รู้เรื่องพระพุทธรูป ตามความเป็นจริง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย sasitorn2006, 31 กรกฎาคม 2008.

  1. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    [FONT=Tahoma,Bold]
     
  2. อรมณีจันทร์

    อรมณีจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    993
    ค่าพลัง:
    +499
    *** แล้วผู้ที่เรียกตัวเองว่าชาวพุทธแต่ไปเลื่อมใสพระพุทธรูปทั้งหลายนั่นล่ะจะว่าไงดี ?ได้บุญหรือได้บาป ?

    ++++++++++++++++++++++++++++++

    ไม่บาปเลยสักนิดเดียว ฟันธงให้ 100% (นี่เวบธรรมะไม่อยากจะพูดตรงๆ กลัวคนที่ฟังจะ แสลงใจ)

    ถ้าจะให้เถียงเรื่องนี้ เอ๋เชื่อว่าทุกคนมีเหตุผลที่ดีของตัวเอง แล้วเป็นเหตุผลที่น่าฟังทั้ง2 ฝ่ายด้วย ซึ่งเถียงกันไป 10 ปีก็ไม่จบหรอก

    แล้วอีก 30 ปีถึงจะมีการเผยแพร่ไม่ให้คนกราบไหว้พระพุทธรูป หรือ รูปเคารพ
    ต่างๆ หรือจะ มีการเผยแพร่ไม่ให้ มีการห้อยพระ ไม่ให้สวดมนตร์ ก็ไม่ได้ช่วยให้คนเสื่อมศรัทธา หรือเปลื่ยนแนวคิดเลิกบูชารูปเคารพหรอก
    ****แต่มั่นใจว่า แนวคิดการให้เลิกบูชารูปเคารพ คนไทยรับกันไม่ได้หรอก
    ในไม่ช้าความคิดที่สุดโต่ง จะโดนกวาดล้างให้หมดไปจากสังคมไทย ในเวลาไม่เกิน 5 ปีแน่นอนเพราะพระสงฆ์หลายรูป ก็รับไมได้เหมือนกัน*******


    เพราะการนับถือรูปเคารพหรือเทวรูปมันมีมานานแล้ว

    เป็นส่วนหนื่งของ วัฒนธรรมไทย เป็นเรื่องทางจิตใจเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกประเทศมีความผูกพันธ์ที่ทำกันมาหลายชั่วอายุคน น่าจะทำกันมาในหลายชาติที่เกิดเป็นมนุษย์ และ ในอีกหลายประเทศก็นับถือรูปเคารพเช่นกัน ถ้ามันไม่มีอะไรดีๆ ในการเคารพบูชากราบไหว้เทวรูป(มันจะอยู่มานานเป็นพัน เป็นหมื่นปีเหรอ)

    ถ้ามันไม่มีอะไรดีเลย ความนิยมในการบูชา รูปเคารพมันคง สูญหายไปนานแล้ว

    ถ้าเอาในเชิงประวัติศาสตร์มันมีคุณค่าทางจิตใจ และ วัฒนธรรมมาก

    สมควรที่จะอนุรักษ์สิ่งดีงามนี้ไว้ ให้ชั่วลูก ชั่วหลาน

    เอาแค่ อียิปต์ จีน อินเดีย (ในยุคที่ 3 ประเทศไม่รู้จักกันเลย)
    ผู้นำทางศาสนา( ที่มีคนทั่วไปเคารพ บูชา ก็สร้างรูปเคารพเทพเจ้าต่างๆ ของท้องถิ่น โดยไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรเลย)

    ในสมัยที่มนุษย์ยังเป็นคนป่า ( อาศัยอยู่ในถ้ำ)
    ตอนนั้นมนุษย์เริ่มสร้างรูปเคารพแม่ธรณี (เป็นรูปปั้นสตรีที่ท้องโต หน้าอกโตบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ เป็นหุ่นเล็กๆไม่มีแขน ขา ใช้พกติดตัวเป็นเครื่องราง)

    การบูชาหุ่นเทพเจ้าต่างๆ พระพุทธรูป รูปวาดเคารพ และ การพกเครื่องลาง ของขลัง เป็นเรื่องที่มนุษย์ทำมานานเป็นหมื่นปีแล้วตั้งแต่ สมัยยุคหิน

    เป็นสิ่งที่ทำจนติดเป็นนิสัยและแฝงอยู่ใน สายเลือดเลยก็ว่าได้
    แสดงว่า พระ เครื่องราง ของขลัง (มันต้องมีอะไรดีๆเยอะสิ)ไม่งั้นมันก็คงจะ
    สูญพันธ์ไปเหมือน ไดโนเสาร์แล้ว

    ดิฉันเคยห้อยพระ แล้วเผลอจะไปรอดใต้ราวผ้า ตอนนั้นอยู่ประถมเองเลยไม่ระวังตัวปรากฏว่าพระ กระตุกหายไปในอากาศแล้ว ไปโผล่อีกทีบนโต๊ะในห้องนอน

    แล้วเรื่องเล่าเกื่ยวกับความขลัง ของพระต่างๆ ของขลัง เครื่องราง

    ล้วนเป็นเรื่องจริง และมีเรื่องราว สืบต่อกันมานาน

    เอาแค่ในหนังเกาหลี ใครจะไปเชื่อว่า สมัยก่อนเกาหลีจะมีการทำหุ่นตุ๊กตา
    ไสยศาสตร์ทำร้ายพระมเหษี ด้วย แสดงว่า คนสมัยก่อนเก่งมาก

    รู้ว่าอะไรคือความลับของธรรมชาติ
    สามารถทำให้ ดินธรรมดา กลายเป็น พระที่ขลังได้
    แล้ว ทำดินธรรมดา ให้เป็นตุ๊กตาคุณไสยสามารถทำร้ายคนก็ได้ด้วย


    ไม่มีใครเขาโง่กว่าใครหรอก ( หลายคนที่เป็นอิสลามแท้ ยังวิ่งเข้าหาพระไทยให้เสกตระกรุดเข้าผิวเลยเพราะเขารู้ว่ามัน สามารถป้องกันอันตรายได้จริง แอบไปสักยันตร์กับ อ.หนู ยังมีเลยคะ)
     
  3. อรมณีจันทร์

    อรมณีจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    993
    ค่าพลัง:
    +499
    (((( แนวคิดไม่ให้สวดมนตร์ ไหว้พระ มันทำไม่ได้หรอก คนส่วนใหญ่ 90%เขาไม่ฟังหรอกคะ )))

    เพราะ ใน DNA ทางสายเลือดจากเผ่าพันธ์มันคงจะมี ยีนส์ ขี้กลัว ขี้ระแวง กลัวนั่นกลัวนี่แฝงอยู่ใน โครโมโซม ทำให้มนุษย์ต้องหาที่ยึดเหนื่ยวติดใจ เพราะมนุษย์อยู่ท่ามกลางการแข่งขัน และเอาตัวรอด เพราะนักวิทยาศาสตร์พิสูจน์มาแล้วว่า มนุษย์ยุคปัจจุบันได้รับนิสัยบางอย่างแฝงมาจากบรรพบรุษ์ เขาเรียก สัญชาติญาณดิบในตัวมนุษย์

    มันก็คงจะเป็นแบบนี้ไปอีกนาน จนกว่าโลกจะ ดับสูญ เลิกไม่ได้หรอกบอกให้เลิกทาน โค้ก ยังจะง่ายกว่าบอกให้เลิกไหว้รูปเคารพเลยมั๊ง

    ถามหน่อยเถอะ บ้านไหนไม่มีเทวรูปบูชาบ้าง ต่อให้เป็นนักศึกษาเช่าหอพัก ก็ต้องมีเหรียญพระ พกติดตัวไว้ป้องกันภัยบ้างแหล่ะ

    (ศาสนาอื่นเขาก็ต้องมีของดีของเขาเหมือนกันถ้ามันบาป ก็คงบาปหันหมดโลกแหล่ะ)

    ถ้าการบูชารูปเคารพมันบาป นะ คิดว่าคงจะบาป...ระดับโลกเลยก็ว่าได้
    ที่กรีก มีหุ่นรูปปั้นเทพเจ้ากระจัด กระจาย มากมาย
    ในอียิปต์ ก็มีเพียบ กระจัด กระจาย เยอะมาก
    ในตุรกี ในอินเดีย ในจีน ในเขมร และในประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็มี เทวรูปเทพเจ้า
    พระพุทธรูป มากมาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2008
  4. สายลมยามเย็น

    สายลมยามเย็น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +12
    บทความที่นำมาแสดงนี้ อาจนำมาซึ่งกรรม เป็นอันมาก
    ผมจึงขอแสดงความคิดเห็นบ้าง
    คำว่า รู้เรื่องพระพุทธรูปตามความเป็นจริง ประโยคนี้ไม่ได้อยู่ในอรรถกถา
    แต่เป็นข้อคิดเห็นของผู้เรียบเรียง จากความคิดของตน <O:p</O:p
    เมื่อได้อ่านพระอรรถกถา หรือศึกษาจากพระไตรปิฏก
    ในเนื้อหาที่นำมาแสดง เป็นอรรถกถาจริง<O:p</O:p
    แต่ได้ใส่ความเห็นของผู้เรียบเรียง แทรกลงไปเป็นระยะ
    มักจะแทรกความเห็นของตนนำ ลงไปเป็นต้นเรื่องในหัวข้อ
    ได้แก่ประโยคและคำต่อไปนี้ ซึ่งผมคิดว่า มีทั้งถูกและไม่ถูก และบางอย่างอาจจะนำไปสู่ความเห็นที่ผิด ขอยกมาสี่ประโยค ( ที่เป็นความเห็นของผู้เรียบเรียง ) ดังนี้ครับ
    <O:p1. ศิลปินทั้งปวงหรือผู้มีฤทธิ์ทั้งปวงในโลก ไม่สามารถสร้างรูปเปรียบได้
    2. วัตถุทั้งหลายทั้งปวง พระพุทธเจ้าไม่ให้ท่านทั้งหลายเอาเป็นที่พึ่ง<O:p></O:p>
    หรอกนะ<?XML:NAMESPACE PREFIX = O<v /><O<v:shape class=inlineimg id=Picture_x0020_4 title="squ</O<v:shape>
    3. พระพุทธรูปที่ทำกันเกร่ออยู่ตอนนี้ พระพุทธเจ้าไม่เคยบัญญัติ – ไม่เคยกล่าว
    ไม่เคยแสดง ว่าให้ชาวพุทธพากันทำขึ้นมาได้ แล้วชาวพุทธจะทำกันไปทำไม ?
    แล้วชาวพุทธจะกราบไหว้กันไปทำไม ?
    แล้วชาวพุทธจะเคารพไปเพื่ออะไร?
    4. แล้วผู้ที่เรียกตัวเองว่าชาวพุทธแต่ไปเลื่อมใสพระพุทธรูปทั้งหลายนั่นล่ะจะว่าไงดี ?<O:p></O:p>
    ได้บุญหรือได้บาป ?<O<v:shape class=inlineimg id=Picture_x0020_8 title="squ</O<v:shape>

    ขอ้แรกตอบว่าจริง
    ข้อสองก็ตอบว่าจริง<O<v:shape class=inlineimg id=Picture_x0020_14 title="squ</O<v:shape>
    ข้อสามตอบว่า พระพุทธรูป ทำไว้เพื่อให้ระลึกถึงพระพุทธองค์ ประดุจสังเวชนียสถานที่ตรัสว่า เมื่อระลึกถึงพระองค์ก็ให้ไปที่นั่นได้<O<v:shape class=inlineimg id=Picture_x0020_16 title="squ</O<v:shape>
    ผู้เลื่อมใสพระพุทธรูป นั้น เขาไม่ได้เลื่อมใสพระพุทธรูป แต่อย่างเดียว แต่เขาเลื่อมใสพระพุทธองค์
    นึกถึงท่านเป็นที่พึ่งที่ระลึกกำจักทุกข์ได้จริง กำจัดภัยได้จริง จึงไม่ได้บาปแต่อย่างใด<O<v:shape class=inlineimg id=Picture_x0020_18 title="squ</O<v:shape>

    ผู้ที่สร้างพระพุทธรูปจึงได้บุญ ประดุจทำพระเจดีย์เพื่อระลึกถึงพระพุทธองค์ก็ได้บุญ

    ข้อที่สี่ตอบว่าได้บุญ เพราะเขากราบไหว้ระลึกถึงพระพุทธองค์ ประดุจบูชากราบไหว้พระเจดีย์ซึ่งมีบันทึกในพระไตรปิฎกมากมายครับ
    เขาไม่ได้ไห้วอิฐหินปูนของพระเจดีย์แต่เขาไหว้พระพุทธองค์ ในทำนองเดียวกันนั่นเองครับ<O:p
    ถวายดอกไม้พระเจดีย์ก็ได้บุญ กวาดลานเจดีย์ก็ได้บุญ กราบไหว้บูชาพระพุทธรูปทำใจของเราเพื่อให้เข้าถึงความดีของพระพุทธองค์ ระลึกถึงท่าน จึงเป็นบุญ
    ขอแสดงและแก้ข้อคิดเห็น ให้ความเห็นเพิ่มดังนี้นะครับ<O<v:shape class=inlineimg id=Picture_x0020_22 title="squ</O<v:shape> squ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2008
  5. junior phumivat

    junior phumivat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,346
    ค่าพลัง:
    +1,688
    ผู้ถาม : เมื่อทำบุญแล้ว ถ้าจะอุทิศส่วนกุศลภายหลังจะได้ไหมคะ...........?
    หลวงพ่อ : การทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปี ๆ บุญก็ยังมีอยู่ถ้าทำไปแล้วสัก ๓๐ ปี ก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญมันไม่หาย ไม่ใช่เราทำบุญแล้ว เดี๋ยวเดียวมันหายไปไม่ใช่อย่างนั้นนะ
    ผู้ถาม :แล้วถ้าเผื่อทำบุญแล้ว ไม่ได้อุทิศส่วนกุศลจะได้บุญเต็มที่ไหมคะ...?
    หลวงพ่อ : ก็ได้เต็มที่อยู่แล้ว เราเป็นผู้ได้สมบูรณ์แบบ แต่อยู่ที่ว่าเราจะให้เขาหรือไม่ให้ การอุทิศส่วนกุศล นี่นะ ถ้าเราไม่ให้ เราก็กินคนเดียวใช่ไหม..... ทีนี้ถ้าเราให้เขาของเราก็ไม่หมดอีก ส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม อย่างเรื่องของ พระอนุรุทธ สมัยที่ท่านเกิดเป็นคนเกี่ยวหญ้าช้างของมหาเศรษฐี เวลาที่ท่านทำบุญแล้ว เจ้านายขอแบ่งบุญ ท่านก็สงสัยว่าการแบ่งบุญน่ะจะแบ่งได้ไหม จึงไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ท่านรับบาตรนะ ท่านก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า

    "สมมุติว่าโยมมีคบ แล้วก็มีไฟด้วย คนอื่นเขามีแต่คบ ไม่มีไฟ ทุกคนต้องการแสงสว่าง ก็มาขอต่อไฟที่คบของโยมแล้วคบทุกคนสว่างไสวหมด อยากทราบว่าไฟของคุณโยมจะยุบไปไหม....?
    ท่านอนุรุทธก็บอกว่า ไม่ยุบ
    แล้วท่านก็บอกว่า "การอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน ให้เขา เขาโมทนา แต่บุญของเราเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์"


    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ

    ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพบแล้ว ขอธรรมนั้น จงสำเร็จแก่ท่านทั้งหลายโดยเร็วด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
    <!-- / message -->​

    <!-- / message -->
     
  6. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    เจ้าของกระทู้และผู้ที่อนุโมทนาคงเป็นลูกศิษฐ์ของ พระเกษม อาจิณณสีโล

    ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับประโยคที่ท่านเจ้าของข้อความดังกล่าว สรุปเอาเอง ยกเอาข้อความในพระไตรปิฏกมาแล้วตนเองก็สรุปโดยเอาความคิดของตัวเองเป็นหลัก ชาวพุทธส่วนใหญ่เค้าทราบดีครับว่าพระพุทธรูปนั้นทำมาจากอิฐ,หิน,ดิน,ทราย,ทองเหลือง ฯ ที่เค้าไหว้เคารพนั้น จิตเค้าน้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าฯ อย่างนี้ผิดหรือครับ?? พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลายท่านยังไหว้เคารพพระพุทธรูป แล้วพวกท่านเป็นใครครับถึงกล้าออกมากล่าวค้านไม่ให้ชาวพุทธไหว้พระพุทธรูปเช่นนี้... กลับตัวกลับใจเถอะครับ
     
  7. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    ว่าด้วยมารเสนา
    [๑๓๔] บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้น เป็นผู้
    กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวงคือ ในรูปที่เห็น เสี่ยงที่ได้ยิน หรือ
    อารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความว่า กองทัพมาร เรียกว่า
    เสนา. กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ
    อุปนาหะ ฯลฯ อกุศลกรรมทั้งปวง ชื่อว่า กองทัพมาร. สมจริงดังที่พระ
    ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า.
    กิเลสกาม เรากล่าวว่าเป็นกองทัพที่ ๑ ของท่าน
    ความไม่ยินดี เป็นกองทัพที่ ๒ ความหิวกระหาย เป็น
    กองทัพที่ ๓ ตัณหา เรากล่าวว่าเป็นของทัพที่ ๔ ของ
    ท่าน ความหดหู่และความง่วงเหงา เป็นกองทัพที่ ๕ ของ
    ท่าน ความขลาดเรากล่าวว่าเป็นกองทัพที่ ๖ ความลังเล
    ใจ เป็นกองทัพที่ ๗ ของท่าน ความลบหลู่คุณท่านและ
    หัวดื้อ เป็นกองทัพที่ ๘ ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ
    และยศที่ได้โดยทางผิด เป็นกองทัพที่ ๙ ของท่าน ยกตน
    และข่มขู่ผู้อื่น เป็นกองทัพที่ ๑๐ ของท่าน ดูก่อนพระยา
    มาร กองทัพของท่านนี้ เป็นผู้มีปกติกำจัดผู้มีธรรมดำ คน
    ขลาดจะเอาชนะกองทัพของท่านนั้นไม่ได้ คนกล้าย่อม
    ชนะได้ และครั้นชนะแล้วย่อมได้ความสุข.


    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 510
    เมื่อใดกองทัพมารทั้งหมด และกิเลสที่กระทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้ง
    หมด อันบุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้นชนะแล้ว ให้แพ้แล้ว
    ทำลายเสีย กำจัดเสีย ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว ด้วยอริยมรรค ๔ เมื่อนั้น
    บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้น เรียกว่าเป็นผู้กำจัดเสนา. บุคคล
    นั้นเป็นผู้กำจัด เสนาในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ อารมณ์ที่
    รู้แจ้ง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน
    นั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือในรูปที่เห็น เสียงที่
    ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
    [๑๓๕] คำว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นผู้ประพฤติ
    เปิดเผย มีความว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นธรรมอันหมดจด เห็น
    ธรรมอันหมดจดพิเศษ เห็นธรรมอันหมดจดรอบ เห็นธรรมอันขาว เห็น
    ธรรมอันขาวรอบ อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีความเห็นอันหมดจด มีความเห็นอัน
    หมดจดวิเศษ มีความเห็นอันหมดจดรอบ มีความเห็นอันขาว มีความเห็น
    อันขาวรอบ. คำว่า เปิดเผย มีความว่า เครื่องปิดบังคือตัณหา เครื่อง
    ปิดบังคือกิเลส เครื่องปิดบังคืออวิชชา เครื่องปิดบังเหล่านั้น อันบุคคล
    นั้นเปิดเผยแล้ว กำจัด เลิกขึ้น เปิดขึ้น ละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่
    ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. คำว่า ผู้ประพฤติ คือ ผู้
    ประพฤติ ผู้เที่ยวไป เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพ
    ดำเนินไป. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้
    ประพฤติเปิดเผย.


