จอง มหาตะกรุดหน่อพระพุทธเจ้า(พญาเต่าคำ) 1ดอกครับ เดี๋ยวผมกลับมาจากต่างประเทศช่วงสิ้นเดือนโอนให้นะครับ ขอบคุณครับ
ร่วมทำบุญบูชา สำเร็จเทียมครูปัญจะธาตุมหาพุทธาปฎิสนธิมหาชะตาสิทธิ(ยุคทองบุตรแห่งพุทธะ) พ่ออาจารย์พล
ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คุรุปาละ, 12 ตุลาคม 2014.
หน้า 54 ของ 466
-
1.การเอาหมูนอนตองมาไหว้ ทำเฉพาะเวลาบน ทำทุกวัน หรือทุกครั้งที่ใช้งาน
2.หมูสุกจะสุกด้วยวิธีไหนก็ได้ใช่มั้ยครับ
3.ใช้หมูชิ้นเดียวหรือหลายชิ้น ขนาดไหน
4.ที่ว่าไปวางทาง 3 แพร่ง วางไว้ตรงไหนของทาง 3 แพร่งหรอครับ(ริมทาง กลางถนน หรือตรงไหน ไม่ทราบจริงๆครับ)
5.แล้วถ้าไม่สามารถไปวางทาง 3 แพร่งได้จะทำอย่างไร
ป.ล. จองเหรียญบาตรน้ำมนต์เจ้าขรัวเเสงกับสมิงพระกาฬตวาดฟ้าอย่างละ 1 ครับ ขอโอนสิ้นเดือนนะครับ (เมื่อคืนฝันว่ามีวัตถุมงคลที่เป็นเสือ แล้วลองอธิษฐานให้ปรากฏออกมาเป็นเสือจริงๆดู พอออกมาเป็นลูกเสือดำ น่าจะเพศเมีย :cool::cool::cool:) -
ตอบรวบๆนะครับ หมูนอนตอง คือชิ้นเนื้อหมูวางบนใบตอง ส่วนมากจะใช้เป็นหมูต้มครับ แล้วก็ส่วนใหญ่จะวางเเค่ชิ้นเดียว นึกภาพตามนะ คือตัดใบตองมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ เเล้วก็เอาเนื้อหมูต้มสุกมาวาง ปกติจะใช้ชิ้นขนาดเล็กหรือใหญ่ มันก็ขึ้นอยู่กับคนไหว้ไม่ได้กำหนดไว้เเต่เเนะนำว่าอย่าเล็กจนน่าเกลียด
ส่วนในกรณีให้วางทางสามเเพร่งนั้น เพราะเนื้อหมูที่ไหว้เเล้ว อะไรก็ตาม หากไม่ใช่เทพเจ้าหรือพระเนี่ยไม่สมควรนำกลับมากิน เราถือคติที่ว่าของเหลือจากพระหรือเทพเจ้าที่เราเคารพเนี่ยเอากลับมากินได้หลังจากไหว้เสร็จจะเป็นของมงคลอธิษฐานก่อนกินให้รักษาโรคเวรโรคกรรมได้ เเต่นอกเหนือจากนั้นไม่ควรนำมากิน
ในกรณีวางทางสามแพร่งส่วนใหญ่นะ เมื่อเจอทางสามเเพร่งจะนิยมวางไว้ตรงมุมใดมุมหนึ่งเท่านั้นแล้วหันหลังเดินกลับเลย ไม่ต้องไปวางกลางถนนอะไรแบบนี้ เอาเเค่วางชิดมุมอย่าให้คนเดินเหยียบก็พอ ถ้าวางทางสามเเพร่งไม่ได้ใช้ลอยน้ำเอาก็ได้
อีกกรณีหนึ่งคือควรทำเมื่อรับมา ถือคติเลี้ยงเขาให้อิ่มให้คุ้นเคยกับเรา เเล้วต่อจากนั้นก็พิจารณาตามความเหมาะสมว่าเราอยากจะให้ช่วงไหนบอกกล่าวตกลงกันเอาเอง หรือจะให้ช่วงที่บนบานศาลกล่าวเเละสำเร็จก็ได้ บอกกับเขาให้ชัดๆก่อน น่าจะตอบครบเเละครอบคลุมคำถาม ถ้าข้ามอะไรไปก็ถามอีกรอบนะครับ -
ทำแบบนี้ได้มั้ยครับ ปกติตักแยกอาหารที่เรากินให้สมิงพระกาฬ แล้วเวลาบนค่อยให้หมูนอนตอง ถ้าได้อาหารที่เราตักแบ่งก็ต้องไว้ที่ทาง 3 แพ่งด้วยหรือป่าวครับ
-
สงสัยด้วยครับ ว่าถ้าได้สมิงพระกาฬมาต้องตั้งชื่อไหมครับ เวลาบนเวลาเรียกใช้งานจะได้เรียกชื่อ หรือว่าให้เรียกสมิงพระกาฬหรือเรียกท่าน แบบวัตถุมงคลประเภทอื่นไปเลย
-
ความรู้วันละนิด (ภาวนา)
จากที่พูดค้างไว้ในคราวก่อน ถึงบุญที่จะทำให้ได้เป็นเทวดา อันได้แก่บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ วันนี้ก็จะกล่าวถึงเรื่องสุดท้าย ในเรื่องของการภาวนา
