มีใครพอแนะนำเรื่องการขอไปจำพรรษาวัดไทยในต่างประเทศได้บ้าง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย good_guy, 20 มิถุนายน 2013.

  1. good_guy

    good_guy สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +10
    เจริญพร...ญาติโยม

    คือตามหัวข้อที่ตั้งเลย พอดีอาตมาพึ่งบวชใหม่และมีข้อสงสัยเรื่องการไปขอจำพรรษาทีวัดไทยในต่างประเทศ เพราะไม่มีความรู้ในด้านนี้จริงๆ ตอนเป็นฆราวาสอยากไปไหนก็แค่เอา passport ไปขอวีซ่า ซื้อตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม จบต พอมาบวชทีนี้เหมือนโลกอีกโลกเลย ถามพระในวัดที่บวชก็ไม่มีใครที่ให้คำตอบที่กระจ่างได้

    บ้างก็ว่าต้อง สมัครเป็นพระธรรมทูต บ้างก็ว่าต้องมีเส้นสาย(ขนาดสังคมพระต้องมีเส้นสายจริงหรือ)

    แล้วเป็นพระภิกษุต้องไปทำ หนังสือเดินทางเล่มใหม่ด้วยใช่ไหม

    ขออนุโมทนาบุญ แก่ทุกท่าน เทอญ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    การที่หลวงพี่เป็นพระภิกษุนั้นจะเดินทางไปต่างประเทศ เอาแค่จะเดินทางไปต่างประเทศก็ถือว่าเป็นเรื่องยากกว่าฆราวาสมากครับ กล่าวคือต้องติดต่อทำหนังสือตั้งแต่เจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาคด้วย นู่นหละครับกว่าจะได้ไปต้องทำเรื่องมากมายไม่ได้ไปง่ายๆ ยิ่งไปจำพรรษาอีก ถ้าหลวงพี่จะไปจำพรรษา ผมแนะนำให้สมัครเป็นพระธรรมทูต เข้าอบรมจนจบหลักสูตร แล้วหลวงพี่จะไปอยู่นานเท่าใดก็ได้ครับ....ติดต่อที่ฝ่ายอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ ที่ได้เลยครับ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2013
  3. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,168
    .
    .
    .
    .
    ขั้นตอนการทำ passport-พาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง) สำหรับพระภิกษุสามเณร

    http://www.watchanasongkram.com/pak1/?p=1193

    ๔.๔ หากผู้ประสงค์จะขออนุญาตฯ เป็นพระภิกษุที่มีพรรษายังไม่พ้น ๕ และสามเณร (ตามระเบียบข้อ ๘) จะต้องมีพระภิกษุที่มีคุณสมบัติตามระเบียบฯ ข้อ ๗ ซึ่งจะเดินทางไปด้วยกัน ทำหนังสือรับรองว่าจะเป็นผู้กำกับดูแลในระหว่างที่ไปต่างประเทศ
     
  4. good_guy

    good_guy สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +10
    OMB!!...(Buddha!!)
    5 พรรษา?????????????????? :':)'( what for??

    และถ้าพรรษาไม่ถึงทำไมต้องมีพระไปด้วย ไปทำไม ใครตั้งกฏ??

    เรื่องทำ passport พอเข้าใจละ แต่เรื่องการขอไปจำพรรษาล่ะต้องมีเส้นแบบที่เค้าบอกเล่ามาหรือเปล่า??

