไปซื้อรางวัลที่หนึ่งจากกองฉลาก...ไม่ได้ลุ้นครับถูกแน่นนอน....แล้วเราๆท่านๆเงินมีพอจะทำอย่างนั้นหรือเปล่าครับ...ถ้ามีก็เป็นบุญบารมีของคนคนนั้นไป....ล้้อ...เลียน...ล้อ...เล่นสนุกๆครับอย่าคิดมาก....
    ส่วนคนที่เขารักในพุทธเจ้า...พุทธศิลป...มีเยอะครับ...เอาพระเครื่องที่เป็นตัวแทนองค์พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ...ให้ระลึกนึกถึงพระองค์...นึกถึงปาปบุญคุณโทษ...จะได้ทำแต่ความดี...นี่เป็นสุดยอดของการแขวนพระขึ้นคอครับ...ส่วนเรื่องจะหาพระดีๆมาจากใหนก็แล้วแต่บารมีของแต่ละคนครับ....
    โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า...การหมั่นทำความดี...ทำบุญทำทาน...สวดมนต์นั่งสมาธิ....แล้วตั้งจิตอธิฐาน....ขอในสิ่งที่ดีและเป็นไปได้....วันหนึ่ง...ผมว่าจะท่าน...ก็อยากมาอยู่กับคนที่ทำความดีครับ....หรืออยู่กับคนที่หมั่นสวดมนต์ภาวนาครับ....เพราะเชื่อว่า...สิ่งศักดิ์มีจริงครับ......ไม่ต้องมีเงินถุงเงินถังก็ครอบครองได้ครับผม....
    เผื่อไครเข้ามาอ่าน....ครับ....ขอบคุณครับผม....
     
  14. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    ผมอยากแนะนำท่านอาจารย์เจ้าของกระทู้ให้รูจักกับพระอาจารย์ท่านนึงจังครับ ท่านนั้นก็ศึกษาพระเครื่องแบบท่านอาจารย์เจ้าของกระทู้นี่แหละครับ แต่เดี่ยวนี้ท่านนั้นไม่ค่อยได้เข้ามาแล้วครับ ผมอดเป็นห่วงและคิดถึงไม่ได้ ท่านนั้นเป็นอ่าจารย์ท่านนึงของผมด้วยครับ ท่านนิยมพระเนื้อดิน พระกรุเก่าครับ ออกจะหนักไปทางเหนือๆครับ
     
  15. panno

    panno สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอบคุณครับ....รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ....ประโยคนี้มีอยู่ในใจคนไทยทุกคนครับ...ผมเชื่ออย่านั้น....แต่ประโยคที่กินใจ....อย่าเห็นว่าคนรวยเป็นคนดี...มันโดนใจครับ...
    มีหลายอย่างในสังคมที่เกิดการไม่เท่าเทียมกัน...เพราะมีการแบ่งเยก...คนรวย..คนจนนี่แหละครับ...คนสมัยนี้จะมองเห็นวัตถุเป็นเครื่องตัดสินว่าไครมีดีกว่ากันในสังคม...ใครยิ่งรวยมากยิ่งเ็ป็นคนดีมาก...อย่างนั้นจริงหรือ...หรือคนรวยตอ้งถูกต้องเสมอ...แม้ผิดก็ใช้เงินซื้อความถูกต้องได้...มันเป็นอย่างัน้นจริงหรือ...ตอบแบบไม่ต้องคิดว่า...มันเป็นอย่างนั้นจริง....น่าสงสาร...สังคม...ปราบไดที่ยังมีเห็นวัตถุสิ่งของมีค่ามากกว่าจิตใจ....
    โดยส่วนตัวมองเห็นสังคมในสมัยนี้...นับวันมนุษย์ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้นมากขึ้นจนน่ากลัว...ยกตัวอย่างการบูชา...สมัยนี้มีการนำชูชกมาบูชาเป็นเทพเจ้า...ผมเห็นแล้วรู้สึกงง...จนบอกไม่ถูก...และถามหาเหตุผลก็ได้ความว่า...ที่บูชาชูชกเป็นเทพเจ้านัน้...เพราะว่า...ชูชกขอเก่ง...ประมาณว่าขออะไรก็ได้...ทำนองนี้...จึงนำชูชกมาบูชากัน...ทั้งที่จริงแล้วชูชกคือขอทานที่มีรูปร่างอัปลักษ์...ในนิทานชาดก...แต่คนสมัยนี้เอามาบูชาประหนึ่งเทพเจ้า
    อนาถแท้...เพราะความเห็นแก่ตัวเป็นทุนเดิมอยากจะได้แต่เพียงฝ่ายเดียว...ไม่เคยคิดที่จะเผื่อแผ่...ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร...เดี๋ยวโดนใจคนบูชาชูชกเ้ข้า....
    เอ๋....ทำไมไม่คิดจะนำพระเวชสันดรมาปลุกเสกแล้วให้คนบูชากันบ้างนะ....อย่างนอ้ยก็จะรู้จักการให้...การทำทานสร้างบารมีบ้าง....แปลกจริงนะคนสมัยนี้....
     