ภาวนามัย ก็คือการทำบุญชำระจิตใจให้สะอาด ด้วยการฝึกอบรมจิตให้มีพื้นฐานประกอบด้วยบุญ
คนเราเมื่อพูดถึงการภาวนามักจะนึกถึงการทำสมาธิ ซึ่งก็มิผิด เพราะการทำสมาธิเจริญภาวนานั้นก็เป็นวิธีอบรบจิตชำระจิตเช่นกัน ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็กล่าวยืนยันไว้เเล้ว ว่า"ภิกษุทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เพราะเมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นเเล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง"
พ่ออาจารย์ท่านกล่าวว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญ ท่านเรียกสิ่งนี้ว่าสัมมาสมาธิ ซึ่งก็แปลง่ายๆว่า มีจิตตั้งมั่นชอบตามที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคท่านสอนไว้
ซึ่งการปฏิบัติสัมมาสมาธินั้น ก็เพื่อใช้เป็นฐานเป็นกำลังของปัญญาซึ่งมีความจำเป็นเมื่อเราจะใช้พิสูจน์ค้นหาความเป็นจริงทั้งหลาย รวมไปถึงการเข้าถึงเทวโลกเเละพรหมโลกชั้นต่างๆ
วันนี้จะกล่าวกันถึงเรื่องสัมมาสมาธิ พ่ออาจารย์ท่านเเยกเเยะไว้ว่าองค์ประกอบที่มารวมกันเป็นสัมมาสมาธิก็คือฌานนั่นเอง
หากกล่าวถึงฌานนั้น หลายๆคนอาจมองว่ายากแต่ท่านว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยาก ใครก็สามารถเข้าออกฌานกันได้ทุกคน เพราะฌานนี้คือภาวะหนึ่งของดวงจิตที่เพ่งอารมณ์หนึ่งๆจนแน่วแน่ ซึ่งฌานในสัมมาสมาธินี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่ารูปฌาน มีอยู่ 4 ระดับ คือ
- ปฐมฌาน
- ทุติยฌาน
- ตติยฌาน
- จตุตถฌาน
ซึ่งการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงสมาธิก็นับเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะขั้นตอนนั้นมีหลากหลายมาก ต้องดูที่อุปนิสัยของผู้ปฏิบัติ ซึ่งเเต่ละคนนั้นย่อมไม่เหมือนกัน ด้วยสิ่งมีชีวิตต่างๆนั้น มีจริตเป็นของตัวเอง วันนี้เราจึงมาเรียนรู้กันเรื่องจริตเสียก่อน เรียกว่าจริยา 6 อันประกอบด้วย
1. ราคจริต คนประเภทนี้คือคนที่มีพฤติกรรมหนักไปทางราคะมาก กล่าวคือเป็นคนรักสวย รักงาม ชอบการเเต่งตัวประดับประดา คนประเภทนี้จะเหมาะกับการเจริญอสุภกรรมฐานและกายคตาสติ
อสุภกรรมฐาน คือการฝึกจิตโดยจับจ้องพิจารณาสิ่งที่ไม่งาม ไม่เจริญหูเจริญตาทั้งหลาย เช่นพิจารณาซากศพในสภาพต่างๆตั้งเเต่ตาย ใกล้เน่า เน่าเฟะ ไล่เรียงไปตามลำดับ
กายคตาสติ วิธีนี้คือการพิจารณากายตน พิจารณาถึงสิ่งไม่งามไม่เจริญหูเจริญตาทั้งหลายในร่างกายตน ในอวัยวะต่างของร่างกายไล่พิจารณาไปทีละชนิด
2. โทสจริต คนประเภทนี้คือคนเจ้าอารมณ์ มักโกรธหรือโมโหง่าย ใจร้อน หงุดหงิด ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราด การปฏิบัติสมาธิ จึงควรใช้การฝึกด้วยพรหมวิหารและกสิณ
พรหมวิหาร คือการอบรมอารมณ์พื้นฐานแห่งตนเองให้อยู่ในคุณธรรม 4 ประการ ประกอบด้วย
- เมตตา มีความรักใคร่ มีไมตรีจิตต่อผู้อื่น
