รวมคำสอนพระสุปฏิปันโน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 กรกฎาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    เรื่องสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

    เราทั้งหลาย ต่างเกิดมา ด้วยวาสนา มีบุญพอเป็นมนุษย์ได้ อย่างเต็มภูมิ ดังที่ทราบ อยู่แก่ใจ อย่าลืมตัว ลืมวาสนา โดยลืม สร้างคุณงาม ความดีเสริมต่อ ภพชาติของเรา ที่เคยเป็นมนุษย์ จะเปลี่ยนแปลง และกลับกลาย หายไป เป็นชาติที่ต่ำทราม ท่านจึงสอน ไม่ให้ดูถูก เหยียดหยามกัน เมื่อเห็นเขาตกทุกข์ หรือกำลังจน จนน่าทุเรศ เราอาจมีเวลา เป็นเช่นนั้น หรือ ยิ่ง กว่านั้นก็ได้ เมื่อถึงวาระเข้าจริงๆ ไม่มีใครมีอำนาจ หลีกเลี่ยงได้ เพราะกรรมดี กรรมชั่ว เรามีทางสร้างได้ เช่นเดียวกับผู้ อื่น ผู้สงสัยกรรม หรือไม่เชื่อกรรมว่ามีผล คือ ลืมตน จนกลายเป็นผู้มืดบอด อย่างช่วยไม่ได้ กรรม คือ การกระทำดีชั่วทาง กาย วาจาใจต่างหาก ผลจริง คือ ความสุขทุกข์ มนุษย์ก็มีกรรมชนิดหนึ่ง ที่พาให้มาเป็นเช่นนี้ ซึ่งล้วนผ่านกำเนิดต่างๆ มา จนนับไม่ถ้วน ให้ตระหนักในกรรมของสัตว์ว่า มี ต่างๆกัน เพราะฉะนั้น ไม่ให้ดูถูกเหยีดหยาม ในชาติกำเนิด ความเป็นอยู่ ของกันและกัน และสอนให้รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมดี กรรมชั่วเป็นของๆตน

    เรื่องคนดีมีศีลธรรม

    สมบัติของโลก มิใช่สมบัติอันแท้จริง ของเราตัวจริง ไม่มีใครเหลียวแล สมบัติในโลก เราแสวงหามา หามาทุจริต ก็เป็นไฟ เผา เผาตัวทำให้ฉิบหายได้จริงๆ อย่าสำคัญว่า ตนเก่งกาจสามารถ ฉลาดรู้กว่าเขาเลย ถึงกับ สร้างความมืดมิด ปิดตา ทับ ถมตัวเอง ไม่มีวันสร่างซา เมื่อถึงเวลาจนตรอก อาจจนยิ่งกว่าสัตว์

    พระธรรมเทศนาบทสั้น เรื่องไม่ควรติเตียน

    การตำหนิติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเอง ให้ขุ่นมัวไปด้วย การกล่าวโทษผู้อื่น โดยขาดการไตร่ ตรอง เป็นการสั่งสมโทษ และบาปใส่ตน ให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวช ต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาป ภัยแก่ตนเสีย ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงควรเห็นคุณค่า ของผู้อื่น ผู้มีปัญญา ซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความพากเพียร แยก กิ เลสให้หมดไป จะไม่เกียจคร้านขยันหมั่นเพียร ทั้งกลางวันและกลางคืน

    ใครผิดถูกชั่วดีก็ตัวเขา ใจของเราเพียรระวัง ตั้งถนอม

    อย่าให้อกุศล วนมาตอม ควรถึงพร้อมบุญกุศล ผลสบาย


    คัดมาจาก หนังสือรวมคำสอนจากพระป่า

    [​IMG] <!--MsgFile=0-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรไปทำความผูกพัน เพราะเป็นสิ่งของที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง แม้จะนำความผูกพันและมั่นใจในสิ่ง นั้น กลับมาเป็นปัจจุบัน ก็เป็นไปมิได้

    ผู้ทำความสำคัญ มั่นหมายนั้น เป็นทุกข์ แต่ผู้เดียว โดยความไม่สมหวังตลอดไป อนาคต ก็ยังไม่มาถึง ก็เป็น สิ่งไม่ควรยึด เหนี่ยว เกี่ยวข้องเช่นกัน อดีต ควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตก็ควรปล่อยไว้ ตามกาลของมัน ปัจจุบันเท่านั้น ที่จะสำเร็จเป็น ประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ไม่สุดวิสัย <!--MsgFile=1-->


    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    เรื่องทางพ้นทุกข์

    การสำเร็จมรรคสำเร็จผล ไม่ได้สำเร็จที่อื่นที่ไกล สำเร็จที่ดวงใจของเรา ธรรมะ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ท่านวางไว้ถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ ท่านก็ไม่ได้วางไว้ที่อื่น วางที่กาย ที่ใจของเรานี้เอง นี่เรียกว่า เป็นที่ตั้ง แห่งธรรมวินัย ความที่พ้น ทุกข์ ก็จะพ้นจากที่ไหนเล่า คือ ใจเราไม่ทุกข์ แปลว่า พ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น ได้ยินแล้วให้พากันน้อมเข้าภายใน ธรรมะคำ สั่งสอนของพระพุทธเจ้า รวมไว้ในจิตดวงเดียว

    เอกํ จิตฺตํ ให้จิตเป็นของเดิม จิตฺตํ ความเป็นอยู่ ถ้าเราน้อมเข้าถึงจิตแล้ว ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ถ้าเราไม่รวมแล้วมันก็ไม่ สำเร็จ ทำการทำงานทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ต้องรวมถึงจะเสร็จถ้าไม่รวมเมื่อไรก็ไม่สำเร็จ

    เอกํ ธมฺมํ มีธรรมดวงเดียว เวลานี้เรา ทั้งหลายขยายออกไปแล้ว ก็กว้างขวางพิสดารมากมาย ถ้าวิตถาร นัยก็พรรณนาไป ถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ รวมเข้ามาแล้ว สังเขปนัยแล้ว มีธรรมอันเดียวเอกํ ธมฺมํเป็นธรรมอันเดียว

    เอกํ จิตฺตํ มีจิตดวงเดียว นี่เป็นของเดิมให้พากัน ให้พึงรู้ พึงเข้าใจ ต่อไป นี่แหละต่อไป พากันให้รวมเข้า มาได้ ถ้าเราไม่ รวมนี่ไม่ได้ เมื่อใดจิตเราไม่รวมได้เมื่อใด มันก็ไม่สำเร็จ

    นี่แหละ ให้พากันพิจารณาอันนี้ จึงได้เห็นเป็นธรรม เมื่อเอาหนัง ออกแล้ว ก็เอาเนื้อออกดู เอาเนื้อออกดู แล้วก็เอากระดูก ออกดู เอาทั้งหมดออกดู ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ตับไตออกมาดู มันเป็นยังไง มันเป็นคนหรือเป็นยังไง ทำไมเราต้องไปหลงเออนี่ แหละพิจารณาให้มันเห็นอย่างนี้แหละ มันจะละสักกายทิฐิแน่มันจะ ละวิจิกิจฉาความสงสัยจะเป็น อย่างโน้นอย่างนี้มันเลย ไม่มี สีลพัตฯ ความลูบคลำ มันก็ไม่ลูบคลำ อ้อจริง อย่างนี้ เมื่อเห็น เป็นเช่นนี้แล้ว จิดมันก็ว่าง เมื่อรู้จักแล้ว ก็ตัด นี่มันจะ ได้เป็นวิปัสสนาเกิดขึ้น อันนี้เรามี สมาธิแน่นหนาแล้ว ทุกขเวทนา เหลานั้น มันก็เข้าไม่ถึงจิตของเรา เพราะเราปล่อยแล้ว เราวางแล้ว เราละแล้ว ในภพทั้งสามนี้เป็นทุกข์อยู่ เรื่องสมมติทั้งหลาย จิตนั้นก็ละ ละภพทั้งสาม มันก็เป็น วิมุตติ หลุดพ้น ไปหมด นี่ละเป็น วิมุตติ แปลว่า หลุดพ้น จะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ จิตนั้น จะได้เข้าสู่ปรินิพพานดับทุกข์ ในวัฏสงสารไม่ต้อง สงสัยแน่ เวียนว่ายตายเกิด ในโลกอันนี้ เรื่องมัน เป็นอย่างนี้ วัฏสงสาร ทำไมจึงว่า วัฏ คือ เครื่องหมุนเวียน สงสาร คือ ความสงสัยในรูป เฮอ ในสิ่งที่ทั้งหลายทั้งหมด มันเลยไม่ละวิจิกิจฉาได้ซี

    เดี๋ยวนี้เรารู้แล้ว ไม่ต้องวนเวียนอีก เกิดแล้วก็รู้แล้วว่า มันทุกข์ ชราก็รู้แล้ว มันทุกข์ พยาธิก็รู้แล้วว่า มันทุกข์มรณะก็รู้แล้ว มันทุกข์ เมื่อเราทุกข์เหล่านี้ ก็ทุกข์ เพราะ ความเกิด เราก็หยุด ผู้นี้ไม่เกิด แล้วใครจะเกิดอีกเล่า ผู้นี้ไม่เกิดแล้ว ผู้นี้ก็ไม่ แก่ไม่ตาย ผู้นี้ไม่ตาย แล้วอะไรจะมาเกิด มันไม่เกิด จะเอาอะไรมาตายดูซิ ใจความคิดของเรา เดี๋ยวนี้เราเกิด เกิดแล้วก็ ตาย ตายแล้ว ก็เกิด เกิดแล้ว ก็ตาย อยู่อย่างนี้ มันก็เป็น ทุกข์ ไม่แล้วสักที


    คัดมาจาก หนังสือรวมคำสอนจากพระป่า

    <!--MsgFile=2-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    เรื่องทุกข์และการแก้ทุกข์

    เรื่องของจิตนี้ เป็นเรื่องสลับซับซ้อน เมื่อพูดตามความรู้สึกของคน จิตที่มันรู้ จิตที่มันไม่รู้ มันสลับซับซ้อน เรื่องจิตนี้ ถ้าพูด กันง่ายๆ มันก็มีแต่ว่า เรื่องที่มันเกิดทุกข์ กับเรื่องที่มันดับทุกข์ เท่านั้นเอง

    เรื่องจิตนี้ ตามธรรมชาติของมันแท้มันไม่มีอะไร ถ้าหากว่ามันเข้าใจในตัวมันเองแล้ว มันเข้าใจในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของ มันแล้ว ก็ไม่มีอะไร มันก็มีแต่เรื่อง เกิดแล้วดับไป เรื่องทั้งหลายซึ่ง มันจะสำคัญมั่นหมายนั้น คล้ายๆกับ ก้อนหินก้อนหนึ่ง ที่มันวางอยู่ข้างหน้าเรา มันจะหนักเป็นตัน ก็ช่างมันเถิด แม้น้ำหนักมันมี แต่เมื่อเราไม่ไปยกมันก็ไม่หนัก จะหนักก็หนัก เฉพาะมัน เรื่องทุกอย่างอารมณ์ทุกอย่าง มันก็เหมือนกัน ดีหรือชั่วก็ปล่อยไปตามเรื่องของมัน มันไม่รู้เรื่องของมันเหมือน กับก้อนหินที่มันหนัก มันจะหนักกี่ตัน กี่กิโลกรัม ก็ช่างมัน ถ้าเราไม่ยกมันก็ไม่หนัก แต่ว่ามันยังมีน้ำหนักของมันอยู่แต่มัน ไม่ทำให้มนุษย์หนัก อารมณ์ทั้งหลายนี้ ก็เหมือนกัน ฉันนั้นแหละ

    มันก็เป็นอย่างเดียวเท่านั้น คือ เป็นอารมณ์เท่านั้น มันจะดี หรือ ชั่วมานั้น ก็เพราะ เราเข้าไปหมายมั่น ถ้าเราเข้าไปหมาย มั่นว่า มันดี มันชั่ว ก็เท่ากับ เข้าไป แบกมัน เมื่อไป แบกมัน มันก็หนัก ถ้าปล่อยวางมัน มันก็ไม่หนัก ความเป็นจริงนั้น มันมีความสำคัญ มันหมายเฉพาะตัวเรา อารมณ์ต่างๆมันก็เป็นอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมชาติของมัน เกิดแล้วก็ดับไปไม่มีดีมีชั่ว โลกนี้มันก็สม่ำเสมอ ดีอยู่หรอก ที่มันไม่สม่ำเสมอ นั่นเพราะจิตของเราหลงไปอุปาทานมั่นหมายมันเสีย ของสมมติ ก็เช่น กัน เอามาใช้แล้วก็วางไว้ท่านให้ วางลาภก็ดี ยศสรรเสริญ ก็ดีสุขก็ดี มีอยู่แต่ท่านให้วางเอามาใช้เป็นเวลา แล้วก็วางไว้ ถ้าทำถูกเรื่องดังนี้ ก็ไม่มีอะไร ถ้าเราไม่รู้จักโลก เราก็เป็นทุกข์ ถ้าเรารู้จักโลก แจ้งโลกแล้ว ก็ไม่มีอะไร ไม่ให้ไปรู้ ธรรมะที่ไหน แต่ให้รู้ว่าโลกที่เราอยู่นี่ มันคืออะไร สมมตินี้มันก็อยู่ที่สมมตินี้ แต่เรารู้จักสมมตินี้ให้มันเป็นวิมุตติ

    ถ้ามีสมมติ ก็ต้องมี วิมุตติ อยู่ในโลกอันนี้อย่างให้รู้เท่าทัน

    ถึงแม้โลก มันจะวุ่นวาย ก็ยิ่งได้ศึกษามาก เมื่อมีความทุกข์ ขึ้นมานั่นแหละ ได้ศึกษาอารมณ์อยู่ กำลังศึกษาธรรมะอยู่ เมื่อ ทุกข์เกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ มันต้องให้คิดเมื่อคิดมันก็เกิดปัญญา รู้จักแก้ปัญหาในอารมณ์อันนั้นได้ สมกับที่พระพุทธเจ้าท่าน ทรงเรียกว่า ทุกข์สัจจ์ ทุกข์เป็นสัจธรรม อันหนึ่งเหมือนกัน ท่านจึงสอนมนุษย์ ให้รู้จักทุกข์

    ถ้าไม่รู้จักทุกข์ มันก็ทุกข์ ถ้ารู้จักทุกข์ มันก็ไม่ทุกข์

    พระพุทธเจ้าทรงสอนเรา ไม่ให้หลบหลีกเหตุการณ์ ถ้าทุกข์แสดงให้เรา พิจารณาเอาทุกข์นั้นมาศึกษา ถ้าเรามีสติอยู่ มีสัมปชัญญะอยู่ มีความรู้ตัวอยู่เสมอแล้ว ก็คือ เราได้ประพฤติปฏิบัติธรรม อยู่ตลอดกาล ตลอดเวลาดังนั้น ไม่ควรคิดว่า ธรรมะอยู่ไกล ถ้าเราเห็น สิ่งเหล่านี้ สักแต่ว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เท่านี้ปัญญามันก็เกิด ถ้าอารมณ์สุข ขึ้นมา ทุกข์ขึ้นมา ชอบใจขึ้นมา ไม่ชอบใจขึ้นมา เรานึกเห็นมันทุกอย่างว่า มันก็เท่านั้นแหละ

