รูปพรหมและอรูปพรหม ณ พรหมโลก ตามอำนาจแห่งฌานที่ตน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย surasaksuebsan, 6 สิงหาคม 2010.

  1. surasaksuebsan

    surasaksuebsan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    73
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +329
    รูปพรหมและอรูปพรหม ณ พรหมโลก ตามอำนาจแห่งฌานที่ตน


    <TABLE style="WIDTH: 100%" border=0 cellSpacing=8 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top><TABLE style="WIDTH: 100%" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-TOP: 0cm">พรหมโลก

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; BACKGROUND: #f7fafe; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top><TABLE style="WIDTH: 100%" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 3.75pt; PADDING-LEFT: 3.75pt; PADDING-RIGHT: 3.75pt; PADDING-TOP: 3.75pt" vAlign=top>พรหมโลก คือ ที่อยู่ของพระพรหมทั้งหลาย ซึ่งอยู่สูงกว่า ปรนิมมิตวสวัตดีเทวโลกสวรรค์ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ สัตว์โลกทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ในพรหมโลกก็มีการเวียนว่ายตายเกิดเช่นกัน แต่เป็นการเวียนว่ายตายเกิดแบบ อุปริมวัฏสงสาร คือการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ภูมิชั้นสูงที่มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบายและ วิเศษเป็นเลิศ มีทั้งหมด ๒๐ ภูมิ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท
    ๑. รูปภูมิ คือ ที่อยู่ของพระพรหมทั้งหลาย ที่มีรูปร่างปรากฎ แต่เป็นรูปทิพย์มี ๑๖ ภูมิ ตามลำดับ ดังนี้
    ลำดับชั้นพรหม ชื่อพรหม บรรลุฌานก่อนจุติ อายุพรหม
    พรหมโลกชั้นที่ ๑ พรหมปาริสัชชาภูมิ ปฐมฌาน (ชั้นสามัญ) ๒๑ อันตรกัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๒ พรหมปุโรหิตาภูมิ ปฐมฌาน (ชั้นกลาง) ๓๒ อันตรกัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๓ มหาพรหมาภูมิ ปฐมฌาน (ชั้นสูง) ๑ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๔ ปริตตาภาภูมิ ทุติยฌาน (ชั้นสามัญ) ๒ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๕ อัปปมาณาภาภูมิ ทุติยฌาน (ชั้นกลาง) ๔ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๖ อาภัสราภูมิ ทุติยฌาน (ชั้นสูง) ๘ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๗ ปริตตสุภาภูมิ ตติยฌาน (ชั้นสามัญ) ๑๖ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๘ อัปปมาณสุภาภูมิ ตติยฌาน (ชั้นกลาง) ๓๒ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๙ สุภกิณหาภูมิ ตติยฌาน (ชั้นสูง) ๖๔ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จตุตถฌาน ๔๐๐ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๑ อสัญญีสัตตาภูมิ จตุตถฌาน ๕๐๐ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๒ อวิหาสุทธาวาสภูมิ จตุตถฌาน ๑,๐๐๐ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๓ อตัปปาสุทธาวาสภูมิ จตุตถฌาน ๒,๐๐๐ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๔ สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ จตุตถฌาน ๔,๐๐๐ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๕ สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ จตุตถฌาน ๘,๐๐๐ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๖ อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ จตุตถฌาน ๑๖,๐๐๐ มหากัลป์
    ๒. อรูปฌาน คือ ที่อยู่ของพระพรหมทั้งหลาย ที่ไม่มีรูปร่างปรากฎ แต่เป็นจิตมี ๔ ภูมิ ตามลำดับ ดังนี้
    ลำดับชั้นพรหม ชื่อพรหม บรรลุฌานก่อนจุติ อายุพรหม
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๗ อากาสานัญจายตนภูมิ จตุตถฌาน ๒๐,๐๐๐ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๘ วิญญาณัญจายตนภูมิ จตุตถฌาน ๔๐,๐๐๐ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๙ อากิญจัญญายตนภูมิ จตุตถฌาน ๖๐,๐๐๐ มหากัลป์
    พรหมโลกชั้นที่ ๒๐ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ จตุตถฌาน ๘๔,๐๐๐ มหากัลป์

    <TABLE style="WIDTH: 593.25pt" border=1 cellPadding=0 width=791><TBODY><TR style="MIN-HEIGHT: 39.75pt"><TD style="PADDING-BOTTOM: 0.75pt; MIN-HEIGHT: 39.75pt; PADDING-LEFT: 0.75pt; WIDTH: 585.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BACKGROUND: #ffcccc; PADDING-TOP: 0.75pt" width=781>
    พรหมโลก



