พระสูตรมหายาน

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย หนึ่ง99999, 24 มีนาคม 2009.

  1. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922
    พระสูตรมหายาน​

    คัมภีร์และหลักคำสอนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

    นิกายมหายานเคารพในพระธรรมซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และเคารพในพระไตรปิฎกเช่นเดียวกับเถรวาท จึงมิได้ปฏิเสธพระไตรปิฎก หากแต่ถือว่ายังไม่พอ เนื่องจากเกิดสำนึกร่วมขึ้นมาว่า นามและรูปของพระพุทธองค์เป็น โลกุตตระ ไม่อาจดับสูญ สิ่งที่ดับสูญไปนั้นเป็นเพียงภาพมายา พระธรรมกาย ซึ่งเป็นธาตุอันบริสุทธิ์ยังคงมีอยู่ต่อไป

    มนุษย์ทุกคนมีธาตุพุทธะร่วมกับพระพุทธเจ้า ถ้ามีกิเลสมาบดบังธาตุพุทธะก็ไม่ปรากฏ มนุษย์ทุกคนจึงมีศักยภาพที่จะ เป็นพระโพธิสัตว์ได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า ถ้าได้รับการฝึกฝนชำระจิตใจจนบริสุทธิ์ พระโพธิสัตว์จึงมีจำนวน มหาศาล และมีหน้าที่ส่งเสริมงานของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระโพธิสัตว์จึงมีน้ำหนักเท่ากับพระไตรปิฎก ด้วยสำนึก เช่นนี้ ฝ่ายมหายานจึงมีคัมภีร์เกิดขึ้นมากมาย และให้ความเคารพเทียบเท่าพระไตรปิฎก


    [​IMG]

    ๑. หมวดอวตังสกะ

    หมวดนี้มีพระสูตรใหม่สูตรหนึ่งเป็นหัวใจคือ พุทธาวตังสกมหาไวปุลยสูตร ๘๐ ผูก และมีสูตรปกิณณะย่อยๆ อีกหลายสูตร

    ๒. หมวดไวปุลยะ

    มีพระสูตรใหญ่ชื่อมหารัตนกูฏสูตร ๑๒๐ ผูก เป็นหัวใจ
    มหาสังคีติสูตร ๑๐ ผูก,
    มหายานโพธิสัตว์ปิฎกสูตร ๒๐ ผูก
    ตถาคตอจินไตยรหัศยมหายานสูตร ๓๐ ผูก
    สุวรรณประภาสสูตร ๑๐ ผูก
    กรุณาปุณฑริกสูตร ๑๑ ผูก
    มหายานมหาสังคีติกษิติครรภทศจักรสูตร ๑๐ ผูก
    มหาไวปุลยมหาสังคีติโพธิสัตวพุทธานุสสติสมาธิสูตร ๑๐ ผูก
    จันทร ประทีปสมาธิสูตร ๑๑ ผูก
    ลังกาวตารสูตร ๗ ผูก
    สันธินิรโมจนสูตร ๕ ผูก
    วิเศษจินดาพรหมปุจฉาสูตร ๔ ผูก
    อักโษภยพุทธเกษตรสูตร ๒ ผูก
    ไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาสปูรวประณิธานสูตร ๒ ผูก,
    มโยปมสมาธิสูตร ๓ ผูก
    ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร ๑ ผูก
    อมิตายุรธยานสูตร ๑ ผูก
    มหาสุขาวดีวยูหสูตร ๒ ผูก
    อจินไตยประภาสโพธิสัตวนิทเทสูตร ๑ ผูก
    ศูรางคมสมาธิสูตร ๓ ผูก
    วิมลกีรตินิทเทศสูตร ๓ ผูก
    และอื่นๆ อีกมากสูตรนัก ฯลฯ

    อนึ่งคัมภีร์ฝ่ายลัทธิมนตรยานก็จัดสงเคราะห์ลงในหมวดไวปุลยะนี้ มีพระสูตรสำคัญ เช่น มหาไวโรจนสูตร ๗ ผูก, เอกอักขระพุทธอุษฯราชาสูตร ๖ ผูก, มหามณีวิปุลยะวิมาน วิศวศุภประดิษฐานคุหยปรมรหัสยะกัลปราชธารณีสูตร ๓ ผูก, สุสิทธิกรสูตร ๓ ผูก, วัชร เสขรสูตร ๗ ผูก, โยคมหาตันตระราชาสูตร ๕ ผูก, มหามรีจิโพธิสัตวสูตร ๗ ผูก, วัชรเสข ระประโยคโหมตันตระ ๑ ผูก, มหาสุวรรณมยุรีราชาธารณีสูตร ๒ ผูก ฯลฯ


    [​IMG]

    ๓. หมวดปรัชญา

    มีพระสูตรใหญ่ ชื่อมหาปรัชญาปารมิตาสูตร ๖๐๐ ผูก เป็นหัวใจ และมีสูตรปกิณณะ เช่น ราชไมตรีโลกปาลปารมิตาสูตร ๒ ผูก วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ๑ ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ

    ๔. หมวดสัทธรรมปุณฑริก

    มีพระสูตรใหญ่ ชื่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร ๘ ผูก เป็นหัวใจ และมีสูตรปกิณณะ เช่น อนิวรรตธรรมจักรสูตร ๔ ผูก, วัชรสมาธิสูตร ๒ ผูก, มหาธรรมเภรีสูตร ๒ ผูก, สมันตภัทรโพธิสัตวจริยธรรมธยานสูตร ๑ ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ

    ๕. หมวดปรินิรวาณ

    มีพระสูตรใหญ่ ชื่อมหาปรินิรวาณสูตร ๔๐ ผูก เป็นหัวใจ มีสูตรปกิณณะ เช่น มหากรุณาสูตร ๕ ผูก, มหามายาสูตร ๒ ผูก, มหาเมฆสูตร ๔ ผูก, อันตรภาวสูตร ๒ ผูก เป็น อาทิ ฯลฯ

    [​IMG]

    พระวินัยลัทธิมหายาน

    แม้นว่ามหายานจะมีทั้งพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม แต่พระวินัยของมหายานนั้น นอกจากจะมี 250 ข้อแล้ว ยังไม่ได้เป็นหมวดหมู่แบบเถรวาท สังฆกรรมต่าง ๆ ของฝ่ายมหายานต้องใช้คัมภีร์วินัยของสรวาสติวาท ธรรมคุปตะ มหาสังฆิกะ และมหิศาสกะ

    สิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ของฝ่ายมหายาน มีดังนี้ คือ

    1. ปาราชิก 4

    2. สังฆาทิเสส 13

    3. อนิยต 2

    4. นิสสัคคียปาจิตตีย์ 30

    5. ปาจิตตีย์ 90

    6. ปาฏิเทสนีย์ 4

    7. เสขิยะ 100

    8. อธิกรณสมถะ 7

    **รวมเป็น 250

    สิกขาบทของมหายานได้เพิ่มวินัยของพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่กล่าวไว้ในพรหมชาลสูตร เรียก ? พรหมชาลโพธิสัตวศีล ? และ ? ยคโพธิสัตวศีล ? ซึ่งอยู่ในคัมภีร์โยคาจารภูมิศาสตร์ปกรณ์พิเศษของนิกายวิชญาณวาทิน และมีข้อที่น่าสังเกตอีกอย่างคือ วินัยของโพธิสัตว์นั้นแม้จะต้องครุกาบัติ เป็นปาราชิกในโพธิสัตว์สิกขาบทก็สามารถ สมาทานใหม่ได้ ไม่เหมือนกับภิกขุปาฏิโมกข์ ซึ่งทำคืนอีกไม่ได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าสิกขาบทของภิกขุอยู่ในขอบเขตจำกัด ของปัจจุบันชาติ ส่วนสิกขาบทของโพธิสัตว์นั้นไม่จำกัดชาติ

    ดังนั้น กุลบุตรฝ่ายมหายานเมื่ออุปสัมปทากรรมแล้วก็จะต้องรับศีลโพธิสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมพรหมชาล โพธิสัตว์ศีลมากกว่า โยคะโพธิสัตวศีล และศีลพระโพธิสัตว์นี้ได้ห้ามภิกษุฉันเนื้อสัตว์ ของสดคาว และหัวหอม หัวกระเทียม เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วย ส่งเสริมให้เกิดกำหนัดราคะกางกั้นจิตมิให้บรรลุสมาธิ และการกินเนื้อสัตว์นี้อาจกินถูกเนื้อบิดามารดาในชาติก่อน ๆ ของตน ผู้รับศีลโพธิสัตว์จึงต้องถือมังสะวิรัติอย่างเคร่งครัด พระสงฆ์มหายานของจีนได้รับการยอมรับกันว่า ปฏิบัติในข้อนี้ได้เคร่งครัด กว่าพวกมหายานในประเทศอื่น ๆ

    ลัทธิมหายานมิได้มีภิกขุปาฏิโมกข์เป็นเอกเทศ คงปฏิบัติวินัยบัญญัติตามพระปาฏิโมกข์ของฝ่ายสาวกยาน แต่มีแปลกจากฝ่ายสาวกยานคือ โพธิสัตวสิกขา เพราะลัทธิมหายานสอนให้มุ่งพุทธิภูมิ บุคคลจึงต้องประพฤติโพธิจริยา มีศีลโพธิสัตวเป็นที่อาศัย วินัยโพธิสัตวนี้สาธารณทั่วไปแม้แก่ฆราวาสชนด้วย มีโพธิสัตวกุศลศีลสูตร ๙ ผูก, พุทธ ปิฏกสูตร ๔ ผูก, พรหมชาลสูตร (ต่างฉบับกับบาลี) ๒ ผูก, โพธิสัตวศีลมูลสูตร ๑ ผูก และอื่นๆ อีก พึงสังเกตว่าเรียกคัมภีร์เหล่านี้ว่า ?สูตร? มิได้จัดเป็นปิฎกหนึ่งต่างหาก อรรถกถาพระสูตรของคันถรจนาจารย์อินเดีย

