มาเล่าประสบการณ์ ปิติ๕ กัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยศวดี, 10 พฤษภาคม 2012.

  1. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติคือ

    ระลึกถึงพระพุทธคุณ ๑
    ระลึกถึงพระธรรมคุณ ๑
    ระลึกถึงพระสังฆคุณ ๑
    ระลึกถึงศีล ๑
    ระลึกถึงการบริจาค ๑
    ระลึกถึงเทวดา ๑
    ระลึกถึงคุณพระนิพพาน ๑
    ความหลีกเว้นคนเศร้าหมอง ๑
    ความคบหาคนผ่องใส ๑
    ความพิจารณาแห่งพระสูตรอันชวนให้เกิดความเลื่อมใส ๑
    ความน้อมใจไปในปีตินั้น ๑.

    ปีติที่ท่านจัดไว้ก็มีอยู่ 5 ลักษณะคือ

    1. ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนลุกชัน – น้ำตาไหล
    2. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึกเหมือนฟ้าแลบ
    3. โอกกันติกาปีติ ปีติที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนระลอกคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง
    4. อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ที่ทำให้ร่างกายเบาหรือไม่สามารถที่จะเก็บเอาไว้ภายในได้ต้องเปล่งอุทานออกมา
    5. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วร่างกาย

    ปีติก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการบำเพ็ญเพื่อมรรค – ผล
    ทั้งในสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อทำเหตุในการเกิดขึ้นของปีติเป็นไปอย่างถูกต้อง
    ปีติก็จะส่งผลสนัีบสนุนให้จิตใจเชื่อมั่นในธรรมขั้นสูงๆขึ้นไปเรื่อยๆ
    จนถึงการรู้เห็นอย่างชัดเจนในธรรมแต่ละขั้น จิตก็สามารถปล่อยวางกิเลสตัณหาทั้งหลายได้ ด้วยความรู้ที่ถูกต้อง

    และปีติก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งโดยตรงของโพชฌงค์
    คือ โพชฌงค์นี้ แปลว่า องค์ประกอบแห่งการตรัสรู้มรรค - ผล


    อารมณ์ของพระปีติ 5 และ พระยุคลธรรม 6

    อารมณ์ของพระปีติธรรม ๕ ประการ

    ๑.พระขุททกาปีติ ปิติเล็กน้อย สมาธิเล็กน้อย ขณิกสมาธ ขั้นที่ ๑
    ๒.พระขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ สมาธิชั่วขณะ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๒
    ๓.พระโอกกันติกาปีติ ปีติเป็นพักๆ สมาธิเป็นพักๆ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๓
    ๔.พระอุพเพงคาปีติ ปีติโลดโผน สมาธิเต็มที่ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๔
    ๕.ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน สมาธิแผ่ซ่าน ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๕[/color]

    เข้าสับปีติห้าเป็นอนุโลม เข้าสับปีติห้าเป็นปฏิโลม
    รวมตั้งที่นาภี รวมตั้งที่นาภี

    ๑.ขุททกาปีติ (ดิน) ๑.ผรณาปีติ (อากาศ)
    ๒.โอกกันติกาปีติ(น้ำ) ๒.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
    ๓.ขณิกาปีติ (ไฟ) ๓.อุพเพงคาปีติ (ลม)
    ๔.อุพเพงคาปีติ (ลม) ๔.ขณิกาปีติ (ไฟ)
    ๕.โอกกันติกาปีติ(น้ำ) ๕.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
    ๖.ผรณาปีติ (อากาศ) ๖.ขุททกาปีติ (ดิน)

    เข้าคืบพระปีติห้าเป็นอนุโลม เข้าคืบพระปีติห้าเป็นปฏิโลม
    รวมตั้งที่นาภี รวมตั้งที่นาภี

    ๑.ขณิกาปีติ (ไฟ) ๑.ผรณาปีติ (อากาศ)
    ๒.อุพเพงคาปีติ (ลม) ๒.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
    ๓.ขุททกาปีติ (ดิน) ๓.ขุททกาปีติ (ดิน)
    ๔.โอกกันติกาปีติ (น้ำ) ๔.อุพเพงคาปีติ (ลม)
    ๕.ผรณาปีติ (อากาศ) ๕.ขณิกาปีติ (ไฟ)

    เข้าวัดออกวัดสะกดเป็นอนุโลม เข้าวัดออกวัดสะกดเป็นปฏิโลม

    ๑.ขุททกาปีติ (ดิน) ๑.ผรณาปีติ (อากาศ)
    ๒.ขณิกาปีติ (ไฟ) ๒.อุพเพงคาปีติ (ลม)
    ๓.โอกกันติกาปีติ (น้ำ) ๓.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
    ๔.อุพเพงคาปีติ (ลม) ๔.ขณิกาปีติ (ไฟ)
    ๕.ผรณาปีติ (อากาศ) ๕.ขุททกาปีติ (ดิน)