    คัดมาจาก หนังสือรวมคำสอนจากพระป่า

    <!--MsgFile=3-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    "นอกเหตุเหนือผล"

    วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

    คนทั้งโลก จะให้เขามาพูดถูกใจเรามีไหม จะมาทำถูกใจเราทุกคนมีไหม ไม่มี เมื่อไม่มี เราก็เป็นทุกข์ อยู่ตลอดเวลา ถ้า เราไม่มีการปล่อยวางเราเกิดมาในชีวิตหนึ่ง เราจะหาความสงบว่า คุณต้องทำให้ถูกใจฉัน ฉันจึงจะสงบ ถ้าไม่อย่างนั้นฉัน ก็ไม่สงบ คนคนนี้เกิดมาไม่รู้กี่ชาติก็ไม่มีความสงบเพราะคนหลายคน ใครจะมาพูดให้เราถูกใจเราทุกคน ใครจะมาทำให้ ดีทุกคน มันไม่มีหรอกอย่างนี้ นี่มันเป็นไหม เราต้องศึกษาอย่างนี้

    เราต้องอดทน อดทนต่ออารมณ์ ที่มันเกิดขึ้นมา อย่าไปหมายมั่นอย่าไปยึดมั่น จับมาดูแล้วรู้เรื่อง เราก็ปล่อยมันไปเสียเขา จะพูดอย่างไร ก็รับฟังมันไปเถอะ มันจะทำอะไร ก็ระวังไว้ มันเป็นอย่างนั้นของมัน เราต้องถอยกลับมาอยู่ตรงนี้ เราก็มีความสบาย

    เมื่ออยู่ด้วยกัน กับคนมากๆ มันก็ยิ่งให้การศึกษาเรามากที่สุด ให้มันวุ่นวายเสียก่อน ให้รู้เรื่องของความวุ่นวายเสียก่อน มันจึงจะถึงความสงบ อย่าหนีไปที่ไหน ถ้าไม่อยู่คนเดียว ไม่มีใครพูดดี พูดชั่วให้มันก็สบาย แต่เราจะไม่รู้เรื่อง สบายอย่างนี้ มันไม่มีปัญหา

    ถ้าถูกอารมณ์แล้วปัญญามันไม่มี ก็เป็นทุกข์อย่างนั้น

    สตินี้คือความระลึกได้ เมื่อเราจะพูดอะไร ทำอะไรต้องรู้ตัวเราทำอยู่ เราก็รู้ตัวอยู่ ระลึกได้อยู่อย่างนี้ อารมณ์มันเหมือนกัน ถ้ามีสติอยู่ มันจะทำอะไรเราไม่ได้ อารมณ์มันจะทำให้ เราดีใจอยู่อย่างนี้ตลอดไปไม่ได้ มันไม่แน่นอนหรอก

    ถ้าอย่างนี้ อารมณ์นั้น มันก็เป็นโมฆะเท่านั้น เราสอนตัวเราอยู่ เรามีสติอย่างนี้ เราก็รักษาอย่างนี้เรื่อยๆไปเมื่อเรามีสติอยู่ เมื่อนั้นแหละ เราได้ภาวนาอยู่ การภาวนาไม่ใช่ว่าเราจะนั่งสมาธิอย่างเดียว ยืนเดินนั่งอยู่ เราก็รู้จัก นอนอยู่เราก็รู้จัก เรารู้จักตัวของเรา อยู่เสมอ จิตเรามีความประมาท เราก็รู้จัก ไม่มีความประมาท เราก็รู้จักของเราอยู่ ความรู้อันนี้แหละที่ เรียกว่า "พุทโธ" เรารู้เห็นนาน ๆ พิจารณาดี ๆ มันก็รู้จักเหตุผลของมัน มันก็รู้เรื่อง

    เราปฏิบัติธรรมะบ่อย ๆ จิตมันก็คุ้นเคยกับธรรมะ เช่นว่า ความโกรธเกิดขึ้นมา มันก็เป็นทุกข์ ชอบทุกข์ไหม ไม่ชอบแล้ว เอาไว้ทำไม ถ้าไม่ชอบ จะยึดเอาไว้ทำไม ทิ้งมันไปซิ ทุกข์ มันเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่ง เราก็รู้จักคำสอนครั้งหนึ่ง เมื่อเห็นชัด ก็ค่อยๆวาง ทำความเพียรพยายามอยู่อย่างนั้น มีสติติดต่อกัน อยู่อย่างนั้น เสมอทุกอริยาบทไหนก็ตาม มีความรู้ติดต่อ อยู่เสมอ ตัวนี้มันไม่รู้ มันจะพูด อยู่เรื่อย ๆ ใจข้างใน มันจะพูด อยู่เรื่อย ๆ เป็นอยู่อย่างนั้น มีความรู้อยู่ มีความตื่นอยู่ มีความเบิกบานอยู่สม่ำเสมอ เรียกว่า เป็นประโยชน์มากไม่ต้องอาศัยอะไรเลย อะไรมันเกิดขึ้นมา เราก็เห็นว่าอันนี้มันไม่แน่นอน มันไม่เที่ยง อันนั้นก็ดี แต่ว่ามันไม่แน่นอน มันไม่เที่ยงเท่านี้ละ เราก็รู้ของเรา ไปเรื่อย ๆ เท่านั้นแหละ การปฏิบัติของเรา

    การประพฤติปฏิบัติธรรม ต้องไม่ย่อหย่อน จะต้องทำความพยายามอย่างนั้น ความอยากจะเร็วของเราอันนี้ไม่ใช่ธรรมะมัน เป็นความอยากของเรา ใจอยากจะเร็วที่สุด แต่มันทำไม่ได้ธรรมชาติ มันเป็นอยู่อย่างนั้น เราก็ทำจิต ปฏิบัติตามธรรมชาติ ของมันอย่างนั้น อยากจะให้มันเร็วที่สุด นั้นไม่ใช่ธรรมะ มันคือความอยากของเรา เราจะทำตามความอยากของเรานั้นไม่ จบ ให้เข้าใจว่า การที่ตรัสรู้ธรรมะนั้น มันพร้อมกับ การปล่อยวาง ด้วยสติปัญญา ไม่ใช่ว่าเราจะเร่งมันให้ มันเป็นอย่างนั้น

    การทำทุกอย่าง ต้องทำโดยไม่ปรารถนา สิ่งตอบแทน อันนี้เรารู้ โลกเขาว่า มันดีแล้วมันก็วาง โลกเขาว่า มันไม่ดีมันก็วาง มันรู้ดีรู้ชั่ว คนที่ไม่รู้ดีรู้ชั่ว แล้วเป็นทุกข์ทั้งนั้น คนรู้ดีรู้ชั่ว ไม่ได้ยึดในความดี คนที่ยึดในความดี ความชั่ว นั้นคือ คนไม่รู้ดี รู้ชั่วและคำที่ว่า เราทำอะไรตลอด ที่ว่าเราอยู่ไปที่เราอยู่เพื่อประโยชน์ เราทำงานอันนี้เราทำเพื่อต้องการอะไร แต่โลกเขา ว่าทำงานอันนี้ เพราะต้องการอันนั้น เขาว่าเป็นคน มีเหตุผล แต่พระท่านสอนยิ่งไปกว่านั้นอีก ท่านว่า ทำงานอันนี้ทำไปแต่ ไม่ต้องการอะไร ทำไมไม่ต้องการอะไร โลกเขาต้องทำงานอันนี้ เพื่อต้องการอันนั้น ทำงานอันนั้น เพื่อต้องการอันนี้ นี่เป็นเหตุผลของชาวโลกเขา

    พระพุทธองค์ทรงสอนว่าทำงานเพื่อทำงาน ไม่ต้องการอะไร ถ้าคนเราทำงานเพื่อต้องการอะไรก็เป็นทุกข์คือ ทำแล้วปล่อยวาง ครั้งแรกเราทำก็ปรารถนาให้เป็นอย่างนั้น ทำไปๆก็จนกว่าที่เรียกว่า ไม่ปรารถนาอะไรแล้ว ทำเพื่อปล่อยวางมันอยู่ลึก ซึ้งอย่างนี้ คนเราปฏิบัติธรรมเพื่อต้องการอะไร เพื่อต้องการพระนิพพานนั้นแหละ จะไม่ได้พระนิพพาน ความต้องการอันนี้ เพื่อให้มีความสงบ มันก็เป็นธรรมดา แต่ว่าไม่ถูกเหมือนกัน จะทำอะไร ก็ไม่ต้องคิดว่า จะต้องการอะไรทั้งสิ้นไม่ต้องการ อะไรทั้งสิ้น แล้วมันจะเป็นอะไร ก็ไม่เป็นอะไร ถ้าเป็นอะไรมัน ก็ทุกข์เท่านั้นแหละ

    ในทางพระพุทธศาสนา ให้ทำเพื่อไม่ต้องการอะไร ถ้ามีเพื่ออะไรมันไม่หมด

    ทางโลกทำอะไรเรียกว่ามันมีเหตุผล พระพุทธองค์ท่านทรงสอนว่าให้ "นอกเหตุเหนือผล" ไม่ว่าจะทำอะไรปัญญาของท่านให้ นอกเหตุเหนือผล ให้นอกเกิดเหนือตาย นอกสุขเหนือทุกข์
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    เรื่องกามกิเลส

    คำสอนของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ



    การต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทาง ความพอใจ ก็คือ กิเลส ความไม่พอใจ ก็คือ กามกิเลส กามกิเลสนี้อุปมาเหมือนแม่น้ำ ธารน้ำน้อยใหญ่ ไม่มีประมาณ ไหลลงสู่ทะเล ไม่มีที่เต็ม ฉันใดก็ดี กามตัณหา ที่ไม่พอดี ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นแหล่งก่อทุกข์ ก่อความเดือดร้อน ไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งหมด อยู่ที่ใจ สุขก็อยู่ที่ใจ ทุกข์ก็ อยู่ที่ใจ ใจนี่แหละ คือ ตัวเหตุ ทำความพอใจ ให้อยู่ที่ใจนี่

    กามตัณหา เปรียบเหมือนแม่น้ำ ไหลไปสู่ทะเล ไม่รู้จักเต็มสักที อันนี้ฉันใด ความอยากของตัณหา มันไม่พอ ต้องทำความ พอ จึงจะได้ เราจะต้องทำใจให้ผ่องใส ตั้งอยู่ในศีล ตั้งอยู่ในทาน ตั้งอยู่ในธรรม ตั้งอยู่ในสมาธิก็ดีทุกอย่าง เราทำความพอ ดี ความพอใจ นำออกเสีย ความไม่พอใจ ก็นำออกเสีย เวลานี้เราจะพักจิตทำกายของเรา ทำใจของเราให้รู้แจ้ง ในกายใน ใจของเรา รู้ความเป็นมา วางให้หมด วางอารมณ์ วางอดีตอนาคต ทั้งปวงที่ใจนี่แหละ

    คัดมาจาก หนังสือรวมคำสอนจากพระป่า

    <!--MsgFile=5-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    เรื่องสติ

    คำสอนของหลวงปู่ขาว อนาลโย


    สตินี่ ทำให้มันมีกำลังดีแล้ว จิตมันจึงจะล่วง เพราะสติคุ้มครองจิด ตัวสติก็คือจิตนั่นแหละ แต่ว่าลุ่มลึกกว่า

    สตินั่นอบรมจิต ครั้นอบรมจนขึ้นจิตรู้เท่าตามความเป็นจริงแล้ว มันจึงหายความหลงพบความสว่างความหลงนั้นก็คือ ไม่มีสติ ครั้นมีสติคุ้มครอง หัดไปจนแน่วแน่แล้ว ให้มันแม่นยำ ให้มันสำเหนียกแล้วมัน จะรู้แจ้ง ทุกสิ่งทุกอย่าง

    สติแก่กล้า จิตย่อมทนไม่ได้ เมื่อทนไม่ได้ก็สงบลง ครั้นสงบลงแล้ว มันก็รู้ เดี๋ยวนี้ มันไม่มีปัญญา มันก็ส่ายไปมาเพราะมัน ไปหลายทาง จิตไปหลายทาง เพราะเป็นอาการของมัน

    เมื่อผู้ว่างภาระคือว่าง ไม่ยึดถือว่า ขันธ์ห้านี้ เป็นตัวเป็นตนแล้วไม่ยึดถือแล้วปลงเป็นผู้วางภาระก็มี ความสุข จะยืน เดินนั่ง ก็มีความสุขไม่ยึดถือ เพราะรู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ไม่ถือเอาไม่ยึดเอา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ขุดตัณหาขึ้นได้ทั้งรากเป็น ผู้เที่ยงแล้ว เที่ยงว่า จะเข้าสู่ความสุข ตามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เที่ยงแล้ว เมื่อจิตมันรวม มันก็รู้ ตามความ เป็นจริง มันจะวางขันธ์นี้ เมื่อมันรวมนั้นแหละ ถ้าจิตรวมแล้วมันก็วาง วางแล้ว ก็มีแต่ว่างๆ แล้วค้นหาตัวก็ไม่มี เมื่อค้นหา ตัวไม่มีแล้ว ก็อันนั้นแหละ จิตพอสงบ ลงแล้วปัญญา ก็เกิดขึ้นเอง น่ะแหละ ถึงตอนนั้น แม้จิตมันฟุ้งขึ้นมาแล้ว มันก็ไป มัน ไม่ยึดอันใด แม้แสงสว่างหมดทั้งโลกก็ตาม มันไม่ไปยึด


    คัดมาจาก หนังสือรวมคำสอนจากพระป่า

    <!--MsgFile=6-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#442244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#442244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    เรื่องธรรมกถาปฎิบัติ

    คำสอนของหลวงปู่ เทสก์ เทสรฺรํสี



    สมบัติเป็นของไม่มีสาระดังกล่าวแล้ว เราได้ทำให้เป็นของ มีสาระ ด้วยการแบ่งปันให้แก่คนอื่นด้วยจิตเมตตา สมบัติอันนั้น กลับเขามาอยู่ในใจของตน คือความอิ่มใจพอใจ ที่ตนแบ่งปันไปแล้วนั้น หรือที่เรียกว่า บุญ

    เปลือกของศาสนา คือ ทาน ศีล และศาสนพิธีต่างๆ ถ้าทำถูกแล้ว จะกลายเป็นกะพี้ คือทำจิตใจให้เบิกบาน ยิ้มแย้ม แจ่มใส จนเกิดปีติอิ่มใจ ทานศีลนั้น จะเข้ามาภายในใจ หล่อเลี้ยงน้ำใจ ให้แช่มชื่นอยู่เป็นนิจนี่ได้ชื่อว่า ทำเปลือกให้เป็นกะพี้ เมื่อพิจารณาไปถึงความอิ่ม และความแช่มชื่นเบิกบานของใจ ก็เห็นเป็นแต่ว่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากปัยจัยคือ ความพอใจเป็น เหตุเมื่อความพอใจหายไป สิ่งเหล่านั้นดับไป เป็นของไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เราจะยึดเอาไว้ เป็นของตัวตนไม่ได้ เป็นอนัตตา ไม่มีใครเป็นใหญ่ เป็นอิสระ แล้วก็ปล่อยวาง เห็นเป็นสภาพ ตามความเป็นจริง เมื่อพิจารณาถูกอย่างนี้ ได้ชื่อว่า ทำกะพี้ให้เป็นแก่นสาร

