วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปี 2012

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 28 กรกฎาคม 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ ปี 2012 เหตุการณ์ปี 2012 นั้นมีนัยสำคัญค่อนข้างมากถ้าทุกคนได้ศีกษาถีงความสัมพันธ์ระหว่างดวงดาว ดวงอาทิตย์ ทางช้างเผือก ได้มีคำทำนายต่างๆเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขี้นซี่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นกับมวลมนุษยชาติ เรื่องราวของปี 2012 ในแง่ของทางวิทยาศาสตร์นั้นมีความสำคัญ เนื่องจากวันที่ 21 ธันวาคม 2012 เป็นวันที่โลกจะเรียงตัวกับพระอาทิตย์ และ แนวระนาบของทางช้างเผือก ในทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเชื่อว่าการเรียงตัวไม่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญอะไรเนื่องจากปฏิกริยากันตามความรู้ทั่วไปนั้นมีไม่มากพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่หลักฐานจากสี่งที่เกิดขี้นโดยเฉพาะกับดวงอาทิตย์พบว่าเวลามวลดาวเคราะห์มีการเรียงตัว จะทำให้พระอาทิตย์เกิดปฏิกริยามากเป็นพิเศษ โดยเกิดขี้นเป็นจำนวนนับไม่ถ้วนในอดีต ซี่งไม่สามารถอธิบายโดยหลักวิทยาศาสตร์ทั่วไปได้ เราสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือบอกเหตุในอนาคตและคาดคะเนความร้ายแรงของเหตุการณ์ได้ นอกจากเรื่องของการเรียงตัวแล้วยังมีปรากฏการณ์ที่เกิดขี้นกับระบบสุริยะจักรวาลซี่งคล้ายคลึงกับทฤษฏี Galactic Superwave ของ ดร. Paul LaViolette อีกด้วย ซี่งอธิบายเกี่ยวกับการที่ Gamma ray bust สามารถจุดฉนวนปฏิกริยาของดวงอาทิตย์ ขณะนี้ทางการได้ออกมายอมรับว่าระบบสุริยะจักรวาลเคลื่อนตัวผ่านกลุ่มหมอกดวงดาวซึ่งอยู่นอกเหนือการคาดการณ์และมีพลังงานบางอย่างเข้ามา
    ก่อนจะกล่าวถีงเรื่องของปี 2012 เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาลของเราก่อนโดยเริ่มจากทางช้างเผือก และ ตามด้วยปฏิกริยาของดวงอาทิตย์ และการเปลี่ยนแปลงของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
    ทางช้างเผือก

    [​IMG]
    ทางช้างเผือกของเรานั้นเต็มไปด้วยกลุ่มดาวซี่งมีประมาณ 200 ถีง 400 พันล้านดวงเคลื่อนที่ล้อมรอบจุดศูนย์กลางของทางช้างเผือก ซี่งตรงกลางของทางช้างเผือกนั้นประกอบด้วยหลุมดำซี่งดูดทุกสิ่งที่อย่างเข้าไปและเกิดการระเบิดเป็นระลอกๆ และปล่อยพลังงานขนาดใหญ่มหาศาลออกมา ดวงอาทิตย์ของเรากำลังเคลื่อนตัวตัดผ่านเข้าไปในแนวระนาบของทางช้างเผือก ซี่งเต็มไปด้วยพลังงานหลายรูปแบบ และยังเต็มไปด้วยมวลของกลุ่มดาวขนาดใหญ่มหาศาล พระอาทิตย์ของเราโคจรล้อมรอบระบบทางช้างเผือกโดยใช้เวลาประมาณ 225 ล้านปี ในช่วงเวลาของวงโคจรนี้ ระบบสุริยะจักรวาลของเราก็ได้เคลื่อนขี้นลงตัดผ่านแนวระนาบของทางช้างเผือกทุกๆ ประมาณ 33 ล้านปี โดยแนวการโคจรมีลักษณะ เป็นลูกคลื่น ณ เวลาปัจจุบันนั้นเรากำลังจะตัดผ่านแนวระนาบของทางช้างเผือกพอดี จีงมีพลังงานจำนวนมากเข้ามาในระบบและทำให้เราเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขี้นบนทั้งโลก และ ดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะจักรวาล
    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/17jymDn0W6U&hl=en_US&fs=1 width=480 height=385 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>
    ดวงอาทิตย์

