รวมคำสอน “ท่านพ่อลี ธมฺมธโร”

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 15 มิถุนายน 2013.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    [​IMG]

    คนฉลาดย่อมไม่กลืนกินอารมณ์ชั่ว (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)

    คนที่จิตยังไม่สูงเต็มที่ เมื่อใครเขาด่าว่าอะไรก็มักเก็บไปคิด
    คนเราโดยมากสำคัญตนว่าเป็นคนฉลาด แต่ชอบกลืนกินอารมณ์ที่ชั่ว

    อารมณ์ชั่วเปรียบเหมือนกับเศษอาหารที่เขาคายออกแล้ว
    ถ้าเป็นคนอดอยากยากจนจริงๆ จำเป็นจะต้องขอเขากิน
    ก็ควรกลืนกินแต่อารมณ์ที่ดี
    เปรียบเหมือนอาหารที่ไม่เป็นเศษของใคร

    แต่ถึงกระนั้นก็ยังอยู่ในลักษณะที่ยากจน
    นี่เป็นลักษณะของคนโง่ ไม่ใช่คนฉลาด
    เพราะความดีอยู่กับตัวเองแท้ๆ
    แต่ไพล่ไปเก็บเอาความชั่วที่คนอื่นเขามา
    เช่นนี้ก็ย่อมเป็นการผิดทาง

    ที่ถูกนั้น...ใครจะว่าอะไรก็ช่างเขา
    ต้องคิดว่านั่นเป็นสมบัติของเขา ไม่ใช่ของเรา
    ส่วนความดีที่เราทำก็ย่อมอยู่ที่ตัวเรา
    ให้คิดเหมือนมะม่วงที่เป็นหนอน คนฉลาดเขาก็เลือกกินแต่ตรงเนื้อที่ดีๆ
    ส่วนที่เน่าที่เสียก็ปล่อยให้บุ้งหนอนมันกินของมันไปเพราะเป็นวิสัยของมัน
    ส่วนเราก็อย่าไปอยู่จำพวกบุ้งหนอนด้วย

    อย่างนี้เรียกว่า ผู้นั้นเป็น “มนุสฺโส” คือ มีใจสูงขึ้น
    เหมือนกับเราอยู่บนศาลาก็ย่อมพ้นจากสัตว์เดรัจฉาน
    เช่น แมว สุนัข ที่จะมารบกวน มันจะกระโดดขึ้นมาตะครุบเราก็ไม่ได้
    ถ้าเราอยู่บนพื้นดินเราก็จะต้องถูกแดดบ้าง ฝนบ้าง
    และอันตรายต่างๆ ก็มารบกวนได้
    คือ ยังปนเปกับคนพาลบ้าง บัณฑิตบ้าง ฉันใดก็ดี

    การประพฤติปฏิบัติธรรมของนักปราชญ์
    ท่านจึงต้องรู้จักเลือกเฟ้นแต่สิ่งที่ดี
    ท่านไม่ยอมเก็บของเสียมาบริโภค
    เพราะของเสียนั้นเมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว
    ก็เกิดพิษเน่าบูดให้โทษแก่ร่างกาย

    ส่วนของดีเมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว ไม่มีโทษ
    มีแต่จะเกิดประโยชน์แก่ร่างกายอย่างเดียว


    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=38426
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    คนมีอวิชชาเพลิดเพลินก็เหมือนปลาที่สนุกอยู่ในน้ำ : ท่านพ่อลี

    [​IMG]


    ดวงจิตที่เจือปนอยู่ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์
    นั่นก็เหมือนกับเรือที่ถูกลมพายุอันพัดมาจากข้างหลัง
    ข้างหน้า ข้างซ้าย ข้างขวาทั้ง ๘ ด้าน ๘ ทิศ
    มันก็จะไม่ทำให้เรือตั้งตรงอยู่ได้ มีแต่จะทำให้เรือจมลง
    ไฟที่จะใช้สอยก็ดับหมดด้วยอำนาจความแรงของกระแสลมที่พัดมานั้น

    สัญญานี้เหมือนกับระลอกคลื่นที่วิ่งไปมาในมหาสมุทร
    ใจนั้นก็เปรียบเหมือนปลาที่ดำผุดดำว่ายอยู่ในน้ำ
    ธรรมดาของปลาย่อมเห็นน้ำเป็นของสนุกเพลิดเพลินฉันใด
    บุคคลผู้หนาแน่นไปด้วยอวิชชาก็ย่อมเห็นเรื่องยุ่งๆ
    เป็นของเพลิดเพลิน เป็นของสนุก
    เหมือนกับปลาที่เห็นคลื่นในน้ำเค็มเป็นของสนุกสนานสำหรับตัวมันฉันนั้น

    ตราบใดที่เราทำความสงบให้เรื่องต่างๆ บรรเทาเบาบางไปจากใจได้
    ก็ย่อมทำอารมณ์ของเราให้เป็นไปใน “กัมมัฏฐาน”

    คือ ฝังแต่ พุทธานุสติ เป็นเบื้องต้น
    จนถึง สังฆานุสติ เป็นปริโยสานไว้ในจิตใจ
    เมื่อเป็นไปดังนี้ก็จะถ่ายอารมณ์ที่ชั่วให้หมดไปจากใจได้
    เหมือนกับเราถ่ายของที่ไม่มีประโยชน์ออกจากเรือ
    และนำของที่มีประโยชน์เข้ามาใส่แทน

    ถึงเรือนั้นจะหนักก็ตาม แต่ใจของเราเบาอย่างนี้
    ภาระทั้งหลายก็น้อยลง สัญญาต่างๆ ก็ไม่มี นิวรณ์ก็ไม่ปรากฏ
    ดวงจิตก็จะเข้าไปสู่ “กัมมัฏฐาน” ได้ทันที

    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=37944
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    การเดินหลงทางดีกว่าการมีจิตตั้งไว้ผิด (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)

    [​IMG]


    ท่านพ่อลีท่านว่า
    “...ความเหนื่อยล้า...เป็นอุปสรรคสำหรับคนเดินทางไกล
    ...แต่การเดินทางไกลหรือหลงทาง
    ย่อมดีกว่าเดินทางผิดหรือมีจิตตั้งไว้ผิด

    ...เพราะการคบหากับคนที่ไม่ดี
    คนที่พอจะดีได้กลับกลายเป็นคนชั่วไปเสียนี่

    เปรียบเหมือนทางที่รกรุงรังเต็มไปด้วยขยะมูลฝอย
    แม้จะเป็นทางตรง จะถือว่าเป็นทางที่ดีก็ไม่ได้

    ...ส่วนผู้ที่คบหากับกัลยาณมิตร มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมดียิ่งขึ้นๆ
    เหมือนทางป่าที่รกรุงรังด้วยต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาไม่ร้อน
    แม้จะเป็นทางอ้อม ก็ถือว่าเป็นทางที่ดีได้”


    http://www.dhammajak.net
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    แสดงโอวาทอบรมพระภิกษุสงฆ์

    [​IMG]


    วินัยของสมณะที่จะพึงรักษาและปฏิบัติก็คือ
    การสำรวม ๔ ประการ ได้แก่

    ๑) อินทรียสังวรศีล
    ได้แก่ การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    และอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน
    ให้เป็นไปด้วยความงดงามและควรแก่สมณเพศ

    ๒) อาีชีวปาริสุทธิศีล
    สำรวมในการเลี้ยงชีวิต
    หมายถึง การแสวงหาเครื่องอุปโภค บริโภคโดยสุจริต
    ไม่มีโทษ และไม่เบียดเบียนผู้อื่น

    ๓) ปาฏิโมกขสังวรศีล
    สำรวมในศีลพระปาฏิโมกข์
    และสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้โดยไม่มีการล่วงละเมิด

    ๔) ปัจจเวกขณศีล
    ให้พิจารณาในปัจจัยสี่
    คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช
    ให้เป็นไปตามมีตามได้พอสมควร ไม่ประกอบไปด้วยความละโมบ
    มิฉะนั้นก็จะไม่ใช่นักบวชแต่เป็นนักเบียดเสียด เบียดเบียนพระศาสนา

    ผู้เป็นสมณะ จะต้องประพฤติตามโอวาทที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้
    สิ่งใดที่ทรงห้ามต้องไม่ทำ สิ่งที่ทรงสั่งให้ทำต้องทำ
    เมื่อผู้ใดได้กระทำตามคำสอน ดำเนินตามแบบอย่างของพระองค์
    ย่อมได้ชื่อว่า “ศากยปุตโต”
    คือ เป็นลูกผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ซึ่งเป็นตระกูลกษัตริย์วงศ์ศากยะ
    มีมารยาทงดงามสูงกว่าคนธรรมดาสามัญ
    และถ้าใครสามารถปฏิบัติจิตใจให้สูงเหนือขึ้นไปอีกจนถึงขั้นอริยะ
    ผู้นั้นก็เลื่อนขึ้นเป็น อริยวงศ์
    สูงเหนือขึ้นไปจากสกุลกษัตริย์อีก
    นับว่าเป็นสกุลอันประเสริฐกว่าสกุลทั้งหลายอื่น