    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0.75pt; PADDING-LEFT: 0.75pt; WIDTH: 585.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BACKGROUND: #ffffcc; PADDING-TOP: 0.75pt" width=781>
    พรหมโลก อยู่สูงขึ้นไปจากสวรรค์ชั้นที่ ๖ อีกมาก เป็นชั้นซ้อน ๆ กันขึ้นไป แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ ๆ คือ รูปพรหมและอรูปพรหม คติทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า
    [​IMG] ผู้ที่ทำสมาธิจนบรรลุถึงรูปฌานคือฌานที่มีรูปนิติเป็นอารมณ์ รูปฌานนั้นย่อมมีวิบากให้ไปเกิดเป็นรูปพรหม
    [​IMG] ผู้ที่ทำสมาธิสูงขึ้นไปกว่ารูปฌาน คือทิ้งรูปนิมิต กำหนดอรูปนิมิตคือนิมิตที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จนได้บรรลุอรูปฌานคือฌานที่มีอรูปนิมิตเป็นอารมณ์ ฌานนั้นก็มีวิบากให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม คำว่า พรหม ท่านแปลว่า เจริญ รุ่งเรือง หมายความว่า เจริญรุ่งเรืองด้วยคุณวิเศษมีฌานเป็นต้น
    รูปพรหมนั้นมีสูงขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ตามภูมิฌานดังต่อไปนี้
    ชั้นปฐมรูปฌาน
    ๑. พรหมปาริสัชชา แปลว่า เป็นบริษัทของพรหม ท่านอธิบายว่า เกิดในบริษัทของมหาพรหม เป็นผู้บำรุงมหาพรหม ที่กล่าวในชั้นที่ ๓
    ๒. พรหมปุโรหิต แปลว่า เป็นปุโรหิตของพรหม ท่านอธิบายว่า คือปุโรหิตของพวกมหาพรหมดั่งกล่าว
    ๓. มหาพรหม แปลว่า พรหมผู้ใหญ่ ท่านอธิบายว่า ใหญ่กว่าพวกพรหมปาริสัชชา เป็นต้น เช่น มีวรรณะยิ่งกว่า มีอายุยืนกว่า

