สมถะหรือวิปัสสนาก่อน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Prophecy, 20 ตุลาคม 2012.

  1. Prophecy

    Prophecy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,221
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,605
    220 สมถะหรือวิปัสสนาก่อน

    ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

    พระอานนท์ตอบ ว่า “....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป.... มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

    ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
    ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
    ตอ. G.S. II : ๑๖๒

    220
     
  2. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    ชอบคำถามมากครับ จะคอยอ่านหล่ะกันครับ

    ก่อนอื่นขอให้เอาเรื่องปัญญาอบรมสมาธิขององค์หลวงตามาลงให้ด้วยได้มั๊ยครับ จะได้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนสหธรรมิก

    ขอบคุณสำหรับคำถามมากครับ ตั้งกระทู้ได้ดี

    ผมขอเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนก่อนนะครับ ดังนี้ครับ

    สมถะกับวิปัสนานั้นเกี่ยวเนื่องกันอยู่อย่างละเอียดอ่อน

    วิปัสนาจะเดินไปได้ยากถ้าสัมมาสมาธิไม่หนุนจิตให้มีกำลัง

    เมื่อวิปัสนาปัญญาเกิด ก็จะคอยอบรมสมาธิให้ตั้งมั่นเป็นกลาง เพื่อจะเกื้อหนุนกันไปเป็นสายในการปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนจบกิจในพระพุทธศาสนา

    พอจะถูกต้องสักนิดมั๊ยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2012
  3. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    วิตกคือต้นทางวิปัสนาคือต้นทาง
    สุดท้ายไต่เขาไต่เราหรือไม่อย่างไรขอรับ
    แล้วผมอยู่ตรงไหน

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ
     
  4. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    สาธุ สาธุ สาธุ


    กินข้าว จะกินข้าวก่อนกับ หรือ กินกับก่อนข้าว หรือ นำมาคลุกรวมกันแล้วค่อยกิน ก็ได้ ทั้ง 3 ประการ ขอให้เข้าปากเป็นใช้ได้ (เอาความรู้ภาคปริยัติ มาเป็นภาคปฏิบัติให้ได้)


    ก่อนที่จะกินก็เลือกกับข้าวที่ถูกปากก่อน (เลือกกรรมฐานที่ถูกกับจริต และ เป็นคู่ปรับของกิเลส) เลือกอาหารที่มีประโยชน์ (ให้อยู่ในหลักของสติปัฏฐาน 4) ขณะที่กินก็เคี้ยวให้ละเอียด (พิจารณาโดยแยบคาย) ระมัดระวังในการเคี้ยว (ระวังวิปัสสนูปกิเลส) กินอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะอิ่ม (ภาวิโต พหุลีกโต)


    อาการที่กลืนเข้าไปๆ อย่างต่อเนื่อง เรียกว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา วิเนยย โลเก อภิชฌาโทมนัสสัง

    มุ่งแผดเผากิเลส ด้วยสติสัมปชัญญะ (มหาสติมหาปัญญา) มุ่งขจัดความยินดียินร้าย นำความหลงใหลเพลิดเพลินในโลกสมมติทั้งหลายออกไปเสีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2012
  5. wyatt

    wyatt สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +8
    จะทราบได้อย่างไรครับว่ากรรมฐานที่เราทำนั้นถูกกับจริตของเราครับ ที่ผมทำอยู่ปัจจุบันคือ ดูลมหายใจเข้าออกครับ
     
  6. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    จริตมี ๖ อย่าง ลองสำรวจตรวจตราจิตใจตัวเองว่าเอนเอียงไปทางจริตไหน
    เพราะทุกคนมีจริตครบหมดทั้ง ๖ อย่าง แต่กำลังของจริตไม่เท่ากัน
    อันไหนมีกำลังสูง ก็ควรจะหากรรมฐานคู่ปรับมาแก้ไข
    อนึ่ง อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่แก้อารมณ์ฟุ้งซ่านได้ดี
    จึงเหมาะสมที่จะเป็นกรรมฐานพื้นฐานเบื้องต้นในการเจริญกรรมฐาน