    อาหารทุกอย่างมันก็ดีแต่ร้อนๆ เท่านั้น
    ถ้าทิ้งไว้นานหน่อยมันก็บูดเน่าหนอนขึ้น
    ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็เช่นเดียวกัน
    ไม่มีสาระแก่นสาร เป็นของลมๆ แล้งๆ
    ของที่คนอื่นนำมาให้มันไม่วิเศษวิโสอะไร
    เหมือนกับของที่มีขึ้นในตัวของเราเอง
    ใครไปยินดีหลงเพลิดเพลินกับสิ่งเหล่านี้ก็จะมีแต่โทษกับทุกข์เท่านั้น
    เราเองไม่เคยสนใจกับสิ่งเหล่านี้
    ใครจะนั่งสรรเสริญหรือนินทาอยู่ ๑๐ วัน ๑๐ คืนก็ไม่เห็นแปลกอะไร


    http://www.dhammajak.net
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    แนวทางสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆ

    [​IMG]


    มูลกัมมัฏฐาน
    วิปัสสนาธุระ พระธุดงค์

    ผู้ปฏิบัติธรรมมีข้อควรแสวงหาอยู่ ๒ อย่าง
    ซึ่งเป็นเครื่องมืออุปกรณ์ภายนอก
    เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติใหม่ๆ

    (๑) บุคคลสัปปายะ
    ให้เลือกบุคคลที่คบค้าสมาคม ให้แสวงหาแต่บุคคลผู้มีความสงบ
    จะเป็นหมู่คณะไหนๆ ก็ตาม ให้เพ่งไปในแนวสงบด้วยกัน เรียกว่า บุคคลสัปปายะ

    (๒) เสนาสนะสัปปายะ
    สถานที่สงบสงัด อากาศที่สบาย ห่างไกลจากชุมนุมชน
    สถานที่เช่นนั้นย่อมเป็นที่สบายสะดวกของผู้ฝึกหัดเรียกว่า กายวิเวก ที่สงัดกาย
    ในบาลีท่านแสดงไว้ เช่น ถ้ำ และคูหา เงื้อมผาและป่าดง สูญญาคาร บ้านว่างเปล่า
    ซึ่งไม่มีมนุษย์ไปมาเกินควรเกลื่อนกล่น ที่เช่นนั้นเรียกว่า เสนาสนะสัปปายะ
    เป็นเครื่องมือสนับสนุนของผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี

    เวลาไปอยู่ในสถานที่เช่นนั้น
    อย่าให้ปล่อยจิตใจไปในอารมณ์ที่เป็นศัตรูแก่ความสงบ
    เช่น ใฝ่ใจไปในทางดิรัจฉานคาถาและไสยศาสตร์
    ให้ปรารภและปฏิบัติแต่ธรรมะที่จะให้ความสบายแก่ตน เช่น

    อปิจฉตา
    ทำคนเป็นคนมักน้อยในปัจจัยทั้ง ๔

    วิเวกะ
    ให้มุ่งต่อความวิเวกสงัดถ่ายเดียว

    อสังสัคคะ
    อย่าเป็นผู้จุกจิกจู้จี้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ

    วิริยารัมภะ
    ให้ตั้งใจปรารภแต่ความพากเพียร เพื่อทำจิตของตนให้สงบถ่ายเดียว

    สีลานุสสติ
    ให้ตรวจดูมรรยาทความประพฤติของตน ได้ล่วงข้อห้ามสิกขาบทหรือไม่
    ให้รีบชำระเสียโดยเร็วด้วยเจตนาของตนเอง

    สมาธิกถา
    ให้ปรารภในเรื่องสมาธิ อารมณ์กัมมัฏฐาน
    อันเป็นเหตุแห่งความตั้งมั่นแห่งจิต

    ปัญญากถา
    ให้ปรารภแต่เรื่องที่จะให้เกิดปัญญา (วิปัสสนา)

    วิมุตติ
    ให้ยินดีในการทำความหลุดพ้นไปจากกิเลสทั้งปวง

    วิมุตติญาณทัสนะ
    ให้ปรารภตรึกตรองใคร่ครวญในการรู้เห็นธรรมะ
    ที่จะให้หลุดพ้นไปจากกิเลสอาสวะธรรมทั้งปวง

    ธรรมะเหล่านี้เป็นคู่มือของผู้ปฏิบัติทั่วไป
    จะทำใจของบุคคลผู้นั้นให้โน้มไปในทางพ้นทุกข์ถ่ายเดียว

    คือ ได้คัดลอกหมวดธรรมที่จำเป็น
    เป็นหัวข้อย่อยๆ พอเป็นเครื่องอุปการะ เครื่องสนับสนุนผู้ปฏิบัติมิให้วกเวียน
    แต่ควรถือว่าเป็นปกิณกธรรมเพียงเท่านั้น
    ส่วนความจริงนั้นต้องทำให้เกิดมีในตนเองโดยกำลังของตนเองเรียกว่า ปฏิบัติธรรม
    ถ้าเราจะถือกันแต่หมวดธรรมนี้ถ่ายเดียว ก็ได้แต่ปริยัติเท่านั้น
    ฉะนั้น ชั้นสุดท้ายอันเป็นจุดสำคัญก็คือ
    การทำจิตของตนให้สงบลงจนถึงหลักธรรมชาติ
    เป็นเองที่มีอยู่ในตนรู้เอง ละเอง นั่นแหละจึงเรียกว่า ปฏิบัติธรรม
    จึงจะนำตนเข้าถึงปฏิเวธธรรมอันเป็นรสของธรรมะจริงๆ
    ไม่ต้องมาสาวเชือก หรือสายโยงเพียงเท่านั้น

    ปริยัติธรรมทั้งหมด ก็เป็นได้แค่สะพาน หรือเชือกสายโยง
    อาศัยสาวหรือเดินข้ามฟาก
    ถ้าหากว่าเราจะรื้อเอาสะพาน หรือเชือกเหล่านั้นติดตัวไป
    ก็ไม่มีประโยชน์อะไรแก่เรา
    นอกจากความหนักหน่วงให้วกเวียนเท่านั้น
    ฉะนั้น ปริยัติทั้งหมดที่จดจำไว้
    เมื่อถึงขั้นเอาจริงแล้วเป็นเรื่องรับผิดชอบตนเองทั้งสิ้น
    จะแพ้หรือชนะ จะละหรือวางได้
    เป็นเรื่องของดวงจิตตนเองที่มีภูมิธรรมที่สร้างขึ้น
    ฉะนั้น ท่านจึงสอนอย่าให้ติดตำรา ติดสมมติบัญญัติ
    ปฏิบัติตนให้พ้นทั้งหมด จึงจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์สะอาด

    “อัตตาหิ อัตตโน นาโถ”
    อะไรจะเป็นสิ่งที่มาช่วยเหลือเราได้
    นอกจากตนของตนพึ่งตนเองได้แล้วไม่มี
    นั่นแหละเป็นการที่ถูกต้องตามแนวทางธรรมะทั้งหลาย

    พระพุทธองค์ได้ทรงถึงแล้วทั้งหมด จึงค่อยบัญญัติทีหลัง
    มิใช่ว่าบัญญัติแล้วจึงค่อยทำตาม
    เปรียบเหมือนโลกวิทยาศาสตร์เขาค้นพบ
    ทำได้ ปรากฏแล้ว เขาจึงเขียนแบบตำรา
    แต่ผู้นักตำราอ่านออกเขียนได้ รู้เรื่องราวทุกอย่าง
    เช่น เครื่องบิน รู้ได้ทุกอย่างในเครื่องสัมภาระอุปกรณ์
    แต่สร้างขึ้นด้วยความรู้ของตนเองไม่ได้
    ผู้สร้างกับผู้ใช้มันเป็นคนละอย่าง
    ถ้าเราถือกันแค่ปริยัติธรรม จดจำเพียงเท่านั้นก็ได้ เท่ากับว่าเป็นผู้ใช้
    เราควรทำตนเป็นผู้สร้างให้คนอื่นเขาใช้บ้างจึงเป็นการสมควร

    การสร้างสรรค์ขึ้นนั้น ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในตนเองจึงจะสำเร็จได้
    เมื่อไม่สำเร็จในวิธีการนั้นๆ ก็ให้ฉลาดในตนเองจึงจะสำเร็จ
    มัวแต่เอาความฉลาดของคนอื่นมาเป็นของตน ก็พึ่งตนเองไม่ได้
    เมื่อพึ่งตนเองไม่ได้ ทำไมเราจะทำตนให้คนอื่นเขามาพึ่งตนของเราได้

    ฉะนั้น จึงได้เขียนข้อธรรมะที่จำเป็น
    พอเป็นแนวทางเบื้องต้นของผู้ปฏิบัติโดยสั้นๆ เพียงเท่านี้


    http://www.dhammasavana.or.th/article.php?a=210
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    รักตัวอย่าฆ่าตัวให้ตายจากความดี

