ภวัคคพรหมหมายถึงพรหมประเภทไหน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 21 กันยายน 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ภวัคคพรหมหมายถึงพรหมประเภทไหน


    ถาม ภวัคคพรหมหมายถึงพรหมประเภทไหน

    ตอบ ในเรื่องภวัคคพรหมนี้หมายถึงพรหมที่อยู่ในยอดภพ คืออยู่ในภพสูงสุด ก็บุคคลที่เป็นพรหมนั้นย่อมเกิดในพรหมภูมิ ไม่เกิดในภูมิอื่น ไม่ว่าจะเป็นมนุสสภูมิหรือเทวภูมิ ๖ ชั้น

    พรหมภูมินั้นมีอยู่ ๒๐ ภูมิ คือภูมิของพรหมที่มีขันธ์ ๕ ครบ มี ๑๕ ภูมิคือ
    ปฐมฌานภูมิ ๓ ชั้น ทุติยฌานภูมิ ๓ ตติยฌานภูมิ ๓ ชั้น จตุตถฌานภูมิ ๖ ชั้น กับภูมิที่มีขันธ์เดียวคือรูปขันธ์อีก ๑ ภูมิคืออสัญญสัตตภูมิ ๑
    จึงเป็นรูปพรหมภูมิ ๑๖ ชั้น กับภูมิของอรูปพรหมอีก ๔ ชั้น
    จึงรวมเป็นพรหมภูมิ ๒๐ ชั้น

    ภูมิที่สูงสุดในฝ่ายรูปพรหมภูมิมี ๒ ภูมิ คือเวหัปผลาภูมิ กับอกนิษฐาภูมิ
    ภูมิที่สูงสุดในฝ่ายอรูปพรหมภูมิคือ เนวสัญญายตนะภูมิ


    ภูมิทั้ง ๓ นี้ท่านจัดไว้เป็นยอดภูมิ กล่าวคือ เวหัปผลาภูมินั้นจัดเป็นยอดภูมิของปุถุชน หมายความว่าปุถุชนที่ได้รูปฌานต้องเกิดในพรหมภูมิแน่นอน แต่เกิดได้อย่างสูงสุดก็เพียงเวหัปผลาภูมิเท่านั้น ไม่เกิดสูงกว่านั้น เพราะฉะนั้น เวหัปผลาภูมิจึงเป็นยอดภูมิของปุถุชน เรียกว่าปุถุชนภวัคคะ

    ส่วนสุทธาวาสภูมิอีก ๕ ชั้น มี อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิษฐานั้น เป็นภูมิที่อยู่ของพระอนาคามีที่ได้จตุตถฌานที่ ๔ โดยจตุกนัย หรือปัญจมฌาน ฌานที่ ๕ โดยปัญจกนัยเท่านั้น ผู้ที่ไม่ได้ฌานที่ ๔ หรือ ฌานที่ ๕ และไม่ใช่พระอนาคามีแล้วจะขึ้นไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ ๕ ภูมินี้ไม่ได้เด็ดขาด ใน ๕ ภูมินี้ อกนิษฐาภูมิเป็นยอดภูมิ เป็นภูมิสูงสุด จัดเป็นอริยภวัคคะ คือยอดภูมิของพระอริยะ

    สำหรับยอดภูมิทั้งสองที่กล่าวมาแล้ว เป็นพรหมภูมิของพรหมที่มีขันธ์ ๕ ครบเรียกว่าเป็นยอดภูมิของปัญจโวการภูมิ

    ส่วนยอดภูมิของพรหมที่มีเพียงนามขันธ์ ๔ ขันธ์ ไม่มีรูปขันธ์ ที่เรียกว่า<WBR>จตุ<WBR>โว<WBR>การ<WBR>ภูมิ<WBR>นั้น คือเนวสัญญานาสัญญายตนะภูมิ อรูปพรหมภูมิ ภูมินี้จัดเป็นยอดภูมิของทั้งปุถุชนและพระอริยบุคคลที่ได้อรูปฌานที่ ๔ คือได้เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน หมายความว่าปุถุชนที่ได้อรูปฌานที่ ๔ ตายแล้วต้องเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนะภูมินี้ ไม่เกิดที่อื่น แม้พระอริยบุคคลมีพระโสดาบัน จนถึงพระอนาคามีที่ได้อรูปฌานที่ ๔<WBR> ก็ต้องเกิดในเนวสัญญานาสัญญยตนะภูมินี้เท่านั้นไม่เกิดที่อื่น

    เพราะฉะนั้น เนวสัญญานาสัญญยตนะภูมิจึงได้ชื่อว่า สัพพภวัคคะ คือยอดภูมิของทั้งปุถุชนและพระอริยบุคคลที่มีเพียงนามขันธ์ ๔

