เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    บอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    จัดส่ง
    EI7827 86948TH ยานนาวา
    EI7827 86951TH คำเขื่อนแก้ว
    ขอบคุณครับ
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    พระสมเด็จปรกโพธิ์ฐานแม่ธรณีกองทุนหลวงพ่อปาน ฝังพระธาตุข้าวบิณฑ์

    ให้บูชา300บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ %E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3-jpg.jpg B0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    พระดีพิธีใหญ่ พ.ศ ลึก น่าเก็บมากมาย สร้างปี 2514 พร้อมรุ่น 4 วัดปากน้ำ เนื้อเดียวกัน ปลุกเสกพิธีใหญ่วัดปากน้ำ โดยมีหลวงปู่โต๊ะ วัดประดูฉิมพลีเป็นประธานปลุกเสก (ส่วนหลวงพ่อโยกก่อนนำกลับมาอ่างทองแวะให้หลวงปู่เทียมวัดกษัตรา จ.อยุธยาปลุกเสกเดียวอีกหนึ่งครั้ง)และหลวงปู่เทียมวัดกษัตราเนี่ย เป็นพระสายเดียวกับหลวงปู่หน่ายวัดบ้านแจ้ง จ.อยุธยาที่ใครก็รู้จักกันทั้งประเทศ พิธีพุทธาภิเษก ปลุกเสกบรรจุวิชาธรรมกายวัดปากน้ำภาษีเจริญเพื่อเข้า อันเป็นระยะเวลาเดียวกัน และเป็นพิธีเดียวกันกับการปลุกเสกพระปากน้ำรุ่น ๔ นั่นเอง

    เมื่อได้รับการปลุกเสกพระเครื่องจนครบไตรมาส หรือ ๑ พรรษาแล้ว จึงมีการนำพระเครื่องส่วนใหญ่มาเข้าพิธีพุทธาภิเษกเพิ่มเติมอีก ที่วัดกษัตราธิราชเสร็จแล้วจึงนำมาที่วัดจันทรังษีเพื่อออกแจกจ่ายแก่ผู้สนใจต่อไป ส่วนพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญไม่ได้นำกลับมาด้วยนั้นได้นำเข้าพิธีปลุกเสกบรรจุวิชาธรรมกายอยู่ที่วัดปากน้ำ รวมระยะเวลานานถึง ๘ พรรษา ในด้านประสบการณ์ของพระวัดจันทรังษีก็คงจะมีมากมายไม่แพ้พระเครื่องจากสำนักวัดปากน้ำเช่นกันเป็นแต่ว่ารู้จักกันในวงแคบกว่าเนื่องจากมีการแจกจ่ายกันอย่างเงียบๆ ที่วัดจันทรังษีเท่านั้น

    พระผงของขวัญ

    ด้านหน้าของพระผงของขวัญที่นายช่างจำลองแบบมาจากหลวงพ่อโยก สาเหตุที่ต้องใช้หลวงพ่อโยกเป็นต้นแบบนั้น มีที่มาตั้งแต่สมัยที่ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำฯ ได้เดินทางมาวางศิลาฤกษ์อุโบสถของวัดจันทรังษี ได้ดำริไว้ว่าหากทางวัดจะจัดสร้างพระเครื่องพระผงขึ้น ขอให้จำลองแบบจากหลวงพ่อโยก เพราะถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่วัด ศิลปะการออกแบบและพิมพ์ทรงขององค์พระจะมีความคล้ายคลึงกับพระปากน้ำรุ่น 4 เป็นอย่างมาก เนื่องจากนายช่างผู้แกะพิมพ์เป็นคนเดียวกัน

    ด้านหลังของพระผงของขวัญ ปรากฏตัวหนังสือไทยว่า วัดจันทรังษี อยู่ด้านบนซ้ายขวา ส่วนด้านล่างเป็นอักขระขอม หัวใจตรีเพชรว่า “มะอะอุ”

    หาพระผงของขวัญวัดปากน้ำไม่ใด้ราคาเป็นแสนใช้พระวัดจันทรังษีแทนไม่แพ้กันเลยครับ...