    ขอโทษที่อาตมาต้องถามคำถามอะไรแบบนี้ อาจทำให้บางท่านไม่พอใจก็ขอให้ชี้แนะด้วย
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    มันเป็นเรื่องธรรมดาครับท่านที่เขาจะเอาพระพรรษาอย่างน้อย ๕ พรรษาขึ้นไปออกเดินทางไปต่างประเทศ เพราะพระนวกะบวชใหม่ยังไม่คุ้นเคยกับเพศของพระสงฆ์ เหตุผลก็ไม่ต่างจากธุดงค์นั่นหละครับ ต้องมีพระคอบดูแลกำกับให้อยู่ในร่องในรอย เกิดวันนี้บวชวันนี้ออกไปเลย กริยามารยาทอะไรยังไม่เป็นพระเลยครับท่าน จะเอาหน้าคณะสงฆ์ไทยไปเสียเอา ท่านตั้งกฏอย่างนี้ใครตั้งก็ไม่ต้องไปถามหลอก ท่านตั้งอย่างนี้และใช้อย่างนี้มาแต่สมัยใหนกันแล้ว และก็เห็นว่ามีประโยชน์ ก็ทำต่อกันมาตลอด.....

    ที่ถามว่ามีเส้นนั้นถ้าหากคำว่าเส้นหมายถึงคนรู้จัก นั้นเป็นเรื่องปกติที่ต้องมี เจ้าอาวาสของท่านก็ถือว่าเส้น เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค ก็เส้นหมดหละครับเพราะว่าท่านต้องขออนุญาติท่านก่อน ท่านจึงจะออกไปได้ อันนี้ถ้าในความหมายที่ว่ามีเส้นไมก็ต้องตอบว่าต้องมีหละครับ....ก็ถามหน่อยนะง่ายๆ พระที่จะออกนอกประเทศไปอยากน้อยที่สุดเลยเจ้าคณะผู้ปกครองก็ต้องรู้ว่าออกไปทำไม ไปทำอะไร ดีหรือไม่ดี ควรที่จะอนุญาตหรือไม่ที่จะให้ไป ไปแล้วไม่เป็นภาระต่อตนเอง ต่อพระศาสนา ต่อฝ่ายปกครอง ท่านจึงให้ไปอย่างนี้หละครับ ผมเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ดีนะ ไม่ใช่ว่าจะไปก็ไปได้ง่ายๆ อย่างน้อยก็เป็นการรับรองว่าคนที่จะไปได้ ไปได้จริง ไม่อดตาย อยู่ได้ และทำให้พระศาสนาไม่หม่นหมองกลับมา.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2013
  6. good_guy

    good_guy สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +10
    อาตมาติดกิจนิมนต์ เลยไม่ได้มาตอบ เอาล่ะ การที่โยมตอบแบบนี้อาตมาไม่คิดว่ามันผิด หรือ ถูก แต่ช่วยฟังความคิดของด้านอาตมาบ้าง

    ธรรมดาครับท่านที่เขาจะเอาพระพรรษาอย่างน้อย ๕ พรรษาขึ้นไปออกเดินทางไปต่างประเทศ เพราะพระนวกะบวชใหม่ยังไม่คุ้นเคยกับเพศของพระสงฆ์ ...แล้วพระที่ทำงามหน้าสงฆ์ไทยแต่ละท่านมีพรรษาที่อ่อนกว่า 5 พรรษาไหม?

    กริยามารยาทอะไรยังไม่เป็นพระเลยครับท่าน จะเอาหน้าคณะสงฆ์ไทยไปเสียเอา ท่านตั้งกฏอย่างนี้ใครตั้งก็ไม่ต้องไปถามหลอก ท่านตั้งอย่างนี้และใช้อย่างนี้มาแต่สมัยใหนกันแล้ว และก็เห็นว่ามีประโยชน์ ก็ทำต่อกันมาตลอด.....

    แล้วที่ทำเสียๆกันทุกวันนี้กี่พรรษาครับ..อาตมาไม่เคยเห็นข่าวว่าพระบวชได้2เดือน ขี่เครื่องบินเจ็ท ครอบครองรถหรู หรือมั่วสีกา มีแต่พระแก่ๆ พรรษาเยอะๆ อ้างตัวว่าตัวเองบรรลุแล้วเท่านั้น ที่ทำงามหน้ากัน