    คนเกิดมา มีแต่กลัวความตาย แต่หาได้กลัวต้นเหตุ คือ ความเกิดไม่

    พระพุทธเจ้า จึงสอนให้แก้ตรงจุดเดิม คือ ผู้เป็นเหตุให้นำมาเกิด ได้แก่จิต ที่ยังหุ้มห่อด้วยสรรพกิเลส ทั้งปวงให้ใสสะอาด ไม่มีมลทินนั้นแลจึงจะหมด เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ต้องวุ่นวายอีกต่อไป พระพุทธองค์ สอนให้เข้าถึงต้นเหตุให้เกิด คือ ใจ และสรรพกิเลสทั้งปวง อันปรุงให้ จิตคิดนึก ส่งส่ายต่างๆ แล้วทำให้จิตเศร้าหมอง มืดมิด จึงไม่รู้จักผิด ถูก ดี ชั่ว ตามเป็นจริง พระองค์สอนให้ทำจิตนั้นให้ใสสะอาด ปราศจากความมัวหมอง ซึ่งกองกิเลส ทั้งปวง มีปัญญาสว่าง รู้แจ้ง แทงตลอด กิเลส ที่เป็นอดีต อนาคต มารวมลงปัจจุบัน เป็นปัจจัตตัง อย่างไม่มีอะไรปกปิดแล้ว จึงจะหมดกิเลส พ้นจากความเกิดแก่ เจ็บตาย ไม่ต้องวุ่นวายอีกต่อไป

    คัดมาจาก หนังสือรวมคำสอนจากพระป่า

    <!--MsgFile=7-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    เรื่องความทุกข์ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

    คำสอนของพระอาจารย์ ทูล ขิปฺปปญฺโณ


    ถ้าตัดเหตุที่ให้เกิดทุกข์ ขาดไปจากใจได้ ก็เท่ากับตัดกระแสของวัฎฎะ หรือความหมุนเวียนให้หมดไป

    การพิจารณาวัตถุแต่ละอย่าง ให้ลงสู่หลักสัจธรรม คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา การพิจารณาทุกข์ เกี่ยวกับวัตถุ ก็ให้ดูจิตที่ มีความยึดถือในวัตถุนั้น ในหลักความจริง ให้พิจารณาว่า วัตถุนั้นไม่มีอะไรเป็นของของเราที่แน่นอน

    ถ้าเรามีความยินดี จิตมีความผูกพัน ในวัตถุนั้นมากเกินไป เมื่อวัตถุนั้นหายไป ฉิบหายไปด้วยวิธีใดความทุกข์ใจที่มีความอาลัย ในวัตถุนั้นๆ ก็จะเกิดความพิไรรำพัน ร้องไห้ เกิดความเสียใจ ทุกข์ใจ เป็นลมล้ม ไปโดยไม่มีสติรู้ตัว นี้ก็เป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากผู้ไม่เคย พิจารณาให้จิตได้รู้ได้เห็นตามหลักความจริง

    ใช้สติปัญญา หยั่งลงสู่หลักสัจธรรม เพื่อลบล้าง ความเข้าใจเดิม ที่มีความผูกพันอยู่ในกาม ถอนความยึดมั่นของจิต ที่หลงผิด ติดอยู่ในวัตถุกาม กิเลสกาม ด้วยความพยายามเต็มที่ ให้จิตมีความรู้ เห็นโทษ รู้เห็นทุกข์ รู้เห็นภัย ให้รู้เห็นความเสีย ใจที่เกิดขึ้น จากกามคุณ อย่างชัดเจน

    ปัญญาพิจารณา ได้มากน้อยเท่าไรนั้น คือ เป็นปัญญาของเราโดยตรง ความรู้ความฉลาด ความเฉียบแหลม ความรู้รอบในสรรพกิเลสทั้งหลายที่มีอยู่ในใจ ก็จะใช้ปัญญาที่เราสร้างขึ้นมานี้เอง เป็นอาวุธเพื่อสังหารกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจ

    เหตุปัจจัยที่มีการหมุนเวียนอยู่ในภพทั้งสาม ก็เนื่องจากตัณหา คือ ความอยากตัวนี้เป็นเหตุ ถ้าดับเหตุนี้ ได้แล้วภพทั้งสาม ก็หมดปัญหาไป

    คัดมาจาก หนังสือรวมคำสอนจากพระป่า

    <!--MsgFile=8-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    เรื่องการเกิดเป็นมนุษย์นี้ยาก

    คำสอนของพระอาจารย์ สิงทอง ธมฺมวโร


    การเกิดเป็นมนุษย์นี้ ยากแสนยากลำบากเหลือเกิน กว่าจะเกิดได้ เพราะภพชาติอื่นๆ มันมีมาก สัตว์เขาเกิด เขาตายเหมือนกันกับเรา แต่เขาไม่ประเสริฐู ก็เพราะเขาไม่ได้คิดในทางดีของเขา

    เพราะการเกิดเป็นมนุษย์ มันเกิดยากลำบากแสนเข็ญ กว่าจะเกิดได้ เมื่อเกิดมาแล้วก็อย่าให้ชีวิตของตัว มันหมดไปเปล่า รีบกระทำบำเพ็ญคุณงามความดีเอาไว้ ส่วนใดที่ควรจะทำรีบกระทำเอา

    ถ้าเราทุกคน ชำระสะสางจิตใจของตน สังวรระวัง ไม่ให้ชั่วต่างๆ เข้ามาครอบงำจิตใจ จิตใจสว่างไสว จิตใจเย็นสงบ ผู้นั้นอยู่ในโลกอันนี้ ก็มีความสุข ความสบาย ตามอัตภาพของเขา เมื่อจากโลกนี้ ไปสู่โลกหน้า เมื่อกิเลสตัณหา ยังไม่หมด เขาเหล่านั้น ก็จะไม่ได้เสียใจ สมหวังในการไปของเขา ส่วนคนที่ชำระสะสาง กิเลสตัณหา หลดล่วง ออกไปจากใจ มีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง อยู่ทุกกาล ทุกสมัย พร้อมที่จะไปจะอยู่ ถ้าพูดถึงจะไปใจของท่าน บริสุทธ์ประเสริฐอย่างนั้น ท่านไม่มีอะไร ที่จะเสียจิต เสียใจ ไม่มีอะไร ที่จะตำหนิติตนว่า เกิดมาเป็นคน ไม่ได้สะสมอะไร ท่านจนถึงที่สุด จนจิตเป็นวิมุตติแล้ว ท่านสะดวกสบายในการตาย การอยู่ของท่าน

    ฉะนั้น พวกเราท่าน ทุกคนมีสิทธิ ที่จะประพฤติ ปฎิบัติได้ รีบเร่งขวนขวาย กระทำบำเพ็ญ ให้เห็น ให้รู้ ให้เย็น ให้สงบ อย่าไปอ้างกาล อ้างเวลา

    คัดมาจาก หนังสือรวมคำสอนจากพระป่า

    <!--MsgFile=9-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    เรื่องความตาย

    คำสอนของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

    ควรพวกเราทั้งหลาย คิดดูให้เห็นโทษ และคุณแห่งความตายเสียให้ชัดใจ

    ผู้มีปัญญา ไม่ควรประมาทความตาย ให้เห็นว่า เป็นสมบัติสำหรับตัวเรา เราจะต้องการในกาลอันสมควร คือ ความตายมา ถึงเราสมัยใด สมัยนั้นแหละชื่อว่า กาลอันสมควร ไม่ควรจะเกลียด ไม่ควรจะกลัว

    สังขารทั้งหลาย คือ สัตว์ที่เกิดมาในไตรภพ จะหลีกหลบให้พ้น จากความตายไม่มีเลย เมื่อมีความเกิดเป็น เบื้องต้นแล้ว ย่อมมีความตายเป็นเบื้องปลายทุกคน นัยหนึ่งให้เอาความเกิดความตาย ซึ่งมีประจำอยู่ทุกวัน เป็นเครื่องหมาย

    เมื่อพิจารณา ถึงความตาย ก็ต้องพิจารณา ถึงความป่วยไข้ และความแก่ความชรา เพราะเป็นเหตุ เป็นผลกัน ให้พิจารณา ถึงพยาธิความป่วยไข้ว่า พยาธิ ธมฺโมมฺหิ พยาธิ อนตีโต

    เรามีความป่วยไข้ เป็นธรรมดา จะข้ามล่วงพ้นไปจากความป่วยไข้ หาได้ไม่ ถ้าแลพิจารณา เห็นความชรา อันเป็นปัจจุบัน ได้ ก็ยังประเสริฐ ความระงับสังขารทั้งหลายนั้น ท่านมิได้หมาย ความตายท่านหมาย

    วิปัสสนาญาณ และอาสวักขยญาณ คือ ปัญญารู้เท่าสังขาร รู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะ เป็นชื่อของ พระนิพพาน เป็นยอด แห่งความสุข

    คัดมาจาก หนังสือรวมคำสอนจากพระป่า

    <!--MsgFile=10-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร)


    จิตของตัว ที่เอิบอาบในลูกที่เกิดในอกของตนนั่นแหละ จำได้รสชาติใจนั้นแน่ เอาใจดวงนั้นแหละ เอาไปรักใคร่ เข้าในบุค คลอื่นทุกคน เหมือนกับลูกของตน ให้มีรสมีชาติอย่างนั้น ถ้ามีรสมีชาติ อย่างนั้นละก็ เมตตา พรหมวิหาร ของตน เป็นแล้ว เมื่อเมตตาพรหมวิหาร เป็นขึ้นเช่นนี้แล้วอัศจรรย์นัก ไม่ใช่พอดีพอร้าย ให้ใช้อย่างนี้ ใช้จิตของตน ให้เอิบอาบ ถ้าว่าทำจิต ไม่เป็นก็แผ่ได้ยาก ไม่ใช่แผ่ได้ง่าย แต่ลูกของตนแผ่ได้ ลูกออกใหม่ๆน่ะเอิบอาบ ซึมซาบรักใคร่ ถนอมกล่อมเกลี้ยงบุตรของตน กระฉับกระเฉง แน่นแสนเพียงใด ให้เอาจิตดวงนั้นแหละมาใช้ เรียกว่า เมตตาพรหมวิหาร เอาไปใช้ในคนอื่นเข้า ก็รักใคร่อย่างนั้นแหละ เมตตารักใคร่อย่างนั้นแหละ เมตตารักใคร่อย่างบุตรน่ะฯ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บุคคลที่เข้าถึงแล้ว ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถึงพระพุทธเจ้าก็ถึงตัวธรรมกาย ถึงตัวธรรมกายก็หมือนถึงพระพุทธเจ้าถึง ธรรมกาย ได้ธรรมกาย ไปกับธรรมกายได้ ไปนรกสวรรค์ ไปนิพพานได้ ผู้เข้า ถึงไตรสรณคมน์ ถึงพุทธรัตน เช่นนี้ละก็จะรู้จัก คุณพุทธรัตนว่า ให้ความสุข แก่ตัวแค่ไหน บุคคลใด เข้าถึงแล้ว ก็ปลาบปลื้ม เอิบอิ่มตื้นเต็ม สบายอก สบายใจ เพราะพุทธรัตนบันดาลสุขให้แล้ว ส่งความสุขให้แล้ว ถึงว่าจะให้ความสุขเท่าไร มากน้อยเท่าไรตามความปรารถนาสุขกายสบายใจ เรามีอายุยืน เจริญหนักเข้า มีอายุยืน ทำหนักเข้า ทำชำนาญ หนักเข้า ในพุทธรัตน มีคุณเอนก เวลาเจ็บ ก็ไม่อาดูร ไปตามกาย เวลาจะตาย ก็นั่งยิ้ม สบายอกสบายใจ เห็นแล้วว่า ละจากกายนี้ มันจะไปอยู่โน้น เห็นที่อยู่ มีความปรารถนานี่คุณ ของพุทธรัตน พรรณนาไม่ไหว นี้เรียกว่า คุณพระพุทธเจ้า คือ ธรรมกายฯ

    เราตั้งใจแบบ แบบเดียวกับ พระพุทธเจ้า ท่านตั้งอย่างไร ท่านทำอย่างไร ท่านสอนอย่างไร ท่านก็สอนว่า ท่านสอนพวกเรา ให้อดใจ ให้อดทน คือ อดใจ อดใจเวลาโลภ หรือ อภิชฌาเกิดขึ้น หยุดนิ่งเสีย รู้นี่รสชาติ อภิชฌา อยากจะได้สมบัติ ของคนอื่น เป็นของๆตน อยากกว้างขวาง ใหญ่โตไปข้างหน้า ต้องหยุดเสีย อดทนหรืออดใจเสีย ประเดี๋ยวก็ดับไป ดับไปด้วยอะไร ด้วยความอดทน คืออดใจนั่นแหละความโกรธประทุษ ร้ายเกิดขึ้น นิ่งเสีย อดเสีย ไม่ให้คนได้ยิน ไม่ให้คนอื่นรู้กิริยาท่าทาง ทีเดียว ไม่แสดงกิริยามารยาท ให้ทะเลิกทะลัก แปลกประหลาด อย่างผีเข้าสิงทีเดียว ไม่รู้ทีเดียวนิ่งเสียกะเดี๋ยวหนึ่งความ โกรธประทุษร้ายหายไป ดับไปพยาบาทนั้นหายไปมิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้น มิจฉาทิฏฐินั้น แปลว่าเห็นผิดล่ะรู้อะไรไม่จริงสักอย่าง เลอะๆ เทอะๆ เกิดขึ้น หยุดเสียไม่ช้ากระเดี๋ยวดับไป

    นั่นแหละความโลภเกิดขึ้น อภิชฌาให้ดับไปได้ อภิชฌาเกิดขึ้นชั่วขณะ อดเสียให้ดับไปได้ ฆ่าอภิชฌาตายครั้งหนึ่ง นั่นเป็น นิพพานปัจจัย เชียว จะถึงพระนิพพานโดยตรงทีเดียว ความพยาบาทเกิดขึ้น ให้ดับลงไปเสียได้ ไม่ให้ออกไม่ให้ทะลุทะลวง ออกมาทางกายทางวาจา ให้ดับไปเสียทางใจนั่นดับไปได้คราวใดคราวนั้นได้ชื่อว่า เป็นนิพพานปัจจัยเชียวหนา สูงนัก กุศล นี้สูง จะบำเพ็ญกุศลอื่น สู้ไม่ได้ทีเดียว หยุดนิ่งเสีย ไม่ช้าเท่าไร ประเดี๋ยวเท่านั้น ความเห็นผิดดับไป นั่นเป็น นิพพานปัจจัย ทีเดียว นี่ติดอยู่กับขอบนิพพานเชียวหนา