    การเข้าสับ เข้าคืบ เข้าวัด ออกวัด พระปีติห้า เป็นอนุโลมปฏิโลม ทำให้จิตชำนาญ แคล่วคล่อง เป็นวสี ในเบื้องต้น

    อารมณ์ของพระยุคลธรรม ๖ ประการ

    ๑.กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ กายสงบ จิตสงบ อุปจารสมาธิ สมาธิสงบ ขั้นที่ ๑
    ๒.กายลหุตา จิตลหุตา กายเบา จิตเบา อุปจารสมาธิ สมาธิเบา ขั้นที่ ๒
    ๓.กายมุทุตา จิตมุทุตา กายอ่อน จิตอ่อน อุปจารสมาธิ สมาธิอ่อน ขั้นที่ ๓
    ๔.กายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา กายควรแก่การงาน จิตควรแก่การงาน
    อุปจารสมาธิ สมาธิควรแก่การงาน ขั้นที่ ๔
    ๕.กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา กายแคล่วคล่อง จิตแคล่วคล่อง
    อุปจารสมาธิ สมาธิแคล่วคล่อง ขั้นที่ ๕
    ๖.กายุชุคคตา จิตตุชุคคตา กายตรง จิตตรง อุปจารสมาธิ สมาธิตรง ขั้นที่ ๖

    เข้าสับพระยุคลหกเป็นอนุโลม เข้าสับพระยุคลหกเป็นปฏิโลม
    รวมลงที่นาภี รวมลงที่นาภี

    ๑.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน) ๑.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน)
    ๒.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๒.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม)
    ๓.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๓.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ)
    ๔.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม) ๔.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
    ๕.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๕.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม)
    ๖.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ) ๖.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)
    ๗.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม) ๗.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
    ๘.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน) ๘.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน)

    เข้าคืบยุคลหกเป็นอนุโลม เข้าคืบยุคลหกเป็นปฏิโลม
    รวมลงที่นาภี รวมลงที่นาภี

    ๑.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน) ๑.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน)
    ๒.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๒.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา(ลม)
    ๓.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา(อากาศ) ๓.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)
    ๔.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๔.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา(อากาศ)
    ๕.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา(ลม) ๕.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
    ๖.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน) ๖.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน)

    เข้าวัดออกวัดสกดยุคลหก เข้าวัดออกวัดสะกดยุคลหก
    เป็นอนุโลม เป็นปฏิโลม

    ๑.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน) ๑.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน)
    ๒.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๒.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ)
    ๓.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๓.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม)
    ๔.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา(ลม) ๔.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
    ๕.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ) ๕.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)
    ๖.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน) ๖.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน)

    สุขสมาธิ ๒ ประการ

    ๑.กายสุข จิตสุข กายเป็นสุข(สบาย) จิตเป็นสุข(สบาย) อุปจารสมาธิขั้นประณีต เป็นอุปจารฌาน หรือรูปเทียม ของปฐมฌาน
    ๒.อุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ อุปจารสมาธิเต็มขั้น เป็น อุปจารฌาน เต็มขั้น

    เข้าวัดออกวัด เข้าสะกดพระสุขพระพุทธา เข้าวัดออกวัดเข้าสะกดพระสุขพระพุทธาเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลม

    ๑.พระกายสุข-จิตสุข ๑.พระอุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ
    ๒.อุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ ๒.พระกายสุขจิตสุข
    เมื่อปีติ ดำเนินไปถึงที่เต็มที่แล้ว ย่อมได้ความสงบแห่งจิตคือ ปัสสัทธิ เมื่อปัสสัทธิดำเนินไปถึงที่แล้ว เต็มที่แล้ว ย่อมได้ ความสุข คือสุขสมาธิ สุขดำเนินไปถึงที่แล้ว เต็มที่แล้ว จิตย่อมตั้งมั่น เป็นสมาธิคงที่
    อันห้องพระพุทธานุสสติ ขั้นแรกให้อาราธนาองค์พระกัมมัฏฐาน เอายัง พระลักษณะของ พระปีติ ๕ แต่ละองค์ พระยุคลธรรม๖ แต่ละองค์ พระสุขสมาธิ ๒ แต่ละองค์ เมื่อครบพระลักษณะกัมมัฏฐาน แล้วให้นั่งทวนอีกเที่ยวหนึ่ง เอายังพระรัศมี องค์พระปีติ ๕ แต่ละองค์ องค์พระยุคล ๖ แต่ละองค์ องค์พระสุขสมาธิ ๒ แต่ละองค์