    พระผงวัดจันทรังษี สร้างขึ้นโดย หลวงพ่อแต้ม ปณฑฺโต วัดจันทรังษี จ.อ่างทอง ท่านเคยมาเล่าเรียนที่วัดปากน้ำภาษีเจริญและฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ดังนั้นเมื่อท่านกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดจันทรังษีแล้วพบว่า วัดอยู่ในสภาพทรุดโทรมท่านจึงได้ดำริที่จะพัฒนาวัดให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น ท่านจึงนำความดังกล่าวไปปรึกษาพระครูอุปถัมถ์ธรรมกิจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ อันเป็นลูกศิษย์ และเป็นคนตำบลหัวไผ่เฉกเช่นเดียวกับหลวงพ่อแต้ม โดยนำผงที่สร้างพระของขวัญในคราวแรกจำนวนหนึ่งและได้เสาะหาผงตามตำราลักษณะการสร้างพระผงวัดปากน้ำรวบรวมขึ้นไว้ และได้นำเส้นเกษาของหลวงพ่อปากน้ำมาผสม(โดยมีส่วนผสมของพระของขวัญวัดปากน้ำภาษีเจริญเป็นจำนวนมาก) เพื่อขอผงวิเศษกลับไปสร้างพระพิมพ์และขออนุญาตนำพระที่สร้างขึ้นดังกล่าวมาเข้าพิธีปลุกเสกพระผงของขวัญวัดปากน้ำรุ่นสี่ด้วย สำหรับพิมพ์พระนั้นคุณสมพร สินธุวิชัยเป็นผู้แกะพิมพ์พระถวาย โดยการพิมพ์พระนั้นได้ทำการพิธีผสมผงกดพิมพ์และปลุกเสกโดยพระอาจารย์เถรานุเถรสายธรรมกายในคณะเนกขัมและในโบสถ์วัดปากน้ำภาษีเจริญ

    เมื่อได้รับการปลุกเสกพระเครื่องจนครบไตรมาส หรือ ๑ พรรษาแล้ว จึงมีการนำพระเครื่องส่วนใหญ่มาเข้าพิธีพุทธาภิเษกเพิ่มเติมอีก ที่วัดกษัตราธิราชเสร็จแล้วจึงนำมาที่วัดจันทรังษีเพื่อออกแจกจ่ายแก่ผู้สนใจต่อไป ส่วนพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญไม่ได้นำกลับมาด้วยนั้นได้นำเข้าพิธีปลุกเสกบรรจุวิชาธรรมกายอยู่ที่วัดปากน้ำ รวมระยะเวลานานถึง ๘ พรรษา ในด้านประสบการณ์ของพระวัดจันทรังษีก็คงจะมีมากมายไม่แพ้พระเครื่องจากสำนักวัดปากน้ำเช่นกันเป็นแต่ว่ารู้จักกันในวงแคบกว่าเนื่องจากมีการแจกจ่ายกันอย่างเงียบๆ ที่วัดจันทรังษีเท่านั้น

    ขอขอบคุฯณท่านเจ้าของบทความข้อมุลอย่างสูงครับ

    พระผงวัดจันทรังษีให้บูชา300บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    วัดจันทร.JPG วัดจันทรหลัง.JPG
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    วัดพระแก้ว พระหยกเชียงราย***
    วัดพระแก้ว ถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง เป็นวัดที่ค้นพบพระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ตามประวัติเล่าว่าเมื่อ พ.ศ. 1897 ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่าเจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายในเจดีย์ ต่อมารักกะเทาะออกจึงได้พบว่าเป็นพระพุทธรูปสีเขียวสร้างด้วยหยก คือพระแก้วมรกตนั่นเอง

    ปัจจุบันชาวเชียงรายได้สร้างพระแก้วมรกตองค์ใหม่ขึ้นแทน เรียกว่าพระหยกเชียงราย หรือ พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล ซึ่งสร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา จังหวัดเชียงรายได้จัดสร้างพระพุทธรูปหยก ขนาดหน้าตักกว้าง 47.9 ซม. สูง 65.9 ซม. สร้างด้วยหยกจากประเทศแคนนาดา(มร.ฮูเวิร์ด โล ผู้บริจาค) แกะสลักโดยโรงงานหยกวาลินนาน มหานครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

    พระพุทธรูปหยกองค์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นองค์แทนพระแก้วมรกต เพราะพระแก้วมรกตได้ถูกค้นพบ ณ พระเจดีย์วัดพระแก้วเป็นแห่งแรก(พ.ศ.1977) และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งพระองค์ท่านได้พระราชทานนามถวายว่า “พระพุทธรตนากรนวุติวัสสานุสรณ์มงคล” แปลว่าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นอากรแห่งรัตน เป็นมงคลอนุสรณ์ 90 พรรษาและโปรดเกล้าให้เรียกนามสามัญว่า “พระหยกเชียงราย”

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชาณุญาตให้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2534 และจังหวัดเชียงราย ได้ประกอบพิธีแห่เข้าเมืองเชียงราย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2534

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสุงครับ
    พระแก้วผงหยกเชียงราย”
    ให้บูชา200บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ
    get_auc3_img.jpg get_auc3_img (1).jpg พระแก้ว.JPG พระแก้วกล่อง.JPG พระแก้วหลัง.JPG
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    วันนี้จัดส่ง

