"วัดบางอ้อยช้าง" มรดกล้ำค่าแห่งเมืองนนท์

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 มีนาคม 2010.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"วัดบางอ้อยช้าง" มรดกล้ำค่าแห่งเมืองนนท์
    Travel - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>23 มีนาคม 2553 16:20 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หน้าอาคารพิพิธภัณฑ์มีต้นอ้อยช้างที่วัดปลูกไว้ให้ผู้ผ่านไป-มาได้รู้จัก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> "บางอ้อยช้างโอ้ช้างที่ร้างโขลง มาอยู่โรงรักป่าน้ำตาไหล
    พี่คลาดแคล้วแก้วตาให้อาลัย เหมือนอกไอยราร้างฝูงนางพัง ฯ"

    ......โดยสุนทรภู่

    ที่ฉันนำกลอนบทนี้มาเปิดเรื่อง ก็เพราะอยากจะพาพี่น้องย้อนเวลากลับไปในอดีตในสมัยอยุธยา ชุมชน "บางอ้อยช้าง" แห่งนี้เคยมีต้นอ้อยช้างอยู่มาก โดยต้นอ้อยช้างไม่เหมือนกับต้นอ้อยธรรมดา แต่เป็นต้นไม้ยืนต้นมีใบคล้ายใบโพธิ์ มีกิ่งเป็นชั้นๆ เป็นไม้เนื้ออ่อนคล้ายต้นงิ้ว มีรสหวานเจือรสฝาด เป็นที่ชื่นชอบของช้าง ซึ่งช้างจะกินเป็นอาหารและเป็นยารักษาโรค อีกทั้งต้นอ้อยช้างนี้ยังใช้เป็นที่รองพระที่นั่งบนหลังช้าง เวลาออกทัพไกลๆอีกด้วย ชุมชนนี้จึงมีหน้าที่ส่งส่วยอ้อยขึ้นไปเลี้ยงช้างหลวงที่กรุงศรีอยุธยา เดิมจึงเรียกชุมชนบางอ้อยช้างว่า "บ้านส่วยช้าง"


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย ราวพ.ศ.2304 ชาวบ้านก็ได้ร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นในบริเวณชุมชนและเรียกกันว่า "วัดบางอ้อยช้าง" ประวัติยังเล่าว่า บ้านบางอ้อยช้างเป็นหนึ่งในสามชุมชนที่รวบรวมเสบียงเวลาเกิดศึกสงครามร่วมกับทัพหลวง รวมถึงส่งชายฉกรรจ์ในพื้นที่ไปร่วมรับใช้ชาติร่วมกับกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินในการกู้แผ่นดิน ทำให้มีการสร้าง "อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน" เพื่อเป็นอนุสรณ์ไว้ที่วัดแห่งนี้ด้วย อีกทั้งพื้นที่ชุมชนบางอ้อยช้างนี้ ยังเป็นที่รักษาพยาบาลทั้งคนและสัตว์ที่ใช้เป็นพาหนะในสมัยนั้นด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เครื่องมือเครื่องใช้โบราณที่จัดแสดงไว้ภายในพิพิธภัณฑ์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สำหรับสิ่งน่าสนใจในวัดบางอ้อยช้างนั้นมีอยู่มากหลาย ซึ่งทริปนี้ฉันโชคดีมากที่ได้คุณธีรวัฒน์ กลีบผึ้ง ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้าง ขันอาสามาเป็นไกด์พิเศษ พาชมสิ่งต่างๆในวัดแห่งนี้ เริ่มจากจุดแรก เพื่อเป็นการปูพื้นความเข้าใจต่างๆในวัดแห่งนี้ คุณธีรวัฒน์ พาฉันไปรู้จักกับ "พิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้าง" ที่ทางวัดรวบรวมของเก่าแก่ ของสำคัญในชุมชนมาจัดแสดงไว้ให้เป็นดังมรดกล้ำค่าของชุมชน