    [​IMG]


    การตายนั้น...นักปราชญ์บัณฑิตท่านเห็นเหมือนกับว่า
    เป็นการแก้ผ้าขี้ริ้วออกโยนทิ้งไปจากตัวเท่านั้น
    จิตก็เหมือนกับตัวคน กายก็เหมือนกับเสื้อผ้า
    ไม่เห็นว่าเป็นการสลักสำคัญอะไรเลย

    แต่พวกเรานี่สิกลัวนัก พอเห็นเสื้อผ้าขาดนิดขาดหน่อย
    ก็รีบหาอะไรมาปะมาเย็บให้มันติดต่อเข้าไปใหม่
    ยิ่งปะยิ่งเย็บ มันก็ยิ่งหนา ยิ่งหนาก็ยิ่งอุ่น ยิ่งอุ่นก็ยิ่งติด ยิ่งติดก็ยิ่งหลง
    ผลที่สุดเลยไปไหนไม่รอด

    นักปราชญ์บัณฑิตนั้น
    ท่านเห็นว่าการอยู่การตายไม่สำคัญเท่ากับการทำประโยชน์
    ถ้าการอยู่ของท่านมีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นแล้ว
    ถึงผ้ามันจะเก่า เสื้อมันจะขาดจนเป็นผ้าขี้ริ้ว ท่านก็ทนใส่มันได้
    แต่ถ้าเห็นว่าไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใครแล้ว ท่านก็แก้มันโยนทิ้งไปเลย

    ผิดกับคนธรรมดาสามัญอย่างเราที่ไม่มีใครอยากตาย
    พอพูดถึงตาย ก็กลัวเสียแล้ว ถึงร่างกายมันจะตายก็ยังอยากจะให้มันอยู่
    บางคนร่างกายมันจะอยู่ ก็อยากจะให้มันตาย
    ตายไม่ทันใจเอามีดมาเชือดคอให้มันตายเร็วเข้า เอาปืนมายิงให้มันตายบ้าง
    กระโดดให้รถไฟทับตายบ้าง กระโดดลงแม่น้ำให้มันจมตายบ้าง ฯลฯ
    อย่างนี้นี่เป็นเพราะอะไร ?
    เพราะอวิชชา ความไม่รู้เท่าความเป็นจริงในสังขาร
    หลงผิด คิดผิดทั้งหมด
    อย่างนี้มันก็จะต้องตายไปตกนรกหมกไหม้ ไม่รู้จักผุดจักเกิด

    ทุกคนย่อมรักตัวของตัวเองยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งหมด
    แต่การรักตัวนั้น มี ๒ สถาน คือ
    รักอย่างลืมตัว เผลอตัวและหลงตัว นั้นอย่างหนึ่ง
    การรักเช่นนี้ไม่เรียกว่า การรักตัว เพราะไม่กล้าจะทำความดีให้แก่ตัวเอง
    จะทำความดีก็กลัวอย่างนั้นกลัวอย่างนี้
    กลัวว่าตัวเองจะได้รับทุกข์ยากลำบากต่างๆ
    เช่น อยากไปวัด ก็กลัวไกล กลัวลำบาก กลัวแดดกลัวฝน
    จะถือศีลอดข้าวเย็นก็กลัวหิวกลัวตาย จะให้ทานก็กลัวยากกลัวจน
    จะนั่งภาวนาก็กลัวปวดกลัวเมื่อย เช่นนี้เท่ากับคนนั้นตัดมือ
    ตัดเท้า ตัดปาก ตัดจมูก ตัดหู ฯลฯ ของตัวเอง
    ผลดีที่จะได้อันเกิดจากตัวก็เลยเสียไป นี่เป็นการรักตัวในทางที่ผิด

    การรักอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เมตตาตัว
    คือ หมั่นประกอบบุญกุศลและคุณความดีให้มีขึ้นในตน
    ขณะใดที่จะเกิดประโยชน์จากตา หู จมูก ปาก มือ เท้า ฯลฯ ของตนเองแล้ว
    ก็ไม่ยอมปล่อยโอกาสให้เสียไป
    มือของเราที่จะให้ทานก็ไม่ถูกตัด เท้าของเราที่จะก้าวเดินไปวัดก็ไม่ถูกตัด
    หูของเราที่จะได้ฟังเทศน์ก็ไม่ถูกตัด ตาที่จะได้พบเห็นของดีๆ ก็ไม่ถูกปิดมืด
    เราก็จะได้รับผลได้อันดีจากตัวของเราอย่างเต็มที่
    อย่างนี้เรียกว่า เมตตาตัว เป็นการรักที่ถูกทาง ผู้นั้นจะมีแต่ความสุข

    คนใดที่ขาดเมตตาตัวเองเท่ากับฆ่าตัวเอง เรียกว่า เป็นคนใจร้าย
    เมื่อฆ่าตัวเองได้ ก็ย่อมฆ่าคนอื่นได้ด้วย
    เช่น เขาจะไป ห้ามไม่ให้เขาไป เขาจะดู ห้ามไม่ให้เขาดู
    เขาจะฟัง ห้ามไม่ให้เขาฟัง ฯลฯ
    ทำให้ผลประโยชน์ของคนอื่นที่ควรจะได้พลอยเสียไปด้วย
    นี่แหล่ะเป็นการฆ่าตัวเองและฆ่าคนอื่นให้ตายไปจากคุณความดี


    http://www.dhammajak.net
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    จิตของเราเหมือนกับลูกโป่ง

    [​IMG]


    “นิวรณ์” แท้จริงมันก็มีอยู่กับตัวเราเสมอ ถึงจะเรียนก็มี ไม่เรียนก็มี
    นิวรณ์นี้มันมีอำนาจ อิทธิพลมาก
    เพราะเป็นเครื่องกลบเกลื่อนดวงจิตของเราไม่ให้ก้าวขึ้นสู่ความดีได้
    เส้นทางของนิวรณ์ที่จะไหลมาสู่เรา ก็คือ
    “สัญญาอดีต” อันได้แก่เรื่องราวต่างๆ ทั้งดีทั้งชั่ว
    ทั้งของเราของเขาซึ่งเป็นอดีตทั้งหมดเส้นหนึ่ง
    อีกเส้นหนึ่งคือ “สัญญาอนาคต”
    นับแต่เรื่องที่คิดไปตั้งแต่วันพรุ่งนี้จนถึงวันตาย
    ซึ่งเราอาจเดาอาจคิดไปด้วยความผิดพลาดทั้งหมดทั้ง ๒ ทาง
    นี้เป็นเส้นทางที่ไหลมาจากนิวรณ์ทั้งสิ้น

    ฉะนั้น เรื่องอดีต อนาคต ก็ต้องวางไว้ก่อน ยกจิตของเราขึ้นสู่องค์ภาวนา
    คือ นึกถึงลมหายใจของลมอันเป็นส่วนปัจจุบันของรูป ปัจจุบันของนาม
    ได้แก่ “ตัวรู้” เมื่อเราทำได้เช่นนี้
    จิตของเราก็จะเหมือนกับลูกโป่งที่ลอยอยู่ในอากาศ
    เพียงตัดเชือกเส้นเดียวเท่านั้นเราก็จะหลุดได้
    คือ เมื่อตัดสัญญาขาด จิตของเราก็จะเข้าไปสู่องค์ภาวนาได้ทันที

    ใจก็ไม่มีอาการอึดอัด มีแต่ความโปร่งสบาย
    ใจก็สูงเหมือนลูกโป่งที่ถูกตัดเชือกออกจากก้อนหินที่ผูกไว้
    สิ่งที่จะตามขึ้นไปทำลายรบกวนก็ยาก
    เพราะธรรมดาขี้ฝุ่นนั้นก็จะกลบได้แต่เพียงแค่ศีรษะคนเท่านั้น
    ที่มันจะปลิวขึ้นไปกลบถึงยอดภูเขา หรือยอดไม้สูงๆ นั้นย่อมไม่ได้

    ฉะนั้น เมื่อจิตของเราสูงขึ้นแล้ว
    นิวรณ์ทั้งหลายก็ไม่สามารถจะกลบจิตของเราให้เศร้าหมองได้


    http://www.dhammajak.net
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    ทางธรรมเอา “ใจ” เป็นใหญ่

    [​IMG]


    “โลก” เขาเอาสุขทางกายเป็นใหญ่ จิตใจจะทุกข์อย่างไรก็ช่างมัน
    แต่ “ธรรม” เอาสุขทางใจเป็นใหญ่ เพราะถือว่าใจเป็นส่วนสำคัญยิ่ง
    ร่างกายภายนอกถือว่าเป็นส่วนต่ำ
    มีแต่คอยนำความทุกข์ เดือดร้อนและความเสื่อมความเลวมาให้