    คิดในความเป็นจริงอาตมายอมรับว่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ก่อนหน้านี้อาตมาเป็นฆราวาส บาปก็ทำบุญก็ทำแต่ใช้สมองในการทำ บาป บางครั้งที่ทำลงไปเพราะจำเป็นต้องทำเพื่อความอยู่รอดในสังคม แต่เมื่อชีวิตมันพังลง อาตมาหันหน้าพึ่งธรรมะโดยยึดเอา พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันสูงสุด ทีนี้เกิดการ in(ต้องใช้ภาษาฆราวาส) ในพุทธประวัติขึ้นมา จึงอยากไปในที่ ที่พระศาสดาของเรา ประสูติ ตรัสรู้ นิพพาน ซึ่งก่อนหน้านี้ตอนเป็นฆราวาส อินเดีย เนปาล ไม่เคยอยู่ในความคิดเลย การเดินทางไปต่างประเทศสมัยเป็นฆราวาสก็เพื่อ เรียนรู้วัฒนธรรมการกิน ชอปปิ้ง ถ่ายรูปอัพลงเฟซ เพื่ออวดคนอื่น แค่นั้นจริงๆ

    หลังจากตัดสินใจบวชก็เหมือนมาเกิดในอีกสังคม สังคมหนึ่ง ได้คิดมากขึ้น ได้เห็นมากขึ้นและได้ความรู้มากขึ้น การที่กลัวกันว่าพระพรรษาน้อยทำตัวไม่ดีไม่งามนั้นขอให้คิดกันใหม่ เพราะพื้นฐานตอนเป็นฆราวาสเราก็เรียนก้รู้มากันพอสมควรแล้วว่าสงฆ์ ปฏิบัติตัวเช่นไรอย่างที่บอกว่าอาตมาเอาความคิดตัวเองเป็นที่ตั้ง ความคิดเลยออกมาดังนี้และเชื่อว่าพระใหม่หลายๆท่านคงคิดแบบเดียวกับอาตมาและได้เห็นอย่างที่อาตมาเห็นมา และรู้อย่างที่อาตมารู้มา
    ข้อดีของพระบวชใหม่ส่วนมากตั้งหน้าตั้งตา เรียนธรรมะ มากกว่าพระที่บวชก่อนเพราะคนที่แก่พรรษามักคิดว่าเก่งแล้ว เรียนหมดแล้ว รู้หมดแล้ว ท่องมนต์ได้หมดแล้ว และพระพรรษาแก่มักจะเกิดการเฉื่อยในการศึกษาและไม่ฝักใฝ่ขนขวายที่จะไปเยือนถิ่นที่พระศาสดาของเรา
    ตรงนี้อาตมาขอเปรียบเทียบ ข้อดีของชาวมุสลิม ตรงที่ว่า ชาวมุสลิมทุกคนที่ครั้งหนึ่งต้องขอไปแสวงบุญที่นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาราเบีย ก่อนตายให้ได้
    พระบ้านส่วนมาก ตอนมาบวชไม่มีอะไรแต่พอมีเงิน มีปัจจัยจากญาติโยมมาถวายเกิดกิเลส ตัณหาเข้าครอบงำ สนใจแต่เรื่องกิจนิมนต์ เลยเถิดทำเรื่องเสื่อมเสียเข้ามา

    ความตั้งใจของอาตมาคือตัวอาตมาเอง ตอนนี้บวชใหม่และ in กับพุทธประวัติ และคำสอนของพระศาสดามา และยิ่งบวชใหม่ๆแบบนี้เราควรได้ไปรู้ไปเห็น สิ่งที่เราอยากเห็นอยากรู้เพื่อเอามาบอก มาเล่า มาสั่งมาสอนผู้อื่นต่อๆไป และจะได้ไม่เป็นข้อครหาในอนาคต เพราะลองคิดกันดูสมมุติอาตมาบวชได้ 5 พรรษา แล้วจึงเปิดโอกาศให้ไปต่างประเทศปถุชน คนทั่วไปจะคิดอย่างไร "บวชได้หลายปีมีเงินเก็บเยอะล่ะสิถึงไปเที่ยวเมืองนอก" อาตมาว่ามีคนคิดแบบนี้แน่นอน ผิดกับตอนนี้ที่เป็นพระใหม่ไม่ค่อยมีคนสนใจเท่าไหร่ ว่าเราเป็นใครมาจากไหน ถ้าเราได้เห็น ได้รู้สิ่งที่ดีมาเป็นพื้นฐานมันก็จะเป็นเกราะให้ตัวเราพ้นจาก ตัวราคะ ตัณหา กิเลส และนำไปสั่งสอนผู้อื่นได้ต่อไปด้วยความรู้จริง เห็นจริง อะไรจริง :)

