มรดกธรรม-จิตรกรรมฝาผนัง งานฝีมือบรรพบุรุษชาวอีสาน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย paang, 16 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,326
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    มรดกธรรม-จิตรกรรมฝาผนัง งานฝีมือบรรพบุรุษชาวอีสาน




    </TD><TD vAlign=top align=right>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    ในช่วงเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา สำหรับพุทธศาสนิกชนที่ต้องการเข้าวัดทำบุญหรือท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมตามวัดต่างๆ ไม่ควรพลาดที่จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเขต อ.นาดูน จ.มหาสารคาม

    ด้วยนอกจากจะได้นมัสการองค์พระธาตุนาดูน ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อความเป็นมงคลแก่ชีวิตแล้ว ยังมีแหล่งท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียงอีก 2 แห่ง คือ สิมหรืออุโบสถ วัดป่าเรไรและวัดโพธาราม มีอายุกว่า 100 ปี

    ถือได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนอีสาน อันทรงคุณค่าและน่าศึกษาเพราะภายในสิม ทั้ง 2 วัด มี "ฮูบแต้ม" หรือจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือของบรรพบุรุษชาวอีสานได้สร้างสรรค์ผลงาน เพื่อเป็นพุทธบูชา รวมทั้งเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    ยังคงสภาพสมบูรณ์ปรากฏให้เห็นอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน

    "วัดป่าเรไร" ตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านหนองพอก ต.ดงบัง ห่างจาก อ.นาดูน ไม่เกิน 10 กิโลเมตร การคมนาคมสะดวก ถนนลาดยางตลอด ตามหลักฐานเป็นวัดเก่าแก่โบราณ สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2224 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปีพ.ศ.2460 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมชื่อวัดหนองพอก ในปีพ.ศ.2485 เปลี่ยนชื่อเป็นวัดป่าเรไร

    ภายในวัดมีอุโบสถ หรือ สิม ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นเอกลักษณ์พื้นบ้านอีสาน และบริเวณผนังของสิม จะมีภาพชาวบ้านเรียกว่า ฮูบแต้ม วาดไว้ทั้งผนังด้านในและด้านนอก

    ปรากฏหลักฐานฝีมือช่างพื้นเมือง ชื่อ "นายสิงห์" ไม่ปรากฏนามสกุล เป็นภาพที่เขียนด้วยสีฝุ่น คือ สีน้ำตาล เขียวคราม น้ำเงิน เป็นหลัก ผนังด้านในเขียนเรื่องพุทธประวัติ พระมาลัย และเวสสันดรชาดก

    ข้อมูลการสำรวจของกรมศิลปากรยืนยันว่า สิมและภาพฮูบแต้ม น่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี

    ส่วนสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ปรากฏ ฮูบแต้ม ไม่ห่างจากวัดป่าเรไร คือ สิม ของวัดโพธาราม บ้านดงบัง ต.ดงบัง เส้นทางการคมนาคมสะดวกถนนลาดยางเชื่อมโยงถึงกัน

    สำหรับสิมของวัดโพธาราม กรมศิลปากรไม่ได้จารึกข้อความใดๆ ไว้ที่วัด แต่มีการบูรณะซ่อมแซมหลังคาใหม่หมดเนื่องจากของเดิมอยู่ในสภาพทรุดโทรม ส่วนตัวสิมและภาพจิตรกรรมยังคงสภาพไว้เหมือนเดิม

    พระครูพิสัยนวการ อดีตเจ้าอาวาส สมัยเมื่อยังคงมีชีวิตอยู่ เคยเล่าให้ญาติโยมฟังว่า สิมหลังนี้ก่อสร้างมาไม่ต่ำกว่า 100 ปี สมัยท่านยังเป็นเด็กเคยมาวิ่งเล่นที่วัด ส่วนผู้เขียนภาพทราบว่า คือ นายสิงห์ ช่างคนเดียวที่วาดภาพไว้ที่สิมวัดป่าเรไร และช่างที่ก่อสร้างสิมก็เป็นช่างกลุ่มเดียวกัน

    ฮูบแต้ม ที่สิมแห่งนี้ เขียนด้วยสีฝุ่น ในวรรณะเย็น เช่นเดียวกับที่ปรากฏอยู่ในสิมวัดป่าเรไร ภายในวาดภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ ผนังด้านตะวันตก หลังพระประธานเป็นรูปพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี มีพระภิกษุ 2 รูป เทวบุตร เทพธิดา 2 องค์ และช้าง 1 เชือก ส่วนผนังด้านทิศตะวันออก เขียนเป็นรูปเจดีย์พระพุทธเจ้า และภาพชาย-หญิง

    ผนังด้านนอกเขียนเป็นภาพเล่าเรื่องพระเวสสันดรชาดก

    ผนังด้านตะวันตก เล่าเรื่องปฐมเหตุพระพุทธเจ้าเสด็จออกผนวช นอกจากนี้ ยังมีภาพวาดที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนอีสาน เป็นภาพการทำนา ทอดแหหาปลา ผนังด้านตะวันตกยังมีภาพผู้ชายฝรั่งต่างชาติ สังเกตได้ชัดเจนเพราะช่างจะเน้นให้เห็นรูปร่างที่สูงใหญ่ ใส่หมวกทรงสูง สวมรองเท้าบู๊ตปลายงอน ยืนโอบกอดผู้หญิง สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อ 100 ปีก่อน เคยมีฝรั่งต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่ในภาคอีสานแล้ว

    ภาพวิถีชีวิตชุมชนถือเป็นเอกลักษณ์ของช่างอีสาน ภาพจิตรกรรมที่วาดไว้ตามสถานที่ต่างๆ จะวาดสอดแทรกไว้ ทำให้ผู้มาเที่ยวชมฮูบแต้ม นอกจากจะได้ทราบเรื่องราวทางด้านพุทธศาสนา ยังได้ทราบเรื่องราวการดำรงชีวิตของคนอีสานในอดีตด้วย

    พุทธศาสนิกชนที่มาชื่นชมภาพฮูบแต้มหรือจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างอีสานโบราณที่วัด ทั้ง 2 แห่ง ควรเที่ยวชมดื่มด่ำด้วยความสุนทรีย์อย่างคนที่มีวัฒนธรรม

    อย่ากระทำการใด อันจะทำให้ฮูบแต้มได้รับความเสียหาย แม้ภาพเหล่านั้นจะไม่ยิ่งใหญ่อลังการ แต่เป็นศิลปะที่เต็มเปี่ยมด้วยจิตวิญญาณ สร้างขึ้นด้วยศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่อองค์พระตถาคต เพื่อรับใช้พระพุทธศาสนา

    สืบทอดเป็นมรดกที่อนุชนคนรุ่นหลัง สมควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้สืบไป

    ที่มา http://www.matichon.co.th/khaosod/
     

แชร์หน้านี้

Loading...