    พระลักษณะ หรือ รูปนั้น เป็น บัญญัติ อาจ แปรปรวนเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน นิมิตที่เกิดขึ้นอาจเป็นนิมิตลวง นิมิตหลอน นิมิตหลอก หรือนิมิตอันเกิดจากอุปาทานได้
    ฉะนั้นพระอาจารย์เจ้าแต่ปางก่อน ท่านให้อาราธนานั่งเอายัง พระรัศมี ดวงธรรม หรือ สี อันเป็นรูปารมณ์ เป็นปรมัตถะ คือ จริงแท้แน่นอน ไม่แปรผัน การนั่งเอายังพระรัศมีองค์พระ เพื่อปรับจิต กันนิมิตหลอก นิมิตลวง กันนิมิตอุปาทาน ทำให้จิตมีอุปาทานในนิมิตน้อยลง เพราะพระพุทธานุสสติกัมมัฏฐานนี้มีแต่ อุคคหนิมิตประการเดียว หามีปฏิภาคนิมิตไม่, อุคคหนิมิตนี้ ย่อมเกิดในมโนทวาร ฉะนั้นนิมิตอาจเป็นนิมิตที่นึกขึ้นเอง คิดขึ้นเองก็ได้

    ลักษณะอาการ ของปีติ ยุคล สุข

    ๑.พระขุททกาปีติ เกิดขุนลุก หนังศรีษะพองสยองเกล้า
    ๒.ขณิกาปีติ เกิดในจักขุทวาร เป็นประกายเหมือนตีเหล็กไฟ เหมือนสายฟ้าแล็บ
    ๓.พระโอกกันติกาปีติ เกิดดังขี่เรือต้องระลอกคลื่น เกิดลมพัดไปทั่วกายก็มี
    ๔.พระอุพเพงคาปีติ เกิดให้กายเบา ให้กายลอยขึ้น หกคะเมน
    ๕.พระผรณาปีติ เกิดให้กายประดุจอาบน้ำ เย็นซาบซ่านทั่วสกลกาย
    ๖.กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ เกิดกายใจสงบระงับ ไม่กระวนกระวายฟุ้งซ่าน
    ๗.กายลหุตา จิตลหุตา ความเบากาย เบาใจไม่ง่วงเหงาหาวนอน
    ๘.กายมุทุตา จิตมุทุตา ความอ่อนไม่กระด้างของกาย และ จิต เริ่มข่มนิวรณ์ธรรมได้บ้าง
    ๙.กายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา กายจิตควรแก่การงาน ไม่มีกามฉันท์ วิจิกิจฉา
    ๑๐.กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา ความแคล่วคล่องแห่งกาย และ จิตไม่เฉี่อยชา
    ๑๑.กายุชุคคตา จิตตุชุคคตา ความเป็นสภาพตรงกาย และ จิต
    ๑๒.กายสุข จิตสุข ความสบายกาย ความสบายใจนำพาให้เกิดความตั้งมั่นของจิต คือสมาธิ
    ๑๓. อุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ จิตตั้งมั่นเป็นอุปจารพุทธานุสสติ สามารถข่ม
    นิวรณธรรมเป็น กามาวจรจิต เป็นอุปจารฌาน มีศีล เกิดปราโมทย์ เกิดปีติ ๕ ประการ เกิดยุคลธรรม ๖ ประการ เกิดสุขสมาธิ ๒ ประการ ย่อมทำให้สัมมาสมาธิสมบูรณ์ ปีติ เป็นราก เป็นเง่า เป็นเค้า เป็นมูล ของสมาธิ

    จาก คุณ ทรงกลด
    ที่มาของเว็บและเนื้อหาฑีฆายุโก โหตุ มหาราชา - วัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๒๐ คะ

    โมทนาสาธุคะ ทุกท่าน ขอให้เจริญในธรรม ยิ่งๆขึ้นไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2012
  2. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    เพิ่มเติม
    ปีติ 5

    1. ขุททกาปิติ มีลักษณะ คือ

    1.1 เกิดอาการคล้ายหนังหัวพองและขนลุก เป็นดังอาบน้ำในเวลาหนาว
    1.2 เกิดปรากฏเป็นดังเส้นผมดำละคายเพียงเล็กน้อย
    1.3 เกิดในหทัยวัตถุให้สั่นระรัวเป็นดั่งปั่นผลหมาก
    1.4 เกิดในกายเนื้อตัวหนักมึนตึงและเวียนอยู่

