สมณสูตร กิจของสมณะที่สมณะควรทำ ๓ อย่าง

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 8 ธันวาคม 2012.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    สมณวรรคที่ ๕
    สมณสูตร
    [๕๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจของสมณะที่สมณะควรทำ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน
    คือการสมาทานอธิศีลสิกขา ๑ การสมาทานอธิจิตตสิกขา ๑การสมาทานอธิปัญญาสิกขา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีความพอใจอย่าง
    แรงกล้าในการสมาทานอธิศีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิจิตตสิกขา
    เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
    พึงศึกษา เช่นนี้แล ฯ
     
  2. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    คัทรภสูตร

    [๕๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาติดตามไปเบื้องหลังฝูงโค มันร้องว่า แม้เราก็เป็นโค
    แต่สี เสียงและรอยเท้าของมันหาเหมือนของโคไม่ มันเป็นแต่เดินตามหลังฝูงโคร้องว่า
    แม้เราก็เป็นโคๆ ดังนี้เท่านั้น
    แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
    ฉันนั้นเหมือนกันแล ติดตามไปเบื้องหลังภิกษุสงฆ์ร้องประกาศว่า แม้เราก็เป็นภิกษุๆ
    แต่ความ
    พอใจในการสมาทานอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาของเรา หาเหมือนของภิกษุ
    ทั้งหลายไม่ เขาเป็นแต่ติดตามไปเบื้องหลังภิกษุสงฆ์ร้องประกาศว่า แม้เราก็เป็นภิกษุๆ
    ดังนี้เท่านั้น
    เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีความพอใจ
    อย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิศีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างแร้งกล้าในการสมาทานอธิจิต
    ตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่าน
    ทั้งหลายพึงศึกษาเช่นนี้แล ฯ
     
  3. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    เขตตสูตร

    [๕๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจที่ควรทำแต่แรกของคฤหบดีชาวนา๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง
    เป็นไฉน
    คือ คฤหบดีชาวนาในโลกนี้ ก่อนอื่นจะต้องไถคราดนาให้ดีก่อน แล้วก็เพาะ
    พืชลงไปตามกาล ครั้นแล้วก็ไขเอาน้ำเข้าบ้างระบายเอาออกเสียบ้างตามสมัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    กิจที่ควรทำแต่แรกของคฤหบดีชาวนา ๓ อย่างนี้แล ฉันใด กิจที่ควรทำก่อนของภิกษุ ๓ อย่างนี้
    ฉันนั้นเหมือนกัน๓ อย่างเป็นไฉน
    คือ การสมาทานอธิศีลสิกขา ๑ การสมาทานอธิจิตต
    สิกขา ๑การสมาทานอธิปัญญาสิกขา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจที่ควรทำก่อนของภิกษุ ๓
    อย่างนี้แล
    เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาเช่นนี้ว่า เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้า
    ในการสมาทานอธิศีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิจิตตสิกขา เราจักมี
    ความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษา
    เช่นนี้แล ฯ
     
  4. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    วัชชีปุตตสูตร

    [๕๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้เมือง
    เวสาลี ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท
    ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทนี้
    พระเจ้าข้า
    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ ก็ท่านสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓ คืออธิศีล
    สิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ หรือ ฯ

    ว. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา ๓คือ อธิศีลสิกขา ๑
    อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า ฯ

    พ. ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแล ท่านจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตต
    สิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ เมื่อใด ท่านจักศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี จักศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี
    จักศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี เมื่อนั้น เมื่อท่านนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขา
    อยู่ก็ดี ศึกษาอธิปัญญาสิกขาอยู่ก็ดีจักละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ เพราะละราคะ โทสะ
    โมหะ เสียได้ท่านนั้นจักไม่กระทำกรรมเป็นอกุศล จักไม่เสพกรรมที่เป็นบาป ครั้นสมัย
    ต่อมาภิกษุนั้นศึกษาแล้วทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา เมื่อภิกษุนั้นศึกษา
    อธิศีลสิกขาก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี ศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี ละราคะโทสะ โมหะ ได้แล้ว
    เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ เธอมิได้ทำกรรมที่เป็นอกุศล มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ
     
  5. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    เสขสูตรที่ ๑

    [๕๒๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    พระองค์ตรัสว่า เสขะๆ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นเสขะ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษา ศึกษาอะไร
    ศึกษาอธิศีลสิกขา ศึกษาอธิจิตตสิกขา และศึกษาอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ
    ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษาแล ฯ

    สำหรับพระเสขะผู้ศึกษาอยู่ ปฏิบัติตามทางตรง เกิดญาณในความ
    สิ้นไปก่อน แต่นั้น คือ แต่มรรคญาณที่ ๔ อรหัตผลจึงเกิดใน
    ลำดับต่อไป ต่อจากนั้น ท่านผู้พ้นด้วยอรหัตผลผู้คงที่ มีญาณเกิดขึ้น
    ในความสิ้นภวสังโยชน์ว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ดังนี้ ฯ
     
  6. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    เสขสูตรที่ ๒

    [๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตร
    ทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น
    รวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ นั้นเป็นไฉน
    คืออธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญา
    สิกขา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ
    เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา
    เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
    ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
    เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้แต่ว่า
    สิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
    เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน
    และเป็นผู้มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
    สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็น
    พระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไปเป็นผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะ
    ตรัสรู้ในเบื้องหน้า


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำ
    พอประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา
    เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
    ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะ
    ล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์สมควรแก่พรหมจรรย์
    เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้นสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
    ทั้งหลาย เธอเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓หมดสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ
    และโมหะเบาบาง จะมายังโลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอ
    ประมาณในปัญญา
    เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะ
    เหตุไรเพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่สิกขาบทเหล่าใด
    เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงใน
    สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็นผู้ผุดขึ้นเกิด จักปรินิพพานใน
    ภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป


    ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
    เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา
    เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้น
    เพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบท
    เหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีล
    มั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ
    ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จบางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้
    สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    หน้าที่ ๒๑๘/๒๙๐ ข้อที่ ๕๒๑ - ๕๒๖
     

แชร์หน้านี้

Loading...