    พรหม ๓ พวกนี้ ท่านว่าสถิตอยู่ในชั้นเสมอกัน แต่มีความรุ่งเรืองกว่ากัน เป็นที่เกิดของผุ้ที่ได้ปฐมฌาน คือรูปฌานที่หนึ่ง
    [​IMG] ถ้าได้อย่างอ่อนก็ให้เกิดในพวกพรหมปาริสัชชา
    [​IMG] ถ้าได้อย่างกลางก็ให้เกิดในพวกพรหมปุโรหิตา
    [​IMG] ถ้าได้อย่างกล้าแข็งก็ให้เกิดในพวกมหาพรหม
    ชั้นทุติยรูปฌาน
    ๔. ปริตตาภา แปลว่า มีรัศมีน้อย คือ มีแสงสว่างน้อยกว่าพรหมชั้นสูง ๆ ขึ้นไป
    ๕. อัปปมาณาภา แปลว่า มีรัศมีไม่มีประมาณ คือมีแสงสว่างมากเกินที่จะประมาณได้
    . อาภัสสรา แปลว่า มีรัศมีซ่านไป คือแผ่ออกไปแต่ที่นั้นที่นี้ดุจสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ เพราะมีขันธสันดานเกิดจากฌานที่มีปิติ อีกนัยหนึ่ง อาภัสสรา แปลว่า มีรัศมีพวยพุ่ง คือหยดย้อยออกเหมือนย้อยหยดออกจากสรีระ หรือดุจเปลวไฟแห่งโคมประทีป อีกอย่างหนึ่ง อาภัสสรา แปลว่า มีปกติสว่างไสวด้วยรัศมี.
    พรหม ๓ จำพวกนี้สถิตอยู่ในชั้นเดียวกัน แต่มีรัศมีรุ่งเรืองกว่ากัน เป็นที่เกิดของผู้ที่ได้ทุติยฌานคือรูปฌานที่สอง ถ้าได้อย่างอ่อนก็ให้เกิดเป็นพวกพรหมปริตตาภา ถ้าได้อย่างกลางก็ให้เกิดเป็นพวกพรหมอัปปมาณาภา ถ้าได้อย่างแข้งกล้าก็ให้เกิดเป็นพวกพรหมอาภัสสรา. ชั้นตติยรูปฌาน
    ๗. ปริตตสุภา แปลว่า มีรัศมีสรีระสวยงามน้อย คือ น้อยกว่าพวกพรหมชั้นสูงขึ้นไป
    ๘. อัปปมาณสุภา แปลว่า มีรัศมีแห่งสรีระสวยงามไม่มีประมาณ คือ พวกเกินที่จะ ประมาณได้
    ๙. สุภกิณหา แปลว่า มากมายไปด้วยรัศมีที่สวยงามคือ มีรัศมีผุดสว่างทั่วไป แผ่ซ่านออก จากสรีระเป็นอันเดียวกัน มีสิริเหมือนอย่างแท่งทองที่โรจน์รุ่งอยู่ในหีบทอง
    พรหม ๓ จำพวกนี้สถิตอยู่ในชั้นเดียวกัน แต่มีรัศมีรุ่งเรืองกว่ากัน เป็นที่เกิดของผู้ได้ตติยฌานคือรูปฌานที่ ๓ถ้าได้อย่างอ่อนก็ให้เกิดเป็นพวกพรหมปริตตสุภา ถ้าได้อย่างปานกลาง ก็ให้เกิดเป็นพวกพรหมอัปปมาณสุภา ถ้าได้อย่างแข็งกล้าหรือประณีตก็ให้เกิดเป็นพวกพรหมสุภกิณหา.
    ชั้นจตุตถรูปฌาน
    ๑๐. เวหัปผลา แปลว่า มีผลไพบูลย์ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจของฌาน ชั้นนี้เป็นที่เกิดของผู้ได้จตุตถฌานคือฌานที่ ๔ ไม่ได้แบ่งเป็น ๓ ชื่อสำหรับผู้ได้อย่างอ่อน อย่างปานกลาง และอย่างประณีต กล่าวไว้ชื่อเดียวรวม ๆ กันไป
    อีกนัยหนึ่ง ถ้าแบ่งรูปฌานออกเป็น ๕ ชั้น ชั้นของพรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา และมหาพรหม สำหรับผู้ได้ปฐมฌานอย่างอ่อน อย่างกลาง และอย่างประณีต
    ชั้นของพรหมปริตตาภา อัปปมาณาภา และอาภัสสรา สำหรับผู้ได้ทุติยฌานและตติยฌาน อย่างอ่อน อย่างปานกลาง และอย่างประณีต
    ชั้นของพรหมปริตตสุภา อัปปมาณสุภา และสุภกิณหา สำหรับผู้ได้จตุตถฌานอย่างอ่อน อย่างปานกลาง และอย่างประณีต
    ชั้นของพรหมเวหัปผลา สำหรับผู้ได้ปัญจมฌานคือฌานที่ ๕
    ๑๑. อสัญญี แปลว่า ไม่มีสัญญาเสียเลย พรหมชั้นนี้เป็นที่เกิดของผู้ได้ฌานสมาบัติ เพราะเพ่งอยู่เป็นนิตย์ว่าจิตไม่มี เช่น นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาบางพวก ผู้เห็นโทษในจิตว่า ราคะ โทสะ โมหะ ล้วนอาศัยจิตเกิดขึ้น มีความเห็นว่า ความไม่มีจิตเป็นของดี เป็น นิพพานในปัจจุบัน จึงเพ่งอยู่เป็นนิตย์ว่าจิตไม่มี ๆ สำรอก ดับนามขันธ์ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไปโดยลำดับ ยกตัวอย่าง สัญญาคือความจำหมาย ก็ทำให้เลือนลืม ไม่กำหนดไว้ทุกสิ่งทุกอย่าง น่าจะเป็นอย่างที่เรียกว่าทำให้ดับไป เมื่อปฏิบัติอย่างนี้จนได้ถึงจตุตถฌาน ก็ให้ไปเกิดเป็นพรหมชั้นอสัญญีสัตว์ มีแต่รูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร (ความปรุงคิด) ไม่มีวิญญาณอะไร ๆ ทั้งสิ้น และเวลาตายจากมนุษย์ ถ้ายืนตายก็ไปเกิดเป็น พรหมยืน ถ้านั่งตายก็ไปเกิดเป็น พรหมนั่ง ถ้านอนตายก็ไปเกิดเป็น พรหมนอน คือ ตายในอิริยาบถใดก็ไปเกิดเป็นพรหมมีอิริยาบถนั้น และก็อยู่ในอิริยาบถนั้นจนถึงจุติ ท่านอธิบายว่า ในเวลาจุติ พอเกิดสัญญาขึ้น ก็จุติจากกายนั้น ท่านอธิบายไว้ในที่บางแห่งอีกว่า ในเวลาว่างพระพุทธศาสนา มีนักบวชในลัทธิเดียรถีย์บางพวกเจริญวาโยกสิณได้ถึงจตุตถฌาน เห็นโทษในจิตดั่งกล่าว จึงเพ่งความไม่มีจิตเป็นอารมณ์ ครั้นตายก็ไปเกิดเป็นอสัญญีพรหม การทำสมาธิไม่ให้มีสัญญาเสียเลยนี้ ลองพิจารณาดู เมื่อทำได้ก็จะมีอาการดับจิต (ดับจิตสังขาร) หมดความรู้สึกอะไร ๆ ทุกอย่าง อย่างอ่อนก็เหมือนหลับหรือสลบไป อย่างแรงก็เหมือนตาย (แต่ไม่ตาย) ไม่มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอะไรในเวลานั้นทุกอย่าง ทำให้ดับลงไปได้ ในขณะที่อยู่อริยาบถใด ก็จะอยู่ในอิริยาบถนั้น เช่นเดียวกับที่ท่านว่าไปเกิดเป็นอสัญญีสัตว์ อยู่ในอิริยาบถอย่างเดียวกับเมื่อเวลาตาย น่าจะตรงกับที่ไทยเราเรียกว่า พรหมลูกฟัก ซึ่งมีเพียงขันธ์หนึ่ง ได้แก่รูปขันธ์เท่านั้น ไม่มีนามขันธ์ เป็นพรหมภายนอกพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้ปฏิบัติเพื่อไปเกิดเป็นพรหมพวกนี้ วิธีปฏิบัติทุกอย่างทำนองนี้ จึงไม่ใช่พระพุทธศาสนา ในที่บางแห่ง จัดชั้นอสัญญีนี้ไว้หน้าชั้นเวหัปผลา และทั้งสองชั้นนี้อยู่ในพื้นชั้นเดียวกัน. (เรื่อง ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า ได้ดำเนินมาถึงพรรษาที่ ๖ ในพรรษานี้ยังไม่พบเรื่องอะไรมาก จึงเล่าเรื่องพระพุทธเจ้าในอดีต เรื่องกัปกัลป์ เรื่องโลกจักรวาล เรื่อยมาถึงเรื่องนรกสวรรค์ แทรกเข้าไว้เป็นปุคคลาธิษฐานเต็มที่ เพื่อให้เห็นคติความเชื่อถือเก่าแก่ในเรื่องเหล่านี้ที่ได้เชื่อถือกันมาแต่ในครั้งไหนไม่รู้ แต่ก็ได้หลั่งไหลเข้ามาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาทุกชั้น
    ชั้นอสัญญีพรหมหรือพรหมลูกฟัก ซึ่งเป็นพรหมภายนอกพระพุทธศาสนาพรหมชั้นสุทธาวาส ๕ ต่อจาก พรหมชั้นเวหัปผลา หรือต่อจาก พรหมอสัญญีสัตว์ ซึ่งนับเป็นพรหมชั้นที่ ๑๑ ก็ถึง พรหมชั้นสุทธาวาส คำว่า สุทธาวาส แปลว่า อาวาส คือที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่อันบริสุทธิ์หมายถึงนิวาสภูมิของท่านผู้บริสุทธิ์เหล่านั้น คำว่า ผู้บริสุทธิ์ ในที่นี้หมายเฉพาะพระอนาคามีและพระอรหันต์ คือ พระอริยาบุคคลชั้นอนาคามีในโลกนี้สิ้นชีวิตแล้ว ท่านว่าไปเกิดอยู่ในชั้นสุทธาวาส และจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ นิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่มีกลับลงมาอีก ท่านจึงว่า สุทธาวาสเป็นที่อยู่ของพระอนาคามีและพระอรหันต์ หมายถึงพระอนาคามีดั่งกล่าวและพระอรหันต์ที่สำเร็จภายหลังจากที่ขึ้นมาเกิดในสวรรค์แล้ว สุทธาวาสนี้มีอยู่ ๕ ชั้น นับต่อจากชั้น ๑๑ เป็นลำดับไปดั่งนี้.
    ๑๒. วิหา แปลว่า ไม่ละฐานของตนโดยกาลอันน้อย หรือไม่เสื่อมจากสมบัติของตน เป็นภูมิ สุทธาวาสชั้นต้น
    ๑๓. อตัปปา แปลว่า ไม่สะดุ้งกลัวอะไร หรือ ไม่ทำผู้ใดผู้หนึ่งให้เดือดร้อน เป็นภูมิ สุทธาวาสชั้นสอง
    ๑๔. สุทัสสาแปลว่า ดูงาม คือมีรูปงามน่าดู เป็นภูมิสุทธาวาสชั้นสาม
    ๑๕.สุทัสสแปลว่า ดูงาม คือมีรูปงามน่าดู เป็นภูมิสุทธาวาสชั้นสี่
    ๑๖.อกนิฏฐา แปลว่าไม่มีเป็นรอง เพราะมีสมบัติอุกกฤษฏ์ เป็นภูมิสุทธาวาสชั้นห้า
    สุทธาวาสทั้ง ๕ ชั้นนี้นับเข้าในพรหมชั้นจตุตถรูปฌาน คือฌานที่มีรูปกัมมัฏฐาน เป็น อารมณ์ชั้นที่สี่.