    ก่อนที่เราจะเข้าถีงเรื่องของการปรากฏการณ์นี้ เราจะเริ่มจากศีกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิกริยาของดวงอาทิตย์ก่อน ดวงอาทิตย์นั้นเป็นดาวที่มีขนาดใหญ่ มีมวลเทียบเป็น 99.86% ของมวลทั้งหมดในระบบสุริยะจักรวาล ซี่งในระบบนั้นมีดาวเคราะห์ทั้งหมด 9 ดวง ได้แก่ ดาวพุทธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และ ดาวพลูโต ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยธาตุหลักๆได้แก่ ไฮโดรเจน ฮีเลียม และคาร์บอน
    [​IMG]
    พลังงานทีพระอาทิตย์ปลดปล่อยออกมานั้นอยู่ในรูปของ พลาสมาซี่งเกิดขี้นจากปฏิกริยานิวเครียร์ ฟิวชันของ ธาตุไฮโดรเจนรวมตัวกันเป็นฮีเลียม บนพี้นผิวของดวงอาทิตย์เต็มไปด้วย พลาสมา ซี่งโคจรรอบตัวมันเองตามแนวเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ เนื่องจากความเร็วของมันจะเปลี่ยนแปลงตามตำแหน่งตามแนวราบเทียบกันเส้นศูนย์สูตร มันจีงเกิดปฏิกริยาบิดตัว และปล่อยพลังงานในรูปแบบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซี่งแนวที่พระอาทิตย์ปล่อยพลังงานออกมานั้นจะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งของดวงเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล และ วัตถุ หรือ พลังงานอีนๆ ซี่งเคลื่อนตัวเข้าหาดวงอาทิตย์ จากการศีกษาพบว่า พลังงานของดวงอาทิตย์ที่ถูกปล่อยออกมานั้น จะปล่อยออกมาในทิศทางที่มีจำนวนดาวเคราะห์ที่เรียงตัวกัน และ จำนวนพลังงานก็ยังขี้นอยู่กับจำนวนดาวเคราะห์ที่อยู่ในแนวเรียงตัว แม้ว่าระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์จะไกลกันมากและพระอาทิตย์มีสนามแม่เหล็กที่ใหญ่กว่ามาก แต่การศีกษาอย่างเป็นทางการ พบว่าสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์เชื่อมโยงกับดาวเคราะห์ นอกจากนั้นอาจจะมีกลไกอี่นซี่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฏีในปัจจุบัน ถ้าโลกอยู่ในแนวที่พลังลมสุริยะปล่อยออกมาก็อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้า และ การบิน
    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/HTPrwgP8oFY&hl=en_US&fs=1& width=425 height=344 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>
    วีดิโอแสดงความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลก เมื่อมีพลังงานจากดวงอาทิตย์เข้ามากระทบ
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=200 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    6 กรกฎาคม คศ 2009
    </TD><TD>[​IMG]
    6 พฤษจิกายน คศ 2009
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ภาพเปรียบเทียบการเกิดอุบัติเหตุทางอากาศแบบไม่ร้ายแรง (ป้ายสีเหลืองรูปเครื่องบินในแผนที่) เวลามี ( 6 กรกฏาคม คศ 2009) และไม่มีปรากฏการณ์ Corona Mass Ejection ที่เข้ามาในทิศทางวงโคจรของโลก (6 พฤษจิกายน คศ 2009) MINA Breaking News - Russians order Flight Changes, after Massive Magnetic Shift downs Airliners...