    EI842828829 TH แม่โจ้

    ขอบคุณครับ
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    16729514_1685668891731462_6437247097042656622_n.jpg

    หลวงปู่หลอด ปโมทิโต

    วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา)

    ลาดพร้าว บางกะปิ กรุงเทพฯ (2458 – ปัจจุบัน)

    ที่มา : http://www.kaskaew.com

    bar-1s.jpg

    นามเดิม หลอด ขุริมน

    เกิด วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2458 ปีเถาะ จ.ศ. 1277 กำเนิด ณ บ้านขาม ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ. อุดรธานี

    โยมบิดา คุณพ่อบัวลา ขุริมน

    โยมมารดา คุณแม่แหล้ (แร่ ขุริมน) มีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 3 คน คือ

    1. นายเกิ่ง ขุริมน (ถึงแก่กรรม)

    2. นางประสงค์ ขุริมน (ถึงแก่กรรม)

    3. พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต)

    การศึกษา

    เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ มีอายุครบเกณฑ์ที่จะเข้าศึกษาเล่าเรียนในชั้นประถมศึกษา คุณพ่อบัวลาจึงได้พาไปฝากเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดบ้านหิน ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งท่านได้จบการศึกษาตามหลักสูตรในสมัยนั้น คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พออ่านออกเขียนได้ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่อายุได้ 16 ปี ก็เรียกได้ว่ากำลังหนุ่มแน่น มีกำลังแรงงานดี จึงเป็นแรงสำคัญของทางบ้านในการทำเรือกสวนไร่นา แต่ก็เป็นอันต้องมีเหตุให้เกิดความเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก เมื่อคุณแม่แหล้ผู้เป็นมารดาล้มป่วยอย่างหนัก และถึงแก่กรรมในที่สุด พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านตั้งใจไว้ว่าจะบรรพชา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่มารดาเมื่อถึงเวลาอันสมควร

    บรรพชา

    เมื่อหลวงปู่อายุได้ 18 ปี ก็ได้มีโอกาสเข้าบรรพชาเป็นสามเณรสมดังใจตั้งมั่นที่วัดศรีบุญเรือง ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระอธิการคูณ เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่อบวชเณรอยู่ได้ไม่นาน บิดาก็มาเสียชีวิตไป เมื่อคุณพ่อบัวลามาด่วนจากไปเสียอีกคน หลวงปู่ท่านจึงต้องลาสิกขาออกมาเพื่อช่วยพี่ ๆ ทำเรือกสวนไร่นาต่อไป

    อุปสมบท

    เมื่อความคิดอยากจะบวชอีกครั้งยังมีอยู่ ยังไม่ลบเลือนไปจากจิตใจ สองปีต่อมาหลวงปู่จึงได้หาโอกาสที่จะปล่อยวางงานและภาระทางบ้าน เพื่อมาบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้ก้าวเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ สังกัดมหานิกาย ณ พัทธสีมาวัดธาตุหันเทาว์ ตำบลบ้านขาม บ้านเกิดของหลวงปู่นั่นเอง เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2479 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม ปีจอ โดยมีพระอาจารย์ชาลีวัดโพธิ์ชัยสะอาด บ้านจิก อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ขาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้พำนักที่วัดธาตุหันเทาว์ ในขณะนั้นมีพระอาจารย์มหาตัน สุตตาโนเป็นเจ้าอาวาส

    เมื่อหลวงปู่บวชได้แล้วประมาณ 3 เดือน พอขึ้นเดือนมิถุนายน หลวงปู่ก็ได้มีโอกาสพบกับพระอาจารย์มณฑา ซึ่งท่านเดินทางมาจากวัดบ้านโกทา จังหวัดขอนแก่น และก็ได้ปรึกษากันว่าจะพากันไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ในตัวจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีพระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลอยู่ นับว่าเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในภาคอีสานในขณะนั้นก็ว่าได้

    พรรษาที่ 1-3 (พ.ศ.2479-2482) หลวงปู่ได้เดินทางมาถึงวัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2479 เมื่อหลวงปู่ได้พำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านจึงได้สมัครเรียนนักธรรม และพระบาลีตามประกาศของสำนักเรียนในวัดโพธิ์ฯ เมื่อเปิดเรียนไม่นาน หลวงปู่ก็ลาออกจากการเรียนพระบาลี เหลือแต่นักธรรมอย่างเดียว