    ชั้นอรูปฌาน ๔ ต่อจากนั้นภูมิชั้นของพรหมผู้ที่มาเกิดเพราะได้อรูปฌาน จัดเป็น ๔ ชั้น ตามภูมิฌาน ดังนี้
    ๑. อากาสานัญจายตนะ คือ ชั้นของพรหมผู้ได้อรูปฌาน เพราะได้เจริยอรูปกัมมัฏฐาน ว่าอากาศไม่มีที่สุด ซึ่งเป็นอรูปที่หนึ่ง
    ๒.วิญญาณัญจายตนะ คือ ชั้นของพรหมผู้ได้อรูปฌานเพราะด้เจริญ อรูปกัมมัฏฐานว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ซึ่งเป็นอรูปที่สอง
    ๓. อากิญจัญญายตนะ คือ ชั้นของพรหมผู้ได้อรูปฌานเพราะได้เจริญอรูปกัมมัฏฐานว่า น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี ซึ่งเป็นอรูปที่สาม
    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะคือ ชั้นของพรหมผู้ได้อรูปฌานเพราะได้เจริญอรูปกัมมัฏฐานที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก จนดับสัญญาอย่างหยาบเหลือแต่สัญญาอย่างละเอียด จึงเรียกว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ (เพราะวิถีจิตละเอียดมาก) ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่( เพราะยังมีสัญญาละเอียดอยู่ ไม่ใช่สิ้นสัญญาเสียหมดเลย) ซึ่งเป็นอรูปที่สี่

