มารวบรวมศัพท์แสง วงการพระเครื่องกันเถอะครับ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Phaake, 17 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. Phaake

    Phaake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,818
    ค่าพลัง:
    +319

    เป็นความรู้ ไม่เสียหายนะครับ ใครทราบศัพท์อะไรอีกมาช่วยกันลงนะครับ
     
  2. Phaake

    Phaake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,818
    ค่าพลัง:
    +319
    ศัพท์วันนี้

    ทอดแห้ง



    ที่มา เซียนบอกว่า "พระสมเด็จองค์นี้ทอดแห้ง" ลองชมครับ
    http://palungjit.org/threads/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%87-%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A.326597/
     
  3. Phaake

    Phaake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,818
    ค่าพลัง:
    +319
    เซียน
    หมายถึง ผู้รู้ หรือ ผู้มีความชำนาญ เชี่ยวชาญในวงการ ถ้าเป็น เซียนใหญ่ ก็จะเป็นการเรียกผู้ทำการเช่า-ให้เช่าบูชาพระเป็นหลักล้านขึ้นไป แต่ถ้าเป็นพวกดูพระไม่เป็นแล้ววางท่าเป็นเซียนเขาเรียกว่า "เสี้ยน" คือ พวกอยากจะเป็นเซียนแต่เป็นไม่ได้สักที

    รังพระ
    เป็นคัพท์ที่ใช้เรียก ผู้นิยมสะสมพระเครื่องพระบูชาและเหรียญคณาจารย์ ส่วนใหญ่จะมีเซียนคู่ใจคอยเช่าหาพระให้ รังพระใหญ่ๆ ในอดีตจะหมายถึง ผู้มีอันจะกินที่นิยมเก็บสะสมด้วยความรักความชอบ รังพระใหญ่ๆ ระดับประเทศมักจะสะสมพระชุดเบญจภาคีเป็นหลัก อาทิ รังคุณเสถียร เสถียรสุต รังคุณนิยม อสุนีย์ ณ อยุธยา รังคุณฉลี ยงค์สุนทร รังคุณบุญยงค์ นิ่มสมบูรณ์ รังคุณไชยทัศน์ เตชะไพบูลย์ รังคุณนิพนธ์ พร้อมพันธ์ รังผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ รังคุณปรีดา อภิปุญญา รังเจ๊แจ๊ว ซึ่งเป็นอดีตภรรยาของจอมพลท่านหนึ่งในอดีต รังครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นต้น ซึ่งรังพระบางรังก็จะมีการ "ย้ายรัง" คือเปลี่ยนมือ ภาษาพระเขาเรียก "รังแตก" พอแตกทีหนึ่งก็จะเป็นที่ฮือฮา พราะทำให้ประวัติศาสตร์การเก็บสะสมพระเปลี่ยนไปด้วย

    แห่-สวด
    หมายถึง การนำพระที่ติดต่อขอเช่าบูชาไปให้เซียนอื่นๆ ตรวจสอบดูอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมักจะโดน "สวด" เช่น สวดว่าเก๊ หัก ซ่อม ไม่สวย สึก แพง ฯลฯ เป็นต้น หากผู้นำพระไปแห่ไม่มีความรู้หรือใจคอไม่หนักแน่น ก็จะต้อง "คืน" ซึ่งส่วนมากเซียนที่มีเกรดและมีเครดิตก็จะรับคืนเพราะถือว่าพระตนเองแท้ และลูกค้าที่ชอบนำพระไป "แห่" มักจะไม่ค่อยได้รับการต้อนรับจากบรรดาเซียนๆ เช่นกัน
    การนำพระที่เราเช่า (ซื้อ) มาหรือได้มาแบบฟรีๆ ไปทำการตรวจเช็คว่าแท้หรือไม่ โดยการนำไปตรวจเช็คจะต้องให้เซียนพระในสนามพระหลายๆคนดู อย่างนี้เรียกว่า "แห่พระ" การแห่พระนั้นโดยมากจะทำก็ต่อเมื่อ พระที่ได้รับมานั้นเจ้าของพระไม่มั่นใจว่าพระองค์นั้นๆ แท้หรือไม่จึงต้องนำไปแห่หากแห่แล้วเซียนพระขอเช่า (ซื้อ) หรือต่อรองราคา แสดงว่าพระองค์นั้นเป็นพระแท้ครับ