    “ร่างกาย” เป็นเหมือนงูเห่า หรือ อสรพิษ ที่นำมาแต่ความเจ็บปวดเมื่อยเหน็บมาให้
    หรือมิฉะนั้นก็เหมือน “เด็ก” เดี๋ยวก็อ้อน เดี๋ยวก็ดี
    กวนอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่หยุดหย่อน บางคราวก็ดี บางคราวก็ร้าย

    คนที่ทำแต่ “บุญ” แต่ไม่ได้ทำ “หลักของใจ” ไว้
    ก็เปรียบเหมือนกับคนที่มีที่ดินแต่ไม่มีโฉนด
    จะซื้อจะขายเป็นเงินเป็นทองก็ได้ดอก แต่มันอาจจะถูกเขาฉ้อโกงได้
    เพราะไม่มีเสาหลักปักเขตไว้

    คนที่มีศีล มีทาน แต่ไม่มี “ภาวนา” (คือ หลักของใจ)
    ก็เท่ากับถือศาสนาเพียงครึ่งเดียว
    เหมือนคนที่อาบน้ำแค่บั้นเอว ไม่ได้รดลงมาแต่ศีรษะ
    ก็ย่อมจะไม่ได้รับความเย็นทั่วตัวเพราะไม่เย็นถึงจิตถึงใจ


    http://www.dhammajak.net
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    ทุกคนบวชเป็นญาติกับพระศาสนาได้

    [​IMG]


    การบวชเป็นพระนั้น
    จะต้องดำเนินตามข้อปฏิบัติให้เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้จริงๆ
    จึงจะได้ชื่อว่า เป็นลูกของพระตถาคต
    บุคคลซึ่งนับว่าเป็นลูกของพระองค์จริงๆ ก็ได้แก่ บุคคล ๔ จำพวก
    คือ พระโสดา พระสกทาคา พระอนาคา และพระอรหันต์
    ซึ่งเป็นผู้กระทำดวงจิตของตนให้พ้นแล้ว
    จากอาสวกิเลสได้เป็นชั้นๆ ตามอำนาจแห่งกำลังจิตของตน
    บุคคล ๔ จำพวกนี้แหล่ะเป็นญาติที่ใกล้ชิดของพระศาสนาจริงๆ
    เพราะเป็นลูกของพระพุทธเจ้า
    ซึ่งคู่ควรที่จะได้รับทรัพย์มรดกจากพระองค์โดยไม่ต้องสงสัย

    การบวชเป็นพระอย่างนี้ หญิงก็เป็นพระได้ ชายก็เป็นได้ อุบาสก อุบาสิกาก็เป็นได้
    สามเณรก็เป็นได้ พระอย่างนี้...เป็นพระภายใน
    ส่วนพระที่โกนผมนุ่งเหลืองอย่างนี้เป็นพระภายนอก คือบวชให้คนเห็นด้วยตา
    แต่ถ้าใครเป็นทั้งพระภายนอกและพระภายในด้วยทั้ง ๒ อย่างก็ยิ่งดี

    เหตุนั้นเราก็ควรจะภูมิใจในวาสนาบารมีของเรา
    ที่จะบวชเป็นญาติของพระศาสนาได้ด้วยกันทุกๆ คน
    และถ้าผู้ใดปฏิบัติได้จนพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณเกิดขึ้นในใจแล้ว
    ก็ย่อมเป็นทายาทผู้จะต้องได้รับมรดกจากพระองค์อย่างแน่แท้
    ถ้าเราเป็นคนจน* อยู่ ก็ไม่ต้องวิตกทุกข์ร้อนว่า เราจะไม่มีสมบัติ
    ถ้าเราเป็นคนรวยอยู่บ้างก็ยิ่งดีมากขึ้น
    จะได้มีสมบัติแจกลูกแจกหลานต่อๆ ไปอีกด้วย


    * หมายเหตุ : เพื่อความเข้าใจเพราะบทความนี้ตัดตอนมาจากหนังสือ
    จึงขอเรียนว่า ในหนังสือบันทึกธรรมโอวาทของท่านพ่อลี
    มีหลายบทที่ท่านมักเปรียบเทียบคนที่ปฏิบัติธรรม (ทาน ศีล ภาวนา)
    ว่าเป็นคนมั่งมีหรือคนรวย รวยด้วยธรรม ไม่ได้หมายถึงฐานะหรือสมบัติทางโลก


    http://www.dhammajak.net
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    การภาวนาเปรียบได้กับการนิมนต์พระเข้าบ้าน

    [​IMG]


    ธรรมโอวาทอบรมสมาธิตอนบ่ายรอบที่ ๑
    ของ
    พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
    วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
    เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๙๙


    ๑. เวลาที่เรานั่งภาวนา ให้นึกว่าร่างกายเรานี้เปรียบเหมือนกับบ้าน
    การที่เราภาวนา “พุทโธ” เข้าไป มันก็เปรียบกับว่า เรานิมนต์พระเข้าไปในบ้านของเรา
    การนิมนต์พระเข้าไปในบ้านนั้นก็ให้นกึถึงมรรยาทของโลกว่า เขาจะต้องทำอย่างไรกันบ้าง
    ๑.๑ เขาจะต้องปูอาสนะไว้สำหรับท่าน
    ๑.๒ หาน้ำดื่มหรืออาหารที่ดีๆ มาถวาย
    ๑.๓ ต้องสนทนาปราศรัยกับท่าน
    (หมายเหตุ : หัวข้อ ๑.๓ ยังไม่ได้นำเสนอรายละเอียดไว้ในบทความนี้)

    ๒. “การปูอาสนะ” นั้นก็ได้แก่การที่เรานึก “พุท” ให้ติดเข้าไปกับลม
    นึก “โธ” ให้ติดออกมากับลม เมือ่เราตั้งสติคอยนึกกำหนดอยู่เช่นนี้
    “พุทโธ” ก็จะแนบกับลมหายใจของเราอยู่เสมอ
    ถ้าการนึกของเราพลาดไปจากลมขณะใดแล้วก็เท่ากับอาสนะของเราขาด

    และการปูอาสนะนั้น เขาจะต้องมีการปัดกวาดสถานที่ให้สะอาดเสียก่อน
    ก็คือ ในชั้นแรกให้เราสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ และแรงๆ
    ปล่อยกลับออกมาก็เช่นเดียวกันสัก ๒-๓ ครั้ง
    แล้วจึงค่อยๆผ่อนลมหายใจให้เบาลงทีละน้อยๆจนพอดีที่เราจะจำได้
    แต่อย่าให้เกินพอดีไปหรือน้อยกว่าพอดี ต่อจากนี้เราก็กำหนดลมหายใจ
    พร้อมกับคำภาวนาว่า “พุทโธๆ” พระท่านก็จะเดินเข้าไปในบ้านของเรา
    ถ้าใจของเราไปอยู่กับอารมณ์ภายนอก คือ สัญญา อดีต อนาคต อันใดอันหนึ่งแล้ว
    ก็เท่ากับหนีพระออกไปจากบ้านของเรา อย่างนี้ย่อมเป็นการผิดมรรยาท...ใช้ไม่ได้

    ๓. เมื่อพระท่านเข้ามาในบ้านของเราเรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องจัดหาน้ำหรืออาหารดีๆมาถวาย
    และสนทนากับท่านด้วยเรื่องที่ดีๆ เรียกว่า “ธรรมปฏิสันถาร”
    ส่วนอาหารที่ดี ก็ได้แก่ มโนสัญเจตนาหาร ผัสสาหาร
    และวิญญาณาหาร นี่เป็น “อามิสปฏิสันถาร”

    อามิสปฏิสันถารนี้ คือ การปรับปรุงลมหายใจให้เป็นที่สบายของกายและจิต
    เช่น สังเกตดูว่าลมอย่างไหนเป็นคุณแก่ร่างกาย ลมอย่างไหนเป็นโทษแก่ร่างกาย
    หายใจเข้าอย่างใดสะดวก หายใจออกอย่างใดสะดวก หายใจเข้าเร็วออกเร็วสบายไหม ?
    หายใจเข้าช้าออกช้าสบายไหม ? เราจะต้องทดลองชิมดูให้ดี นี่ก็เท่ากับว่า เป็นอาหารชนิดหนึ่ง

    เพราะเหตุนี้การที่เรามาตั้งใจกำหนดอยู่ในลมหายใจ จึงเรียกว่า “มโนสัญเจตนาหาร”
    แล้วเราก็ปรับปรุงลมหายใจจนรู้สึกว่า ลมนั้นเรียบร้อยสะดวกสบาย
    เมื่อสะดวกสบายอย่างนี้แล้วก็ย่อมจะเกิดคุณธรรมขึ้นในตนอย่างนี้
    จึงจะเรียกว่า เราต้อนรับท่านด้วยการบริโภคที่ดี
    เมื่อท่านฉันอิ่มแล้วท่านก็จะต้องให้ศีลให้พรเราให้มีความสุข ให้หายไปจากความทุกข์