    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 511
    [๑๓๖] คำว่า ใคร ๆ ในโลกนี้ พึงกำหนด....ด้วยกิเลส
    อะไรเล่า มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ
    ความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความ
    กำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ บุคคลนั้นละความ
    กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความ
    กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว. ใคร ๆ จะพึงกำ-
    หนดบุคคลนั้น ด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา
    อนุสัย อะไรเล่าว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลงผูกพัน ถือมั่น ถึง
    ความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่องปรุง
    แต่ง เหล่านั้นอันบุคคลนั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่ง
    เหล่านั้นแล้ว. ใคร ๆ จะพึงกำหนดคติแห่งบุคคลนั้น ด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า
    เป็นผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์
    เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์
    ไม่มีสัญญา หรือเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บุคคลนั้นไม่มี
    เหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็นเครื่องกำหนด กำหนดวิเศษ ถึง
    ความกำหนดแห่งใคร ๆ. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก
    เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ใคร ๆ
    ในโลกนี้พึงกำหนด....ด้วยกิเลสอะไรเล่า เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ
    ภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
    บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้น เป็นผู้
    กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือในโลกที่เห็น เสียงที่ได้ยิน


    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 512
    หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใคร ๆ ในโลกนี้พึง
    กำหนดซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย
    ด้วยกิเลสอะไรเล่า
    [๑๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
    สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหา
    และทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า
    เป็นความหมดจดส่วนเดียว สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็น
    เครื่องถือมั่น ผูกพันร้อยรัดแล้ว ไม่ทำความหวังในที่
    ไหน ๆ ในโลก.
    ว่าด้วยคุณลักษณะของสัตบุรุษ
    [๑๓๘] คำว่า สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำ
    ตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่
    ความกำหนด ๒ อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนด
    ด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ
    กำหนดด้วยทิฏฐิ สัตบุรุษเหล่านั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืน
    ความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละ
    คืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว สัตบุรุษเหล่านั้นจึงไม่กำหนดซึ่งความ
    กำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ คือไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิด
    พร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่
    กำหนด.


    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 513
    คำว่า ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า มีความว่า
    ความทำไว้ในเบื้องหน้า ๒ อย่างคือ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ๑
    ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้า
    ด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ. สัตบุรุษเหล่านั้น
    ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วย
    ทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความ
    ทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิแล้ว จึงไม่กระทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า
    เที่ยวไป คือ เป็นผู้ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหา
    เป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่
    เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่แวดล้อมเที่ยวไป. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ใน
    เบื้องหน้า.
    [๑๓๙] คำว่า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความ
    หมดจดส่วนเดียว มีความว่า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าว ไม่บอก
    ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความไม่หมดจดส่วนเดียว ความหมดจด
    จากสงสาร ความหมดจดโดยอกิริยทิฏฐิ วาทะว่า สัตว์สังขารเที่ยง ว่า
    เป็นความหมดจดส่วนเดียว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สัตบุรุษเหล่านั้น
    ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดส่วนเดียว.
    [๑๔๐] คำว่า สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็นเครื่องถือมั่น
    ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว มีความว่า คำว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกพัน
    ได้แก่ กิเลสเป็นเครื่องผูกพัน ๔ อย่าง คือ กิเลส เป็นเครื่องผูกพันทาง


    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 514
    กายคือ อภิชฌา พยาบาท สีลัพพตปรามาส ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง.
    ความกำหนัด ความเพ่งเล็งด้วยทิฏฐิของตนเป็นกิเลสเครื่องผูกพันทางกาย.
    ความอาฆาต ความไม่ยินดี ความพยาบาทในถ้อยคำของชนอื่น. สีลัพพต
    ปรามาสคือความยึดถือศีลหรือวัตร หรือทั้งศีลและวัตรของตน ความเห็น
    ความยึดถือว่าสิ่งนี้จริง ของคน เป็นกิเลสเครื่องผูกพันทางกาย. เพราะ
    เหตุไรจึงเรียกว่าเป็นกิเลสเครื่องถือมั่นผูกพันเพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมถือ
    เข้าไปถือ จับ ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สังสารวัฏ ด้วยกิเลสเป็นเครื่องผูกพันเหล่านั้น.
    เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า เป็นกิเลสเครื่องถือมั่นผูกพัน.
    คำว่า ละ คือ สลัด หรือละกิเลสเป็นเครื่องผูกพันทั้งหลาย. อีก
    อย่างหนึ่ง. สัตบุรุษเหล่านั้น แก้หรือละกิเลสทั้งหลายที่ผูกพัน ร้อยรัด
    รัดรึง พ้น ตรึง เหนี่ยวรั้ง ติด ข้อง เกี่ยวพัน พันอยู่ เหมือนชน
    ทั้งหลายทำความปลดปล่อยไม่กำหนดวอ รถ เกวียน หรือรถมีเครื่อง
    ประดับ ฉะนั้น อีกอย่างหนึ่ง สัตบุรุษเหล่านั้น แก้หรือละกิเลสทั้งหลาย
    ที่ผูกพัน ร้อยรัด รัดรึง พัน ตรึง เหนี่ยวรั้ง ติด ข้อง เกี่ยวพัน
    พ้นอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็นเครื่องถือ
    มั่นผูกพัน ร้อยรัดแล้ว.
    [๑๔๑] คำว่า ย่อมไม่ทำความหวังในที่ไหน ๆ ในโลก มี
    ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความหวัง ได้แก่ความกำหนัด ความกำหนัด
    กล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.


    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 515
    คำว่า ย่อมไม่ทำความหวัง มีความว่า ย่อมไม่ทำความหวัง
    ไม่ให้ความหวังเกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ.
    คำว่า ในที่ไหน ๆ ได้แก่ ในที่ไหน ๆ ในที่ใดที่หนึ่งทุก ๆ แห่ง
    ในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในภายนอก.
    คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะ
    ฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมไม่ทำความหวัง ในที่ไหน ๆ ในโลก. เพราะ
    เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
    สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่ทำตัณหา
    และทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า
    เป็นความหมดจดส่วนเดียว สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็น
    เครื่องถือมั่น ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว ไม่ทำความหวังในที่
    ไหน ๆ ในโลก.
    [๑๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
    พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว ทั้งรู้
    ทั้งเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ มิได้มีความกำหนัดใน
    กามคุณเป็นที่กำหนัด มิได้กำหนดในสมาบัติเป็นที่คลาย
    กำหนัด มิได้มีความยึดถือว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม.
     
  8. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    อ นุ โม ท นา สา ธุ บุ ญ
    <O:p</O:p


    --------------------<O:p</O:p


    พระพุทธเจ้ารู้
    และท่านก็ตรัสสรุป
    ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
    ตลอดจนหยุดตามท่าน
    คือการมองเข้าข้างใน
    และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
    คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
    พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
    เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
    อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์<O:p</O:p
     
  9. เเมคมวย

    เเมคมวย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +79
    อ่าน ให้เข้าจัย อย่างถ่องเเท้

    อย่าตี ความเป็ฯ อย่างอื่น..ใด


    สาธุ
     
  10. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    วัดเมืองกรุงเก่าเปิดพัดลมไล่ควันธูป
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]

    วัดเมืองกรุงเก่าเปิดพัดลมไล่ควันธูป


    จากกรณีมีการวิจัยพบควันธูปมีสารก่อมะเร็ง 3 ชนิด คือ เบนซีน บิวทาไดอีน และเบนโซเอไพรีน ฝุ่นละออง ก๊าซคาร์บอนไดออก ไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกต้นเหตุการเกิดภาวะโลกร้อนแทบทั้งสิ้น โดยหากเปรียบเทียบ ง่าย ๆ จะพบว่า ธูป 1 ดอกที่ถูกจุด มีปริมาณสารก่อมะเร็งไม่ต่างจากบุหรี่ 1 มวน โดยควันธูปในวัดส่งผลอันตรายต่อประชาชน ​


    [​IMG]


    โดยเฉพาะพระสงฆ์ คนงานที่ทำงานในวัด แต่ที่น่ากังวลมากที่สุด คือ บริเวณศาลเจ้า โดยเฉพาะย่านเยาวราช ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการจุดธูปตลอดทั้งวัน และอากาศไม่ค่อยถ่ายเท ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น เกี่ยวกับความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 ก.ค. บริเวณศาลเจ้าพ่อเสือ กท. ยังคงมีประชาชนเดินทางมาจุดธูป เทียน กราบไหว้ขอพร อย่างไม่ขาดสาย ซึ่งจากการสอบถาม นายหอย อายุ 60 ปี เจ้าหน้าที่ดูแลสถานที่ภายในศาลเจ้าพ่อเสือ เกี่ยวกับปัญหาควันธูป ซึ่งได้รับคำตอบว่า ทำงานศาลเจ้าพ่อเสือมากว่า 20 ปี อยู่กับควันธูปทุกวันไม่เคยมีปัญหาด้านสุขภาพแต่อย่างใด แม้แต่คนเก่าแก่ที่เคยทำงานอยู่ที่ศาลก็ไม่เคยมีใคร เคยเจ็บไข้ได้ป่วยเพราะควันธูป และก็ไม่เคยมีใครเสียชีวิตเพราะควันธูปด้วย


    ส่วนที่วัดพนัญเชิงวรวิหาร หมู่ 3 ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนคร ศรีอยุธยา ยังคงมีประชาชนเดินทางมากราบไหว้พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโต เป็นจำนวนมาก โดยพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังคงจุดธูปกราบไหว้พระอยู่บริเวณหน้าวิหารหลวงพ่อโต แต่มีเจ้าหน้าที่ดูแลคอยเก็บธูปในกระถางออกไปแช่น้ำเพื่อเป็นการลดปริมาณควัน และยังมีการ เปิดพัดลมดูดอากาศตลอดเวลาด้วย ทั้งนี้พระครูพิทักษ์ พุทธวิหาร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส บอกถึงกรณีที่มีข่าวเรื่องควันธูปว่า ส่วนตัวก็คิดว่าเป็นไปได้ ตอนนี้ก็ได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนจุดธูปให้น้อยลงแต่ก็ห้ามไม่ได้ เพราะทุกคนมาไหว้พระก็ต้องจุดธูป การแก้ปัญหาก็จะมีเจ้าหน้าที่ของวัดคอยดูแลตลอดเวลา เมื่อเห็นว่าจำนวนธูปในกระถางเริ่มมาก และควันธูปมีปริมาณหนาแน่นขึ้น ก็จะนำธูปออกไปจุ่มน้ำในถังน้ำที่เตรียมไว้ นอกจากนี้ทางวัดยังติดพัดลมดูดอากาศออก ซึ่ง เป็นพัดลมขนาดใหญ่จำนวน 2 ตัว เชื่อว่าสามารถแก้ปัญหาเรื่องควันได้.





    จาก [​IMG]



    แนะนำ ธูปมรณะ - สุดอันตราย ก่อเกิดโรคมะเร็งปอด

    คิดกันเอาเอง...​

    <!-- / message -->
     
  11. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    จุดมันเข้าไป เผาบ้านมาก็มากแล้ว ชาวพุทธทั้งหลาย
     
  12. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค</BIG> <CENTER class=D>อัคคัญญสูตร</CENTER></CENTER>
    <CENTER> อรรถกถาอัคคัญญสูตร </CENTER><CENTER> วาเสฏฺฐภารทฺวาชวณฺณนา </CENTER> อัคคัญญสูตร มีคำขึ้นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้
    ในอัคคัญญสูตรนั้น มีการพรรณนาบทที่ยังมีเนื้อความไม่ชัดดังต่อไปนี้.
    ในคำว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุปาสาเท นี้ มีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้.
    ได้ยินว่า ในอดีตกาลในที่สุดแสนกัลป์ อุบาสิกาคนหนึ่งนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ แล้วถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์แสนหนึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วหมอบลงแทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ตั้งความปรารถนาว่า
    ในอนาคตกาล ดิฉันจงได้เป็นอุปัฏฐากยิกาผู้เลิศของพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับพระองค์.
    อุบาสิกานั้นท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกตลอดแสนกัลป์ แล้วได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนาเทวีในเรือนของธนญชัยเศรษฐีผู้เป็นบุตรของ<WBR>เมณ<WBR>ฑ<WBR>กะ<WBR>เศรษฐี ในภัททิยนคร ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย. ในเวลาที่นางเกิดแล้ว หมู่ญาติได้ตั้งชื่อให้นางว่าวิสาขา.
    นางวิสาขานั้น เมื่อใดที่พระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปยังเมืองภัททิยนคร เมื่อนั้นนางไปทำการต้อนรับพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยเด็กหญิงอีก ๕๐๐ คน ในการได้เห็นพระผู้มีพระภาคเพียงครั้งแรกเท่านั้น นางก็ได้เป็นพระโสดาบัน. ในกาลต่อมา นางได้ไปสู่เรือนของ<WBR>ปุณณ<WBR>วัฒน<WBR>กุมาร<WBR>บุตรของ<WBR>มิ<WBR>คาร<WBR>เศรษฐี<WBR>ในเมืองสาวัตถี. มิคาร<WBR>เศรษฐี<WBR>ตั้งนางไว้ในตำแหน่งมารดา<WBR>ในเรือนนั้น. ฉะนั้น เขาจึงเรียกนางว่า มิคาร<WBR>มารดา.
    ก็เมื่อนางไปสู่ตระกูลสามี บิดาให้นายช่างทำเครื่องประดับชื่อว่ามหา<WBR>ลดา<WBR>ประสาธน์. เพชร ๓ ทะนาน แก้วมุกดา ๑๑ ทะนาน แก้วประพาฬ ๒๒ ทะนาน แก้วมณี ๓๓ ทะนานได้ถึงการประกอบเข้าในเครื่องประดับนั้น. เครื่องประดับนั้นได้สำเร็จลงด้วยรัตนะทั้งหลายเหล่านี้ดังกล่าวมานี้และด้วยรัตนะ ๗ สี เหล่าอื่นอีก. เครื่องประดับนั้นสวมบนศีรษะย่อมย้อยคลุมจนจดหลังเท้า. หญิงที่ทรงพลังช้างสาร ๕ เชือกได้เท่านั้น จึงจะสามารถทรงเครื่องประดับนั้นไว้ได้.
    ในกาลต่อมา นางวิสาขานั้นได้เป็นอุปัฏฐายิกาผู้เลิศของพระทสพล นางได้สละเครื่องประดับนั้นแล้ว ให้สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคด้วยทรัพย์เก้าโกฏิแล้ว ให้สร้างปราสาทบนภูมิภาคประมาณกรีสหนึ่ง. ปราสาทนั้นประดับด้วย<WBR>ห้อง<WBR>พัน<WBR>ห้อง<WBR>อย่าง<WBR>นี้<WBR>คือ ที่พื้นชั้นบนมี ๕๐๐ ห้อง ที่พื้นชั้นล่างก็มี ๕๐๐ ห้อง. นางคิดว่า ปราสาทล้วนอย่างเดียว ย่อมไม่งามดังนี้ จึงให้สร้างเรือน ๒ ชั้น ๕๐๐ หลัง ปราสาทเล็ก ๕๐๐ หลัง ศาลายาว ๕๐๐ หลัง แวดล้อมปราสาทนั้น. การฉลองวิหารได้เสร็จสิ้นลงโดยใช้เวลา ๔ เดือน.
    ขึ้นชื่อว่าการบริจาคทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนาของหญิงอื่น เหมือนการบริจาคของนางวิสาขาผู้ดำรงอยู่ในภาวะความเป็นมาตุคาม หามีไม่.
    การบริจาคทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนาของชายอื่น เหมือนการบริจาคของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ผู้ดำรงอยู่ในความเป็นบุรุษก็หามีไม่. เพราะอนาถปิณฑิกเศรษฐีนั้นสละทรัพย์ ๕๔ โกฏิ แล้วให้สร้างมหาวิหารชื่อว่าเชตวัน ในที่เช่นกับมหาวิหารของเมืองอนุราธบุรีในด้านทิศทักษิณของเมืองสาวัตถี.
    นางวิสาขาให้สร้างวิหารชื่อว่าบุพพารามในที่เช่นกับวิหารของนางอุตตมเทวี ในด้านทิศปราจีนแห่งเมืองสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยประทับอยู่ในเมืองสาวัตถีอยู่ประจำในวิหารทั้ง ๒ นี้ ด้วยความอนุเคราะห์ตระกูลทั้ง ๒ เหล่านี้. ภายในพรรษาหนึ่ง ประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร. ภายในพรรษาหนึ่ง ประทับอยู่ในปุพพารามวิหาร.
    ก็ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปุพพาราม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุปาสาเท ดังนี้.
    บทว่า วาเสฏฺฐภารทฺวาชา ได้แก่ วาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณร.
    ด้วยสองบทว่า ภิกฺขูสุปริวสนฺติ ความว่า สามเณรทั้งสองอยู่ปริวาสอย่างเดียรถีย์ หาอยู่ปริวาสเพื่อพ้นอาบัติไม่. แต่สามเณรเหล่านั้น เพราะมีอายุยังไม่บริบูรณ์ จึงปรารถนาความเป็นภิกษุอยู่. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกฺ<WBR>ขุ<WBR>ภาวํ อากงฺขมานา.
    แท้จริง สามเณรแม้ทั้งสองเหล่านั้นเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลชื่ออุทิจจะ มีทรัพย์สมบัติฝ่ายละ ๔๐ โกฏิ บรรลุถึงฝั่งแห่งไตรเพท ได้ฟังวาเสฏฐสูตรในมัชฌิมนิกายได้ถึงสรณะ ฟังเตวิชชสูตรแล้วได้บรรพชา ในเวลานี้ปรารถนาความเป็นภิกษุจึงอยู่ปริวาส.
    บทว่า อพฺโภกาเส จงฺกมติ ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงงดงามด้วยพระรัศมีอันมีวรรณะ ๖ ซึ่งแผ่ซ่านออกไปในกลางหาว เปรียบเสมือนทองคำอันมีค่าสูง ๑๑ ศอก ซึ่งบุคคลดึงมาด้วยเชือกยนต์ฉะนี้ เสด็จจงกรมไปๆ มาๆ อยู่ที่เงาของปราสาทในส่วนทิศบูรพาของปราสาทซึ่งติดต่อกันกับทางด้านทิศอุดรและทิศทักษิณ.
    บทว่า อนุจงฺกมึสุ ความว่า สามเณรทั้งสองประคองอัญชลีน้อมสรีระลง<WBR>แล้ว<WBR>จงกรม<WBR>ตาม<WBR>พระ<WBR>ผู้มีพระภาค.
    บทว่า วาเสฏฐํ อามนฺเตสิ ความว่า วาเสฏฐะและภารทวาชะสามเณรเหล่านั้น วาเสฏฐะสามเณรฉลาดกว่า ย่อมรู้ถึงสิ่งที่ควรยึดถือเอาและสิ่งที่ควรสละ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกวาเสฏฐสามเณรนั้นมา.
    บทว่า ตุมฺเห ขฺวตฺถ ตัดบทเป็น ตุมฺเห โข อตฺถ.
    บทว่า พรฺาหฺมณชจฺจา ความว่า เป็นพราหมณ์โดยเชื้อชาติ.
    บทว่า พฺราหฺมณกุลีนา ความว่า มีตระกูล คือสมบูรณ์ด้วยตระกูล<WBR>ในหมู่พราหมณ์.
    บทว่า พฺราหฺมณกุลา ความว่า จาก<WBR>ตระกูล<WBR>พราหมณ์. อธิบายว่า ละตระกูล<WBR>พราหมณ์ซึ่งสมบูรณ์ด้วยโภคะเป็นต้น.
    บทว่า น อกฺโกสนฺติ ความว่า ย่อมไม่ด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐.
    บทว่า น ปริภาสนฺติ ความว่า ย่อมไม่บริภาษด้วยการกล่าวถึงความเสื่อมซึ่งมีวิธีต่างๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมด่า ย่อมบริภาษสามเณรเหล่านี้ดังนี้แท้จึงได้ตรัสถาม ด้วยประการฉะนี้.
    ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถาม.
    ตอบว่า พระองค์ทรงดำริว่า สามเณรเหล่านี้ เราไม่ถามจะไม่พูดขึ้นก่อน เมื่อเราไม่กล่าว ถ้อยคำก็จะไม่เกิดขึ้นดังนี้ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสถามเพื่อให้ถ้อยคำตั้งขึ้น.
    บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาตใช้ในคำอย่างเดียวกัน.
    อธิบายว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์<WBR>ทั้ง<WBR>หลายย่อมด่า ย่อมบริภาษ ข้าพระองค์ทั้งสองโดยส่วนเดียวแท้.
    บทว่า อตฺตรูปาย ความว่า ตามสมควรแก่ตน.
    บทว่า ปริปุณฺณาย ความว่า ที่ยกบทและพยัญชนะมากล่าวบริบูรณ์ตามความชอบใจของตน.
    บทว่า โน อปริปุณฺณาย ความว่า ที่ไม่หยุดอยู่ในระหว่างกล่าวติดต่อไปตลอด.
    ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พวกพราหมณ์จึงด่าสามเณรเหล่านี้.
    ตอบว่า เพราะไม่ตั้งอยู่ (ในฐานะของตน).
    สามเณรเหล่านี้เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้เลิศบรรลุถึงฝั่งไตรเพทมีชื่อเสียงปรากฏ ได้รับยกย่องในระหว่างพราหมณ์ทั้งหลายในชมพูทวีป. เพราะข้อที่สามเณรทั้งสองนั้นบวช บุตรของพราหมณ์อื่นเป็นอันมากก็ได้บวชตาม.
    ลำดับนั้น พวกพราหมณ์ทั้งหลายคิดว่า เราทั้งหลายหมดที่พึ่งพาอาศัยดังนี้ เพราะข้อที่ตนเองไม่มีที่พึ่งนี้เอง พบสามเณรเหล่านั้นที่ประตูบ้านก็ดี ภายในบ้านก็ดีจึงกล่าวว่า พวกท่านทำลายลัทธิของพราหมณ์ พวกท่านเป็นผู้ติดในรส จึงท่องเที่ยวตามหลังสมณะโล้นดังนี้เป็นต้น และกล่าวคำเป็นต้นว่า พราหมณ์เท่านั้นมีวรรณะประเสริฐสุด ดังนี้ อันมาในพระบาลีแล้วจึงด่า.
    ถึงแม้เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นจะพากันด่า สามเณรทั้งหลายก็ไม่ได้ทำความโกรธหรือความอาฆาต เพราะข้อที่ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ทั้งหลายย่อมพากันด่าพากันบริภาษพวกข้าพระองค์ดังนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถามอาการคือการด่า จึงตรัสถามว่า ก็เธอกล่าวว่าอย่างไรดังนี้. สามเณรเหล่านั้นเมื่อจะกราบทูลอาการคือการด่า จึงกราบทูลว่า พฺราหฺมณา ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสฏฺโฐ วณฺโณ ดังนี้ ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมแสดงว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐที่สุดดังนี้ ในฐานะเป็นที่ปรากฏแห่งชาติและโคตรเป็นต้น.
    บทว่า หีนา อญฺเญ วณฺณา ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า วรรณะสามนอกนี้เลวทรามต่ำช้าดังนี้.
    บทว่า สุกฺโก แปลว่า ขาว.
    บทว่า กณฺโห แปลว่า ดำ.
    บทว่า สุชุฌนฺติ ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ ในฐานะมีชาติและโคตรเป็นต้นปรากฏ.
    บทว่า พฺรหฺมุโน ปุตฺตา ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรของท้าวมหาพรหม.
    บทว่า โอรสา มุขโต ชาตา ความว่า อยู่ในอก ออกจากปาก (ของท้าวมหาพรหม).
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นโอรส เพราะอันท้าวมหาพรหมกระทำไว้ในอกแล้วให้เจริญแล้ว.
    บทว่า พฺรหฺมชา ความว่า บังเกิดแล้วจากท้าวมหาพรหม.
    บทว่า พฺรหฺมนิมฺมิตา ความว่า อันท้าวมหาพรหมนิรมิตขึ้น.
    บทว่า พฺรหฺมทายาทา ความว่า เป็นทายาทของพระพรหม.
    บทว่า หีนมตฺถวณฺณํ อชฺฌูปคตา ความว่า พวกท่านได้เป็นผู้เข้าถึงวรรณะที่เลว.
    บทว่า มุณฺฑเก สมณเก ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายนินทา รังเกียจ จึงกล่าว. หากล่าวหมายเอาความเป็นคนโล้นและความเป็นสมณะไม่.
    บทว่า อิพฺเก ได้แก่คหบดีทั้งหลาย.
    บทว่า กณฺเห คือดำ.
    บทว่า พนฺธู แปลว่า เป็นเผ่าพันธุ์ของมาร คือเป็นฝักฝ่ายของมาร. บทว่า ปาทาปจฺเจ ความว่า ผู้เป็นเหล่ากอแห่งพระบาทของท้าวมหาพรหม. อธิบายว่า เกิดจากพระบาท.
    คำว่า โว ในคำว่า ตคฺฆ โว วาเสฏฺฐ พฺราหฺมณา โปราณํ อสรนฺตา เอวมาหํสุ นี้ เป็นเพียงนิบาต
    อีกอย่างหนึ่ง เป็นฉัฏฐีวิภัติ.
    อธิบายว่า พราหมณ์ทั้งหลายระลึกเรื่องเก่าของท่านไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนั้น.
    บทว่า โปราณํ ความว่า วงศ์แห่งความประพฤติ ผู้อุบัติขึ้นในโลกที่รู้กันว่าเลิศเป็นของเก่า.
    บทว่า อสรนฺตา แปลว่า ไม่ได้.
    มีคำอธิบายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วาเสฏฐะ พราหมณ์ทั้งหลายระลึกไม่ได้ รู้ไม่ได้ซึ่งการอุบัติขึ้นในโลกอันเป็นของเก่าของท่าน จึงพากันกล่าวอย่างนี้.
    คำว่า ทิสฺสนฺติ โข ปน ดังนี้เป็นต้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้เพื่อประโยชน์แก่การทำลายความเห็นของพราหมณ์เหล่านั้น.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมณิโย ความว่า นางพราหมณีทั้งหลายที่พวกพราหมณ์นำมาสู่ตระกูลด้วยอำนาจการอาวาหมงคลและวิวาหมงคล เพื่อประโยชน์แก่การได้บุตรก็ปรากฏอยู่.
    ก็โดยสมัยต่อมา นางพราหมณีทั้งหลายเหล่านั้นแลก็เป็นหญิงมีระดู. อธิบายว่า มีระดูเกิดขึ้น.
    บทว่า คพฺภินิโย แปลว่ามีครรภ์.
    บทว่า วิชายมานา แปลว่าคลอดบุตรและธิดาอยู่.
    บทว่า ปายมานา ความว่า ให้เด็กทารกดื่มน้ำนมอยู่.
    บทว่า โยนิชาว สมานา ความว่า เป็นผู้เกิดแล้วโดยทางช่องคลอดของนางพราหมณีทั้งหลายแท้.
    บทว่า เวมาหํสุ ความว่า ย่อมกล่าวอย่างนี้.
    ถามว่า กล่าวว่า อย่างไร.
    ตอบว่า กล่าวว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐที่สุด ฯลฯ เป็นทายาทของพระพรหม.
    ถามว่า ก็ถ้าคำพูดของพราหมณ์เหล่านั้นพึงเป็นคำจริงแล้วไซร้ ท้องของนางพราหมณีพึงเป็นอกของท้าวมหาพรหม ช่องคลอดของนางพราหมณีก็พึงเป็นพระโอษฐ์ของท้าวมหาพรหมละซิ.
    ตอบว่า ก็ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนั้น.
    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า เต จ พฺรหฺมานญฺเจว อพฺภาจิกฺขนฺติ ดังนี้.

