มโนวิญญาณ-จิต-ใจ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ไม่ใช่ใคร, 8 มกราคม 2012.

  1. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    (ก๊อปปี้มานะครับ)

    ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับวิญญาณ

    ตามความหมายในพจนานุกรมพุทธศาสน์กล่าวไว้ว่า
    วิญญาณ คือ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายใน
    และอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่นรู้อารมณ์ ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตาเป็นต้น ได้แก่ การเห็น
    การได้ยินเป็นอาทิ; วิญญาณ ๖ คือ ๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา (เห็น)
    ๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน) ๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น)
    ๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส) ๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)
    ๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)

    วิญญาณคือความรู้แจ้งนั้นนับตามเหตุที่เกิดก็นับได้ 6 อย่างข้างต้น แต่ทั้งหมดก็คือวิญญาณเหมือนกัน
    (ดูในมหาตัณหาสังขยสูตรข้างล่าง) ในขณะหนึ่งๆ จะมีวิญญาณชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้นสับเปลี่ยนหมุน
    เวียนกันไป แล้วแต่ว่าจะเกิดผัสสะทางไหน

    **************************************************************************************
    มหาตัณหาสังขยสูตร
    ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ
    [๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น
    ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุ
    วิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณ
    อาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรส
    ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น
    ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ วิญญาณอาศรัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า
    มโนวิญญาณ เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ ไฟอาศัยไม้
    ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้ ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น
    ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟโคมัย ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น
    ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
    วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและ
    เสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น
    ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า
    ชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ.


    จากคุณ : มะขามป้อม
     
  2. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    <table bgcolor="#E4F3F3" border="0" width="100%"><tbody><tr><td colspan="2">
    วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท


    วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ชัดเจนแล้วในพระสูตร
    ว่า ...
    [๑๕] ก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุวิญญาณ
    โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณ ฯ




    *****************************************************************************
    ๓. มหาเวทัลลสูตร
    เรื่องปัญญากับวิญญาณ
    [๔๙๔] ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระสารีบุตรว่าดูกร
    ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทรามๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึง
    ตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม?
    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค
    จึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญาทราม ไม่รู้ชัดอะไร ไม่รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม.
    ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ยินดี อนุโมทนาภาษิต ของท่านพระสารีบุตรว่า ถูกละ ท่านผู้มี
    อายุ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาๆ
    ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่าบุคคลมีปัญญา?
    สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลรู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคล
    มีปัญญา รู้ชัดอะไร รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะ
    ฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา.
    ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิญญาณๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ
    จึงตรัสว่า วิญญาณ?
    สา. ธรรมชาติที่รู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่าวิญญาณ รู้แจ้งอะไร
    รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ธรรมชาติย่อมรู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า
    วิญญาณ.

    ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกันท่านผู้มีอายุ
    อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
    สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยก
    ออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณ
    รู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่
    อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้
    .

    ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่มีกิจที่จะพึง
    ทำต่างกันบ้างหรือไม่?
    สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่ปัญญาควร
    เจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้
    นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้
    .
    ***********************************************************************************************
    </td></tr> <tr><td colspan="2"> จากคุณ : มะขามป้อม</td></tr></tbody></table>
     
  3. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    มโนวิญญาณ จิต ใจ


    เป็นความขัดแย้งที่ไม่ขัดแย้งระหว่างพระสูตรกับพระอภิธรรม
    หากแต่เป็นการมองคนละมุม ในธรรมอันเดียวกัน
    เหตุของเรื่องก็คือ ในพระสูตรกล่าวไว้ว่า ผัสสะทางใจ เกิดจากการประชุม
    กันของ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และใจ ดังนั้นมโนวิญญาณ ไม่ใช่ใจ
    ในขณะที่พระอภิธรรมกล่าวว่าเป็นสิ่งเดียวกัน

    ขออนุญาตวกกลับมาเรื่อง มโนวิญญาณคือจิตผู้รู้
    หรือในความหมายหนึ่ง วิญญาณก็คือจิตนั่นเอง
    ความในข้อนี้คงไม่ขัดกับตำราในฝ่ายใดแน่ๆ

    เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญภาวนาจนเห็นแจ้ง มีมรรคคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ครบถ้วนสมบูรณ์ ในคราวนั้น มรรคก็จะประชุมรวมกัน
    สะบั้นกิเลส ขุดรากถอนโคนอวิชชาออกจากใจ เป็นการสิ้นสุดแห่งเจตนาทั้งปวง
    นิพพานถูกเผย ให้เห็น เหมือนลูกไก่ที่ออกมาพบแสงสว่างภายนอก
    นิพพานมีอยู่อย่างนั้น เหมือนแสงสว่าง แต่คนเราถูกอวิชชาบังใจ
    เหมือนไก่ที่อยู่ในฟองไข่

    ถามว่าจิตยังมีอยู่หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า มี
    ถ้าในพระอภิธรรม ก็จะมีการแสดงว่าจิตของพระอรหันต์เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
    ประกอบด้วย อะไรบ้าง เป็นมหากริยาจิต เป็นต้น