    เหยียบเท้า
    เมื่อมีการแห่พระ หรือการส่งพระเข้าประกวด มักจะได้ยินศัพท์คำว่า "เหยียบเท้า" หมายถึง การสนับสนุนและไม่ "สวด" เนื่องจากอาจมีข้อตกลงในการแบ่งปันผลประโยชน์ หรืออาจมีความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างเซียนต่อเซียนด้วยกัน บางคนก็จำต้องยอมทำใจให้เหยียบเท้า ไม่งั้นถึงคราวตัวเองบ้างอาจโดนสวดได้

    ไทเกอร์
    มาจากคำว่า "จับเสือมือเปล่า" โดยนำคำว่า "เสือ" มาเรียกในภาษาอังกฤษว่า ไทเกอร์ หมายถึงการไม่ลงทุนเช่าพระแล้วไปปล่อยเอง หากแต่ "หยิบ" โดยอาศัยเครดิตของตัวเองค้ำประกันแล้วนำไปทำกำไรต่อ บางครั้งเซียนก็มีความจำเป็นต้องไทเกอร์ เนื่องจากไม่มีของอยู่ในมือ และคนให้เช่าก็ต้องยอม เนื่องจากไม่มีลูกค้าหรือได้ราคาน้อยกว่าหากจะปล่อยเอง

    นอกจากนี้ ยังมีศัพท์เฉพาะและวิธีการเรียกขานต่างๆ ที่น่าสนใจอันแสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะของสังคมวงการพระเครื่องอีกมากมาย อาทิ "นั้ง" คือ เข้าหุ้น, "เช็ง" คือ เปอร์เซ็นต์, "สะรู้ตู้" หรือ "ฝิ่น" คือ พระปลอม, ตอกตะปู, บาท, ตกควาย และตุ๊ง เป็นต้น อันแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของวงการพระเครื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบันที่น่าศึกษาเป็นที่ยิ่งครับผม

    คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง :โดย ราม วัชรประดิษฐ์

    เช่า/ทอน (ซื้อพระ)
    วงการพระเครื่อง ในการซื้อพระบางครั้งจะไม่นิยมพูดกันว่า"ซื้อพระ"แต่มักจะใช้คำว่า "เช่าพระ" หรือคนภาคใต้มักใช้คำว่า "ทอนพระ" สันนิฐานว่าอาจจะเป็นเพราะในอดีตที่มีการเริ่มเล่นพระกัน แล้วมีเงินมาเป็นตัวกลางสำหรับการแลกเปลี่ยน คนสมัยก่อนอาจจะรู้สึกแปลกๆ ที่จะใช้คำว่า "ซื้อพระ" จึงหลีกเลี่ยงมาใช้คำว่า"เช่าพระ"ซึ่งจะฟังดูดีกว่าคับ

    ปล่อยพระ
    (ขายพระ) วงการพระเครื่อง ในการขายพระบางครั้งจะไม่นิยมพูดกันว่า "ขายพระ" แต่มักจะใช้คำว่าปล่อยพระ