    คุณธีรวัฒน์ เล่าว่า พระครูนนทวัตร วิบูลย์ อดีตเจ้าอาวาส ได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุที่มีในวัดและชุมชนบางอ้อยช้าง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้างแห่งนี้ เปิดอย่างเป็นทางการราวปี พ.ศ.2541-2542 ซึ่งได้ใช้พื้นที่เดิมของหอฉันท์ที่เป็นเรือนไม้เก่าแก่อายุกว่า 100 ปี มาดัดแปลงทำเป็นพิพิธภัณฑ์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ข้าวของโบราณในพิพิธภัณฑ์ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> คุณธีรวัฒน์ พาฉันขึ้นไปชมยังชั้นที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นบนสุดก่อน โดยในชั้นนี้จัดแสดงสมบัติมีค่าอันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เช่น ชุดของหลวงปู่ที่เย็บด้วยมือทั้งหมด ตาลปัตรของร.5 ที่มีสัญลักษณ์นารายณ์ทรงครุฑตามศิลปะของรัชกาลที่ 5 ตะลุ่มหรือพานแว่นฟ้า เป็นศิลปหัตถกรรมชั้นสูงของไทยโบราณ อยู่ในกลุ่มช่างรักงานประดับมุกซึ่งโดยปกติแล้วชาวบ้านจะไม่ค่อยมีใช้กัน ส่วนใหญ่จะมีในสำนักพระราชวังเท่านั้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภายในพิพิธภัณฑ์เก็บรักษาตู้พระธรรมลายรดน้ำหลายตู้</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ตู้พระธรรมลายรดน้ำ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงไว้มากมายหลายตู้ ซึ่งอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ 3-5 ตู้ลายรดน้ำต่างๆนี้หากลองพินิจดูแล้วก็จะทำให้ได้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่วัฒนธรรมในสมัยนั้นๆ เช่น ลวดลายหนุมานรามเกียรติ์ต่อสู้กัน หางหนุมานไปเกี่ยวกับตัวคิวปิด บอกถึงความสัมพันธ์ของชาวไทยกับฝรั่ง บางตู้ที่กระจังหน้าแทนที่จะเป็นสัญลักษณ์ครุฑ แต่กลับเป็นลวดลายคิวปิดสวมใส่ชุดครุฑ ซึ่งแสดงถึงสัมพันธไมตรีอันแน่นแฟ้นกับต่างชาติ เป็นต้น

    ส่วนด้านในตู้เป็นที่เก็บหนังสือเก่าแก่บอกเล่าความเป็นมาของจังหวัดนนทบุรี และบางตู้ก็จัดไว้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกใบลาน ที่มีอายุราว 200-300ปี บนผนังจัดแสดงภาพเขียนบนกระดาษของขรัวอินโข่ง ที่มีอายุกว่า 250 ปี ถึง 4 ภาพ และในชั้นที่ 3 นี้ยังมีห้องจำวัดของพระครูนนทวัตร และจัดแสดงเครื่องถ้วยชามของจีนในสมัยราชวงศ์ชิง และสมุดข่อยโบราณ อีกด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ลวดลายของตู้ลายรดน้ำหางหนุมานเกี่ยวตัวคิวปิด</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สำหรับในชั้นที่ 2 คุณธีรวัฒน์ เล่าว่า ได้จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวสวนเมืองนนท์ เช่น หม้อไว้เพาะทุเรียน หม่อหุงข้าว ไห โอ่งทำมือยุคแรกของจีนมีสีเขียวหยก หนังสือพระไตรปิฎก ตู้ลายรดน้ำไม้สักที่ยังไม่ปิดทอง หีบทองที่ใช้บรรจุศพลายเทพพนม พิกุล และลายบัว เป็นต้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หนึ่งในภาพวาดของขรัวอินโข่งที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว วัดบางอ้อยช้างยังมีโบราณวัตถุและปูชนียสถานที่สำคัญอีกมากมาย แต่ก่อนที่จะไปชมกันฉันขอไปกราบไหว้พระประธานภายใน "อุโบสถ"กันก่อน ซึ่งองค์พระประธานนี้เป็นพระพุทธรูปสลักด้วยศิลาแลงสมัยสุโขทัย และถอดได้เป็นท่อนๆ อายุประมาณ 600 ปี สันนิษฐานว่าเอาแบบมาจากลังกา แต่เดิมประดิษฐานในอุโบสถหลังเก่าที่มีลักษณะเป็นแบบมหาอุตย์จนถึง พ.ศ.2495 เพราะเนื่องจากอุโบสถหลังเก่านี้ได้ทรุดโทรมตามกาลเวลา จึงได้อันเชิญพระประธานไปประดิษฐานยังอุโบสถหลังใหม่