    2. ขณิกาปิติ มีลักษณะ คือ

    2.1 ให้ปรากฏในจักขุทวารเป็นดังฟ้าแลบและเป็นประกายดังตีเหล็กไฟ
    2.2 เกิดในกายทวารเป็นดังปลาซิวตอดในเวลาอาบน้ำ
    2.3 เกิดเนื้อเต้นและเอ็นกระดูก
    2.4 เกิดในกายให้ตัวร้อนทั่วไป
    2.5 เกิดแสบทั่วกาย ให้กายแข็งอยู่
    2.6 เกิดเป็นดั่งแมลงเม่าไต่ตอมตามตัว
    2.7 เกิดในอกให้หัวใจและท้องร้อน
    2.8 เกิดในใจสั่นไหว
    2.9 เกิดในกายให้เห็นกายเป็นสีเหลือง สีขาว เป็นไฟไหม้ น้ำมันยางลามไปในน้ำ

    3. โอกกันติกาปิติ มีลักษณะ คือ

    3.1 กายไหวดังคลื่นกระทบฝั่ง
    3.2 เป็นดั่งน้ำกระเพื่อมเกิดเป็นฟองน้ำ
    3.3 เกิดเป็นดั่งขี่เรือข้ามน้ำมีระลอก
    3.4 กายและใจเป็นดังไม้ปักไว้กลางสายน้ำไหล สั่นระรัวอยู่
    3.5 เป็นดังน้ำวน
    3.6 เป็นดังหัว อก ไหล่ และท้องน้อยหนัก ผัดผันอยู่
    3.7 เกิดวาบขึ้นเป็นดังไฟลุก
    3.8 เกิดเป็นลมพัดขึ้นทั่วกาย

    4. อุพเพงคาปิติ มีลักษณะ คือ

    4.1 เกิดพองกายเนื้อตัวทั้งมวลหวั่นไหวอยู่
    4.2 เกิดเต้นเหยง ๆ ขึ้น และลุกแล่นไป
    4.3 เกิดร้อนทั่วตัวและทั่วสันหลัง ศรีษะ สะเอว และท้องน้อย
    4.4 เกิดแสบร้อนเป็นไอขึ้นทั้งตัว เป็นดังไอข้าวสุกร้อน
    4.5 เกิดปวดท้องและปวงน่องเป็นดังลงท้องเป็นบิด
    4.6 กายและเนื้อตัวเบาและสูงขึ้น
    4.7 หนักขาแข้ง บั้นเอว ศรีษะ เป็นดังไข้จับ
    4.8 เกิดเป็นสมาธิหนัก และเย็นอยู่

    5. ผรณาปิติ มีลักษณะ คือ

    5.1 เกิดในจักขุทวาร ดูกายเนื้อตัวนั้นแผ่ไป ดูใหญ่และสูงขึ้น
    5.2 เกิดแผ่ไปทั่วกาย ให้ตัวเย็นเป็นดังลงแช่น้ำ
    5.3 กายยิบ ๆ แยบ ๆ เป็นดังไรไต่
    5.4 เป็นดังประกายไฟพุ่งออกจากกระบอก
    5.5 กายเบาเป็นดังนั่งและนอน อยู่เหนือสำลี
    5.6 กายหนาวสั่นตัวงอ และหนักหางตาเป็นดังอาบน้ำในฤดูหนาว
    5.7 กายอุ่นและไอขึ้น
    5.8 กายเย็นซาบซ่านทั่วตัว


    อ้างถึงคำสอนของท่านพระอาจารย์และข้อความที่ท่านเคยเขียนไว้ดังนี้

    ในหัวข้อ สภาวะธรรม...ปิติ...
    อ้างจาก: รวี สัจจะ... ที่ ๑๐ ก.ค. ๕๒, ๑๔:๒๖:๑๑

    :054:"ปิติ" เป็นสมมุติบัญญัติที่ให้ความจำกัดความของสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นในขณะเจริญภาวนา อาการปิตินั้นคือการปรับธาตุในตัวเราให้มีความเหมาะสมกับสภาวะจิตที่จะเกิดขึ้นในขณะนั้น ซึ่งจะปรากฏออกมาได้มากมายหลายอย่าง หลายประการ แต่จะสรุปเป็นหัวข้อใหญ่จำกัดไว้ได้ 5 ประการ ตามที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนไว้ ซึ่งอาการของปิตินั้น ที่แสดงอกมาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับธาตุในกายและจิตในขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร จึงไม่เป็นไปเหมือนกันในแต่ละครั้งและแต่ละคน ปิติคือการเริ่มต้นที่จะเข้าสู่ความสงบ