    นั้ง (หุ้นกันซื้อพระ)
    หมายถึงการลงทุนเช่า(ซื้อ) พระ โดยนำเงินมารวมกันหลายคน เมื่อปล่อย(ขาย) พระได้แล้ว ก็นำเงินที่ได้มาแบ่งกันตามอัตราส่วนของเงินที่ลงไป เช่น นาย ก.ต้องการเช่าพระราคา ๑ ล้านบาท แต่มีเงินไม่พอจึงไปชวนนาย ข. มานั้งเพื่อเช่าพระองค์นี้ คนละ ๕ แสนบาท เมื่อปล่อยพระองค์นี้ได้ ก็นำเงินมาแบ่งกัน การนั้งในบางครั้งเป็นการลดความเสี่ยงกรณีที่พระมีราคาสูง เพราะหากเช่าพระเพียงคนเดียวแล้วเกิดเป็นพระปลอมก็จะเจ็บตัวเยอะ แต่โดยมากท่าเป็นเซียนใหญ่จริงๆ มักจะไม่นั้งครับ เพราะจะได้กำไรน้อย ยกเว้นสนิทกันจริงๆถึงจะยอมนั้ง

    โดน
    หมายถึงการเช่าพระปลอมมาไม่ว่าราคาเท่าไหร่ก็ตาม โดยขณะเช่ามาไม่รู้ตัวว่าเป็นพระปลอม(เก๊) เมื่อเช่ามาแล้วถึงรู้ว่าปลอมแบบนี้เรียก"โดน"

    พระลูกย่อย, พระน้ำจิ้ม
    หมายถึงพระที่มีราคายังไม่สูงมากนัก(หลักร้อยถึงพันต้นๆ) คือเป็นพระรุ่นหลังๆ แต่วงการเช่าหากัน สรุปคือมีราคาแต่ยังไม่แพง อย่างนี้เรียกว่า "ลูกย่อย" แต่ถ้าท่านไปเช่าพระที่มีราคาแพงและนิยมแล้วเจ้าของร้านแถมพระให้โดยไม่คิดมูลค่า พระแถมนี้จะเรียกว่า "พระน้ำจิ้ม"

    ของหลัก, พระหลัก
    คือพระยอดนิยม และมีราคาค่อนข้างสูง (ประมาณหลักหมื่นขึ้นไป) ซึ่งไม่ว่าจะนำไปปล่อยที่สนามพระไหนก็จะมีคนขอเช่าเสมอ แต่ของหลักบางครั้งถ้ามีสภาพพระที่ไม่สวย ราคาอาจจะไม่สูงครับ

    ของเล่นได้/ของเล่น
    มีสองความหมายครับ คือ ๑. หมายถึงพระที่นำไปปล่อยให้เช่าได้ โดยไม่สนใจว่าจะแท้หรือเก๊ (ก้ำกึ่งระหว่างแท้กับเก๊) อย่างนี้เรียกว่า "ของเล่นได้" หรือ๒. หมายถึงของเก๊ที่ดูง่ายๆ คือ เก๊ซึ่งไม่เหมือนหรือไม่ใกล้เคียงกับของแท้เลย อย่างนี้เรียกว่า "ของเล่น"

    สวยแชมป์,กริ๊บๆ, เดิมๆ
    พระที่สวยมากๆ มีความคมชัด เมื่อนำไปประกวดในงานประกวดพระที่ไหนก็ตาม แล้วมักจะได้รับรางวัลที่ ๑ อยู่เสมออย่างนี้เรียกว่า"พระสวยแชมป์" หากเป็นพระที่สวย อยู่ในสภาพที่ดีและไม่เคยนำมาห้อยคอหรือสัมผัสโดนมือเลยจะเรียกว่า "กริ๊บๆ" หรือ "เดิมๆ"

    แท้แต่ไกล, ดูง่าย
    พระที่ดูง่ายๆ ไม่ต้องใช้กล้องส่องดูคือเพียงเห็นพระก็บอกได้เลยว่าเป็นพระแท้อย่างนี้เรียกว่า "แท้แต่ไกล" หรือ"พระดูง่าย" ถ้าเป็นพระแท้แต่อาจจะดูก้ำกึ่งว่าแท้หรือเก๊ เซียนพระอาจจะบอกว่าเป็น"พระดูยาก"