    เช่นที่ท่านแสดงว่า “พระพุทธเจ้ากำจัดทุกข์ได้จริง” นั้นก็คือ
    ความทุกข์กายของเราก็จะหายไป ถึงจะมีบ้างก็นิดหน่อย ไม่มาก
    ส่วนความทุกข์ใจก็จะหายไป ใจของเราก็จะเย็น

    เมื่อใจเย็นเป็นสุข ใจก็สงบเบิกบาน สว่างไสว ที่เรียกว่า “พระธรรมกำจัดภัยได้จริง”
    นั่นก็คือ มารต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องรบกวนร่างกาย
    เช่น “ขันธมาร” ความเจ็บปวดเมื่อย ฯลฯ เหล่านี้ก็จะหายไป
    ใจนั้นก็จะอยู่โดยปราศจากทุกข์โทษภัยเวร นี่ก็เท่ากับพรของพระที่ท่านให้แก่เรา


    http://www.dhammajak.net
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    ผู้สั่งสมบุญย่อมนำมาซึ่งความสุข

    [​IMG]


    “สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย” ผู้สั่งสมบุญย่อมนำมาซึ่งความสุข


    บุญภายนอกเปรียบเหมือนเปลือกผลไม้ เช่น ขนุน มะม่วง ทุเรียน เป็นต้น
    บุญภายในเปรียบเหมือนเนื้อหนัง
    เราจะอาศัยบุญภายในหรือบุญภายนอกอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน
    ผลไม้ถ้าไม่มีเปลือกนอกก็เป็นเนือ้เป็นหนังขึ้นมาไม่ได้ หรือมีแต่เปลือกไม่มีเนื้อในก็กินไม่ได้
    ฉะนั้น บุญภายนอกต้องอาศัยบุญภายในด้วยเป็นการช่วยเหลือกันแต่คุณภาพต่างกัน
    บุญภายนอกเป็นเครื่องห่อหุ้มบุญภายใน


    บุญภายนอก ได้แก่ วัตถุ กายต้องอาศัยวัตถุ อาหารเรียกว่า ปัจจัย ๔
    แต่จะเป็นสุขเพราะอาหารอย่างเดียวก็ไม่ได้
    ถ้าเรากินแต่อาหารแล้วไม่นุ่งผ้าหรือไม่มีที่อยู่อาศัย ต้องเปียกน้ำเปียกฝน ฯลฯ
    หรือเจ็บไข้ไม่มียารักษาก็เป็นทุกข์
    ตัวเราคือ ธาตุ ๔ นี้จำต้องอาศัยวัตถุภายนอก คือ ปัจจัย ๔ ด้วย
    จึงจะประกอบบุญกุศลได้สำเร็จเต็มที่
    เหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้บริจาคสิ่งเหล่านี้ก็จะสำเร็จประโยชน์ชาตินี้และเบื้องหน้า


    บุญภายใน ได้แก่ การดัดตัวของเราเองให้เป็นบุญกุศล
    ตัวเราเปรียบเหมือนต้นไม้ในป่า เช่น ต้นตะโก
    ถ้าเรานำมาใส่กระถางดัดแปลงกิ่งก้านให้สวยงามก็จะมีราคาสูงขึ้น
    คนที่ไม่ดัดกาย วาจา ใจของตัวเองก็เรียกว่า เป็นคนที่มีราคาต่ำ

    เราควรดัดมือดัดแขนให้รู้จักไหว้กราบพระ ดัดเท้าให้รู้จักเดินไปวัด
    ดัดหูให้รู้จักฟังธรรม ฟังคำที่เป็นคุณเป็นประโยชน์
    ดัดตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเราให้สิ่งที่ไหลเข้าไปล้วนแต่เป็นบุญเป็นกุศล
    จมูกก็อย่าหายใจเปล่า ให้หายใจเอา “พุทโธ” เข้าออกเหมือนกับน้ำที่ไหลเข้าไปในร่างกาย
    ใจของเราก็จะเย็นสบายเป็นสุข ปากก็หมั่นสวดมนต์ภาวนา
    อย่าด่าแช่งเสียดสีหรือพูดเท็จต่อใคร กล่าวแต่สิ่งที่เป็นธรรมและไม่ดื่มเหล้าเมายา


    ให้เก็บบุญเอาตามตัวของเรา มีมือ เท้า แขน ขา ตา หู จมูก ลิ้น เหล่านี้เป็นต้น
    ส่วน “แก่นของบุญ” นั้นคือ “ใจ” ต้องทำใจของเราให้สงบระงับจาก โลภะ โทสะ โมหะ
    ทางอายตนะนั้นเปรียบด้วยเปลือกหรือกระพี้ก็ทำประโยชน์ได้เหมือนกัน
    ถ้าเรารู้จักสะสมความดีก็เป็นประโยชน์แก่ตัว คนมั่งมีคือ คนที่บริจาคเสมอ
    ส่วนคนจนก็คือ คนที่ไม่บริจาคให้ทานอะไร
    พระพุทธเจ้าจึงทรงสรรเสริญคนมั่งมีว่า มีดวงใจเป็นแก้วประดับ
    คือรัตนะ ๓ ได้แก่ พุทฺธรตฺนํ ธมฺมรตฺนํ สงฺฆรตฺนํ นี้เป็นใจที่มีศรัทธา


    โรคทางกายไม่สำคัญเท่าไร เพราะเมื่อเราตายแล้วถึงจะรักษาหรือไม่รักษามันก็หาย
    ส่วนโรคทางใจนั้น เราตายแล้วมันก็ยังไม่หาย
    ทำให้ต้องเวียนตายเวียนเกิดอีกหลายชาติหลายภพ


    ร่างกายเปรียบด้วยบ้าน ใจเปรียบด้วยคนที่อาศัย
    ทรัพย์สมบัติเงินทองบ้านช่องไร่นาและลูกหลานเหล่านี้เราต้องทิ้งไปทั้งนั้น
    จึงควรรีบสะสมบุญกุศลไว้และบริจาคสิ่งที่เป็นทาน
    อันเป็นสิ่งที่เราจะนำไปด้วยได้นั้นเสียแต่ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่นี้เถิด


    http://www.dhammajak.net
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    ยาพิษ...โทษมันอยู่ที่คนกินเข้าไป

    [​IMG]


    “ความตั้งใจ” เมื่อเรามีเจตนาตั้งใจจะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
    เราจะต้องทำให้เป็นไปตามความตั้งใจนั้น
    ให้รักษาเจตนาของตนไว้มั่นคง อย่าทำลาย
    การฟังธรรมนั้น...ถึงแม้จะไม่เข้าใจ
    แต่ถ้าตั้งใจฟังแล้วย่อมเกิดประโยชน์

    “ยาพิษ” ไม่ได้เป็นโทษอยู่ที่ยา
    มันเป็นโทษที่ตัวเราเองหรือผู้ที่กินเข้าไป
    เพราะ “ความโง่” คือ อวิชชา ไม่รู้จักพิจารณาว่า
    สิ่งใดดีหรือชั่ว คือไม่รู้เท่าทันในอารมณ์ ๕

    “อินทรีย์สังวร” ก็คือ ให้ระวังอารมณ์ ๕ ที่ผ่านเข้ามา
    ผู้ไม่ระวังรักษาในอารมณ์ ๕ เรียกว่า ศีลไม่บริสุทธิ์
    นี่เป็นศีลของผู้มีจิตชั้นสูง
    ส่วนศีล ๕ นั้น คนพาลหรือบัณฑิตก็ทำได้


    http://www.dhammajak.net
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    สติ เป็น ตปธรรม

    [​IMG]


    คนที่ใจไม่อยู่กับตัว เที่ยวแส่ส่ายออกไปรับสัญญาอารมณ์ภายนอก
    ทั้งดี ทั้งชั่ว ทั้งอดีต อนาคต ผู้นั้นก็จะต้องพบกับความร้อนใจด้วยประการต่างๆ
    เปรียบเหมือนผู้ที่ไม่อยู่ในบ้านในเรือนของตัว วิ่งไปเที่ยวนอกบ้าน
    มันก็จะต้องโดนแดดบ้าง ฝนบ้าง ถูกรถชนบ้าง ถูกสุนัขบ้ากัดบ้าง อะไรต่างๆเหล่านี้
    ถ้าหากเราอยู่แต่ในบ้านของเราแล้ว
    แม้จะมีภัยอันตรายบ้างก็ไม่สู้มากนัก และก็จะไม่ต้องประสบกับความร้อนใจด้วย

    ลมหายใจเข้า ออก เปรียบเหมือนกับไส้เทียนหรือไส้ตะเกียง
    สติที่เข้าไปกำหนดอยู่เหมือนกับไฟไปจ่อไส้ตะเกียงที่มีน้ำมันอันเป็นเหตุนำมาซึ่งแสงสว่าง

    ไส้เทียนที่เขาควั่นแล้จุดไฟขึ้นแม้เพียงเล่มเดียว
    สามารถจะทำลายเผาบ้านเมืองให้พินาศไปได้ฉันใด
    สติอันเดียวนี้ก็สามารถทำลายแผดเผาความชั่วร้ายในตัวเรา
    คือ กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ให้พินาศหมดสิ้นไปได้

