พุทธานุสติกรรมฐานกับอานาปานสติกรรมฐาน ( สอบถาม )

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย Nuk036, 15 สิงหาคม 2011.

  1. Nuk036

    Nuk036 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +99
    ขอความกรุณาครับ พอดีผมฟังเรื่องกรรมฐาน40 ในเวบ ( Luangpor.com ) เรื่อง พุทธานุสติกรรมฐาน ที่หลวงพ่อบอกว่า พุทธานุสติ ไม่มีอานาปานสติร่วมด้วย จะภาวนา พุทโธ ก็ให้พุทโธ ไปเรื่อยๆ แต่พอไปฟังในบทสรุปเรื่อง อนุสติ หลวงพ่อบอกว่า ไม่ว่าจะทำกรรมฐานกองไหน ก็ให้มีอานาปานสติด้วยตลอดไ<WBR>​ม่ให้ทิ้ง ผมเลยสงสัย ว่า ถ้าจะ เจริญพุทธานุสติกรรมฐานด้วย<WBR>​การภาวนา"พุทโธ" ต้องทำอย่างไรครับ ( พอดีผมไม่ถนัดเรื่องการจับภ<WBR>​าพ พระ )

    คือ ให้ บริกรรม พุทโธ ๆ ๆ ไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องสนใจเรื่องลมหายใจ หรือ หายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ"

    ขอบคุณครับ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    พุทธานุสสติกรรมฐาน คือ การระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์นะครับ....

    จะภาวนา พุทโธ อิติปิโสฯ พาหุง หรือ สัมมาอรหัง อะไรก็ได้ครับ....จุดประสงค์หลักก็คือระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
     
  3. RMX

    RMX เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +2,666
    การภาวนา พุทโธ เพียงอย่างเดียวไม่ได้จับภาพพระ
    ก็เป็นได้ทั้ง อานาปานุสติ และ พุทธานุสติ กรรมฐานครับ

    เพราะคำที่เราภาวนาว่า พุทโธ นั้นหมายถึง พระพุทธเจ้า โดยตรงอยู่แล้วครับ
    เพียงแต่นำไปควบกับการหายใจเข้าออก ซึ่งเป็น อานาปานุสติครับ
     
  4. Scorpius

    Scorpius เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +647
    พุทธานุสสติกรรมฐาน คือ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
    ความหมายที่แท้จริงของพุทธานุสสติ คือ การระลึกถึงพระพุทธเจ้าครับ หลวงพ่อจึงบอกไว้เช่นนั้น เพราะกรรมฐานกองนี้จริงๆแล้ว คือ การใช้อารมณ์คิดถึงพระพุทธเจ้า ไม่ใใช่การจับลมหายใจ

    แต่ที่จับอานาปานุสสติ ควบพุทธานุสสติ เป็นอุบายเพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิครับ มีกรรมฐาน ๒ กองด้วยกัน คือ อานาปานุสสติ (จับลมหายใจ) และ พุทธานุสสติ (คิดถึงพระพุทธเจ้า)

    ในความคิดเห็นของผม เคยฟังเทปนี้และสงสัยแบบเดียวกัน มีข้อปฏิบัติที่ลองทำดู ๒ แบบ ครับ

    ๑. ภาวนาไปเรื่อย พุทโธๆๆๆๆๆ ไม่จับลมหายใจ ก็ได้ผลเหมือนกันครับ
    ๒. พุทธานุสสติ ควบอานาปานุสสติ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ จับลมหายใจเฉพาะตัวไม่ต้องสนใจอะไรอย่างอื่นนอกจากลมหายใจ

    เข้าใจครับ ฟังแล้วเคยสงสัยเหมือนกัน หาคำตอบได้ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น หวังว่าคงตอบข้อสงสัยได้บ้างครับ
    ส่วนตัวจับอานาปานุสสติ + จับภาพพระ + ภาวนาพุทโธ ครับ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 สิงหาคม 2011
  5. Scorpius

    Scorpius เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +647
    ขออนุญาติยกข้อความจากตำราวิสุทธิมรรคครับ : ที่มา [ วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ ๒๔๘ ]

    [วิธีเจริญพุทธานุสติ]

    ในอนุสติ ๑๐ มีประการดังกล่าวมานี้ พระโยคาวจรผู้กอปรด้วย
    ความเลื่อมใสมั่น ใคร่จะเจริญพุทธานุสสติเป็นอันดับแรก พึงเป็นผู้
    ไปในที่ลับ ( คน ) เร้นอยู่ในเสนาสนะอันสมควรแล้ว ระลึกถึงพระคุณ
    ของพระผู้มีพระภาคเจ้า (โดยอนุสสรณปาฐะ) อย่างนี้ว่า อิติปิ
    โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต
    โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ
    ภควา ( ต่อไป ) นี้เป็นนัยในการระลึกในพระพุทธคุณเหล่านั้น ( คือ )
    ระลึก ( ประกอบ อิติปิ ไว้ทุกบท ) ว่า โส ภควา อิติปิ อรหํ
    ( แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระอรหันต์ ) ฯ เป ฯ
    โส ภควา อิติปิ ภควา ( แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
    นั้นเป็นพระภควา ) ( คำ อิติปิ นั้น ) มีอธิบายว่า " เพราะเหตุนี้ๆ "

    [แก้อรรถบท อรหํ ๕ นัย]