    ปัญหาจึงมีอยู่ว่า แล้วที่ว่ามโนวิญญาณดับ หมายถึงจิตดับหรือเปล่า
    คำตอบก็คือถูกแล้วจิตดับ เพราะจิตเกิดดับติดต่อกันอยู่แล้ว
    แต่จิตที่ดับไปคือจิตผู้รู้ ที่ประกอบดัวยปัญญาเจตสิก
    แต่จิตที่เกิดดวงต่อไป เป็นจิตที่ปราศจากอวิชชา
    (จะประกอบด้วยอะไรบ้างก็ไปเปิดพระอภิธรรมอ่านกันเองนะครับ)

    จิตที่ปราศจากอวิชชานี้เองที่ท่านเรียกว่า ใจ
    เพราะเหตุที่ มโนวิญญาณดับไป ก็เหลือแต่ธรรมารมณ์ กับใจ
    ใจ ยังเป็นสภาพรู้ เหมือนจิต แต่สิ่งที่ใจรับรู้คือพระนิพพานนั่นเอง

    จากคุณ : มะขามป้อม
     
  4. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    <table bgcolor="#E4F3F3" border="0" width="100%"><tbody><tr><td colspan="2">
    พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวรเกี่ยวกับเรื่องนี้ชัดเจนมากครับ

    -------------------------
    เมื่อจะจัดเข้าในขันธ์ 5 หรือว่าจัดขันธ์ 5 เข้าในหมวดเจตสิก
    วิญญาณ จัดเข้าในหมวดจิต
    เวทนา สัญญา สังขาร 3 นี้เป็น เจตสิก
    เจตสิกทั้งปวงนี้ เมื่อย่นย่อลงแล้วก็ย่นย่อลงในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหมด
    และตามนัยในอภิธรรมนี้ วิญญาณ ในขันธ์ 5
    มนะ (ใจ) ในอายตนะภายใน และ จิต ที่กล่าวถึงในที่ทั้งปวง
    จัดเข้าในหมวดจิตหมด

    เพราะฉะนั้น หลักของการจัดหมวดจิตในอภิธรรม
    จึงต่างจากหลักของการแสดงจิต มโน และวิญญาณ
    ในสุตตันตะหรือในพระสูตร

    ในพระสูตรนั้น จิตมีความหมายอย่างหนึ่ง
    วิญาณมีความหมายอย่างหนึ่ง มโนมีความหมายอย่างหนึ่ง
    ดั่งที่แสดงแล้วใน อนัตตลักขณสูตร และใน อาทิตตปริยายสูตร

    กล่าวโดยย่อ ใน อนัตตลักขณสูตร วิญญาณนั้นเป็นขันธ์ 5 ข้อหนึ่ง
    ซึ่งตกในลักษณะของไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    ดั่งที่ในพระสูตรนั้นสอนให้รู้ว่า วิญญาณเป็นอนัตตา

    ใน อาทิตตปริยายสูตร มนะเป็นอายตนะภายในข้อหนึ่ง
    ที่ท่านสอนให้พิจารณาว่าเป็นของร้อน
    ร้อนเพราะไฟคือราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

    คราวนี้ ใครพิจารณาวิญญาณว่าเป็นอนัตตา
    พิจารณามนะว่าเป็นของร้อน
    ต้องมีผู้พิจารณาอีกผู้หนึ่ง
    ไม่ใช่วิญญาณพิจารณาวิญญาณเอง หรือมนะพิจารณามนะเอง
    ในตอนท้ายของพระสูตรทั้งสองนี้ ก็แสดงว่าจิตพ้นจากอาสวกิเลส
    แต่ว่าไม่ได้แสดงว่าวิญญาณพ้นหรือมนะพ้น
    จะแสดงอย่างนั้นก็ไม่ได้ เพราะเมื่อวิญญาณเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้พ้นกิเลส
    และมนะก็เป็นของร้อนเพราะไฟกิเลส
    ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้พ้น

    นักอภิธรรมบางท่านได้กล่าวหาผู้ที่แสดงอย่างนี้ว่า
    แสดงขันธ์ 6 คือแสดง จิต เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งขันธ์
    เพราะว่าตามอภิธรรมนั้น จิต มนะ วิญญาณ อยู่ในหมวดจิตอันเดียวกัน


    คราวนี้ถ้าพิจารณาดูให้รู้อธิบายของท่าน
    และเมื่อต้องการจะพูดถึงธรรมะในปิฎกไหน
    ก็เอาอธิบายของปิฎกนั้นมาอธิบาย ก็ไม่ยุ่ง
    คือว่าเมื่อจะอธิบายอภิธรรม ก็อธิบายว่าทั้งสามนี้เหมือนกัน
    แต่ว่าเมื่อจะอธิบายพระสูตร ก็อธิบายตามหลักฐานในพระสูตรดั่งกล่าวมาแล้ว

    แต่อภิธรรมนี้ได้เป็นที่นิยมนับถือมาเป็นเวลาช้านาน
    พระอาจารย์ผู้อธิบายพระสูตร เมื่อจะอธิบายถึงจิต ถึงมโน ถึงวิญญาณ
    ก็คัดเอาคำอธิบายในอภิธรรมมาใส่ไว้ในพระสูตรด้วย
    เพราะฉะนั้น จึงเกิดความสับสนกันขึ้น
    ดังเช่นบาลีพระสูตรกล่าวถึงจิต
    พระอาจารย์ผู้อธิบายก็คัดเอามาจากอภิธรรมว่า
    "จิตฺตนฺติ วิญญาณํ" วิญญาณชื่อว่าจิต
    เป็นอย่างนี้เป็นพื้นตั้งแต่ชั้นอรรถกถาลงมา
    อันนี้แหละเป็นเหตุให้สับสนกัน
    ถ้าหากว่าแยกเสียดั่งที่กล่าวมาแล้วก็จะไม่สับสน