    ถ้าให้ทาน ให้ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ของชอบใจไม่ให้ เก็บเสียซ่อนเสีย ของไม่ดี ที่ไม่เสมอใจให้เสีย ให้อย่างนี้มันเลือกได้ ให้ของไม่ดี เป็นทาน เป็นทาสทาน จัดว่า ยังเข้าไม่ถึงสหายทาน เป็น ทาสทาน แท้ๆ เพราะเลือกให้ หากว่า มีมะม่วงสัก สามใบตั้งขึ้น ก็จะให้ใบเล็กเท่านั้นแหละ เอามะม่วงสามใบเท่าๆกัน ก็จะให้ใบที่ไม่ชอบใจนั่นแหละ เอาม่วงสามใบเสมอ กัน ก็จะเลือกเอาอีกแหละลูกที่ไม่ชอบใจจึงให้ ลูกที่ชอบไม่ให้ หรือมันใกล้จะสุกแล้วไม่ให้ ให้ที่อ่อนไปอย่างนี้ อย่างนี้เป็น ทาสทาน ไม่ใช่ สหายทาน ถ้าให้ สหายทาน จริงแล้ว ก็ตัวบริโภค ใช้สอยอย่างไร ให้อย่างนั้นเป็นสหายทาน ถ้าว่า สามีทาน ละก็ เลือกหัวกระเด็นให้ เลือกให้ ของทีไม่ดีกว่านั้นต่อไป ถ้าเลือกหัวกระเด็นให้เช่นนี้ละ ก็เป็น สามีทาน ลักษณะโพธิสัตว์ เจ้าให้ทานนะ ให้สามีทาน ให้สหายทาน สามีทานทีเดียว ทาสทาน ไม่ให้นี้ เราสามัญสัตว์ ชอบให้แต่ของที่ไม่ประณีต ไม่ เป็นที่ของที่ชอบเนื้อเจริญใจละก็ ให้มันก็เป็นทาสทานไปเสมอที่ตนใช้สอย มันก็เป็นสามีทานไปแต่ว่าพวกเราที่บัดนี้เป็น สามีทาน อยู่ก็มี เช่นเลี้ยงพระสงฆ์องค์เจ้า ตบแต่ง สูปพยัญชนะ เกินกว่าเรา บริโภคทุกวันๆ ที่เกินใช้สอยเช่นนี้ เป็นสามีทาน ประณีตบรรจงแล้วจึงให้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นสามีทานฯ

    แต่ว่าบารมีหนึ่งๆ กว่าจะได้เป็นบารมีนะ ไม่ใช่เป็นของง่าย ทานบารมีเต็มดวงนะ ดวงบุญที่เกิดจากการบำเพ็ญทานได้ เป็นดวงบุญ ดวงบุญใหญ่โต เล็กเท่าไหร่ไม่ว่า สร้างไปเถอะ ทำไปเถอะ แล้วเอาดวงบุญ นั้นมากลั่น เป็นบารมี ดวงบุญมา กลั่นเป็นบารมีนะ บุญมีคืบหนึ่ง เต็มเปี่ยม เท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ทีเดียวเอามากลั่น เป็นบารมีได้ นิ้วเดียว เท่านั้นเอง กลมรอบตัวเท่านั้นแหละ กลั่นไปอย่างนี้ทุกบารมีไป จนกว่าบารมีนั้น จะเต็มส่วน แล้วก็บารมี ที่จะเป็น อุปบารมี เอาบารมี นั้นแหละ คืบหนึ่งเต็มส่วน เอามากลั่นเป็นอุปบารมีได้นิ้วเดียว แล้วเอาอุปบารมี นั้นแหละ คืบหนึ่ง กลมรอบตัว เอามากลั่น เป็นปรมัตถ์บารมีได้นิ้วเดียวฯ

    ขั้นสมถะนี่ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหม ละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด นี่มันขั้นสมถะ แต่รูปฌานเท่านั้นเลยไปไม่ได้ พอถึงกายธรรม มันขึ้นวิปัสสนา ตาพระพุทธเจ้าท่าน ก็เห็น เบญจขันธ์ทั้ง 5 เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาแท้ๆ เห็นจริงๆจังๆ อย่างนั้นละ เห็นแท้ทีเดียว เห็นชัดๆไม่ได้เห็นด้วยตา กายในภพ เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรม กายเห็นอย่างนี้แหละเห็นด้วยตาของพระตถาคตเจ้า รู้ด้วยญาณของพระ ตถาคตเจ้า ธรรมกายนั่นเป็นตัวของพระตถาคตเจ้าทีเดียว ไม่ใช่อื่นเห็นชัดอย่างนี้นี่แหละ เห็นอย่างนี้แหละเขาเรียก วิปัสสนา เห็นเบ็ญจขันธ์ 5 เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เห็นเป็น อนิจจังน่ะเห็นอย่างไร เห็นตั้งแต่กายมนุษย์เถิด กายมนุษย์ เกิดไม่อยู่ที่ เกิดไปเรื่อยๆ เกิดริบๆ เหมือนไฟจุดอยู่ มีไส้มีน้ำมัน มีตะเกียงจุดมันก็ลุกโพลง เราเข้าใจว่าไฟดวงนั้นเป็นอย่างนั้นแหละ ไอ้กายมนุษย์มันก็เป็นอย่างนั่นแหละแต่ ตาธรรมกายไม่เห็นอย่างนั้น เห็นไฟเก่าหมดไปไฟใหม่เดินเรื่อยขึ้นมา ไฟเก่าหมดไปไฟใหม่เดินเรื่อยขึ้นมาแล้วก็เอามือ คลำดูข้างบนก็รู้ ร้อนวูบๆ ๆ ๆ ไป อ้อ ไฟใหม่เกิดเรื่อย กายมนุษย์นี้ ก็เช่นเดียวกัน ไอ้เก่าตายไปไอ้ใหม่เกิดเรื่อย หนุนไม่ได้ หยุดเหมือนไฟ เหมือนดวงไฟอย่างนั้นแหละ ไม่ขาดสาย มันเกิดหนุนอย่างนั้น นั่นเห็นขนาดนั้น เห็นเกิดเห็นตายเรื่อย เกิดแล้ว ก็ตายไปเกิด แล้วก็ตายไป ไม่มีหยุดละ เหมือนกันหมดทั้งโลก เห็นทีเดียวว่ามีแต่เกิดกับดับ ยงฺกิญจิ สมุทยธ มฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมมีความเกิดเสมอ สิ่งทั้งปวงมีเกิดเสมอมีความดับเสมอ มีเกิดกับดับสองอย่างเท่านั้น หมดทั้งสากลโลก เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกายจริงๆ อย่างนี้ นี้ทำเป็นวิปัสสนา เห็นจริงเห็นจังอย่างนี้ฯ



    คัดย่อมาจาก หนังสืออมตวาทะของพระมงคลเทพมุนี

    <!--MsgFile=11-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    รวมคำสอนธรรมปฎิบัติ เล่ม 1 : คำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


    ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรเกินธรรมดา ท่านสอนให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาวางทุกข์เสีย ให้รู้ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม ดา อะไรก็ตามเถอะ ถ้ามันเกิดขึ้นกับเรา มันเป็นธรรมดาของโลกทั้งนั้นในเมื่อร่างกาย เรามีอยู่ในโลกเท่านี้เอง

    หลักสูตร ในพระพุทธศาสนานี้ ไม่มีอะไร เบื้องสูงลงมา ท่านสอนตั้งแต่ ปลายผมลงมาถึงฝ่าเท้าเบื้องต่ำขึ้นไป ท่านสอนตั้ง แต่ปลายเท้าถึงปลายผม มีแค่นี้ ถ้าเราไปเพ่งเล็งคนอื่นว่า คนนั้นชั่วคนนี้ดีแสดงว่า เราเลวมาก เราควรจะดูใจของเราต่าง หากว่าเรามันดี หรือเรามันเลว ถ้าเราดีเสียอย่างเดียว ใครเขาจะเลวร้อยแปด พันเก้า ก็เรื่องของเขา ถ้าเราดีแล้ว ก็หาคน เลวไม่ได้ เพราะ เรารู้เรื่องของคน คนมาจากอบายภูมิก็มี คนมาจากสัตว์เดรัจฉานก็มี คนมาจากมนุษย์ก็มี มาจากเทวดา ก็มี มาจากพรหมก็ มีมันจะเสมอกันไม่ได้ ถ้าพวกมาจากอบายภูมิ สอนยากป่วยการสอน

    คนใดก็ตามที่ประกาศตนเป็นอาจารย์พระพุทธเจ้า รู้ดีเกินพระพุทธเจ้า ที่บอกของพระพุทธเจ้าไม่ดีไม่ทันสมัย เอาอย่างโน้นดีกว่า อย่างนี้ดีกว่า ผมไม่คบด้วย พวก[^_^]นี่ไม่คบ คบยังไง มันจะไปไหน ไอ้พวกนี้ โน่น อเวจีมหานรก

    เพราะทำคนทั้งหลายที่มีเจตนาดี ให้มีมิจฉาทิฎฐิ ปฎิบัติผิด ฟังความเห็นผิด กรรมมันมาก

    ของสงฆ์ที่ตากแดดตากฝนอยู่ ถ้าจะเกิดความเสียหาย ถ้าพระองค์ใดหรือว่าหลายองค์เดินหลีกไป ไม่เก็บของที่ควรจะเก็บ ปรับอาบัติ ทุกเที่ยวที่ผ่าน อาบัติที่ปรับนี่ ไม่ต้องรอพิพากษานะ มันล่อเลย ผ่านไปแบบไม่แยแส ไม่สนใจ เป็นโทษทันที นี่ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ เห็นของอะไรก็โยนทิ้งๆ ไม่ใช่ ท่านรักษากำลังใจของคนอื่น ที่มีศรัทธา ยิ่งกว่ากำลังใจของท่าน เพราะวัตถุทุกอย่างจะพึงมีได้ ก็ต้องอาศัยชาวบ้าน ชาวบ้านกว่าจะได้มาแต่ละชิ้น ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ฉะนั้นพระ ต้องรักษาทรัพย์สินของชาวบ้าน ให้ยิ่งกว่าชาวบ้านรักษาทรัพย์

    อภิธรรมที่พระสารีบุตร ท่านเทศน์ทั้ง 7 ประการ มีนิดเดียว ที่เขาสอนกันนี่มีหลายร้อยหน้า แล้วก็ 8 หน้ายก ผมว่ามันเลอะเทอะเกินไป แต่ก็ไม่ได้ตำหนิคนศึกษาเพราะสนใจธรรมก็เป็นเรื่องน่าโมทนา แต่ว่าทำกันมากเกินไปมันก็สร้างความยาก การบรรลุเข้าก็ถึงช้า เพราะในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    ตุลิตะ ตุลิตัง สีฆะ สีฆัง เร็วๆ ไวๆ ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่มีการเนิ่นช้า จำไว้ให้ดีนะ อย่าประมาทในชีวิต

    การบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ต้องมีความห่วงอยู่อย่างเดียว คือ ความดับไม่มีเชื้อ ถ้าบวชตามประเพณี เขาเรียกว่า บวชซื้อนรก พระนี่แค่กินข้าว ไม่พิจารณาให้เป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญา หลงในรสอาหาร กินเพื่อความอ้วนพี กินเพื่อความผ่องใสอย่างนี้ องค์สมเด็จพระพิชิตมารบอกว่า กินก้อนเหล็กที่เผาจนแดงโชนดีกว่า

    บุคคลใดเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนาแล้วมีศรัทธา ความเชื่อปสาทะ ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีจิตน้อมไปในกุศล แสดงว่าบุคคลนั้นมีบารมี เข้าถึงปรมัตถบารมี สามารถจะเข้าถึงพระนิพพาน ได้ในชาติปัจจุบัน เนกขัมมบารมี จริงๆ ก็คือ

    จิตระงับนิวรณ์ 5 ถ้าบวชแล้ว จิตระงับนิวรณ์ 5 ไม่ได้ ท่านไม่ถือว่า เป็นอันบวชนะ ยังไม่เรียกสมมุติสงฆ์

    ถ้าระงับนิวรณ์ 5 ได้ ท่านเรียก สมมุติสงฆ์


    <!--MsgFile=12-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    ถ้าระงับนิวรณ์ 5 ไม่ได้ ท่านเรียกเปรตในเครื่องห่มผ้าเหลือง เพราะจิตมันจุ้นจ้าน

    จิตของเราถ้าหากนิวรณ์ไม่เข้ามายุ่งเมื่อไรมันก็เป็นฌานเมื่อนั้น นี่มันก็ไม่มีอะไรยาก ถ้าเรามีกำลังใจเข้มแข็งจะไม่ยอม เชื่อไอ้ตัวร้ายนิวรณ์นี่ ทีนี้ในเมื่อเราไม่คิดถึงเรื่องอื่น ขณะพิจารณาก็มองดูแต่ขันธ์ 5 อย่างเดียวและภาวนาก็จับเฉพาะลม หายใจเข้าออก กับคำภาวนาว่า พุทโธ อันนี้นิวรณ์มันไม่กวนจิต เข้าถึงปฐมฌานทันที

    ถ้าหากว่าท่านไม่สามารถจะทรงอานาปานุสสติกรรมฐานได้ถึงปฐมฌาน ผลแห่งการเจริญวิปัสสนาญาน ของท่านทั้งหลาย จะไม่มีผลตามต้องการ เพราะจิตมีกำลังไม่พอที่จะทำลายกิเลส ให้เป็นสมุจเฉทปหานได้

    การเจริญพระกรรมฐานไม่ได้หมายความว่า ใช้เวลานั่งสมาธิเสมอไปถ้าเราใช้แต่เวลาที่นั่งสมาธิมีเวลาสงัด จิตใจของเรา จึงจะกำหนดถึงพระกรรมฐาน อย่างนี้ใช้ไม่ได้

    เนื้อแท้การเจริญพระกรรมฐาน กองใดกองหนึ่งก็ตาม ต้องใช้อารมณ์ของเรานี้ นึกถึงกรรมฐานเป็นปกติตลอดวัน อย่างนี้จึงจะได้ชื่อว่า ท่านเข้าถึงพระกรรมฐาน และพระกรรมฐานเข้าถึงท่าน

    เวลาที่ปฎิบัติน่ะ ไม่ใช่มานั่งเงียบๆ นะ กลางวันก็ทำงานก่อสร้างด้วย เรียนหนังสือด้วย นุงนังจิปาถะไม่ใช่นั่งเฉพาะ ไม่มีงานมีการ แบบนี้พระพุทธเจ้าไม่ใช้ แบบที่เข้ากุฏิเจริญพระกรรมฐาน กินข้าวก็มีคนไป ส่งข้าว ล้างชามไม่ได้ แบบนี้ไม่ใช่พระ พระพุทธเจ้าเอง ท่านก็ล้างบาตรเอง เช็ดบาตรเอง ทำความสะอาดพื้นที่เอง

