"พลูโต" กับโหราศาสตร์

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 29 สิงหาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    ในวงการโหราศาสตร์นั้นอิทธิพลของดวงดาวมีความสำคัญอย่างยิ่ง "พลูโต" เป็นหนึ่งในดาวนพเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับการทำนายโชคชะตาราศีในแบบเดิม แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับดาวเคราะห์ดวงนอกสุดของสมาชิกนพเคราะห์ จะส่งผลเช่นไร?

    "เก่งกาจ จงใจพระ" นักโหราศาสตร์ชื่อดัง อธิบายให้ฟัง ว่าสำหรับโหราศาสตร์ไทยแล้วไม่กระทบอะไรมากนัก เพราะโหราศาสตร์ไทยไม่ได้อิงกับโหราศาสตร์สากล ตำราโหราศาสตร์ไทยแบบเก่าที่เรียกว่าระบบราศีจักร จะใช้ดาว 8 ดวงทำนายเท่านั้น คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ และ ราหู ระบบนี้มีดาว 4 ดวงที่คร่อม 2 ราศี โหราศาสตร์บางระบบจะมีดาวเกตุ (หางของราหู) และดาวมฤตยู (ดาวยูเรนัส) เพิ่มเข้ามา

    "ดาวพลูโตจะอยู่ในส่วนของโหราศาสตร์สากล ซึ่งมีดาวเนปจูนและดาวพลูโตเพิ่มเข้าไปอีกเป็น 12 ดวง

    "ดาวพลูโตที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ เรียกในทางโหราศาสตร์ว่า ดาวพระยม โหราศาสตร์ไทยไม่ค่อยนำมาใช้เท่าไหร่ เพราะมีขนาดเล็กและอยู่ไกล อยู่ราศีละ 20 ปี ต่างจากดาวจันทร์ อังคาร และศุกร์ ที่อยู่ใกล้โลก มีผลในการคำนวนมากกว่า มีสเปคตรัม มีสนามแม่เหล็กที่ส่งพลังมาถึง อย่างไรก็ตาม ดาวพลูโตก็เหมาะจะนำมาทำนายสถานการณ์บ้านเมือง"

    แต่ถ้าเป็นโหราศาสตร์สากล ดาวพลูโตจะมีบทบาทในการคำนวนเห็นชัดกว่าทางโหราศาสตร์ไทย

    "เรื่องที่จะถอดดาวพลูโตออกจากการเป็นดาวเคราะห์นั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสั่นคลอนโหราศาสตร์แบบไทยเลย เพราะไม่ค่อยได้นำมาใช้ในการคำนวณ เราก็คำนวนของเราไป และคิดว่าไม่ส่งผลไปถึงโหราศาสตร์แบบสากลด้วย เพราะถึงจะจัดให้ดาวพลูโตเป็นดาวประเภทอื่นที่ไม่ใช่ดาวเคราะห์ แต่ดาวพลูโตก็ยังอยู่ ตรงนี้สำคัญกว่า"

    สรุปแล้วไม่เกี่ยวกับการคำนวณทางโหราศาสตร์ไทยไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้น

    ด้าน "บุศรินทร์ ปัทมาคม" นักโหราศาสตร์คนดังอีกคน มีความเห็นคล้ายกัน โดยบอกว่า โหราศาสตร์ไทยมีดวงดาวหลักอยู่ 10 ดวง คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ ราหู เกตุ และมฤตยู ส่วนดาวพลูโตหลุดจากการเป็นดาวเคราะห์ ไม่น่าจะส่งผลต่อวงการโหราศาสตร์ไทยแต่อย่างใด

    ขณะที่ "ศุภลักษณ์ เชตตรีฤทธิ์ ปิลไล" นักโหราศาสตร์สากล (ยูเรเนี่ยน) บอกว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุด อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 8 ช่วงต้นๆ ที่มีการค้นพบดาวดวงนี้ มีเหตุการณ์ใหญ่ๆ เกิดขึ้นมาก เช่น ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2472 (ค.ศ.1929) เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ประธานาธิบดีฮูเวอร์ แห่งพรรครีพับริกัน ต้องพ่ายแพ้แก่นายรูสเวลท์ คู่แข่งแห่งพรรคเดโมแครต