    <CENTER>
    จตุวณฺณสุทฺธิวณฺณนา </CENTER> พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมุขเฉทกวาทะนี้ด้วยประสงค์ว่า ขอพราหมณ์ทั้งหลายอย่าได้เพื่อกล่าวว่า พวกเราอยู่ในพระอุระออกมาจากพระโอษฐ์ของท้าวมหาพรหมดังนี้ ด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า วรรณะแม้ทั้งสี่ สมาทานประพฤติกุศลธรรมแท้ จึงบริสุทธิ์ได้ดังนี้อีก จึงตรัสว่า จตฺตาโรเม วาเสฏฺฐ วณฺณา เป็นต้น.
    บทว่า อกุสลสํขาตา ความว่า นับว่าเป็น<WBR>อกุศล<WBR>ดังนี้ หรือ<WBR>เป็น<WBR>ส่วน<WBR>แห่ง<WBR>อกุศล.
    ในทุกๆ บท ก็นัยนี้.
    บทว่า น อลมริยา ความว่า ไม่สามารถในความเป็นพระอริยะได้.
    บทว่า กณฺหา แปลว่า มีปกติดำ.
    บทว่า กณฺหวิปากา ความว่า วิบากของธรรมเหล่านั้น ดำ. อธิบายว่า เป็นทุกข์.
    บทว่า ขตฺติเยปิ เต ความว่า ธรรมเหล่านั้นมีอยู่แม้ในพระมหากษัตริย์.
    บทว่า เอกจฺเจ ได้แก่ เอกสฺมึ.
    ในทุกๆ บทก็นัยนี้.
    บทว่า สุกฺกา แปลว่า ขาว ด้วยภาวะที่หมดกิเลส.
    บทว่า สุกฺกวิปากา ความว่า แม้วิบากของธรรมเหล่านั้นเป็นของขาว. อธิบายว่า ให้ผลเป็นสุข.
    บทว่า อุภยโพยฺกิณฺเณสุ ความว่า รวมกันคือเจือปนกัน ในชน ๒ จำพวก.
    ถามว่า ในชน ๒ จำพวกเหล่าไหน.
    ตอบว่า ในธรรมฝ่ายดำที่วิญญูชนติเตียนพวกหนึ่ง และในธรรมฝ่ายขาวที่วิญญูชนสรรเสริญพวกหนึ่ง.
    ในบทว่า ยเทตฺถ พฺราหฺมณา เอวมาหํสุ นี้มีวินิจฉัยว่า
    พราหมณ์ทั้งหลาย แม้ประพฤติในธรรมทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาวนั้นย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า พรฺาหฺมโณว เสฏฺโฐ วณฺโณ เป็นต้น.
    หลายบทว่า ตํ เนสํ วิญญู นาชานนฺติ ความว่า ชนผู้เป็นบัณฑิตในโลก ย่อมไม่ยินดี. อธิบายว่า ย่อมไม่สรรเสริญ.
    ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร.
    ในคำว่า อิเมสญฺหิ วาเสฏฺฐา เป็นต้นนี้ มีความสังเขปดังนี้.
    หากมีคำถามว่า ท่านกล่าวคำว่า นานุชานนฺติ ดังนี้ไว้ เพราะเหตุไร.
    พึงตอบว่า เพราะบรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ วรรณะใดเป็นภิกษุผู้อรหันต์ ฯลฯ พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ วรรณะนั้นย่อมปรากฏว่าเป็นเลิศกว่าวรรณะทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่เลย ฉะนั้น บัณฑิตผู้รู้ทั้งหลายจึงไม่รับรองคำพูดของพราหมณ์เหล่านั้น.
    พึงทราบวินิจฉัยในบท อรหํ เป็นต้นต่อไป
    ที่ชื่อว่าอรหันต์ เพราะเหตุมีความที่กิเลสทั้งหลายอยู่ห่างไกล.
    ที่ชื่อว่าขีณาสพ เพราะความที่อาสวะทั้งหลายสิ้นไป.
    พระเสขะ ๗ จำพวกและกัลยาณปุถุชน ชื่อ<WBR>ว่า<WBR>ย่อม<WBR>อยู่<WBR>ประพฤติ<WBR>พรหม<WBR>จรรย์.
    ก็ภิกษุนี้ผู้มีธรรมเครื่องอยู่อันอยู่จบแล้ว ฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้อยู่แล้ว.
    กิจที่จะพึงกระทำมีการกำหนดรู้ในสัจจะทั้ง ๔ เป็นต้นด้วยมรรค ๔ อันภิกษุนั้นทำแล้ว ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่ามีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว. กิเลสภาระและขันธภาระอันภิกษุนั้นปลงลงแล้ว ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่าปลงภาระได้แล้ว.
    บทว่า โอหิโต แปลว่า ปลงลงแล้ว.
    ประโยชน์อันดี หรือประโยชน์อันเป็นของตน ฉะนั้น จึงชื่อว่าประโยชน์<WBR>ตน. ประโยชน์<WBR>ของ<WBR>ตน<WBR>อัน<WBR>ภิกษุนั้นตามบรรลุได้แล้ว ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่าตามบรรลุประโยชน์ตนแล้ว. ตัณหา ท่านเรียกว่าสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ. ตัณหานั้นของภิกษุนั้นสิ้นแล้ว ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่ามีสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว.
    บทว่า สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต ความว่า พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบคือโดยเหตุโดยการณ์.
    บทว่า ชเนตสมึ ตัดบทเป็น ชเน เอตสฺมึ อธิบายว่า ในโลกนี้.
    หลายบทว่า ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อภิสมฺปรายญฺจ ความว่า ในอัตภาพนี้ และในอัตภาพอันสัตว์จะพึงถึงในโลกหน้า.
    บทว่า อนนฺตรา ความว่า เว้นแล้วจากระหว่าง. อธิบายว่า เป็นเช่นเดียวกันด้วยตระกูลของตน.
    บทว่า อนุยนฺตา ความว่า เป็นไปในอำนาจ.
    บทว่า นิปจฺจการา ความว่า พวกศากยะทั้งหลายที่แก่กว่าย่อมแสดงการนอบน้อม ที่หนุ่มกว่าย่อมทำกิจมีการอภิวาทเป็นต้น.
    บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า สามีจิกมฺมํ ดังนั้นคือ กรรมอันสมควรมีการกระทำวัตรต่อพระเจ้าปเสนทินั้นเป็นต้น.
    บทว่า นิวิฏฺฐา ความว่า ตั้งมั่นแล้ว คือดำรงอยู่อย่างไม่หวั่นไหว.
    ถามว่า ก็ศรัทธาเห็นปานนี้ ย่อมมีแก่ใคร.
    ตอบว่า ย่อมมีแก่พระโสดาบัน.
    ก็พระโสดาบันนั้นมีศรัทธาตั้งมั่น แม้เมื่อจะถูกเขาเอาดาบตัดศีรษะ ก็ยังไม่กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้าดังนี้บ้าง พระธรรมไม่ใช่พระธรรมดังนี้บ้าง พระสงฆ์ไม่เป็นพระสงฆ์ดังนี้บ้าง. พระโสดาบันย่อมเป็นผู้มีศรัทธาดำรงมั่นแท้ เปรียบเสมือน
    สูรอัมพัฏฐอุบาสกฉะนั้น.
    นัยว่า อุบาสกนั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เป็นพระโสดาบันได้กลับไปเรือน. ทีนั้น มารเนรมิตพระพุทธรูปอันประดับด้วยลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ยืน<WBR>อยู่<WBR>ที่<WBR>ประตู<WBR>เรือน<WBR>ของ<WBR>อุบาสก<WBR>นั้น แล้ว<WBR>ส่ง<WBR>สาส์น<WBR>ไปว่า พระ<WBR>ศาสดา<WBR>เสด็จ<WBR>มา<WBR>ดังนี้.
    สูรอุบาสกคิดว่า เราฟังธรรมในสำนักของพระศาสดามาเดี๋ยวนี้เอง อะไรจักมีอีกหนอดังนี้แล้ว เข้าไปหาไหว้ด้วยสำคัญว่าเป็นพระศาสดา แล้วจึงได้ยืนอยู่.
    มารกล่าวว่า อัมพัฏฐะ คำใดที่เรากล่าวแก่ท่านว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้ คำนั้นเรากล่าวผิดไป เพราะเรายังไม่พิจารณาจึงกล่าวคำนั้นไป ฉะนั้นเธอจงถือเอาว่า รูปเที่ยง ฯลฯ วิญญาณเที่ยงดังนี้เถิด.
    สูรอุบาสกคิดว่า ข้อที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่พิจารณา ไม่ทำการ<WBR>ตรวจ<WBR>ตรา<WBR>อย่าง<WBR>ประ<WBR>จักษ์<WBR>แล้ว พึงตรัสอะไรไป นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ มารนี้มาเพื่อมุ่งทำลายเราอย่างแน่นอน.
    ลำดับนั้น สูรอุบาสกจึงกล่าวกะมารนั้นว่า ท่านเป็นมารใช่ไหม ดังนี้. มารนั้นไม่อาจที่จะกล่าวมุสาวาทได้ จึงรับว่า ใช่เราเป็นมาร ดังนี้. อุบาสกถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงมา. มารตอบว่า เรามาเพื่อทำศรัทธาของท่านให้หวั่นไหว.
    อุบาสกกล่าวว่า ดูก่อนมารผู้ใจบาปอำมหิต ท่านผู้เดียวนั้นจงหยุดอยู่ก่อน พวกมารเช่นท่าน ร้อยก็ดี พันก็ดี แสนก็ดี ไม่สามารถจะทำศรัทธาของเราให้หวั่นไหวได้ ชื่อว่าศรัทธาอันมาแล้วด้วยมรรค เป็นของมั่นคงไม่หวั่นไหวเหมือนภูเขาสิเนรุซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินอันล้วนแล้วด้วยศิลา ท่านจะทำอะไรในการมานี้ ดังนี้แล้วปรบมือขึ้น.
    มารนั้น เมื่อไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ จึงหายไปในที่นั้นนั่นเอง.
    คำว่า นิวิฏฺฐา นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสหมายเอาสัทธาอย่างนั้น.
    บทว่า มูลชาตา ปติฏฺฐิตา ความว่าดำรงมั่นแล้วด้วยมรรคนั้นอันเป็นมูลเพราะมูลรากคือมรรคเกิดพร้อมแล้ว.
    บทว่า ทฬฺหา แปลว่า มั่นคง.
    บทว่า อสํหาริยา ความว่า อันใครๆ ไม่พึงอาจเพื่อจะให้หวั่นไหวได้ เปรียบเหมือนเสาเขื่อนที่เขาฝังไว้อย่างนั้น.
    บทว่า ตสฺเสตํ กลฺลํ วจนาย นั้น ความว่า คำนั้นควรที่จะเรียกพระอริยสาวก.
    ท่านกล่าวว่าอย่างไร.
    ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า เราเป็นบุตรเกิดแต่อกของพระผู้มีพระภาค ดังนี้.
    ความจริง พระอริยสาวกนั้นอาศัยพระผู้มีพระภาคจึงเกิดขึ้นในภูมิของพระอริยะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นบุตรของพระผู้มีพระภาค และชื่อว่าเป็นโอรสเกิดแต่พระโอษฐ์ เพราะอยู่ในอก<WBR>แล้ว<WBR>ดำรง<WBR>อยู่<WBR>ในมรรคและผลด้วยอำนาจ<WBR>การ<WBR>กล่าว<WBR>ธรรม<WBR>อัน<WBR>ออก<WBR>มา<WBR>จาก<WBR>พระ<WBR>โอษฐ์ ชื่อว่าเกิดแต่ธรรม เพราะเกิดจากอริยธรรม และชื่อว่าอันธรรมเนรมิตขึ้น เพราะถูกอริยนิรมิตขึ้น. ชื่อว่าธรรมทายาท เพราะควรรับมรดก คือนวโลกุตตรธรรม.
    บทว่า ตํ กิสฺส เหตุ ความว่า
    หากมีคำถามว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภควโตมฺหิ ปุตฺโต ดังนี้แล้ว ตรัสอีกว่า ธมฺมโช ธมฺมนิมฺมิโต ดังนี้อีก คำนั้นพระองค์ตรัสเพราะเหตุไร.
    บัดนี้ เมื่อจะแสดงเนื้อความของคำนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตถาคตสฺส เหตํ ดังนี้เป็นต้น.
    ในบาลีประเทศนั้น คำว่า ธมฺมกาโย อิติปิ ความว่า เพราะเหตุไร พระตถาคตจึงได้รับขนานนามว่า ธรรมกาย. เพราะพระตถาคตทรงคิดพระพุทธพจน์คือ<WBR>พระ<WBR>ไตร<WBR>ปิฎก<WBR>ด้วย<WBR>พระ<WBR>หทัย<WBR>แล้ว ทรงนำออกแสดงด้วยพระวาจา. ด้วยเหตุนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคจึงจัดเป็นธรรมแท้เพราะสำเร็จด้วยธรรม. พระธรรมเป็นกายของพระผู้มีพระภาคนั้นดังพรรณนามานี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงชื่อว่า<WBR>ธรรม<WBR>กาย. ชื่อว่า<WBR>พรหม<WBR>กาย เพราะมีธรรมเป็นกายนั่นเอง แท้จริง พระธรรมท่านเรียกว่าพรหม เพราะเป็นของประเสริฐ.
    บทว่า ธมฺมภูโต ได้แก่ สภาวธรรม. ชื่อว่า พรหมภูต เพราะเป็นผู้เกิดจากพระธรรมนั่นเอง.
    พระผู้มีพระภาค ครั้นทรงแสดงวาทะอันเป็นเครื่องทำลายความเป็น<WBR>ผู้<WBR>ประเสริฐ<WBR>ด้วย<WBR>พระดำรัสมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวาทะอันเป็นเครื่องทำลายความเป็นผู้ประเสริฐโดยนัยอื่นอีก จึงตรัสว่า โหติ โข โสวาเสฏฺฐา สมโย ดังนี้เป็นต้น
    บรรดาถ้อยคำเหล่านั้น กถาว่าด้วยสังวัฏฏะและวิวัฏฏะ ได้พรรณนาโดยพิสดารแล้วใน
    พรหม<WBR>ชาล<WBR>สูตร.
    บทว่า อิตฺถตฺตํ อาคจฺฉนฺติ ความว่า ย่อมมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือสู่ความ
    เป็นมนุษย์.
    บทว่า เต จ โหนฺติ มโนมยา ความว่า สัตว์เหล่านั้นแม้มาบังเกิดในมนุสโลกนี้ ก็เป็นพวกโอปปาติกกำเนิด บังเกิดขึ้นด้วยใจเท่านั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้มีความสำเร็จทางใจ. ปีติเท่านั้นย่อมให้สำเร็จกิจด้วยอาหารแก่สัตว์เหล่านั้นแม้ในมนุสสโลกนี้ เหมือนในพรหมโลก ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่ามีปีติเป็นภักษา. พึงทราบเหตุมีรัศมีเองเป็นต้นโดยนัยนี้.
    <CENTER>
    รสปฐวิปาตุภาววณฺณนา </CENTER> บทว่า เอโกทกีภูตํ ความว่า จักรวาฬทั้งหมดเป็นที่ที่มีน้ำเหมือนกัน.
    บทว่า อนฺธกาโร แปลว่า ความมืด.
    บทว่า อนฺธการติมิสา ความว่า กระทำความมืด คือมีความมืดมิดด้วยการห้ามการบังเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณ.
    บทว่า สมนฺตานิ ความว่า ดำรงอยู่ คือแผ่ไปรอบ.
    บทว่า ปยตตฺตสฺส แปลว่าน้ำนมที่เคี่ยวให้งวด.
    บทว่า วณฺณสมฺปนฺนา ความว่า ถึงพร้อมด้วยสี. ก็สีของง้วนดินนั้นได้เป็นเหมือนดอกกรรณิการ์.
    บทว่า คนฺธสมฺปนฺนา ความว่า ถึงพร้อมด้วยกลิ่น คือกลิ่นอันเป็นทิพย์ย่อมฟุ้งไป.
    บทว่า รสสมฺปนฺนา ความว่า ถึงพร้อมด้วยรส เหมือนใส่โอชาทิพย์ลงไปฉะนั้น.
    บทว่า ขุทฺทกมธุ ํ ความว่า น้ำผึ้งอันแมลงผึ้งตัวเล็กๆ ทำไว้.
    บทว่า อเนฬกํ ความว่า มีโทษออกแล้ว คือเว้นจากไข่แมลงวัน.
    บทว่า โลลชาติโก ความว่า มีความโลภเป็นสภาพ. แม้ในกัลป์ถัดไปที่ล่วงไปแล้วก็มีความโลภเหมือนกัน เราเกิดอัศจรรย์จึงกล่าวว่า อมฺโภ ดังนี้.
    บทว่า กิเมวิทํ ภวิสฺสติ ความว่า สีก็ดี กลิ่นก็ดี ของง้วนดินนั้นน่าชอบใจ แต่รสของง้วนดินนั้นจักเป็นอย่างไรหนอ. ผู้ที่เกิดความโลภในง้วนดินนั้นก็เอานิ้วมือจับง้วนดินนั้นมาชิมดู ครั้นเอามือจับแล้วก็เอามาไว้ที่ลิ้น.
    บทว่า อจฺฉาเทสิ ความว่า ง้วนดินนั้นพอเขาเอามาวางไว้ที่ปลายลิ้นก็แผ่ซ่านไปทั่ว เส้นเอ็นรับรสอาหาร ๗,๐๐๐ เส้นเป็นของน่าชอบใจตั้งอยู่.
    บทว่า ตณฺหา จสฺส โอกฺกมิ ความว่า ก็ความอยากในรสในง้วนดินนั้นก็เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความโลภนั้น.
    หลายบทว่า อาลุปฺปกากรํ อุปกฺกมึสุ ปริภุญฺชิตุ ํ ความว่า เขาปั้นเป็นคำ คือแบ่งออกเป็นก้อนแล้วเริ่มที่จะบริโภค.
    <CENTER>
    จนฺทิมสุริยาทิปาตุภาววณฺณนา </CENTER> พระจันทร์และพระอาทิตย์ ชื่อว่า จนฺทิมสุริยา.
    บทว่า ปาตุรเหสํ แปลว่าปรากฏขึ้น.
    ก็บรรดาพระจันทร์และพระอาทิตย์นั้นอย่างไหนปรากฏก่อน ใครอยู่ในที่ไหน ประมาณของใครเป็นอย่างไร ใครอยู่สูง ใครหมุนเร็ว วิถีทางของพระจันทร์และพระอาทิตย์นั้นเป็นอย่างไร เที่ยวไปได้อย่างไร ทำแสงสว่างในที่มีประมาณเท่าใด.
    พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองไม่ปรากฏพร้อมกัน. พระอาทิตย์ปรากฏขึ้นก่อน.
    ก็เมื่อรัศมีเฉพาะตัวของสัตว์เหล่านั้นได้หายไป ความมืดมนจึงได้มีขึ้น. สัตว์เหล่านั้นทั้งกลัวทั้งสะดุ้งคิดกันว่าคงจะดีหนอ ถ้าแสงสว่างปรากฏขึ้นมาดังนี้ ต่อแต่นั้นดวงอาทิตย์อันให้ความกล้าเกิดขึ้นแก่มหาชนก็ได้ตั้งขึ้น. ด้วยเหตุนั้น ดวงอาทิตย์นั้นจึงได้นามว่า สุริโย ดังนี้.
    เมื่อดวงอาทิตย์นั้นทำแสงสว่างตลอดวันแล้วอัสดงคตไป ความมืดมนก็กลับมีขึ้นอีก. สัตว์เหล่านั้นพากันคิดว่า คงจะเป็นการดีหนอ ถ้าหากว่าพึงมีแสงสว่างอย่างอื่นเกิดขึ้นดังนี้. ทีนั้นดวงจันทร์รู้ความพอใจของสัตว์เหล่านั้นจึงเกิดขึ้นมา. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ดวงจันทร์จึงได้นามว่า จนฺโท ดังนี้. <!--
                   บรรดาดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น ดวงจันทร์อยู่ในวิมานภายในล้วน แล้วด้วยแก้วมณีวิมานภายนอกล้วนแล้วด้วยเงินทั้งภายในและภายนอกนั้นเย็นแท้.ดวงอาทิตย์อยู่ในวิมาน ภายในล้วนแล้วด้วยทอง วิมานภายนอกล้วนแล้วด้วยแก้วผลึก.ทั้งภายในและภายนอกร้อนจัด.
                   ว่าโดยประมาณ ดวงจันทร์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๙ โยชน์ เส้นรอบวงยาว ๒๕๐ โยชน์.ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐ โยชน์ เส้นรอบวงยาว ๒๕๐ โยชน์.
                   ดวงจันทร์อยู่ข้างล่าง พระอาทิตย์อยู่ข้างบน.ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นอยู่ห่างกันโยชน์หนึ่ง. จากส่วนล่างของพระจันทร์ถึงส่วนบนของดวงอาทิตย์ มีระยะ ๑๐๐ โยชน์.
                   ดวงจันทร์หมุนไปทางด้านตรงช้า แต่หมุนไปทางด้านขวางเร็วหมู่ดาว<wbr>นักษัตร<wbr>ก็<wbr>หมุนไปในสองด้าน ดวงจันทร์หมุนไปใกล้หมู่ดาวนั้นๆ เหมือนแม่โคเข้าไปหาลูกโคฉะนั้น.ส่วนหมู่ดาวไม่ทิ้งที่อยู่ของตนเลย.การหมุนไปของดวงอาทิตย์ทางตรงเร็ว ไปทางขวางช้า.ดวงอาทิตย์นี้<wbr>โคจร<wbr>ห่าง<wbr>ดวง<wbr>จันทร์<wbr>แสนโยชน์ ในวันปาฏิบทจากวันอุโบสถกาฬปักษ์.เวลานั้นดวงจันทร์ปรากฏเหมือนรอยเขียนฉะนั้น. ดวงอาทิตย์โคจรห่างไปเป็นระยะแสนโยชน์ในปักษ์ที่ ๒ ดวงอาทิตย์ได้โคจรห่างไป ดังที่กล่าวแล้วนี้เป็นระยะแสนๆ โยชน์จนถึงวันอุโบสถ. ลำดับนั้นดวงจันทร์ก็ใหญ่ขึ้นโดยลำดับ ไปเต็มดวงในวันอุโบสถ.โคจร<wbr>ห่าง<wbr>ออก<wbr>ไป<wbr>แสนโยชน์ในวันปาฏิบทอีก.โคจร<wbr>ห่าง<wbr>ออก<wbr>ไป<wbr>เป็นระยะแสนโยชน์ ในปักษ์ที่ ๒ ดวงอาทิตย์โคจรห่างไปดังกล่าวแล้วนี้เป็นระยะแสนๆ โยชน์จนถึงวันอุโบสถ.ทีนั้นดวงจันทร์อับแสงลงโดยลำดับแล้วไม่ปรากฏทั้งดวงในวันอุโบสถ.ดวงอาทิตย์ลอยอยู่เบื้องบนให้ดวงจันทร์อยู่เบื้องล่างย่อมปกปิดดวงจันทร์ไว้ได้เหมือนภาชนะเล็กถูกถาดใหญ่ปิดไว้ฉะนั้น.เงาของดวงจันทร์ไม่ปรากฏเหมือนเงาเรือนไม่ปรากฏในเวลาเที่ยง.ดวงอาทิตย์นั้นเมื่อเงาไม่ปรากฏ แม้ตัวเองก็ไม่ปรากฏ เหมือนประทีปในกลางวันไม่ปรากฏแก่หมู่ชนผู้ยืนอยู่ไกลฉะนั้น.