    พิจารณาดูในคัมภีร์อภิธรรมนั้น ท่านต้องการแสดงเพียงขันธ์ 5 เท่านั้น
    คือจำแนกขันธ์ 5 ออกไปอย่างวิจิตรพิสดาร
    วิญญาณก็จำแนกออกไปเป็นจิตต่างๆอย่างวิจิตรพิสดาร
    และเวทนา สัญญา สังขาร ก็จำแนกออกไปเป็นเจตสิกถึง 52
    จาก 3 ไปเป็น 52 แล้วรูปก็ยังจำแนกวิจิตรพิสดารออกไปอีกมากมาย
    เพราะฉะนั้น เมื่อจับได้ว่าท่านต้องการจะอธิบายธรรมะแค่ขันธ์ 5 ให้พิสดาร
    ท่านจะเรียกว่าจิต ว่ามนะ หรืออะไรๆก็ตาม เราก็เข้าใจไปตามที่ท่านประสงค์
    ก็เป็นการไม่ยุ่ง แต่ก็ไม่ควรจะไปอธิบายให้ปะปนกัน​
    </td></tr> <tr><td colspan="2"> จากคุณ : ดังตฤณ</td></tr></tbody></table>
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ..........การมั่นหมายว่าเป็นอะไรนั้นเกิดจาก สมุทัยคือตัณหา การมีวิชชาคือการรู้อริยสัจสี่ ความมั่นหมายนั้นก็ไม่มีความหมายว่าเป็นอะไร อาจจะเรียกว่าความดับก็ได้แต่ไม่ใช่ในความหมายดับแบบทั่วทั่วไป...ในเมื่อทำลายอาสวะกิเลสหมดสิ้นแล้วการยึดนันทิ ราคะ การก่ออะไรอะไรก็ไม่มีความหมาย:cool:(เพราะตามหลักอิทิปัจจัยตา สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ)
     
  6. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    เมื่อนิพพาน คือ ไม่มั่นหมายว่าเป็นอะไร

    สมเด็จองค์ปฐม พระพุทธเจ้า หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านยัง "เป็น" อยู่หรือไม่

    หรือท่านเหล่านั้น "อยู่" ในรูปแบบใด (ได้ยินแว่วๆว่า พุทธบารมี แต่ท่านไม่อธิบาย บอกแค่ว่า ต้องมีอภิญญา จะรู้เอง)

    ทำไมบางท่านจึงยังไปเฝ้า "ท่าน" เหล่านั้น ที่ "นิพพาน" ได้

    คุณpaetrix พอจะให้ความรู้ผมได้หรือไม่ครับ หรือเป็นอจิณไตย ไม่ควรคิด

    ขอบคุณครับ
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    แหะ แหะ เรื่องแบบนี้ ต้องให้มารอย่างผมกระซิบหรอกครับ
    เป็น อจิณไตยไหม เป็นแน่ เพราะเป็น ฌาณวิสัย

    แต่ ท่านก็แค่ห้ามว่า ไม่ควรคิด คือ ไม่ต้องไปคิดมาก ดังนั้น เราก็คิดให้มันน้อยๆ

    ท่านเหล่านั้น ท่านจะยกกล่าวทำไมว่า มีการ ปะกันที่นิพพาน

    ก็หากเป็นเรื่องของ ผู้สิ้นกิเลสจะยกกล่าว มันก็ควรเป็นเรื่องที่สิ้นกิเลส คงไม่ได้กล่าว
    เพราะกิเลส แล้วเรื่องอะไรหนอ ที่กล่าวออกมาโดยที่ไม่ใช่กิเลส

    ก็เรื่องของ "หลักประโยชน์" ครับ

    ประโยชน์ของการกล่าวว่า พบกันที่นิพพาน นี้ อย่างน้อย ตัดเกมส์ ของ
    พวกนอกรีตได้มากทีเดียว เพราะ เราประกาศก่อนว่า พบกันที่นิพพาน

    หากเราให้พวกนอกรีตประกาศ เสร็จเลย ไม่รู้ไปไหน

    แต่ถ้าเป็นผู้สิ้นกิเลสประกาศเอง แน่นอนเลยว่า เดี๋ยวก็ต้องเข้าวัด เพื่อฝึกตาม

    แล้วถ้ามีพวกนอกรีตประกาศ ก็นะ ก็ต้องมีบางส่วนที่แฉลบมาทางวัด เพราะ
    ฟังแล้วเหมือนกัน แต่ ปฏิปทาของวัดนั้น น่าเลื่อมใสกว่า ย่อมชักจูงบางส่วน
    มาได้