    :059:ถ้าอยากจะศึกษาเรื่องอารมณ์ของปิติให้ละเอียดเราต้องไปศึกษาแนวการปฏิบัติของพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)คือการปฏิบัติแบบปิติ5
    ซึ่งสมัยก่อนครูบาอาจารย์ท่านเคยปฏิบัติกันมา ก่อนที่จะหันมาภาวนา"พุทโธ"ในสมัยหลวงปู่มั่น และอานาปานุสติในสมัยหลวงพ่อพุทธทาส
    ซึ่งแนวปฏิบัติกรรมฐานปิติ5นั้นจะแสดงอย่างละเอียดเรื่องอาการของปิติทั้งหลาย(ฝากไว้เป็นข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการแสวงหาความรู้)

    :054:อาการที่เรารู้สึกคล้ายกับกายเราโยกคลอนนั้นเกิดจากธาตุลมในกายของเรากำลังปรับให้มีความพอดี และจิตของเราในขณะนั้นเข้าไปจับอยู่กับลมในกาย คือการหายใจของเรา และเรากำลังรวมจิตเราเข้ากับลม ซึ่งสภาวะของธาตุลมนั้นมันพัดไหวเคลื่อนที่ไปตลอดเวลา มันจึงทำให้เรารู้สึกคล้ายว่า ร่างกายของเรากำลังโยกคลอน เอนไปเอนมา ทั้งที่กายของเรายังตั้งตรงอยู่ตามปกติ (อาจจะมีอาการก้มหน้าลงและเงยหน้าขึ้นบ้างในบางครั้ง)ถ้าเราไปตามลมทีหายใจเข้าและหายใจออก

    :059:เราอย่าไปกังวลใจว่าใครจะคิดอย่างไรในการปฏิบัติของเรา ขอให้เรามีสติระลึกรู้ว่าเรากำลังทำอะไร และสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นอย่างไร
    รู้เท่าทันอารมณ์ ไม่หลงไปในอารมณ์ที่เกิดขึ้น(ไปยินดีและพอใจอยากจะให้มันเกิดขึ้นอีก) ไม่ไปยึดติดในอารมณ์เหล่านั้น เพราะทุกอย่างตั้งอยู่ในพระไตรลักษณ์"เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป..อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"อารมณ์ปิติเหล่านั้นไม่เที่ยงแท้ ถ้าเข้าไปยึดถือก็เป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่ยึดถือไม่ได้เพราะแปรเปลี่ยนไปตามเหตุและปัจจัย "จังหวะ เวลา โอกาศ สถานที่ และบุคคล" จงฝึกฝนปฏิบัติต่อไปอย่าหวั่นไหวและย่อท้อ และขอให้ความเจริญในธรรมจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายผู้ใฝ่ธรรม...

    :059:เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ไมตรีจิต-แด่มิตรผู้ใฝ่ธรรม :059:
    รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม

    ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๒๖ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    [226] ปีติ 5 (ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำ — joy; interest; zest; rapture)
    1. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล — minor rapture; lesser thrill)

    2. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ — momentary or instantaneous joy)

    3. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง — showering joy; flood of joy)

    4. อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรงให้รู้สึกใจฟูแสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไปในอากาศ — uplifting joy)

    5. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านแผ่เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้ — suffusing joy; pervading rapture)

    Vism.143 วิสุทฺธิ. 1/182.
    ที่มา
    http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=226


    พระกรรมฐาน 40-พระปีติทั้ง 5-พระวิปัสสนาญาณ 9

    กรรมฐาน-ที่ตั้งแห่งการงาน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ อุบายทางใจ วิธีฝึกอบรมจิต มี 2 ประเภท คือ 1)สมถกรรมฐาน-อุบายสงบใจ 2)วิปัสสนากรรมฐาน-อุบายเรืองปัญญา.....

    กรรมฐาน 40-คือ กสิณ 10-อสุภะ 10-อนุสสติ 10-พรหมวิหาร 4-อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1-จตุธาตุววัตถาน 1-อรูป 4....