                   ก็พึงทราบวินิจฉัยใน คำว่าวิถีของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์เป็นอย่างไร
                   ต่อไปนี้วิถีมีดังนี้คือวิถีแพะ วิถีช้าง วิถีของโค.
                   บรรดาวิถีเหล่านั้น น้ำเป็นของปฏิกูลสำหรับแพะทั้งหลาย แต่น้ำนั้นเป็นที่ชอบใจของช้างทั้งหลาย เป็นที่ผาสุกของฝูงโคเพราะมีความเย็นและความร้อนเสมอกัน. ฉะนั้น ในเวลาใด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของแพะเวลานั้น ฝนไม่ตกเลยแม้สักเม็ดเดียว เมื่อใดดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของช้างเมื่อนั้นฝนจะตกแรงเหมือนท้องฟ้ารั่ว.เมื่อใดดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของโค เมื่อนั้นความสม่ำเสมอของฤดูก็ย่อมถึงพร้อม.
                   ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อมเคลื่อนอยู่ภายนอกภูเขาสิเนรุเป็นเวลา ๖ เดือน และ<wbr>โคจร<wbr>อยู่<wbr>ภาย<wbr>ใน<wbr>อีก ๖ เดือน.ความจริง ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นย่อมโคจรไปใกล้ภูเขาสิเนรุในเดือน ๘.แต่นั้นเคลื่อนออกไปโคจรอยู่ในภายนอก ๒ เดือนแล้ว เคลื่อนไปอยู่โดยท่ามกลางในต้นเดือน ๑๒.แต่นั้นเคลื่อนมุ่งหน้าต่อจักรวาฬแล้วโคจรอยู่ใกล้ๆ จักรวาฬเป็นเวลา ๓ เดือน แล้วเคลื่อนออกห่างมาอีก ไปอยู่ตรงกลางจักรวาฬในเดือน ๕ต่อแต่นั้นในเดือนอื่นก็เคลื่อนมุ่งหน้าต่อภูเขาสิเนรุ แล้วไปโคจรอยู่ใกล้ๆ ภูเขาสิเนรุในเดือน ๘ อีก.
                   พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ทำแสงสว่างในที่นี้ประมาณเท่าใด ดังนี้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมทำแสงสว่างในทวีปทั้ง ๓ โดยพร้อมกัน.
                   กระทำได้อย่างไร.
                   ก็เวลาพระอาทิตย์ขึ้นในทวีปนี้เป็นเวลาเที่ยงในปุพพวิเทหทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในอุตตรกุรุทวีป เป็นมัชฌิมยามในอมรโคยานทวีป.
                   เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในปุพพวิเทหทวีปเป็นเวลาเที่ยงในอุตตรกุรุทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในอมรโคยานทวีป เป็นมัชฌิมยามในทวีปนี้.เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นในอุตตรกุรุทวีป เป็นเวลาเที่ยงในอมรโคยานทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในทวีปนี้เป็นเวลามัชฌิมยามในปุพพวิเทหทวีป.เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นในอมรโคยานทวีป เป็นเวลาเที่ยงในทวีปนี้ เวลาที่พระอาทิตย์ตกในบุพพวิเทหทวีปเป็นเวลามัชฌิมยามในอุตตรกุรุทวีป ฉะนี้แล.-->
    พึงทราบวินิจฉัยในสองบทว่า นกฺขตฺตานิ ตารกรูปานิ ต่อไป
    ดาวนักษัตรมีดาวฤกษ์เป็นต้น และหมู่ดาวทั้งหลายที่เหลือ ย่อมปรากฏพร้อมกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์.
    บทว่า รตฺตินฺทิวา ความว่า ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงอรุณขึ้น เป็นเวลากลางคืน ตั้งแต่เวลาอรุณขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกจัดเป็นเวลากลางวัน กลางคืนและกลางวันย่อมปรากฏอย่างว่ามานี้. ต่อแต่นั้น ๑๕ ราตรี จัดเป็นกึ่งเดือน ๒ กึ่งเดือนเป็นเดือน กึ่งเดือนและเดือนหนึ่งปรากฏอย่างว่ามานี้. ทีนั้น ๔ เดือนจัดเป็น ๑ ฤดู ๓ ฤดูเป็น ๑ ปี ทั้งฤดูและปีจึงปรากฏอย่างว่ามานี้.
    คำว่า วณฺณเววณฺณตา จ ได้แก่ ความมีผิวพรรณต่างกัน.
    บทว่า เตสํ วณฺณาติมานปจฺจยา ความว่า เพราะการถือตัวจัดซึ่งเกิดขึ้นเพราะปรารภวรรณะของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นปัจจัย. บทว่า มานาติมานชาติกานํ ความว่า ผู้มีมานะและอติมานะเกิดขึ้นบ่อยๆ เป็นสภาพ.
    บทว่า รสปฐวิยา ความว่า แผ่นดินอันได้นามว่า รส เพราะสมบูรณ์ด้วยรส. บทว่า อนุตฺถุนึสุ ความว่า พากันบ่นถึง. บทว่า อโห รสํ ความว่า โอ รสอร่อยมีแก่พวกเรา.
    คำว่า อคฺคญฺญํ อกฺขรํ นี้เป็นคำกล่าวถึงวงศ์ซึ่งบังเกิดขึ้นในโลก.
    บทว่า อนุปทนฺติ ความว่า ย่อมไปตาม.
    <CENTER>
    ภูมิปปฺปฏกปาตุภาวาทิวณฺณนา </CENTER> บทว่า เอวเมว ปาตุรโหสิ ความว่า ได้เป็นเช่นนี้ตั้งขึ้น และได้ตั้งขึ้นเหมือนพื้นเปือกตมอันแห้งเกิดขึ้น ในเมื่อน้ำภายในสระแห้งไปฉะนั้น. เครืออันเจริญมีรสหวานอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเครือดิน. บทว่า กลมฺพกา ได้แก่ ต้นมะพร้าว. บทว่า อหุ วต โน ความว่า เครือดินมีรสหวานได้มีแก่เราทั้งหลายแล้วหนอ. บทว่า อหายิ วต โน ความว่า เครือดินนั้นของพวกเราได้หายไปแล้วในบัดนี้.
    <CENTER>
    อกฏฺฐปากสาลิปาตุภาววณฺณนา </CENTER> บทว่า อกฏฺฐปาโก ความว่า เกิดขึ้นในภูมิภาคซึ่งไม่ได้ไถเลย. บทว่า อกโณ แปลว่าไม่มีรำเจือปน. บทว่า อถุโส แปลว่าไม่มีแกลบ. บทว่า สุคนฺโธ ความว่า กลิ่นทิพย์ย่อมฟุ้งขจายไป. บทว่า ตณฺฑุลปฺผโล ความว่า ย่อมเมล็ดผลเป็นเมล็ดข้าวสารขาวบริสุทธิ์. บทว่า ปกฺกํ ปฏิวิรุฬฺหํ ความว่า ที่ที่เขาเก็บในเวลาเย็นก็ได้สุกแทนในตอนเช้า งอกงามขึ้นตามปกติอีก ที่ที่เขาเก็บไปหา<WBR>ปรากฏ<WBR>ไม่. บทว่า นาปทานํ ปญฺญายติ ความว่า ย่อมปรากฏเป็นพืชที่ไม่ถูกเก็บเกี่ยวไม่มีบกพร่องเลย.
    <CENTER>
    ยุตฺถีปุริสลิงฺคปาตุภาววณฺณนา </CENTER> บทว่า อิตฺถิยา จ ความว่า เพศหญิงของหญิงในเวลาเป็นมนุษย์ในชาติก่อนๆ ก็ปรากฏ เพศชายของชายในกาลก่อนๆ นั้นก็ปรากฏ. ความจริง มาตุคามเมื่อต้องการได้ความเป็นบุรุษก็พยายามบำเพ็ญธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งความเป็นบุรุษโดยลำดับก็ย่อมสำเร็จได้. บุรุษเมื่อต้องการเป็นหญิงก็ประพฤติการเมสุมิจฉาจาร ย่อมสำเร็จได้. ก็ในเวลานั้น ตามปกติเพศหญิงย่อมปรากฏขึ้นแก่มาตุคาม เพศชายก็ปรากฏขึ้นแก่บุรุษ.
    บทว่า อุปนิชฺฌายตํ ความว่า เพ่งอยู่คือแลดูอยู่. บทว่า ปริฬาโห ได้แก่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจราคะ. บทว่า เสฏฺฐึ ได้แก่ เถ้าถ่าน. บทว่า นิพฺพุยฺหมานาย ความว่า นำออกไป.
    บทว่า อธมฺมสมฺมตํ ความว่า การโปรยฝุ่นเป็นต้นนั้นสมมุติกันว่าไม่เป็นธรรม.
    บทว่า ตเทตรหิ ธมฺมสมฺมตํ ความว่า แต่ในบัดนี้ การโปรยฝุ่นเป็นต้นนี้สมมุติกันว่าเป็นธรรม. พวกพราหมณ์ทั้งหลายพากันถือเอาการโปรยฝุ่นเป็นต้นนั้นว่าเป็นธรรม เที่ยวไป.
    จริงอย่างนั้น ในชนบทบางแห่ง พวกหญิงทั้งหลายทะเลาะกันย่อมกล่าวว่า เพราะเหตุไร เธอจึงกล่าว ท่านจักไม่ได้อะไรแม้<WBR>เพียง<WBR>ก่อน<WBR>โค<WBR>มัย<WBR>สด.
    บทว่า ปาตพฺยตํ ได้แก่ ความส้องเสพ. บทว่า สนฺนิธิการกํ ได้แก่ ทำการสั่งสม. บทว่า อปาทานํ ปญฺญายิตฺถ ความว่า ที่ที่เขาเก็บไปแล้วได้ปรากฏเป็นของพร่องไป. บทว่า สณฺฑสณฺฑา ความว่า เป็นกลุ่มๆ เหมือนจัดไว้เป็นพวกหมู่ในที่หนึ่งๆ.
    บทว่า มริยาทํ ฐเปยฺยาม ความว่า พวกเราจะตั้งเขตแบ่งกัน.
    บทว่า ยตฺร หิ นาม ได้แก่ โย หิ นาม (ก็ขึ้นชื่อว่า สัตว์ ใด). สองบทว่า ปาณินา ปหรึสุ ความว่า สัตว์เหล่านั้นเอามือตีคนที่ไม่เชื่อคำตนถึง ๓ ครั้ง. บทว่า ตทคฺเค โข ปน แปลว่า เพราะทำเหตุนั้นเป็นสิ่งสำคัญ.
    <CENTER>
    มหาสมฺมตราชวณฺณนา </CENTER> บทว่า ขียิตพฺพํ ขีเยยฺย อธิบายว่า พึงประกาศบอกบุคคลผู้ควรประกาศ คือติเตียนบุคคลที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่.
    บทว่า โย เนสํ สตฺโต ความว่า บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ผู้ใด.
    ถามว่า ก็สัตว์นั้นเป็นใคร.
    ตอบว่า คือพระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย.
    หลายบทว่า สาลีนํ ภาคํ อนุปฺปทสฺสาม ความว่า เราจักนำข้าวสาลีมาจากไร่ของแต่ละคนๆ ละทะนาน แล้วจะให้ส่วนข้าวสาลีแก่ท่าน ท่านไม่ต้องทำงานอะไร ขอท่านจงตั้งอยู่ในฐานะเป็นหัวหน้าของเราทั้งหลายเถิด.
    บทว่า อกฺขรํ อุปนิพฺพตฺตํ ความว่า เกิดบัญญัติโวหารซึ่งเข้าใจกันได้ด้วยการนับ.
    คำว่า ขตฺติโย ขตฺติโย ดังนี้เป็นคำที่เกิดขึ้นคำที่สอง. บทว่า อกฺขรํ ความว่า ไม่ใช่เฉพาะอักษรอย่างเดียวเท่านั้น แต่พวกสัตว์เหล่านั้นยังได้ทำการอภิเษกบุคคลนั้น ด้วยการยกย่องถึง ๓ ครั้ง แปลว่า ย่อมยังผู้อื่นให้มีความสุขเอิบอิ่ม. บทว่า อคฺคญฺเญน ความว่า การบังเกิดขึ้นด้วยอักษร อันเกิดขึ้นในสมัยแห่งโลกเกิดขึ้น ที่รู้กันว่าเลิศหรือรู้จักกันในส่วนเลิศ
    <CENTER>
    พฺราหฺมณมณฺฑลาทิวณฺณนา </CENTER> บทว่า วีตงฺคารา วีตธูมา ความว่า ปราศจากควันและถ่านเพลิง เพราะไม่มีอาหารที่จะพึงหุงต้มแล้วเคี้ยวกิน. บทว่า ปณฺณมุสลา ความว่า ไม่มีการซ้อม เพราะไม่มีอาหารที่พึงซ้อมตำแล้วหุงต้ม. บทว่า ฆาสเมสนา ความว่า แสวงหายาคูและภัตด้วยอำนาจภิกขาจาร. บทว่า ตเมนํ มนุสฺสา ทิสฺวา ความว่า หมู่มนุษย์เหล่านั้นได้เห็นบุคคลเหล่านั้น. บทว่า อนภิสมฺภุนฺมานา แปลว่า อด<WBR>กลั้น<WBR>ไว้<WBR>ไม่<WBR>ได้ คือไม่สามารถจะอดกลั้นไว้ได้. บทว่า คนฺเถ กโรนฺตา ความว่า แต่งคือ<WBR>บอก<WBR>สอน<WBR>ไตร<WBR>เพท. บทว่า อจฺฉนฺติ แปลว่าย่อมอยู่อาศัย. บาลีว่า อจฺเฉนฺติ ดังนี้บ้าง เนื้อความก็เช่นเดียวกัน.
    บทว่า หีนสมฺมตํ ความว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ โดยสมัยนั้น คำว่าหมู่พราหมณ์ย่อมทรงจำมนต์ย่อมบอกมนต์ดังนี้ เป็นคำสมมติว่าต่ำช้า
    บทว่า ตเทตรหิ เสฏฺฐสมฺมตํ ความว่า บัดนี้คำว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมทรงจำมนต์มีประมาณเท่านี้ ย่อมบอกกล่าวมนต์มีประมาณเท่านี้ เป็นคำสมมติว่าประเสริฐ.
    บทว่า พฺราหฺมณมณฺฑลสฺส ได้แก่ หมู่พราหมณ์.
    บทว่า เมถุนํธมฺมํ สมาทาย แปลว่า ยึดถือเมถุนธรรม. หลายบทว่า วิสุ ํ กมฺมนฺเต ปโยเชสุ ํ ความว่า หมู่สัตว์ต่างพากันประกอบการงานที่มีชื่อเสียง คือได้รับยกย่องมีการเลี้ยงโคและการค้าขายเป็นต้น.
    คำว่า สุทฺ<WBR>ทา สุทฺ<WBR>ทา นี้ อธิบายว่า พวกศูทรไปอย่างน่ารังเกียจ คือเสื่อมเร็วๆ เรียกว่า สุทฺ<WBR>ทํ สุทฺ<WBR>ทํ เพราะการงานที่ประพฤติต่ำ และการงานที่ประพฤติเล็กน้อยนั้น.
    บทว่า อหุ โข ได้แก่ โหติ โข.
    บทว่า สกํ ธมฺมํ ครหมาโน ความว่า กษัตริย์บางพระองค์ติเตียนขัตติยธรรมของ<WBR>ตน<WBR>เอง<WBR>อย่าง<WBR>นี้<WBR>ว่า ใครไม่อาจจะบริสุทธิ์ได้ด้วยเพียงแต่ให้ยกเศวตฉัตรขึ้น.
    ในทุกบทก็นัยนี้.
    ด้วยคำนี้ว่า อิเมหิ โข วาเสฏฺฐา จตูหิ มณฺฑเลหิ นี้ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดงคำนี้ว่า เหล่าสมณะย่อมไม่มีการแบ่งแยก. แต่เพราะใครๆ ไม่อาจจะบริสุทธิ์ด้วยชาติได้ ความบริสุทธิ์จะมีได้ก็ด้วยการปฏิบัติชอบของตนเอง ฉะนั้น การบังเกิดของพระสมณะจึงเกิดมีขึ้นได้ด้วยหมู่ทั้ง ๔ เหล่านี้
    หมู่ทั้งหลายเหล่านี้ย่อมอนุวัตตามหมู่สมณะ และหมู่ที่อนุวัตตามเหล่านั้นก็ย่อมอนุวัตตามธรรมเท่านั้น หาอนุวัตตามอธรรมไม่ ความจริง เหล่าสัตว์ทั้งหลายอาศัยหมู่สมณะ<WBR>บำเพ็ญ<WBR>สัมมา<WBR>ปฏิบัติ ย่อมถึงความบริสุทธิ์ได้ดังนี้.
    <CENTER>
    ทุจฺจริตาทิกถาวณฺณนา </CENTER> บัดนี้ พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงทำข้อความนั้นว่า ใครๆ ไม่อาจที่จะบริสุทธิ์ตามชาติได้ แต่เหล่าสัตว์จะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยการประพฤติชอบเท่านั้นดังนี้อย่างชัดเจน จึงเริ่มเทศนาว่า ขตฺติโยปิ โข วาเสฏฺฐา ดังนี้.
    บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิกมฺมสมาทานเหตุ ความว่า เพราะเหตุคือ<WBR>การ<WBR>สมา<WBR>ทาน<WBR>กรรม<WBR>ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฺฐิ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เพราะเหตุที่สมาทานมิจฉาทิฏฺฐิกรรม.
    บทว่า ทฺวยการี ความว่า มักทำกรรมทั้งสองฝ่ายอย่างนี้ คือบางเวลาทำกุศลกรรม บางเวลาทำอกุศลกรรม.
    บทว่า สุขทุกฺขปฏิสํเวที ความว่า ธรรมดาว่าสถานที่ที่ให้ผลพร้อมกันทั้งสองฝ่ายในเวลาพร้อมกัน หามีไม่. ก็ผู้ใดได้ทำอกุศลกรรมไว้มาก ทำกุศลกรรมไว้น้อย เขาอาศัยกุศลกรรมนั้นไปบังเกิดในตระกูลกษัตริย์หรือตระกูลพราหมณ์. ทีนั้น อกุศลกรรมนั้นย่อมทำเขาให้เป็นผู้บอดบ้าง ผู้ง่อยบ้าง ผู้เปลี้ยบ้าง เขาย่อมไม่ควรแก่ราชสมบัติ หรือเขาเป็นอย่างนี้แล้วในเวลาที่ได้รับการ<WBR>อภิเษก<WBR>แล้ว<WBR>ก็ไม่อาจที่จะใช้สอยโภคทรัพย์สมบัติได้.
    ต่อมาในเวลาตายของเขาทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งสองนั้น ก็ปรากฏเหมือนนักมวยปล้ำที่มีกำลังมาก ๒ คน.
    บรรดากรรมทั้งสองนั้นอกุศลกรรมมีกำลังมากกว่าจึงห้ามกุศลกรรมไว้เสียแล้วให้สัตว์นั้นบังเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน. ฝ่ายกุศลกรรมเป็นกรรมที่สัตว์จะต้องเสวยในปวัตติกาล. กุศลกรรมนั้นย่อมสร้างช้างมงคลบ้าง ม้ามงคลบ้าง โคมงคลบ้าง เขาย่อมได้เสวยสมบัตินั้น.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอากุศลกรรมนี้ จึงตรัสว่า สุขทุกฺขปฏิสํเวที โหติ ดังนี้.
    <CENTER>
    โพธิปกฺขิยธมฺมภาวนาวณฺณนา </CENTER> บทว่า สตฺตนฺนํ โพธิปกฺขิยานํ ความว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการซึ่งแบ่งเป็น ๗ หมวดตามลำดับด้วยอำนาจส่วนธรรมข้อต้นว่า สติปัฏฐาน ๔.
    บทว่า ภาวนมนฺวาย ความว่า ไปตามภาวนา. อธิบายว่า ปฏิบัติ ภาวนา.
    บทว่า ปรินิพฺพาติ ความว่า ย่อมดับ ด้วยการดับกิเลส.
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงวรรณะ ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้แล้ว กลับมาแสดงยกเอาพระขีณาสพผู้บรรลุสัจจะทั้ง ๔ ได้แล้วว่า เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทวดาและมนุษย์.
    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้นทำให้มั่น ตามทำนองการแสดงถ้อยคำแม้ของพรหมซึ่งโลกยกย่อง จึงตรัสพระดำรัสว่า อิเมสํ หิ วาเสฏฺฐา จตุนฺนํ วณฺณานํ เป็นต้น.
    คำว่า พฺราหฺมโณ เวสฺโส เป็นต้นได้อธิบายพิสดารในอัมพัฏฐสูตรแล้ว.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวาทะอันเป็นเครื่องทำลายความเป็นผู้<WBR>ประเสริฐ<WBR>ด้วย<WBR>กถา<WBR>มรรค<WBR>นี้<WBR>เพียง<WBR>เท่า<WBR>นี้ ด้วยประการฉะนี้ แล้วทรงหันกลับมาทรงแสดงเทศนาให้จบลงด้วยธรรมอันเป็นยอดคือพระอรหัตต์.
    บทว่า อตฺตมนา วาเสฏฐภารทฺวาชา ความว่า ก็วาเสฏฐะและภารทวาชะสามเณรพากันชื่นชมยินดีได้ชมเชยภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า สาธุ สาธุ ดังนี้.
    สามเณรทั้งสองนั้นกำลังน้อมระลึกถึงรู้ตามพระสูตรนี้นั่นเอง ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทาทั้งหลายฉะนี้แล.
    <CENTER>
    จบอรรถกถาอัคคัญญสูตรที่ ๔
    ----------------------------------------------------- </CENTER>
    .. อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค อัคคัญญสูตร จบ.
     