    แปรญัตติเป็นธรรมยุติ

    เนื่องจากการที่ท่านเป็นพระมหานิกาย จึงทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อการทำสังฆกรรม เช่นการลงประชุมฟังพระปาติโมกข์ หลวงปู่ก็มิได้ลงร่วมฟังสังฆกรรมดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนั้น หลวงปู่ท่านรู้สึกไม่ค่อยสะดวกและสบายใจเท่าไรนัก จึงได้ตัดสินใจที่จะขอแปรญัตติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2479 โดยมีท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธโล) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูศาสนูปกรณ์ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระครูประสาทคณานุกิจ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปโมทิโต” หมายถึง ผู้มีความบันเทิง ผู้ปลื้มใจ ผู้มีใจอันเบิกบาน ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ 21 ปี

    การอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ในยุคโน้น นับว่าเป็นโชคดีแก่ชีวิตหลายอย่าง เพราะนอกจากจะเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงแล้ว ยังมีพระเถระผู้ใหญ่ ผู้มีบทบาท และมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่ ตลอดทั้งด้านสมถะและวิปัสสนามาพำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์อยู่เรื่อยมา จึงทำให้หลวงปู่ได้มีโอกาสได้พบเห็นและฟังการอบรมจากพระเถระเหล่านั้นมากท่านและหลายครั้ง และมีหลักในการปฏิบัติกับตนได้เป็นอย่างดี

    หลวงปู่ได้อยู่วัดโพธิสมภรณ์ไปถึงเดือนมิถุนายน 2481 หลวงปู่ได้เดินทางกลับไปวัดธาตุหันเทาว์ และก็ได้ถูกมอบหมายหน้าที่ให้เป็นครูสอนนักธรรมตรี ซึ่งขณะนั้นกำลังขาดแคลนครูสอน ท่านเจ้าคุณพิศาลเถระ เจ้าคณะหนองบัวลำภู จึงได้ขอร้องให้หลวงปู่อยู่จำพรรษาที่วัดธาตุหันเทาว์ เพื่อเป็นครูสอนนักธรรม หลวงปู่ท่านเลยรับคำอยู่ช่วยสอนนักธรรมตรีจนออกพรรษาและสอบธรรมสนามหลวงประจำปี 2481 แล้วเสร็จ ท่านจึงได้เดินทางกลับมาที่วัดโพธิสมภรณ์เหมือนเดิม เพื่อมาศึกษานักธรรมโทต่อที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี และสอบได้ในปีนั้นเอง จากนั้นก็สมัครสอบนักธรรมเอกในปีต่อมา

    พรรษาที่ 4 (พ.ศ.2483) ในพรรษาที่ 3 ปี พ.ศ. 2482 หลังจากออกพรรษาและสอบนักธรรมเสร็จ หลวงปู่ท่านได้มีโอกาสพบกับเพื่อภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อพระอาจารย์วิฤทธิ์ ปุญฺญมาโน ซึ่งท่านเคยอยู่วัดโพธิสมภรณ์มาก่อน และก็ได้ชวนหลวงปู่ให้ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมด้วยกัน ก็เป็นอันตกลง และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2482 จึงได้พากันออกเดินธุดงค์โดยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ตั้งจุดหมายปลายทางคือ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งต้องผ่านไปทางบ้านปากดง บ้านหนองขุ่ม บ้านนาแอ่ง การเดินธุดงค์ครั้งนี้ หลวงปู่มีความประทับใจไม่รู้ลืม ที่ได้สัมผัสกับธรรมชาติ เสียงของสัตว์นานาชนิด ป่าดงพงไพรยังอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำที่ใสและเย็นสดชื่นให้ได้เห็นมากแห่ง เป็นสิ่งที่หายากยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากการทำลายป่าและความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ การเดินธุดงค์ในครั้งนี้เป็นการเดินธุดงค์หาวิเวกเพื่อปฏิบัติธรรมจริง ๆ หากพบสถานที่ใดที่มีความสงบวิเวก เหมาะแก่การปฏิบัติบำเพ็ญเพียรแล้ว ก็จะพักปฏิบัติธรรมอยู่ระยะหนึ่ง จึงค่อยย้ายจากไปหาที่ใหม่ เพื่อจะได้ไม่ติดในสถานที่ และจิตใจจะได้มีการตื่นตัว แปลกที่อยู่เสมอ ทำให้การทำความเพียรได้ผลดีมาก
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-lord/lp-lord_hist_03.htm