    * * *

    ทีนี้ก็เหมือนกัน บางวัดก็ประกาศว่า "ต้องทำลายจิต ต้องไม่เหลืออะไรเลย หากยัง
    เหลือ ยังมีก็ถือว่า ไม่นิพพาน" อันนี้ก็คล้ายๆกัน เป็นการประกาศ ตัดเกมส์พวก
    ที่ประกาศว่า "นิพพานอยู่แล้วไม่ต้องทำ" กับ "พวกปรารภว่าตายแล้วสูญ(พวกนักวิทยา
    ศาสตร์ส่วนใหญ่)" ฟังเผินๆนี่ มันเหมือนกัน แต่พอมาดู ปฏิปทา ก็จะพบว่า ของ
    วัดที่สิ้นกิเลสเนี่ยะ น่าเลื่อมใสกว่า ก็จะทำให้บางส่วนได้มีโอกาสเดินเข้ามา
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    จิตมีดวงเดียวแน่นอนครับ พระบาลีชัดๆไปต้องตีความใดๆ(เอก จรํ)
    ส่วนอาการของจิต(จิตสังขาร)ที่จิตแสดงออกมานั้นมีมากมายเป็นร้อยๆนั้น
    เราก็ล้วนเรียกว่าดวงเช่นกันครับ ถ้าจิตมีหลายดวงคุณจะฝึกฝนอบรมดวงไหน?
    ส่วนเรื่องจิตดำรงนั้น พระพุทธพจน์รับรองไว้ชัดๆ โดยไม่ต้องตีความ
    เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี
    จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
    ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้น
    จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อมเพราะยินดีพร้อม
    จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
    ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

    ^
    ^
    เมื่อไม่มีความยึดมั่นถือมั่นอย่างแรกกล้าไม่มีในจิตนั้น
    จิตย่อมเบื่อหน่ายในขันธ์๕ เมื่อเบื่อหน่าย จิตก็คลายกำหนัดในขันธ์๕
    จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ใช่จิตนั้น(ภิกษุนั้น)ดับรอบเฉพาะตนมั้ย?

    ******

    จิตไม่ใช่ใจ(มนัส)แน่นอน มีพระพุทธพจน์รับรองชัดๆครับ

    โกฏฐิกสูตร
    พระมนัสของพระผู้มีพระภาคมีอยู่แท้
    พระองค์ก็ทรงรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยพระมนัส
    แต่พระองค์ไม่มีความพอใจรักใคร่ พระองค์ทรงมีจิตหลุดพ้นแล้ว

    อ่านที่นี่
    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนแบบนี้แล้ว
    ยังจะต้องตีความหรือสรุปไปเพื่ออะไร? ว่าเป็นทัศนคติของใคร?(ถ้าไม่ใช่ของพระพุทธองค์)
    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จะเห็นว่ามันมีดวงเดียว ก็ไม่เป็นไร ถ้าจะนั่งยัน นอนยัน ก็ตาม^^

    ก็ยังดีกว่าเห็นว่า จิตเป็นเรา :cool:
     
  10. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    จิตเป็นหนึ่ง เพราะจิตเกิดขึ้นทีละขณะๆ จะเกิิดพร้อมกันไม่ได้
    เมื่อกล่าวโดยรวมแล้วจะเป็นจิตขณะใดก็ตาม นับเป็นหนึ่ง
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    การไม่มั่นหมายนี้หมายถึงขันธ์5นะครับ(เพราะตัณหาปัจจัยอุปาทาน อุปาทานปัจจัยภพ ภพปัจจัย ชาติ) ชาตินี้แหละ คือการก่อ หรือการมั่นหมายขันธ์5เป็นจริงเป็นจังเป็นเรา(อันนี้พระสูตรแปล)คุณไม่ใช่ใคร....ว่าพระอรหันต์มีจริงใหม? เราก็ต้องบอกว่ามีจริงในพุทธประวัติ หรือ ตามประวัติต่างต่างที่บันทึกไว้.....ถ้าใช้ความคิดพิจารณาจากปุถุชนอย่างผมแต่อ้างอิงจากพระสูตร......พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ยังไม่นิพพาน นั้น ท่านทำลายภพ ชาติ เพราะสมุทัยคือตัณหาอันเป็นปัจจัย อุปาทาน และอุปาทานปัจจัยภพ ภพปัจจัย ชาติ(การก่อของขันธ์อย่างที่กล่าว)....(อันนี้ความเห็นส่วนตัว)เราเห็นท่านมีขันธ์ คือ รูปขันธิ์เป็นอย่างนึง....แต่เราจะไม่สามารถทราบได้เลยว่า ท่านรู้สึกกับขันธ์อย่างไร(แต่เราเห็นท่านยังมีตัวเป็นเป็นอยู่)......ถ้าจากปฎิจสมุปบาทนั้นพระอรหันต์ดับทุกข์อริยสัจแล้ว(ปัญจุปาทานนักขันธ์).....แต่ท่านยังมีชีวิต ยังกินดื่มอยู่...แล้วท่านจะรู้สึกกับขันธ์ท่านอย่างไร...และ ท่านจะต้องรู้รสนิพพานแล้วแน่นอนตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่.....แล้วคุณว่ายังไง?:cool:
     