    ดาวเคราะห์แต่ละดวงนั้นมีผลต่อดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ดาวที่มีผลต่อปฏิกริยาดวงอาทิตย์จะมีสนามแม่เหล็กที่ขั้วโลกซี่งได้แก่ พุธ โลก พฤหัส ยูเรนัส และ เนปจูน ดาวเคราะห์ที่มีผลต่อปฏิกริยาของดวงอาทิตย์มากที่สุดคือดาวพฤหัสซี่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล และ มีสนามแม่เหล็กและแรงโน้มถ่วงซี่งมีอิทธิพลต่อดวงอาทิตย์เป็นหลักซี่งทำให้จุดบอดของดวงอาทิตย์มีวัฐจักรจากต่ำสุดไปยังสูงสุดในระยะเวลาประมาณ 11 ปี ดวงอาทิตย์ก็มีปฏิกริยาสูงสุด ครั้งล่าสุดเมื่อปี คศ 2001 และประมาณการกันว่าจะมีปฏิกริยาสูงสุดอีกทีที่ปี คศ 2012
    [​IMG]
    วัฏจักรประมาณ 11 ปีของดวงอาทิตย์
    [​IMG]
    ปริมาณลมสุริยะของดวงอาทิตย์ ในช่วงเวลาที่มีจุดดับน้อย (1994) เทียบกับ ช่วงเวลาที่มีจุดดับมาก (2000)
    [​IMG]
    การวิเคราะห์คาบของปฏิกริยาของดวงอาทิตย์เทียบกับตำแหน่งการเรียงตัวของดาวเคราะห์โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดาวเสาร์และดาวพฤหัส
    ทุกครั้งที่ดาวเคราะห์เรียงตัวกันและเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกริยาที่ดวงอาทิตย์ พลังงานบางส่วนได้ส่งมายังโลกและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนชั้นบรรยากาศและระบบไฟฟ้าบนโลก นอกจากนั้นการเรียงตัวกันของดวงดาวยังเหนี่ยวนำให้เกิดแผ่นดินไหวบนดาวเคราะห์ที่เรียงตัวกัน จากการสำรวจทางสถิติของโลกในอดีต จะพบว่า แผ่นดินไหวขนาดใหญ่จะเกิดขี้นในช่วงวันที่โลกเรียงตัวกับดาวเคราะห์อี่น นอกจากพระอาทิตย์และโลกจะมีปฏิกริยาซี่งเกิดขี้นจากการเรียงตัวของดาวเคราะห์แล้วยังมีปฏิกริยากับพลังงานรังสี แกมมาซี่งเกิดจากการระเบิดจากกาแล็ดซีข้างเคียง เมื่อมีการระเบิดเกิดขี้นพลังงานเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงกับระบบสื่อสารดาวเทียม และทำให้เกิดเหตุขัดข้อง
    [​IMG]
    [​IMG]
    ภาพของจำนวน จุดดับบนดวงอาทิตย์ในช่วงเดือน กันยายน ถีง เดือน พฤศจิกายน 2552 เมื่อเทียบกับแผนที่ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
    นอกจากนั้นยังพบว่าพลังงานอี่นๆที่มาจากรังสีแกมมา และพลังงานสนามแม่เหล็ก มายังเป็นตัวจุดฉนวนในการเกิดปฏิกริยาใต้ผิวโลก เช่นแนวการเคลื่อนตัวของลาวา ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด ดังนั้นปฏิกริยาของดวงอาทิตย์ในวันที่ 21 ธันวาคม 2012 นั้นจะมีความร้ายแรงมากเป็นพิเศษ เพราะ มีการเรียงตัวของดาวเคราะห์จำนวนมากในทางช้างเผือก และ พลังงานที่เข้ามาในระบบสุริยะจักรวาลจะมากที่สุด ณ วันนั้น
    ผลกระทบจากการที่พลังงานรังสีจากทางช้างเผือกเข้ามาในระบบสุริยะจักรวาล