  13. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค</BIG> <CENTER class=D>อัคคัญญสูตร</CENTER></CENTER>


    <CENTER>อรรถกถาอัคคัญญสูตร </CENTER><CENTER>วาเสฏฺฐภารทฺวาชวณฺณนา </CENTER>อัคคัญญสูตร มีคำขึ้นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้
    ในอัคคัญญสูตรนั้น มีการพรรณนาบทที่ยังมีเนื้อความไม่ชัดดังต่อไปนี้.
    ในคำว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุปาสาเท นี้ มีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้.
    ได้ยินว่า ในอดีตกาลในที่สุดแสนกัลป์ อุบาสิกาคนหนึ่งนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ แล้วถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์แสนหนึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วหมอบลงแทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ตั้งความปรารถนาว่า
    ในอนาคตกาล ดิฉันจงได้เป็นอุปัฏฐากยิกาผู้เลิศของพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับพระองค์.
    อุบาสิกานั้นท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกตลอดแสนกัลป์ แล้วได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนาเทวีในเรือนของธนญชัยเศรษฐีผู้เป็นบุตรของ<WBR>เมณ<WBR>ฑ<WBR>กะ<WBR>เศรษฐี ในภัททิยนคร ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย. ในเวลาที่นางเกิดแล้ว หมู่ญาติได้ตั้งชื่อให้นางว่าวิสาขา.
    นางวิสาขานั้น เมื่อใดที่พระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปยังเมืองภัททิยนคร เมื่อนั้นนางไปทำการต้อนรับพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยเด็กหญิงอีก ๕๐๐ คน ในการได้เห็นพระผู้มีพระภาคเพียงครั้งแรกเท่านั้น นางก็ได้เป็นพระโสดาบัน. ในกาลต่อมา นางได้ไปสู่เรือนของ<WBR>ปุณณ<WBR>วัฒน<WBR>กุมาร<WBR>บุตรของ<WBR>มิ<WBR>คาร<WBR>เศรษฐี<WBR>ในเมืองสาวัตถี. มิคาร<WBR>เศรษฐี<WBR>ตั้งนางไว้ในตำแหน่งมารดา<WBR>ในเรือนนั้น. ฉะนั้น เขาจึงเรียกนางว่า มิคาร<WBR>มารดา.
    ก็เมื่อนางไปสู่ตระกูลสามี บิดาให้นายช่างทำเครื่องประดับชื่อว่ามหา<WBR>ลดา<WBR>ประสาธน์. เพชร ๓ ทะนาน แก้วมุกดา ๑๑ ทะนาน แก้วประพาฬ ๒๒ ทะนาน แก้วมณี ๓๓ ทะนานได้ถึงการประกอบเข้าในเครื่องประดับนั้น. เครื่องประดับนั้นได้สำเร็จลงด้วยรัตนะทั้งหลายเหล่านี้ดังกล่าวมานี้และด้วยรัตนะ ๗ สี เหล่าอื่นอีก. เครื่องประดับนั้นสวมบนศีรษะย่อมย้อยคลุมจนจดหลังเท้า. หญิงที่ทรงพลังช้างสาร ๕ เชือกได้เท่านั้น จึงจะสามารถทรงเครื่องประดับนั้นไว้ได้.
    ในกาลต่อมา นางวิสาขานั้นได้เป็นอุปัฏฐายิกาผู้เลิศของพระทสพล นางได้สละเครื่องประดับนั้นแล้ว ให้สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคด้วยทรัพย์เก้าโกฏิแล้ว ให้สร้างปราสาทบนภูมิภาคประมาณกรีสหนึ่ง. ปราสาทนั้นประดับด้วย<WBR>ห้อง<WBR>พัน<WBR>ห้อง<WBR>อย่าง<WBR>นี้<WBR>คือ ที่พื้นชั้นบนมี ๕๐๐ ห้อง ที่พื้นชั้นล่างก็มี ๕๐๐ ห้อง. นางคิดว่า ปราสาทล้วนอย่างเดียว ย่อมไม่งามดังนี้ จึงให้สร้างเรือน ๒ ชั้น ๕๐๐ หลัง ปราสาทเล็ก ๕๐๐ หลัง ศาลายาว ๕๐๐ หลัง แวดล้อมปราสาทนั้น. การฉลองวิหารได้เสร็จสิ้นลงโดยใช้เวลา ๔ เดือน.
    ขึ้นชื่อว่าการบริจาคทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนาของหญิงอื่น เหมือนการบริจาคของนางวิสาขาผู้ดำรงอยู่ในภาวะความเป็นมาตุคาม หามีไม่.
    การบริจาคทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนาของชายอื่น เหมือนการบริจาคของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ผู้ดำรงอยู่ในความเป็นบุรุษก็หามีไม่. เพราะอนาถปิณฑิกเศรษฐีนั้นสละทรัพย์ ๕๔ โกฏิ แล้วให้สร้างมหาวิหารชื่อว่าเชตวัน ในที่เช่นกับมหาวิหารของเมืองอนุราธบุรีในด้านทิศทักษิณของเมืองสาวัตถี.
    นางวิสาขาให้สร้างวิหารชื่อว่าบุพพารามในที่เช่นกับวิหารของนางอุตตมเทวี ในด้านทิศปราจีนแห่งเมืองสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยประทับอยู่ในเมืองสาวัตถีอยู่ประจำในวิหารทั้ง ๒ นี้ ด้วยความอนุเคราะห์ตระกูลทั้ง ๒ เหล่านี้. ภายในพรรษาหนึ่ง ประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร. ภายในพรรษาหนึ่ง ประทับอยู่ในปุพพารามวิหาร.
    ก็ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปุพพาราม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุปาสาเท ดังนี้.
    บทว่า วาเสฏฺฐภารทฺวาชา ได้แก่ วาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณร.
    ด้วยสองบทว่า ภิกฺขูสุปริวสนฺติ ความว่า สามเณรทั้งสองอยู่ปริวาสอย่างเดียรถีย์ หาอยู่ปริวาสเพื่อพ้นอาบัติไม่. แต่สามเณรเหล่านั้น เพราะมีอายุยังไม่บริบูรณ์ จึงปรารถนาความเป็นภิกษุอยู่. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกฺ<WBR>ขุ<WBR>ภาวํ อากงฺขมานา.
    แท้จริง สามเณรแม้ทั้งสองเหล่านั้นเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลชื่ออุทิจจะ มีทรัพย์สมบัติฝ่ายละ ๔๐ โกฏิ บรรลุถึงฝั่งแห่งไตรเพท ได้ฟังวาเสฏฐสูตรในมัชฌิมนิกายได้ถึงสรณะ ฟังเตวิชชสูตรแล้วได้บรรพชา ในเวลานี้ปรารถนาความเป็นภิกษุจึงอยู่ปริวาส.
    บทว่า อพฺโภกาเส จงฺกมติ ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงงดงามด้วยพระรัศมีอันมีวรรณะ ๖ ซึ่งแผ่ซ่านออกไปในกลางหาว เปรียบเสมือนทองคำอันมีค่าสูง ๑๑ ศอก ซึ่งบุคคลดึงมาด้วยเชือกยนต์ฉะนี้ เสด็จจงกรมไปๆ มาๆ อยู่ที่เงาของปราสาทในส่วนทิศบูรพาของปราสาทซึ่งติดต่อกันกับทางด้านทิศอุดรและทิศทักษิณ.
    บทว่า อนุจงฺกมึสุ ความว่า สามเณรทั้งสองประคองอัญชลีน้อมสรีระลง<WBR>แล้ว<WBR>จงกรม<WBR>ตาม<WBR>พระ<WBR>ผู้มีพระภาค.
    บทว่า วาเสฏฐํ อามนฺเตสิ ความว่า วาเสฏฐะและภารทวาชะสามเณรเหล่านั้น วาเสฏฐะสามเณรฉลาดกว่า ย่อมรู้ถึงสิ่งที่ควรยึดถือเอาและสิ่งที่ควรสละ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกวาเสฏฐสามเณรนั้นมา.
    บทว่า ตุมฺเห ขฺวตฺถ ตัดบทเป็น ตุมฺเห โข อตฺถ.
    บทว่า พรฺาหฺมณชจฺจา ความว่า เป็นพราหมณ์โดยเชื้อชาติ.
    บทว่า พฺราหฺมณกุลีนา ความว่า มีตระกูล คือสมบูรณ์ด้วยตระกูล<WBR>ในหมู่พราหมณ์.
    บทว่า พฺราหฺมณกุลา ความว่า จาก<WBR>ตระกูล<WBR>พราหมณ์. อธิบายว่า ละตระกูล<WBR>พราหมณ์ซึ่งสมบูรณ์ด้วยโภคะเป็นต้น.
    บทว่า น อกฺโกสนฺติ ความว่า ย่อมไม่ด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐.
    บทว่า น ปริภาสนฺติ ความว่า ย่อมไม่บริภาษด้วยการกล่าวถึงความเสื่อมซึ่งมีวิธีต่างๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมด่า ย่อมบริภาษสามเณรเหล่านี้ดังนี้แท้จึงได้ตรัสถาม ด้วยประการฉะนี้.
    ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถาม.
    ตอบว่า พระองค์ทรงดำริว่า สามเณรเหล่านี้ เราไม่ถามจะไม่พูดขึ้นก่อน เมื่อเราไม่กล่าว ถ้อยคำก็จะไม่เกิดขึ้นดังนี้ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสถามเพื่อให้ถ้อยคำตั้งขึ้น.
    บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาตใช้ในคำอย่างเดียวกัน.
    อธิบายว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์<WBR>ทั้ง<WBR>หลายย่อมด่า ย่อมบริภาษ ข้าพระองค์ทั้งสองโดยส่วนเดียวแท้.
    บทว่า อตฺตรูปาย ความว่า ตามสมควรแก่ตน.
    บทว่า ปริปุณฺณาย ความว่า ที่ยกบทและพยัญชนะมากล่าวบริบูรณ์ตามความชอบใจของตน.
    บทว่า โน อปริปุณฺณาย ความว่า ที่ไม่หยุดอยู่ในระหว่างกล่าวติดต่อไปตลอด.
    ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พวกพราหมณ์จึงด่าสามเณรเหล่านี้.
    ตอบว่า เพราะไม่ตั้งอยู่ (ในฐานะของตน).
    สามเณรเหล่านี้เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้เลิศบรรลุถึงฝั่งไตรเพทมีชื่อเสียงปรากฏ ได้รับยกย่องในระหว่างพราหมณ์ทั้งหลายในชมพูทวีป. เพราะข้อที่สามเณรทั้งสองนั้นบวช บุตรของพราหมณ์อื่นเป็นอันมากก็ได้บวชตาม.
    ลำดับนั้น พวกพราหมณ์ทั้งหลายคิดว่า เราทั้งหลายหมดที่พึ่งพาอาศัยดังนี้ เพราะข้อที่ตนเองไม่มีที่พึ่งนี้เอง พบสามเณรเหล่านั้นที่ประตูบ้านก็ดี ภายในบ้านก็ดีจึงกล่าวว่า พวกท่านทำลายลัทธิของพราหมณ์ พวกท่านเป็นผู้ติดในรส จึงท่องเที่ยวตามหลังสมณะโล้นดังนี้เป็นต้น และกล่าวคำเป็นต้นว่า พราหมณ์เท่านั้นมีวรรณะประเสริฐสุด ดังนี้ อันมาในพระบาลีแล้วจึงด่า.
    ถึงแม้เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นจะพากันด่า สามเณรทั้งหลายก็ไม่ได้ทำความโกรธหรือความอาฆาต เพราะข้อที่ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ทั้งหลายย่อมพากันด่าพากันบริภาษพวกข้าพระองค์ดังนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถามอาการคือการด่า จึงตรัสถามว่า ก็เธอกล่าวว่าอย่างไรดังนี้. สามเณรเหล่านั้นเมื่อจะกราบทูลอาการคือการด่า จึงกราบทูลว่า พฺราหฺมณา ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสฏฺโฐ วณฺโณ ดังนี้ ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมแสดงว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐที่สุดดังนี้ ในฐานะเป็นที่ปรากฏแห่งชาติและโคตรเป็นต้น.
    บทว่า หีนา อญฺเญ วณฺณา ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า วรรณะสามนอกนี้เลวทรามต่ำช้าดังนี้.
    บทว่า สุกฺโก แปลว่า ขาว.
    บทว่า กณฺโห แปลว่า ดำ.
    บทว่า สุชุฌนฺติ ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ ในฐานะมีชาติและโคตรเป็นต้นปรากฏ.
    บทว่า พฺรหฺมุโน ปุตฺตา ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรของท้าวมหาพรหม.
    บทว่า โอรสา มุขโต ชาตา ความว่า อยู่ในอก ออกจากปาก (ของท้าวมหาพรหม).
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นโอรส เพราะอันท้าวมหาพรหมกระทำไว้ในอกแล้วให้เจริญแล้ว.
    บทว่า พฺรหฺมชา ความว่า บังเกิดแล้วจากท้าวมหาพรหม.
    บทว่า พฺรหฺมนิมฺมิตา ความว่า อันท้าวมหาพรหมนิรมิตขึ้น.
    บทว่า พฺรหฺมทายาทา ความว่า เป็นทายาทของพระพรหม.
    บทว่า หีนมตฺถวณฺณํ อชฺฌูปคตา ความว่า พวกท่านได้เป็นผู้เข้าถึงวรรณะที่เลว.
    บทว่า มุณฺฑเก สมณเก ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายนินทา รังเกียจ จึงกล่าว. หากล่าวหมายเอาความเป็นคนโล้นและความเป็นสมณะไม่.
    บทว่า อิพฺเก ได้แก่คหบดีทั้งหลาย.
    บทว่า กณฺเห คือดำ.
    บทว่า พนฺธู แปลว่า เป็นเผ่าพันธุ์ของมาร คือเป็นฝักฝ่ายของมาร. บทว่า ปาทาปจฺเจ ความว่า ผู้เป็นเหล่ากอแห่งพระบาทของท้าวมหาพรหม. อธิบายว่า เกิดจากพระบาท.
    คำว่า โว ในคำว่า ตคฺฆ โว วาเสฏฺฐ พฺราหฺมณา โปราณํ อสรนฺตา เอวมาหํสุ นี้ เป็นเพียงนิบาต
    อีกอย่างหนึ่ง เป็นฉัฏฐีวิภัติ.
    อธิบายว่า พราหมณ์ทั้งหลายระลึกเรื่องเก่าของท่านไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนั้น.
    บทว่า โปราณํ ความว่า วงศ์แห่งความประพฤติ ผู้อุบัติขึ้นในโลกที่รู้กันว่าเลิศเป็นของเก่า.
    บทว่า อสรนฺตา แปลว่า ไม่ได้.
    มีคำอธิบายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วาเสฏฐะ พราหมณ์ทั้งหลายระลึกไม่ได้ รู้ไม่ได้ซึ่งการอุบัติขึ้นในโลกอันเป็นของเก่าของท่าน จึงพากันกล่าวอย่างนี้.
    คำว่า ทิสฺสนฺติ โข ปน ดังนี้เป็นต้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้เพื่อประโยชน์แก่การทำลายความเห็นของพราหมณ์เหล่านั้น.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมณิโย ความว่า นางพราหมณีทั้งหลายที่พวกพราหมณ์นำมาสู่ตระกูลด้วยอำนาจการอาวาหมงคลและวิวาหมงคล เพื่อประโยชน์แก่การได้บุตรก็ปรากฏอยู่.
    ก็โดยสมัยต่อมา นางพราหมณีทั้งหลายเหล่านั้นแลก็เป็นหญิงมีระดู. อธิบายว่า มีระดูเกิดขึ้น.
    บทว่า คพฺภินิโย แปลว่ามีครรภ์.
    บทว่า วิชายมานา แปลว่าคลอดบุตรและธิดาอยู่.
    บทว่า ปายมานา ความว่า ให้เด็กทารกดื่มน้ำนมอยู่.
    บทว่า โยนิชาว สมานา ความว่า เป็นผู้เกิดแล้วโดยทางช่องคลอดของนางพราหมณีทั้งหลายแท้.
    บทว่า เวมาหํสุ ความว่า ย่อมกล่าวอย่างนี้.
    ถามว่า กล่าวว่า อย่างไร.
    ตอบว่า กล่าวว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐที่สุด ฯลฯ เป็นทายาทของพระพรหม.
    ถามว่า ก็ถ้าคำพูดของพราหมณ์เหล่านั้นพึงเป็นคำจริงแล้วไซร้ ท้องของนางพราหมณีพึงเป็นอกของท้าวมหาพรหม ช่องคลอดของนางพราหมณีก็พึงเป็นพระโอษฐ์ของท้าวมหาพรหมละซิ.
    ตอบว่า ก็ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนั้น.
    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า เต จ พฺรหฺมานญฺเจว อพฺภาจิกฺขนฺติ ดังนี้.