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระประธานในอุโบสถวัดบางอ้อยช้าง จ.นนทบุรี</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ภายในพระอุโบสถยังมีจิตกรรมฝาผนังที่แม้จะเป็นงานเขียนที่เขียนขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2549 ด้วยสีอะครีลิก แต่ก็มีความวิจิตรสวยงาม ลักษณะของภาพแบ่งเป็น 4 ผนังคือ ผนังด้านที่1 ตอนมหาสุบินนิมิต ตอนประสูติ ตอนมหาภิเษกรมณ์ ตอนตรัสรู้ ผนังด้านที่ 2 ตอนเสด็จโปรดปัญจวคีย์ ตอนแสดงปาฏิหาริย์ ตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนปรินิพาน ผนังด้านที่3 (ผนังหุ้มกลองหลังพระประธาน) วาดเรื่องไตรภูมิ และผนังด้านสุดท้าย(ผนังหุ้มกลองด้านหน้าพระประธาน) วาดเป็นตอนมารผจญ โดยภาพจิตกรรมเหล่านี้จะวาดสอดแทรกประวัติศาสตร์ของวัดบางอ้อยช้างเข้าไปด้วย ได้แก่ ภาพวาดตอนร.5เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศลทางชลมารค เป็นต้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>รอยพระพุทธบาท ในมณฑปริมน้ำ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จากนั้นคุณธีรวัฒน์พาฉันเดินจากอุโบสถไปยังด้านริมน้ำ เพื่อไปกราบไหว้ "รอยพระพุทธบาทเบื้องซ้าย" อันประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปที่จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2535 ตกแต่งแบบไทยเดิมสวยสง่างาม รอยพระพุทธบาทนี้หล่อด้วยทองสำริดขนาด 54 นิ้ว กว้าง 19.5 นิ้ว หนัก190 กิโลกรัม โดยสันนิษฐานว่าท่านพระอธิการทองอยู่ เจ้าอาวาสวัดองค์แรกได้ธุดงด์ไปทางเหนือแล้วพบพระพุทธบาทในป่า และพระศาสดาที่พิษณุโลกเมื่อ พ.ศ.2339 จึงได้อาราธนาลงแพไม้ล่องลงมาประดิษฐาน ณ วัดบางอ้อยช้างแห่งนี้ ส่วนพระศาสดาปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>มณฑปพระพุทธบาทริมน้ำ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> อีกแห่งหนึ่งที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ได้แก่ที่ "ศาลาการเปรียญ" โดยเป็นภาพจิตกรรมลวดลายทองรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาบนฝ้าเพดานไม้เหนือศีรษะ สันนิษฐานว่าน่าจะมีมานานแล้ว นอกจากนี้ภายในศาลาการเปรียญยังมีธรรมมาสน์บุษบกยอดมหากฐินที่เป็นศิลปะสมัยอยุธยาอันวิจิตสวยงามให้เห็นกันด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาพรอยพระพุทธบาทบนผนังเหนือศีรษะในศาลาการเปรียญ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นอกจากสิ่งน่าสนใจในวัดแล้ว บรรยากาศริมน้ำในวัดก็ดูสงบร่มเย็นเป็นสะอาดสะอ้านสบายตา ฉันขอแนะนำว่าใครที่ชมวัดและพิพิธภัณฑ์เสร็จแล้ว ลองมาแวะนั่งพักผ่อนหย่อนใจริมน้ำก่อนจะกลับก็ดีไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะจะได้ความอิ่มบรรยากาศ อิ่มใจ และอิ่มบุญ กลับบ้านไปแบบคุ้มค่าไม่น้อยเลย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บรรยากาศริมคลองอันสงบร่มเย็น</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    วัดบางอ้อยช้าง ตั้งอยู่ที่ 79 บ้านบางอ้อยช้าง คลองบางกอกน้อย หมู่ที่ 2 ซ.บางกรวย-ไทรน้อย 29 ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางสีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี พิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้างเปิดทำการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-13.00 น. หากต้องการเจ้าหน้าที่นำชมกรุณาติดต่อล่วงหน้า โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2447-5124, 08-1268-1723

    การเดินทางสู่วัดบางอ้อยช้าง จากถนนรัตนาธิเบศร์ฝั่งขาออกจากกรุงเทพฯ เลี้ยวซ้ายแยกเข้าถนนนครอินทร์ ตรงมาเรื่อยๆข้ามสะพานพระราม 5 ออกทางคู่ขนานแล้วเลี้ยงซ้ายไปเล็กน้อยฝั่งตรงข้ามจะเห็น ซ.บางกรวย-ไทรน้อย 29 มีซุ้มประตูวัดบางอ้อยช้างตรงเข้าไปสุดซอยจะเจอกับวัดบางอ้อยช้าง หรือมาจากทางถนนสิรินธรขาเข้า (ไปทางสะพานกรุงธน) เลี้ยงซ้ายเข้าถ.บางกรวย-ไทรน้อย ตรงไปเรื่อยๆจนถึงแยกที่จะเลี้ยวขวาขึ้นสะพานพระราม 5 ก่อนถึงแยกเล็กน้อยด้านซ้ายมือเป็น ซ.บางกรวย-ไทรน้อย 29 มีซุ้มประตูวัดบางอ้อยช้างตรงเข้าไปสุดซอยจะเจอกับวัดบางอ้อยช้าง ปัจจุบันมีเรือนำเที่ยวแวะขึ้นที่ท่าเรือวัดบางอ้อยช้างด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วัดบางอ้อยช้าง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