    สติจึงเป็นตัว ตปธรรม


    http://www.dhammajak.net
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    “ศีลอยู่ในตัวเราแล้ว”

    [​IMG]


    พระท่านเป็น ผู้แนะนำวิธีรักษาและเก็บศีล
    ไม่ใช่ท่านเป็น ผู้ให้ เพราะ ศีลมีอยู่ในตัวเราแล้ว
    คือ ท่านสอนวิธีปฏิบัติให้เพื่อแก้ว ๓ ดวงใสขึ้น
    ศีล คือ เครื่องห่อแก้วให้สะอาดบริสุทธิ์
    ภาวนา คือ ตัวพุทธะ อยู่ลึกมาก

    ศีล เป็นเปลือกที่ ๒ ทานเป็นเปลือกที่ ๓ ใครไม่มีจอบเสียมที่คมกล้า
    ก็ไม่สามารถขุดเจาะลงไปถึงได้
    เราต้องขุดชั้นที่ ๑ ได้แก่ ทาน คือ พื้นดินขุดลงไปถึงได้
    เราต้องขุดชั้นที่ ๑ ได้แก่ ทาน
    คือ พื้นดินส่วนหน้าซึ่งมีต้นหญ้าและใบไม้ปิดอยู่เสียก่อน

    ชั้นที่ ๒ ได้แก่ ศีล คือ ดินแข็ง แดง ดำ
    ชั้นที่ ๓ อาจพบหิน หรือ รากไม้
    นี่คือ การขุดรัตนะ คือ แก้วสารพัดนึก

    ทาน การกุศลเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆ นอกตัวเรา
    (เปรียบเหมือนเปลือกนอกหรือพื้นหญ้า)
    ศีล อยู่ในกาย (คือ ดินแข็ง)
    ภาวนาอยู่ในใจ (คือ เพชรหรือหิน)


    http://www.dhammajak.net
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    ผู้ต้องการละขันธ์ ๕ ต้องสละ ๕ อย่าง

    [​IMG]


    การที่เรามาบำเพ็ญจิตใจอยู่นี้ ต้องเสียสละถึง ๕ อย่าง
    นับเป็น “มหาปริจาค” ทีเดียว คือ

    ๑. เสียสละเวลา
    เวลาของเราซึ่งอาจเป็นเงินเป็นทอง เป็นวิชาความรู้ เป็นเวลานอนพัก

    ๒. สละความสุข
    เราอยู่บ้านของเราเรามีความสุข
    ถ้าหากเรามาอยู่ในสังคมอย่างนี้ เราหมดอิสระ เราไม่ได้นั่งนอนอย่างสบายใจ

    ๓. สละภายใน
    เช่น สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ คือ สละอกุศลธรรมที่เกิดจากทางกาย

    ๔. สละคำพูดที่เป็นโทษ
    คือ วาจาทุจริต

    ๕. สละความกังวล
    คือ บำเพ็ญจิตใจให้สงบนิ่งจากนีวรณธรรม

    การสละของพระพุทธเจ้าไม่เหมือนกับของเรา
    เพราะพระองค์เป็นจอมศาสดา ส่วนเราเป็นเพียง “สาวกพุทธะ”
    (เล่าถึงเรื่องมหาบริจาคของพระเวสสันดร)

    ผลของการเสียสละของเรานั้น
    ก็จะได้ซึ่งอามิสสุขและอาจถึงนิรามิสสุขด้วย
    ผู้ที่ต้องการจะละขันธ์ห้า ต้องเสียสละห้าอย่างนี้


    http://www.dhammajak.net
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    ความสะอาดเป็นเครื่องหมายหนึ่งของผู้มีศีล

    [​IMG]


    พูดถึงความสะอาด
    ความสะอาดอันนี้ ความสะอาดใน “อภิสมาจาร” นี้
    ไม่เหมือนความสะอาดใน “อาทิพรหมจรรย์”
    “อาทิพรหมจรรย์” ไม่ฆ่าสัตว์ กายสะอาด นั่นส่วนหนึ่ง
    แต่ “อภิสมาจาร” นี้ไม่ใช่อย่างนั้น
    เราไม่ต้องไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่เราเป็นผู้ไม่สะอาด
    เช่น นั่งที่ไหนก็ไม่รู้จักกวาด ไม่รู้จักปัด นี่เขาเรียกว่าคนสกปรก นี่มันเสียศีลแล้ว
    อันนี้นอนที่ไหนก็รกรุงรัง ไม่รู้จักเก็บ อันใดควรเก็บอันใดควรมาใช้สอย ทิ้งเกลื่อนกล่น
    นี่เขาเรียกว่าไม่สะอาด อย่าไปนึกว่าศีลเราไม่เสีย

    จะยืนก็ตาม อย่าง พระสารีบุตร ท่านจะออกไปเดินบิณฑบาต แต่ว่ามือมันไม่พอใช้
    มือหนึ่งจับจีวร มือหนึ่งนั้นม้วนจีวร ท่านยังเอาเท้าข้างหนึ่งเก็บใบตอง
    ทางที่จะต้องเดินไปบิณฑบาต กวาดใบตองออกจากสถานที่ๆ ท่านยืน
    เอาเท้ากวาดออก มือมันใช้ไม่พอ ท่านรักษาถึงอย่างนั้น

    สถานที่ยืนของท่าน ที่นั่งก็เหมือนกัน
    เมื่อไปนั่งที่ไหน ท่านให้แหวกตาโตๆ ขึ้นเสียก่อน มันมีอะไรบ้าง
    สถานที่นั่งของเรา และสถานที่ควรนั่งหรือไม่ควรนั่ง
    มันอยู่ในหัตถบาศของผู้เฒ่าผู้แก่พ่อแม่ครูบาอาจารย์หรือเปล่า พิจารณาดูเสียก่อน
    เราควรไปเหยียบหรือเปล่า เราควรไปนั่งหรือเปล่า สถานที่ของบุคคลชนิดนั้น

    นอกนั้นอีก สถานที่จะนั่งเองเรา ว่าเราจะนั่งตรงไหน มันมีอะไรตั้งอยู่
    มันรกหรือไม่รก มันควรแก่ฐานะเองเราหรือไม่ เมื่อเวลานั่งไปๆ
    ทีนี้เราก็จะไปทำความรกในสถานที่นั้น เมื่อเราทำความรกรุงรังในสถานที่นั้น
    เมื่อเราจะลุกไป เราต้องล้างตัวเราให้มันดี มิฉะนั้นคนอื่นเขาล้าง เราก็จะเสียใจ
    อย่างคนเก่าๆ โบราณมา คนใดที่เขาเกลียดขึ้นไปนั่งบ้านของเขา
    เวลาลงจากบ้านได้ สาดน้ำล้างที่นั่งทันที คือเขาเห็นว่าสกปรก

    อย่างเราไม่ได้เอากันถึงขนาดนั้น
    เอาแต่เก็บขี้เท้าของตัวหนีให้พ้นก็แล้วกัน
    ขี้มือขี้ผงขี้ไผ่ ติดผ้าติดผ่อน ติดอะไรมาจากพื้น มานั่งแล้วก็เก็บไปด้วย
    อย่าให้คนอื่นไปเก็บ มันบาป ศีลจะไม่บริสุทธิ์


    http://www.dhammajak.net
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    ทางสายเดียว (เอกายนมรรค)

    [​IMG]


    การทำสมาธิภาวนานี้ ก็คือ
    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเดินทางสายเดียว (เอกายนมรรค)
    ปกตินั้น พวกเราพากันเดินทางทั้ง ๖ สาย
    คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรานี้
    เมื่อไปรับอารมณ์ภายนอกเข้ามา
    ใจก็ไปติดกับรูปบ้าง ไปติดกับสัมผัสบ้าง

    เมื่อจิตของเราไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อันเดียว
    ความสงบที่เกิดจากดวงจิตของเราก็ไม่มี
    เพราะธรรมดาทางที่มีมากหลายๆสายนั้น
    เราจะเดินพร้อมๆกันทีเดียวทุกๆสายย่อมไม่ได้
    เราจะต้องเดินสายนั้นบ้าง สายนี้บ้าง ผลัดเปลี่ยนกันอยู่เรื่อยๆ
    ดังนั้นหนทางเหล่านี้ก็ย่อมจะราบเรียบไปไม่ได้

    เพราะทางสายหนึ่งๆเราไม่ได้เดินอยู่เสมอเป็นนิจ
    ทางสายนั้นย่อมจะต้องรกและเต็มไปด้วยอันตรายต่างๆ เช่น