    มี ๓๓ ปกรณ์ เช่น มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ ๑๐๐ ผูก แก้คัมภีร์มหาปรัชญาปารมีตาสูตร, ทศภูมิวิภาษาศาสตร์ ๑๕ ผูก, สัทธรรมปุณฑริกสูตรอุปเทศ ๒ ผูกเป็นอาทิ อรรถกถาพระสูตรของคันถรจนาจารย์จีน

    มี ๓๘ ปกรณ์ เช่น อรรถกถาพุทธาวตังสกมหาไพบูลยสูตร ๖๐ ผูก และปกรณ์ ประเภทเดียวกันอีก ๕ คัมภีร์ นอกนั้นมีอรรถกถาลังกาวตารสูตร ๘ ผูก, อรรถกถาวิมล กีรตินิทเทศสูตร ๑๐ ผูก, อรรถกถาสุวรรณประภาสสูตร ๖ ผูก, อรรถกถาสัทธรรม ปุณฑริกสูตร ๒๐ ผูก, อรรถกถามหาปรินิรวาณสูตร ๓๓ ผูก เป็นอาทิ

    ปกรณ์วิเศษของคันถรจนาจารย์อินเดีย

    [​IMG]

    มี ๑๐๔ ปกรณ์ เช่น โยคาจารภูมิศาสตร์ ๑๐๐ ผูก, ปกรณารยวาจาศาสตร์การิกา ๒๐ ผูก, มหายานอภิธรรมสังยุกตสังคีคิศาสตร์ ๑๖ ผูก, มหายานสัมปริครหศาสตร์ ๓ ผูก, มัธยานตวิภังคศาสตร์ ๒ ผูก เหตุวิทยาศาสตร์ ๑ ผูก, มหายสนศรัทโธตปาทศาสตร์ ๒ ผูก, มาธยมิกศาสตร์ ๒ ผูก, ศตศาสตร์ ๒ ผูก, มหายานวตารศาสตร์ ๒ ผูก, มหายาน โพธิสัตวศึกษาสังคีติศาสตร์ ๑๑ ผูก, มหายานสูตราลังการ ๑๕ ผูก, ชาตกมาลา ๑๐ ผูก, มหาปุรุษศาสตร์ ๒ ผูก, สังยุกตอวทาน ๒ ผูก ทวาทศทวารศาสตร์ ๑ ผูก นอกนั้นก็เป็นปกรณ์สั้นๆ เช่น วิฃญาณมาตราตรีทศศาสตร์, วีศติกวิชญานมาตราศาสตร์, อลัมพนปริกษ ศาสตร์, อุปายหฤทัยศาสตร์, หัตถธารศาตร์, วิชญานประวัตรศาสตร์, วิชญานนิทเทศ ศาสตร์, มหายานปัญจสกันธศาสตร์เป็นอาทิ


    ชื่อพระสูตรสำคัญของมหายานที่คนส่วนใหญ่รู้จัก รวบรวมจากหนังสือของคณะสงฆ์จีนนิกายมี ดังนี้

    1. ปรัชญาปารมิตา

    2. อวตังสกะสูตร

    3. คัณฑวยุหสูตร

    4. ทศภูมิกสูตร

    5.วิมลเกียรตินิทเทศสูตร

    6. ศูรางคมสมาธิสูตร

    7. สัทธรรมปุณฑริกสูตร

    8. ศรีมาลาเทวีสูตร

    9. พรหมชาลสูตร

    10. สุขาวดีวยุหสูตร

    11. ตถาคตครรภสูตร

    12. อสมปูรณอนุสูตร

    13. อุตรสรณสูตร

    14. มหาปรินิรวาณสูตร

    15. สันธินิรโมจนสูตร

    16. ลังกาวตารสูตร

    17. พระสูตร 42 บท หรือ พระพุทธวจนะ 42 บท ชาวมหายานเชื่อว่าเป็นสูตรแรกที่ได้รับการแปลสู่พากย์จีน โดยท่านกาศยปะมาตังคะ และท่านธรรมรักษ์ เมื่อ พ.ศ. 612 รัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเม่งเต้ แห่งราชวงศ์ฮั่น

    18. โมหมาลาหรือร้อยอุทาหรณ์สูตร ซึ่งพระสิงหเสนเถระคัดมาจากนิทานที่ปรากฏในพระสูตร แล้วยกขึ้นมาตั้งเป็นอุทาหรณ์ (คณะสงฆ์จีนนิกายมหายาน. ม.ป.ป. : 225)

    ในบรรดาพระสูตรเหล่านี้ ปรัชญาปารมิตาสูตรจัดว่าเป็นสูตรดั้งเดิมที่สุด เป็นมูลฐานทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องศูนยตา นอกจากนี้ก็มีอวตังสกสูตร เป็นสูตรสำคัญที่สุดของนิกายมหายาน เพราะเป็นพระสูตรที่เชื่อกันว่า พระพุทธองค์ทรง สั่งสอนเองเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในขณะที่พระองค์เข้าสมาธิ เข้าใจกันว่า ใจความสำคัญของพระสูตรนี้ น่าจะเป็นของ พระโพธิสัตว์มากกว่า ซึ่งเราจะพิจารณาได้จากข้อความในหนังสือพระพุทธศาสนานิกายมหายานของคณะสงฆ์จีนนิกาย
    (ม.ป.ป. : 228-229)