    ตกควาย (ขายผิดราคา)
    "ตกควาย" คำคำนี้ไม่ได้หมายถึงเราขึ้นไปขี่หลังควายแล้วตกลงมานะครับ"ตกควาย"ในวงการพระคือการที่เราเช่า(ซื้อ) พระมาราคาหนึ่งแล้วปล่อย (ขาย) พระออกไปในราคาที่ถูกกว่าต้นทุน หรือราคาที่ปล่อยไปต่ำกว่าราคาที่จะเปนในท้องตลาด

    พระมีประสบการณ์
    คือพระที่มีพระพุทธคุณเด่นไปในทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดหรืออภินิหารจากที่ต่างๆ ซึ่งส่งผลให้มีการร่ำลือกันอย่างแพร่หลาย เช่น เมื่อแขวนแล้วรถชน รถคว่ำแต่คนแขวนพระองค์นั้นกลับไม่เป็นอะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2012
  4. Phaake

    Phaake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,818
    ค่าพลัง:
    +319
    พระเก๊
    พอ ใครนำพระมาเสนอก็ให้ตีเก๊เอาไว้ก่อน เพื่อให้ผู้เสนอเสียขวัญและกำลังใจ แล้วจะได้ซื้อในราคาถูก กลวิธีแบบนี้ใช้ได้เฉพาะผู้ที่ใหม่ ซิงๆ ในวงการเท่านั้น ถ้าหากผู้เสนอพอมีความรู้อยู่บ้างก็อาจจะถูกด่าในใจและหมดความเคารพนับถือ ทันที


    พระผิดพิมพ์
    พระที่เกิดจากการพิมพ์ปั๊มหรือหล่อก็ตาม จะให้เหมือนแม่พิมพ์ 100 เปอร์เซ็นต์เป็นไปไม่ได้ ตัวอย่างสมเด็จพระบางขุนพรมหรือวัดระฆังองค์พระอาจโย้ เส้นแซมอาจจะติดไม่คมชัด ฉะนั้นหากผู้เสนอไม่แม่นพิมพ์จริง ก็จะเสียรู้ทันทีเมื่อบอกว่าผิดพิมพ์และสามารถเช่าในราคาที่ต่ำ

    เปลี่ยนพระ
    ส่วน มากมักเกิดกับลูกค้าหน้าใหม่ในวงการพระ พอนำพระมาเสนอมักจะถามว่าเท่าไหร่ เช่นตอบว่า 4 พันบาท ก็จะต่อรองว่า 2 พันได้มั้ย หากลูกค้าตกลง ก็ให้รออยู่หน้าแผง แล้วนำพระไปให้เพื่อนดูก่อน แล้วก็เอาพระเก๊ที่คล้ายคลึงกันมาคืนให้แล้วบอกว่าไม่ชอบ ทำให้ลูกค้าเกิดความงุนงง แต่ไม่สามารถทำอะไรได้ พูดง่ายๆ ก็คือโกงซึ่งๆ หน้านั้นเอง

    เมื่อมีลูกค้านำพระมาเสนอขายให้ เซียนก็จะเสนอซื้อทีละหลายองค์เพื่อเหมารวม เช่น เอา 5 องค์เท่านั้นเท่านี้ โดยเอาพระองค์ที่ไม่ต้องการหรือองค์ที่เก๊รวมอยู่ด้วย พอตกลงก็จะเปลี่ยนใจเป็น 2 องค์บ้าง ที่แท้หวังเพียงพระแท้องค์เดียวเท่านั้น เพราะเช่าทีละหลายองค์ราคาก็จะถูกกว่า


    เดินหนี
    บางคนมีความใจ แข็งมากพอที่ต้องการราคาถูกที่สุด หากผู้เสนอขายไม่ยอมลดให้ก็แกล้งเป็นเดินหนี แต่หากผู้ขายกำลังร้อนเงินจริงๆ วิธีนี้ก็ใช้ได้ผล แต่ผิดคุณธรรมนักสะสมที่ดี