  12. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ............คราวนี้ ก็ คงเหมือนกับที่ท่านพี่พี่ได้กล่าวถึงประโยชน์ ต่อ พระศาสนา.....อีกนิดคือ เราไปมองขันธ์พระอรหันต์ กับ พระอรหันต์ มองขันธ์ ตัวเอง มันไม่เหมือนกันแน่นอน เพราะท่านสิ้นทุกข์ สิ้นตัณหาแล้ว จะอยู่ที่ใด(จะปรากฎให้ใครเห็นได้หรือไม่ก็แล้วแต่)ก้ต้องเหมือนกัน(เกี่ยวกับขันธ์)....ส่วนเราปุถุชนมองขันธ์เป็นตนอยู่เลย.....ก็เลยต้องกลับไปที่การปฎิบัติภาวนาอย่างเดิม นั่นแหละครับดีสุด:cool:(อ่านโพสก่อนของผมเกี่ยวกับความเห็นเรื่องพระอรหันต์ที่มีชีวิต):cool:สุดท้ายคือการทำลายอาสวะกิเลสในเรื่องต่างต่าง เพื่อไปสู่นิโรธ(การดับ) ด้วย อริยมรรคมีองค์8
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2012
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    หวังว่าน้องๆคงรับผิดชอบกับทัศนะของน้องเองนะว่า"จิตเป็นเรา"เสียหายตรงไหน

    มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ชัดๆว่า "เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว"ฯลฯ

    ตกลงพระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้กำกวม"จิตของเราเป็นสมาธิ"หรือว่า

    จิตที่เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้วที่พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงนั้น

    เป็นของใครก็ไม่รู้ ใช่หรือไม่?

    อะไรที่เป็นของเรา เป็นเรา คือจิตของเราได้ทำไว้ใช่หรือไม่?

    ส่วนอะไรที่เป็นของๆเรา คือจิตยึดสิ่งนั้นว่าเป็นของๆเราใช่หรือไม่?

    ที่บอกว่า"เห็นว่า จิตเป็นเรา" ใครที่เห็นว่าจิตเป็นเรา?

    ช่วยตอบแบบตรงๆก็ดีนะ จะได้ไม่สับสน ตามความเข้าใจก็ได้ แต่....


    ^
    ^
    น้องๆจะตอบตามตำราที่เชื่อถือตามๆกันมาก็ไม่ว่ากัน

    ส่วนความจริง(สัจจะ)นั้น ต้องยืนอยู่บนหลักเหตุผลที่ตริตรองตามความเป็นจริงได้

    คำว่าเป็นหนึ่ง ก็น่าจะชัดเจนในตัวว่า ต้องไม่มีสอง

    การเกิดที่ละขณะนั้น รู้ได้อย่างไรว่าเกิดที่ละขณะ?

    ถ้ารู้ว่าเกิดที่ละขณะ ก็แสดงว่ารู้อยู่ตลอดใช่หรือไม่?

    ว่าอะไรเกิดขณะไหน? จึงได้บอกว่าเกิดที่ละขณะ

    อย่าบอกว่าไม่รู้นะ ถ้าบอกว่าไม่รู้ ก็เป็นการบอกให้รู้อีกว่า เดาๆเอาเท่านั้นใช่หรือไม่?

    พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาเอกของโลก ย่อมต้องยืนอยู่บนหลักเหตุผลตามความเป็นนจริง

    มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ชัดเจนว่า"เอว เมตํ ยถาภูตํสมฺมปฺปญฺญาย ทฎฺฐพฺพํ"

    แปลว่า ท่านทั้งหลายพึงเห็นเรื่องนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญา

    ช่วยตอบให้เป็นที่เข้าใจด้วย ถึงจะเป็นความเข้าใจโดยส่วนตัวกตาม

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  14. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    มโนวิญญาณ-จิต-ใจ เป็นไฉน ?
    คนโดยมากเข้าใจว่า วิญญาณทั้งหลายเกิดเองได้ ราวกับว่ามันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งกายสิทธิ์ เกิดขึ้นได้เหนือเหตุผลใดๆ โดยมิต้องอาศัยเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ปราศจากเหตุผล และพระสัมมามัมพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนดังนั้น
    สรรพสิ่งทั้งหลายในโลก ไม่ว่าอะไรทั้งนั้นย่อมไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่จะยืนหยัดคงทนอยู่ได้เลยแม้แต่น้อย แม้จิตใจหรือวิญญาณก็เหมือนกัน ย่อมจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ทั้งจะต้องมีเหตุเสียก่อน จิตหรือวิญญาณจึงจะเกิดขึ้นมา ด้วยเหตุนี้เอง ไฉนเล่าในขณะจุติปฏิสนธิจึงจะกลายเป็นจิตประเภทเดียวกัน แล้วจะล่องลอยไปเกิดด้วยเหตุผลอะไร ความเสียหายสำหรับผู้ที่เข้าใจผิดนี้มีมากมาย จะขอยกเรื่องราวในครั้งพุทธกาลที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มาเสนอสักเรื่องหนึ่ง
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้นครสาวัตถี ครั้นนั้นภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า สาติ เป็นบุตรของชาวประมง มีความเห็นเป็นบาปขึ้นมาอย่างนี้ว่า
    พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เรารู้เป็นอย่างดีว่า "วิญญาณอันนี้แหละที่แล่นไปอยู่ชาตินั้นชาตินี้ เที่ยวเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีวิญญาณอื่นที่จากนี้" ฯลฯ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าถามว่า วิญญาณเป็นไฉน ? สาติ (วิญญาณที่เธอกล่าวถึงนี้มีลักษณะอย่างไร ท่านสาติ ?)