    การที่พลังงานรั่วไหลเข้ามาในระบบสุริยจักรวาลนั้นส่งผลกระทบมากมายต่อดาวเคราะห์ทุกดวง จากการที่เราได้ส่งดาวเที่ยมจำนวนหลายดวงเพี่อศีกษาลมสุริยะ เช่น Voyager 1, 2 และ IBEX พบว่าความดันลมสุริยะมีขนาดเล็กลงไป 25% หรือมากกว่านั้นในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากจักรวาลเป็นระบบเปิด และ ใช้สมมติฐานทีว่า การเปลี่ยนแปลงจากภายในพระอาทิตย์นั้นมีไม่มาก การที่ความดันลมสุริยะลดลงก็หมายความว่ามีความดันจากด้านนอกของดวงอาทิตย์เพิ่มขี้น ซี่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุแรกก็คือการที่เราเคลื่อนตัวเข้าสู่พี้นที่ที่มีพลังงานสูง ซี่งแหล่งพลังงานนี้อาจจะเกิดจากตำแหน่งของเรากำลังเข้าใกล้ ระนาบของทางช้างเผือก อย่างที่สองก็คือการที่เราเคลื่อนตัวเข้าสู่กลุ่มก็าซและอนุภาคที่มีปริมาณมากเป็นพิเศษ (Interstella cloud) ซี่งเราก็สามารถตรวจจับอนุภาคและพลังงานต่างๆได้เป็นจำนวนมาก และตามขอบของ Bow shock ของดวงอาทิตย์
    [​IMG]
    ภาพจำลองของทิศทางของระบบสุริยะจักรวาล (ลูกศรสีเหลือง) ที่เคลื่อนตัวผ่านกลุ่มหมอกอนุภาค และ เมื่อเทียบกับแนวของทางช้างเผือก (ลูกศรสีฟ้า)
    [​IMG]
    ภาพวัดของเกราะกำลังรอบนอกของดาวงอาทิตย์จากยาน IBEX พบแนวอนุภาคนิวตรอนซี่งอยู่ในแนวตั้งฉากกับระนาบของทางช้างเผีอกของเรา
    [​IMG]
    ลมสุริยะลดกำลังลงมากสุดเป็นประวัติการณ์ที่มีการบันทีกไว้ในรอบ 50 ปี
    เมื่ออนุภาคเหล่านี้เข้ามาในดาวเคราะห์จะทำให้เกิดพลังงาน และการนำกระแสไฟฟ้าบนชั้นบรรยากาศ จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่อดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะจักรวาล หลักฐานของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศบนดาวเคราะห์มีดังนี้
    1. ดาวพูลโต มีความสว่างเพิ่มขี้นทางเหนื่อ ความมึดเพิ่มขี้นทางใต้ สภาวะความกดอากาศเพิ่มขี้น 200% และมวลเพิ่มขี้นถีง 2 เท่าตัวในช่วงเวลาไม่ถีง 10 ปี
    [​IMG]
    2. ดาวเนปจูน มีความสว่างเพิ่มขี้น 40% และสนามแม่เหล็กกลับทิศ
    [​IMG]
    3. ดาวยูเนรัส มีสภาพอากาศแปรปรวน และ ขั้วแม่เหล็กกลับทิศ
    [​IMG]
    4. ดาวเสาร์ มีความเร็วของชั้นบรรยากาศลดลงต่ำสุดในรอบ 20 ปี และ เกิด ออร์รา ที่บริเวณขั้วของดาวเคราะห์
    [​IMG]
    5. ดาวพฤหัส เกิดการเปลี่ยนในชั้นบรรยากาศ ซี่งทำให้ กลุ่มก็าซขนาดใหญ่ รวมตัวกัน และ ดาวได้ปล่อยพลังงานที่ปริมาณมากกว่าที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ นอกจากนั้นยังได้เกิดเหตุการณ์อุกกาบาตขนาดใหญ่พุุ่งชนอีกด้วย
    [​IMG]
    6. ดาวอังคาร ได้เกิดเหตุน้ำแข็งขั้วโลกละลาย และ เริ่มมีชั้นบรรยากาศ อีกทั้งสนามแม่เหล็กก็เริ่มหายไป
    [​IMG]
    7. ดาวศุกร์ มีความสว่างสูงขี้น 2500%
    8. ดาวพุทธได้เกิดน้ำแข็งขี้นที่ขั้วโลก และ ปริมาณของเปลว โซเดียม ลดลงอย่างมาก ซี่งอาจะเชื่อมโยงจากการที่พระอาทิตย์อ่อนกำลังลง
    [​IMG]
    การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศบนโลก

    โลกก็ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปรากฏการณ์นี้ ในหลายรูปแบบของ แผ่นดินไหว และ สภาพอากาศที่แปรปรวน โดยเกิดจากหลายปัจจัย ในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมาแผ่นดินไหวบนโลกที่มีขนาดเกิน 6 ริตเตอร์ได้เกิดขี้นเป็นอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2000 ที่ดวงอาทิตย์มีปฏิกริยาและจุดดับบนดวงอาทิตย์เพิ่มขี้นสูง
    [​IMG]
    ความถี่ของแผ่นดินไหวบนโลกที่มีขนาดระหว่าง 6-8 วิตเตอร์
    [​IMG]
    ความถี่ของฝนดาวตก Geminid ตั้งแต่ปี 1860
    [​IMG]
    ปริมาณอุกกาบาตสะสมที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 กิโลเมตร (แดง) และจำนวนอุกกาบาตทั้งหมด (น้ำเงิน)
    [​IMG]
    โลกได้รับพลังงานรังสีคอสมิคมากเป็นประวัติการณ์
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=200 border=1><TBODY><TR><TD class=rtecenter>[​IMG]</TD><TD class=rtecenter>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ข่าวจาก ESA เกี่ยวกับฝุ่นละอองที่เข้ามาในระบบสุริยะจักรวาล
    จะเห็นได้ว่าโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากมายและจะมีแนวโน้มจะสูงขี้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่เกิดขี้นบนดาวเคราะห์ที่เหลือในระบบสุริยะจักรวาล ตั้่งแต่คาบปฏิกริยาของดาวอาทิตย์เมื่อครั้งที่แล้ว (solar cycle 23) พระอาทิตย์มีปฏิกริยาสูงสุดและจะมีการกลับขั้วสนามแม่เหล็กหลังจากนั้น แต่เกราะกำบัง heliosphere ของดวงอาทิตย์ไม่กลับสู่สภาวะปกติเหมือนในอดีต และ ทำให้ฝุ่นละอองเคลื่อนตัวเข้ามาในระบบมากขี้น ผลที่ได้รับอันแรกคือ ฝุ่นละอองเกิดการเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ และ เกิดความร้อน พลังงานส่วนใหญ่ยังเข้ามาแถวขั้วโลกในแนวของสนามแม่เหล็ก ซี่งอาจเป็นเหตุผลหนี่งที่ทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย อันที่สองคือละอองฝุ่นเหล่านี้มีขนาด ประมาณ 20 ไมครอน ซี่งเราอาจจะไม่เห็นถีงการเผาไหม้ แต่ทำให้ชั้นบรรยากาศนำไฟฟ้า ซี่งถ้าเกิดในระยะความสูง 80 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล อาจจะเป็นสาเหตุของการเกิด Noctilucent cloud
    [​IMG]
    ภาพถ่ายของ Noctilucent cloud บริเวณขั้วโลกเหนือของโลก
    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/8w30AwTmOGY&hl=en_US&fs=1& width=480 height=385 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>
    ความผิดปกติของสนามแม่เหล็กโลก ซี่งเกิดจากพลังงานบางอย่าง ซี่งอาจจะมาจากนอกระบบสุริยะจักรวาล