- กรุณา มีความเอื้อเฟื้อ ความสงสาร เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ให้ความอนุเคราะห์เกื้อกูลช่วยเหลือกัน
- มุทิตา มีความยินดีชื่นชมผู้อื่น เมื่อเก็นเขาไปได้ดีประสบความสำเร็จ
- อุเบกขา วางใจให้เป็นกลางยุติธรรมมั่นคงปราศจากความลำเอียง
กสิณ หมายถึงดวงวัตถุ วิธีนี้เหล่าพระเกจิคณาจารย์เเต่โบราณมักนิยมใช้กัน โดยใช้การเพ่งสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อชักจูงจิตใจให้มั่นคงจนเกิดอารมณ์ที่เป็นสมาธิขึ้นมา ซึ่งกสิณนั้นมีอยู่ 10 ประเภท ได้แก่
- ปฐวีกสิณ คือกสิณดิน หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับธาตุดิน
- อาโปกสิณ คือกสิณน้ำ หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับธาตุน้ำ
- เตโชกสิณ คือกสิณไฟ หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับธาตุไฟ
- วาโยกสิณ คือกสิณลม หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับธาตุลม
- นีลกสิณ คือกสิณสีเขียว หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับวัตถุที่มีสีเขียว
- ปีตกสิณ คือกสิณสีเหลือง หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับวัตถุที่มีสีเหลือง
- โลหิตกสิณ คือกสิณสีแดง หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับวัตถุที่มีสีเเดง
- โอทาตกสิณ คือกสิณสีขาว หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับวัตถุที่มีสีขาว
- อาโลกกสิณ คือกสิณแสงสว่าง หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับวัตถุที่ส่องแสงสว่าง
- อากาสกสิณ คือกสิณความว่างเปล่า หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่ช่องว่างเเละความว่างเปล่า
3. โมหจริต บุคคลประเภทนี้เป็นคนที่มีอุปนิสัยหลง งมงาย ซึ่งการปฏิบัติสมาธิจะต้องใช้วิธี อานาปานสติและสุตะ
อานาปานสติ เป็นการฝึกความรู้สึก โดยกำหนดความรู้สึกตัวให้ติดอยู่กับลมหายใจ หายใจเข้าก็รู้สึก หายใจออกก็รู้สึก
สุตะ หมายถึงการรับฟังด้วยการเรียนการถามเอาความรู้จากผู้มีปํญญาสูงส่งพอจะชี้แนะตนได้
4. สัทธาจริต คนประเภทนี้คือคนที่ขี้ใจอ่อน เชื่อคนง่าย การปฏิบัติสมาธิจะต้องเลือกด้วยวิธิถือเอาอนุสสติ
อนุสสติ เป็นการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลจิตใจ ซึ่งมีหลายวิธีมาก ทั้งพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ ต้องใช้สิ่งเหล่านี้เป็นอารมณ์กรรมฐาน
5. พุทธิจริต คนเหล่านี้มีปกติวิสัยเป็นคนช่างคิด ช่างพิจารณาไตร่ตรอง ช่างซักถามชอบเหตุผล การปฏิบัติสมาธิของคนเหล่านี้จะต้องใช้วิธี มรณสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุวัฏฐาน
มรณสติ คือการระลึกถึงความตายว่าสามารถเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ สิ่งมีชีวิตมีความตายได้ทุกกาลทุกเมื่อ ไม่เเน่นอน เกิดได้ทุกทั่วตัวสรรพสัตว์แม้กระทั่งกับตัวเราเอง