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ชุดเหรียญหลวงปู่หลอด

    ให้บูชา350บาท3เหรียญค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลป.หลอด.JPG ลป.หลอดหลัง.JPG
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    วันนี้จัดส่ง
    EI842852672TH ลาดพร้าว
    EI842852686TH ไทรน้อย
    .................
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521 พิมพ์ใหญ่ตอกโค้ด เกจิสายอิสานปลุกเสกหมู่ หายาก เหรียญคุ้มเกล้าของ ทหารอากาศ ที่พระพุทธรูปพระพุทธชินราช ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย และได้รับพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ " ภปร " อีกด้านหนึ่ง ได้สร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่ชาว ทอ. เป็นสิริมงคลและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เหรียญคุ้มเกล้า ทอ. ได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกโดยพระคณาจารย์ชั้นผู้ใหญ่และทรงวิทยาคุณสายกรรมฐาน ศิษย์ท่านอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต 1. หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดป่าสิริสาลวัน จ.อุดรธานี 2. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี 3. หลวงปู่หลุย จันทรสาโร วัดถ้ำผาปิ้ง จ.เลย 4. หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย 5. หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี 6. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ 7. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ 8. อาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร 9. อาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร จ.หนองคาย เหรียญคุ้มเกล้า ทอ. จึงเป็นเครื่องรางวัตถุมงคล ทำให้เกิดความสิริมงคลและคุ้มครอง ป้องกันภยันตรายแก่ผู้ที่บูชานำติดตัวไว้ทุกกาลเวลา (ใบฝอยการสร้าง) เหรียญนี้สร้างก่อนเหรียญคุ้มเกล้าในหลวงครับรุ่นนี้ออกปี พ.ศ.2521 เหรียญนี้จึงเป็นเหรียญที่น่าบูชาอย่างยิ่งลำพังครูบาอาจารย์อธิฐานจิตให้ องค์เดียวก็สุดยอดแล้วเหรียญนี้มีถึง 9 องค์และเจตนาการสร้างเหรียญนี้ก็บริสุทธิ์สร้างเพื่อเเจกเพื่อไว้ให้คุ้ม ครอง หลัง ภปร. ประทับด้านหลังอีกด้วยเป็นเหรียญหนึ่งที่ทรงคุณค่า
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสุงครับ
    ให้บุชา300บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ
    คุ้มเกล้า.JPG คุ้มเกล้าหลัง.JPG
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    showimage-jpg.jpg