    ศึกษาเรื่อง กรรมฐาน ๔๐ และจริต ๖ เพิ่มเติมนะครับ
    ในเวบพลังจิตมีเรื่องนี้มากมายให้ท่านอ่าน
     
  7. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    สำคัญมากไหม ที่ต้องสนใจว่าจะทำอย่างไหนก่อน เริ่มต้นปฎิบัติอย่างที่มีสอนไว้เสียเลยดีกว่า

    นั่งกรรมฐาน ได้สมถะ ได้วิปัสสนา รู้เห็นตามจริง ไม่ใช่มานั่งนึกคิดปรุงแต่งว่าสิ่งไหนดีกว่ากัน

    แค่เริ่มต้นปฎิบัติไม่ควรที่จะลังเล ควรมองที่ประโยชน์ว่าที่ปฎิบัติเพื่ออะไร เพื่อการพ้นทุกข์ใช่หรือไม่

    หากใช่ จะสนใจทำไมว่าปฎิบัติอย่างไหนก่อนดี ไม่ว่าจะเริ่มอย่างไหนก่อน หรือ เริ่มพร้อมกัน

    สุดท้ายก็ต้องมีทั้งสองอย่างอยู่ดี ขาดสิ่งใดไปสิ่งหนึ่งก็ไม่ได้ ต่อให้สงสัยไปจนตาย ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

    หากไม่เริ่มต้นปฎิบัติด้วยใจจริง คนๆเดียวมีแขนสองข้าง ใช้ข้างไหนก็เป็นแขนของคนอยู่ดี

    สาธุครับ
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ..อริยสมาธิที่มีบริขารเจ็ด...พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอริยสัมมาสมาธิที่มีตั้งอาศัย ที่มีบริขาร เธอจงฟังซึ่งธรรมนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าว...ภิกษุทั้งหลาย อริยสัมมาสมาธิที่มีที่ตั้งอาศัย ที่มีบริขาร เป็นอย่างไรเล่า ภิกาุทั้งหลาย องค์แห่งมรรคเหล่านี้คือ สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เหล่าใด อันเป็นองค์ เจ็ดประการ ที่แวดล้อมเอกัคตาจิตอยู่ เอกัคตาจิตชนิดนี้ เราเรียกว่าเป็นอริยสัมมาสมาธิ ที่มีที่ตั้งอาศัย ดังนี้บ้าง ที่มีบริขารดังนี้บ้าง----อุปริ.ม.14/180/252-253.:cool:
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฎฐิ เป็นธรรมนำหน้า นำหน้าอย่างไรเล่า คือ เขารู้มิจฉาทิฎฐิ ว่าเป็นมิจฉาทิฎฐิ รู้สัมมาทิฎฐิว่าเป็นสัมมาทิฎฐิ ความรู้ของเขานั้นเป็นสัมมาทิฎฐิ............ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาทิฎฐิ นั้นเป็นอย่างไรเล่า นั้นคือทิฎฐิที่เห็นว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มี(ผล) ยัญที่บูชาแล้ว(ไม่มีผล) การบูชาที่บูชาแล้วไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดี ทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปาติกะสัตวืไม่มี สมณพราห์มที่ไปแล้วปฎิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก้ไม่มีอยู่ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ มิจฉาทิฎฐิ...............ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฎฐิ เป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ว่าสัมมาทิฎฐิมีอยู่ 2ชนิด คือ สัมมาทิฎฐิที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่...สัมมาทิฎฐิอันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วย อาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อ นิพพาน ก็มีอยู่.......................ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฎฐิ ที่ยังเป้นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป้นอย่างไรเล่า นั้นคือสัมมาทิฎฐิที่ว่า ทานที่ให้แล้วมี ยัญที่บูชาแล้ว มี การบูชาที่บูชาแล้ว มีผลวิบากแห่งสัตว์ที่ทำดี ทำชั่ว มีโลกนี้มี โลกอื่นมี มารดามี บิดา มี โอปาติกะสัตว์มี สมณพราห์มที่ไปแล้วปฎิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มีอยู่ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายนี้คือ สัมมาทิฎฐิที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.........ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฎบิ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า นั้นคือ สัมมาทิฎฐิที่ได้แก่ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฎฐิที่เป็นองค์แห่งมรรค ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวะจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล ภิกษุทั้งหลายนี้คือ สัมมาทิฎฐิ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน..............เขานั้น เพียรพยายาม เพื่อละซึ่งมิจฉาทิฎฐิ ทำสัมมาทิฎฐิให้ถึงพร้อม การกระทำของเขานั้นเป็น สัมมาวายามะ เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉาทิฎฐิ มีสติทำสัมมาทิฎฐิให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่ สติของเขานั้นเป็นสัมมาสติ...........ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม3อย่างนั้น ย่อมติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาทิฎฐิ สามอย่างนั้น ได้แก่ ---สัมมาทิฎฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ...(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
  10. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    พี่ทริกมีบทอธิบายในส่วนนี้ไหมครับ
    ...สัมมาทิฎฐิที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก...
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .............. คุณjitลอง เปรียบเทียบกับ ในส่วนที่เป็นสัมมาทิฎฐิ ที่เป็นส่วนเหนือโลก(โลกุตระ)ดูครับ (ในพระสูตรเดียวกันนี้)..ถ้าในความเห็นส่วนตัวนะครับ ถูกผิด ยังก่อน....ก็คือ สัมมาทิฎฐิที่ยังเป็นส่วนที่ยังไม่ มุ่งไปที่นิพพาน สัมมาทิฎฐิที่ยังเกี่ยวข้องกับโลก โลกธรรม นะครับ...อันนี้คงเป็นฐาน ของสิ่งที่เรียกว่า กุศล ได้.ถ้ายังไง..ก็ลองใคร่ครวญด้วยตัวเอง น่าจะดีสุด ครับ:cool:
     