    วัดบางอ้อยช้าง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี



    <TABLE cellPadding=5><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: small">วัดบางอ้อยช้าง ตั้งอยู่ที่ตำบลบางสิทอง วัดนี้มีรอยพระพุทธบาท ลักษณะหล่อด้วยทองสำริด ขนาด 54 นิ้ว กว้าง 19 นิ้วครึ่ง เป็นโบราณวัตถุทางศาสนาที่มีอายุเก่าแก่กว่า 200 ปี เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านบางอ้อยช้าง รอยพระพุทธบาทวัดนี้สันนิษฐานว่าพระอธิธรรมทองอยู่ อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกท่านได้ธุดงค์ขึ้นไปทางภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลกเพื่อไปหาไม้มาสร้างวัดบางอ้อยช้าง และได้ไปพบรอยพระพุทธบาทและพระศรีรัตนศาสดาพร้อมกัน ท่านเห็นว่าโบราณวัตถุทั้ง 2 อย่าง นี้เป็นสิ่งล้ำค่าและสวยงามมาก แต่ขาดการบำรุงรักษาท่านจึงได้อาราธนาลงแพไม้มาและนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดบางอ้อยช้าง ในปี พ.ศ. 2535
    พระมหาวิบูลย์ฉายา ธมมโชโต เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้จัดสร้างพระมณฑปเพื่อเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท โดยมีงบประมาณได้มาจากความร่วมมือทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกาย และกำลังความคิดจากประชาชน เป็นพระมณฑปที่สวยงาม ตกแต่งด้วยศิลปวัฒนธรรมแบบไทยเดิมบรรจงสร้างอย่างวิจิตรบรรจง มีคุณค่าเหมาะสมที่จะเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทอย่างภาคภูมิใจและสมเกียรติ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    แผนที่วัดบางอ้อยช้าง
    วัดบางอ้อยช้าง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

    แหล่งท่องเที่ยวใน จ.นนทบุรี
    มีทั้งหมด 64 แหล่งท่องเที่ยว
    <TABLE cellPadding=2><TBODY><TR><TD class=headline colSpan=2>อ.ไทรน้อย</TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>ตลาดน้ำไทรน้อย</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดไทรใหญ่</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดเสนีวงศ์</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>ศูนย์บริการท่องเที่ยวเกษตรบางรักน้อย</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>หมู่บ้านบอนสีเฉลิมพระเกียรติฯ</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=headline colSpan=2>อ.บางกรวย</TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>ตลาดน้ำวัดตะเคียน</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดกระโจมทอง</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดแก้วฟ้า</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดชลอ</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดบางอ้อยช้าง</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดเพลง</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดโพธิ์บางโอ</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดสักน้อย</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=headline colSpan=2>อ.บางบัวทอง</TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2)</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดบางขนุน</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>สวนชวนชมปรีชา[​IMG]</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=headline colSpan=2>อ.บางใหญ่</TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>กลุ่มส่งเสริมผู้ปลูกกล้วยไม้[​IMG]</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>ถนนสายดอกไม้</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดคงคา</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดต้นเชือก</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดท่าบันเทิงธรรม</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดปรางค์หลวง</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดพระเงิน</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดพระนอน</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดพิกุลเงิน</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดยุคันธราวาส</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดราษฎร์ประคองธรรม</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดส้มเกลี้ยง</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดสวนแก้ว</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดสะแก</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดเสาธงหิน</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดอัมพวัน</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดอินทร์</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=headline colSpan=2>อ.ปากเกร็ด</TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>เกาะเกร็ด</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>ตลาดเก่าริมน้ำปากเกร็ด</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>ตลาดริมน้ำวัดใหญ่สว่างอารมณ์</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>บ้านครูมนตรี ตราโมท ดุริยางคศิลปิน (บ้านโสมส่องแสง)</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>พิพิธภัณฑ์เขาสัตว์</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>พุทธสถานเชิงท่า - หน้าโบสถ์</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดกู้</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดชลประทานรังสฤษดิ์</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดสะพานสูง</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>สวนทิวลิปนนท์</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>สวนผลไม้เกาะเกร็ด[​IMG]</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=headline colSpan=2>อ.เมือง</TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>ตลาดน้ำบางคูเวียง</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>ตลาดน้ำวัดแสงสิริธรรม</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>ตำหนักประถม-นนทบุรี</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติวิทยา</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>พิพิธภัณฑ์และศูนย์ฝึกอบรมการแพทย์แผนไทย[​IMG]</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดชมภูเวก</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดโชติการาม</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดโชติการาม</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดตำหนักใต้</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดโบสถ์</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดปราสาท</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดสังฆทาน</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>วัดแสงสิริธรรม</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>ศาลหลักเมือง</TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD>- </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>อุทยานกาญจนาภิเษก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ความเป็นมาของวัดบางอ้อยช้าง