    ๑.เราอาจจะต้องเหยียบเอาหนามหรืออิฐหินที่ขรุขระก็ได้

    ๒.อาจจะถูกกิ่งไม้ข้างทางเกี่ยวหู ตา ขา แขนเอาบ้างก็ได้

    ๓.ธรรมดาที่รกก็มักจะมีมดง่าม งู ตะขาบ แมลงป่อง ฯลฯ ซุกซ่อนอยู่
    เมื่อเรามองไม่เห็นไปเหยียบเข้า มันก็อาจจะขบกัดหรือต่อยเอาให้เป็นพิษหรือถึงตายได้

    ๔.ถ้าเรามีกิจธุระจะเดินตรงหรือรีบลัดตัดทางไปก็ย่อมลำบากไปไม่สะดวก
    เพราะติดโน่นบ้างนี่บ้างที่เป็นสิ่งกีดขวางทางเดิน
    ทำให้เราต้องไปถึงเนิ่นช้า หรือมิฉะนั้นก็ไม่ทันการ
    ถ้าเป็นกลางวันเราก้พอจะแลเห็นทาง ถ้าเป็นกลางคืนก็ยิ่งลำบากมาก

    พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า
    การเดินทางหลายสายนี้ย่อมเป็นภัยอันตรายแก่บุคคล
    พระองค์จึงทรงวางหลักแนะนำ
    ให้เราเดินทางแต่สายเดียว
    ซึ่งเป็นหนทางที่บริสุทธิ์บริบูรณ์และปลอดภัยอันตรายทุกสิ่งทุกประการ
    คือ ให้เราทำจิตให้อยู่นิ่งในอารมณ์อันเดียว
    เรียกว่า "สมาธิภาวนา"


    ทางสายเดียวนี้แหละเป็นทางที่เราจะเดินไปถึงก้อนทรัพย์ ๔ ก้อน
    คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    ซึ่งเป็นสมบัติอันประเสริฐ เป็นของจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย
    เรียกว่า "อริยสัจจ์" คือ "อริยทรัพย์"


    http://www.dhammajak.net
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    อบรมเรื่อง จิต

    [​IMG]


    วิธีของจิตใจนั้น มันไม่มีเรื่องอะไรหรอก แต่มันชอบออกไปหาเรื่อง

    กายกำเริบ คือ ปวดเมื่อย
    ใจกำเริบ คือ ฟุ้งซ่าน

    ๑) อวิชชาวิสมโลภะ คือ ใจที่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
    อดีต อนาคต ยกจิตไปไว้ในอารมณ์อื่น

    ๒) พยาปาทะ, ใจก็ไม่ชอบ หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน

    ๓) มิจฉาทิฏฐิ, ไปก็ไม่รู้มาก็ไม่รู้ มาว่าไป ไปว่ามา
    ลมออกว่าเข้า ลมเข้าว่าออก จิตเผลอเป็นคนไม่รู้เรื่องรู้ราว

    ๓ อย่างนี้ เป็น "มโนทุจริต" ทั้งสิ้น

    จิตของเราเหมือนอาหารที่อยู่ในชาม
    สติเสมือนฝาชาม ถ้าเราขาดสติเท่ากับเปิดฝาชามไว้
    แมลงวัน (กิเลส) ย่อมจะบินมาเกาะ
    เมื่อเกาะแล้วมันก็กินอาหาร แล้วก็ขี้ใส่บ้าง นำเชื้อโรคมาใ่ส่ให้บ้าง
    ทำให้อาหารนั้นเป็นเป็นโทษ เป็นพิษ
    เมื่อเราบริโภคอาหารที่เป็นพิษเราก็ย่อมได้รับทุกข์ประสบอันตราย
    ฉะนั้นเราจะต้องคอยระวังผิดฝาชามไว้เสมอ
    อย่าให้แมลงวันมาเกาะได้
    จิตของเราก็จะบริสุทธิ์สะอาด เกิดปัญญาเป็นวิชชา ความรู้

    จิตใจของเรา เหมือนขันหรือตุ่มน้ำ
    ขันนั้นถ้าปากมันหนาข้างบางข้างก็ย่อมตั้งตรงไม่ได้ น้ำก็จะต้องหก
    หรือตุ่มมันเอียง มันแตกร้าว น้ำก็ขังอยู่ไม่ได้เช่นเดียวกัน
    ฉันใดก็ดี บุญกุศลที่จะไหลมาขังอยู่ในจิตใจของเราไ้ด้เต็มเปี่ยม
    ก็ด้วยการทำจิตให้เที่ยง ไม่ตกไปในสัญญา อดีต อนาคตทั้งดีและชั่ว
    บุญกุศลซึ่งเปรียบเหมือนน้ำบาดาล หรือน้ำตก
    ก็จะไหลซึมซาบมาหล่อเลี้ยงกายใจของเราอยู่เสมอไม่ขาดสาย
    ไม่มีเวลาหยุด เป็น "อกาลิโก" ให้ผลไม่มีกาล

    การปรับปรุงจิตใจนั้น
    เราตอ้งคอยตรวจตราดูว่า ส่วนใดควรแก้ไข
    ส่วนใดควรเพิ่มเติม ส่วนใดควรปล่อยวาง
    จะแก้ไปอย่างเดียวก็ไม่ได้ จะปล่อยไปอย่างเดียวก็ไม่ได้
    ต้องดูว่า สิ่งใดควรแก่ข้อปฏิบัติของเรา เราก็ทำ


    ลมพัดป่ามันติดต้นไม้ ไม่โปร่งโล่งเหมือนลมพัดทุ่ง
    ฉะนั้นจงทำจิตให้ว่างเหมือนทุ่งนา


    http://www.dhammajak.net
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    การปฏิบัติจริงปฏิบัติให้บริสุทธิ์

    [​IMG]


    กายกมฺมํ วจีกมฺมํ มโนกมฺมํ
    ณ บัดนี้จะได้แสดงในธรรมะซึ่งเป็นเรื่องสนับสนุนบุญกุศลทั้งหลาย
    อันเปรียบเหมือนเราปลูกต้นไม้ ถ้าไม่รักษาก็ไม่เจริญ
    ๑. ลำต้นเอน เฉา
    ๒. ออกผลไม่สมบูรณ์

    ฉันใด...พุทธบริษัทซึ่งต่างพากันสร้างกุศลทุกอย่าง
    ถ้าไม่หมั่นดูแลในกิจการของตน กุศลก็จะไม่เจริญงอกงาม
    ฉะนั้น...ให้เราปรารถนาบุญอันบริสุทธิ์
    บุญ...เป็นของบริสุทธิ์ แต่ผู้ทำอาจบริสุทธิ์ก็มี ไม่บริสุทธิ์ก็มี

    เรื่องมากเป็นเหตุให้บุญของเราไม่ค่อยบริสุทธิ์
    เหมือนต้นไม้มากนักก็ย่อมดูไม่ทั่วถึง
    บางต้นก็เจริญดี บางต้นก็ตาย
    ความดีของพุทธบริษัทก็เช่นเดียวกัน
    เราจะต้องมีเครื่องสนับสนุนให้สมบูรณ์

    บางคนเกิดมามีทรัพย์บริสุทธิ์สะอาด บางคนก็ไม่สะอาด
    เหตุนั้นเราจะทำบุญกุศลก็ต้องให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์
    ถ้าเรายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก
    เราก็จะได้อิฏฐารมณ์เป็นกุศลอันหนึ่ง
    (อิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่น่าปรารถนา เป็นอารมณ์ที่ดีปานกลาง
    เป็นที่น่าปรารถนาของคนทั่วไป คือ โลกธรรม ๘ นั่นเอง
    ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ตรงกันข้ามกับ อนิฏฐารมณ์
    คือ เสียลาภ เสียยศ เสียสรรเสริญ เสียสุข - เพิ่มเติมโดยผู้ตั้งกระทู้)

    บางคนได้สิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจ ไม่สมปรารถนา
    เมื่อเป็นเช่นนี้จะโทษใครเล่า ? ต้องลงโทษว่า "กรรมเก่า" ให้ผลเรื่องต่างๆ ก็สงบ
    "ผลกรรม" เป็นของตัวเราเป็นผู้ทำขึ้น จึงทำให้เราเกิดมาในโลก
    เมื่อเราต้องการความบริสุทธิ์ เราต้องทำความบริสุทธิ์ให้พร้อมในกาย วาจา ใจ
    ทาน ศีล ภาวนา ก็ทำให้บริสุทธิ์
    เมตตากายกรรม ช่วยเหลือบุญกุศลให้เป็นของสะอาด

    เราจะบริจาคของเป็นทานก็ต้องแผ่เมตตาจิตเสียก่อน
    ทำวัตถุต่างๆ ให้เป็นวัตถุสมบัติเสียก่อนด้วยเมตตาจิตอันรอบคอบ

    ๑. "วัตถุ" ต่างๆ เปรียบเหมือนผัก

    ๒. "เจตนาสมบัติ" ถ้าขาดความตั้งใจก็เรียกว่า มันหงิกงอไม่งาม
    ความไม่งามย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของปราชญ์บัณฑิต
    ดวงใจของเราจงรักษาไว้ อย่าให้ล้มหายละลายหายสูญ

