สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธีระนะโม, 9 ธันวาคม 2013.

  1. ธีระนะโม

    ธีระนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +6,239
    ผมฟังประวัติพระสายกรรมฐานแล้วได้ยินชื่อนี้บ่อยๆสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดบรมนิวาส แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

    ***ชาติภูมิ

    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) มีนามเดิมว่า “อ้วน” นามสกุล “แสนทวีสุข” เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2400 ณ บ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดาเป็นกรมการเมืองชื่อ เพี้ยเมืองกลาง (เคน แสนทวีสุข) โยมมารดาชื่อ บุตสี แสนทวีสุข


    ***ชีวิตเยาว์วัยและการศึกษาเบื้องต้น

    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่านเคยเล่าชีวิตเมื่อเยาว์วัยให้มหาไชย จันสุตะ ฟังว่า เมื่อยังเด็กท่านชอบมีเพื่อนฝูงมาก เพื่อนฝูงทั้งหลายมักตั้งท่านให้เป็นหัวหน้า และเมื่อท่านทำหน้าที่เป็นหัวหน้าแล้ว เพื่อนฝูงจะเชื่อฟัง ท่านจัด ท่านแบ่งอะไรทุกคนพอใจ ไม่เคยโต้แย้ง ท่านมีแววของความเป็นผู้นำมาตั้งแต่เยาว์ทีเดียว

    นอกจากลักษณะของความเป็นผู้นำแล้ว สมเด็จฯ ยังสนใจในทางศาสนา ตั้งแต่เด็กท่านจะช่วยโยมมารดาทำบุญตักบาตรทุกๆ เช้าที่หน้าบ้านเสมอ


    ***การบรรพชาและอุปสมบท

    สมเด็จฯ ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 19 ปี ณ วัดสว่าง อำเภอวารินชำราบ ใกล้กับบ้านเกิดของท่าน ภายหลังได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดศรีทอง โดยมีท่านเทวธัมมี เป็นอุปัชฌาย์ และท่านโชติปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สมเด็จฯ ได้ศึกษาปริยัติธรรมและเคร่งครัดต่ออุปัชฌายวัตรเป็นอย่างมาก


    **การศึกษา

    หลังจากพระอุปัชฌาย์ท่านได้มรณภาพแล้ว สมเด็จฯ ได้เข้าไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับ เจ้าคุณอาจารย์พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูวิจิตรธรรมภาณี ณ วัดพิชยญาติการาม สำนักพระศาสนาโศภณ เป็นเจ้าอาวาส


    ***การเรียนพระปริยัติธรรม

    สมเด็จฯ เป็นนักเรียนมหามกุฎราชวิทยาลัย สาขาวัดพิชยญาติการาม เขตคลองสาน กรุงเทพฯ อันเป็นโรงเรียนซึ่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค) ทรงเริ่มตั้งและขยายสาขาออกไปตามวัดธรรมยุตอื่นๆ เป็นโรงเรียนสาขาโรงเรียนพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จฯ ได้ค่าภัตตาหารเดือนละ 2 บาท

    พ.ศ. 2439 สมเด็จฯ ย้ายจากวัดพิชยญาติการามมาเรียนต่อที่วัดเทพศิรินทราวาส กับท่านอาจารย์อื่นอีก และสอบได้เปรียญธรรมชั้นตรี

    พ.ศ. 2442 ท่านสอบได้เปรียญธรรมชั้นโท
    ***ตำแหน่งและสมณศักดิ์

    1. ภัณฑารักษ์ วัดเทพศิรินทราวาส ได้รับแต่งตั้งจากท่านเจ้าอาวาส

    2. ครูฝ่ายภาษาบาลี ที่วัดสุปัฏนาราม เป็นครั้งแรกที่มีโรงเรียนเปิดสอนตามแบบมหามกุฎราชวิทยาลัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีพระภิกษุสามเณรทั้งใกล้-ไกล ตลอดมณฑลอุดรก็อุตส่าห์มาเล่าเรียน

    3. พ.ศ. 2442 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน

    4. พ.ศ. 2447 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอีสาน ต่อมาต้นรัชกาลที่ 6 ได้แยกมณฑลอีสานเป็น 2 มณฑล คือมณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะว่าการทั้งสองมณฑล

    5. พ.ศ. 2466 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอุดรอีกตำแหน่งหนึ่ง

    6. ต้นรัชกาลที่ 7 ทางราชการได้รวมมณฑลอุบล ร้อยเอ็ด และนครราชสีมา เป็นมณฑลนครราชสีมา ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา

    7. พ.ศ. 2485 ดำรงตำแหน่งสังฆนายกองค์แรกแห่งประเทศไทย ตามประกาศตั้งสังฆนายก ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2485

    สมเด็จฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้

    พ.ศ. 2447 พระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศาสนดิลก

    พ.ศ. 2454 พระราชาคณะเสมอชั้นราช ในราชทินนามเดิม

    พ.ศ. 2455 พระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชมุนี

    พ.ศ. 2464 พระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธี

    พ.ศ. 2468 พระราชาคณะชั้นเทพพิเศษที่ พระโพธิวงศาจารย์

    พ.ศ. 2472 พระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปาโมกข์

    พ.ศ. 2475 ชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระพรหมมุนี

    พ.ศ. 2482 สมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
    ***ตำแหน่งพิเศษ

    1. แม่กองธรรมสนามมณฑลตลอดระยะที่ยังมิได้ยุบมณฑล

    2. รองแม่กองธรรมสนามหลวง

    3. กรรมการตรวจข้อสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง

    4. กรรมการมหาเถระสมาคม

    5. กรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย

    6. กรรมการฝ่ายศึกษาประชาบาล เขตปทุมวัน

    7. รองเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต

    8. เจ้าคณะตรวจการภาค 3, 4, 5

    9. องค์ประธานคณะวินัยธร ชั้นฎีกา ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484

    10. สังฆนายกรูปแรกแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • __3_194[1].jpg
      __3_194[1].jpg
      ขนาดไฟล์:
      152.1 KB
      เปิดดู:
      115

แชร์หน้านี้

Loading...