    ทำแบบนั้นก็ดีเกินพระพุทธเจ้า ก็ไปชนเอาพระเทวทัตเข้านะซิ ไม่เป็นเรื่อง เรื่องของพระนี่สำรวยไม่ดี ต้องทำได้ทุกอย่าง ถ้าถามว่า ถ้าคนเขาอยากไปนิพพาน เป็นตัณหาไหม ก็ เห็นจะ 99 เปอร์เซ็นต์ ที่ตอบว่า คำว่า อยากแปลว่า ตัณหา ในเมื่อ อยากไปนิพพานก็แสดงว่า เป็นตัณหาเหมือนกัน ก็เลยบอกว่า นี่แกเทศน์แล้ว แกเดินลงนรกไปเลยนะ แกเทศน์แบบนี้ แกเลิกเทศน์แล้ว ก็เดินย่องไปนรก เลยสบายไปเสียคนเดียวก่อน ดีกว่ามาชวนชาวบ้าน เขาไปอีก ถ้าต้องการไปนิพพาน เขา เรียกว่า ธรรมฉันทะ มีความพอใจในธรรม เป็นอาการทรงไว้ ซึ่งความดี พวกเราฟังแล้วจำไว้ด้วยนะ ถ้าใครเขาถามจะได้ตอบถูก

    อารมณ์พระกรรมฐาน กับอารมณ์ชาวโลก ไม่เหมือนกัน มันกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือไอ้การงานของชาวโลกนี่ ถ้าขยันมาก มุมานะมาก ผลงานมันสูงแล้วก็ดี แต่การเจริญพระกรรมฐาน มุมานะมากถอยหลัง แทนที่จะก้าวหน้า มันกลับลงต่ำ ใช้ไม่ได้ เพราะว่า การปฎิบัติความดี เพื่อการบรรลุในพุทธศาสนา ต้องละส่วนสุดสองอย่างคือ

    หนึ่ง อัตตกิลมถานุโยค การทรมานตนที่ เรียกว่าขยันเกินไป

    สอง กามสุขัลลิกานุโยค เวลาทรงสมาธิ หรือพิจารณาวิปัสสนาญาณ มีตัวอยากประกอบไปด้วยอยาก จะได้อย่างนั้นอยาก จะถึงอย่างนี้ อยากจะได้ตอนโน้น อีตอนนี้มันเจ๊งทั้งสองทาง ที่ถูกคือ จะต้องวางใจเฉยๆ ปล่อยอารมณ์ ให้มันไปตามสบายๆ การบำเพ็ญบารมีใดๆ หรือ สร้างความดีใดๆ เราจะตั้งมโนปณิธาน ความปรารถนาหรือไม่ก็ตาม

    ถ้าทำ ความดีมากครั้งเข้า ในที่สุดความชั่วก็สลายตัวไป เราก็เข้าถึงพระนิพพาน ตามเจตนา หรือไม่เจตนา ก็จะต้องเข้าถึง

    ในเมื่อความชั่วถูกตัดเป็นสมุจเฉทปหาน แต่ทว่าถ้าปราศจาก อธิษฐานบารมี กว่าจะเข้าถึงจุดหมายปลายทาง ก็รู้สึกว่า มันเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือไม่ค่อยจะตรงนัก ฉะนั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ทรงแนะนำบรรดาท่านพุทธบริษัท ให้มี อธิษฐานบารมี ในการที่ท่าน พุทธบริษัททั้งหลาย ตั้งใจกล่าว วาจาว่า

    อิมาหัง ภควา อัตตภาวัง ตุมหากัง ปริจัจชามิ แปลเป็นใจ ความว่า ข้าพระพุทธเจ้า ขอมอบกายถวายชีวิต แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    นี่ก็หมายความว่า เราจะเอาชีวิตของ เราเข้าแลกกับความดี ที่องค์สมเด็จพระชินศรีทรงแนะนำไว้อย่างนี้ อาศัยเจตนาและความตั้งใจ จัดว่าเป็นอธิฐานบารมี บรรดาท่านพุทธ บริษัททั้งหลาย จะเข้าถึงความดีด้วยความรวดเร็ว อย่างคาดไม่ถึง

    <!--MsgFile=13-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    ถ้าบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน ทรงความดีของจิตในวันหนึ่ง 3 นาที ก็คิดว่า 10 วัน มันก็ 30 นาที 100 วัน มันก็ 300 นาที ความดี มันสะสมตัว เมื่อเวลาใกล้จะตายอารมณ์จิต ที่เราทำได้บ้าง ไม่ได้บ้างได้ดีบ้าง ไม่ได้ดีบ้าง ในระยะต้น มันจะเข้าไปรวมตัวกันตอนนั้น จนกลายเป็น มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เมื่อเวลาจะตาย จิตใจจะน้อมไปในกุศล ถ้าตายจากความเป็น คน อย่างเลวก็เป็นเทวดา ถ้าจิตสามารถควบคุมอารมณ์ใจได้ถึงฌาน ก็จะเป็นพรหม

    อริยสัจ เขาสอน 2 อย่างเท่านั้น สำหรับอีกสองอย่างไม่มีใครเขาสอนหรอก อย่าง นิโรธะ แปลว่า ดับ อันนี้มันตัวผล ไม่ต้องสอน มันถึงเอง

    มรรค คือ ปฏิปทาเข้าถึงความดับทุกข์ มันก็ทรงอยู่แล้วคือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่ อริยสัจ เขาตัดสองตัวคือ ทุกข์ กับ สมุทัย นี่เท่านั้น

    ไอ้เรื่องการเข้าฌานนี่ มันต้องคล่อง เหมือนกับเราเขียนหนังสือ คล่องแคล่วจะเขียนเมื่อไรเราก็เขียนได้ ไม่ใช่เขาบอกว่า เอ้าเข้าฌานซิ มานั่งตั้งท่า ขัดสมาธิ มันก็เสร็จแล้ว มันไม่ทัน เวลาเราจะตายจริง ไปตั้งท่า ได้เมื่อไร มันต้องคล่อง การจะทำให้คล่อง มันก็มีอยู่ว่า ต้นๆ ถ้าจิตมันเขาถึง อารมณ์สมาธิ ตอนไหนก็ตาม พยายาม ทรงสมาธินั้นไว้ และ พยายาม ทรงสมาธิให้เร็วที่สุด เท่าที่จะเร็วได้ ใหม่ๆ มันก็อึดอัด ไม่ช้าก็เกิดอาการชิน มันก็ชินจนช้าไม่เป็น

    เวลาจะตาย เขาเข้าฌานตายกัน คนที่เข้าฌานตาย มันไม่ตายเหมือนชาวบ้าน เขาอาการตายเหมือนกัน แต่ความหนักใจ ของบุคคลผู้ทรงฌานไม่มี ทั้งนี้เพราะถ้าจิตทรงฌาน อารมณ์ก็เป็นทิพย์เมื่ออารมณ์เป็นทิพย์แล้ว ก็สามารถจะเห็นในสิ่งที่ เป็นทิพย์ได้ เห็นรูปที่เป็นทิพย์ ได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ได้ ในเมื่อเราเห็นรูป ที่เป็นทิพย์ได้ ได้ยินเสียง ที่เป็นทิพย์ได้ เราก็รู้ สภาวะความเป็นทิพย์ของเราได้ คนที่เขาเข้าฌานตาย นี่เขาเลือกไปตามอัธยาศัยว่า เขาจะไปจากร่างกาย อันนี้เขาจะไป อยู่ที่ใหม่เขาจะไปอยู่ที่ไหนนี่รู้ก่อนคนที่ทรงฌานจริงๆสถานที่ที่จะพึงอยู่ได้คือ พรหมโลก ถ้าหากว่าเราไม่อยากอยู่พรหม อยากจะอยู่สวรรค์ ชั้นใดชั้นหนึ่งที่ต่ำลงมาอันนี้ก็เลือกได้

    เวลาไหนที่เราฝึกหัดอิริยาบถ เดินไปข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง ไม่ต้องไปยกๆย่องๆ ทำแบบไอ้โรคสันนิบาต ไม่ใช่นะ แบบเดินธรรมดา อิริยาบถนี่ พระพุทธเจ้า ต้องการอย่างเดียว อย่างเราเดิน ไปบิณฑบาต เดินไปทำธุระ ทำกิจการงานทุกอย่าง ให้รู้อยู่ว่า เวลานี้เราทำอะไร อย่าไปฝึกอย่าง ค่อยๆยกนิด ย่างหน่อย อันนี้ใช้ไม่ได้

    ให้ถืออารมณ์ปกติ เราเดินธรรมดา นี่เราก้าวเท้าซ้าย เราก้าวเท้าขวา ก้าวไปข้างหน้า หรือ ถอยมาข้างหลัง เหลียวซ้าย หรือเหลียวขวาใช้สติเข้าควบคุม

    ทีนี้ก็อย่าลืมนะ เราต้องมี โพชฌงค์ ประจำใจ แล้วก็มี อานาปานุสสติ ประจำอยู่ตลอดเวลาอย่าทิ้งนะ แม้แต่พระพุทธเจ้า ยังไม่ทิ้ง ถ้าพวกคุณทิ้ง อานาปานุสสติ แสดงว่าพวกคุณดีกว่า พระพุทธเจ้า ไปอยู่กับเทวทัตนะ นักเจริญ มหาสติปัฏฐาน เขาต้องดูอารมณ์ อารมณ์ตัวใดมันเกิด ตัดตัวนั้นทันทีไม่ได้ไปนั่งไล่เบี้ย 1 2 3 4 5 6 7 ถึง 13 จบเป็นอรหันต์ ถ้าคิดแบบนี้ ลงนรกมานับไม่ถ้วนแล้ว เขาต้องรวบรวมกำลัง มหาสติปัฏฐาน ทั้งหมดทุกบรรพเข้ามาใช้ ในขณะอารมณ์นั้น เกิดทันที ไม่ใช่ว่าทำอย่างนี้ ได้แล้วก็ทิ้งอย่างนั้น ไปจับขั้นต่อไป ต่อไป พอใจสบายก็ทิ้งอย่างนี้ไปจบตัวโน้น อย่างนี้ลงนรก มานับไม่ ถ้วน เพราะว่า ไม่เข้าถึงความเป็นจริง ตกอยู่ในเขตของความประมาท

    ท่านผู้ใดปฎิบัติกรรมฐาน ถ้าไม่สามารถจะทำจิตปลงให้ตก ในด้าน กายคตานุสสติกรรมฐาน ทำจิตเป็นเอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์อย่างเดียว เห็นว่าร่างกายของเราก็สกปรกร่างกายคนอื่นก็สกปรกเป็นของไม่น่ารัก ถ้าไม่สามารถผ่านกรรมฐาน บทนี้ไปได้ ความเป็นพระอนาคามี ไม่ปรากฏแก่ท่านแน่ๆ ผมบอกจุดสำคัญไว้ให้ก็ได้ว่า ทุกท่านที่บรรลุมรรคผล หรือ แม้แต่ทรงฌานโลกีย์ เขาใช้ จิตตานุปัสสนา มหาสติปัฏฐาน เป็นประจำทุกวัน พวกคุณอย่าทิ้งเชียวนะตัวนี้ตัวที่บรรลุจริงๆ อยู่ตรงนี้ นักปฎิบัติทุกองค์ที่ บรรลุก็จับนี่เป็น เนติ เนติแปลว่า แบบแผน ถือว่าเป็นตัวอย่าง ถือว่า เป็นครูใหญ่ ใช้ดูอารมณ์ ใจไม่ต้องไปดูอะไรเพราะว่า ไอ้กิเลสมันเกิดที่ใจ เอาอารมณ์ใจเข้ามาดู สติคุม ธัมมวิจยะ พิจารณา

    ถ้าใครสามารถ ทรงฌานได้ดี เวลาเจริญวิปัสสนาญาณนี่ มันรู้สึกว่า ง่ายบอกไม่ถูก เมื่อถ้าฌาน 4 เต็ม อารมณ์แล้ว เราจะใช้วิปัสสนาญาณ ก็ถอยหลังมาถึงอุปจารสมาธิ เราจะต้องตัดตัวไหนล่ะ ตัดราคะความ รักสวย รักงามเราก็ยก อสุภกรรมฐาน ขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ ยก กายคตานุสสติกรรมฐาน ขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ เปรียบเทียบกันว่า ไอ้สิ่งที่เรารักน่ะ มันสะอาด หรือมันสกปรก กำลังของฌาน 4 นี่เป็นกำลัง ที่กล้ามาก ปัญญามันเกิดเอง เกิดชัด มีความหลักแหลมมาก ประ เดี๋ยวเดียวมันเห็นเหตุผลชัดพอ ตัดได้แล้วมันไม่โผล่นะ รู้สภาพยอมรับสภาพความเป็นจริงหมดเห็นคนปั๊บไม่ต่างอะไรกับ ส้วมเดินได้ จะเอาเครื่องหุ้มห่อ สีสัน วรรณะ ขนาดไหนก็ตาม มันบังปัญญาของท่านพวกนี้ไม่ได้

    พระพุทธเจ้า จึงได้บอกว่า คนที่ทรงฌาน 4 ได้ และรู้จักใช้ อารมณ์ของฌาน 4 ควบคุมวิปัสสนาญานได้

    ถ้ามีบารมีแก่กล้า จะเป็นพระอรหันต์ภายใน 7 วัน

    ถ้ามีบารมีอย่างกลาง จะเป็นพระอรหันต์ภายใน 7 เดือน

    มีบารมีอย่างอ่อน จะเป็นพระอรหันต์ภายใน 7 ปี

    บารมี เขาแปลว่า กำลังใจ มีบารมีแก่กล้า คือ มีกำลังจิตเข้มข้นนั่นเอง
    <!--MsgFile=14-->
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    ต่อสู้กับอารมณ์ ที่เข้ามาต่อต้าน แต่ว่า ถ้าบารมีมัน เข้มบ้างไม่เข้มบ้าง เดี๋ยวก็จริงบ้าง เดี๋ยวก็ไม่จริงบ้าง ย่อๆหย่อนๆ ตึง บ้างหย่อนบ้าง อย่างนี้ท่านบอกภายใน 7 เดือนทีนี้บารมีย่อหย่อนเปาะแปะๆ ตามอัธยาศัยถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่างตามอารมณ์ อย่างนี้ ไม่เกิน 7 ปี นี่ผมพูดถึงคน ที่ทรงฌาน 4 ได้ และก็ฉลาด ในการใช้ฌาน 4 ควบวิปัสสนาญาณ ถ้าโง่ละก็ ดักดานอยู่ นั่นแหละ กี่ชาติก็ไม่ได้เป็นอรหันต์

    ไอ้ตัวสงบนี่ ต้องระวังให้ดีนะ มันไม่ใช่ ว่าง คำว่า สงบ นี่ไม่ใช่ว่าง จิตของคนนี่ มันไม่ว่าง คือว่า มันต้องเกาะ ส่วนใด ส่วน หนึ่ง ถ้ามันละอกุศลมัน ก็ไปเกาะกุศล ไอ้จิตที่เรียกว่า สงบ ก็เพราะว่า สงบจากกรรมที่เป็นอกุศล คืออารมณ์ที่เป็น อกุศล อารมณ์ชั่ว สงบความปรารถนา ในการเกิดอารมณ์สงบ คือ ไม่คิดว่า เราต้องการความเกิดอีก และ จิตก็มีความสงบ เห็นว่า สภาพร่างกายนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ไอ้ตัวคิด ว่าเราว่าของเรานี่ สงบไป สงบตัวยึดถือวัตถุ ก็ตาม สิ่งมีชีวิตก็ตามว่า เป็นเรา เป็นของเรา นี่ตัวสงบตัวนี้นะ มีอารมณ์เป็นปกติอยู่เสมอ คิดว่า อัตภาพ ร่างกายนี้ ไม่มีเรา ไม่มีของเรา และมันก็ไม่มีอะไรเป็นเราอีก หาตัวเราในนั้นไม่ได้