    วัดบางอ้อยช้าง - ความเป็นมาของวัดบางอ้อยช้าง

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=800 align=center border=0><TBODY><TR><TD width="67%" rowSpan=2>วัดบางอ้อยช้าง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ตั้งอยู่เลขที่ 79 บ้านบางอ้อยช้าง คลองบางกอกน้อย หมู่ที่ 2 ตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2304 ในสมัยอยุธยา เข้าใจว่าชาวบ้านบางอ้อยช้างร่วมใจกันสร้างขึ้น แล้วขนานนามตามชื่อบ้านเพราะแต่เดิมบริเวณดังกล่าวมีต้นไม้ที่ชาวบ้านเรียกว่า “อ้อยช้าง” มากมาย หมู่บ้านดังกล่าวจึงมีนามว่า บ้านบางอ้อยช้าง และใช้เป็นนามวัด วัดบางอ้อยช้างได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 25 เมตร ยาว 40 เมตร ได้ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2500 ประเด็นสำคัญของวัดนี้ คือ การที่มีปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุที่มีค่าสำคัญมาเก็บรักษาไว้มากมาย เช่น รอยพระพุทธบาท พระศาสดา สมุดข่อย เครื่องถ้วย ตู้พระธรรมฯลฯ เป็นต้น โบราณวัตถุที่สำคัญหลายชิ้นได้ปรากฏหลักฐานว่ามีการขนย้ายมาที่วัดบางอ้อยช้างและเคลื่อนย้ายมายังกรุงเทพฯ จึงทำให้วัดนี้มีความเป็นมาและเรื่องราวที่น่าสนใจและทำการศึกษา โดยทั้งนี้ได้มีผู้กล่าวถึงวัดบางอ้อยช้างในบทกวีนิราศต่างๆเป็นจำนวนมาก เช่น สุนทรภู่ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัดและชุมชนนี้เป็นเส้นทางสำคัญที่จะต้องสัญจรผ่านในอดีต
    <TABLE cellPadding=10 width=800 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=3>บางอ้อยช้างเดิม เรียกว่า “บ้านส่วยช้าง” มีพ่อบ้านปกครอง เรียกว่า “หัวหมู่ส่วยหลวง” มีหน้าที่ส่งส่วยอ้อยขึ้นไปเลี้ยงช้างหลวงที่กรุงศรีอยุธยา คำว่าส่วยนี้ ยังมีอีกหลายประเภท เช่น ประเภทส่วยข้าวก็ส่งข้าว ประเภทส่วยเกลือก็ส่งเกลือ ประเภทส่วยน้ำก็ส่งน้ำและยังมีประเภทอื่นๆ อีกหลายประเภท เช่น ประเภทลูกหมู่ ๙ ประเภทเลขข้าว เดือน ๙ ประเภทเลขวัด ๙ แต่ละอย่างๆ ล้วนมีหน้าที่ที่จะพึงปฏิบัติต่างๆ กันแล้วแต่กรณีนั้นๆ อันเป็นประเพณีของการปกครองแบบโบราณ ถ้าจะบรรยายกันแล้วก็ยังมีอีกมากในตอนนี้จะขอกล่าวก็แต่เฉพาะส่วยอ้อย ที่อันเป็นประสงค์ประวัติชุมชนและวัดบางอ้อยช้างเท่านั้น </TD></TR><TR><TD width=575>
    อันส่วยอ้อยนี้ หัวหมู่ต้องรับผิดชอบมาจากหลวง โดยมีตราตั้ง เรียกว่าหัวหมู่ ก,ข,ค แล้วแต่ชื่อของตัวส่วนลูกหมู่นั้น มีสำมะโนครัว มีเสมียนจดไว้เป็นลำดับของครอบครัว เป็นต้นว่า นาย ก. เป็นบุตรของนาย ข. อำแดง ง. ดังนี้เป็นต้น เป็นทาสส่งส่วยอ้อยช้างหลวง จะหลบหนีไปไหนไม่ได้ หากจะมีใครหลบหนีไปไหน ต้องเป็นหน้าที่ของหัวหมู่ จะต้องติดตามจับตัวนำส่งถ้าโทษน้อยก็ลงอาญาเองได้ ถ้าโทษมากก็ต้องส่งหลวง ตามโทษานุโทษที่เจ้าหน้าที่หลวงจะสั่ง ถ้าภาคเสธ หรือปฏิเสธก็ต้องมีการตอกขมับ ทับเล็บ หรือถูกโบยด้วยหวาย หรือถูกตีตรวนแล้วแต่กรณีของโทษหนักเบา นี่เป็นอาญาสมัยทาสจะพึงได้รับ อันการส่งส่วยอ้อยนี้ ได้ปฏิบัติกันหลายชั่วอายุคน ที่เรียกกันว่า “สืบสันดาน” ตั้งแต่สมัยทวด ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ลูก และหลาย ต่อมาเมื่อเจ้านายของตนถูกปฏิวัติ ราชสมบัติก็ต้องตกเป็นของกษัตริย์ ราชวงศ์อื่นๆ ต่อไป การเปลี่ยนราชวงศ์กษัตริย์ก็ต้องกระจุยกระจายกันไป อันสาระบบต้นขั้ว สำมะโนครัวก็ต้องสูญหายไปการล้มเลิกส่งส่วยก็หมดไปด้วยราษฎรก็พากันไปประกอบอาชีพอื่นเพราะกลัวอาญาหลวง