    "ดาวพลูโต มีอิทธิพลทางโหราศาสตร์ เกี่ยวกับสังคมของมนุษยชาติ การเปลี่ยนแปลงเรื่องใหญ่การเกิดการตายของวัฒนธรรมต่างๆ โรคภัยใหม่ๆ อำนาจใหม่ๆ (ปรมาณู) คลื่นรังสี ไม่มีขอบเขต ดาวพลูโตเหมือนกับภูเขาไฟใต้ดิน เมื่อระเบิดจะมีพลังทำลายล้างที่ยิ่งใหญ่ มีผลกระทบกับผู้คนจำนวนมาก ไม่มีการอ่อน ดาวพลูโตเป็นดาวเกษตรของราศีพิจิก ครองร่วมกับดาวอังคารและเป็นเรือนมรณะของโลก เป็นเรือนตายเป็นวัฏจักร

    "ในทางโหราศาสตร์สากล วิเคราะห์ได้ว่าหากดาวพลูโตถูกลบชื่อออกจากวงโคจรของระบบสุริยะ ก็จะไม่เป็นปัญหาและไม่มีผลกระทบอะไร เป็นเพียงแค่เปลี่ยนสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงแค่นั้นเอง เพราะดวงดาวยังอยู่ ไม่ได้สลายเป็นจุลหรือผุยผง ก็ยังสามารถนำมาประกอบการดูดวงของมนุษย์ในโหราศาสตร์ได้ แต่การจะใช้ดาวพลูโตนำมาประกอบกับการดูดวงของมนุษย์นั้นก็ขึ้นอยู่กับศาสตร์แต่ละศาสตร์อีกเช่นกัน ว่าศาสตร์ไหนมีความจำเป็นต้องใช้ เพราะศาสตร์โหราศาสตร์มีหลากหลาย"




    ที่มา: มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra03290849&day=2006/08/29
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>ปลด "ดาวพลูโต" เป็นแค่"ดาวเคราะห์แคระ" สะเทือนวงการโหร?

    โดย สกุณา ประยูรศุข


    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=right>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    ดาวเคราะห์เหลือแค่ 8 ดวง



    </TD></TR></TBODY></TABLE>เป็นข่าวน่าเอ็นดู และน่าฉงนอย่างยิ่ง เมื่อเช้าวันที่ 25 สิงหาคม มีการประกาศจากที่ประชุมสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือไอเอยู (International Astronomical Union"s : IAU) ซึ่งกำลังประชุมกันอยู่ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก

    โดยประกาศให้ "ดาวพลูโต" ดาวเคราะห์ที่อยู่นอกสุดในระบบสุริยจักรวาล หนึ่งในสมาชิกของดาวนพเคราะห์ หลุดพ้นจากความเป็น "ดาวเคราะห์" ไป

    การประชุมดังกล่าวมีนักดาราศาสตร์จาก 75 ประเทศ จำนวน 2,500 คนเข้าร่วมประชุม โดยใช้เวลาในการพิจารณาหาเหตุผลมาโต้แย้งกัน ระหว่างฝ่ายที่เห็นว่า *ควรถอดดาวพลูโตออกจากการเป็นดาวเคราะห์* กับ ฝ่ายที่เห็นว่า *ควรให้ดาวพลูโตอยู่ในดาวเคราะห์ต่อไป* เขาใช้เวลากันถึง 1 สัปดาห์

    ในที่สุดเมื่อต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลมาแย้ง จึงต้องใช้วิธีโหวตเสียง โดยชูใบเหลือง-ใบแดง ลงคะแนนเสียงเป็นการหาข้อยุติ