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สภาพอันใดเล่าเป็นผู้รู้สึก เป็นผู้เสวยวิบากของกุศลและอกุศลในภพนั้น ๆ วิญญาณที่ข้าพระองค์กล่าวถึงนั้น หมายถึงสภาพอันนี้แหละพระเจ้าข้า"

    "โมฆบุรุษ นี่น่ะหรือ เธออ้างว่ารู้ธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างถูกต้อง ใครบอกเธอเช่นนั้น เราเคยบอกกล่าวมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง โดยวิธีต่างๆ มิใช่หรือว่า วิญญาณอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น เว้นจากปัจจัยเสียแล้ว ความเกิดของวิญญาณย่อมไม่มี แต่เธอโมฆบุรุษกลับมากล่าวตู่เราด้วยความเห็นที่ตัวถือไว้ผิด เธอกำลังขุดตัวเอง (ขุดหลุมฝังตัวเอง) เธอจะประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก และข้อนั้นจะเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่เธอสิ้นกาลนานทีเดียว

    ........

    "ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกเธอมีความเข้าใจในธรรมที่เราแสดงแล้ว เหมือนกับสาติภิกษุ ผู้กล่าวตู่เราด้วยความเห็นอันตนเองถือไว้ผิด ?"

    "หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ได้แสดงธรรมให้ข้าพระองค์ฟังมาโดยวิธีต่างๆ ว่า วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย เว้นจากปัจจัยเสียแล้วการเกิดของวิญญาณย่อมมีไม่ได้"

    "สาธุ ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจธรรมที่เราแสดงถูกต้องแล้ว เพราะว่าเราได้แสดงมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง โดยวิธีต่างๆ ว่า วิญญาณเกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัย เว้นจากปัจจัยแล้ว การเกิดของวิญญาณย่อมมีไม่ได้ ท่านสาติภิกษุ บุตรของชาวประมงผู้นี้ตัวถือผิดไปเอง แล้วกลับมากล่าวตู่เราเข้าด้วย สาติเขากำลังขุดตนและจะประสบสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนานทีเดียว

    ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยอะไร ก็มีชื่ออยู่เรียกตามปัจจัยนั้นๆ วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ กับ รูป ก็มีชื่อเรียกว่า จักษุวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโน กับ ธรรมารมณ์ ก็มีชื่อ มโนวิญาณ

    ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยอะไร ก็มีชื่อตามปัจจัยนั้นๆ

    (ม. มู ๑๒/๔๗๒)

    --> พุทธภาษิตนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงติเตียนพระสาติมากมาย คนโดยมากเชื่อกันว่า วิญญาณมิได้อาศัยปัจจัยเกิด วิญญาณล่องลอยไปเกิดอีกในชาติหน้าได้ แล้วอาจจะคิดว่า ถึงจะยังเข้าใจไม่ถูกต้อง แต่ก็เป็นเรื่องเล็กน้อยเท่านั้น เพราะถึงอย่างไรก็เชื่อว่ามีชาติหน้าอยู่แล้ว

    --->> ถ้าจะพูดว่าความเห็นผิดนิดหนึ่งเท่านั้น ก็เป็นความจริง แต่ถ้าพิจารณากันให้ละเอียดอีกสักหน่อยแล้วก็จะเห็นว่า ความเห็นผิดนี้มิใช่จะเกิดขึ้นมาแต่เพียงชาติเดียวเท่านั้น ยังจะติดตัวต่อไปถึงชาติหน้าและชาติต่อๆ ไปด้วย ก็จะไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อยเลย

    --> มิหนำซ้ำการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริงนั้น ก็คือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จะต้องผ่านญาณปัญญาไปเป็นลำดับ ๆ จะต้องเข้าไปรู้ความจริงของขันธ์ ๕ หรือรูปนาม แล้วก็จะต้องประจักษ์ในขันธ์ ๕ หรือรูปนามนั้น เป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา

    ถ้าผู้ใดมิได้ศึกษาให้เข้าใจในเหตุผลตามสภาวธรรม มีความเชื่อมั่นแฝงอยู่ภายในจิตใจอย่างมั่นคงว่า จิตหรือวิญญาณนั้นเป็นอมตะ หรือเป็นสิ่งกายสิทธิ์เกิดขึ้นมาได้เองโดยมิได้อาศัยเหตุปัจจัย ครั้นเมื่อสิ้นชีวิตลง จิตหรือวิญญาณก็จะล่องลอยไปเกิดใหม่ได้ ความเข้าใจผิดที่แนบแน่นอยู่ภายในจิตใจเช่นนี้ ก็ย่อมจะขวางกั้นปัญญามิให้เกิดขึ้นมา เพราะนามที่เกิดขึ้น ก็จะไม่เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ก็เป็นอันว่าไม่มีหวังที่จะก้าวเดินไปสู่ ความพ้นทุกข์ได้เลยเป็นอันขาด เหมือนพระภิกษุสาติ เป็นต้น

    พระภิกษุ คือผู้เห็นภัยในวัฏฏะก็ไม่มีความหมายอะไรเลย เพราะจะเดินทางไปในทิศที่ตรงกันข้ามกับมรรคผล ทั้งในชาตินี้และชาติต่อๆ ไปด้วย ขอให้ท่านพิจารณาดู แม้จะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความจริงเป็นภัยที่ใหญ่หลวงนัก...