    ปีติ 5-ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำในใจ ได้แก่ 1)ขุททกาปีติ-ปีติเล็กน้อยพอขนชัน น้ำตาไหล 2)ขณิกาปีติ-ปีติชั่วขณะ รู้สึกแปลบๆดุจฟ้าแลบ 3)โอกกันติกาปีติ-ปีติเป็นระลอก รู้สึกซู่ลงมาๆดุจคลื่นซัดฝั่ง 4)อุพเพคาปีติ-ปีติโลดลอย ให้ใจฟู ตัวเบาหรืออุทานออกมา 5)ผรณาปีติ-ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์กาย ซึ่งเป็นของประกอบกับสมาธิ

    ญาณ-ความรู้ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้

    ฌาน-การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก

    วิปัสสนาญาณ 9-ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา มี 9 อย่าง คือ
    1)อุททัพพยานุปัสสนาญาณ-ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป 2)ภังคานุปัสสนาญาณ-ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
    3)ภยตูปัฏฐานญาณ-ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
    4)อาทีนวานุปัสสนาญาณ-ญาณคำนึงเห็นโทษ
    5)นิพพิทานุปัสสนาญาณ-ญาณคำนึงเห็นความหน่าย
    6)มุจจิตุกัมยตาญาณ-ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
    7)ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ-ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
    8)สังขารุเปกขาญาณ-ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
    9)สัจจานุโลมิกญาณ-ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ 4...
    ที่มา
    buddhapoem.com

    ทั้งหมดถูกรวบรวมโดย คุณ ทรงกลด ที่เว็บฑีฆายุโก โหตุ มหาราชา - วัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๒๐

    โมทนาสาธุคะ ทุกท่าน ขอให้เจริญในธรรม ยิ่งๆขึ้นไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2012
  3. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ...ศรัทธา...เลื่อมใส...

    ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติคือ

    ระลึกถึงพระพุทธคุณ ๑
    ระลึกถึงพระธรรมคุณ ๑
    ระลึกถึงพระสังฆคุณ ๑
    ระลึกถึงศีล ๑
    ระลึกถึงการบริจาค ๑
    ระลึกถึงเทวดา ๑
    ระลึกถึงคุณพระนิพพาน ๑
    ความหลีกเว้นคนเศร้าหมอง ๑
    ความคบหาคนผ่องใส ๑
    ความพิจารณาแห่งพระสูตรอันชวนให้เกิดความเลื่อมใส ๑
    ความน้อมใจไปในปีตินั้น ๑.


    ____________________________________________


    ระลึกถึงพระพุทธคุณ ๑
    ระลึกถึงพระธรรมคุณ ๑
    ระลึกถึงพระสังฆคุณ ๑
    ระลึกถึงศีล ๑
    ระลึกถึงคุณพระนิพพาน ๑
    ความพิจารณาแห่งพระสูตรอันชวนให้เกิดความเลื่อมใส ๑


    เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดย เฉพาะ ๖ ข้อนี้!


    สาธุ....สาธุ....สาธุ....ครับ


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2012
  4. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    เชนกันคะ ขอให้เจริญในธรรม ยิ่งๆขึ้นไปคะ สาธุ สาธุ สาธุ คะ
     
  5. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    เมื่อระงับปิติได้เเล้ว ก็จะเหลิอเเต่ความรู้สึก สุข ที่มีความระเอียดกว่า
     
  6. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    โมทนาสาธุ ในธรรมทานครับ อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากเลยครับ
     
  7. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    เป็นแนวการปฏิบัติ หรือที่เรียกว่า "กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ"

    ตามประวัติ กล่าวไว้ว่า สืบทอดมาจากพระราหุลเถรเจ้า โดยสมเด็จสุก ไก่เถื่อน (วัดพลับ)

    จนตกทอดมาถึงปัจจุบัน

    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2012
  8. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    สาูธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ฟาดกรรมฐาน ๗ กอง ของหมวดอนุสสติ ๑๐ ในกรรมฐาน ๔๐ กอง.

    แปลกนะครับ...ตำรานี้ไม่มี อานาปานุสสติกรรมฐาน รวมอยู่ด้วย...ปกติที่เกิดกันแม้แต่ในเว็บที่ก็ตาม....จะเกิดขึ้นจากกรรมฐานกองนี้....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2012
  10. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    เพิ่มเติมคะ


    อนุสสติ ๑๐ คือ อารมณ์ควรระลึก ๑๐ ประการ


    ๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า

    ๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม

    ๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์

    ๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลของตน คือ ตรวจดูศีลที่ตนสมาทานไว้แล้ว ว่ามีข้อใดขาดหรือด่างพร้อยบ้าง ถ้าพบข้อที่ขาดหรือด่างพร้อยก็ผูกใจไว้ว่าจะสำรวมระวังต่อไป เมื่อเห็นว่าศีลของตนบริสุทธิ์ผุดผ่อง ก็พึงปิติยินดี

    ๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาคแล้ว ให้เกิดความ อิ่มเอิบใจ นึกว่าเป็นโชคของเราแล้วที่ได้บริจาคทาน อันเป็นการขัดเกลากิเลส ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น เมื่อระลึกได้อย่างนี้จนจิตเกิดความปีติ

    ๖. เทวตานุสสติ ได้แก่การระลึกถึงคุณธรรมที่ทำให้คนเป็นเทพ ได้แก่ศรัทธา ศีล การฟังธรรม ทานและปัญญา ระลึกว่าเทพทั้งหลายได้ บำเพ็ญธรรมเหล่านี้มาจึงได้ความเป็นเทพ ตัวเราเองก็มีคุณธรรมเหล่านี้แล้ว ระลึกอย่างนี้แล้วย่อมเกิดความปีติ

    ๗. มรณัสสติ ได้แก่การนึกถึงความตาย ว่าเราเองจักต้องตาย เมื่อระลึกถึงความตายย่อมทำให้จิตได้ความสังเวช สลดใจ ตื่นจากความมัวเมา

    ๘. กายคตาสติ ได้แก่การระลึกถึงอวัยวะร่างกาย ตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ จนถึงอุจจาระปัสสาวะ ให้เห็นว่าร่างกายนี้เป็นของปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด ร่างกายของเราฉันใด ร่างกายของคนอื่นก็ฉันนั้น เมื่อระลึกอย่างนี้จิตจะเกิดเป็นความเบื่อหน่าย คลายความกำหนัดยินดีในร่างกาย จิตจะถอนตัวจากราคะ

    ๙. อานาปานสติ คือ กำหนดลมหายใจของตนเอง เอาสติบังคับจิตให้จดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ ตรงที่ลมผ่านช่องจมูก จะใช้วิธีนับลมเข้าลมออกด้วยก็ได้ จะใช้คำบริกรรมควบกับลมเข้าลมออกก็ได้ เมื่อปฏิบัติดังนี้ จิตจะถอนตัวจากอารมณ์อย่างอื่น ลดความฟุ้งซ่าน

    ๑๐. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระนิพพาน ได้แก่ระลึกถึงความดีของพระนิพพาน กล่าวโดยย่อคือนึกถึงความสุขอันเกิดจากความสิ้นกิเลส ว่าเป็นความสุขที่แท้จริง เพราะดับเสียได้ซี่งตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การนึกถึงคุณพระนิพพานย่อมทำให้จิตยินดีในการละกิเลสและเห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร ..
    ………………………………………………………………………………………


    ที่มา แนวสอนธรรมะ ตามหลักสูตรนักธรรมตรี เรียบเรียงโดย พันเอก ปิ่น มุทุกันต์ หน้า ๓๘๖ – ๓๙

    อันที่ลงมาเบื้องต้น ก็คือ พยามยามเอาให้เข้าใจ ตามหลัก ของแต่ละ จริต
    และอันนี้ ก็ ใน เว็บ พลังจิต ของเรา ก็ ตาม แต่ ศรัทธาของแต่ละท่าน ตามกำลังคะ
    โมทนาสาธุคะ
     
  11. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ไม่แปลกหรอก "ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติ"

    นั่นก็ถูกแล้ว เพราะนั่นคือ "ปิติแห่งสัมโพชฌงค์"

    แต่จะแปลกก็ตรงที่ว่า ความต่างระหว่าง "อานาปานุสสติ กับ กสิณ" นั่นแหละ

    หากก็ต่อเมื่อจะลงกันได้ ระหว่างทั้งสอง ^^
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ไม่เข้าใจความหมายที่คุณจะสื่อ.....
     
  13. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    "ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติ"
    มีกล่าวไว้อยู่ใน อรรถกถา มหาสติปัฏฐานสูตร ในส่วนของ โพชฌงคบรรพ

    ให้แน่ใจ พิจารณาอีกที ก็ลองดูที่ "อาหารสูตร-อาหารของนิวรณ์"
    และ อรรถกถา อาหารสูตร (ของอาหารสูตร-อาหารของนิวรณ์)

    จะได้เข้าใจในความหมายที่จะสื่อ
    ว่าเหตุใด "ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติ"
    "อานาปานุสสติ" จึงไม่มีการกล่าวถึง เพราะตำรา ว่ามาอย่างนั้น