    สังคมไทยตอนนี้ ไม่ต่างอะไรกับ สังฆทาน ที่เอามาถวายพระกัน อาตมาขอถามหน่อยว่าใครคิดว่าการถวายสังฆทานคือการนำถังเหลืองไปถวายพระบ้างยกมือขึ้น???? ผิดนะครับ

    การถวายสังฆทานคือต้องทำได้ โดยมีพระ 4-5 รูปขึ้นไป

    กลับมาถึง สังฆทาน กับสังคมไทยต่อ ไอ้ถังเหลืองๆ ที่โยมเอามาถวายกันนั้นคิดกันบ้างหรือไม่ว่าตัวคนที่ซื้อมาถวายพระใช้ได้ไหม อาตมาอยากลองให้พวกท่านซื้อแล้วเอาไปใช้เองไม่ต้องเอามาถวายพระ แล้วเปรียบเทียบกับสิ่งที่พวกโยมใช้กันที่บ้าน แล้วนำไปคิดหน่อยว่านี่หรือคือสิ่งที่เราถวายให้สาวกของพระศาสดาใช้ ที่อาตมาพูดแบบนี้อย่าได้คิดกันเชียวนะครับว่าเป็นพระเค้าถวายอะไรก็ใช้ๆไปเถอะ....นรกจะถามหานะโยม

    แล้วมันเกี่ยวไงกับสังคมไทยล่ะหลวงพี่??

    ขอตอบว่า สังคมไทยชอบอะไรที่ดูงามตา ดูหนักแน่น ดูฉลาด เหมือนสังฆทาน ที่ซื้อกันตามร้านที่ดูงามตา ดูมีประโยชน์ที่จะนำไปถวายพระ ไม่ต่างอะไรกับคนที่ตั้งกฏว่าพระ5พรรษาถึงไปต่างประเทศได้ เพราะ พระต้องดูงาม เรื่องมารยาท กิริยา แต่ข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง เหมือน ถังเหลืองๆที่ถวายพระกันเลยคือในถังดูมีของแน่นหนักเต็มไปหมดพอเปิดมาเจอเพียงหนังสือพิมพ์ขยุ้มกับน้ำขวดถูกๆยัดไว้ให้ดู ฟูฟู หนัก หนัก แต่คนก็ยังชอบแห่ซื้อกันเพราะเห็นเค้าซื้อเค้าทำก็เอามั่ง เลยลืมนึกถึงประโยชน์ที่จะใช้สอยได้จริง ฉันใดฉันนั้น เหมือนกับว่ามีคนตั้งกฏ ท่านเป็นพระก็ทำตามๆไป ทั้งๆที่พระวินัยไม่มีระบุไว้ว่าพระต้อง5 พรรษาขึ้นถึงจะออกเดินทางไปต่างประเทศได้

    ที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อให้ญาติโยม คณะศรัทธาได้นำไปคิด ได้รู้ ได้เห็น เพื่อเป็นปากเป็นเสียงให้อาตมาที เพราะลำพังอาตมาเอง เป็นเพียงพระบ้านนอกบวชใหม่ คงไม่มีใครมารับฟังกับความคิดของอาตมา และถ้าข้อความที่อาตมาพิมพืขึ้นไม่ถูกใคร หรือไม่เหมาะไม่ควรก็ขอคำชี้แนะด้วย

    สาธุ สาธุ ขอบุญคุ้มครอง
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ก็ไม่เป็นไรนะ ถ้าหลวงพี่ต้องการที่จะไปอินเดีย หลวงพี่ก็ต้องมีพระที่มีพรรษามากกว่าไปดูแลก็เท่านั้นเองหละครับ ไม่ได้มีอะไรยากเลยแค่ทำให้ถูกกฏ....