    นอกจากนี้ก็มีพระสูตรที่สำคัญอีกเช่นกันคือ วิมลเกียรตินิทเทศสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่มีปรัชญาเป็นมูลฐาน นิกายเซ็น ( Zen ) จึงชอบและนิยมมากที่สุด และพระสูตรที่สำคัญที่สุดซึ่งนิกายมหายานในจีนและญี่ปุ่นนับถือกันมากคือ ? สัทธรรมปุณฑริกสูตร ? คำสั่งสอนในนิกายเท็นได นิจิเร็น ล้วนอาศัยพระสูตรนี้เป็นรากฐานทั้งสิ้น และวัดในนิกายเซ็น ก็ต้องสวดพระสูตรนี้เป็นประจำทุกวัน ทั้งนี้เพราะเชื่อกันว่า พระสูตรนี้เป็นพระสูตรสุดท้ายของพระพุทธองค์จึงมีผู้แปลมาก โดยเฉพาะในภาษาจีนมี 3 ฉบับ แต่ที่ถือกันว่าเป็นฉบับที่ดีที่สุด คือ ของท่านกุมารชีพ

    ส่วนพระอภิธรรมของมหายาน เรียกว่า ? ศาสตร์ ? เป็นนิพนธ์ของคณาจารย์อินเดีย เช่น นาคารชุน เทวะ อสังคะวสุพันธุ สถิรมติ ธรรมปาละ ภาวิเวก และทินนาค เป็นต้น ศาสตร์ของพวกมหายานส่วนใหญ่เป็นของฝ่ายวิชญาณวาทิน และศูนยตวาทิน ศาสตร์ที่ใหญ่และยาวที่สุด คือ โยคาจารภูมิศาสตร์

    ? เมื่อเราพิจารณาโลกในแสงจิตภาพของไวโรจนพุทธ พุทธที่สูงสุดหรือธรรมกาย เราเห็นโลกเต็มไปด้วยความแจ่มใส เห็นโลกแห่งแสงบริสุทธิ์แท้จริง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนเป็นหนึ่ง หนึ่งนั้นคือ สัจจะสูงสุด พุทธะ จิต สรรพสัตว์ เป็นหนึ่ง ?




    หนทางแห่งการบรรลุธรรมของนิกายมหายาน

    ปณิธานของฝ่ายมหายานที่พุทธมามกะ ซึ่งเป็นนักปฏิบัติจะต้องยึดถือเป็นอุดมคติประจำใจมี 4 ข้อ คือ

    1. เราจะละกิเลสทั้งหลายให้หมดไป

    2. เราจะศึกษาธรรมทั้งหลายให้เจนจบ

    3. เราจะโปรดสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น

    4. เราจะต้องบรรลุพุทธภูมิ


    ดังนั้น สรุปได้ว่า พุทธมามกะนักปฏิบัติธรรมของมหายานต้องมุ่งปรารถนาพุทธภูมิเป็นสำคัญ แต่การที่จะไปพุทธภูมิได้นั้น จะต้องสร้างบารมีธรรม (ปารมิตา) ให้มากพอที่จะสำเร็จพระโพธิญาณได้ บารมีธรรมนี้ก็คือ คุณชาติที่ทำให้ข้ามถึงฝั่ง พระนิพพาน

    การสร้างบารีธรรม ประกอบด้วย...

    ทานบารมี ในมหายานหมายถึง ทาน 3 ชนิด คือ วัตถุทาน อภัยทาน และธรรมทาน ซึ่งเป็นเลิศกว่าทานทั้งปวง เพราะเป็นการ ให้ปัญญา ศีลบารมี ในมหายานนั้นมีสิกขาบท 250 ข้อ ศีลพระโพธิสัตว์ 58 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็นครุกาบัติ 10 ข้อ และลหุกาบัติ 48 ข้อ จากหนังสือพระพุทธศาสนามหายานของคณะสงฆ์จีนนิกาย (ม.ป.ป. : 355-359) ได้จำแนกไว้มีดังนี้

    ครุกาบัติ 10 ***ครุกาบัติ 10 ข้อนี้ ผู้ใดล่วงละเมิดมิได้ถือว่าเป็นปาราชิก

    1. ผู้ฆ่าชีวิตมนุษย์ให้ตายด้วยมือตนเอง ใช้ผู้อื่นกระทำหรือเป็นใจสมรู้ ตลอดจนฆ่าชีวิตสัตว์เล็กใหญ่ให้ตาย ต้องสถานโทษหนัก

    2. ผู้ถือเอาของผู้อื่น มีราคา 5 มาสก ตลอดจนลักเอาของไม่มีค่าที่เจ้าของไม่อนุญาตด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษ
    หนัก

    3. ผู้เสพเมถุน นำนิมิตล่วงเข้าไปในทวารหนัก ทวารเบา หรือทางปากของผู้ชาย หรือผู้หญิง ตลอดจนสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย ต้องสถานโทษหนัก