    <CENTER>
    จตุวณฺณสุทฺธิวณฺณนา </CENTER>พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมุขเฉทกวาทะนี้ด้วยประสงค์ว่า ขอพราหมณ์ทั้งหลายอย่าได้เพื่อกล่าวว่า พวกเราอยู่ในพระอุระออกมาจากพระโอษฐ์ของท้าวมหาพรหมดังนี้ ด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า วรรณะแม้ทั้งสี่ สมาทานประพฤติกุศลธรรมแท้ จึงบริสุทธิ์ได้ดังนี้อีก จึงตรัสว่า จตฺตาโรเม วาเสฏฺฐ วณฺณา เป็นต้น.
    บทว่า อกุสลสํขาตา ความว่า นับว่าเป็น<WBR>อกุศล<WBR>ดังนี้ หรือ<WBR>เป็น<WBR>ส่วน<WBR>แห่ง<WBR>อกุศล.
    ในทุกๆ บท ก็นัยนี้.
    บทว่า น อลมริยา ความว่า ไม่สามารถในความเป็นพระอริยะได้.
    บทว่า กณฺหา แปลว่า มีปกติดำ.
    บทว่า กณฺหวิปากา ความว่า วิบากของธรรมเหล่านั้น ดำ. อธิบายว่า เป็นทุกข์.
    บทว่า ขตฺติเยปิ เต ความว่า ธรรมเหล่านั้นมีอยู่แม้ในพระมหากษัตริย์.
    บทว่า เอกจฺเจ ได้แก่ เอกสฺมึ.
    ในทุกๆ บทก็นัยนี้.
    บทว่า สุกฺกา แปลว่า ขาว ด้วยภาวะที่หมดกิเลส.
    บทว่า สุกฺกวิปากา ความว่า แม้วิบากของธรรมเหล่านั้นเป็นของขาว. อธิบายว่า ให้ผลเป็นสุข.
    บทว่า อุภยโพยฺกิณฺเณสุ ความว่า รวมกันคือเจือปนกัน ในชน ๒ จำพวก.
    ถามว่า ในชน ๒ จำพวกเหล่าไหน.
    ตอบว่า ในธรรมฝ่ายดำที่วิญญูชนติเตียนพวกหนึ่ง และในธรรมฝ่ายขาวที่วิญญูชนสรรเสริญพวกหนึ่ง.
    ในบทว่า ยเทตฺถ พฺราหฺมณา เอวมาหํสุ นี้มีวินิจฉัยว่า
    พราหมณ์ทั้งหลาย แม้ประพฤติในธรรมทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาวนั้นย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า พรฺาหฺมโณว เสฏฺโฐ วณฺโณ เป็นต้น.
    หลายบทว่า ตํ เนสํ วิญญู นาชานนฺติ ความว่า ชนผู้เป็นบัณฑิตในโลก ย่อมไม่ยินดี. อธิบายว่า ย่อมไม่สรรเสริญ.
    ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร.
    ในคำว่า อิเมสญฺหิ วาเสฏฺฐา เป็นต้นนี้ มีความสังเขปดังนี้.
    หากมีคำถามว่า ท่านกล่าวคำว่า นานุชานนฺติ ดังนี้ไว้ เพราะเหตุไร.
    พึงตอบว่า เพราะบรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ วรรณะใดเป็นภิกษุผู้อรหันต์ ฯลฯ พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ วรรณะนั้นย่อมปรากฏว่าเป็นเลิศกว่าวรรณะทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่เลย ฉะนั้น บัณฑิตผู้รู้ทั้งหลายจึงไม่รับรองคำพูดของพราหมณ์เหล่านั้น.
    พึงทราบวินิจฉัยในบท อรหํ เป็นต้นต่อไป
    ที่ชื่อว่าอรหันต์ เพราะเหตุมีความที่กิเลสทั้งหลายอยู่ห่างไกล.
    ที่ชื่อว่าขีณาสพ เพราะความที่อาสวะทั้งหลายสิ้นไป.
    พระเสขะ ๗ จำพวกและกัลยาณปุถุชน ชื่อ<WBR>ว่า<WBR>ย่อม<WBR>อยู่<WBR>ประพฤติ<WBR>พรหม<WBR>จรรย์.
    ก็ภิกษุนี้ผู้มีธรรมเครื่องอยู่อันอยู่จบแล้ว ฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้อยู่แล้ว.
    กิจที่จะพึงกระทำมีการกำหนดรู้ในสัจจะทั้ง ๔ เป็นต้นด้วยมรรค ๔ อันภิกษุนั้นทำแล้ว ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่ามีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว. กิเลสภาระและขันธภาระอันภิกษุนั้นปลงลงแล้ว ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่าปลงภาระได้แล้ว.
    บทว่า โอหิโต แปลว่า ปลงลงแล้ว.
    ประโยชน์อันดี หรือประโยชน์อันเป็นของตน ฉะนั้น จึงชื่อว่าประโยชน์<WBR>ตน. ประโยชน์<WBR>ของ<WBR>ตน<WBR>อัน<WBR>ภิกษุนั้นตามบรรลุได้แล้ว ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่าตามบรรลุประโยชน์ตนแล้ว. ตัณหา ท่านเรียกว่าสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ. ตัณหานั้นของภิกษุนั้นสิ้นแล้ว ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่ามีสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว.
    บทว่า สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต ความว่า พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบคือโดยเหตุโดยการณ์.
    บทว่า ชเนตสมึ ตัดบทเป็น ชเน เอตสฺมึ อธิบายว่า ในโลกนี้.
    หลายบทว่า ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อภิสมฺปรายญฺจ ความว่า ในอัตภาพนี้ และในอัตภาพอันสัตว์จะพึงถึงในโลกหน้า.
    บทว่า อนนฺตรา ความว่า เว้นแล้วจากระหว่าง. อธิบายว่า เป็นเช่นเดียวกันด้วยตระกูลของตน.
    บทว่า อนุยนฺตา ความว่า เป็นไปในอำนาจ.
    บทว่า นิปจฺจการา ความว่า พวกศากยะทั้งหลายที่แก่กว่าย่อมแสดงการนอบน้อม ที่หนุ่มกว่าย่อมทำกิจมีการอภิวาทเป็นต้น.
    บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า สามีจิกมฺมํ ดังนั้นคือ กรรมอันสมควรมีการกระทำวัตรต่อพระเจ้าปเสนทินั้นเป็นต้น.
    บทว่า นิวิฏฺฐา ความว่า ตั้งมั่นแล้ว คือดำรงอยู่อย่างไม่หวั่นไหว.
    ถามว่า ก็ศรัทธาเห็นปานนี้ ย่อมมีแก่ใคร.
    ตอบว่า ย่อมมีแก่พระโสดาบัน.
    ก็พระโสดาบันนั้นมีศรัทธาตั้งมั่น แม้เมื่อจะถูกเขาเอาดาบตัดศีรษะ ก็ยังไม่กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้าดังนี้บ้าง พระธรรมไม่ใช่พระธรรมดังนี้บ้าง พระสงฆ์ไม่เป็นพระสงฆ์ดังนี้บ้าง. พระโสดาบันย่อมเป็นผู้มีศรัทธาดำรงมั่นแท้ เปรียบเสมือนสูรอัมพัฏฐอุบาสกฉะนั้น.
    นัยว่า อุบาสกนั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เป็นพระโสดาบันได้กลับไปเรือน. ทีนั้น มารเนรมิตพระพุทธรูปอันประดับด้วยลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ยืน<WBR>อยู่<WBR>ที่<WBR>ประตู<WBR>เรือน<WBR>ของ<WBR>อุบาสก<WBR>นั้น แล้ว<WBR>ส่ง<WBR>สาส์น<WBR>ไปว่า พระ<WBR>ศาสดา<WBR>เสด็จ<WBR>มา<WBR>ดังนี้.
    สูรอุบาสกคิดว่า เราฟังธรรมในสำนักของพระศาสดามาเดี๋ยวนี้เอง อะไรจักมีอีกหนอดังนี้แล้ว เข้าไปหาไหว้ด้วยสำคัญว่าเป็นพระศาสดา แล้วจึงได้ยืนอยู่.
    มารกล่าวว่า อัมพัฏฐะ คำใดที่เรากล่าวแก่ท่านว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้ คำนั้นเรากล่าวผิดไป เพราะเรายังไม่พิจารณาจึงกล่าวคำนั้นไป ฉะนั้นเธอจงถือเอาว่า รูปเที่ยง ฯลฯ วิญญาณเที่ยงดังนี้เถิด.
    สูรอุบาสกคิดว่า ข้อที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่พิจารณา ไม่ทำการ<WBR>ตรวจ<WBR>ตรา<WBR>อย่าง<WBR>ประ<WBR>จักษ์<WBR>แล้ว พึงตรัสอะไรไป นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ มารนี้มาเพื่อมุ่งทำลายเราอย่างแน่นอน.
    ลำดับนั้น สูรอุบาสกจึงกล่าวกะมารนั้นว่า ท่านเป็นมารใช่ไหม ดังนี้. มารนั้นไม่อาจที่จะกล่าวมุสาวาทได้ จึงรับว่า ใช่เราเป็นมาร ดังนี้. อุบาสกถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงมา. มารตอบว่า เรามาเพื่อทำศรัทธาของท่านให้หวั่นไหว.
    อุบาสกกล่าวว่า ดูก่อนมารผู้ใจบาปอำมหิต ท่านผู้เดียวนั้นจงหยุดอยู่ก่อน พวกมารเช่นท่าน ร้อยก็ดี พันก็ดี แสนก็ดี ไม่สามารถจะทำศรัทธาของเราให้หวั่นไหวได้ ชื่อว่าศรัทธาอันมาแล้วด้วยมรรค เป็นของมั่นคงไม่หวั่นไหวเหมือนภูเขาสิเนรุซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินอันล้วนแล้วด้วยศิลา ท่านจะทำอะไรในการมานี้ ดังนี้แล้วปรบมือขึ้น.
    มารนั้น เมื่อไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ จึงหายไปในที่นั้นนั่นเอง.
    คำว่า นิวิฏฺฐา นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสหมายเอาสัทธาอย่างนั้น.
    บทว่า มูลชาตา ปติฏฺฐิตา ความว่าดำรงมั่นแล้วด้วยมรรคนั้นอันเป็นมูลเพราะมูลรากคือมรรคเกิดพร้อมแล้ว.
    บทว่า ทฬฺหา แปลว่า มั่นคง.
    บทว่า อสํหาริยา ความว่า อันใครๆ ไม่พึงอาจเพื่อจะให้หวั่นไหวได้ เปรียบเหมือนเสาเขื่อนที่เขาฝังไว้อย่างนั้น.
    บทว่า ตสฺเสตํ กลฺลํ วจนาย นั้น ความว่า คำนั้นควรที่จะเรียกพระอริยสาวก.
    ท่านกล่าวว่าอย่างไร.
    ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า เราเป็นบุตรเกิดแต่อกของพระผู้มีพระภาค ดังนี้.
    ความจริง พระอริยสาวกนั้นอาศัยพระผู้มีพระภาคจึงเกิดขึ้นในภูมิของพระอริยะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นบุตรของพระผู้มีพระภาค และชื่อว่าเป็นโอรสเกิดแต่พระโอษฐ์ เพราะอยู่ในอก<WBR>แล้ว<WBR>ดำรง<WBR>อยู่<WBR>ในมรรคและผลด้วยอำนาจ<WBR>การ<WBR>กล่าว<WBR>ธรรม<WBR>อัน<WBR>ออก<WBR>มา<WBR>จาก<WBR>พระ<WBR>โอษฐ์ ชื่อว่าเกิดแต่ธรรม เพราะเกิดจากอริยธรรม และชื่อว่าอันธรรมเนรมิตขึ้น เพราะถูกอริยนิรมิตขึ้น. ชื่อว่าธรรมทายาท เพราะควรรับมรดก คือนวโลกุตตรธรรม.
    บทว่า ตํ กิสฺส เหตุ ความว่า
    หากมีคำถามว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภควโตมฺหิ ปุตฺโต ดังนี้แล้ว ตรัสอีกว่า ธมฺมโช ธมฺมนิมฺมิโต ดังนี้อีก คำนั้นพระองค์ตรัสเพราะเหตุไร.
    บัดนี้ เมื่อจะแสดงเนื้อความของคำนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตถาคตสฺส เหตํ ดังนี้เป็นต้น.
    ในบาลีประเทศนั้น คำว่า ธมฺมกาโย อิติปิ ความว่า เพราะเหตุไร พระตถาคตจึงได้รับขนานนามว่า ธรรมกาย. เพราะพระตถาคตทรงคิดพระพุทธพจน์คือ<WBR>พระ<WBR>ไตร<WBR>ปิฎก<WBR>ด้วย<WBR>พระ<WBR>หทัย<WBR>แล้ว ทรงนำออกแสดงด้วยพระวาจา. ด้วยเหตุนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคจึงจัดเป็นธรรมแท้เพราะสำเร็จด้วยธรรม. พระธรรมเป็นกายของพระผู้มีพระภาคนั้นดังพรรณนามานี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงชื่อว่า<WBR>ธรรม<WBR>กาย. ชื่อว่า<WBR>พรหม<WBR>กาย เพราะมีธรรมเป็นกายนั่นเอง แท้จริง พระธรรมท่านเรียกว่าพรหม เพราะเป็นของประเสริฐ.
    บทว่า ธมฺมภูโต ได้แก่ สภาวธรรม. ชื่อว่า พรหมภูต เพราะเป็นผู้เกิดจากพระธรรมนั่นเอง.
    พระผู้มีพระภาค ครั้นทรงแสดงวาทะอันเป็นเครื่องทำลายความเป็น<WBR>ผู้<WBR>ประเสริฐ<WBR>ด้วย<WBR>พระดำรัสมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวาทะอันเป็นเครื่องทำลายความเป็นผู้ประเสริฐโดยนัยอื่นอีก จึงตรัสว่า โหติ โข โสวาเสฏฺฐา สมโย ดังนี้เป็นต้น
    บรรดาถ้อยคำเหล่านั้น กถาว่าด้วยสังวัฏฏะและวิวัฏฏะ ได้พรรณนาโดยพิสดารแล้วในพรหม<WBR>ชาล<WBR>สูตร.
    บทว่า อิตฺถตฺตํ อาคจฺฉนฺติ ความว่า ย่อมมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือสู่ความเป็นมนุษย์.
    บทว่า เต จ โหนฺติ มโนมยา ความว่า สัตว์เหล่านั้นแม้มาบังเกิดในมนุสโลกนี้ ก็เป็นพวกโอปปาติกกำเนิด บังเกิดขึ้นด้วยใจเท่านั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้มีความสำเร็จทางใจ. ปีติเท่านั้นย่อมให้สำเร็จกิจด้วยอาหารแก่สัตว์เหล่านั้นแม้ในมนุสสโลกนี้ เหมือนในพรหมโลก ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่ามีปีติเป็นภักษา. พึงทราบเหตุมีรัศมีเองเป็นต้นโดยนัยนี้.