    พระสงฆ์ไทยนั้น ต้องรักษา ๓ กฏครับ คือ ๑. พระวินัย ๒.กฏมหาเถระสมาคม ๓.กฏหมายบ้านเมือง .....เพื่อความสะดวก เรียบร้อย เพื่อความงดงามและเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.....หลวงพี่ต้องเข้าใจนะครับ พระสงฆ์ในสมัยนี้มีมากกว่าในสมัยพุทธกาล และสมัยนี้ก็ไม่ได้เหมือนสมัยพุทธกาล(ที่พระสงฆ์จะเดินธุดงค์เข้าออกประเทศใหนอย่างไรก็ได้ และ เรื่องของกฏหมายระหว่างประเทศอีก) ร้อยเรื่องพันประการ ร้อยพ่อพันแม่ ต่างคนต่างคิด แล้วอันใหนหละครับคือจุดที่จะรวมกันได้ จะเป็นข้อตกลงกันว่าเราจะอยู่ร่วมกันได้ ....ฉะนั้นเมื่อหลวงพี่บวชแล้วในพระศาสนา และในคณะสงฆ์ไทย หลวงพี่ก็ต้องเคารพกฏที่มีอยู่เท่านั้นหละครับ....

    เว้นแต่หลวงพี่จะบวชแล้วในพระศาสนา แต่บวชในคณะสงฆ์ประเทศอื่น หลวงพี่ก็ต้องรักษากฏเถระสมาคม และ กฏหมายของประเทศนั้นๆ เท่านั้นหละครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2013
  8. good_guy

    good_guy สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +10
    ก็มันยุ่งยาก และวุ่นวายตรงที่ต้องเอาพระที่พรรษาแก่ไปด้วยนี่แหละ โยมก็บอกเองไม่ใช่หรือว่า เราไม่ควรเป็นภาระ ให้ใคร...แล้วการที่อาตมาจะพาพระท่านนึงที่พรรษาแก่ๆไปด้วยเนี่ยะ...เป็นภาระไหม ใครจะจ่าย??

    ความตั้งใจอาตมาคืออยากเห็นพระรุ่นใหม่เป็นแบบอย่างทีดี ที่งดงาม ครับ ทุกวันนี้ที่ สังคมสงฆ์แย่ อาตมามองว่า อย่างนึงคือไม่มีใครมาจัดการพื้นฐานเรื่องจิตใจของสงฆ์ หรือแม้แต่ฆราวาสบางท่าน ความอยากเอาชนะ แม้แต่กับพระ ก็ยังอยากเอาชนะ เถียงด้วยเหตุผลข้างๆคูๆ พูดจาส่อเสียดพระ ก็ยังทำ หลับหู หลับตา บังคับพระให้ทำตามกฏที่ตั้งกันไว้ โดยที่ไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่จะมาใช้สอยจริงอย่างที่อาตมาเปรียบเทียบเรื่องสังฆทาน...ที่พูดขอให้นำไปคิด
     
  9. good_guy

    good_guy สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +10
    พอดีไปพบ link พระสงฆ์ที่มาอยู่ประจำที่เมืองนอก กรมศาสนามีการคัดกรองบ้างไหม? - Pantip นี้เลยแวะมาให้ดู

    ความตั้งใจของอาตมาอยากให้กฏมัน ง่าย และ สบาย ปลอดภัย กฏที่โยมว่าพระสงฆ์ที่ไปต่างประเทศต้องดีงาม ต้องบวช5ปีขึ้น อาตมาว่ามันเก่าและ มันไม่ได้ครอบคลุมถึงความประพฤติของสงฆืเลย
    อะไรที่มันไม่ดีก็ควรเปลี่ยนเป็นให้ดีขึ้น ไม่ใช่หรือ??
     