    4. ผู้อุตตริมนุษยธรรม อวดรู้ฌานรู้มรรคผลที่ไม่มีในตน ตลอดจนพูดมุสาวาทที่ไม่ใช่ความจริง กระทำด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่น
    กระทำ ต้องสถานโทษหนัก

    5. ผู้ผลิตสุราเมรัยน้ำเมา ตลอดจนยาดองสุราที่ไม่ใช่รักษาโรคโดยตรง กระทำหรือผลิตเองหรือใช้คนอื่นกระทำหรือผลิต ต้องโทษสถานหนัก

    6. ผู้กล่าวร้ายบริษัท 4 ใส่ไคล้อาบัติชั่ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนศึกษามานะ (สิกขมานา) สามเณร และสามเณรี โดยไม่มีมูลด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องโทษหนัก

    7. ผู้ยกตนข่มท่าน ติเตียนนินทาภิกษุอื่น ยกย่องตนเองเพื่อลาภด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องโทษสถานหนัก

    8. ผู้ตระหนี่เหนียวแน่น ไม่มีมุทิตาจิต ตลอดจนไม่เอื้อเฟื้อต่อผู้ยากจนขอทาน กลับขับไล่ไสส่ง กระทำด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่น กระทำ ต้องโทษสถานหนัก

    9. ผู้มุทะลุฉุนเฉียว ตลอดจนก่อการวิวาท ใช้มีด ใช้ไม้ ใช้มือทุบตีภิกษุอื่น กระทำด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องโทษสถานหนัก

    10. ผู้ประทุษร้ายต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กระทำด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องโทษสถานหนัก

    ลหุกาบัติ 48

    1. ผู้ไม่เคารพ ผู้มีอาวุโส ชั้นอาจารย์ของตน
    2. ผู้ดื่มสุราเมรัย
    3. ผู้บริโภค โภชนาหารปลาและเนื้อ
    4. ผู้บริโภค ผักมีกลิ่นฉุนแรง ให้โทษ เกิดราคะ 5 ชนิด คือ 1.หอม 2.กระเทียม 3.กุไฉ 4.หลักเกี๋ย 5.เฮงกื๋อ
    5. ผู้ไม่ตักเตือน ผู้ต้องอาบัติให้แสดงอาบัติ
    6. ผู้ไม่บริจาค สังฆทานแก่ธรรมกถึก
    7. ผู้ไม่ไปฟังการสอนธรรม
    8. ผู้คัดค้าน - พระพุทธศาสนาในมหายานนิกาย
    9. ผู้ไม่ช่วยเหลือ - คนป่วย
    10. ผู้เก็บอาวุธ ? สำหรับฆ่ามนุษย์หรือสัตว์ไว้ในครอบครอง
    11. ผู้เป็นทูตสื่อสารในทางการเมือง
    12. ผู้ค้า ? มนุษย์ไปเป็นทาส ขายสัตว์ไปให้เขาฆ่าหรือใช้งาน
    13. ผู้พูดนินทาใส่ร้ายผู้อื่น
    14. ผู้วางเพลิงเผาป่า
    15. ผู้พูดบิดเบือนข้อความพระธรรมให้เสื่อมเสีย
    16. ผู้พูดอุบายเพื่อประโยชน์ตน
    17. ผู้ประพฤติข่มขี่บังคับเขาให้ทานวัตถุ
    18. ผู้อวดอ้างตนเป็นอาจารย์เมื่อตนยังเขลาอยู่
    19. ผู้พูดกลับกลอกสองลิ้น
    20. ผู้ไม่ช่วยสัตว์ เมื่อเห็นสัตว์นั้นตกอยู่ในภยันตราย
    21. ผู้ผูกพยาบาท คาดแค้น
    22. ผู้ทะนงตน ไม่ขวนขวายศึกษาธรรม
    23. ผู้เย่อหยิ่ง กระด้างก้าวร้าว
    24. ผู้ไม่ศึกษาพระธรรม
    25. ผู้ไม่ระงับการวิวาทเมื่อสามารถสงบได้
    26. ผู้ละโมภเห็นแก่ตัว
    27.ผู้น้อมลาภที่เขาถวายสงฆ์อื่นมาเพื่อตน
    28. ผู้น้อมลาภ ที่เขาจะถวายสงฆ์ไปตามชอบใจ
    29. ผู้ทำเสน่ห์ยาแฝดฤทธิ์เวท ให้คนคลั่งไคล้
    30. ผู้ชักสื่อ ให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน
    31. ผู้ไม่ช่วยเหลือ ไถ่ค่าตัวคนให้พ้นจากเป็นทาสเมื่อสามารถ
    32. ผู้ซื้อขาย อาวุธสำหรับฆ่ามนุษย์หรือสัตว์
    33. ผู้ไปดู กระบวนทัพมหรสพ และฟังขับร้อง
    34. ผู้ไม่มีขันติ อดทนสมาทานต่อศีล
    35. ผู้ปราศจากกตัญญู ต่อบิดา มารดา อุปัชฌายาจารย์
    36. ผู้ปราศจากสัจจ์ ต่อคำปฏิญาณ จะตั้งอยู่ในพรหมจรรย์
    37. ผู้ปฏิบัติ ธุดงควัตรในถิ่นที่มีภยันตราย
    38. ผู้ไม่มีคารวะ ไม่รู้จักต่ำสูง
    39. ผู้ไม่มีกุศลจิต ไม่สร้างบุญ สร้างกุศล ทำทาน
    40. ผู้มีฉันทาคติ ลำเอียงการให้บรรพชาและอุปสมบท
    41. ผู้เป็นอาจารย์ สอนด้วยการเห็นแก่ลาภ
    42. ผู้กระทำ สังฆกรรมแก่ผู้มีมิจฉามรรยา
    43. ผู้เจตนา ฝ่าฝืนวินัย
    44. ผู้ไม่เคารพ สมุดพระธรรมคัมภีร์
    45. ผู้ไม่สงเคราะห์ โปรดเวไนยสัตว์
    46. ผู้ยืนหรือนั่งที่ต่ำ แสดงธรรม
    47. ผู้ยอมจำนน ต่ออำนาจธรรมโรธี (อำนาจที่ผิดธรรม)
    48. ผู้ล่วงละเมิด ธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา
    (คณะสงฆ์จีนนิกาย. ม.ป.ป. : 355-359)