    พยายามเพียรทรงตัวไว้ทำใจว่าจะไม่ฝืนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วก็เพียรทรงไว้แต่ความดีเพียรละความชั่วอยู่ตลอดเวลา กรรมอะไรก็ตาม อารมณ์ใดก็ตาม ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นอารมณ์ของความชั่ว ต้องเพียรต่อต้านมันนะ แล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณา หาความเป็นจริงให้พบ เมื่อพบความเป็นจริง แล้วก็เพียรถือมันเข้าไว้ คือ ทรงความเป็นจริงไว้ในใจ ยอม รับนับถือตามความเป็นจริง คิดไว้เสมอว่าไม่มีที่ใดที่จะดีไปกว่า พระนิพพาน นะ

    ความจริงคนเราทุกคน ไม่ต้องกลัวตาย กลัวเกิดดีกว่า ถ้าเราไม่เกิดเสียอย่างเดียว มันจะตายอย่างไรให้มันรู้ไป ถ้าไม่เกิด ให้มันตายที ทีนี้เราเกิดมา เพราะตาเราเห็นรูป เราพอใจในรูป หูได้ยินเสียง พอใจใน เสียง เป็นต้น ความพอใจ ไอ้ตัวจริง ๆ ที่เป็นตัวร้าย ที่เราจะต้องตัดคือ ใจ ตัดอารมณ์ของใจเสีย อย่าให้ใจมันโง่ แนะนำมัน บอกว่านี่ แกไปหลงใหล ใฝ่ฝันใน รูป รูปนี้สวยทรวดทรงดี ถามมันดูซิว่า มีรูปอะไรที่มีการทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงบ้าง ไม่มีการทรุดโทรม ไม่มีการเสื่อม มัน มีบ้างไหม ถามใจมันดู

    การเป็นพระอรหันต์ไม่เห็นยากคือ ตัดความพอใจในโลกทั้งสาม มนุษย์โลกเทวโลกพรหมโลก ตัดราคะความเห็นว่ามนุษย์ โลกสวย เทวโลกสวย พรหมโลกสวยโลกทั้งสามไม่มีความหมายสำหรับเราเราไม่ต้องการ สิ่งที่เราต้องการคือพระนิพพาน มีความเยือกเย็นเป็นปกติไม่เห็นอะไรเป็นเราเป็นของเราทุกสิ่งทุกอย่างที่เรากระทบถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามีอยู่เป็นปกติ คือว่า ไม่มีการสะดุ้งหวาดหวั่นอันใด

    ถ้าคนจะถึงอรหันต์ ทีนี้อารมณ์ใจมันสบายทุกอย่าง คือว่า ไม่หลงในฌาน ฌานทุกอย่าง ทั้งรูปฌาน และ อรูปฌาน เราพอใจ แต่คิดแต่เพียงว่า นี่เป็นบันได ก้าวขึ้นสู่อริยะเบื้องสูงเท่านั้น ไม่ใช่มานั่งหลง ว่ากันทั้งวัน ทั้งคืน นั่งกรรมฐาน ตลอดวัน ตลอดคืน นั่นมันยังเป็นเด็กเล็กๆอยู่ ทีนี้หลงในฌาน ไม่มีตัวมานะ ถือว่า เราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขาไม่มี และอารมณ์ฟุ้งซ่าน สอดส่ายไปสู่อารมณ์อกุศลไม่มี และ ตัวสุดท้าย ก็เห็นว่า โลกทั้ง 3 โลก คือ มนุษย์โลก เทวโลก พรหม โลก ไม่มีความหมายสำหรับเรา เห็นสภาวะของโลก ทุกอย่างนี้ทั้ง 3 โลก มันเป็นแกนของความทุกข์ สิ่งที่มีความสุขที่สุด คือ พระนิพพาน อันนี้ถ้าเป็น สุกขวิปัสสโก ท่านจะมีความสบายมากสบายในอารมณ์ ยอมรับนับถือกฎธรรมดายอมรับนับ ถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่าพระนิพพานมีจริง และพระนิพพานเป็นแดนของความสุขจริง แม้ท่านจะไม่เห็น หากว่าวิช ชา 3 ก็ดี อภิญญา 6 ก็ดี ปฎิสัมภิทาญัาณก็ดี นี่เขาไปที่นิพพานได้เลย จะสามารถเห็นพระนิพพานได้เท่าๆกับ เห็นของที่ มองอยู่ข้างหน้า แล้วเขาก็จะรู้สภาวะว่า ถ้าเขาทิ้งอัตภาพนี้แล้ว เขาจะไป อยู่ตรงไหน เพราะพระนิพพาน ไม่ได้มีสภาพสูญ เขาก็เข้าสู่จุดของเขาเลยที่พระนิพพาน เข้าที่อยู่ได้ ไปไหว้พระพุทธเจ้าได้


    คัดลอกมาจาก หนังสือรวมคำสอนธรรมปฎิบัติ
    ของ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วีระ ถาวโรมหาเถร เล่ม1

    <!--MsgFile=15-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    คำสอนของพระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร

    วัดถ้ำผาปิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย

    บาป บุญ คุณ โทษ มีจริง นรก สวรรค์ มีจริงพระนิพพานมีจริง เหตุอย่างไรผลก็เป็นอย่างนั้น ฉะนั้นมนุษย์รีบสร้างบารมี คือ ทำบุญ รักษาศีล ให้ทาน และภาวนาดีกว่าที่มาเป็นมนุษย์สมบัติพบพระพุทธศาสนาแล้ว ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป โดยเปล่าประโยชน์ จงสร้างบารมีอย่างเต็มที่

    เหตุที่ไม่มีเวลาภาวนาเพราะภายในจิต ยังมีตัณหาอยู่จิตยังมีขึ้น มีลงอยู่ ไม่เห็นความบริสุทธิ์ และความปกติของจิต กิเลส ตัณหาดูดเอาไปหมด ให้เห็นอวัยวะของร่างกาย แปรปรวนอยู่เสมอ ด้วยไตรลักษณะ จิตจึงไม่ทะเยอทะยานจิตมี ความมัธยัสต์เป็นกลางเสมอ ไม่ติดในอามิสใดๆ ไม่ยึดติดในรัก และชัง ดังนั้นต้องใช้ปัญญาพิจารณาใจหนึ่ง พิจารณาอนุสัย ของจิตหนึ่ง เมื่อรู้เท่าทันใจ และรู้เท่าทันกัน ในอนุสัยแล้วก็สิ้นอาสวะเท่านั้น

    ธรรมะอยู่กับปัจจุบัน ไม่อยู่กับผู้ที่ตายไปแล้ว ไม่อยู่กับผู้ที่ยังไม่เกิด ไม่อยู่กับอดีต ไม่อยู่ในอนาคตรวมอยู่ ในปัจจุบันนั้นดี มาก ให้แก้จิตภาวนาในปัจจุบัน ภาวนาทำจิตให้เด็ดเดี่ยว ร่างกายประกอบไตรลักษณะเร่งความเพียรให้ลึกเข้าไปเพื่อประ โยชน์ในการดับอนุสัย ชำระกิเลสที่นอนกองอยู่ในใจ ให้อวิชชาออกไป เพื่อวิชชาเข้าแทน

    การทำสมถวิธี ทำวิปัสสนา วิธีต้องทำเรื่อย ๆ กว่าจะสิ้นกิเลส โดยไม่สำคัญตนว่า สำเร็จอย่างนั้นอย่างนี้ ปฏิบัติถึงผลที่สุด รู้เอง เห็นเองว่า เราสิ้นกิเลสแล้ว หรือ ยังแก้กิเลส อย่างละเอียดนั้น แก้ยาก แก้ความดี ติดความดีนั้นแก้ ยาก แก้กิเลสอย่างหยาบนั้น แก้ง่าย เพราะ แสดงเห็นตัวกิเลส แก้ความดี ติดความดีนั้นแก้ยาก เพราะ มีความสุขสงบเป็น ประจำ มีความยินดี สำคัญตนเป็นต่างๆ เป็นกิเลส อย่างละเอียด เป็นนามธรรม รูปธรรมเห็นได้ง่าย นามธรรมเห็นได้ยาก เห็นด้วยใจอย่างเดียว จะประหารได้ด้วยไตรลักษณ์อย่างเดียว เพื่อไม่ให้ติดต่อรูปธรรม กระทำด้วยอุคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต รวมทั้งสองประเภท ประหารด้วยวิปัสสนา ตัวปัญญาให้รู้แจ้ง รู้จริง เห็นจริง ตามสภาพธรรมทั้งปวง จึงจะสิ้นกิเลสได้ ให้ใช้กรรมฐานดวงเดียว อย่ากังวลในกรรมฐานแบบต่าง ๆ จะเป็นความลังเลสงสัย จิตจะไม่แน่นอน จิตไม่ สงบจะเป็นอุปสรรคของจิตตลอดกาล

    เมื่อจิตที่ฝึกมาดีแล้ว จนมีความชำนาญ จะบังคับจิต ให้สงบอยู่ได้ ตามต้องการทุกเวลาที่ต้องการสังขาร ทั้งหลายประกอบ ไปด้วยไตรลักษณะ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ อนิจจัง อนัตตา ในโลกนี้จะเอาความเที่ยงมาจากไหน เรื่องของโลกเป็นไปตามเรื่องของเขา ปั่นป่วน แปรปรวนอยู่เช่นนั้น แต่ไหนแต่ไรมา เพราะโลกไม่เที่ยง ไม่ควรเอาเรื่องเอาราวกับโลก รู้เรื่องแล้วก็วาง ไว้ตามสภาพของเรา ไม่ควรยึดถือว่าเป็นของดี เป็นของใช้ชั่วคราว พระอริยะเจ้าละกรรมอดีต ละกรรมอนาคต ทำความรู้ แจ้งในปัจจุบันไปนิพพานในปัจจุบัน ปฏิปทาความรู้แจ้งแทงตลอด เป็นตัววิปัสสนาโดยตรง ที่จะกระทำให้ถึงวิโมกข์วิมุตติ

    ให้รู้เห็นร่างกายภายในให้ทั่ว จากนั้นให้ละวางความรู้ทั่วนั้น ประหารกิเลสโดยการไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด เพราะ สังขารแปรปรวน ให้เห็นอยู่เสมอ และอยู่โดยอาศัยกรรมทรงชีพ เปลี่ยนสุข เปลี่ยนทุกข์เรื่อยไปไม่หยุดเห็นสังขาร แปรปรวนอยู่เช่นนั้น เห็นทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน ไม่ประมาทธรรมะบอก เหตุผลอยู่เรื่อยๆสว่างโล่ทั้งภาย ในภายนอกไม่เผลอ ไม่ประมาท มีสติเต็มที่ ใคร่ครวญในกาม ให้เห็นกามเป็นของไม่เที่ยง ให้เห็นเป็นปฏิกูล ให้เห็นเป็น ภัยอันใหญ่ ให้เห็นเป็นไตรลักษณะเกิดความเบื่อหน่าย ให้ภาวนาเห็นความเกิดดับของจิต ความเกิดดับของกายภาวนาให้ เห็น สังขาร เห็นเรื่องสังขาร เป็นความแปรปรวน ประกอบด้วยทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ใคร่ครวญอยู่ในอริยสัจของจริง และพร้อมกับละวางสังขาร ว่าเป็นเรื่องของสังขาร การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องของโลก บังคับบัญชาไม่ได้ ให้เอาไปแต่ ความบริสุทธิ์ของจิต เมื่อจิตเจริญพอแล้ว จะละวางสังขาร ทั้งปวง เพราะมันเป็นเรื่องหนัก เมื่อรู้แล้วปลงได้ว่า มันเป็นไปตามอริยสัจ ถ้าไม่รู้เป็นอันปลงไม่ได้ พระอริยเจ้า ท่านจะรู้ เรื่อง ของขันธ์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของเขา ท่านไม่ทุกข์ ด้วย

    จิตพระอรหันต์จึงไม่แปรปรวนเป็นอื่น เห็นโลก เป็นเรื่องกลับกลอก เพราะถือว่า สังขารนั้น ไม่เที่ยงอยู่แล้ว ดังนั้นควรหมั่นพิจารณากายให้มาก ไม่หลงว่างาม กิเลสทั้งหมดเกิดที่กาย ภาวนาให้ได้หลักของจิตเสียก่อน ค่อยๆพยายามไปเรื่อย ๆ อย่าทิ้งอิทธิบาท 4 และไตรลักษณ์ ค้นกายกับจิต เดินวิปัสสนาตรวจกายด้วยกำลัง ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เหนื่อยแล้วต้องพักสมาธิ จึงจะเป็นการปฏิบัติชอบ แต่อย่าหลงในสมาธิอย่างเดียว ติดสมาธิอย่าเชื่อปัญญาอย่างเดียวทำให้จิตฟุ้งซ่านเชื่อ วิโมกข์ วิมุตตาความหลุดพ้น

    ให้ละอดีตหนึ่ง อนาคตหนึ่ง อย่าให้วิ่งไปอดีต อนาคตปัจจุบัน ผสมผเสกัน จิตฟุ้งซ่าน จิตไม่ขลัง เพิกอดีต อนาคตแล้วนั้น ธรรมทั้งหลายจะได้มาประชุมกันในปัจจุบัน จิตสว่างการเจ็บป่วยเหมือนกัน เป็นเรื่องของ สังขาร ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ มันเกิดขึ้นแล้วมันก็หายไป ไม่หายมันก็ตายเท่านั้นเอง

    การป่วยมันเป็นทุกข์ ก็ภาวนาให้รู้ทุกข์ ให้วางทุกข์ ให้เอาสุขนิพพานนั่นแหละ เป็นเอกของธรรมทั้งหลาย อย่าไปกังวลที่ ตัวสังขาร มันปรุงแต่ง อยู่ร่ำไป ไม่มีเวลาหยุด เมื่อเราพออริยสัจ เราไม่รับเอามาพิจารณา ก็เป็นอันที่แล้วไป ไม่มีสุขทุกข์ ฝังอยู่ในสันดาน ให้วางสุข วางทุกข์นั้น มีบุญก็ไม่เอา มีบาปก็ไม่เอา เอารู้สุข รู้ทุกข์ รู้บุญ รู้บาปเข้าสายกลางเป็นยอดแห่ง ความสุขเสมอไป สังขารเป็นของปลอม หลอกลวงให้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ใครไม่รู้เท่าทัน ก็เวียนว่าย ตาย แก่ เจ็บอยู่ร่ำไปเพราะมันวางทุกข์ สุขไม่ได้ มันติดโลกสังขารอยู่