    ที่ประชุมอุตส่าห์ใช้ตุ๊กตาหมาสีเหลือง คือ "หมาพลูโต" ซึ่งเป็นดาราเอกในการ์ตูนของ วอลต์ ดิสนีย์ มาเป็นสัญลักษณ์แทนดาวพลูโตเสียด้วย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความน่ารักน่าสงสารหรือเปล่าไม่ทราบ แต่ถึงกระนั้นคะแนนเสียงที่จะให้ดาวพลูโตเป็นสมาชิกของดาวนพเคราะห์ต่อไปก็พ่ายแพ้

    โดยเสียงส่วนใหญ่โหวตให้ดาว "พลูโต" ออกจากกลุ่มดาวเคราะห์ทั้ง 9 จึงทำให้เหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวงเท่านั้น จากที่เคยมี 9 ดวงแต่เก่ามา

    นับว่าเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานพอสมควร เพราะถ้าไม่นับช่วงเวลาการโต้เถียงก่อนลงคะแนน เรื่องนี้นักดาราศาสตร์ของสมาพันธ์ไอเอยู เขาติดตามข้อมูลและหาเหตุผลมาสู้กันนานกว่า 1 ปีทีเดียว

    ข้อสรุปที่ได้ออกมาชัดเจนว่า ดาวพลูโตที่ถูกค้นพบในปี 1930 ซึ่งค้นพบโดย ไคลด์ ทอมบอห์ (Clyde Tombaugh) แห่งหอดูดาวโลเวล รัฐอริโซนา (Lowell Observatory in Flagstaff, Arizona) และได้รับการพิจารณาให้เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยจักรวาลนั้น ได้เปลี่ยนไปเป็นกลุ่ม "ดาวเคราะห์แคระ" ไม่ใช่ "ดาวเคราะห์" อีกต่อไป

    การตัดสินดังกล่าวส่งผลให้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเหลืออยู่เพียง 8 ดวงเท่านั้น ประกอบด้วย ดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลก, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวมฤตยู, และดาวเกตุ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    ฝ่ายหนุนพลูโตเป็นดาวเคราะห์



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    *ส่วนดาวพลูโต หรือ ดาวยม หรือ พระยม ในชื่อไทยนั้น ถูกจัดเป็นหมวดหมู่ดาวที่กำหนดขึ้นใหม่เป็นดาว "เคราะห์แคระ" (Dwarf Planet) ซึ่งขณะนี้นอกจากดาวพลูโตแล้ว ยังมีดาว 2003, ยูบี 313, ดาวซีเรส และชารอน (ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดบริวารของพลูโต)

    เหตุผลที่ทำให้ดาวพลูโต ต้องกลายเป็นดาวเคราะห์แคระนั้น มาจากคำนิยามใหม่ที่ว่า ดาวเคราะห์ คือเทหวัตถุที่จะต้องมีมวลมากพอที่จะก่อให้เกิดแรงโน้มถ่วงซึ่งสามารถส่งผลให้รูปร่างโดยธรรมชาติของเทหวัตถุนั้นเกือบเป็นทรงกลม และเทหวัตถุดังกล่าวจะต้องมีเส้นทางวงโคจรที่ชัดเจนเป็นของตนเอง รวมทั้งไม่มีเทหวัตถุอื่นกีดขวางอยู่ในวงโคจรดังกล่าวด้วย

    แต่ดาวพลูโตนั้นวงโคจรนอกจากจะเอียงทำมุมกับแนวระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์ส่วนใหญ่อีก 8 ดวงแล้ว วงโคจรของดาวพลูโตยังทับซ้อนอยู่ในวงโคจรของดาวเนปจูน ที่เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 8 ของระบบสุริยะอีกด้วย

    ข้อสรุปของสมาพันธ์เอไอยู ส่งผลต่อวงการดาราศาสตร์ของไทยอย่างไรนั้น "สิทธิชัย จันทรศิลปิน" หัวหน้าฝ่ายท้องฟ้าจำลอง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา อธิบายว่า ข้อสรุปจากการประชุมของไอเอยู ทำให้ดาวพลูโตถูกปลดออกจากกลุ่มดาวเคราะห์ปกติ แต่ย้ายไปตั้งกลุ่มใหม่ใช้ชื่อ "ดาวเคราะห์แคระ"