    อรูปทั้ง ๔ ชั้นนี้ ละเอียดกว่ากันขึ้นไปโดยลำดับ รวมพรหมทั้งรูปทั้งอรูปเป็น ๒๐ ชั้น ถ้ายกอสัญญีพรหมเสียก็มี ๑๙ ชั้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; BACKGROUND: #f7fafe; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>มีต่อ...

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2010
  2. surasaksuebsan

    surasaksuebsan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    73
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +329
    <TABLE style="WIDTH: 100%" border=0 cellSpacing=8 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; BACKGROUND: #f7fafe; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>เปิด "พรหมโลก" สูงกว่าสวรรค์ 6 ชั้น

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; BACKGROUND: #f7fafe; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>
    <TABLE style="WIDTH: 100%" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-TOP: 0cm">16/01/2010
    View: 154

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 3.75pt; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-TOP: 3.75pt" vAlign=top>Edit TitleEdit Detail
    <TABLE style="WIDTH: 100%" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-TOP: 0cm"></TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 3.75pt; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-TOP: 3.75pt" vAlign=top>


    พ ร ห ม ภู มิ

    -พรหมอุบัติ-

    ท่านผู้มีความเพียรกล้า ทรงไว้ซึ่งปัญญาเกินสามัญญชน ปรารถนาจะพ้นจากกิเลสานุสัย เพราะเห็นว่ามีโทษพาให้ ยุ่งนัก ใคร่จักห้ามจิตมิให้ตกอยู่ในอำนาจกิเลส จึงสู้ อุตสาหะพยายามบำเพ็ญสมถภาวนา ตามที่ท่านบุรพา จารย์สั่งสอนกันสืบๆ มา บางพวกเป็นชีป่าดาบส บางพวก ทรงพรตเป็นโยคี ฤาษี ในสมัยที่มีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ในโลก บางพวกก็เป็นพระภิกษุสามเณร ต่างบำเพ็ญ สมถภาวนา จนได้สำเร็จฌาน ครั้นถึงกาลกิริยาตายจาก มนุษย์โลก ก็ตรงไปอุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก ตามอำนาจแห่งฌานที่ตนได้บรรลุ เป็นพระพรหมผู้วิเศษ ล้วนแต่บุรุษเพศทั้งสิ้น ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตว์ในภูมิอื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌาน สมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องมีการถ่ายคูตรมูถคืออุจจาระ ปัสสาวะอันลามกเหม็นร้ายเลย