  12. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    เมื่อวานได้ฟังในส่วนของ ปลิโพธ 2 ในคิริมานนทสูตร และลองค้นดู มาเห็นที่ ปลิโพธ 10 ครับ ตรงนี้พอเห็นเลาๆน่ะครับพี่ทริก
     
  13. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    งง อะฮับ

    เสวนากันบนรถไฟ หรือฮับ ท่านหนึ่ง ตะโกนอยู่ในเรื่อง สัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นชอบ )

    อีกฝ่าย ตะโกนตอบกลับมาเรื่อง ปลิโพธิ ( ความกังวล )

    นายฮั๊ว ช่วยถามมา ตอบไป แบบ ฉ่า ฉ่า ได้ไม๊ !

    มูเฮา สิจะได้ฟังว่า จะอู้จะได๋ !?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2012
  14. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ลองพิจารณา

    [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ</pre>จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3724&Z=3923

    ดูจากพระสูตรก็จะเห็นว่าการเข้าใจกฏธรรมดานั่นเอง
    ถ้ายังตัดอาสวะไม่ได้ บุญและบาปก็ยังมีผลต่อไปเรื่อยๆ
    ในทางปฏิบัติจึงไม่ควรประมาท
    เพราะแม้แต่พระอรหันต์กิจใดที่เป็นบุญกุศลท่านก็ทำ
    แม้บุญกุศลนั้นจะไม่ให้ผลแก่ท่านแล้วก็ตาม

    ปุถุชนผู้ยังไม่ได้มรรคได้ผล จึงมีแนวทางปฏิบัติว่าด้วยมรรค ๘
    ทาน ศีล สมาธิ ปัญญาอย่าได้ขาด
     
  15. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    พี่ทริกว่าในส่วนของโลกธรรมครับ พอดีระลึกอยู่ ค้นอยู่ ดูอยู่ที่ การละ
    ที่เอาขึ้นนิโรธ แล้วตก มันขึ้นลงอยู่ครับ เห็นในส่วนที่น่าจะเรียกว่าล้อมกันอยู่
     