  16. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    พระพักต์ยังไม่ใช่น่าแก่เเท้ๆครับ หรือภาพอาจจะไม่ชัด รอท่านอื่นละกันครับพี่
    <a href="http://img197.imageshack.us/i/87282696.jpg/" target="_blank"><img src="http://img197.imageshack.us/img197/9397/87282696.jpg" alt="Free Image Hosting at www.ImageShack.us" border="0"/></a>
     
  17. panno

    panno สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอบคุณครับ...องค์นี้น่าจะเป็นของคุณป๋องนะครับ...
    สวยมาครับองค์นี้....โดยส่วนตัวผมชอบมากองค์นี้....ไม่คิดจะเอาพระของตัวเองไปเทียบเลยครับ...
    ส่วนพระพักต์ผมก็คิดเหมือนท่านละครับ....และก็ไม่ค่อยมั่นใจเท่าใหร่ด้วย...แต่โดยภาพรวมกับมันน่า...และมันน่า...ครับ....
    ถ้าคิดแบบเข้าข้างตัวเอง....พระผงที่ลงแบบพิมพ์และเอาออกมาอาจจะมีผิดเพี้ยนอะไรบ้างนะครับ.ลองดูพระของเซียนดังแต่ละคนผมก็ยังเห็นว่าไม่เหมือนกันซักองค์..
    ,,,,,,,,แต่ตำหนิบนองค์พระทุกจุดรวมถึงความเหี่ยวย่นและรอยเส้นเสี้ยน...หรือแม้กระทั่งเม็ดผดที่ขึ้นเรียงราย...ผมเชื่อว่าพระเทียมยังทำไม่ได้เท่านี้ครับ....และอีกอย่างที่ไม่อาจข้ามในพระองค์นี้ก็คือ...สีสันที่เป็นสีอิฐและออกแดงธรรมชาติ...รวมถึงรารักที่ขึ้นปกคลุมกระจัดกระจายไปทั่ว...อย่างที่บอกผมเคยนำนำ้ร้อนลองล้างแล้วไม่ออกครับ...
    แต่อย่างที่คุณบอก...ผมลองเทียบเคียงกับของเซียนดังหลายคนๆก็ยังรู้สึกเหมือนกันอย่างที่คุณบอก.....เลยอยากหาผู้รู้จริงให้คำตอบครับ....
    และการให้คำตอบ....ผมขออย่างหนึ่งว่า....อย่าบอกว่าเทียมอย่างเดียว....ผมขอให้อธิบายด้วยว่า...รอยเหี่ยวย่นที่เกิดบนองค์พระเกิดขึ้นได้อย่างไร....และรารักที่ล้างไม่ออกทำจากอะไร...ไม่ไช่หมึกจีน...หรออินเดียนแน่นอนครับ....
    และผมเชื่อว่าถ้าพระองค์นี้เป็นของเทียมผู้ที่ทำเทียมขึ้นมาคงไม่ทำมาองค์เดียวแน่นอนครับ...คงจะทำออกมาเยอะพอสมควร....แต่ทำที่ผมเล่นพระมาหลายปีผมยังไม่เคยเห็นพระที่เหมือนองค์นี้เลยนะครับ....ไม่ได้เข้าข้างตัวเองนะครับ....แค่อยากรู้ว่าพระแบบนี้เขาทำปลอมกันอย่างไร....เพื่อการศึกษาครับ....และแบ่งปันคนอื่นด้วย....ขอบคุณมากครับ........
     
  18. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    จริงๆแล้วร่วมศึกษาครับ ที่พี่อธิบายเรื่องมวลสารเนื้อพระ ผมขอชมภาพที่บ่งชี้ตามคำอธิบายได้จะดีครับ ภาพไม่ชัดเลยครับพี่
     
  19. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    เติมภาพนะครับ ไม่ชัดจริงๆพี่ ถ่ายมาสวยๆจะได้ศึกษาด้วยครับ ขอบคุณครับ
    <a href="http://img31.imageshack.us/i/phongsuphan1tile.jpg/" target="_blank"><img src="http://img31.imageshack.us/img31/3258/phongsuphan1tile.jpg" alt="Free Image Hosting at www.ImageShack.us" border="0"/></a>
     
  20. oondoyja

    oondoyja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    802
    ค่าพลัง:
    +2,661
    สำหรับผมแล้ว เนื้อดิน ต้องนุ่มไว้ก่อน เหมือนองค์ของคุณ โอ๋สะพานครับ
    กระผมไม่ได้ว่าองค์ของเจ้าของกระทู้ไม่แท้นะครับ ผมไม่เก่งถึงขั้นนั้น
    พระเบญจ คงต้องรอเทพละครับ ผมอ่อนด้อยเกินตัดสินครับ ขอให้แท้นะครับ เอาใจช่วยครับ:cool:เอาไปเช็คเลยครับเดี๋ยวได้คำตอบ แล้วเอามาบอกกันด้วยนะครับ
    จะได้เป็นควารูู้กันครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...