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    คณะสงฆ์ไม่ได้แย่อย่างที่คิดหลอกครับ พระแย่มีไม่กี่องค์เท่านั้นหละ เราจะไปเหมาคณะสงฆ์ทั้งประเทศไม่ได้หลอกครับ ก็เพราะว่ามีพระแย่ๆนั่นหละครับจึงจำเป็นต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบแผนอย่างนี้อย่างน้อยก็สามารถป้องกันในขั้นพื้นฐานได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นี่ขนาดมีแผนป้องกันขนาดนี้ยังมีหลุดแล้วถ้าไม่มีจะขนาดใหนหละครับ....

    เรื่องสังฆทานนั้นผมเข้าใจหลวงพี่ต้องการจะสื่อว่าอย่ามองอะไรแต่ภายนอก แต่สิ่งหนึ่งที่อยากจะถามหลวงพี่ว่า อะไรคือภายนอก พระที่บวชมาแล้ว ๕ พรรษา คือภายนอก หรือพระที่ปฏิบัติตามกฏระเบียบได้คือภายนอก อย่างนั้นเหรอครับ....แล้วกฏระเบียบนี่ถ้าเกิดว่าพระที่ดีเขาจำเป็นหรือไม่ครับที่จะต้องไปฝ่าฝืน......ถ้าเกิดว่าเป็นภายนอกผมว่าเห็นด้วยว่าควรปฏิบัติตามอยู่ดี เพราะว่าภายนอกขั้นพื้นฐานง่ายๆนี่หละที่ทำได้จะเป็นการตัดสินภายในว่าดีขนาดใหน...เพราะภายในใครก็มองไม่เห็น ดีจริงหรือไม่จริงอย่างไรก็ไม่ทราบได้ แต่ถ้าภายนอกเพียงแค่รักษากฏระเบียบได้ ก็อาจบ่งบอกในพื้นฐานได้ว่าภายในนั้นอาจดี.....

    ข้อที่กล่าวมาทั้งหมดนี่หละครับที่กล่าวว่าหลวงพี่นั้นยังถือว่าเป็นนวกะอยู่ เพราะบวชไม่นาน หลวงพี่จึงไม่เข้าใจระบบของคณะสงฆ์ไทย หลวงพี่ในตอนนี้จึงเหมาะสมที่จะศึกษาก่อนไงครับ ยังไม่ควรออกนอกประเทศหลอกครับ และผมก็ไม่เห็นมีความสำคัญอะไรกับการที่หลวงพี่จะไปอินเดีย ถ้าหลวงพี่ไม่ไปอินเดียหลวงพี่จะเป็นพระดีไม่ได้ หลวงพี่จะบวชสั่งสอนคนไม่ได้หรือ หรือหลวงพี่จะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้เหรอครับ จำเป็นอะไรที่หลวงพี่จะต้องไปอินเดีย.....ถ้าหลวงพี่นำเงินที่ประชาชนพุทธบริษัทถวายให้หลวงพี่ไปทำการกุศล ไปทำสาธารณะประโยชน์ ต่อบุญให้กับประชาชนที่เขาตั้งใจทำบุญกับหลวงพี่จะไม่ดีกว่าที่หลวงพี่จะเอาเงินไปซื้อตั๋วเครื่องบินไปอินเดียหลอกเหรอครับ....ถ้าหลวงพี่ต้องการจะเป็นต้นแบบของพระที่ดีจริง....