    ข้อมูลที่ใช้ในการเรียบเรียง ชีวิตหลังความตาย : บุญมี เมธางกูร
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2012
  15. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    คนเขลาย่อมตีความเข้าหาตัวเอง
    ตามความเข้าใจของตนเองเสมอ
    ก็คิดไปว่าตนเป็นผู้รู้ ย่อมถูกต้องเสมอ
    ก็จิตเป็นเราใครจะมาคัดค้านได้
    เพราะมีทิฏฐิว่าจิตเที่ยงไม่เกิดไม่ดับ
    มีทิฏฐิว่าจิตนอกเหนือไปจากขันธ์ ๕ ย่อมไม่เกิดไม่ดับ


    เมื่อจิตดวงหนึ่งดับก็เป็นปัจจัยให้จิตดวงใหม่เกิด
    เป็นเช่นนี้ตลอดไปจนกว่าจะเข้าถึงความดับคือดับขันธ์ปรินิพพาน
    จิตเกิดได้หลายอย่าง จิตโกรธก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีความเมตตาก็อย่างหนึ่ง เป็นต้น
    เรียกว่าจิตคนละดวง ถ้าจิตไม่เกิดไม่ดับ เมื่อจิตโกรธเกิดขึ้น ก็ต้องโกรธตลอดเวลา
    คือจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นจิตที่มีความเมตตาได้เลยจริงหรือไม่?

    ความเปลี่ยนไปของจิต เช่น มีความโลภ มีความโกรธ มีความหลง
    มีศรัทธา มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา มีความไม่โลภ มีความไม่โกรธ มีความไม่หลง เป็นต้นเหล่านี้
    นี่แหละที่เรียกว่าจิตเกิดดับ ที่เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง
    ดังที่พระอนุรุทธจารย์ได้ขยายความ มีแสดงไว้ในคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะ
    ว่าโดยย่อจิตมี ๘๙ ดวงหรือว่าโดยพิศดารมี ๑๒๑ ดวงนั่นเอง

    ***จิตนั้นไม่ได้หมายความว่าเป็นดวงๆกลมๆ อะไรทำนองนั้น แต่ที่ยกมาพูดเป็นดวงๆนั้น
    เพื่อเหมาะแก่การศึกษาหรือการสนทนาธรรม จึงใช้คำว่าเป็นดวงๆ เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจให้ได้ง่ายขึ้น
    ถึงแม้ว่าจะพยายามที่จะหาคำอื่นมาแทนเกินคำว่าจิตเป็นดวงๆ ก็ไม่มีคำอื่นที่จะกล่าวได้เหมาะสมดีเกินไปกว่า
    คำว่าดวงๆ ได้เลย ตามธรรมดาจิตนั้นไม่มีรูปร่าง สัณฐาน ไม่มีสรีระ ไม่มีสีสรร ไม่มีที่อยู่ที่อาศัยที่แน่นอน
    แต่ก็มีความเกิดดับตลอดเวลา แม้แต่ในเวลาหลับหรือตื่น หรือแม้กระทั่งภพนี้สิ้นสุดไป จนกระทั้งภพใหม่
    จิตก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา(ยกเว้นจุติของพระอรหันต์)

    คำว่าจิตไม่มีที่อยู่ที่อาศัยแน่นอนคือ บางที่เกิดที่ตา บางที่เกิดที่หู บางที่เกิดจมูก บางทีเกิดที่ลิ้น
    บางที่เกิดที่กาย บางที่เกิดที่ใจ บางที่ก็เกิดพ้นทวารทั้ง ๖ เรียกว่าทวารวิมุต

    **การเกิดของจิตที่ไม่แน่นอนเหล่านี้บางท่านเรียกว่า วิญญาน ก็ถูกต้อง
    บางท่านเรียกว่าเป็นสัมภเวสี คือแสวงหาที่เกิดอยู่ร่ำไป ก็คือเกิดตามทวารทั้ง ๖ และทวารวิมุตนั่นเอง
    แต่อย่าเข้าใจว่าจิตหรือวิญญาณเมื่อตายแล้วย่อมร่องลอยเรื่อยไป หรือแสวงหาที่เกิดใหม่ จนกว่าจะพบหรือพอใจ
    ในที่พอใจจึงจะเกิด ถ้าหากว่ามีเข้าใจเป็นอย่างนั้น (จุติ-ปฏิสนธิ) ตามหลักที่พระพุทธองค์กล่าวไว้
    คงต้องเป็นโมฆะ หรือเป็นหมันแน่นอน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2012
  16. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    กราบอนุโมทนาค่ะ อาแปะ
    เข้าใจได้ดีมากๆ ค่ะ

     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    รู้หรือเปล่าว่ากำลังกล่าวหาว่าร้ายพระพุทธพจน์อยู่

    ที่ยกมาให้แก้อรรถนั้น เป็นพระพุทธพจน์ล้วนๆ

    มีแต่คนเขลาเบาปัญญาเท่านั้น

    ที่หลงเชื่อตามๆกันมาโดยไม่เคยพิสูจน์

    แต่กลับปฏิเสธพระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ แบบนี้จะให้เรียกว่าอะไรดีล่ะ?