    นี่เป็นการแบ่งยอดภูมิโดยละเอียด
    แต่สำหรับบางแห่ง ท่านมุ่งเอายอดภูมิที่มีขันธ์ ๕ คือสุทธาวาสภูมิชั้นที่ ๕ คือ<WBR>อกนิษฐา<WBR>ภูมิ<WBR>เท่านั้นก็มี

    ขอสรุปว่า ภวัคคพรหมนั้นหมายถึง พรหมที่อยู่ในยอดภูมิทั้ง ๓ ภูมิใดภูมิหนึ่ง คือ<WBR>เวหัปผลาภูมิ ๑ อกนิษฐาภูมิ ๑ และเนวสัญญานาสัญญยตนะภูมิอีก ๑
    <CENTER>________________________________________</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=11</CENTER>
     
  2. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    อสัญญสัตตพรหมตายแล้วเกิดใหม่ได้อย่างไร

    ถาม มนุษย์ที่ทำฌานไปเกิดเป็นอสัญญสัตตพรหม มีแต่รูปอย่างเดียวไม่มีนาม เมื่อจุติจากอสัญญสัตตพรหมนั้นแล้ว ไปเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็มีนามอีก อยากทราบว่าจุติจิตใน<WBR>ภพ<WBR>ก่อน<WBR>ที่เป็นมนุษย์สืบต่อกับปฏิสนธิจิตที่เป็นเทวดาหรือมนุษย์ในภพใหม่ได้อย่างไร

    ตอบ ถ้าจะตอบแต่เพียงสั้นๆ ก็ตอบแต่เพียงว่า นามคือจุติในภพก่อนเป็นอ<WBR>สัญญ<WBR>สัตต<WBR>พรหม ซึ่งดับไปแล้วสืบต่อกับนามคือปฏิสนธิจิตในภพใหม่ หลังจากจุติจากอสัญญสัตตพรหมแล้วได้ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย คือไม่มีจิตอื่นมาเกิดคั่น<WBR>ระหว่าง<WBR>จุติ<WBR>จิต<WBR>ใน<WBR>ภพ<WBR>ก่อน กับ<WBR>ปฏิ<WBR>สนธิ<WBR>จิต<WBR>ใน<WBR>ภพ<WBR>ใหม่ แม้<WBR>ว่า<WBR>ระยะ<WBR>เวลาที่ไม่มีจิตอื่นเกิดคั่นนั้นจะยาวนานถึง ๕๐๐ กัป ทั้งนี้ ก็เพราะอายุของอสัญญสัตตพรหมยืนยาวถึง ๕๐๐ กัป การสืบต่อของจิตดวงหนึ่งกับจิตอีกดวงหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นจิตอะไรก็ตามโดยที่ไม่มีจิตอื่นมาคั่น แม้ว่าจะเว้นระยะเวลาห่างกันนานเท่าไรก็ตาม การสืบต่อนั้นเป็นไปด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย

    นี่ก็ตอบตามหลักฐานในพระอภิธรรมคัมภีร์ปัฏฐาน ซึ่งคำตอบนี้ทำให้ทราบว่า ธรรมทั้ง<WBR>หลายเกิดแต่เหตุแต่ปัจจัยทั้งสิ้น ไม่มีใครบังคับบัญชาให้เป็นไปตามใจชอบได้ การตอบตามหลัก<WBR>ฐาน<WBR>อภิ<WBR>ธรรมนั้นอาจจะเข้าใจยาก แต่ก็ไม่ทราบว่าจะตอบให้เข้าใจง่ายกว่านี้ได้อย่างไร เพราะ<WBR>จิต<WBR>ไม่<WBR>มี<WBR>รูป<WBR>ร่าง<WBR>จึงไม่อาจเทียบกับอะไรได้ เพราะฉะนั้นก็ขอตอบเพียงเท่านี้

    http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=40
     
  3. aof_dhamma

    aof_dhamma สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2008
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +7
    สวัสดี ครับ อนุโมทนาบุญ สาธุ ผมไม่รู้เรื่องเท่าไหร่เกียวกับพรหม พรหมก็ดี แต่ไปนิพพานเลยดีกว่า สาธุ สาธุ สาธุ ครับ
     
  4. ปัจเจกพุทธะ

    ปัจเจกพุทธะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +121
    อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะ สีละ เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจาธิฏฐานะเมตตุเปกขา ยุทธายะ โว คัณหะถะอาวุธานีติ.
    ดูก่อนพระบารมีทั้งหลาย ขอเชิญพระบารมีคือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐานะ เมตตา และอุเบกขา จงมาที่นี่โดยเร็วพลัน แล้วพากันถือเอาอาวุธ เพื่อยุทธ์กับพญามาร (กิเลส) เถิด.
    อนุโมทนาครับ.
    บริจาคเงินช่วยวัดพระบาทน้ำพุ
    โทร.1900-222-200 6บาท/นาที
     

แชร์หน้านี้

Loading...