    เมื่อซื้อได้ราคาถูกแล้ว ต่อไปก็นำพระไปขายในราคาแพง ส่วนจะได้กำไรเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของบคคล

    พุทธคุณ
    คำนี้ใช้กันเป็นประจำและได้ยินบ่อยที่สุด ความหมายคือ อานุภาพหรือ ความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระที่เราแขวนคอ


    กรุ
    เรา จะได้ยินอยู่เสมอว่าพระองค์นี้เป็นพระกรุ พระเก่า กรุ คือห้องหรือสถานที่บรรจุพระเครื่อง พระบูชา หรือสมบัติต่างๆ คนสมัยโบราณได้สร้างเอาไว้ใต้ดินที่ทำไว้ใต้ฐานเจดีย์ พระเครื่องที่ถูกฝังเอาไว้เป็นเวลา นานๆ เป็นร้อยปีขี้นไป องค์พระจะคราบกรุ หรือคราบนวลกรุ สนิมขุมราดำในพระเนื้อชิน ปรากฏให้เห็น พระที่ขึ้นมาจากกรุส่วนมากจะได้รับความนิยมอย่างสูงเพราะถือเป็นของแท้ของ จริง แต่ปัจจุบันหากได้ข่าวว่ากรุแตกค้นพบเจอพระเครื่องจำนวนมากที่นั่นที่นี่ ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องหลอกลวงเสียซะมากกว่า


    ปลุกเสก
    คือวิธีการ เสกวัตถุมงคลให้มีความขลัง พิธีการส่วนใหญ่จะจัดแบบง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก แยกวัตถุมงคลออกเป็นหมวดหมู่ แล้วพระเกจิท่านก็จะเสกคาถาอาคมตามวัตถุที่กรรมการสร้างมาให้ท่านปลุกเสก เช่นพระเครื่อง พระพุทธรูป นางกวัก ปลัดขิก เป็นต้น พระท่านก็จะแยกปลุกเสกเพราะคาถาแต่ละอย่างใช้ไม่เหมือนกัน

    ตะกรุด
    ตาม ประวัติการสร้างตะกรุดมีหลายประเภทด้วยกัน เช่นตะกรุดโทน ตะกรุดสาริกา ตะกรุดมหาอุด ตะกรุดเมตตามหานิยม ฯลฯ ครั้งแต่โบราณนั้นพระเกจิอาจารย์ดังเวลาท่านสร้างแต่ละครั้งจะมีความละเอียด ในพิธีของการสร้างอย่างพิถีพิถันมาก

    คงกระพัน
    หมายถึง ความคงทนของผิวหนังที่ไม่ระคายต่อศาสตราวุธ มักจะใช้เต็มคำว่า คงกระพันชาตรี


    ผิดพิมพ์
    ความหมายคือพระปลอม พระเก๊ (ผิดพิมพ์ฟังแล้วนุ่มหูกว่าคำว่าพระปลอมเยอะ)


    แท้ แต่พิมพ์นี้เขาไม่นิยมกัน
    เป็นคำบอกปฎิเสธพระที่เก๊หรือไม่ชัดเจนฟังดูแล้วนุ่มนวล คือไม่อยากให้เจ้าของพระช้ำใจ ตอบแบบถนอมน้ำใจ ครับ


    ดูพระขาด ไม่ขาด
    คำนี้จะใช้กับเซียนพระ เช่นเซียนคนนั้นดูพระขาด ความหมายคือดูแม่นยำ ฟันธงลงไปเลยว่าแท้ไม่แท้ ปลอม เก๊