    เราจะเห็นได้ว่าบารมีทั้ง 2 คือ ทานบารมี และศีลบารมี เป็นคู่ปรับของโลภะ ใครก็ตามที่มีโลภะจะต้องปฏิบัติบารมีทั้งสอง นี้ให้มาก จะช่วยให้จิตอ่อนโยน ประณีตมากขึ้น และกลายเป็นคนมีเมตตา

    วิริยะบารมีและขันติบารมี เป็นสิ่งที่พระโพธิสัตว์จะต้องปฏิบัติ เพราะถ้าขาดบารมีนี้แล้ว พระโพธิสัตว์ก็ไม่สามารถก้าวขึ้น สู่คุณธรรมชั้นสูงได้ พระโพธิสัตว์จะต้องอดทนและมีความเพียรที่จะต่อสู้อุปสรรคซึ่งกีดขวางหนทางแห่งการบรรลุธรรม เพื่อก้าวไปสู่ภูมิธรรมชั้นสูงสุด ในที่สุดบรรลุภูมิธรรมชั้นสูงสุด ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย บารมีทั้งสองนี้เป็น คู่ปรับของโทสะ

    สมาธิบารมีกับปัญญาบารมี เป็นสิ่งที่ช่วยให้พระโพธิสัตว์มีจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม มีปัญญาเห็นแจ้งในความ เป็นจริงของชีวิต จึงเอาชนะกิเลสตัณหาได้ บารมีทั้งสองนี้เป็นคู่ปรับของโมหะ คือ ความหลงที่ทำให้มนุษย์วนเวียนใน วัฏสงสาร สมาธิบารมีจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมหันเหไปในทิศทางที่ถูกต้องและปัญญาบารมีเป็นเหมือนมีดที่ตัดกำลัง ของกิเลสให้หมดไป

    เราจะเห็นได้ว่า บารมี 6 หรือ ปารมิตา 6 ของนิกายมหายาน ก็คือ หลักการปฏิบัติเพื่อไปสู่การบรรลุพระนิพพาน ซึ่งเหมือนกับการปฏิบัติไตรสิกขาในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เพียงแต่ว่า ในพุทธศาสนาเถรวาทดำเนินตามคำสอนของพระพุทธองค์ โดยถือเอาตามหลักของพระไตรปิฎก ส่วนมหายานดำเนินตามแนวของอรรถกถาจารย์เป็นสำคัญ แต่หลักใหญ่ใจความสำคัญ ของการปฏิบัติทั้งสองนิกายนี้ก็คือ การปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การบรรลุหลุดพ้น

    นอกจากบารมี 6 นี้ ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมต้องการปฏิบัติให้ละเอียดมากขึ้น อาจเพิ่มบารมีธรรม อีก 4 ข้อ คือ

    1. อุปายะ คือ การรู้จักอุบายอันแยบคายที่จะช่วยสัตว์โลก
    2. ประณิธาน คือ ความตั้งใจมั่นเด็ดเดี่ยวในพุทธภูมิ
    3. พละ คือ กำลังแห่งความเข้าใจที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ได้แก่ กำลังแห่งความเข้าใจในธรรมตามเหตุผล และกำลังแห่ง ความเข้าใจตามที่บำเพ็ญอบรมมา
    4. ญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้เกิดโลกุตตรปัญญา

    ***บารมีทั้ง 4 ข้อนี้ สามารถย่อลงในบารมี 6 ได้

    นอกจากบารมี 6 ประการแล้ว ผู้ประพฤติธรรมของฝ่ายมหายานจะต้องมีอัปปมัญญา 4 อัปปมาณหฤทัย ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