    ชีวประวัติพระครูมงคลนวการ (หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล)ชาติภูมิหลวงพ่อฉาบ มงฺคโล มีนามเดิมว่า ฉาบ ด้วงดาราถือกำเนิดวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2471 เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้อง 7 คนด้วยกันคือ 1.หลวงพ่อฉาบ 2.นายเอิบ 3.นายสังวาล 4.นายประสงค์ 5.นายถวิล 6.นายปุ่น 7.นางสมนึก ของโยมพ่อเน่า และโยมแม่สมบุญ ณ บ้านเลขที่ 27 ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี จบการศึกษาชั้นป.4 ที่โรงเรียนวัดศรีสาคร อาชีพทำนา
    หลวงพ่อ ฉาบ มงฺคโล ในวัยเด็กตอนยังเป็นฆาราวาส เป็นคนถือสัจจะเป็นใหญ่มีความตั้งใจพูดจริงทำจริงและสนใจในเวทย์มนต์คาถา มักชอบไปกราบนมัสการหาพระอยู่เสมอ ในปีพ.ศ.2485 หลวงพ่อแช่ม อินทโชโต แห่งวัดตาก้อง อ.เมือง จ.นครปฐม ท่านได้สร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านขึ้น ได้แจกให้คณะศิษยานุศิษย์ ทายกทายิกาที่ร่วมทำบุญมาทำการทอดกฐินยังวัดศรีสาครและได้มาพำนักอยู่ที่วัด ศรีสาครเป็นเวลาถึง 6 เดือน เพราะท่านขอบพอสนิทกับหลวงพ่อดี เจ้าอาวาสวัดศรีสาครในสมัยนั้น หลวงพ่อฉาบ ในวัยเด็กขณะนั้นอายุได้ 14 ปี มีความศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อแช่มมาก ได้มากราบนมัสการหลวงพ่อแช่มบ่อยครั้ง และได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์ขอเล่าเรียนวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ในลำดับแรกหลวงพ่อแช่มได้สอนให้เรียนรู้ทางด้านการปฏิบัติจิต สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ให้จิตนิ่งเป็นสมาธิก่อน และหลังจากทำกรรมฐานและวิปัสสนาอยู่ 3 เดือน หลวงพ่อแช่ม ก็ได้สอนวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ให้ ในปีพ.ศ.2486 หลวงพ่อแช่ม ก็ได้กลับไปวัดตาก้อง หลังจากนั้นในปีพงศ.2488 หลวงพ่อแช่มได้มาพำนักที่วัดศรีสาครอีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา 25 วัน หลวงพ่อฉาบ ตอนนั้นอายุได้ 17 ปี ได้เข้าพบรับใข้และเล่าเรียนสอบถามวิชาไสยเวทย์พร้อมให้หลวงพ่อแช่มช่วย ทบทวนวิชาคาถาที่เล่าเรียนจนสามารถปฏิบัติได้ตามคำสอนอย่างดี แล้วหลวงพ่อแช่มก็เดินทางกลับวัดตาก้อง ต่อมาในปีพ.ศ.2490 หลวงพ่อแช่ม ท่านก็ได้ละสังขารมรณภาพลงในปีนั้น
    ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศรีสาคร เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2491 โดยมีพระครูเกศิวิกรม (หลวงพ่อทรัพย์ ฐิตปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดสังฆราชาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ประทุม เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการฉ่ำ เจ้าอาวาสวัดตึกราชาวาสเป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วได้รับฉายาว่า มงฺคโล เมื่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วได้ตั้งจิตมั่นได้กล่าวคำสัจจะวาจาบอกกล่าว ต่อโยมบิดามารดาของท่านว่า เมื่อฉันได้บวชเรียนเป็นภิกษุแล้วจะขอรับใช้พระพุทธศาสนาตลอดชีวิต โยมพ่อและโยมแม่ก็ไม่ได้ทักทวงแต่ประการใด เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีสาคร 2 พรรษา ได้เรียนพระธรรมวินัยไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมจากหลวงพ่อทรัพย์ ฐิตปญฺโญ ซึ่งองค์นี้เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพูล (เจ้าอาวาสองค์ก่อน) วัดสังฆราชาวาส ซึ่งเป็นสหายธรรมของหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย และหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อพูล วัดสังฆราชาวาสเป็นเหรียญยอดนิยมของชาวเมืองสิงห์บุรีมีค่านิยมหลักหมื่น ถือว่าเป็นสุดยอดเหรียญที่ศักดิ์สิทธิ์และคงกระพัน หลังจากหลวงพ่อฉาบได้ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อทรัพย์แล้ว ก็ได้ปรึกษาหลวงพ่อทรัพย์ในการปฏิบัติกิจแห่งธุดงค์วัตร ก็ได้รับการแนะนำสั่งสอนอย่างดี