    พระฝีมือ
    เป็น คำเรียกประชดพระที่ทำลอกเลียนขึ้น พระฝีมือ คือพระปลอมที่เป็นผีมือมนุษย์พยายามทุกวิธีทางที่จะปั๊มขึ้นมาให้มีมวลสาร พิมพ์ ให้เหมือนของแท้มากที่สุด ส่วนใหญ่จะทำขึ้นด้วยจำนวนไม่มากเพราะกลัวคนจะจำได้ จะเน้นพระที่ราคาสูง เป็นที่นิยมกันในวงการ

    ถูกทุบ
    ความหมาย เป็นไปได้สองลักษณะ ถูกทุบคือถูกหลอกให้ซื้อพระเก๊ ทุบเขา คือขายพระเก๊ให้เขา

    ตกควาย
    หมาย ถึง ขายพระผิดราคา เช่นพระองค์นี้วงการเขาซื้อขายกันเป็น หมื่น แต่ดันขายไปในราคาต่างจากความเป็นจริงมาก เช่นขายแค่หลักร้อยอย่างนี้เรียกว่าตกควาย โดนขวิดตายสนิท

    คาบเส้น
    หมาย ถึงพระที่ขายไปไม่มีการรับคืนหรือรับประกัน พระเก๊พระแท้ไม่รู้ พูดง่าย ๆคือ ตาดีได้ ตาร้าย เสีย ส่วนมากจะเสียมากกว่าได้ คือซื้อพระเก๊มากกว่าได้พระแท้ ถ้าเป็นพระแท้เจ้าของมักรับรอง รับประกัน เก๊รับคืน แต่ราคาจะแพงกว่าสนามหน่อย

    บาท
    หมายถึง หลักร้อย ได้ยินคำว่าบาท ประมาทไม่ได้ หนึ่งบาทหมายถึง หนึ่งร้อยบาท สองบาท หมายถึงสองร้อยบาท วงการพระหรือแม้แต่วงการเล่นพนันฟุตบอลก็มักพูดกันเป็นประจำ เวลาเซียนต่อรองราคากัน เช่นองค์ละห้าบาท อย่าได้เข้าไปสุ่มสี่สุ่มห้านะครับ บอกขอผมเถอะผม ซื้อเองห้าบาท ระวังจะลำบากทีหลัง หรือไม่ก็เสียโง่ มีที่ไหนพระราคาองค์ละห้าบาท


    เนื้ออ่อน
    หมาย ถึง เนื้อพระจะต้องมีส่วนผสมที่ถูกต้อง เนื้อของใครของมัน เช่น เนื้อพระสมเด็จย่อมเป็นของพระสมเด็จ เนื้อของพระผงสุพรรณย่อมเป็นเนื้อพระของผงสุพรรณ ถ้าเนื้อไม่เข้ากันของเนื้อพระนั้นๆ อย่างนี้เรียกว่า เนื้ออ่อน

    สะรู้ตู๊

    ฟังคล้ายภาษาเขมรคำนี้ หมายถึงพระเก๊ ท่านที่นำพระมาให้ดู ผู้ที่ดูรู้ว่าเป็นพระเก๊ จะบอกกันตรงๆ ก็กลัวจะเสียใจ หรืออาจจะไม่ยอมรับก็ได้จึงบ่ายเบี่ยงพูดไปมาว่า สะรู้ตู้ ซึ่งเป็นอันเข้าใจในหมู่นักเล่นพระว่า เก๊


    การ์ดสูง
    คำนี้วงการ หมัดมวยใช้กันบ่อย ในวงการพระเครื่องก็นำมาใช้ในลักษณะเปรียบเทียบทำนองเดียวกัน ส่วนมากคำนี้มักจะใช้กับนักเล่นมือใหม่ คือไม่ทราบราคาพระที่ตัวเองถืออยู่ หรือไม่ก็เก๊ หรือแท้ จึงตีราคาสูงไว้ก่อนป้องกันขายผิดราคา สับเปลี่ยนพระเครื่องดัง อุทาหรณ์เจ้าของ-เซียน
     

แชร์หน้านี้

Loading...