    มาถึงตรงนี้ ลองดูที่ "ธรรม ๑๑ ประการย่อมเป็นทางเกิด สมาธิสัมโพชฌงค์" เช่นกัน

    เหมือนเคยเจอใน "คัมภีร์วิสุทธิมรรค" ก็มีการกล่าวถึงในลักษณะคล้ายๆกัน

    คราวนี้ก็ลงกันได้เลย ไม่แปลก
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ออ...เข้าใจแล้วครับว่า การแบ่งแบบข้างต้นนำมาจากอรรถกถา มหาสติฯ นี่เอง.....ต้องยอมรับนะครับว่าผมไม่เคยได้อ่านเจอ....เพิ่งจะมาอ่านเจอในครั้งนี้....เพราะปกติส่วนตัวถ้าอ่านพระสูตรได้ไม่เข้าใจ ผมถึงจะลงในส่วนของอรรถกถาในพระสูตรนั้นๆ....นับว่าคุณศึกษาได้ละเอียดดีนะครับ....

    ที่ผมกล่าวว่าแปลกข้างต้นเนื่องจากว่าเอาการแบ่งแบบกรรมฐาน ๔๐ กับการสอบสภาวะอารมณ์กรรมฐานในเรื่องของการปฏิบัติจริงในส่วนของ อานาปานุสสติกรรมฐาน เข้าไปเทียบ เลยทราบว่าไม่ได้นับเข้าไว้อีก ๔ กอง ตามข้างต้น เลยคิดว่าแปลก....

    และในเรื่องของกรรมฐาน ๔๐ นี่ก็มาจาก วิสุทธิมรรค ไม่ใช่เหรอครับ....ไม่ทราบว่าที่หาเจอนั้นยังพอจำได้หรือไม่ครับว่ามาจาก วิสุทธิมรรค ในส่วนใหน....

    ขอบคุณมากครับ...ที่แนะนำ...
     
  15. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    จำได้แม่นครับ ความจำดี
    มีปรากฏอยู่ใน การบำเพ็ญอัปปนาโกศล ๑๐ ประการ นั่นแหละ

    การทำอินทรีย์ให้ถึงความเสมอกัน

    ยกจิตในสมัยที่ควรยก

    ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม

     
  16. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    สรุป คือ :
    ยกจิตในสมัยที่ควรยก
    เมื่อจิตหดหู่ พึงเจริญ ธัมมวิจยสัมโภชฌงค์ วิริยสัมโภชฌงค์ และปิติสัมโภชงค์

    ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
    เมื่อจิตฟุ้งซ่าน พึงเจริญ ปัสสัทธิสัมโภชฌงค์ สมาธิสัมโภชฌงค์ และอุเบกขาสัมโภชฌงค์

    แล้ว สติสัมโพชฌงค์ หายไป ทำจึงไม่ครบ ๗ ประการ

    ก็ที่กำลังเจริญอยู่ นั่นแหละเนาะ ไม่ได้หายไปไหน
     
  17. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    โมทนาบุญกับทุกท่านนะคะ

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป สาธุ สาธุ สาธุ เจ้าคะ
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ปีติ นี้ให้นึกถึงอารมณ์ ที่เราได้เข้าใกล้ พระสงฆ์องค์เจ้าที่เราเคารพศรัทธา แล้ว ขนลุกขนพอง น้ำตาคลอเบ้า มันเป็นอารมณ์ ตื้นตัน นั่นแหละ ความตื้นตันนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเรา ได้พบเจอกับสิ่งที่เรารู้สึกดี
    ทีนี้ในองค์ฌาณ นี้จะเกิดขึ้นเมื่อจิตจรดจ่อ สงบ มีวิตกวิจารณ์แล้ว จิตเริ่มนิ่ง้ป็นเอกคตา นั่นแหละจะมีปีติขึ้น
    คอยสังเกตุอาการของมันดีๆ แล้วปล่อยมันไป จะเกิดสุข ตัวเบา และเอกคตาจิต แน่วแน่ขึ้น
     
  19. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=f6mVJtS0ODY]พระอาจารย์สมภพ ปิติ 13 ม.ค. 2538 - YouTube[/ame]
     
  20. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    เมื่อ ปิติเกิดในโรงหนัง สดๆ ร้อนๆ จ๊า
    ช่วง ที่ยืน เคารพเพลงสดุดี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ ตาก็จ้องใปที่ใบหน้าดวงตาของท่าน
    มันมี ลมแผ่ซ่านพรึบ ๆ ๆ ไปทั่วตัว เป็น ระรอกคลื่น ปลื้มปิติ น้ำตาคลอ จน เพลงจบ และ ข้าพเจ้าก็ยังยืน จังงังอยู่ อย่างนั้น
    ไม่สงสัยเลย ว่า สมาธิ ทำได้ ทุก ขณะจิต ที่หายใจ จริงๆคะ ลองดู ลองดู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...