    สรีระร่างกายหน้าตาแห่งบรรดาพระพรหมนั้น มีสัณฐาน กลมเกลี้ยงสวยงามนัก มีรัศมีออกจากกายตัวเลื่อม ประภัสสรรุ่งเรืองกว่ารัศมีพระอาทิตย์และพระจันทร์ หลายพันเท่า เพียงแต่หัตถ์หนึ่งเล่าอันพระพรหมทั้งหลาย เหยียดยื่นออกไปหวังจะให้ส่องรัศมีไปทั่วห้วงจักรวาล ก็ย่อมจักทำได้ อวัยวะร่างกายที่ต่อกัน คือหัวเข่าก็ดี แขนก็ดี มีสัณฐานกลมเกลี้ยงเรียบงามนัก จักได้เห็นที่ ต่อกันนั้นหามิได้ เกศเกล้าแห่งองค์พระพรหมเจ้าทั้งหลาย นั้นงามนัก ปรากฏโดยมากมีศีรษะประดับด้วยชฎา เช่นเดียวกับชีป่าและโยคีฤาษีสิทธิ์ผู้มีฤทธิ์ สถิตย์เสวยสุข พรหมสมบัติอยู่ ณ พรหมโลกที่ตนอุบัติบังเกิดตราบจน กว่าจะสิ้นอายุ ซึ่งเป็นเวลานานแสนนาน

    -ประเภทของพระพรหม-

    รูปพรหม

    ๑. พรหมปาริสัชชาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๑ พรหมปาริสัชชาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ผู้เป็นบริษัทท้าวมหาพรหมซึ่งสถิตย์อยู่ชั้นมหาพรหมาภูมิ เป็นพรหมโลกชั้นแรกคือชั้นต่ำที่สุด แต่ก็ตั้งอยู่เบื้องบน สูงกว่าปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ขึ้นไปถึงห้าล้านห้าแสน แปดพันโยชน์ นับว่าไกลจากมนุษยโลกนักหนา ไม่สามารถ นับได้

    พระพรหมแต่ละองค์ ณ พรหมพิมานแห่งตนในที่นี้ล้วนแต่ มีคุณวิเศษ โดยเคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ปฐมฌาน อย่างสามัญมาแล้วทั้งสิ้น เสวยปณีตสุขอยู่ มีความเป็นอยู่อย่างแสนจะสุขนักหนา ตราบจนหมด พรหมายุขัย

    ๒. พรหมปุโรหิตาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๒ พรหมปุโรหิตาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้ทรงฐานะประเสริฐ คือเป็นปุโรหิตของท่าน มหาพรหม

    ความเป็นอยู่ทุกอย่างล้ำเลิศวิเศษกว่าพรหมโลกชั้นแรก รัศมีก็รุ่งเรืองกว่า รูปทรงร่างกายใหญ่กว่า สวยงามกว่า ทุกท่านล้วนมีคุณวิเศษ ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้ บรรลุ ปฐมฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลาง มาแล้วทั้งสิ้น

    ๓. มหาพรหมาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๓ มหาพรหมาภูมิ = ที่อยู่แห่งท่านพระพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย มีความเป็นอยู่และรูปกายประเสริฐยิ่งขึ้น ไปอีก ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุปฐมฌานขั้น ปณีตะคือขั้นประณีตสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น

    พรหมโลก ๓ ชั้นแรกนี้ ตั้งอยู่ ณ ระดับพื้นที่ระดับเดียวกัน
    แต่แยกเป็น ๓ เขต

    ๔. ปริตตาภาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๔ ปริตตาภาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้มีรัศมีน้อยกว่าพระพรหมที่มีศักดิ์สูงกว่าตน ล้วนมีคุณวิเศษ โดยได้เจริญภาวนากรรมบำเพ็ญ สมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปริตตะ คือ ขั้นสามัญมาแล้วทั้งสิ้น