    ในปีพ.ศ.2493 โดยมุ่งสู่จังหวัดลพบุรีดินแดนซึ่งเคยเป็นอาณาจักร ลวปุระ (ละโว) อันรุ่งเรืองเกรียงไกรมาแล้ว หลวงพ่อฉาบได้เดินธุดงค์ไปยังถ้ำตะโก เพื่อจะไปหาความสงบวิเวก เมื่อถึงถ้ำตะโกมาทราบว่าหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา ท่านได้ละสังขารมรณภาพไปแล้ว ก็ได้พบกับหลวงพ่อคง คงฺคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโก ศิษย์เอกหลวงพ่อเภา ซึ่งได้รับสืบทอดวิชาวิปัสสนากรรมฐานและไสยเวทย์ต่าง ๆ จากหลวงพ่อเภาทั้งหมด หลวงพ่อฉาบจึงได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาต่าง ๆ ของหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก จากหลวงพ่อคง คงฺคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโกพุทธโสภา จากนั้นหลวงพ่อฉาบก็เดินทางมุ่งไปสู่วัดเขาสาริกา เพื่อจะไปศึกษาธรรมกรรมฐานจากหลวงพ่อกบ ก็ปรากฎว่าได้มรณภาพไปแล้วเช่นกัน จึงได้มาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎ วัดเขาวงกฎอยู่ติดกับวัดเขาสาริกาอยู่คนละฝางเขา ที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ตั้งอยู่ที่สนามแจง ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในวงล้อมของเขา เป็นลักษณะหุบเขาเปิด มีทางเข้าออกทางเดียว เมื่อปีพ.ศ.2465 หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโกธุดงค์มาพบสถานที่แห่งนี้เข้าเห็นว่าเหมาะแก่การอบรมสมถกรรมฐาน และเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาก จึงได้ทำการก่อสร้างให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์แบบ มีถ้ำคูหาสวรรค์อยู่ที่เชิงเขาด้านทิศเหนือ ซึ่งหลวงพ่อเภาจะจำพรรษาและทำความเพียรในถ้ำคูหาสวรรค์แห่งนี้ ต่อมากรมพระนครสวรรค์ พระองค์เจ้าบริพัตรสุขุมพันธ์เสด็จมาที่เขาวงกฎได้พบหลวงพ่อเภา ทรงเลื่อมใสในปฏิปทาและแนวทางในการปฏิบัติของหลวงพ่อ จึงได้ถวายปัจจัยให้ก่อสร้างวัด หลวงพ่อเภาได้สร้างกุฏิขึ้นหน้าถ้ำคูหาสวรรค์ให้ชื่อว่า "ตึกบริพัตร" ตามนามของผู้บริจาค และหลวงพ่อเภาได้มาจำพรรษาที่กุฏินี้ตลอดมา หลังจากหลวงพ่อเภาได้มรณภาพในปีพ.ศ.2474 ที่วัดแห่งนี้ในปีหนึ่งจะมีพระสงฆ์มาจากวัดต่างๆ ทุกภูมิภาคมาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ หลวงพ่อฉาบได้มาปฏิบัติธรรมได้พบกับ พระมหาชวน มลิพันธ์ (หลวงพ่อโอภาสี) หลวงพ่อฉาบได้พบหลวงพ่อโอภาสี เล่าเรื่องมีความศรัทธาหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา แต่มารู้ภายหลังว่าท่านได้มรณภาพไปแล้วด้วยความตั้งใจมุ่งหวังจะศึกษาวิชา ต่าง ๆ จากท่าน ก็ได้รับคำแนะนำจากหลวงพ่อโอภาสี ซึ่งเป็นศิษย์ที่รับการถ่ายทอดวิชามาหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา หลวงพ่อฉาบจึงขอฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโอภาสี ขอศึกษาวิชากสิณต่าง ๆ และไสยเวทย์ หลวงพ่อโอภาสีได้ฝึกสอนวิชาต่าง ๆ ให้เช่นกสิณไฟ และคาถาอาคมต่างๆ ให้หลวงพ่อฉาบจำนวนมากและยังได้ชักชวนนิมนต์ให้หลวงพ่อฉาบเดินทางไปพบท่าน ที่อาศมบางมดกรุงเทพฯ ในครั้งนั้นที่วัดเขาวงกฎหลวงพ่อฉาบยังได้พบปะรู้จักเป็นสหายธรรมกับหลวงพ่อ ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้เดินทางมาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ด้วย ได้ปฏิบัติธรรมร่วมกันได้ขอศึกษาแลกเปลี่ยนวิชาไสยเวทย์ต่าง ๆ กับหลวงพ่อชา สุภัทโท  หลวงพ่อชาเกิดปีพ.ศ.2471 ปีเดียวกับหลวงพ่อฉาบ มงฺคโล หลวงพ่อชาท่านได้ละสังขารไปแล้วเมื่อปีพ.