    อย่างไรก็ตามเรื่องที่ผมบอกหลวงพี่ไปนั้นไม่ได้ต้องการที่จะเถียงหลวงพี่ แต่ผมเอาความจริงมาเสนอหลวงพี่ให้ทราบเท่านั้นว่าหลวงพี่ต้องทำอย่างไร ไม่ว่าระบบจะเก่าหรือใหม่ ก็เป็นเพียงแค่ข้อเสนอแนะตามแนวคิดของหลวงพี่เท่านั้น ไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย เพราะว่าระบบต้องเป็นอย่างนี้ หลวงพี่จะกล่าวอย่างไรก็ตามก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดีเพราะว่าระเบียบการต้องเป็นอย่างนี้ ถ้าหลวงพี่ไม่มีคุณสมบัติตามระเบียกการอย่างไรก็ตาม หลวงพี่ก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดีนั่นหละครับ....อย่างไรก็ตามขอให้หลวงพี่บวชนานๆ จนครบ ๕ พรรษา แล้วค่อยออกนอกประเทศด้วยตัวคนเดียวได้ ป่านนั้นผมคิดว่าหลวงพี่คงเข้าใจอะไรมากขึ้นไปกว่านี้ ขอให้โชคดีครับ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2013
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    หากพบพระสงฆ์ที่ไม่ปฏิบัติตามพระวินัย ในฐานะพุทธศาสนิกชน เราควรปฏิบัติตนอย่างไร

    [​IMG]

    พระองค์มีคำแนะนำอย่างไรบ้าง หากพุทธศาสนิกชนพบพระสงฆ์ที่ไม่ปฏิบัติตามพระวินัย
    แต่ไม่ถึงขั้นปาราชิก ในฐานะพุทธศาสนิกชน เราควรปฏิบัติตนอย่างไร และถ้าถึงขั้น
    ปาราชิก เราควรทำอย่างไร เมื่อเราได้รับรู้เรื่อง


    คำตอบ – การประพฤติผิดศีลมีการลงโทษทางวินัยอยู่แล้ว แต่ถ้าพระสงฆ์ยังประพฤติทุศีล
    ไม่ว่าระดับไหน ในฐานะอุบาสกอุบาสิกา สามารถแนะนำพระได้ว่าข้อนี้ไม่ถูกไม่ควร แต่ถ้าไม่อยู่ใน
    ฐานะ ก็ควรให้ข้อมูลบอกกล่าวแก่ผู้ปกครองหรือครูบาอาจารย์ ไม่ว่าขั้นใดก็ปฏิบัติดุจเดียวกัน

    ดังความใน กิมพิลสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจจกนิบาต เล่มที่ ๓๖ ข้อ ๒๐๑ ว่า
    “ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสนดา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม
    เป็นผู้มีความเคารพมีความยำเกรงในสงฆ์ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา เป็นผู้มี
    ความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน ดูก่อนกิมพิละ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรม
    ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว”

    หนังสือ ๙๙ คำถาม เกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราช ที่ระลึกงานฉลองพระชันษา ๙๙ ปี ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
     
  12. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    อยู่ที่เจตนาครับ

    ถ้าเจตนาถวายให้พระตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป แม้มีพระรูปเดียวมารับก็ถือเป็นสังฆทานเช่นกัน (แต่ต้องแจ้งพระที่มารับด้วยว่าถวายเป็นส่วนกลางของสงฆ์)

    ส่วนเรื่องคุณภาพ พระพุทธเจ้าท่านตรัสให้พระอยู่อย่างเรียบง่ายไม่ยุ่งยาก
    แม้สมัยพุทธกาล จีวรสำเร็จหาได้ยาก พระต้องไปเก็บผ้าห่อศพบ้าง ผ้าที่เขาทิ้งแล้วบ้างมา ตัดเย็บย้อมทำจีวร ลำบากกว่าปัจจุบันเยอะ (บางท่านเป็นพระอรหันต์ แต่ไม่มีจีวร จึงต้องไปหาผ้าจากกองขยะ แล้วถูกวัวขวิดจนมรณภาพด้วยซ้ำ)