    ๕. อัปปมาณาภาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๕ อัปปมาณาภาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้มีรัศมีรุ่งเรืองมากมายหาประมาณมิได้ ล้วนแต่ทรงคุณวิเศษ โดยได้เคยเจริญภาวนาการบำเพ็ญ สมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้วทั้งสิ้น

    ๖. อาภัสราภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๖ อาภัสสราภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้มีประกายรุ่งโรจน์แห่งรัศมีนานาแสง ล้วนมีคุณวิเศษ โดยได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญ สมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปณีตะ คือ ประณีตสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น

    อนึ่งพรหมโลกชั้นที่ ๔ - ๖ นี้ทั้งสามชั้น ความจริงตั้งอยู่
    ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น ๓ เขต

    ๗. ปริตตสุภาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๗ ปริตตสุภาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีเป็นส่วนน้อย คือน้อยกว่าพระพรหมในพรหมโลกที่สูงกว่าตนนั่นเอง ล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษ โดยได้เคยเจริญภาวนากรรม บำเพ็ญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นปริตตะ คือขั้นสามัญมาแล้วทั้งสิ้น

    ๘. อัปปมาณสุภาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๘ อัปปมาณสุภาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีมากมายไม่มี ประมาณ สง่าสวยงามแห่งรัศมีซึ่งซ่านออกจากกายตัว มากมายสุดประมาณ ล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษ โดยได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้วทั้งสิ้น

    ๙. สุภกิณหาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๙ สุภกิณหาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมี ที่ออกสลับ ปะปนกันอยู่เสมอเป็นนิตย์ ทรงรัศมีนานาพรรณ เป็นที่น่าเพ่งพิศทัศนานักหนา ล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษ โดยได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นปณีตะ คือขั้นประณีตสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น

    พรหมโลกชั้นที่ ๗ ชั้นที่ ๘ และชั้นที่ ๙ นี้ ความจริงตั้งอยู่
    ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น ๓ เขต

    ๑๐. เวหัปผลาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ = ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้ได้รับผลแห่งฌานกุศลอย่างไพบูลย์

    อนึ่ง ผลแห่งฌานกุศล ที่ส่งให้ไปอุบัติเกิดในพรหมโลก ๙ ชั้นแรกนั้น ไม่เรียกว่ามีผลไพบูลย์เต็มที่ ทั้งนี้ก็โดยมี เหตุผลตามสภาพธรรมที่เป็นจริง ดังต่อไปนี้
    ก.
    เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยไฟ นั้น ๔ ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย
    ข.
    เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยน้ำ นั้น ๖ ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย
    ค.
    เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยลม นั้น ทั้ง ๙ ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วยไม่มีเหลือเลย

    ๑๑. อสัญญีสัตตาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๑๑ อสัญญีสัตตาภูมิ = ที่อยู่ของ พระพรหมทั้งหลาย ผู้ไม่มีสัญญา พระพรหมไม่มีสัญญาทั้งหลาย ผู้อุบัติเกิดด้วยอำนาจ แห่งสัญญาวิราคภาวนาและสถิตย์อยู่ในพรหมโลกชั้นนี้ ย่อมมีแต่รูป ไม่มีนามคือจิตและเจตสิก เสวยสุขอัน ประณีตนักหนา ล้วนแต่มีคุณวิเศษยิ่งนัก โดย ได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้สำเร็จ จตุตถฌาน อันเป็นรูปฌานขั้นสูงสุด มาแล้วทั้งสิ้น

    ทรงเพศเป็นพระพรหมผู้วิเศษ สถิตย์อยู่ในปราสาท แก้วพรหมวิมานอันมโหฬารกว้างขวางนักหนา มีบุปผชาติ ดอกไม้ประดับประดาเรียบเรียงเป็นระเบียบ ไม่รู้แห้งเหี่ยว โรยรา โดยรอบ ผู้ที่ไปอุบัติเกิดในพรหมภูมิชั้นนี้ มี มากมายนักหนาจนนับไม่ถ้วน ล้วนแต่มีหน้าตาเนื้อตัว สวยสง่ามีอุปมากังรูปพระปฏิมากรพุทธรูปทองคำขัดสี ใหม่ งามซึ้งตรึงใจสุดพรรณนา แต่มีอิริยาบถไม่เหมือนกัน บางองค์นั่ง บางองค์นอน บางองค์ยืน มีอิริยาบถใดก็ เป็นอย่างนั้นตลอดไป ไม่เคลื่อนไม่ไหวติง จักษุทั้งสอง ก็มิได้กะพริบเลย สถิตย์เฉยเสวยสุขเป็นประดุจรูปปั้น อยู่อย่างนั้นชั่วกาลนานนักแล