    สิทธิชัยบอกว่า เริ่มต้นของการค้นพบดาวพลูโตนั้น ในช่วงแรกๆ มนุษย์ยังไม่รู้จักขอบเขตของดาวพลูโตมาก แต่พอระยะเวลาผ่านไปนาน มนุษย์เริ่มเรียนรู้มากขึ้นว่ามีดาวอีกมากมาย และมีการค้นพบดาวดวงอื่นๆ มากขึ้น

    "ดาวพลูโต ตั้งชื่อตามเทพเจ้าในตำนานกรีก-โรมัน เป็นเทพผู้ครองใต้พิภพ เพราะว่าดาวพลูโตอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากมีแสงสว่างเพียงเล็กน้อยที่ส่องไปถึง เสมือนอยู่ในดินแดนที่มืดมิด จึงชื่อพลูโต"

    คำอธิบายมีต่อว่า ดาวพลูโตปกคลุมด้วยหิน 70% และน้ำแข็ง 30% จากการศึกษาสเปคตรัมของแสงจากดาวพลูโต พบว่าส่วนที่สะท้อนแสงปกคลุมไปด้วยไนโตรเจน มีเธน อีเธน และคาร์บอนมอนอกไซด์ พบว่าทั้ง 4 อยู่ในสถานะของแข็ง การที่มีเธนกลายเป็นของแข็งได้ แสดงว่าอุณหภูมิต้องต่ำมากเลยทีเดียว <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    ใช้"หมาพลูโต"แทนดาวพลูโตในการขอเสียงสนับสนุน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "เหตุผลที่ต้องปลดดาวพลูโตออกจากดาวเคราะห์ เพราะดาวพลูโตขาดหลักเกณฑ์ที่ระบุว่าต้องมีวงโคจรที่ชัดเจน แต่ดาวพลูโตมีวงโคจรบางช่วงล้ำเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน ทำให้มีวงโคจรที่ไม่ชัดเจนและไม่เป็นของตัวเอง" นักดาราศาสตร์ไทยบอก

    และว่า ดาวพลูโตโคจรรอบดวงอาทิตย์ ครบรอบใช้เวลาประมาณ 249 ปี วงโคจรของดาวพลูโตเป็นวงรีค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ของระบบสุริยะ

    เมื่อดาวพลูโตไม่ได้อยู่ในกลุ่มดาวเคราะห์แล้วก็ต้องมาจัดระเบียบคำจำกัดความใหม่ให้กับดาวพลูโตและกลุ่มดาวดวงอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ไอเอยูจึงมีการตั้งชื่อกลุ่มดาวขึ้นมาใหม่ คือ กลุ่ม "ดาวเคราะห์แคระ"

    คำว่า "แคระ" แปลว่าขนาดเล็ก ซึ่งดาวพลูโตเป็นดาวดวงแรกที่ถูกบรรจุให้เข้าไปอยู่ในกลุ่มนี้ เป็นไปได้ว่าในอนาคตดาวกลุ่มนี้จะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งก็จะต้องพิจารณากันว่าดาวดวงใดที่จะถูกจัดเข้ามาในกลุ่มดาวเคราะห์แคระนี้

    สุทธิชัยอธิบายต่อว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มองได้หลายมุม ในมุมของนักดาราศาสตร์ หมายถึงการที่จะทำให้ในอนาคตหากมีการค้นพบอะไรที่ใหม่ๆ ก็จะสามารถจัดเข้ากลุ่มได้เร็วและง่ายขึ้น เพราะว่าขณะนี้ยังมีวัตถุอีกมากมายในระบบสุริยะที่นักดาราศาสตร์ค้นพบ และพยามยามจัดกลุ่มว่าควรจะอยู่ในกลุ่มใด

    อีกมุมหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง คือ ดาวพลูโต คือดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ เขียนอยู่ในตำราเรียนที่แทบทุกคนต้องเคยเรียน ดังนั้น นอกจากจะต้องลดจำนวนดาวเคราะห์เหลือ 8 ดวงแล้ว นักดาราศาสตร์ไทยเรียกดาวเคราะห์กลุ่มนี้ว่า "ดาวนพเคราะห์" ต่อไปนี้จะเรียกดาวนพเคราะห์ไม่ได้อีกแล้ว อาจจะต้องเรียกว่าสั้นๆ ว่า "ดาวเคราะห์"