    </TD><TD width=11></TD><TD width=200>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width=800 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=397>
    </TD><TD width=32></TD><TD width=349>เมื่อเจ้าหน้าที่ใหม่มามาสืบหรือมายืมสำมะโนครัวไม่ได้แล้ว ก็เป็นอันล้มเลิกกันไปโดยปริยาย เรื่องนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ ๑๙ สมัยกลางของกรุงศรีอยุธยานี้เอง อันต้นอ้อยช้างนี้ ไม่ใช่เป็นลำเหมือนอ้อยธรรมดา แต่เป็นต้นไม้ยืนต้นมีใบคล้ายใบโพธิ์กลายๆ มีกิ่งเป็นชั้นๆ เป็นไม้เนื้ออ่อนคล้ายต้นงิ้ว หรือต้นง้าว มีรสหวานเจือรสฝาดช้างชอบกินเป็นทั้งอาหาร และยารักษา ในส่วนของเปลือก ราก จึงได้เรียกกันว่าต้นอ้อยช้างสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ เวลานี้ต้นอ้อยช้างยังมีอยู่ที่ป่าสูงๆ ทางภาคเหนือเรียกว่า กาสะลอง หรือสำเภา ต้นอ้อยช้างนี้ยังมีติดอยู่ที่นี้มาถึงสมัยทวด และปู่ของชาวบ้านบางอ้อยช้างนี้ท่านเคยได้บอกเล่ากันต่อมา ยังมีอยู่ทางทิศหรดีของวัดนี้ แต่เมื่อขาดความต้องการ ดูแล รักษา จำเป็นอยู่เอง การพิทักษ์รักษาก็หมดไป ที่สุดความสูญสิ้นก็เข้ามาแทน เพราะไม่มีใครต้องประสงค์แล้ว นานหนักเข้าก็เหลืออยู่แต่เพียงชื่อเท่านั้น จึงปรากฏว่า เป็นชื่อ “บางอ้อยช้าง หรือวัดบางอ้อยช้าง </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=10 cellPadding=10 width=800 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=style36 colSpan=2>การตั้งชื่อวัดบางอ้อยช้าง มีตำนานเล่าว่า เมื่อเดิมมีต้นอ้อยช้างอยู่ทางทิศหรดี ในบริเวณที่ดินของวัดบางอ้อยช้างนี้ ปัจจุบันนี้มีต้นอ้อยช้างยังมีอยู่ตามป่าพื้นที่สูงๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ หรือบางส่วนของภาคใต้ เป็นไม้เนื้ออ่อน มีรูปร่างคล้ายต้นงิ้ว หรือต้นง้าว มีใบและกิ่งก้านสาขาแผ่เป็นชั้นๆ ช้างชอบกิน เป็นทั้งอาหารและยารักษาโรค (ต้นอ้อยช้างนี้มีอยู่คู่ชุมชนและวัดบางอ้อยช้างมาจนเมื่อขาดความต้องการ ดูแลรักษา จำเป็นอยู่เอง การพิทักษ์รักษาก็หมดไป) วัดบางอ้อยช้าง สร้างขึ้นประมาณพระพุทธศักราช ๒๓๐๔ ในสมัยอยุธยาเข้าใจว่าชาวบางอ้อยข้างร่วมใจกันสร้างขึ้น วุฒิบุคคลและมติมหาชนจึงได้ใช้ชื่อของต้นอ้อยช้างนี้ (เพราะแต่เดิมบริเวรดังกล่าวมีต้นไม้ที่ชาวบ้านเรียกว่า “อ้อยช้าง” มากมายหมู่บ้านดังกล่าวจึงมีนามว่า บ้านบางอ้อยช้าง) มาตั้งชื่อใช้เป็นนามวัด ถือว่าอันเป็นมงคลนามที่ดีของวัด สืบมาจนทุกวันนี้ เพราะเป็นต้นไม้ที่หายากด้วย และเป็นที่เกี่ยวข้องกับชุมชนมาตั้งแต่ในอดีต วัดบางอ้อยช้างได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พระพุทธศักราช ๒๔๙๘ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ได้ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พระพุทธศักราช ๒๕๐๐ </TD></TR><TR><TD>