ศ.2536 ร่วมสิริอายุได้ 65 ปี หลวงพ่อฉาบอยู่ปฏิบัติธรรมเป็นเวลา 45 วัน ก็ได้เดินทางกลับไปยังวัดถ้ำตะโกอีกครั้งหนึ่ง ได้พำนักอยู่ที่วัดถ้ำตะโกพบปะใกล้ชิดกับหลวงพ่อคงอีกครั้งก็มาศึกษาพบว่า ที่วัดถ้ำตะโกแห่งนี้อยู่ในบริเวณดอยเขาเทือกเขาเดียวกับวัดต่าง ๆ อีกถึง 3 วัดรวมดอยนี้มีวัดถึง 4 วัดคือ วัดเขาสมอคอน วัดถ้ำช้างเผือก วัดถ้ำตะโก และวัดบันไดสามแสน ในอดีตตั้งแต่ยุคสมัยทวาราวดีเป็นต้นมา ดอยเทือกเขานี้มีความสำคัญมากมีถ้ำใหญ่น้อยเป็นร้อย ๆ ถ้ำ เป็นที่อยู่ของผู้ทรงศีล สมณะ ฤาษี พราหมณ์ เป็นแห่งกำเนิดของวิชาไสยเวทย์มนต์คาถาแหล่งรวมวิชาไสยศาสตร์ เช่นวิชาขอมดำดิน ก็ก่อเกิดในที่แห่งนี้เป็นตรรกศิลาแห่งไสยศาสตร์และเวทย์มนต์ วัดเขาสมอคอนเป็นวัดอยู่ต้นดอย มีถ้ำพระนอนและที่พำนักของฤาษีสุกกะทันตะและ ถ้ำพราหมณี พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยก็มาศึกษาที่แห่งนี้ นับว่าเป็นแหล่งรวมศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ หลวงพ่อฉาบ ก็ได้เดินทางมาที่วัดเขาสมอคอน เข้ากราบนมัสการฝากตัวขอเป็นศิษย์เล่าเรียนวิชาจากหลวงพ่อบุญมี อิสสรโร ศิษย์ผู้รับการสืบทอดวิชาไสยเวทย์จากหลวงพ่อพระครูปัชฌาย์ก๋ง จฺนทสโร พระอุปัชฌาย์ก๋ง มีวิชาไสยเวทย์มากมายได้จากตำราเก่าอักขระยุคขอม
    ท่าน เก่งมากเหรียญรุ่นแรกของท่านชาวลพบุรีเล่นหากันหลักแสนจะขอย้อนกล่าวถึงความ เป็นมาของเทือกเขาสมอคอน ที่เป็นที่ตั้งของวัดเขาสมอคอนอยู่บนดอยสำคัญที่ได้กล่าวมาให้ทราบถึงความ เป็นมาดังนี้ เทือกเขาสมอคอนหรือเรียกดอยธัมมิกราช ดอยธัมมิกราชวิทยาลัยราชะแห่งยุวทวาราวดี ดอยธัมมิก สาเหตุที่มีชื่อเรียกอย่างนี้เนื่องมาจาก สุกกทันตฤาษี (สุทันตะฤาษี)ในหนังสือชินกาลมนีกล่าวว่าสุกกทันตฤาษีำพำนัก ณ ดอยธัมมิก(เขาสมอคอน) อยู่ทางทิศใต้ของกรุงหริภุญชัย (ลำพูน) ในสมัยพระเจ้าจักรวัตติราช แห่งกรุงละโว้ สุกกทันตฤาษี ในสมัยนั้นย่อมเป็นที่รู้จักต่อฝูงชนหมู่คณาจารย์ และบรรดากษัตริย์ต่าง ๆ ทั่วทุกแคว้น ดอยธัมมิกราช เป็นดอยที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ในสมัยทวาราวดี เพราะทั้งภาษาหนังสือและความหมายเป็นภาษาชั้นสูงของผู้คงแก่เรียนที่ได้รู้ ในทางพระพุทธศาสนาอย่างมาก จึงสถาปนายอดดอยแห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของบรรดาฤาษีและผู้มีบุญหนัก ศักดิ์ใหญ่หรืออีกนัยหนึ่งว่าเจ้ากรุงละโว้ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก พระพุทธศาสนา จนได้สมญาพระนามว่าพระเจ้าธัมมิกราช ความสำคัญของดอยธัมมิกราช เขาสมอคอนได้สมญานามว่าวิทยาลัยแห่งราชา ยุคทวาราวดียอมเป็นที่แน่นอนที่สุดที่บรรดาพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงดัง เรื่องไสยเวทย์เข้มขลังเป็นที่ยอมรับในสมัยเก่าก่อนมากกว่า 150 ปีขึ้นไปนั้นส่วนใหญ่จะได้รับการสืบทอดเผยแพร่วิชาไสยเวทย์ มาจากแหล่งกำเนิดวิชาจากดอยธัมมิกราชแห่งนี้ทั้งสิ้น
    หลวงพ่อฉาบ ได้เข้าจากธุดงค์ครั้งที่ 2 แล้ว ก็อยู่แต่ภายในวัดศรีสาครไม่ได้เดินทางไปไหนอีกเลยท่านปิดกุฏิเป็นเวลานาน มุ่งบำเพ็ญกรรมฐานและสมาธิวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นเวลาหลาย 10 ปี ในแต่ละวันจะเปิดกุฎิรับญาติโยมและพุทธศาสนิกชนเพียงบางเวลาเท่านั้นท่านไม่ มีโทรทัศน์, วิทยุปิดกุฎิไม่รับรู้เรื่องภายนอกแต่ท่านก็รอบรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี ท่านจะเน้นเรื่องกรรมบางครั้งสิ่งที่เป็นกรรมเหตุจะเกิดก็ไม่อาจเลี่ยงได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรมคุณสุนทร คนที่ดูแลหลวงพ่อคุยให้ฟังว่าหลวงพ่อจะพูดถึงหลวงพ่อชา สุภัทโท อยู่เสมอ เหมือนท่านได้นั่งสมาธิส่งกระแสจิตถึงกันเหมือนติดต่อกันทางจิตในวันที่หลวง พ่อชาได้ละสังขารลง หลวงพ่อฉาบได้รีบเดินทางล่วงหน้าไปยังวัดหนองป่าพงและหลวงพ่อฉาบได้ไปร่วมใน งานพระราชทานเพลิงศพในครั้งนั้นด้วยหลวงพ่อฉาบได้ศึกษาไสยเวทย์และคาถาต่าง ๆ จากพระเกจิอาจารย์และพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงจำนวนมากอีกทั้งท่านได้ ปฏิบัติดีและประพฤติชอบตามพระธรรมวินัยคำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวพุทธและชาวจังหวัดสิงห์บุรีอีกทั้งจังหวัด ใกล้เคียงอีกจำนวนมาก

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญรุ่น๒หลวงพ่อฉาบวัดศรีสาคร หลังอรหังไทย สภาพผิวหิ้ง สร้างน้อย นิยมในเหล่าลุกศิษย์ ให้บูชา2000บาทครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...