  16. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    เปิ้ลสิเฮ็ดหยั๋งอยู่ก็

    ค่อยสิได้คำถามจากเพิ้นมาหลายดอก เว้าวนเวียนแต่เรื่อง สมุ สมุ นิโรโธ

    ทะลุกลางปล้องขึ้นมา ค่อยสิตกอกตกใจ๊ เว้าบ่พลันพรือ ตอบสิบ่ถูก

    ถ้านายฮั๊วมีอุธธัจจะอยู่ จิตบ่สงบ ไม่ใช่กาลจะทำวิจัยสัมโพฌ๊งค์ ยะจำได้บ่

    ค่อยสิว่า ท่านสิมุ่งมาที่ รู้ทุกข์เสียเรื่องเดี๊ยว เรื่อง ละ เรื่อง นิโร จะปรากฏ
    มาให้เหมือนว่าได้ พินา เอ๊ง ใช่ไปใส่เจตนาหารจะ ละ จะ นิโรโธ ค่อยว่า
    มันก้ำเกิ้น เพิ้นสิว่าด้วยมั๊ย !?

    เชนนนหว่า สัมมาทิฏฐิ ทานสิให้ผ๊ล ก็ สัมมาทิฏฐิข้อหนี่ เป็นส่วน
    ตบแต่งขันธ์ เป็นสาสวะ

    แต่ถ้ายังเอาแต่ ทำทาน ทำทาน ทำทาน อยู่จั๊งซี่ จะชื่อว่า พ้น หลาว !?

    ตรงดำริว่า จะชื่อว่าพ้นหลาว นี่คือ พิจารณาทุกข์ !! เอาตรงนี้ พอแหล่ว
    มันจะเป็นสัมมาทิฏฐิที่พาพ้นโลกไปเอง โดยมีเรื่องทำทานเป็นพื้นฐานหยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2012
  17. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    พี่เล่ายาวเห็นตรงนี้พอดี น่าจะบอกว่านำไปสู่การพิจารณาไม่ได้ครับ เห็นได้ มากกว่า ทีนี้ตรงนี้พอจังหวะที่เห็นนั้น มันจึงมีอาการต่อจะไปที่ใส่เจตนา แล้วมันไม่ไปครับ
     
  18. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    มันก็เข้าทำนอง อุปมาอุปมัย ของพระพุทธองค์

    ที่ว่า

    นายฮั้วประสงค์จะดับไฟกองใหญ่ แต่ พยายามเอาสิ่งของที่แห้งๆ เอา
    จิตที่แห้งแล้งโยนเข้าไปสุมใส่กองไฟ ไฟมันจะดับ หรือ ยิ่งลุก

    ใส่เจตนาจะ ละ ก็เหมือนใส่เจตนาจะ วิปัสสนา ยิ่งทำ ก็ยิ่ง ไฟลุก หรือว่าดับ

    "มันไม่ไป" ก็เพราะว่า มันยิ่งลุก หรือเปล่า หนอ

    **********************

    ดังนั้น หากเห็น จิตมันกระเดิด แล้ว ดำริเจตนา "ละ" ให้พิจารณาเห็น
    ไปตามนั้น แต่พอ กลับมาเห็น มันไปไม่ได้ ก็กลับมาทำ สมาธิให้
    ชุ่มชื่นจิตเสียมั่ง ไฟหากได้ของชุ่มชื่นๆ ไม่แห้งแล้ง แต่ถ่ายเดียว มันจะ
    ดับได้ไหมหนอ

    **********************

    ต่อไปว่าด้วยส่วนพุทธพจน์ซึ่ง ประเสริฐกว่า เชิญสดับ สล้าสลาม ...


    ภิกษุ ท. !
    ก็สมัยใด จิตหดหู่
    สมัยนั้น มิใช่กาล เพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    มิใช่กาล เพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
    มิใช่กาล เพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
    เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้นยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้
    ด้วยธรรมเหล่านั้น.

    เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อย
    ให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ
    และโรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะสามารถก่อไฟดวงน้อย
    ให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ ?
    “ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า !”
    ฉันนั้นเหมือนกัน...

    ภิกษุ ท. !
    สมัยใด จิตหดหู่
    สมัยนั้น เป็นกาล เพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค 
    เป็นกาล เพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
    เป็นกาล เพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์.

    ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
    เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้นให้ตั้งขึ้นได้ง่าย
    ด้วยธรรมเหล่านั้น.
    เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟ ดวงน้อยให้ลุก
    โพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่าและ
    ไม่โรยฝุ่นในไฟนั้น บุรุษนั้นสามารถจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุก
    โพลงขึ้นได้หรือหนอ ?
    “ได้ พระเจ้าข้า !”
    ฉันนั้นเหมือนกัน...
    มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๕๕/๕๖๘.


    ภิกษุ ท. !
    สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน
    สมัยนั้น มิใช่กาล เพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    มิใช่กาล เพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
    มิใช่กาล เพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์.
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
    เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้
    สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.
    เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขา
    จึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และไม่โรย
    ฝุ่นลงไปในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นสามารถจะดับไฟกอง
    ใหญ่ได้หรือหนอ ?
    “ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า !”
    ฉันนั้นเหมือนกัน…

    ภิกษุ ท. !
    สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน
    สมัยนั้น เป็นกาล เพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    เป็นกาล เพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
    เป็นกาล เพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
    เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่าย
    ด้วยธรรมเหล่านั้น.
    เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขา
    จึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่นลงในกอง
    ไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟกองใหญ่นั้นได้
    หรือหนอ ?
    “ได้ พระเจ้าข้า !”
    ฉันนั้นเหมือนกัน...


    ภิกษุ ท. !
    เรากล่าว “สติ” แลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.
    มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๕๕/๕๖๘.


    เรื่องใส่สี อันนั้น คัดเอามาแต่ เว็บของเขา ไม่ได้เอาออก ก็ลองเจอสีสรร
    เป็นส่วน กังวล (ปลิโพธิ) ดูบ้าง เนาะ

     
  19. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    มาที่ว่ารู้ครับ จะอธิบายมันยังยากอยู่
    พอทัน เห็นรู้ ตรงนี้มันจะเหมือนว่าง ไม่มีทั้งคำตอบ คำถาม แล้วไปรู้อื่นต่อ
    ที่นี้จะเป็นบางขณะที่เว้นนานนิดให้คิดทำงานก็จะไปละไปนิโรธที่ว่าไว้ มันไม่ไป
    พอยกตรึกคำตถาคตก็ไม่ได้
    ทีนี้จะเป็นช่วงๆที่เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง
    จะมีที่เห็นได้บ้างคืออาการ ชื่นนิดนึง เบาบ้าง ไปคิดบ้าง
    แหะๆ ฟุ้งได้เท่านี้ครับ
    อืม จะมีที่รู้ลม เห็นลมได้
     
  20. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    สังเกตไหม พินา ไม่ได้ มันไม่ดับ

    ธรรมะ เขาก็สอนเพิ้นอยู่แล้วหว่า

    "เห็นได้" มากกว่า

    ตรงนี้ มันมีคำว่า มากกว่า เข้ามาเกิ๊น ตัดเรื่อง มากกว่า เอาแต่ เห็น

    เห็นอะไร เห็นทุกข์ ได้ บ่ เห็นทุกข์ได้ จิตก็จะชุ่มชื้น เหมือนเอาของ
    สดโยนใส่ลงไป

    ทีนี้ การเห็นทุกข์ มันเป็น ขบวนการที่เกิดจาก "จิตได้รับการอบรม"
    หากไม่อนุโลมตัวนี้ ไปปฏิโลมจะสร้างบังคับจิต จะอบรมจิต มันก็ไม่
    ชื่อว่ารู้ อนุโลมเสียที
     

แชร์หน้านี้

Loading...