    <CENTER>
    รสปฐวิปาตุภาววณฺณนา </CENTER>บทว่า เอโกทกีภูตํ ความว่า จักรวาฬทั้งหมดเป็นที่ที่มีน้ำเหมือนกัน.
    บทว่า อนฺธกาโร แปลว่า ความมืด.
    บทว่า อนฺธการติมิสา ความว่า กระทำความมืด คือมีความมืดมิดด้วยการห้ามการบังเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณ.
    บทว่า สมนฺตานิ ความว่า ดำรงอยู่ คือแผ่ไปรอบ.
    บทว่า ปยตตฺตสฺส แปลว่าน้ำนมที่เคี่ยวให้งวด.
    บทว่า วณฺณสมฺปนฺนา ความว่า ถึงพร้อมด้วยสี. ก็สีของง้วนดินนั้นได้เป็นเหมือนดอกกรรณิการ์.
    บทว่า คนฺธสมฺปนฺนา ความว่า ถึงพร้อมด้วยกลิ่น คือกลิ่นอันเป็นทิพย์ย่อมฟุ้งไป.
    บทว่า รสสมฺปนฺนา ความว่า ถึงพร้อมด้วยรส เหมือนใส่โอชาทิพย์ลงไปฉะนั้น.
    บทว่า ขุทฺทกมธุ ํ ความว่า น้ำผึ้งอันแมลงผึ้งตัวเล็กๆ ทำไว้.
    บทว่า อเนฬกํ ความว่า มีโทษออกแล้ว คือเว้นจากไข่แมลงวัน.
    บทว่า โลลชาติโก ความว่า มีความโลภเป็นสภาพ. แม้ในกัลป์ถัดไปที่ล่วงไปแล้วก็มีความโลภเหมือนกัน เราเกิดอัศจรรย์จึงกล่าวว่า อมฺโภ ดังนี้.
    บทว่า กิเมวิทํ ภวิสฺสติ ความว่า สีก็ดี กลิ่นก็ดี ของง้วนดินนั้นน่าชอบใจ แต่รสของง้วนดินนั้นจักเป็นอย่างไรหนอ. ผู้ที่เกิดความโลภในง้วนดินนั้นก็เอานิ้วมือจับง้วนดินนั้นมาชิมดู ครั้นเอามือจับแล้วก็เอามาไว้ที่ลิ้น.
    บทว่า อจฺฉาเทสิ ความว่า ง้วนดินนั้นพอเขาเอามาวางไว้ที่ปลายลิ้นก็แผ่ซ่านไปทั่ว เส้นเอ็นรับรสอาหาร ๗,๐๐๐ เส้นเป็นของน่าชอบใจตั้งอยู่.
    บทว่า ตณฺหา จสฺส โอกฺกมิ ความว่า ก็ความอยากในรสในง้วนดินนั้นก็เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความโลภนั้น.
    หลายบทว่า อาลุปฺปกากรํ อุปกฺกมึสุ ปริภุญฺชิตุ ํ ความว่า เขาปั้นเป็นคำ คือแบ่งออกเป็นก้อนแล้วเริ่มที่จะบริโภค.


    <CENTER>
    จนฺทิมสุริยาทิปาตุภาววณฺณนา </CENTER>พระจันทร์และพระอาทิตย์ ชื่อว่า จนฺทิมสุริยา.
    บทว่า ปาตุรเหสํ แปลว่าปรากฏขึ้น.
    ก็บรรดาพระจันทร์และพระอาทิตย์นั้นอย่างไหนปรากฏก่อน ใครอยู่ในที่ไหน ประมาณของใครเป็นอย่างไร ใครอยู่สูง ใครหมุนเร็ว วิถีทางของพระจันทร์และพระอาทิตย์นั้นเป็นอย่างไร เที่ยวไปได้อย่างไร ทำแสงสว่างในที่มีประมาณเท่าใด.
    พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองไม่ปรากฏพร้อมกัน. พระอาทิตย์ปรากฏขึ้นก่อน.
    ก็เมื่อรัศมีเฉพาะตัวของสัตว์เหล่านั้นได้หายไป ความมืดมนจึงได้มีขึ้น. สัตว์เหล่านั้นทั้งกลัวทั้งสะดุ้งคิดกันว่าคงจะดีหนอ ถ้าแสงสว่างปรากฏขึ้นมาดังนี้ ต่อแต่นั้นดวงอาทิตย์อันให้ความกล้าเกิดขึ้นแก่มหาชนก็ได้ตั้งขึ้น. ด้วยเหตุนั้น ดวงอาทิตย์นั้นจึงได้นามว่า สุริโย ดังนี้.
    เมื่อดวงอาทิตย์นั้นทำแสงสว่างตลอดวันแล้วอัสดงคตไป ความมืดมนก็กลับมีขึ้นอีก. สัตว์เหล่านั้นพากันคิดว่า คงจะเป็นการดีหนอ ถ้าหากว่าพึงมีแสงสว่างอย่างอื่นเกิดขึ้นดังนี้. ทีนั้นดวงจันทร์รู้ความพอใจของสัตว์เหล่านั้นจึงเกิดขึ้นมา. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ดวงจันทร์จึงได้นามว่า จนฺโท ดังนี้. <!--
                   บรรดาดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น ดวงจันทร์อยู่ในวิมานภายในล้วน แล้วด้วยแก้วมณีวิมานภายนอกล้วนแล้วด้วยเงินทั้งภายในและภายนอกนั้นเย็นแท้.ดวงอาทิตย์อยู่ในวิมาน ภายในล้วนแล้วด้วยทอง วิมานภายนอกล้วนแล้วด้วยแก้วผลึก.ทั้งภายในและภายนอกร้อนจัด.
                   ว่าโดยประมาณ ดวงจันทร์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๙ โยชน์ เส้นรอบวงยาว ๒๕๐ โยชน์.ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐ โยชน์ เส้นรอบวงยาว ๒๕๐ โยชน์.
                   ดวงจันทร์อยู่ข้างล่าง พระอาทิตย์อยู่ข้างบน.ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นอยู่ห่างกันโยชน์หนึ่ง. จากส่วนล่างของพระจันทร์ถึงส่วนบนของดวงอาทิตย์ มีระยะ ๑๐๐ โยชน์.
                   ดวงจันทร์หมุนไปทางด้านตรงช้า แต่หมุนไปทางด้านขวางเร็วหมู่ดาว<wbr>นักษัตร<wbr>ก็<wbr>หมุนไปในสองด้าน ดวงจันทร์หมุนไปใกล้หมู่ดาวนั้นๆ เหมือนแม่โคเข้าไปหาลูกโคฉะนั้น.ส่วนหมู่ดาวไม่ทิ้งที่อยู่ของตนเลย.การหมุนไปของดวงอาทิตย์ทางตรงเร็ว ไปทางขวางช้า.ดวงอาทิตย์นี้<wbr>โคจร<wbr>ห่าง<wbr>ดวง<wbr>จันทร์<wbr>แสนโยชน์ ในวันปาฏิบทจากวันอุโบสถกาฬปักษ์.เวลานั้นดวงจันทร์ปรากฏเหมือนรอยเขียนฉะนั้น. ดวงอาทิตย์โคจรห่างไปเป็นระยะแสนโยชน์ในปักษ์ที่ ๒ ดวงอาทิตย์ได้โคจรห่างไป ดังที่กล่าวแล้วนี้เป็นระยะแสนๆ โยชน์จนถึงวันอุโบสถ. ลำดับนั้นดวงจันทร์ก็ใหญ่ขึ้นโดยลำดับ ไปเต็มดวงในวันอุโบสถ.โคจร<wbr>ห่าง<wbr>ออก<wbr>ไป<wbr>แสนโยชน์ในวันปาฏิบทอีก.โคจร<wbr>ห่าง<wbr>ออก<wbr>ไป<wbr>เป็นระยะแสนโยชน์ ในปักษ์ที่ ๒ ดวงอาทิตย์โคจรห่างไปดังกล่าวแล้วนี้เป็นระยะแสนๆ โยชน์จนถึงวันอุโบสถ.ทีนั้นดวงจันทร์อับแสงลงโดยลำดับแล้วไม่ปรากฏทั้งดวงในวันอุโบสถ.ดวงอาทิตย์ลอยอยู่เบื้องบนให้ดวงจันทร์อยู่เบื้องล่างย่อมปกปิดดวงจันทร์ไว้ได้เหมือนภาชนะเล็กถูกถาดใหญ่ปิดไว้ฉะนั้น.เงาของดวงจันทร์ไม่ปรากฏเหมือนเงาเรือนไม่ปรากฏในเวลาเที่ยง.ดวงอาทิตย์นั้นเมื่อเงาไม่ปรากฏ แม้ตัวเองก็ไม่ปรากฏ เหมือนประทีปในกลางวันไม่ปรากฏแก่หมู่ชนผู้ยืนอยู่ไกลฉะนั้น.
                   ก็พึงทราบวินิจฉัยใน คำว่าวิถีของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์เป็นอย่างไร
                   ต่อไปนี้วิถีมีดังนี้คือวิถีแพะ วิถีช้าง วิถีของโค.
                   บรรดาวิถีเหล่านั้น น้ำเป็นของปฏิกูลสำหรับแพะทั้งหลาย แต่น้ำนั้นเป็นที่ชอบใจของช้างทั้งหลาย เป็นที่ผาสุกของฝูงโคเพราะมีความเย็นและความร้อนเสมอกัน. ฉะนั้น ในเวลาใด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของแพะเวลานั้น ฝนไม่ตกเลยแม้สักเม็ดเดียว เมื่อใดดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของช้างเมื่อนั้นฝนจะตกแรงเหมือนท้องฟ้ารั่ว.เมื่อใดดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของโค เมื่อนั้นความสม่ำเสมอของฤดูก็ย่อมถึงพร้อม.
                   ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อมเคลื่อนอยู่ภายนอกภูเขาสิเนรุเป็นเวลา ๖ เดือน และ<wbr>โคจร<wbr>อยู่<wbr>ภาย<wbr>ใน<wbr>อีก ๖ เดือน.ความจริง ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นย่อมโคจรไปใกล้ภูเขาสิเนรุในเดือน ๘.แต่นั้นเคลื่อนออกไปโคจรอยู่ในภายนอก ๒ เดือนแล้ว เคลื่อนไปอยู่โดยท่ามกลางในต้นเดือน ๑๒.แต่นั้นเคลื่อนมุ่งหน้าต่อจักรวาฬแล้วโคจรอยู่ใกล้ๆ จักรวาฬเป็นเวลา ๓ เดือน แล้วเคลื่อนออกห่างมาอีก ไปอยู่ตรงกลางจักรวาฬในเดือน ๕ต่อแต่นั้นในเดือนอื่นก็เคลื่อนมุ่งหน้าต่อภูเขาสิเนรุ แล้วไปโคจรอยู่ใกล้ๆ ภูเขาสิเนรุในเดือน ๘ อีก.
                   พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ทำแสงสว่างในที่นี้ประมาณเท่าใด ดังนี้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมทำแสงสว่างในทวีปทั้ง ๓ โดยพร้อมกัน.
                   กระทำได้อย่างไร.
                   ก็เวลาพระอาทิตย์ขึ้นในทวีปนี้เป็นเวลาเที่ยงในปุพพวิเทหทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในอุตตรกุรุทวีป เป็นมัชฌิมยามในอมรโคยานทวีป.
                   เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในปุพพวิเทหทวีปเป็นเวลาเที่ยงในอุตตรกุรุทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในอมรโคยานทวีป เป็นมัชฌิมยามในทวีปนี้.เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นในอุตตรกุรุทวีป เป็นเวลาเที่ยงในอมรโคยานทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในทวีปนี้เป็นเวลามัชฌิมยามในปุพพวิเทหทวีป.เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นในอมรโคยานทวีป เป็นเวลาเที่ยงในทวีปนี้ เวลาที่พระอาทิตย์ตกในบุพพวิเทหทวีปเป็นเวลามัชฌิมยามในอุตตรกุรุทวีป ฉะนี้แล.-->
    พึงทราบวินิจฉัยในสองบทว่า นกฺขตฺตานิ ตารกรูปานิ ต่อไป
    ดาวนักษัตรมีดาวฤกษ์เป็นต้น และหมู่ดาวทั้งหลายที่เหลือ ย่อมปรากฏพร้อมกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์.
    บทว่า รตฺตินฺทิวา ความว่า ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงอรุณขึ้น เป็นเวลากลางคืน ตั้งแต่เวลาอรุณขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกจัดเป็นเวลากลางวัน กลางคืนและกลางวันย่อมปรากฏอย่างว่ามานี้. ต่อแต่นั้น ๑๕ ราตรี จัดเป็นกึ่งเดือน ๒ กึ่งเดือนเป็นเดือน กึ่งเดือนและเดือนหนึ่งปรากฏอย่างว่ามานี้. ทีนั้น ๔ เดือนจัดเป็น ๑ ฤดู ๓ ฤดูเป็น ๑ ปี ทั้งฤดูและปีจึงปรากฏอย่างว่ามานี้.
    คำว่า วณฺณเววณฺณตา จ ได้แก่ ความมีผิวพรรณต่างกัน.
    บทว่า เตสํ วณฺณาติมานปจฺจยา ความว่า เพราะการถือตัวจัดซึ่งเกิดขึ้นเพราะปรารภวรรณะของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นปัจจัย. บทว่า มานาติมานชาติกานํ ความว่า ผู้มีมานะและอติมานะเกิดขึ้นบ่อยๆ เป็นสภาพ.
    บทว่า รสปฐวิยา ความว่า แผ่นดินอันได้นามว่า รส เพราะสมบูรณ์ด้วยรส. บทว่า อนุตฺถุนึสุ ความว่า พากันบ่นถึง. บทว่า อโห รสํ ความว่า โอ รสอร่อยมีแก่พวกเรา.
    คำว่า อคฺคญฺญํ อกฺขรํ นี้เป็นคำกล่าวถึงวงศ์ซึ่งบังเกิดขึ้นในโลก.
    บทว่า อนุปทนฺติ ความว่า ย่อมไปตาม.


    <CENTER>
    ภูมิปปฺปฏกปาตุภาวาทิวณฺณนา </CENTER>บทว่า เอวเมว ปาตุรโหสิ ความว่า ได้เป็นเช่นนี้ตั้งขึ้น และได้ตั้งขึ้นเหมือนพื้นเปือกตมอันแห้งเกิดขึ้น ในเมื่อน้ำภายในสระแห้งไปฉะนั้น. เครืออันเจริญมีรสหวานอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเครือดิน. บทว่า กลมฺพกา ได้แก่ ต้นมะพร้าว. บทว่า อหุ วต โน ความว่า เครือดินมีรสหวานได้มีแก่เราทั้งหลายแล้วหนอ. บทว่า อหายิ วต โน ความว่า เครือดินนั้นของพวกเราได้หายไปแล้วในบัดนี้.


    <CENTER>
    อกฏฺฐปากสาลิปาตุภาววณฺณนา </CENTER>บทว่า อกฏฺฐปาโก ความว่า เกิดขึ้นในภูมิภาคซึ่งไม่ได้ไถเลย. บทว่า อกโณ แปลว่าไม่มีรำเจือปน. บทว่า อถุโส แปลว่าไม่มีแกลบ. บทว่า สุคนฺโธ ความว่า กลิ่นทิพย์ย่อมฟุ้งขจายไป. บทว่า ตณฺฑุลปฺผโล ความว่า ย่อมเมล็ดผลเป็นเมล็ดข้าวสารขาวบริสุทธิ์. บทว่า ปกฺกํ ปฏิวิรุฬฺหํ ความว่า ที่ที่เขาเก็บในเวลาเย็นก็ได้สุกแทนในตอนเช้า งอกงามขึ้นตามปกติอีก ที่ที่เขาเก็บไปหา<WBR>ปรากฏ<WBR>ไม่. บทว่า นาปทานํ ปญฺญายติ ความว่า ย่อมปรากฏเป็นพืชที่ไม่ถูกเก็บเกี่ยวไม่มีบกพร่องเลย.


