พระสงฆ์ทําผิดศีลสังฆาธิเสสเเล้วไม่ได้ไปปลงอาบัติ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Kon Surin, 5 ธันวาคม 2012.

  1. Kon Surin

    Kon Surin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +174
    พระสงฆ์ทําผิดศีลสังฆาธิเสสเเล้วไม่ได้ไปปลงอาบัติปราวาสกรรม สึกออกมาเเล้วอยากกลับไปเเก้ไขอดีตที่ผิดพลาดตอนบวช เคยเรียนถามเว๊ปหลวงพ่อจรัญมีผู้ให้คําตอบว่าถ้าพระจะขอหลวงพ่อจรัญไปปลงอาบัติปราวาสกรรมท่านจะไล่ให้ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านๆในที่นี้มีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ
     
  2. Jt Odyssey

    Jt Odyssey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +12,591




    ลองพิจารณาดูครับ
     
  3. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    ทรงให้ถือธรรมวินัยเป็นศาสดาต่อไป
    ( ใช้ธรรมวินัย ไม่ใช้ตัวบุคคล )

    อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า
    “ธรรม วินัย ของพวกเรา
    มีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว
    พวกเราไม่มีพระศาสดา” ดังนี้

    อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น

    อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี
    ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย

    ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

    อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี
    ใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
    มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่

    อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา
    ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล

    - มหาปรินิพพาน สูตร มหา.ที. 10/159/128
    ขอให้ทุกท่านจงเจริญในธรรม...
     
  4. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    จะพึงรักษาศีลได้ครบ 227 ข้อได้นั้น ต้องมี...
    สติ+ปัญญา เท่านั้นรักษาศีลได้ครบ..ฉันใด
    ศีลก็จะพึงรักษาผู้ปฏิบัติได้..ฉันนั้น



    จาก...ประสบการณ์ผู้บวชในสายปฏิบัติ หลวงปู่ชา สุภัทโท
    ขอให้ทุกท่านจงเจริญในธรรม...
     
  5. พูน

    พูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +2,480
    กรรมดี กรรมชั่ว ไม่ได้ลบล้างกัน ท่านแนะนำถูกแล้วว่าให้ เจริญวิปัสสนาฯ เพราะทำดีมากๆ ก็หนีนรกได้เหมือนกัน จิตที่ทรงสมาธิและทรงญาณ มีพลังในการป้องกันการไหลลงไปสู่อบายได้ ถ้าคนทำมั่นใจว่า ทรงได้ถึงฝั่ง ก็ได้จริง อย่างที่อาจารย์ว่าไว้ว่า "สิกขาบถที่ขาดเหมือน ปลาปักเป้ากัด เนื้อมันแหว่งไปแล้ว ไม่งอกออกมา การปลงอาบัติเหมือนการระลึกความผิด และกล่าวปฏิญาณตน เนปุวัง กะริสามิ ข้าพเจ้าจะไม่ทำเช่นนี้อีก"
     
  6. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    แล้วถ้าทำสังฆาธิเสสสึกออกมาแล้วยังไม่แก้ เป็นฆราวาสเป้นอะไรหรือเปล่า ปฎิบัติธรรมได้มั้ยครับ บาปยังติดตัวป่าวครับ
     
  7. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    อาบัติ

    คำว่า อาบัติ มาจากภาษาบาลีว่า อาปตติ หมายถึง “การทำผิดทางวินัยของพระสงฆ์” พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติวินัยแก่พระภิกษุสงฆ์ไว้เป็นสิกขาบท ๑๕๐ ข้อ ให้พระภิกษุปฏิบัติเพื่อควบคุมความประพฤติของภิกษุทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อการปฏิบัติธรรม ขจัดอาสวะกิเลสตามที่พระพุทธเจ้าเทศนาไว้ หากภิกษุละเมิดวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ก็เรียกว่า อาบัติ หรือต้องอาบัติ เมื่อวินัยมีจำนวนมากดังนี้ ในบางครั้งพระภิกษุจึงอาจเผลอเรอ กระทำผิดไปโดยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง จึงได้ทรงบัญญัติวิธีแก้ความผิดนั้น คนทำผิดต้องรับโทษตามความผิดเพื่อจะได้รู้สำนึกและไม่กระทำผิดอีกต่อไป เมื่อความผิดมีความหนักเบาต่างกัน โทษก็ต้องหนักเบาต่างกันไปด้วย

    อาบัติ แปลว่า การต้อง, การล่วงละเมิด หมายถึงโทษที่เกิดจาการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ ใช้เรียกความผิดทางวินัยของพระภิกษุว่า ต้องอาบัติ

    อาบัติ มี 7 อย่าง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

    1.ครุกาบัติ หมายถึงอาบัติหนัก อาบัติที่มีโทษร้ายแรง มี 2 อย่างคือ อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส
    2.ลหุกาบัติ หมายถึงอาบัติเบา อาบัติที่ไม่มีโทษร้ายแรงเท่าครุกาบัติ มี 5 อย่าง คือ อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฎ อาบัติทุพภาสิต