อุปสมานุสติ คือการระลึกถึงธรรมผูกใจอยู่กับธรรมอันเป็นเครื่องระงับกิเลสเเละความทุกข์ทั้งหลาย
จตุธาตุวัฏฐาน เป็นการพิจารณาธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่จะประกอบขึ้นมาเป็นร่างกาย พิจารณาไปว่าสิ่งมีชีวิตนั้น เกิดมาเเล้วเป็นอย่างไร เกิดมาเเล้วรับภาระอะไรบ้าง ตอนดับเป็นอย่างไร พิจารณา พิจารณาลงไป ให้เห็นความแปรปรวนความเป้นไปต่างๆนานา ที่เป็นเช่นนี้อย่างไร เพราะอะไร
6. วิตกจริต บุคคลประเภทนี้คือคนที่เป็นคนเจ้าคิด วิตกกังวล ฟุ้งซ่านอยู่เเต่ในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ยังไม่เกิดขึ้น กับสิ่งที่ล่วงผ่านไปแล้วแก้ไขไม่ได้ การฝึกสมาธิของคนประเภทนี้ต้องใช้วิธีอานาปานสติ และกสิณแบบต่างๆตามลักษณะอารมณ์
อานาปานสติ เป็นการฝึกด้วยการเล่นลมหายใจเป็นการฝึกความรู้สึก โดยกำหนดความรู้สึกตัวให้ติดอยู่กับลมหายใจ หายใจเข้าก็รู้สึก หายใจออกก็รู้สึก หลักอานาปานสตินั้นเป็นการอบรมลมหายใจให้มีคุณภาพเเละมีความละเอียดประณีตสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีนี้เป็นการพัฒนากำลังเเห่งจิตให้ถึงสมาธิได้ดีที่สุด จิตมีกำลังมากที่สุด มีความประณีตไปได้ไกลที่สุด คุณลักษณะที่เด่นที่สุดของอานาปานสตินั้น คือการอบรมจิตให้ระลึกได้คือมีสติ ไปสู่ขั้นที่จิตมีความมั่นคงมีกำลังบริสุทธิ์คือสมาธิพร้อมที่จะทำงานด้วยความหยั่งรู้ปรากฏการณ์ต่างๆอย่างเเจ้งชัดตามความเป็นจริงคือปัญญา
กสิณ หมายถึงดวงวัตถุ วิธีนี้เหล่าพระเกจิคณาจารย์เเต่โบราณมักนิยมใช้กัน โดยใช้การเพ่งสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อชักจูงจิตใจให้มั่นคงจนเกิดอารมณ์ที่เป็นสมาธิขึ้นมา ซึ่งกสิณนั้นมีอยู่ 10 ประเภท ได้แก่
- ปฐวีกสิณ คือกสิณดิน หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับธาตุดิน
- อาโปกสิณ คือกสิณน้ำ หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับธาตุน้ำ
- เตโชกสิณ คือกสิณไฟ หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับธาตุไฟ
- วาโยกสิณ คือกสิณลม หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับธาตุลม
- นีลกสิณ คือกสิณสีเขียว หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับวัตถุที่มีสีเขียว
- ปีตกสิณ คือกสิณสีเหลือง หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับวัตถุที่มีสีเหลือง
- โลหิตกสิณ คือกสิณสีแดง หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับวัตถุที่มีสีเเดง
- โอทาตกสิณ คือกสิณสีขาว หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับวัตถุที่มีสีขาว
- อาโลกกสิณ คือกสิณแสงสว่าง หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่กับวัตถุที่ส่องแสงสว่าง
- อากาสกสิณ คือกสิณความว่างเปล่า หมายถึงการทำอารมณ์ให้เพ่งจดจ่ออยู่ช่องว่างเเละความว่างเปล่า
ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ทั้ง 6 ลักษณะของจริตมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่ผู้จะเรียนสมาธิทำกรรมฐานควรรู้ไว้เพื่อจะได้ใช้เป็นเเนวทางฝึกปฏิบัติให้ถูก ด้วยการสังเกตุตนเอง ว่าเป็นบุคคลเช่นไร ตรงกับจริตประเภทไหน ควรจะฝึกสมาธิด้วยวิธีใด ทั้งนี้ก็เพื่อความเจริญก้าวหน้าของสมาธิตนเองนั่นเอง จะได้ไม่กล่าวได้ว่าฝึกอยู่เเต่หาความเจริญขึ้นมิได้ตามลำดับ
วันนี้ก็จะจบเรื่องสมาธิไว้เเต่เพียงเท่านี้เเล้วครั้งต่อไปก็จะมาต่อภาค 2 กัน ยังไม่จบนะครับติดตามกันต่อ อ่านเเละจดจำไว้ หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็อย่าได้ละเลย -
เหมือนจะเเจ้งไว้เเล้วว่าไม่ต้องเลี้ยงเเบบกุมารทอง ไม่รู้ว่าลืมพิมพ์รึเปล่า คนละชนิดกัน เพราะฉะนั้นชื่อหรือเรียกกินนั้นไม่จำเป็น การเรียกกินให้เรียกตอนบนกับตอนนำไปครั้งเเรกก็พอ ส่วนการเรียกขานนั้นจะเรียกว่าพ่อเสือ พี่เสือ หรือพ่อสมิง ก็เเล้วเเต่ตามที่เราจะเรียก แต่หากอยากตั้งชื่อจริงๆเเล้วก็อธิษฐานบอกกล่าวเขาเสียเเต่ในครั้งเเรกว่าเราจะเรียกเขาว่าอะไร -
สมิงพระกาฬ
ต้องบอกว่ามีคำถามเข้ามาเรื่อยๆจริงๆ เห็นว่าเป็นประโยชน์จึงเเจ้งไว้ให้ทราบ
- สมิงพระกาฬนั้นสามารถพกเข้าได้ทุกที่รวมถึงที่อโคจร
- หากไม่ประสงค์จะห้อยคอจะนำมาทำสายคล้องเอวหรือทำเป็นพวงกุญเเจก็ได้ ไม่มีข้อห้ามว่าต้องห้อยคอเสมอไป
- เวลาไว้หมูนอนตอง ให้จุดธูป16ดอก ปักไว้ที่เนื้อหมู หรือหาที่ปักดีๆก็ได้ -
พระสำเร็จทันใจกรอบพลาสติกที่เลี่ยมกันน้ำ ร้าว แตก เป็นริ้วๆ โดยเฉพาะตรงบาตร
-
ที่ได้บูชาไป เจ้าขรัวแสงของผมเพิ่งเลี่ยมไม่นานกรอบพลาสติดหนาก็ปะทุร้าวๆเหมือนกัน
-
เนื่องจาก คิดดูแล้วน่าจะไม่ใช่แนวผมครับ
เดี๋ยวรอดูของที่เหมาะใจมากกว่าครับ
ต้องขออภัยด้วยครับ -
-
ขอร่วมบุญ พระขุนแผนพรายกุมารบูชาครู (ครูใหญ่ท่านยานาค) 1 องค์ครับ
-
บูชาพระขุนแผน 1 องค์
-
จองพระขุนแผนพรายกุมารบูชาครู และขอยกเลิกการจองสมิงพระกาฬครับ เนื่องจากงบจำกัด
-
ขอจองร่วมบุญ พระขุนแผนพรายกุมารบูชาครู 1 องค์ครับ
-
ร่วมบุญ พระขุนแผนพรายกุมารบูชาครู (ครูใหญ่ท่านยานาค) 1 องค์ครับ
-
ขอร่วมบุญ ขุนแผนพรายกุมารบูชาครู 1 องค์
***ปล.ขอยกเลิกการจองสมิงพระกาฬ กับ ขรัวแสงก่อนนะครับ.งบจำกัดเช่นกันครับ... -
-
ขอสอบถามครับ
ตะกรุดที่บูชามาคราวก่อน ที่พี่แนะนำผมว่าเป็นตะกรุดไตรมาสปีก่อนชื่อตะกรุดอะไรครับ พอดีเลี่ยมไว้เเล้วให้น้าเอาไปบูชานึกว่าเป็นของทางเสน่ห์แต่น้ากลับถูกหวยทั้งๆที่ไม่เคยถูกเขาบอกผมว่าฝันเห็นกษัตริย์ตัวเขียวๆเอานิ้วมาจิ้มที่หน้าผากลากมือเป็นตัวเลขเขาก็ไปแทง
ตามที่รู้สึกแล้วเขาบอกผมว่าเขาไม่ค่อยได้แขวนส่วนมากจะถอดใส่พานไว้ ทุกวันโกนวันพระมักจะมีเเสงสว่างส่องออกมาจากพานประจำคนในบ้านก็เห็นกันเกือบทุกคน ผมจำได้ว่าเป็นตะกรุดเปล่าๆไม่มีอุดผงอะไร จำได้แค่พี่บอกว่าพ่อครูท่านเสกไตรมาสแต่ชื่อจำไม่ได้ ถ้ามีคาถาบูชาผมขอด้วยนะครับกำลังจะขอกลับมาอาราธนาเอง
หน้า 54 ของ 466