    ให้รักษาจิตอย่างเดียว อะไรมันเกิดที่จิตทั้งหมด ดี - ชั่ว ไปสวรรค์ - นิพพาน ไปประกอบทุกข์ก็จิต เป็น เหตุ ให้รู้เท่าเหตุ จิตเป็นมหาเหตุทั้งนั้น จิตปัจจุบันเป็นที่ประชุมใหญ่ แก้ดวงจิตก็เป็นพอ เมื่อไม่ถือสังขาร หัวใจว่างนั้นแหละ เป็นตัวนิพพาน


    คัดย่อมาจากชีวประวัติและคำสอนของหลวงพ่อหลุย จนฺทสาโร

    <!--MsgFile=16-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    คำสอนของพระญาณสิทธาจารย์ (พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร)

    สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    ความตายนี้พระพุทธเจ้าพระองค์สอนไว้ว่า ให้นึกบ่อยๆ นึกจนมันเห็น แล้วก็นึกจนมันเข้าใจลึกซึ้งจนเกิดความสลด สังเวชในมรณะ ถ้าผู้ใดภาวนามรณกรรมฐานจนเกิดขึ้นจิตใจ สงบระงับตั้งมั่นเป็น สมาธิภาวนาก็ดี หรือมีความสลดสังเวช ในมรณภัย จิตใจจะเปลี่ยนแปลงไป ความโกรธก็จะเบาบาง เลิกได้ละได้ ความโลภความอยากได้ในใจ ความหลงในจิตใจ ก็จะเลิกได้ ละได้ เพราะว่า ความตายนั้น เมื่อมาถึงบุคคลผู้ใด บุคคลผู้นั้นจำเป็นต้องตาย ไม่มีข้อยกเว้น

    จงพากันเพียรเพ่งดู ให้รู้แจ้ง ด้วยปัญญาอันชอบ จิตใจมันจะ ถอนล ถอนออกได้หมด ที่คนเราคิดว่า อารมณ์อย่างนี้เลิกไม่ ได้ ละไม่ได้ ถ้ามองเห็นมรณภัย คือ ความตาย ละได้หมด พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า ความตายเป็นทุกข์ ตอนจิตกำลัง รับทุกขเวทนาต่างหาก อันนั้นแหละมันเป็นทุกข์ ที่เราเจ็บไข้ได้ป่วย ตั้งแต่เกิดมาจนถึงวัยแก่ชรา เจ็บไข้ได้ป่วยหลายครั้ง หลายคราก็ตามยังไม่ถึงขั้นที่ว่า ความตายเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์มันจนเหลือทน ทนไม่ได้ทนไม่ไหว เมื่อทนไม่ไหว ก็รับเสวยทุกขเวทนา แสนสาหัส แล้วก็ตายไป นี้แหละทุกคนจะต้องตาย มรณกรรมฐานนี้ ต้องนึกต้องเจริญไว้ให้ได้ในกาย ของตัวเอง ถ้าผู้ใดทำน้อยปฏิบัติน้อย ยังถึงขั้นเลิกความหลงอะไรยังไม่ได้นั้น จะต้องกระวนกระวายที่สุดเพราะจิตอุปาทาน ความยึดในร่างกายสังขารในรูปขันธ์นั้นมันมาก เจ็บน้อยมันก็เป็นเจ็บมากเจ็บมากก็เลยตายไปเลย เพราะจิตมันยึดมั่นถือ มั่น ถ้าจิตนี้ปล่อยได้วางได้ เลิกได้ ละได้ อะไร ๆ ก็ช่างมันเถอะ

    มันเกิดได้ มันก็แก่ได้ มันเกิดมาได้ มันก็เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นธรรมดาได้ มันก็มาแล้ว มันก็ตายได้ เวลาตาย กำหนดไม่ได้ ลมเข้าไปออกไม่ได้ ก็ตายหายใจ ออกไปสูด เข้ามาไม่ได้ก็ตาย กลางคืนก็ตายได้ ตอนเช้าๆ อย่างเราอยู่นี้ ก็ตายได้ กลาง วันก็ตายได้ เดือนไหนก็ตายได้ วันไหนก็ตายได้ ไม่เลือกเวลา คนทั้งหลายที่เราเห็นว่า เขายังไม่ตาย ผลที่สุดก็ตายหมด ไม่มีใครอยู่ เกิดแล้วต้องตาย

    ดังนั้นเกิดมาในภพใดชาติใดก็ทุกข์เต็มประดา ทุกข์ตั้งแต่วันเกิดถึงวันแก่ ทุกข์จากวันแก่ถึงวันแตกดับ วันตายทุกข์ ถ้วนหน้า ไม่มีใครข้ามมันไปได้ ให้เรามาสนใจในการรวมจิตใจของเราให้สงบ ระงับ ตั้งมั่น เที่ยงตรงอยู่ภายในดวงให้ได้ ทุกลมหายใจเข้าออก จนกระทั่งจิตใจสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิภาวนาให้ได้

    การภาวนานั้น อย่าเข้าใจว่าเป็นของยาก ไม่ว่ากิจกรรม การงานอะไร อย่างหยาบๆ ก็ดี ถ้าเราไม่ทำ ไม่ประกอบ ก็ยิ่งเป็นอุปสรรค แต่ถ้าเราตั้งใจทำจริง ๆ แล้ว มันมีทางออก ภาวนาไป รวมจิตใจลงไป จนกระทั่งจิตใจเชื่อตามความเป็นจริง เชื่อต่อคุณพระพุทธเจ้าจริงๆ เชื่อต่อคุณพระธรรมจริงๆ เชื่อต่อคุณพระอริยสงฆ์สาวกจริงๆ แล้วบุคคลผู้นั้นก็มีทางที่จะได้ บรรลุมรรคผล เห็นแจ้งในธรรมในปัจจุบันชาตินี้

    การที่เรากราบไหว้บูชาสักการะพระพุทธเจ้า ด้วยความศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสนี้ ท่านว่าเป็นบุญ กุศลอันมหาศาล เป็นนิสัยปัจจัย ต่อเนื่องถึงนิพพาน ฉะนั้นเราต้องฝึกหักจิตใจของเรา ให้เลื่อมใสในคุณพระพุทธเจ้า จิตใจของเรา ถ้าเลื่อมใส ในคุณพระพุทธเจ้าแล้ว นึกน้อมใจให้ดี เจริญให้ดี เอามามัดจิตใจของเรา ให้อยู่ใจของเราจะสงบ ระงับ เยือก เย็นสบาย ไม่ทุกข์ร้อนประการใด

    ผู้บำเพ็ญภาวนา จงดูแผ่นดิน ทำจิตใจของตนให้เหมือนแผ่นดิน ใครจะว่าร้าย ก็ไม่หวั่นไหว ใครจะว่าดี ยกย่องสรรเสริญเทิดทูนให้ ก็อย่าไปเชื่อ ไปหลงอะไร ๆ ทุกอย่างพระพุทธเจ้า ท่านรวมเข้ามาว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง" นาม และรูปกายใจนี้ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีอยู่อย่างเดียว จิตภาวนา ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง นึกเจริญ สิ่งใดก็ให้เจริญสิ่งนั้นๆ จนรู้จัก รู้แจ้ง รู้จริง ภายในจิตใจของผู้ปฏิบัติ เมื่อรู้แจ้งรู้จริงแล้วก็ย่อมจะไม่หวั่นไหว แต่ส่วนใหญ่ เราจะไม่เอาจริง ไม่ทำจริง จิตมันยังหาความสุขภายนอก ทั้งๆที่มันเป็นความสุขไม่แน่นอน อันความสุขที่แน่นอนเกิดจาก จิตภาวนา สงบจิต สงบใจลงไปจริง ๆ อันนี้จึงจะเป็นที่พึ่งพาอาศัยได้

    ความสุขอันยิ่งใหญ่ไพศาล ได้แก่ความสุขอันเกิดจาก การภาวนาละกิเลสได้ ไม่ว่ากิเลส ดวงไหน

    ความจริงนี่ รูปร่างกายไม่มีใครจะเยียวยาพยาบาลให้หายได้ ถ้ามันหายจริงทำไมจึงมีคนตายไม่เห็นมี คนร้อยปีพันปีเหลือ ให้พวกเราเห็น ก็ความจริง มันเป็นอยู่อย่างนี้ มันเหมือนกับว่า ปั้นรูปขึ้นมาใช้ชั่วระยะหนึ่ง ผลที่สุดจะต้องทิ้งสังขารเหล่านี้หมดเมื่อความตายมาถึง ให้รู้แจ้งในจิตของตัวเอง เร่งภาวนา ทำความเพียรจริงๆ เพียรเพ่ง เข้าไปสู่ดวงจิต อย่า ไปเพ่งออกไปภายนอก ถ้าจิตใจของท่านทั้งหลาย ทุกรูปนามบำเพ็ญภาวนาเต็มที่ ไม่ย่อท้อต่อการปฏิบัติแล้ว มรรคผล นิพพานต้องตามมาให้ผล แต่เดี๋ยวนี้คนเรา ไม่ว่าพูด ไม่ว่าคิด ไม่ว่าทำอะไร มันตามตัณหา ของตัวเอง อยู่ตลอดเวลา ตามความอยาก ความปรารถนา ดิ้นรนวุ่นวายแต่เรื่องภายนอก ทำไมไม่ยกจิตใจของตนขึ้นมา ยอมเป็นทาสกิเลสตัณหา มาตั้งแต่อเนกชาติแล้ว ยังจะยอมให้มันมาเป็นนายหัวใจอยู่อีกนั้นหรือ ตั้งใจขึ้นมาบ้าง ให้มีความตั้งอก ตั้งใจ มีมานะอดทนขึ้น มาบ้าง หากภาวนาละกิเลส มันไม่ขาดจากหัวใจ ก็ให้มันตายไป รูปนามเป็นของเกิดได้ มันก็ตายได้ ต้องทำความเพียร ละ กิเลสในหัวใจให้เด็ดขาดลงไป อย่าให้มันอ่อนแอท้อแท้ เอาให้มันตายชาติเดียวให้มันแน่ อย่ามานอนในท้องแม่อีก มาโล เลหลงไหลต่อไปอีก

    มรรคผลนิพพานมันอยู่ที่การกระทำการปฏิบัติ เมื่อไม่ปฏิบัติ มัวแต่นั่งรอทำให้มรรคผลนิพพาน บังเกิดขึ้น มันจะได้ ที่ไหน ไม่มีทาง ทางมันอยู่ที่ภาวนา ทางมันอยู่ที่ลงมือทำพร้อมด้วยกาย วาจา จิต ใช้ในการภาวนาละกิเลส ให้มันเด็ดขาด ลงไปภาวนาในหัวใจไม่ปล่อยให้มันเลอะเทอะไป เดี๋ยวชอบคนนี้เกลียดคนนั้น พระพุทธองค์สอนให้ทำจิตให้เป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปหาความรัก ความชังเป็นกลาง ก็อยู่ที่จิตใจรู้อยู่ ตั้งใจภาวนาให้มันทุกลมหายใจ ให้มันหลุดพ้นสิ่งเหล่านี้ ทั้ง หมด

    ความสงสัยนั้น จะแก้ให้หายได้ ก็อยู่ที่ความสงบ ความสงบมีที่ไหนนิวรณ์ทั้ง 5 ก็หายไป เมื่อเลิกละนิวรณ์ ทั้ง 5 ไม่ได้จิตก็ เศร้าหมอง ทุกอย่างให้มันหลุดพ้นให้มันหลุดออก พ้นจากความยึดมั่น จนไม่มีสิ่งใด มายึดมาถือ มาแบกมาหามว่าเป็นตัว เราของเรา สิ่งใดเลิกได้ละได้ อย่าเสียดาย อย่าอาลัย อาวรณ์ในกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ อันตนผ่านมาแล้ว เราจะแสวงหา อีกไม่ต้องการทั้งโลกนี้แหละ ที่จิตใจปรารถนา ดิ้นรน วุ่นวาย กระสับกระส่าย ไม่เที่ยงทั้งโลก คนสัตว์วัตถุ ธาตุทั้งหลายไม่ เที่ยงทั้งนั้น เที่ยงอยู่ที่รู้แจ้ง เห็นจริง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ในหน้าตาตัวตน ในรูป ในนาม ในโลก ในวัฏฏสงสาร ถอนอาลัย ออกจากจิตใจได้

    ถึงพระนิพพานเมื่อใด นะเที่ยง ถ้ายังอยู่ในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก มันก็ยังไม่เที่ยง ผู้ภาวนา ผู้มีปัญญา เท่านั้น จึงเลิกละความยึดมั่นถือมั่น ให้เห็นว่า ทุกอย่างเป็นเพียงธาตุ มันก็อยู่ตามสภาพของมัน ไม่ใช่ตัวเราของเราในจิต มันมองเห็นแจ้ง ทะลุปรุโปร่ง ไปหมด กิเลสราคะทั้งหลาย ความยินดี พอใจในรูป รส กลิ่น เสียง มันก็ดับไป ไม่มีความคิด ที่ว่า เขามาเบียดเบียนเรา เพราะในจิตนั้นเรียกว่า ถอนอนัตตา ตัวตนออกไปแล้ว ไม่มีตัวตน ในรูป ในนาม ในเรื่องเหล่า นี้มันเป็นเพียง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมตั้งอยู่เท่านั้น

    คัดย่อมาจากหนังสือหลวงปู่สอนว่า...ของพระญาณสิทธาจารย์

    <!--MsgFile=17-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    คำสอนของพระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก)

    วัดพระพุทธบาทตากผ้า ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

    ถ้าจะว่าตามขั้นสมมติธรรมแล้ว คำว่า ตัวของเราก็ได้แก่ ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาผสมกัน ทั้งอากาศ ธาตุ และ วิญญาณธาตุ มีตัณหา อุปาทาน เข้ามายึดถือ ให้เกิดความสำคัญ มั่นหมาย และ บังคับให้เป็นไป มีประการต่าง ๆ ตามอำนาจของกิเลส อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ จนไม่มีที่สิ้นสุด

    เป็นที่เราควรคิด แต่เดิมนั้น เราไม่ได้ยึดถือ ไม่ได้ติดข้อง อยู่ในสิ่งใดเลยสักอย่าง เดี๋ยวนี้เรายึดถือให้เกิด ความสำคัญมั่น หมาย และบังคับให้เป็นไปมีประการต่างๆ ตามอำนาจของกิเลส อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ จนไม่มีที่สิ้นสุด เป็นสิ่งที่เราควรคิด ต่อไป

    เราควรแก้ไข โดยอุบาย ที่ไม่ยึดถือ และไม่ติดข้อง อยู่ในสิ่งทั้งหลายหมด ทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเป็นการถูกต้อง ควรพิจาณาให้รู้ให้เห็น ตามที่จริง ความจริง ตามชั้นปรมัตถธรรมแล้ว ตัวเราไม่มี มีแค่รูปกับนาม เท่านั้น

    ไม่ใช่ สัตว์ บุคคลตัวตน เรา เขา เป็นของว่างเปล่า ไม่ยึดมั่น ด้วยอุปทาน ก็จะได้กระทำ สิ่งที่สุดแห่งทุกข์ อันเป็นจุดหมาย ปลายทางของชีวิตโดยแท้

    ผู้ปรารถนา จะเข้าสู่นิพพานอย่างแท้จริง ต้องสละละความอาลัยในโลก และสิ่งของสำหรับโลกนี้เสีย