    </TD><TD class=style36 width=551>ด้านประวัติศาสตร์ จากประวัติเมืองนนทบุรี ตามที่ผู้ศึกษาประวัติ ได้กล่าวไว้ว่า “บ้านบางอ้อยช้าง” หรือ “วัดบางอ้อยช้าง” เป็น ๑ ใน ๓ ชุมชนหรือวัดที่เป็น รวบรวมพล จัดหาเสบียงเวลาเกิดศึกสงคราม ร่วมกับทัพหลวง ที่เดินทัพมาทางน้ำ (แม่น้ำเจ้าพระยาเดิม) และทางบก ทั้งนี้เมื่อเกิดศึกสงคราม ผู้ชายที่อยู่ในพื้นที่ ชุมชนใกล้เคียง ต้องมารับใช้ชาติ และก่อนออกเดินทัพหรือออกศึกสงคราม จะมีการลงวิชาอาคม ของขลังต่างๆ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ปกป้องคุ้มครอง โดยครูบาอาจารย์สมัยนั้น ภายในอุโบสถ อุโบสถในสมัยนั้นจะมีลักษณะมหาอุตย์ หรือก่อสร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง ปัจจุบันคงเหลืออยู่ที่วัดปราสาท เป็น ๑ ใน ๓ ชุมชนหรือวัดพื้นที่รวบรวมพลแล้วจัดหาเสบียง ส่วนอีกพื้นที่หนึ่ง คือ วัดแคใน ทั้งนี้ในแต่ละครั้งที่รวบรวมพล ระหว่างการรอนั้นมีการละเล่นของเหล่าทหารและไพร่พล คือ รำกระบี่กระบอง พองยาว เพื่อเป็นการผ่อนคลาย และฝึกฝนไปด้วย อีกทั้งพื้นที่ชุมชนบางอ้อยช้างเป็นที่รักษาพยาบาล ทั้งคนและสัตว์ที่ใช้เป็นพาหนะในสมัยนั้นทั้งนี้ข้อมูลได้จากสิ่งของ วัตถุโบราณเช่น หินบดยา ตำรายาต่างๆ ที่มีอยู่ภายในพื้นที่ชุมชนและวัดบางอ้อยช้างเอง รวมถึงข้อมูลประวัติของจังหวัดนนทบุรี และตำนานเล่าขานสืบเนื่องต่อกันมาจากบรรพบุรุษ </TD></TR><TR><TD class=style36 colSpan=2>พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดบางอ้อยช้าง ต.บางสีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ด้วยขบวนเรือกลไฟ วันที่ ๑๖ ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๒ (พระพุทธศักราช ๒๔๔๗) เวลาบ่าย ๒ โมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องทหารเรือชุดขาวเสด็จออกทรงรถม้าพระที่นั่งพร้อมด้วยขบวนแห่นำตามเสด็จฯ ออกจากพระบรมมหาราชวัง ไปประทับรถพระที่นั่งที่ชาลาพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย เสด็จพระราชดำเนินลงประทับเรือพระที่นั่งกลไฟชลยุทธ เรือพระที่นั่งรองโกภณราชาวดี มีเรือกลไฟทหารเรือนำเสด็จออกจากท่าราชวรดิษฐ์ ขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยา เลี้ยวเข้าคลองบางกอกน้อย เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่งเสด็จกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง เวลาทุ่มเศษ (เสด็จวัดบางอ้อยช้างเป็นวัดที่ ๓) จากการบอกเล่าของท่านผู้ใหญ่สมัยท่านยังเด็กอยู่จำความได้ชาวบ้านมีความยินดีปลื้มปิติเป็นอันมาก และยังรวมแรงรวมใจสร้างโรงเรือสำหรับจอดพักเรือพระที่นั่ง และเรือตามเสด็จรวมถึงมาเข้าเฝ้ารับเสด็จพระองค์ท่าน </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=10 width=800 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=481>พระครูนนทวัตรวิบูลย์ (ธมฺมโชโต ป.ธ.๕) เจ้าคณะอำเภอบางกรวย มาเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดบางอ้อยช้าง มาตั้งแต่พระพุทธศักราช ๒๔๙๔ วิทยฐานะ น.ธ. โท , ป.ธ.๕ ชาติภูมิ บุรีรัมย์ ชื่อ วิบูลย์ นามสกุล ทองเสวี เกิดวัน ๓ ฯ ๕ ปีขาล วันอังคารที่ ๓๑ มีนาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ บิดา นายเข็ม มารดา นางจันทร์ ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่หมู่ ๔ ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปรายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ อาชีพ ทำนา ท่านพระครูนนทวัตรวิบูลย์ท่านเป็นผู้ริเริ่มและจากความร่วมมือร่วมใจของชาวชุมชน เพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้างขึ้นก่อกำเนิดขึ้นราวปี พ.ศ. 2542 โดยเพื่อเป็นการจัดเก็บรักษาสมบัติของชาติ ของแผ่นดิน ของพระพุทธศาสนา และเพื่อเป็นที่ศึกษาเรียนรู้ของประชาชน นักเรียน นักศึกษา ในประวัติศาสตร์ของชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องมาเมื่อ 500 ปีสมัยสุโขทัย และวัดบางอ้อยช้างที่มีมาเมื่อ 250 ปีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยท่านอนุเคราะห์มอบพื้นที่อาคารหอฉันท์ชั้นที่ 2 , 3 ให้ชุมชนจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ อาคารพิพิธภัณฑ์เดิมเป็นอาคารไม้เก่าแก่อายุราว 80-100 ปีของวัด และทำการรื้อย้ายบูรณะสร้างเป็นอาคารหอฉันท์ มีพื้นที่ทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นพื้นที่ฉันท์ภัตตาหารของพระสงฆ์ ชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่ พักของลูกศิษย์วัดและสอนหนังสือพระสงฆ์ ชั้นที่ 3 พื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นกุฏิท่านเจ้าอาวาส และพื้นที่อีกส่วนเป็นเก็บรักษาสมบัติของวัด (ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์)</TD><TD width=1></TD><TD class=style36 width=258>