    "ที่สำคัญคือในการเรียนการสอนของไทย ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ในเรื่องการจัดหมวดหมู่สมาชิกระบบสุริยะ เมื่อก่อนไม่มีการจัดกลุ่มชัดเจนแบบนี้ จึงสับสนและเถียงกันบ่อยว่าจะต้องมีดาวเคราะห์ดวงที่ 10 หรือไม่ แต่เวลานี้เท่ากับว่าได้คำตอบที่ชัดเจนขึ้น" หัวหน้าฝ่ายท้องฟ้าจำลองกล่าว

    สำหรับสถานะของดาวพลูโต เมื่อมีคำตอบที่ชัดเจน การโต้เถียงก็สิ้นสุด มนุษยชาติได้รับความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่า ดาวพลูโต จะหายไปจากระบบสุริยจักรวาล

    พลูโตยังอยู่ และโคจรรอบดวงอาทิตย์ต่อไป ยังสามารถมองเห็นในสายตาของนักดาราศาสตร์ และยังมีสิ่งน่าสนใจให้ศึกษาต่อไปอีกไม่รู้จบ



    คำนิยามใหม่ของ "ดาวเคราะห์" & คำนิยามของ "ดาวเคราะห์แคระ"

    จากผลของการประชุมของสมาพันธ์ไอเอยู ทำให้ระบบสุริยจักรวาลต้องจัดระเบียบกันใหม่ โดยการตั้งคำจำกัดความของดาวเคราะห์ขึ้นมาใหม่ ดังนี้

    ดาวเคราะห์ มีองค์ประกอบ 3 ข้อหลักๆ ด้วยกัน คือ 1.เป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์ (โคจรรอบดวงอาทิตย์) แต่ตัวเองต้องไม่ใช่ดาวฤกษ์ 2.มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) ทำให้ตัวเองกลมหรือเกือบจะกลม 3.มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวข้างเคียง

    ส่วนกลุ่ม "ดาวเคราะห์แคระ" (Dwarf Planet) คือ 1.โคจรรอบดวงอาทิตย์ 2.มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะเป็นวงกลม 3.วงโคจรไม่ชัดเจน ซึ่งต่างจากดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรที่ชัดเจน

    สำหรับกลุ่มดาวดวงเล็กดวงน้อยทั้งหลายในระบบสุริยจักรวาล ที่ไม่มีคุณสมบัติตามคำจำกัดความของ "ดาวเคราะห์" หรือ "ดาวเคราะห์แคระ" ได้เลยนั้น พวกนี้จะเรียกเป็น "ดาวเคราะห์น้อย" "ดาวหาง" มีรูปร่างจะไม่เป็นทรงกลม หรือที่เรียกว่า สมาชิกวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (Small Solar System Bodies)

    ดังนั้น ระบบสุริยะ จึงแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

    1.กลุ่มดาวเคราะห์ปกติ (Classical Planet) มี 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลกและดวงจันทร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส, ดาวเนปจูน

    2.กลุ่มดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planets) มี ดาวพลูโต และดาวที่อยู่ระหว่างการศึกษาอีกหลายดวง

    3.กลุ่มวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (Small Solar System Bodies) มีดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ฯลฯ


    Ref. http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra02290849&day=2006/08/29
     
  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    ภาพประกอบข่าว ปลด "ดาวพลูโต" เป็นแค่"ดาวเคราะห์แคระ" สะเทือนวงการโหร?


    [​IMG]

    [​IMG]
     
  4. 我Penvear

    我Penvear สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2006
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +5
    น่าสงสาร
     
  5. แคท

    แคท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,666
    <TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off">ขอบคุณค่ะ
    </TD></TR><TR UNSELECTABLE="on" hb_tag="1"><TD style="FONT-SIZE: 1pt" height=1 UNSELECTABLE="on">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...