    เตรียมตัวพร้อม ยอมเป็นคนยากจน ไม่ต้องหวังพึ่งเพื่อนฝูง และญาติ พี่น้องผู้ใด คือ ให้สงัดกาย สงัดใจ วิเวกธรรม อดทน ต่อความ ติฉินนินทา ความเกลียดชัง และ ความหมิ่นประมาทของผู้อื่น อดทนต่อทุกข์ ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่มาถึงตน แม้จะ ต้องเสียชีวิตก็ยอมสละเพื่อเห็นแก่ธรรม อุตส่าห์กระทำตามรีตรอย แห่งพระอริยะเจ้าทั้งหลาย ที่ปฏิบัติสืบสายกันมาแต่ปางก่อน โดยไม่ท้อถอย จึงเป็นการถูกชอบ และสมความมุ่งมาดปรารถนา

    การอยู่ในโลกนี้ ให้เข้าเหมือนอยู่ในกองไฟ และเหมือนอยู่ในคุกตะราง ให้เร่งรีบแสวงหาทางออกเสมอ

    อย่าได้นิ่งนอนใจ และหลงยินดีเพลิดเพลินอยู่ จงถือเอาศรัทธา ความเชื่อ เป็นทางเดินแห่งวิถีจิต

    เอาสติ คือ ความระลึกรู้สึกตัว พร้อมเป็นเพื่อนพ้องเดินทาง
    เอาวิริยะ คือ ความเพียรพยายามเป็นกำลังกาย
    เอาขันติ ความอดทนเป็นอาวุธสำหรับป้องกันอันตราย
    เอาปัญญา ความรอบรู้เป็นประทีปส่องทางไป

    แล้วรีบเร่งเดินอย่าแวะซ้ายแวะขวา อย่าหยุดพักอยู่ในที่ใด ๆ ก็จะได้ถึงซึ่งที่สุดแห่งขันธ์โลกคือ พระนิพพานดังที่พระพุทธ องค์ทรงตรัสว่า

    " ชีวิตเป็นของน้อย ถูกชรารุกรานเงียบๆ อยู่เสมอ รุกรานไปสู่ความตาย ไม่มีอะไรต้านทานไว้ได้ ถ้าใครเพ่งเห็นภาวะที่น่ากลัวอันนั้น ในความตาย แล้วพึงรีบคืนคลาย ละโลกาสพอใจในนิพพาน "

    ซึ่งเป็นถ้อยคำที่สูงและมีคุณค่ายิ่ง พุทธบริษัทผู้หวังปฏิบัติต่อโลกุตรธรรมพึงจำใส่ใจ แล้วพิจารณาคืนคลายละเสียซึ่งความสุข ความสนุกเพลิดเพลินในกามารมณ์ อันเป็นเหยื่อล่อของโลก แล้วตั้งใจประพฤติ ปฏิบัติ ตามองค์แห่ง อัฏฐังคิกมรรค มี องค์ 8 ซึ่งย่อ เข้ามาได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดมีขึ้น ในสันดาน ก็จะได้ เป็นปัจจัยแก่ มรรคผล นิพพาน อันเป็นจุดมุ่งหมายของผู้ปฏิบัติธรรมโดยแท้

    "ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร พึงเจริญสมาธิ ให้เกิดมีขึ้นในสันดาน เมื่อจิตตั้งมั่น เป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง" ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรม พึงบังเกิดศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และในสมาธิภาวนา พยายามหาโอกาสเวลาสละกิจการน้อยใหญ่ เข้าสู่ที่สงัด หรือห้องพระนั่งขัดสมาธิ หรือ พับเพียบ ตามควรแก่ภาวะของตน น้อมจิต เอากรรมฐาน บทใดบทหนึ่งเป็นอารมณ์ ตั้งสติคอยกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ไปช้า ๆ อย่ารีบด่วน ให้ทำด้วยใจเย็นๆ หายใจ เข้าออก ให้สม่ำเสมอ ให้ละเอียด อ่อนโยน

    เพราะการภาวนาเป็นงานของจิตโดยเฉพาะ ค่อยรวมกำลังจิตดิ่งลงสู่จุดของอารมณ์กรรมฐานพร้อมกับให้มีสัมปชัญญะความรู้ตัว พิจารณาอารมณ์กรรมฐาน ให้เห็นประจักษ์แจ้งชัดขึ้นในใจ ค่อยกำหนดไปๆ ด้วยความวิริยะอุตสาหะและอดกลั้นบรรเทา ได้นานเท่าไร่ก็ยิ่งดี (ระวังอย่าง่วงนอนเป็นอันขาด) นานเข้าจิตก็จะติดแนบแน่น กับอารมณ์กรรมฐาน

    ต่อจากนั้น ปิติ คือ ความอิ่มใจ ปราโมทย์ คือ ความร่าเริงบันเทิงใจ ก็จะเกิดขึ้น นามกายก็จะสงบระงับ ความสุขกายสุขใจ ก็จะเกิดขึ้น นามกาย ก็จะสงบระงับ ความสุขสุขใจ ก็จะเกิดขึ้น จะรู้สึกสบาย และ เยือกเย็น จากนั้นสมาธิ อันประกอบด้วย องค์ 3 คือ จิตบริสุทธิ์สะอาด จิตตั้งมั่น จิตคล่องแคล่ว ควรแก่การพิจารณา สภาวะธรรมที่จะเกิดขึ้น

    อันดับต่อไป ก็ควรแก่การพิจารณา สภาวะธรรมคือ รูปนาม หรือขันธ์ 5 ให้รู้ตามความเป็นจริง โดยการเจริญ วิปัสสนาภาวนา ตามนัยแห่งสติปัฏฐาน 4

    คือ ให้พิจารณาว่า กาย เวทนา จิต และ ธรรมนี้ ก็สักว่า เป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต เป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคลตัวตนของ เรา เขาเป็นของไม่จีรังยั่งยืน ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน เป็นของว่างเปล่า ไม่ใช่เราไม่ ใช่ของเรา พิจารณา กำหนดไปๆ นานต่อนาน จนกว่าจิตใจ จะหลุดพ้น จากความเกาะเกี่ยวเหนียวแน่นจากกิเลส ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยวิปัสสนาภาวนา เป็นอันดี ผู้ปฏิบัติธรรมถึงขั้นนี้เรียกว่า เป็นแก่นสาร ปิดประตูอบายภูมิทั้ง 4 มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เที่ยงแท้แน่นอน

    การที่ พระพุทธศาสนา ทรงไว้ซึ่งความประเสริฐ ยิ่งกว่าศาสนาอื่นใด ในโลกทั้งหมด ก็เพราะ "วิปัสสนา ภาวนา" นี่แหละ เป็นแก่นแท้ และเป็นหลักใหญ่ บุคคลผู้ใดยังเข้าไม่ถึง คือยังไม่ได้เจริญวิปัสสนาภาวนา แล้วจะมาเข้าใจว่าตนเข้าถึงแก่น แห่งธรรม ว่าตนมีความรู้ซาบซึ้ง ในคำสอนของพระพุทธศาสนา อย่างถูกต้อง บุคคลผู้นั้นจะมาเข้าใจเอาเองอย่างนี้ยังใช้ไม่ได้เป็นอันขาด

    การที่ วิปัสสนาภาวนา เป็นของผู้ประเสริฐ เป็นของวิเศษและสูงสุดนั้น ก็เพราะเป็นหลักปฏิบัติ ที่สามารถจะนำสัตว์ออก จากทุกข์ในวัฏฏสงสาร ได้โดยแท้จริง

    <!--MsgFile=18-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,901
    ดังนั้นทาง ที่เป็นทางเอก ระงับดับทุกข์ เป็นทางให้ถึง ซึ่งพระนิพพาน ก็คือ "สติปัฏฐาน 4" นั้นเอง อันได้แก่ ความกำหนด พิจารณา เห็นกายของตน อันเป็นไป ในอริยบาท ทั้ง 4 คือ การเดิน ยืน นั่ง นอน การกำ หนดพิจารณาเห็นเวทนา คือความ รู้สึกว่า เป็นสุข เป็นทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์ภายในตน กำหนด พิจารณา เห็นจิต คือ สิ่งที่ให้สำเร็จ ความนึก ความคิด และ สะสมอารมณ์ต่าง ๆ ไว้ กำหนดพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลาย เป็นกุศล และ อกุศล ตลอดถึง นามรูปว่า สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงนี้ เพียงแต่ เป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต และ เป็นธรรมเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ตัวตน เราเขาเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัต ตา มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ในท่ามกลาง และ ดับไปในที่สุด จนเกิด ความเบื่อ หน่าย คลายความกำหนัด กำจัดอวิช ชา และโทมนัส คือ ความยินดียินร้ายในโลกเสียได้ โดยอาศัยความเพียร อาศัยสติและสัมปชัญญะเป็นหลักใหญ่และสำคัญ ทำให้สามารถ แยกรูปและนาม ออกจากกันได้ โดยเด็ดขาด

    เมื่อตั้งสติกำหนด พิจารณาต่อไปก็ไม่เห็นมีอะไร เห็นมีแต่รูปกับนามเท่านั้น

    คำต่างๆ ที่ใช้ เรียกกัน เช่น บุคคล ตัวตน เราเขา เทวดา อินทรพรหม ยมยักษ์นั้น ความจริงก็ถูกตามขั้น ของสมติบัญญัติ ตามภาษาของตน แต่เมื่อพิจารณา ภาษาของปรมัตถ์ธรรมแล้ว ก็มีแต่ รูปกับนาม นอกจากนั้นก็ไม่มีอะไร

    ซึ่งแต่ก่อนที่ยังไม่ได้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน เราย่อมไม่สามารถจะแยกรูปกับนามออกจากกันได้โดยเด็ดขาดเพราะถูก โมหะ และอวิชชาความหลง ปกปิดห่อหุ้มไว้ รูปนามซึ่งเป็นของที่มีอยู่ในตนแท้ๆ จึงยังไม่ปรากฏให้เห็น พึ่งมาปรากฏ เมื่อ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน และเมื่อผู้ปฎิบัติเห็นรูปนามตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะค้นหาสมุฏฐานของรูปนามว่า มีความเป็น มาอย่างไร จึงได้เป็นรูปนาม ดังที่ได้เป็นอยู่บัดนี้ เมื่อเป็นประการนี้แล้ว

    การบริกรรมภาวนา ต้องทำให้ติดต่อกัน ทำแล้วทำอีกๆ แต่ว่าอย่าได้ปรารถนาอะไร ตอนที่วิปัสสนา ต้องพยายามปล่อยวาง การยึดมั่นถือมั่นว่า ตัวกู ของกู อะไรของกู ออกจากจิต จากใจ

    ต้องปล่อยวาง ทำไปเรื่อย ๆ ติดต่อกันหนักเข้า ๆ จิตใจของเรา มันจะเชื่อง คุ้นเคยต่ออารมณ์กรรมฐาน สติของเรา ก็จะแก่กล้าขึ้น เราจะผูกมัดจิต ของเราได้ดี ความเพียรของเรา ก็จะแก่ขึ้นๆ สติของเรา ก็จะแก่ขึ้นทุกวัน ๆ เมื่อจิตของเราสูงขึ้น บริสุทธิ์ สะอาดขึ้น ตั้งมั่นดีแล้ว มันจะไม่นึกไม่คิดอะไร จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่นึกถึงอะไร ไม่นึกถึงใคร ไม่อาลัย แม้แต่ตัวเราเอง

    จนถึงที่สุด จิตของเราจะมีแต่ความสุขใจ มีแต่อุเบกขา เอกัคคตา (ความเป็นอารมณ์เดียว) เป็นจิตที่สูงยิ่ง เป็นบาทของมรรคผลนิพพาน

    การปฏิบัติต้องเอาจริงเอาจัง แม้แต่ชีวิตของเราก็ยอมเสียสละเอาชีวิตแลกซึ่งมรรคผลนิพพานทำไปๆจนจิตสะอาดบริสุทธิ์ ขึ้น ตั้งต้นด้วยบริกรรมภาวนาว่า คำของมันท่องคำของมัน มันไปจนจิตของเราตั้งมั่น เป็นสมาธิชั่วครั้งชั่วคราวจนหนักเข้า จิตของเราจะบริสุทธิ์สะอาดยิ่งขึ้น แนบแน่นไม่หวั่นไหวจะยุให้มันไปจะบังคับให้มันไปก็ไม่ได้ จิตมั่นสมาธิเป็นจิตที่บริสุทธิ์ สะอาด เรียกว่า จิตตั้งอยู่ในองค์ฌาน คือ มีแต่อุเบกขา กับเอกัคคตา คือ ความเฉย จิตเป็นหนึ่งอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ต่อ ไปจิตของเรา จะครองอยู่ในองค์ธรรม องค์ของธรรมจะทำให้เกิด ความรู้แจ้ง เห็นจริงในรูปในนามของเรา ซึ่งเรียกว่า " วิปัสสนาญาณ "

    รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม แยกออกจากกัน ได้อย่างเด็ดขาด รูปก็อย่างหนึ่ง นามก็อย่างหนึ่ง ไม่ใช่อัน เดียวกัน

    สูงขึ้นๆ จนถึงอุเบกขา คือ สังขารรูป สังขารอุเบกขาญาณ การวางเฉยจากสังขาร ไม่มีความยึดมั่น ถือมั่น ว่าตัวกู ของกูว่า สวยงามว่า ผู้หญิงผู้ชาย อย่างนั้นอย่างนี้ ก็ไม่ได้ยึดถือ ใจสูงขึ้นพ้นจากความยึด ใจบริสุทธิ์ใจเป็นสุขที่สุด มีแต่ความ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป มันสว่างไสวไปหมดแล้ว จะรู้สึกคล้ายกับไม่มีเรา รูปมีที่ใด นามมีที่ใด อะไรที่ไหนที่เกี่ยวกับกรรมฐาน จะปรากฏแจ้งชัดขึ้น ในจิตของเรา แล้วจิตของ เราจะหายตื่น หายอยาก หายจากความยึดมั่นถือมั่น ในรูปนาม เป็นสิ่งที่อยู่ เหนืออารมณ์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะรู้สึกสบายใจ เราไม่ตกเป็นข้าทาสของอารมณ์ใดๆทั้งสิ้น เราไม่รักใคร เราไม่ ชังใคร เราเฉยจากทุกอย่าง จิตของเราจะเป็นอิสระ จะไม่มีโมโห อะไรกับเขา เป็นจิตที่เป็นแก่น เป็นสาร เป็นจิตที่ เราจะ หาไม่ได้ในภพที่เราเกิดในชาติที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราได้อบรมฝึกฝนจิตของเราดีแล้วจิตของเราจะเป็นจิตที่ประเสริฐ เป็นหลัก คือ ที่พึ่งของเราตั้งแต่ปัจจุบัน ช่วงที่เราหายใจนี้เป็นต้นไป เราพึ่งตนเองได้ในที่สุด เมื่อเราตายลงไปก็มีสุคติเป็น ที่ไปเที่ยงแท้แน่นอน
    <!--MsgFile=19-->
     

แชร์หน้านี้

Loading...