    ๓. "คุณสมบัติ" เท่ากับเราสร้างความดีให้เกิดในตัีวของเรา
    คือ รักษาศีล ๕, ๘, ๑๐ และ ๒๒๗ เหล่านี้เป็นต้น
    ให้เป็นปหานกิจ-ภาวนากิจ ทั้งกิริยา วาจา ใจ
    (ปหานกิจ คือ กิจที่พึงละ, ภาวนากิจ คือ กิจที่พึงอบรมให้เกิดมี - เพิ่มเติมโดยผู้ตั้งกระทู้)
    ต้นไม้นั้นต้องหมั่นตัดยอดจึงจะงาม เช่น ผักบุ้ง เราหมั่นเด็ดมันก็แตกใหม่อีก
    การตัดยอด ได้แก่ การตัดสัญญา อารมณ์ อดีต อนาคต ออกจากใจ

    "การทำจริง" คือ การทำโดยไม่หยุด ไม่หย่อน ไม่เลิก ไม่ถอน
    ถึงผลจะแตกช้า แต่ก็มาก เพราะมันแบ่งส่วนก็ย่อมแลเห็นช้า
    เหมือนต้นประดู่ที่แตกยอดออกมาคลุมต้นของมันเอง
    เราไปอาศัยก็ไ้ด้รับความร่มเย็น ปกคลุมถึงลูกหลานๆ ก็เย็น
    ลูกหลานก็จะกลายเป็นคนมีนิสัยอย่างพ่อแม่
    ต้นกล้วยนั้นก็ดี แต่มียอดเดียวแต่ไปดีตอนผล
    อย่างนี้ก็เหมือนคนที่มีสุขเร็ว มีเร็วดีเร็ว แต่อันตรายมาก
    อย่างช้านั้นดีประโยชน์สุขุม
    ๒ ประการนี้บางคนก็ปฏิบัติได้ผลช้า แต่คนช้าก็อย่าไปแข่งคนเร็ว
    คนเร็วก็อย่าไปแข่งคนช้า อย่าไปเหนี่ยวเขา

    ความดีที่ทำอยู่นี้ให้ผล ๒ อย่าง
    ความชั่วถ้ามีมากนักก็ค่อยๆ หมดไปทีละนิดละหน่อย
    เหมือนเราขัดกระจกกระดานต้องนานหน่อย
    ขัดกระดานจนเป็นเงามองเห็นหน้าได้นั่นแหล่ะจะเก่งมาก
    ขัดกระจกเป็นเงาได้นั้นไม่ค่อยเก่งเพราะธรรมชาติมันก็เป็นเงาอยู่แล้ว

    เราคนเดียวนี้บางทีนั่งพักเดียวก็สบาย
    บางทีนั่งอยู่ตั้งนานก็ไม่สบาย เหตุนั้นต้องบากบั่นพยายาม
    ต้องสร้างความจริง มุ่งจุดไหน ต้องทำจุดนั้นให้เรื่อยไป
    เหมือนรถไฟที่วิ่งไปตามรางฉะนั้น

    ทาน ศีล ภาวนา เปรียบด้วยคนแต่งตัวด้วยเครื่องเงิน, ทอง, เพชร
    บางคนก็แต่งแต่วันพระ พอวันธรรมดาล่อนจ้อนไม่มีอะไรเหลือเลย
    จะแต่งอะไรก็ควรให้แต่งได้สักอย่าง จะเป็นเงิน หรือทอง หรือเพชรก็ได้
    ยิ่งสามารถแต่งได้ทุกอย่างยิ่งดี

    เราเป็นลูกพระพุทธเจ้าจะมาแต่งเครื่องทองเหลือง น่าขายหน้า
    เราเป็นลูกคนมีสกุลต้องแต่งตัวให้เหมาะสมจึงจะเป็นการควร
    ถ้าคนที่วันพระก็ไม่เอา วันธรรมดาก็ไม่เอา
    ก็เหมือนเอา "โซ่" มาแต่งตัวเป็น "นักโทษ" นั่นเอง


    http://www.dhammajak.net
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    152
    ค่าพลัง:
    +147,900
    อย่าตายใจในการปฏิบัติความดี (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)

    [​IMG]


    คิดดี...ปรารถนาดีที่จิต แต่ทำดีเพียงแค่กายวาจา
    เท่านี้ไม่ถึงดวงจิตก็ใช้ไม่ได้
    เหมือนคนไม่มีศีล ๕ แต่ไปให้ศีล ๕ คนอื่น
    อย่างนี้ย่อมไม่มีอำนาจ ไม่ศักดิ์สิทธิ์
    แนะนำคนอื่นให้ทำดีแต่ตัวเองไม่ทำดี
    อย่างนี้คนถูกสอนก็อ่อนใจ หมดกำลัง

    เราต้องบำเพ็ญจิตใจของเรา
    ให้สงบระงับตามส่วนของข้อปฏิบัติ ในศีล สมาธิ ปัญญา
    นายทหารสอนลูกน้องแต่ตัวเองไม่ทำตาม เรียกว่า ไม่ใช่นักรบ

    ถ้าเราทำบุญแค่กาย วาจา วัตถุ แต่ไม่ทำถึงจิตใจ
    ก็ย่อมจะเกิดท้อถอยศรัทธา
    เหนื่อยใจเพราะไม่เห็นผลของบุญที่ทำไป

    เมื่อใครแสวงหาบ่อเกิดของอวิชชา
    เท่ากับผู้นั้นออกจากที่มืดที่ปิดบัง
    ย่อมเห็นเงาของตัวเองสั้นหรือยาวได้ถนัด
    ตลอดจนพระอาทิตย์ (ตะวัน) ตกดิน
    คนฉลาดจะเห็นเงาของตัวเองได้ตลอดเวลา ๒๔ ชม. จนแสงไฟขึ้นก็ยังเห็น

    คนฉลาด คือ ผู้ที่มีจิตประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
    และจะต้องอาศัยเหตุเหล่านี้

    ๑.) อาศัยอยู่ในที่แจ้ง
    ๒.) อาศัยต้นไม้ที่มีร่มเงา
    ๓.) ต้องไปอยู่ในสถานที่มีไฟ

    แม้เป็นกลางคืนก็สามารถมองเห็นเงาของตนได้

    ข้อ ๑ อาศัยอยู่ในที่แจ้งนั้น ได้แก่ วัด
    อันเป็นสถานที่อบรมเราให้เห็นความดีชั่ว อันเป็นบ่อเกิดแห่งความดีส่วนหนึ่ง

    ข้อ ๒ ต้นไม้ที่ไม่มีร่มเงานั้น ได้แก่
    ต้นไม้กลางทุ่งที่มีแต่แก่น เปลือกก็หลุด กิ่งก้านก็หักหมดนี้
    เปรียบกับพระภิกษุผู้ที่ท่านตัดความกังวลต่างๆทางฆราวาส
    ความรกรุงรังต่างๆก็ไม่มี มีแต่ธรรมเป็นแก่นสาร
    ถ้าเราอยู่ใกล้คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลสตัณหา (คือ ต้นไม้ที่มีกิ่งก้านร่มเงา)
    ก็จะทำให้เราโง่ไปทุกเวลา โ่ง่เพราะมีลูกให้เรากิน
    มีดอก มียอดให้เรากิน มีร่มเงาให้เราอาศัยสบาย
    ร่มเงานี้ทำให้เราโง่ เพราะตายใจว่า ดี
    (เหมือนอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ทำให้เราประมาทตายใจว่าเป็นที่พึ่งคุ้มภัยได้แล้ว)

    เราต้องอยู่ใต้ต้นไม้แก่น ตากแดด ตากลม ไม่มีที่กำบัง
    จะได้เห็นทุกข์เห็นโทษได้ถนัด
    ท่านจะชี้ให้เราเห็นอันตรายของความทุกข์ต่างๆ
    เราก็จะไม่ประมาท สร้างความดีให้ตัวเอง
    ให้รู้บาปบุญคุณโทษ อันเป็นบ่อเกิดแห่งอวิชชา
    ลักษณะของบุคคลนั้นมีหลายอย่าง บางคนเหมือนหญ้าเหมือนหนาม บางคนก็มีแก่น
    คนทั้งหลายที่เราจะคบค้าสมาคมก็เช่นเดียวกัน
    พระนั้นเปรียบเหมือนต้นไม้แก่น
    ท่านจะแนะนำให้เราตัดอย่างนั้นอย่างนี้ ความรกรุงรังของเราก็จะหมดไป

    ข้อ ๓ ต้องอยู่ในสถานที่ที่มีไฟ คือ เราต้องสงบจิตจึงจะได้รับแสงสว่าง
    ถ้าจิตของเราท่องเที่ยวไปในสัญญาอารมณ์ก็จะเกิดความเหนื่อยใจ
    ถ้าสงบเมื่อใด ใจของเราก็อิ่ม


    http://www.dhammajak.net
     

แชร์หน้านี้

Loading...