    เมตตา คือ การให้ความรักและความสุขแก่สรรพสัตว์
    กรุณา คือ การให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล ปลดเปลื้องทุกข์ของสรรพสัตว์
    มุทิตา คือ ความยินดีอนุโมทนาเมื่อสัตว์พ้นทุกข์ได้สุข
    อุเบกขา คือ การไม่ยินดี ไม่ยึดถือในความดีที่กระทำ เพราะถ้ามีความร้สึกในตัวตนว่ามีผู้ทำความดี มีวัตถุที่จะให้และ มีผู้รับ

    ความดี ก็ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติคุณธรรมชั้นสูงและเป็นการทำทานที่ยังเป็นลักษณะของโลกิยะ
     
  2. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922
    วันมาฆบูชา<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชน
    สาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติ <o:p></o:p>
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ<o:p></o:p>
    วัดใหม่ยายแป้น เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
    วันเสาร์ที่ ๒๐ –๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๓<o:p></o:p>
    เวลา ๐๘.๐๐ น.พร้อมกันที่วิหารพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    เวลา๐๘.๓๐ น.อัญเชิญพระไตรปิฎกทักษิณาวัตรที่พระอุโบสถ<o:p></o:p>
    เวลา ๐๙.๐๙ น.ประธานจุดเทียนธูป<o:p></o:p>
    เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล<o:p></o:p>
    พระครูปลัดรัตนวัฒน์ ในศีล<o:p></o:p>
    จุดเทียนบูชาพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    เริ่มสาธยายพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๓
    เวลา ๑๙.๐๐ น.หยุดการสาธยายพระไตรปิฎก เจริญสมาธิและถวายเป็นพระราชกุศล
    กราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธนิมิตเมตตา ปางปฐมเทศนา
    ชมพระไตรปิฎก สมัยรัชกาลที่ ๕ พม่า , ศรีลังกา , ล้านนา , รัฐฉาน , เขมร , จีนและคัมภีร์โบราณ
    รถเมล์สาย ปอพ.๑๐,๕๖,๕๗,๗๙,๑๕๗,๑๗๕,๔๐,๕๔๒.๘๐,๕๐๙,๒๘,๑๗๑ ลงที่สี่แยกบางขุนนนท์ (รถเมล์สาย ๕๗,๗๙ ผ่านหน้าวัด )<o:p></o:p>
    ติดต่อสอบถามได้ที่ พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติญาโณ (ไม่รับเงินบริจาค)www.narongsak.org
    โทร. ๐๒-๔๓๕-๗๕๕๕ ๐๘๙-๙๖๓-๔๕๐๕ โทรสาร. ๐๒-๔๓๔-๑๒๓๘
    พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า ธรรมและวินัยที่ตถาคตตรัสไว้ดีแล้วธรรมเหล่านั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอ” การสาธยายพระไตรปิฎกจึงเสมือนได้เข้าเฝ้าต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    <o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    อานิสงส์การสาธยายพระไตรปิฎก
    ๑.พระไตรปิฎกเป็นตาวิเศษอันยิ่งบุคคลใดสาธยายพระไตรปิฎกแล้ว สามารถที่จะรู้ได้ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ทำให้เป็นสัมมาทิฎฐิ นำไปสู่ความสำเร็จและเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล คือตั้งแต่โสดาบัน สกทาคามี อนาคามีและอรหันต์เข้าสู่นิพพาน
    ๒.พระไตรปิฎกเป็นหูที่วิเศษอันยิ่งฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สอนให้บุคคลนั้นดำรงชีวิตด้วยความถูกต้อง ที่เป็นสัมมาทิฎฐิ อย่างน้อยไม่ทำบาปทำแต่กุศล ได้ฟังแต่สิ่งที่เป็นมงคล การพูดก็ดี สุขภาพจิตก็ดี มีจิตใจที่ผ่องใส เมื่อจิตใจผ่องใสความคิดก็ดีความจำก็ดีขึ้นมีสติไม่ทำให้เกิดอกุศลหน้าตาผ่องใสเป็นต้น(พระไตรปิฎกเล่มที่๔)
    ๓.พระไตรปิฎกเป็นจมูกที่วิเศษอันยิ่ง กลิ่นหอมที่ว่าหอมแม้จะลอยตามลมไปได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ แต่ไม่สามารถที่จะทวนลมได้ แต่กลิ่นของความดี กุศลนั้นสามารถจะทวนลมและกระจายออกไปได้ทุกทิศ จะเป็นมีจมูกที่ได้กลิ่นของกุศลที่กระจอนไปทุกทิศ และไม่หลงติดอยู่กับกลิ่นหอมอย่างอื่น(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