    อย่ายัดเยียดข้อหาคนอิ่นโดยขาดหลักฐาน ทำตัวไม่สมกับเป็นผู้มีอายุเลย

    ถามไปก็แก้อรรถมาสิ ไม่ใช่ขึ้นต้นก็กล่าวหาว่าร้ายเลยทันที

    ทั้งที่คำถามที่ถามไปยกมาจากพระพุทธพจน์ทั้งนั้น ถ้าไม่ใช่แย้งมาสิ

    ขอหลักฐานหน่อยสิว่า "เคยพูดว่าจิตเที่ยงไว้ที่ไหน" ใส่ความกันชัดๆ

    ไม่เคยพูดไว้ที่ไหนเลยว่า ฉันคือความถูกต้อง อย่ามั่วเองสิ

    ช่วยยืนอยู่บนหลักเหตุผลหน่อย ตอบไม่ได้ก็ไม่ต้องกล่าวหากันก็ได้

    อย่าทำให้ศาสนาต้องเรียวลงไปกว่านี้เลย เพราะขาดความชอบธรรม.

    ถ้าคิดว่ารู้ก็ตอบแทนได้เลย ไม่ต้องหาพรรคพวกมาช่วยสนับสนุนความถูกต้องหรอก

    เจริญในธรรมทุกท่าน...

     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คุณธรรมภูติ ว่า สติเที่ยงไหม สมาธิเที่ยงไหม ปัญญาเที่ยงไหม
     
  19. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ขันธ์ ๕ คือ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    หรือเรียกว่า ขันธ์ ๕ นั้นตกอยู่ภายใต้ของกฎไตรลักษณ์ นี้เป็นพุทธพจน์แน่นอน
    แต่ทว่า ผู้มีทิฏฐิว่า วิญญาน ไม่ใช่ จิต วิญญาณกับจิตเป็นคนละส่วนกัน เห็นว่า
    จิตอยู่นอกเหนือไปจากขันธ์ ๕ ย่อมเห็นว่าจิตเที่ยง และสิ่งที่ไม่เที่ยงคือขันธ์ ๕

    เพื่อความผาสุก โปรดพิจารณาใช้ดุลยพินิจการฟังธรรม เมื่อสติตนบริบูรณ์ การฟังธรรมย่อมบริบูรณ์
    ต้องเข้าใจด้วยว่า การกล่าวธรรม หรือยกธรรมใดๆ มากล่าวอ้าง ต้องไม่มีกล่าวเพื่อเป็นการเสียดสีผู้ใด
    ให้ได้รับความเสียดแทงทางจิตใจ ย่อมเป็นไปเพื่อดังโสภณสาธารณะชน และย่อมไม่ทำตัวเหมือนมด
    แม้ปากกัดถูกดึงจนหัวขาด ปากก็ยังกัดติดอยู่ไม่ยอมปล่อย เหมือนจิ้งจกหรือตุ๊กแก แม้โดนหนังยางดีด
    อ้าปากลิ้นห้อยตีนก็ยังเกาะติดไม่ปล่อย หรือที่กล่าวกันบ่อยๆ ว่าวัวสันหลังหวะ

    การฟังธรรมของบัณฑิตย่อมน้อมนำมาเพื่อปรับปรุงแก้ไข เพื่อละ ตัณหา ทิฏฐิ มานะ ให้เบาบางลง
    ตรงกันข้ามกลับนำมาเพื่อมาเป็นอาหารของ ตัณหา ทิฏฐิ มานะ แทน ซะงั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2012
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ถามตรงๆเถอะ ต้องการสื่อถึงอะไร?
    อะไรที่พระพุทธองค์มิได้ทรงกล่าวไว้
    ก็ไม่ควรยัดเข้าไป เพื่อวางเลศนัยไว้
    จะเกิดความสับสนต่อผู้ปฏิบ้ติได้ง่าย

    สติ สมาธิ ปัญญาล้วนจัดเป็นมรรค
    จึงต้องกระทำให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป

    ถ้ามันเป็นสิ่งเที่ยงแท้เสียแล้ว จะต้องไปเจริญหรือสร้างมันขึ้นมาทำไม?
    เช่น"จิตเที่ยง"ที่ชอบยัดเยียดให้กันนัก ก็ไม่มีพระพุทธพจน์ทรงรับรองไว้

    แต่พระพุทธองค์ทรงรับรองไว้มากมายในพระสูตรว่า
    สิ่งเหล่านั้นล้วนทำให้คงที่ได้ มันคนละเรื่องกับเรื่องเที่ยง

    คำว่า"เที่ยง"ก็ชัดเจนแล้ว เป็นอยู่อย่างไร ก็เป็นจะเป็นอยู่อย่างนั้นตลอดไปใช่หรือไม่?
    เช่น สัตว์ มนุษย์ เทวดา อิน พรหมเคยเกิดมาเป็นอะไร
    เมื่อตกตายไป ก็จะกลับมาเกิดเป็นเช่นนั้นอีกแบบนี้จึงจะเรียกว่า"เที่ยง"

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...