    <CENTER>
    ยุตฺถีปุริสลิงฺคปาตุภาววณฺณนา </CENTER>บทว่า อิตฺถิยา จ ความว่า เพศหญิงของหญิงในเวลาเป็นมนุษย์ในชาติก่อนๆ ก็ปรากฏ เพศชายของชายในกาลก่อนๆ นั้นก็ปรากฏ. ความจริง มาตุคามเมื่อต้องการได้ความเป็นบุรุษก็พยายามบำเพ็ญธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งความเป็นบุรุษโดยลำดับก็ย่อมสำเร็จได้. บุรุษเมื่อต้องการเป็นหญิงก็ประพฤติการเมสุมิจฉาจาร ย่อมสำเร็จได้. ก็ในเวลานั้น ตามปกติเพศหญิงย่อมปรากฏขึ้นแก่มาตุคาม เพศชายก็ปรากฏขึ้นแก่บุรุษ.
    บทว่า อุปนิชฺฌายตํ ความว่า เพ่งอยู่คือแลดูอยู่. บทว่า ปริฬาโห ได้แก่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจราคะ. บทว่า เสฏฺฐึ ได้แก่ เถ้าถ่าน. บทว่า นิพฺพุยฺหมานาย ความว่า นำออกไป.
    บทว่า อธมฺมสมฺมตํ ความว่า การโปรยฝุ่นเป็นต้นนั้นสมมุติกันว่าไม่เป็นธรรม.
    บทว่า ตเทตรหิ ธมฺมสมฺมตํ ความว่า แต่ในบัดนี้ การโปรยฝุ่นเป็นต้นนี้สมมุติกันว่าเป็นธรรม. พวกพราหมณ์ทั้งหลายพากันถือเอาการโปรยฝุ่นเป็นต้นนั้นว่าเป็นธรรม เที่ยวไป.
    จริงอย่างนั้น ในชนบทบางแห่ง พวกหญิงทั้งหลายทะเลาะกันย่อมกล่าวว่า เพราะเหตุไร เธอจึงกล่าว ท่านจักไม่ได้อะไรแม้<WBR>เพียง<WBR>ก่อน<WBR>โค<WBR>มัย<WBR>สด.
    บทว่า ปาตพฺยตํ ได้แก่ ความส้องเสพ. บทว่า สนฺนิธิการกํ ได้แก่ ทำการสั่งสม. บทว่า อปาทานํ ปญฺญายิตฺถ ความว่า ที่ที่เขาเก็บไปแล้วได้ปรากฏเป็นของพร่องไป. บทว่า สณฺฑสณฺฑา ความว่า เป็นกลุ่มๆ เหมือนจัดไว้เป็นพวกหมู่ในที่หนึ่งๆ.
    บทว่า มริยาทํ ฐเปยฺยาม ความว่า พวกเราจะตั้งเขตแบ่งกัน.
    บทว่า ยตฺร หิ นาม ได้แก่ โย หิ นาม (ก็ขึ้นชื่อว่า สัตว์ ใด). สองบทว่า ปาณินา ปหรึสุ ความว่า สัตว์เหล่านั้นเอามือตีคนที่ไม่เชื่อคำตนถึง ๓ ครั้ง. บทว่า ตทคฺเค โข ปน แปลว่า เพราะทำเหตุนั้นเป็นสิ่งสำคัญ.


    <CENTER>
    มหาสมฺมตราชวณฺณนา </CENTER>บทว่า ขียิตพฺพํ ขีเยยฺย อธิบายว่า พึงประกาศบอกบุคคลผู้ควรประกาศ คือติเตียนบุคคลที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่.
    บทว่า โย เนสํ สตฺโต ความว่า บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ผู้ใด.
    ถามว่า ก็สัตว์นั้นเป็นใคร.
    ตอบว่า คือพระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย.
    หลายบทว่า สาลีนํ ภาคํ อนุปฺปทสฺสาม ความว่า เราจักนำข้าวสาลีมาจากไร่ของแต่ละคนๆ ละทะนาน แล้วจะให้ส่วนข้าวสาลีแก่ท่าน ท่านไม่ต้องทำงานอะไร ขอท่านจงตั้งอยู่ในฐานะเป็นหัวหน้าของเราทั้งหลายเถิด.
    บทว่า อกฺขรํ อุปนิพฺพตฺตํ ความว่า เกิดบัญญัติโวหารซึ่งเข้าใจกันได้ด้วยการนับ.
    คำว่า ขตฺติโย ขตฺติโย ดังนี้เป็นคำที่เกิดขึ้นคำที่สอง. บทว่า อกฺขรํ ความว่า ไม่ใช่เฉพาะอักษรอย่างเดียวเท่านั้น แต่พวกสัตว์เหล่านั้นยังได้ทำการอภิเษกบุคคลนั้น ด้วยการยกย่องถึง ๓ ครั้ง แปลว่า ย่อมยังผู้อื่นให้มีความสุขเอิบอิ่ม. บทว่า อคฺคญฺเญน ความว่า การบังเกิดขึ้นด้วยอักษร อันเกิดขึ้นในสมัยแห่งโลกเกิดขึ้น ที่รู้กันว่าเลิศหรือรู้จักกันในส่วนเลิศ


    <CENTER>
    พฺราหฺมณมณฺฑลาทิวณฺณนา </CENTER>บทว่า วีตงฺคารา วีตธูมา ความว่า ปราศจากควันและถ่านเพลิง เพราะไม่มีอาหารที่จะพึงหุงต้มแล้วเคี้ยวกิน. บทว่า ปณฺณมุสลา ความว่า ไม่มีการซ้อม เพราะไม่มีอาหารที่พึงซ้อมตำแล้วหุงต้ม. บทว่า ฆาสเมสนา ความว่า แสวงหายาคูและภัตด้วยอำนาจภิกขาจาร. บทว่า ตเมนํ มนุสฺสา ทิสฺวา ความว่า หมู่มนุษย์เหล่านั้นได้เห็นบุคคลเหล่านั้น. บทว่า อนภิสมฺภุนฺมานา แปลว่า อด<WBR>กลั้น<WBR>ไว้<WBR>ไม่<WBR>ได้ คือไม่สามารถจะอดกลั้นไว้ได้. บทว่า คนฺเถ กโรนฺตา ความว่า แต่งคือ<WBR>บอก<WBR>สอน<WBR>ไตร<WBR>เพท. บทว่า อจฺฉนฺติ แปลว่าย่อมอยู่อาศัย. บาลีว่า อจฺเฉนฺติ ดังนี้บ้าง เนื้อความก็เช่นเดียวกัน.
    บทว่า หีนสมฺมตํ ความว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ โดยสมัยนั้น คำว่าหมู่พราหมณ์ย่อมทรงจำมนต์ย่อมบอกมนต์ดังนี้ เป็นคำสมมติว่าต่ำช้า
    บทว่า ตเทตรหิ เสฏฺฐสมฺมตํ ความว่า บัดนี้คำว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมทรงจำมนต์มีประมาณเท่านี้ ย่อมบอกกล่าวมนต์มีประมาณเท่านี้ เป็นคำสมมติว่าประเสริฐ.
    บทว่า พฺราหฺมณมณฺฑลสฺส ได้แก่ หมู่พราหมณ์.
    บทว่า เมถุนํธมฺมํ สมาทาย แปลว่า ยึดถือเมถุนธรรม. หลายบทว่า วิสุ ํ กมฺมนฺเต ปโยเชสุ ํ ความว่า หมู่สัตว์ต่างพากันประกอบการงานที่มีชื่อเสียง คือได้รับยกย่องมีการเลี้ยงโคและการค้าขายเป็นต้น.
    คำว่า สุทฺ<WBR>ทา สุทฺ<WBR>ทา นี้ อธิบายว่า พวกศูทรไปอย่างน่ารังเกียจ คือเสื่อมเร็วๆ เรียกว่า สุทฺ<WBR>ทํ สุทฺ<WBR>ทํ เพราะการงานที่ประพฤติต่ำ และการงานที่ประพฤติเล็กน้อยนั้น.
    บทว่า อหุ โข ได้แก่ โหติ โข.
    บทว่า สกํ ธมฺมํ ครหมาโน ความว่า กษัตริย์บางพระองค์ติเตียนขัตติยธรรมของ<WBR>ตน<WBR>เอง<WBR>อย่าง<WBR>นี้<WBR>ว่า ใครไม่อาจจะบริสุทธิ์ได้ด้วยเพียงแต่ให้ยกเศวตฉัตรขึ้น.
    ในทุกบทก็นัยนี้.
    ด้วยคำนี้ว่า อิเมหิ โข วาเสฏฺฐา จตูหิ มณฺฑเลหิ นี้ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดงคำนี้ว่า เหล่าสมณะย่อมไม่มีการแบ่งแยก. แต่เพราะใครๆ ไม่อาจจะบริสุทธิ์ด้วยชาติได้ ความบริสุทธิ์จะมีได้ก็ด้วยการปฏิบัติชอบของตนเอง ฉะนั้น การบังเกิดของพระสมณะจึงเกิดมีขึ้นได้ด้วยหมู่ทั้ง ๔ เหล่านี้
    หมู่ทั้งหลายเหล่านี้ย่อมอนุวัตตามหมู่สมณะ และหมู่ที่อนุวัตตามเหล่านั้นก็ย่อมอนุวัตตามธรรมเท่านั้น หาอนุวัตตามอธรรมไม่ ความจริง เหล่าสัตว์ทั้งหลายอาศัยหมู่สมณะ<WBR>บำเพ็ญ<WBR>สัมมา<WBR>ปฏิบัติ ย่อมถึงความบริสุทธิ์ได้ดังนี้.


    <CENTER>
    ทุจฺจริตาทิกถาวณฺณนา </CENTER>บัดนี้ พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงทำข้อความนั้นว่า ใครๆ ไม่อาจที่จะบริสุทธิ์ตามชาติได้ แต่เหล่าสัตว์จะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยการประพฤติชอบเท่านั้นดังนี้อย่างชัดเจน จึงเริ่มเทศนาว่า ขตฺติโยปิ โข วาเสฏฺฐา ดังนี้.
    บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิกมฺมสมาทานเหตุ ความว่า เพราะเหตุคือ<WBR>การ<WBR>สมา<WBR>ทาน<WBR>กรรม<WBR>ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฺฐิ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เพราะเหตุที่สมาทานมิจฉาทิฏฺฐิกรรม.
    บทว่า ทฺวยการี ความว่า มักทำกรรมทั้งสองฝ่ายอย่างนี้ คือบางเวลาทำกุศลกรรม บางเวลาทำอกุศลกรรม.
    บทว่า สุขทุกฺขปฏิสํเวที ความว่า ธรรมดาว่าสถานที่ที่ให้ผลพร้อมกันทั้งสองฝ่ายในเวลาพร้อมกัน หามีไม่. ก็ผู้ใดได้ทำอกุศลกรรมไว้มาก ทำกุศลกรรมไว้น้อย เขาอาศัยกุศลกรรมนั้นไปบังเกิดในตระกูลกษัตริย์หรือตระกูลพราหมณ์. ทีนั้น อกุศลกรรมนั้นย่อมทำเขาให้เป็นผู้บอดบ้าง ผู้ง่อยบ้าง ผู้เปลี้ยบ้าง เขาย่อมไม่ควรแก่ราชสมบัติ หรือเขาเป็นอย่างนี้แล้วในเวลาที่ได้รับการ<WBR>อภิเษก<WBR>แล้ว<WBR>ก็ไม่อาจที่จะใช้สอยโภคทรัพย์สมบัติได้.
    ต่อมาในเวลาตายของเขาทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งสองนั้น ก็ปรากฏเหมือนนักมวยปล้ำที่มีกำลังมาก ๒ คน.
    บรรดากรรมทั้งสองนั้นอกุศลกรรมมีกำลังมากกว่าจึงห้ามกุศลกรรมไว้เสียแล้วให้สัตว์นั้นบังเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน. ฝ่ายกุศลกรรมเป็นกรรมที่สัตว์จะต้องเสวยในปวัตติกาล. กุศลกรรมนั้นย่อมสร้างช้างมงคลบ้าง ม้ามงคลบ้าง โคมงคลบ้าง เขาย่อมได้เสวยสมบัตินั้น.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอากุศลกรรมนี้ จึงตรัสว่า สุขทุกฺขปฏิสํเวที โหติ ดังนี้.


    <CENTER>
    โพธิปกฺขิยธมฺมภาวนาวณฺณนา </CENTER>บทว่า สตฺตนฺนํ โพธิปกฺขิยานํ ความว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการซึ่งแบ่งเป็น ๗ หมวดตามลำดับด้วยอำนาจส่วนธรรมข้อต้นว่า สติปัฏฐาน ๔.
    บทว่า ภาวนมนฺวาย ความว่า ไปตามภาวนา. อธิบายว่า ปฏิบัติ ภาวนา.
    บทว่า ปรินิพฺพาติ ความว่า ย่อมดับ ด้วยการดับกิเลส.
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงวรรณะ ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้แล้ว กลับมาแสดงยกเอาพระขีณาสพผู้บรรลุสัจจะทั้ง ๔ ได้แล้วว่า เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทวดาและมนุษย์.
    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้นทำให้มั่น ตามทำนองการแสดงถ้อยคำแม้ของพรหมซึ่งโลกยกย่อง จึงตรัสพระดำรัสว่า อิเมสํ หิ วาเสฏฺฐา จตุนฺนํ วณฺณานํ เป็นต้น.
    คำว่า พฺราหฺมโณ เวสฺโส เป็นต้นได้อธิบายพิสดารในอัมพัฏฐสูตรแล้ว.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวาทะอันเป็นเครื่องทำลายความเป็นผู้<WBR>ประเสริฐ<WBR>ด้วย<WBR>กถา<WBR>มรรค<WBR>นี้<WBR>เพียง<WBR>เท่า<WBR>นี้ ด้วยประการฉะนี้ แล้วทรงหันกลับมาทรงแสดงเทศนาให้จบลงด้วยธรรมอันเป็นยอดคือพระอรหัตต์.
    บทว่า อตฺตมนา วาเสฏฐภารทฺวาชา ความว่า ก็วาเสฏฐะและภารทวาชะสามเณรพากันชื่นชมยินดีได้ชมเชยภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า สาธุ สาธุ ดังนี้.
    สามเณรทั้งสองนั้นกำลังน้อมระลึกถึงรู้ตามพระสูตรนี้นั่นเอง ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทาทั้งหลายฉะนี้แล.


    <CENTER>
    จบอรรถกถาอัคคัญญสูตรที่ ๔


    ----------------------------------------------------- </CENTER>
    .. อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค อัคคัญญสูตร จบ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2008
  14. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    ถ้าคิดว่าหลวงปู่เกษมสุดโต่ง ก็เผาทั้งพระพุทธรูปและและพระไตรปิฎกเลยดีมั๊ย ที่หลวงปู่กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ทำได้อยู่รูปเดียวถึงปานนี้ เดี๋ยวนี้ พุทธพาณิชย์เกิดขึ้นมากมาย หลอกลวงเอาเงินเข้ากระเป๋ารวยกันในชาตินี้ แต่ไม่รู้ตายไปแล้ว ที่แขวนผ้าเหลืองตอนตกนรกน่ะ จะทานไหวหรือเปล่า ไม่ได้กล่าวด้วยอารมณ์โทสะ เพราะไม่กลัวหรอกตกนรก ถ้าจะตกเพื่อปกป้องฟื้นฟูพระศาสนาก็ไม่กลัว มาเลยท่านยมฯ กล่าวถึงเพียงนี้ท่านยมฯเห็นผิดด้วยก็ยอม แต่อยากให้เป็นพุทธะ ที่แท้จริง คือเป็นผู้รู้ ตื่น เบิกบาน สมกับคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ประเทศเดือดร้อนมากมายเคยถามกันหรือไม่ เดี๋ยวเรื่องโน้นนี้ เคยหาสาเหตุกันบ้างหรือเปล่า การอุทิศบุญก็จะรอแต่ให้พระกรวดน้ำแล้วบอกว่าให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย โอยบุญมากปานนั้น คิดให้ญาติตัวเองซิของใครของมัน ญาติในโลกทิพย์กำลังหิวโหย อยากให้ญาติของตัวเองอุทิศบุญให้ วิญญานเขาจะได้บุญเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ก็ตีความหมายเป็นกรวดน้ำ หลวงปู่เกษมให้คิดอุทิศบุญตั้งของวางหลุดมือภายใน 3 วินาทีแล้ว อะไรก็จะแผ่เมตตา กันอย่างเดียว เมตตาแผ่ให้ภูมิที่ต่ำกว่าเขาหิวเขาจะเอาไหม เมตตาน่ะ หลวงปู่ก็มีวิธีคิดอีกว่าบุญนี้แปลงให้เป็นสิ่งที่เขาต้องการ คิดหรือในโลกทิพย์นั้นน่ะเขาจะรู้เรื่องถ้าไม่บอกเขา พระก็ผิดศีลมากมายแค่รับเงินก็ผิดแล้ว กฐิน ผ้าป่าก็ผิดแนวไปหมดเรี่ยไร แล้วก็จัดมโหรสพ ดื่มเหล้าผิดศีล จะบอกว่าสมัยใหม่ สมัยพุทธกาลเงินก็มีใช้ทำไมในครั้งโน้นพระไม่ใช้เงินและพระพุทธองค์ก็ทรงบัญญัติไว้ห้ามพระรับเงินทอง...อ้างไปอีกหน่อยพระก็ขอมีเมียทำไงดี...พระพุทธศาสนาสอนทางสายกลางแต่เดี่ยวนี้มันกลางหรือหย่อนย้านยาน....พระท่านผู้ใหญ่ในบ้านในเมือง จะเอามั๊ยพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติน่ะเห็นเรียกร้องกันปาว ๆๆ แต่ชาวพุทธปฏิบัติตัวกันอย่างไร .....ไปหาความรู้ดีกว่าเดี๋ยวโดนมารหลอกฮิๆๆ
     
  15. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    ใครกันแน่ที่ ทำลายพุทธศาสนา ระหว่างพุทธพานิชย์ กับ พระเกษม
    ใครกันแน่ที่ เทอดทูญ และบูชา พระพุทธเจ้า อย่างถูกต้อง สมดังเจตนาของพระองค์
    ใครกันแน่ที่ ดูหมิ่น เหยียดหยาม พระพุทธองค์
    ใครกันแน่ที่ แก้ไข ธรรม-วินัย เพื่อประโยชน์ของตนและพวก
     
  16. หมูสวย

    หมูสวย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +123
    ทำอะไรให้อยู่ในทางสายกลาง ดีที่สุดค่ะ บางสิ่งทำไปแล้วเป็นโลกวัชชะ ก็ไม่สมควรทำ ควรใช้โยนิโสมนสิการให้มาก ทำอะไรให้ดูกาล,บุคคล ,สังคม ด้วย
     
  17. PrasertN

    PrasertN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +195
    ใครกันแน่ที่ยึดติดมากกว่ากัน (ยึดติดทั้งคู่) พินิจพิจารณาให้ละเอียดลึกซึ้ง
    คนที่ว่าพระพุทธรูปเป็นอิฐ,หิน,ปูน,ทราย,โลหะ อย่าไปกราบไหว้ และไม่มีรูปใดเปรียบได้กับพระพุทธเจ้า หรือ
    คนที่ว่าจะเป็นอะไรก็ช่าง เป็นรูปสมมุติที่ทำให้จิตเราน้อมระลึกถึงพระบรมสุคตได้ดีกว่าที่ไม่มีรูป
    การยกพระไตรปิกมาอ้าง นั้นน่ากลัวมาก เพราะ พระธรรมจำแนกได้ 84,000 พระธรรมขันธ์ แต่ละบทแต่ละตอน เหมาะสำหรับเหตุการณ์และบุคคลต่างๆกัน
    เราเองอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน ในขณะที่ต่างวุฒิภาวะและต่างประสบการณ์กัน เช่นอ่านเมื่อ 10 ก่อน และกลับมาอ่านอีกในปัจจุบันยังได้อรรถรส ความรู้สึก ความเข้าใจ ที่แตกต่างออกไป แล้วเช่นใดจึงจะให้ผู้อื่น เข้าใจตรงกับตนได้ ครูสอนนักเรียน 500 คนในเวลาเดียวกันใครทำข้อสอบได้ 100% เต็มบ้าง ภาษามันมีจุดอ่อนครับ
    พระอริยเจ้าจึงไม่ยึดตำรา ท่านสอนปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติได้แล้วทุกคนเข้าใจตรงกันหมด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2008
  18. ป.วิเศษ

    ป.วิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    329
    ค่าพลัง:
    +411
    ไหว้ ก็ ยึด (ยึดรูป)

    ไม่ไหว้ ก็ ยึด (ยึดนาม)

    สรุปไหว้ ไม่ไหว้ ก็ยึด ...

    เอางัยดีหว่า ...
     
  19. PrasertN

    PrasertN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +195
    ตาบอดคลำช้าง

    เถียงกันอยู่ได้

    น่าขำ
     
  20. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4

แชร์หน้านี้

Loading...