    ๔.พระไตรปิฎกเป็นลิ้นที่วิเศษอันยิ่ง ลิ้นคนเราแม้จะจำรสต่าง ๆ ได้ ไม่ช้าก็ลืมมีความสุขชั่วคราวทำให้คนขาดสติ แต่ลิ้นที่ลิ้มรสของพระธรรมนั้น ไม่มีความอิ่มในรสของพระธรรม เมื่อคนเราได้รับลิ้มรสของพระธรรมแล้ว จะทำให้ร่างกายผ่องใสทั้งภายในและภายนอกและจะช่วยรักษาโรคได้ทุกชนิด(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
    ๕.พระไตรปิฎกเป็นกายที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายแล้วทำให้มีสภาพที่ผ่องใสทั้งภายในและภายนอก มีกายที่เบาไม่เชื่องช้าเลือดลมในตัวเราที่เรียกว่าธาตุ๔นั้นก็สมบูรณ์ทำให้มีอายุยิ่งยืนนานสามารถหายจากโรคที่เกิดแต่กรรมได้
    ๖.พระไตรปิฎก เป็นใจที่วิเศษอันยิ่ง ใจดี ใจผ่องใส ใจเป็นหัวหน้า เมื่อใจเบิกบาน จิตใจเป็นกุศลก็สามารถเข้าถึงความเป็น โสดาบันสกทาคามีอนาคามีและพระอรหันต์ในที่สุด(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
    ๗.พระไตรปิฎกเป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษอันยิ่ง สามารถที่จะสอนให้เรารู้ว่าอะไรเป็นกุศลอะไรเป็นอกุศล เมื่อรู้อย่างนี้แล้วสอนให้เรานำเอาหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติอันเป็นทางที่มีความสำเร็จในชีวิตนำทางไปเพื่อเข้าถึงพระนิพพาน(พระไตรปิฎกเล่ม ๙)
    ๘.พระไตรปิฎก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษอันยิ่ง พ่อแม่ไม่ได้หวังค่าตอบแทนจากลูกฉันใด พระไตรปิฎกเป็นผู้ที่สอนให้เรารู้ทุกอย่างที่เรายังไม่เคยรู้ นำทางให้เราเข้าถึงความเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ แล้วแต่ทางดำเนินชีวิตอันทำให้ถึงจุดหมายปลายทางคือพระนิพพาน(พระไตรปิฎกเล่ม๑๒และ๑๔)
    ๙.พระไตรปิฎกเป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายก็จะมีแต่มิตรนำทางไปสู่ที่ดีนำชีวิตไปสู่ความสุขทั้งตัวเอง ครอบครัวและสังคมที่ดีนำทางไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งในทุกสถานในกาลทุกเมื่อ(พระไตรปิฎกเล่มที่๓๖)
    ๑๐.สมัยพระพุทธเจ้าชื่อว่ากัสสปะ พระสงฆ์สาธยายอภิธรรมในถ้ำ ค้างคาว ๕๐๐ ตัวได้ฟังเมื่อถึงคราวตายแล้วไปจุติที่ชั้นดาวดึงส์ชาติสุดท้ายมาเกิดเป็นลูกศิษย์พระสารีบุตรและเป็นอรหันต์เป็นที่สุด
    ๑๑.การสาธยายพระไตรปิฎกที่ว่ากรรมเก่าไม่มีใครลบล้างได้ กรรมปัจจุบันจะช่วยได้ จงจำไว้ กรรมที่ทำด้วยเจตนาไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมมีผลต่อผู้กระทำทั้งสิ้น ไม่มีพรหมเทพองค์ใดจะช่วยลบล้างกรรมนั้นได้ เธอจงช่วยตนเอง ด้วยการสวดมนต์ ภาวนาแผ่เมตตาผลแห่งบุญอันเป็นกรรมปัจจุบันจะช่วยเธอได้”ตอนหนึ่งที่กล่าวกับนางโรหิณี
    ๑๒.การสาธยายหรือการสวดมนต์ ย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตของตนและประโยชน์แก่จิตอื่น และสามารถที่จะทำให้ผู้ที่สวดมนต์สาธยายมีความสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้
    บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่อันพึงจะเกิดขึ้นในครั้งนี้
    ขอน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯผู้เป็นพ่อของแผ่นดินที่ให้อาศัยแก่เราและวงศ์ตระกูลได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขและเจริญก้าวหน้าตลอดมาขอธรรมของพระศาสดาเป็นประดุจดังธรรมโอสถทิพย์ที่จะช่วยคลายทุกข์ให้ประชาชนคนไทยได้รู้รักสามัคคีเฉกเช่นพี่น้องร่วมอุทรอันไม่พึงทำร้ายซึ่งกันและกันด้วยกาย วาจา ใจ ขอให้พี่น้องประชาชนทั้งหลายเป็นผู้มั่นคงและถึงพร้อมด้วยความดี เพื่อแผ่นดินไทยอยู่อย่างผาสุกตลอดกาลและนาน เทอญ<o:p></o:p>
     
  3. tutpon

    tutpon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +120
    ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
     
  4. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ดีครับ อนุโมทนาสาธุ...
    เอามาลงเยอะๆนะครับ อิอิ^^
    เพราะพระสูตรมหายานเป็นคัมภีร์ที่น่าศึกษา
    แต่น้อยคนที่จะได้ศึกษากัน
     
  5. บุตรพระแม่อนุตตรธรรม

    บุตรพระแม่อนุตตรธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    548
    ค่าพลัง:
    +428

แชร์หน้านี้

Loading...