    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2539ได้มีการบูรณะอาคารหอฉันท์ขึ้น ด้วยความร่วมใจและศรัทธาของชาวชุมชน เพื่อเป็นการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ของอาคาร ที่มีสภาพทรุดโทรม โดยอาคารชั้นล่างยังคงใช้งานเป็นหอฉันท์ของพระภิกษุสงฆ์ และชั้นที่ 2 , 3 ปีพ.ศ. 2542ได้รับความอนุเคราะห์ ยกพื้นที่ให้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชน โดยท่านพระครูนนทวัตรวิบูลย์ ท่านเจ้าอาวาส เจ้าคณะอำเภอบางกรวย และอนุญาตให้นำวัตถุโบราณของวัดที่ท่านเก็บรักษาไว้นำมาจัดแสดง ด้านงานการศึกษา ท่านได้จัดให้มีการเรียนนักธรรมและบาลี ส่งนักเรียนเข้าสมัครสอบสนามหลวง ในส่วนการศึกษาทางโลกก็เป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียนประชาบาลวัดบางอ้อยช้าง โดยได้จัดสร้างโรงเรียน อาคารเรียนหลังแรก ร่วมกับชาวบ้านและทางราชการในปี พระพุทธศักราช ๒๕๐๐ ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน แสดงธรรมเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาฃบูชา วันอาสาฬาหบูชาของทุกปีไม่เคยขาด มีการอบรมบรรชิตและคฤหัสถ์ที่มารักษาอุโบสถตลอดไตรมาสมีการเทศนาเผยแผ่ธรรมเพื่อสาธารณสงเคราะห์ เช่น ช่วยนำเงินบูชากัณฑ์เทศน์ถวายความอุปถัมภ์ สถาบันโรคเรื้อน โรงพยาบาลสงฆ์ และสมทบทุนมูลนิธิสายใจไทย ตลอดมา อีกทั้งท่านยังนำปัจจัยบริจาค และส่วนตัว มาบูรณะปฏิสังขรวัดบางอ้อยช้าง โรงเรียนวัดบางอ้อยช้าง มอบทุนการศึกษา ส่งเสริมพระ เณร เด็กวัด ให้ศึกษาเล่าเรียน ส่งเสริมการสาธารณะสุข และอื่น ฯลฯ ทั้งนี้ท่านยังร่วมกับชาวบ้านในการส่งเสริมในการทำกิจกรรมตามประเพณีมีมาแต่โบราณ และวันสำคัญต่างๆ เช่น งานประเพณีทำบุญตักบาตร วันขึ้นปีใหม่ วังสงกรานต์ วันเฉลิมพระชนน์พรรษา ลอยกระทง และงานประเพณีไทยที่ยึดถือของชาวพุทธได้ปฏิบัติกันสืบมา กฎระเบียบที่ท่านทรงปฏิบัติตามกิจของสงฆ์ มาโดยตลอด ทำวัตรสวดมนต์ เช้า – เย็น ลงอุโบสถกรรมฟังพระปาฏิโมกข์มิเคยขาด พระ เณรทุกรูป รวมทั้งเด็กวัด ต้องปฏิบัติตามระเบียบของวัดตามพระธรรมวินัยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม ท่านเป็นพระนักปฏิบัติธรรมและพระนักพัฒนา โดยได้พัฒนาวัดบางอ้อยช้าง ชุมชน ให้เจริญรุ่งเรือง อันเป็นคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และคุณประโยชน์ชุมชนส่วนรวมเป็นอย่างยิ่ง ได้ประสาทความสามัคคีให้เกิดขึ้นในระหว่างบ้านกับวัด ทำให้พระพุทธศาสนา และชุมชนบางอ้อยช้าง เจริญรุ่งเรือง จนถึงปัจจุบัน </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...