    ส่วนถังเหลืองนั้น คนที่ซื้อถวายพระก็ได้บุญเช่นกัน แต่ได้ไม่เท่าคนที่เลือกเฟ้น ซื้อของแต่ละชิ้นแล้วมาจัดชุดสังฆทานเอง
     
  13. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ส่วนเรื่อง 5 พรรษา นี่เคยได้ยินเหมือนกันจากพระที่ปฏิบัติ สายกรรมฐาน
    อย่าว่าแต่ไปต่างประเทศเลย แค่จะออกเดินธุดงค์ในประเทศ นี่แหละ
    เป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า ต้องอย่างต่ำ 5 พรรษา ขึ้นไปจึงสามารถเดินธุดงค์ไปคนเดียวได้โดยไม่ต้องมีอาจารย์เป็นผู้กำกับดูแล

    เข้าใจว่าน่าจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ แต่ยังไม่เคยเห็นปรากฎในพระไตรปิฎกหรืออรรถกถา (แต่อาจจะมีก็ได้ ผมยังไม่ได้ไปค้นดู)
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    พระภิกษุในพระพุทธศาสนาเขาเรียกจากอายุพรรษาได้ ๓ ระดับครับ....

    ๑. นวกะ ๒.มัชฌิมะ ๓.เถระ.....ซึ่งมีความหมายดังนี้

    .....................................................................


    นวกะ
    1. หมวด ๙
    2. ภิกษุใหม่, ภิกษุมีพรรษายังไม่ครบ ๕;

    มัชฌิมะ ภิกษุผู้มีพรรษาครบ ๕ แล้ว แต่ยังไม่ถึง ๑๐ พรรษา

    เถระ พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกำหนดว่ามีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป;

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    ............................................................................

    พระนวกะ คือพระบวชใหม่ อายุพรรษาไม่ถึง ๕ พรรษา ท่านให้อยู่วัดศึกษาธรรม ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ ปฏิบัติครูบาอาจารย์ เป็นหน้าที่หลักครับ.....เพราะถือว่าเป็นพระบวชใหม่ที่พึ่งเข้ามาศึกษาในเพศของบรรพชิต ไม่ควรออกธุดงค์ แต่ถ้าต้องการธุดงค์ก็ต้องไปกับพระมัชฌิมะ ขึ้นไป เพราะถือว่าสามารถกำกับดูแลกันได้ครับ ข้อนี้หากถามว่าใครแบ่งอย่างนี้ก็ตอบว่าพระพุทธเจ้าท่านแบ่งให้เรียกอย่างนี้ เพราะมีในพระไตรปิฏกครับ......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2013
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    นวกะ

    นวกะ แปลว่า ผู้ใหม่, ผู้บวชใหม่, พระใหม่ เรียกว่า พระนวกะ

    นวกะ พระวินัยใช้หมายถึงภิกษุที่มีพรรษายังไม่ครบ 5

    นวกะ เป็นพระที่นับว่ายังเป็นผู้ใหม่คือยังมีพรรษาไม่ครบ 5 จึงยังต้องอยู่ในความปกครองดูแลของพระอุปัชฌาย์ซึ่งพระวินัยเรียกว่ายังต้องถือนิสสัยอยู่

    พระนวกะ มีระเบียบว่าจะต้องศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยเพื่อรักษาตนทุกรูป สำหรับพระนวกะผู้อยู่จำพรรษาแรก เจ้าอาวาสและเจ้าคณะผู้ปกครองจะจัดการเรียนการสอนให้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ ก่อนออกพรรษาจัดให้มีการสอบด้วย เรียกว่า สอบชั้นนวกภูมิ หรือ สอบนวกภูมิ

    นวกะ - วิกิพีเดีย
     
  16. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ฉะนั้น กฏมหาเถระสมาคม ไม่อนุญาตพระที่มีอายุพรรษาไม่เกิน ๕ พรรษาเดินทางออกนอกประเทศโดยลำพัง ถือว่าเป็นการเอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย และเป็นประโยชน์ต่อพระนวกะเอง.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...