    อนึ่ง เวหัปผลาภูมิและอสัญญีสัตตาภูมินี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่กันอยู่ และมีระยะ ห่างไกลกันมาก

    สุทธาวาสภูมิ [พรหมชี้นนี้เป็นที่อยู่ของพระอนาคามี ต้องสดับรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงจะมาที่นี่ได้ ดูคำอธิบายไว้ท้ายเรื่อง **]

    เป็นพรหมโลกอีกชนิดหนึ่ง ต่างจากทั้ง ๑๑ ชั้นแรก ภูมินี้ เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมอริยบุคคลในบวรพุทธศาสนา ชั้นพระพรหมอนาคามีอริยบุคคล ผู้มีความบริสุทธิ์ เท่านั้น ส่วนท่านที่ทรงคุณวิเศษอื่นๆ แม้จะได้สำเร็จฌาน วิเศษเพียงใด ก็ไปอุบัติเกิดในสุทธาวาสภูมินี้ไม่ได้ อย่างเด็ดขาด สุทธาวาสภูมินี้มีอยู่ ๕ ชั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ และตั้งอยู่เป็นชั้นๆ ขึ้นไป ตามลำดับภูมิ หาได้ตั้งอยู่ในระดับเดียวกันไม่

    ๑๒. อวิหาสุทธาวาสภูมิ

    สูงขึ้นไปจากอสัญญีสัตตาภูมิประมาณ ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ อวิหาสุทธาวาสภูมิ = ภูมิอันเป็นที่อยู่อัน บริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้ไม่เสื่อมคลายในสมบัติของตน

    พระพรหมในพรหมโลกชั้นนี้ ย่อมไม่ละทิ้งสมบัติ กล่าวคือ สถานที่ของตนโดยเวลาเพียงเล็กน้อย เพราะว่าพระพรหม ที่อุบัติเกิดและสถิตย์อยู่ ณ ที่นี้ ท่านย่อมไม่จักจุติเสียก่อน จนกว่าจะสถิตย์อยู่นานถึงมีอายุครบกำหนด ซึ่งแปลก ออกไปจากพระพรหมในสุทธาวาสภูมิที่เหลืออยู่อีก ๔ ภูมิ คือพระพรหมในอีก ๔ สุทธาวาสภูมินั้นอาจไม่ได้อยู่ ครบกำหนดอายุก็มีการจุติหรือนิพพานเสียก่อน พระพรหมในอวิหาสุทธาวาสภูมินี้ แต่ละองค์นั้น ล้วนแต่ เป็นผู้มีวาสนาบารมี กิเลสธุลีเหลือติดอยู่ในจิตสันดาน น้อยนักหนา โดยได้เคยเป็นสาวกแห่งพระพุทธองค์ พบพระบวรพุทธศาสนาแล้วมีปกติเห็นภัยในวัฏสงสาร อุตสาหะจำเริญ วิปัสสนากรรมฐาน จนยังตติยมรรคให้ เกิดในขันธสันดานได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล มาแล้ว

    ๑๓. อตัปปาสุทธาวาสภูมิ

    สูงขึ้นไปต่อจากอวิหาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ อตัปปาสุทธาวาสภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี อริยบุคคลทั้งหลาย ผู้ไม่มีความเดือดร้อน หมายความว่า ท่านเหล่านี้ย่อมไม่มีความเดือดร้อน ทั้งทางกาย วาจาและใจเลย ย่อมเข้าฌานสมาบัติ หรือผลสมาบัติอยู่เสมอ นิวรณธรรมซึ่งเป็นกิเลสอันทำให้ จิตเดือดร้อนไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นจิตใจของ ท่านเหล่านั้นจึงมีแต่สงบเยือกเย็น ท่านเหล่านี้เคยเป็น พระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิป






    บุญกุศลที่ผมกระทำสำเร็จมาหมดแล้วขอยกให้แก่
    1. พ่อแม่ / ครูบาอาจารย์ / ญาติพี่น้อง

    2. เจ้ากรรมนายเวรทุกภพชาติ
    3. เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า
    4. สหายรักษ์ (ปกป้อง รักษา ดูแล)
    5. ทุกทุกท่านครับ<!-- google_ad_section_end -->

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...