    บัณฑิตย่อมระลึกว่า ในบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

    ได้พระนามว่า อรหํ เพราะเหตุ ( ๕ นัย ) นี้ก่อน คือ อารกตฺตา เพราะ
    ความเป็นอารกะ ( ผู้ไกล ) ( ๑ ) อรีนํ อรานญฺจ หตตฺตา เพราะ
    ความที่ทรงกำจัดอริ ( ข้าศึก ) ทั้งหลายเสียได้ ( ๑ ) และเพราะทรง
    ทำลายอระ ( ซี่กำ ) ทั้งหลายเสียได้ ( ๑ ) ปจฺจยาทีนํ อรหตฺตา เพราะ
    ความเป็นอรหะ ( ผู้ควร ) ทักขิณาวัตถุทั้งหลายมีปัจจัย ๔ เป็นต้น ( ๑ )
    ปาปกรเณ รหาภาวา เพราะความไม่มีรหะ ( ที่ลับ ) ในอันที่จะทำ
    บาป ( ๑ )

    ฯลฯ


    เมื่อพระโยคาวจรนั้น ระลึกถึงพระพุทธคุณว่า " เพราะเหตุนี้ๆ

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหํ ฯลฯ เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มี
    พระภาคเจ้านั้น เป็นพระภควา " ดังนี้อยู่ ในสมัยนั้น จิตของเธอ
    ย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิต
    ที่โมหะกลุ้มรุมเลยทีเดียว ในสมัยนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตดำเนิน
    ไปตรงแน่ว ปรารภ ( คุณ ) พระตถาคตเจ้า เมื่อเธอข่มนิวรณ์ได้โดย
    ที่ไม่มีปริยุฏฐานกิเลสมีราคะเป็นอาทิอย่างนั้นชื่อว่ามีจิตดำเนินไป
    ตรง เพราะความที่มีจิตมุ่งต่อพระกรรมฐานอยู่ ฉะนี้ วิตกและวิจาร
    อันโน้มไปในพระพุทธคุณย่อมเป็นไป เมื่อตรึกเมื่อตรองพระพุทธคุณ
    ร่ำไปๆ ปีติย่อมเกิดขึ้นความกระวนกระวายกายจิตของเธอผู้มีใจกอปร
    ด้วยปีติย่อมระงับ โดยปัสสัทธิอันมีปีติเป็นปทัฏฐาน สุขทั้งทางกาย
    ทั้งทางจิต ย่อมเกิดแก่เธอผู้มีความกระวนกระวายอันระงับแล้ว จิต
    ของเธอผู้มีสุข เป็นจิตมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นสมาธิ
    องค์ฌานย่อมเกิดขึ้นโดยลำดับในขณะเดียว ดังกล่าวมาฉะนี้ แต่เพราะ
    ความที่พระพุทธคุณทั้งหลายเป็นอารมณ์ลึกซึ้ง หรือเพราะความที่จิต
    น้อมไปในการระลึกถึงพระคุณมีประการต่างๆ ฌานนี้จึงเป็นฌานที่
    ไม่ถึงอัปปนา ถึงเพียงอุปจารเท่านั้น ( และ ) ฌานนี้ก็ถึงซึ่งความ
    นับ ( คือได้ชื่อ ) ว่าพุทธานุสสตินั่นเอง เพราะเป็นฌานที่เกิดขึ้นด้วย
    อำนาจการระลึกถึงพระพุทธคุณ ฯลฯ


    จะเห็นได้ว่า พุทธานุสสติที่หลวงพ่อหมายถึง คือ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ซึ่งถูกต้องตามแบบวิสุทธิมรรคครับ ทั้งหมดคืออารมณ์คิดทั้งสิ้น

    แต่คำภาวนา (คือ พุทโธ) เป็นอุบายเพื่อให้จิตมีสมาธิ ควบคุมจิตให้มีความตั้งมั่น เมื่อตั้งมั่นแล้วจึงเริ่มพิจารณาคุณของพระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อเริ่มซาบซึ้งกับพระคุณของพระองค์แล้วถือว่าใช้ได้ครับ

    ผมจะสรุปเป็น ๒ กรณีแล้วกันครับ
    ๑. คำภาวนา หรือ จับลมหายใจ หรือ จับภาพพระ เป็นอุบายให้จิตมีสมาธิ
    ๒. ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เป็นอารมณ์คิด(ซึ่งแตกต่างจากการภาวนาครับ) นี่คือพุทธานุสสติในความหมายของหลวงพ่อครับ

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กรรมฐานกองนี้ให้จิตสงบได้ถึงขึ้นอุปจารสมาธิเท่านั้นครับ
    ขอให้โชคดี ผมกำลังฝึกตามแบบนี้เช่นเดียวกันครับ.
     
  6. Nuk036

    Nuk036 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +99
    ขอบคุณครับ..

    เอ...แต่เห็นหลวงพ่อ ท่านบอกว่า พุทธานุสติสามารถทำได้ถึง ฌาน4 ไม่ใช่หรือครับ??
     
  7. Scorpius

    Scorpius เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +647
    พุทธานุสสติเนื้อแท้ถึงอุปจารสมาธิครับ แต่ถ้าควบอานาปานุสสติได้ถึงณาน ๔ ครับผม :)
     
  8. Scorpius

    Scorpius เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +647
    เคยอ่านที่หลวงพ่อบอก ท่านประยุกต์เพิ่มเติม ให้พุทธานุสสติเป็นวิปัสสนาได้ ...สุดยอดมาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...