    ถ้าฝุ่นหรือพลังงานเหล่านี้สามารถทะลุทะลวงเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลกได้ก็จะเหนี่ยวนำให้เกิด พายุ ฝนฟ้าคะนองได้มากเป็นพิเศษ (link) นอกจากนั้นแล้ว การเรียงตัวของดาวเคราะห์ยังเหนี่ยวนำทำให้การเกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ซี่งก่อให้เกิดแผ่นดินไหว ถ้าแนวเรียงตัวนั้นมีพระอาทิตย์อยู่ด้วยจะเหนี่ยวนำให้เกิด ปฏิกริยาบนพระอาทิตย์ ซี่งจะปล่อยพลังงานในแนวที่เกิดการเรียงตัว ถ้าพลังงานนี้ (coranal mass ejection) พุ่งมายังโลกก็จะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบการบิน และ ระบบไฟฟ้ากำลัง ส่วนใหญ่จะเกิดแนวพี้นที่ทางขั้วโลก ซี่งเป็นแนวที่มีสนามแม่เหล็กรั่วมากเป็นพิเศษ จากข้อมูลเบื้องต้นทำให้เรารู้ว่าปรากฏกาณ์ดาวเรียงตัวมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์บนโลก โดยเฉพาะถ้าโลกอยู่ในแนวเรียงตัว
    [​IMG]
    รูปถ่ายของท้องฟ้าถ้ามองจากโลกในวันที่ 21 ธันวาคม 2012
    ดังนั้นวันที่ 21 ธันวาคม 2012 จีงน่าจะเป็นวันที่เราได้รับพลังงานสูงสูด สิ่งที่เกิดขี้นก็คือภัยธรรมชาติจะมีความรุนแรงเป็นพิเศษในวันนั้น สี่งที่น่าจะเป็นอันตรายที่สุดคือ แผ่นดินไหวซี่งอาจจะทำให้เกิด คลื่นยักษ์ ซี่งเคยเกิดขี้นมาแล้วในปี 2004 และสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังทำให้พระอาทิตย์มีปฏิกริยาสูงสุด และปล่อยพลังงานออกมาก สร้างความเสียหายให้กับระบบดาวเทียมสื่อสาร และ การส่งกำลังไฟฟ้า ทำให้เกิดไฟฟ้าดับครังใหญ่ได้ จากข่าวทั่วไปบ่งบอกว่าทางหน่วยงานราชการในต่างประเทศได้ทำการเตรียมการรับมือแล้ว ดังนั้นเราจีงต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขี้น ซี่งจะพูดถีงในหมวดของการเตรียมพร้อม
    [​IMG]
    กองทัพอากาศสหรัฐออกมาบอกว่าระบบ GPS จะมีปัญหาและได้เตรียมการส่งดาวเทียมใหม่ไปแทนที่
    [​IMG]
    ข่าวเกี่ยวกับการที่กองทัพจะปิดบังข้อมูลเกี่ยวกับหินอุกกาบาต
    งานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย
    วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปี 2012 | Truth4Thai.org
     
  2. noraphat

    noraphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +327
    บทความนี้สุดยอดจริงๆครับ ... ขอบพระคุณครับ
     
  3. texsum

    texsum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +1,511
    สุดยอดมากๆเลยครับ เนื้อหาชัดเจน
     
  4. borichi

    borichi Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +66
    เรียนท่านK.KWAN ช่วยจัดFront ให้พอดีกับหน้าเว็บ จะเป็นการดีอย่างยิ่ง
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ไปที่ลิ้งตามนี้เลยค่ะ
    วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปี 2012 | Truth4Thai.org
    ต้นฉบับ จะดูสวยงามกว่า พอก๊อปมามันขยายออก จัดไม่ไหวค่ะ อิอิ
    ขอให้สนุกกับข้อมูลความรู้ทางวิทยาศาสตร์ นะคะ
    เจ้าของเว็บนี้เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วยมั้งค่ะ เป็น ดร. ด้วยมั้ง
    ความรู้เขาเยอะดีค่ะ
     
  6. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,438
    อ่านเพลินเลยนะค่ะ...........
     

แชร์หน้านี้

Loading...