    การทำผิดทางวินัยหรืออาบัติของพระภิกษุสงฆ์ จำแนกตามหมวดหมู่ได้ดังนี้

    อาบัติขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก เป็นความผิดที่ละเมิดข้อห้ามใดข้อห้ามหนึ่งในจำนวน ๔ ข้อ คือ
    ๑.เสพเมถุน
    ๒.ถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้หรือลักขโมยนั่นเอง
    ๓.ฆ่ามนุษย์ให้ตาย
    ๔.อวดอุตริมนุสธรรม

    (รายละเอียดจะกล่าวในตอนต่อไป)

    อาบัติขั้นรองลงมา คือ สังฆาทิเสส หมายถึงความผิดในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในจำนวน ๑๓ ข้อ เช่น มีความกำหนัดอยู่แล้วจับต้องกายหญิง เป็นสื่อชักให้ชายหญิงเป็นสามีภรรยากัน ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นต้น ภิกษุผู้กระทำผิดเรียกว่า ต้องสังฆาทิเสส เป็นโทษระดับกลาง ต้องรับโทษ “อยู่กรรมทรมานตน” จึงจะพ้นอาบัติ การอยู่กรรมทรมานตน คือ การอยู่ในที่สงบในช่วงเวลาหนึ่ง สำรวมกายใจ ใคร่ครวญพิจารณาโทษของตนแล้วตั้งใจไม่กระทำความผิดเช่นนั้นอีก

    อาบัติขั้นรองลงไป คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มีจำนวน ๓๐ ข้อ ปาจิตตีย์ มีจำนวน ๙๒ ข้อ เป็นโทษเบา เรียกชื่อเช่นเดียวกับความผิดนั้นเช่นเดียวกัน คือ ผิดขั้นนิสัคคิยปาจิตตีย์ ก็เรียกว่าต้องอาบัตินิสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติขั้นต่ำลงไปเป็นโทษเบา คือ ปาฏิเทสนียะ มีจำนวน ๔ ข้อ การปฏิบัติผิดเสขิยวัตรข้อใดข้อหนึ่งใน ๗๕ ข้อ จัดเป็นโทษเบา ผู้ที่ทำผิดโทษเบาจะต้องแสดงความผิดของตนต่อคณะสงฆ์

    อนิยต มีจำนวน ๒ ข้อ เป็นความผิดที่ไม่กระจ่างชัด ว่าควรจัดเป็นโทษระดับใด จึงต้องมีการไต่สวนและพิจารณากำหนดขั้นโทษตามพยานหลักฐาน

    อธิกรณสมถะ มีจำนวน ๗ ข้อ เป็นวิธีการพิจารณาว่าจะตัดสินความผิดนั้นหรือไม่อย่างไร เช่น ตัดสินตามเสียงข้างมาก การประนอมยอมความ เป็นต้น

    ความผิดที่มีโทษขั้นเบา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อาบัติถุลลัจจัยบ้าง อาบัติทุกกฎบ้าง และอาบัติทุพภาษิตบ้าง เป็นสิกขาบทที่ไม่ได้มีอยู่ในพระปาติโมกข์

    เมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอาบัติ ก็ถือกันว่าภิกษุรูปนั้นไม่บริสุทธิ์ จะไม่สามารถลงโบสถ์ร่วมทำสังฆกรรมกับภิกษุอื่นๆ ได้ จะต้องแก้อาบัติให้ตนกลับมีความบริสุทธิ์เสียก่อน การไม่กระทำความผิดข้อใดๆ ก็คือการรักษาศีลให้บริสุทธิ์อย่างเคร่งครัด นั่นเอง

    การปฏิบัติตนเพื่อแก้อาบัตินั้นมีต่างๆ กันไป สุดแท้แต่ความหนักเบาของศีลที่อาบัติ มีตั้งแต่การประกาศความผิดของตนต่อภิกษุอื่น การอยู่ในบริเวณจำกัด เฉพาะเพื่อสำนึกผิด ยกจนถึงการขาดจากความเป็นภิกษุ เช่น ภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกจะต้องสึกออกไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ไม่สามารถดำรงเพศเป็นภิกษุต่อไปอีกได้
     
  8. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    ปาราชิก

    คำว่า ปาราชิก สันนิษฐานว่าแปลว่า “ผู้แพ้” อาจหมายถึง “ผู้แพ้แก่วิถีชีวิตการเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา” ปาราชิกเป็นอาบัติขั้นที่ร้ายแรงที่สุด ภิกษุไม่ว่ารูปใด ถ้าหากอาบัติถึงขั้นปาราชิกแล้วจะสิ้นสภาพการเป็นภิกษุทันที แม้ว่าจะยังครองผ้าเหลืองหรือปฏิบัติตนอย่างภิกษุอื่นๆ อยู่ก็ตาม ภิกษุที่รู้ตนเองว่าอาบัติปาราชิกแล้วสามารถลาสิกขาไปใช้ชีวิตอยู่อย่างฆราวาสทั่วไปได้ แต่หากยังคงดื้อครองผ้าเหลืองหลอกให้ผู้คนกราบไหว้อยู่อีก ก็จะยิ่งเป็นบาปหนาที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ

    อาบัติปาราชิกมี ๔ ประการ ได้แก่ การเสพเมถุน การลักทรัพย์ การฆ่ามนุษย์ และการอวดอัตริมนุสธรรม

    ๑. การเสพเมถุน คือ การร่วมประกอบกิจกรรมทางเพศ ไม่ว่าจะกระทำกับผู้หญิงหรือผู้ชาย หรือกระทำกับสัตว์ก็ตาม ปาราชิกข้อการเสพเมถุน บางทีก็เรียกกันว่า ปฐมปาราชิก แปลว่า “ปาราชิกข้อแรก”

    ๒. การลักทรัพย์ คือ การนำทรัพย์ของผู้อื่นไปเป็นของตนโดยเจตนา ในเมืองไทยกำหนดว่า การลักทรัพย์มีมูลค่าตั้งแต่ ๑ บาทขึ้นไป เป็นการผิดหรือเป็นอาบัติขั้นปาราชิก การเจตนาแอบอ้างความคิดหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน หรือการเบียดบังเอาเงินในกองทุนที่มีผู้ศรัทธาถวายเป็นทานเพื่อใช้ในกิจของสงฆ์ หรือกิจของศาสนามาใช้ส่วนตัว ก็ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิกเช่นกัน

    ๓. การฆ่ามนุษย์ คือ การเจตนาทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ไม่ว่าจะลงมือฆ่าเองหรือใช้ให้คนอื่นฆ่าให้ก็ตาม ถือเป็นความผิดปาราชิกข้อที่ ๓ ทั้งสิ้น

    ๔. การอวดอุตริมนุสธรรม คือ การพูดอวดผู้อื่นว่าตนได้บรรลุธรรมะระดับสูง เช่น บรรลุโสดาบัน บรรลุอรหันต์ เป็นต้น
    อุตริมนุสธรรม (/อุดตะหริมะนุดสะทำ/) หรือ อุตริมนุษยธรรม (/อุดตะหริมะนุดสะยะทำ/) แปลว่า ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือ ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่ง ได้แก่ คุณวิเศษซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สมารถมีหรือเป็นได้ มิใช่วิสัยของมนุษย์ทั่วไป แต่เป็นวิสัยของผู้บรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว

    อุตริมนุสธรรมหมายถึงฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค และผล

    การที่ภิกษุแสดงตนหรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนได้ฌานชั้นนั้นชั้นนี้ ตนได้บรรลุวิโมกข์ ได้สมาธิ สมารถเข้าสมาบัติได้ หรือสำเร็จมรรคสำเร็จผลอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่า อวดอุตริมนุสธรรม

    ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้เรียกผู้ที่ชอบอวดอ้างตนเหนือกว่าคนอื่นหรือทำอะไรที่แผลง ๆ ที่คนทั่วไปเขาไม่ทำกันว่า "อวดอุตริ" หรือ "อุตริ" เฉย ๆ


    อาบัติปาราชิก หากผิดแม้แต่เพียงข้อเดียวก็ถือว่าภิกษุผู้อาบัติสิ้นสภาพการเป็นภิกษุแล้ว แม้จะไม่มีใครล่วงรู้หรือจับได้ก็ตาม การกราบไหว้บูชาภิกษุที่อาบัติปาราชิก นอกจากจะไม่เป็นบุญเป็นกุศลแล้ว ยังผิดมงคลที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ที่ว่า บูชาบุคคลที่ควรบูชาอีกด้วย


    http://gigcomputer.net/board/index.php?topic=172.0
     
  9. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ตามความเห็นของผม
    สิ่งที่หลวงพ่อจรัญท่านแนะนำสั่งสอนนั้นถูกต้องแล้วครับ
    เพราะถึงแม้จะไปอยู่ปริวาสกรรม ก็ใช่ว่าจะรอดจากอบายภูมิได้100%

    ดังนั้นการที่หลวงพ่อจรัญท่านให้ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็เพื่อยกระดับจิตเข้าสู่ความเป็นพระอริยะเจ้า เพราะมีแต่พระอริยะเจ้าเท่านั้น ที่จะสามารถปิดอบายภูมิได้ 100 %

    หรือ อย่างน้อยถ้าสามารถทรงฌานได้ เวลาตายก็ไปเกิดเป็นพรหม สามารถหนีนรกได้เหมือนกัน

    พอไปอยู่ข้างบนแล้วก็ไปฟังพระพุทธเจ้าท่านเทศน์จบเดียวก็เป็นพระอริยะเจ้าแล้ว ก็ปิดอบายภูมิได้เช่นกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...