สัญชาตญาณ เกิดจากอะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ต้นปลาย, 25 มกราคม 2012.

  1. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    มันเหนือการควบคุมแบบหยาบๆ เราไม่ทัน
    แต่มันออกมาทุกที เมื่อเผลอ หรือเริ่มสติ
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ฟรอยด์ เขาเชื่อว่า สัญชาตญาณ (id) คือ ตนที่อยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นพลังที่ติดตัวมาแต่กำเนิด

    อีกความหมายหนึ่ง
    instinct " สัญชาตญาณ " คือ สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องรอให้สมองสั่งการ อย่างเช่นมีอะไรพุ่งเข้ามายังใบหน้าเรา เปลือกตาของเราจะกระพริบทันที ไม่ต้องรอให้การรับรู้รายงานไปยังสมอง แล้วให้สมองสั่งการลงมา

    ความเห็นส่วนตัว
    สัญชาตญาณ คือธรรมชาติหนึ่งของตัวเราเอง ส่วนหนึ่งเกิดจากกฏแห่งกรรมคือเราทำกรรมอะไรมาก็ฝังอยู่ในจิตนั้นๆ เป็นธรรมชาติของจิตนั้นๆ โดยเฉพาะอาจิณกรรมที่ทำจนติดเป็นนิสัยสันดาน อีกส่วนหนึ่งเป็นกรรมของเผ่าพันธ์เป็นธรรมชาติของเผ่าพันธ์ เป็นสัญชาตญาณร่วมของเผ่าพันธ์ เช่นการหายใจ การดำรงชีวิต เป็นต้น

    ส่วนสัญชาตญาณ ที่เป็นลักษณะส่วนตัวเกิดจากการสะสมข้ามภพข้ามชาติ บางคนก็เรียกของเก่า แต่ทั้งหมดก็คือชาติที่ติดข้องอยู่ในโลก รากเหง้าของมันก็น่าจะเป็นอวิชชาความไมรู้ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่ามันเกิดมาได้ยังไง แต่ที่รู้กันอยู่คือมันมีธรรมชาติหนึ่งในตัวเราที่เราบังคับสั่งให้มันเป็นไปอย่างใจเราตลอดเวลาไม่ได้ ถ้าจะบังคับมันก็ได้ชั่วคราวแล้วมันก็เป็นอิสระจากเราอีก แต่เราชักชวนให้ธรรมชาติหนึ่งนั้นทำตามเราได้ด้วยอุบาย จนมันชำนาญมันก็ทำของมันเองต่อได้ หรือถ้ามันมีปัญญาทำของมันเองได้โดยที่เราไม่ต้องชักชวน คือมันรู้ดี รู้ชั่ว รู้ละอายต่อบาปเองได้ มันก็รู้เองทำเองได้ โดยที่เราไม่ต้องไปชักชวนหรือบังคับ


    อ้างอิง
    ซิกมุนด์ ฟรอยด์ - วิกิพีเดีย

    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=4687

     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ตอนที่เราเผลอ ก็คือตอนที่มันเป็นอิสระชั่วคราว แสดงตัวตนจริงตามสัญชาติญาณเดิมๆ
     
  4. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ใครหนอที่ทันสัญชาตญาณ
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คนที่มีสติรู้ตัวเองไม่หลงเลอะเลือน ไม่ลืมตัว ก็เข้าข่ายรู้ทันตัวเอง รู้ทันสัญชาติญาณของตัวเอง
    แต่ใครจะมีสติได้ตลอดเวลาคงต้องฝึกฝนภาวนาสมถวิปัสสนา มีสติทุกลมหายใจเข้าออก
    นี่พูดในแง่ปุถุชน นะ

    พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ได้ยินว่ามีจิตเหนือสำนึก ที่ต่างจากปุถุชน
    จิตเหนือสำนึกนั้น มีศีล มีธรรม มีความละอายต่อบาป เป็นธรรมชาติของจิตนั้น
    ไม่รู้ว่าจิตเหนือสำนึกจัดเป็นสัญชาตญาณหรือเปล่านะแต่รู้ว่ามีธรรมชาติที่ต่างไปจากปุถุชน
    คือมีปัญญารู้ธรรมะหนึ่ง มีจิตที่มีคุณสมบัติต่างไปจากปุถุชน คือ ละสังโยชน์ 3 ได้แล้ว
    มีสติสัมปชัญญะไม่ตกไปสู่อบายภูมิ พูดเรื่องที่เรายังไม่รู้จริง นี่ก็ผิดพลาดได้ เนาะ
    เอาเป็นว่าเข้าใจว่า จิตเหนือสำนึกนี่ปุถุชน ยังไม่มี ปุถุชนมีจิตใต้สำนึก จิตไร้สำนึก จิตสำนึก

    มีบทความเกี่ยวกับจิตใต้สำนึก
    จิตใต้สํานึก(SUBCONSCIOUS)



    จิตใต้สํานึก(SUBCONSCIOUS)

    [​IMG]

    จิตใต้สํานึก(Subsciousness) คือจิตที่ทำหน้าที่อิสระไม่สามารถการควบควมได้ โดยมันจะทำหน้าที่หรือตัดสินใจได้ด้วยตัวเองโดยที่ไม่ต้องคิด หรือวิเคาะ สภาวะการตัดสินใจเกิดจากการสะสมมาจากจิตสำนึกในเรื่องราวต่างๆ ไว้ และพอถึงเวลา บางสถานะการณ์จิตใต้สำนึกจะดึงข้อมูลออกมาเอง โดยที่ไม่ต้องคิด ไม่ต้องมาวิเคาะว่าดี ไม่ดี ถูก ไม่ถูก แต่มันจะตัดสินใจเองแล้วส่งออกมาให้เรา ก็เหมือนคำที่เราใช้ว่า "วูบหนึ่งของความคิด" นั้นแหละ พวกที่เรียนเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือการออกแบบ จิตใต้สำนึกมีประโยชน์มากในการช่วยในเรื่องสร้างแรงบันดลใจ ยกตัวอย่าง เช่น มีงานหรือโจทย์ ยากๆ แต่คิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออก พอเลิกๆ คิดไป บางทีร้องๆเพลงอยู่ขณะกำลังอาบน้ำอยู่(จริงๆแล้วจะพิมพ์ว่านั่งขี้อยู่ แต่ไม่สุภาพเปลี่ยนเป็นอาบน้ำแทนแล้วกันนะ) ก็มีความคิด วูบหนึ่งโผล่เข้ามาในหัวสมองว่าต้องทำแบบไหนหรือเห็นภาพอะไรเกี่ยวกับงานนั้น นี่แหละ ( อ่อ ขี้ ออกแหละ) คือ "จิตใต้สำนึก"

    อย่างที่บอกแหละ ครับ การบวนการตัดสินใจของจิตใต้สำนึกมาจาก การสะสมข้อมูลและเรื่องราวต่างๆ จากจิตสำนึก หากเรารับรู้ขอมูลไม่ดีไว้เยอะ ภาวะการตัดสินใจของ จิตใต้สำนึกจะส่งออกมา ก็จะเป็นเรื่อง ไม่ดีต่างๆมาให้เรา
    หารับรู้เรื่องดีๆไว้เยอะๆ จิตใต้สำนึกจะส่งออกมาให้เราก็จะเป็นเรื่อง ดีๆ

    มีวิธีง่ายๆ ที่จะฝึกให้จิตใต้สำนึก ทำงานบ่อยๆ คือ การใช้จินตนาบ่อยๆ การใช้จินตนาการณ์ ทำให้เปิดช่องว่างของจิตสำนึกเราได้ ก็เหมือนการผ่อนคลายจิตแหละครับ

    [​IMG]
    รูป เปรียบเทียบจิตทั้งส่วนสำนึก และส่วนใต้สำนึก เหมือน ภูเขาน้ำแข็ง ลอยในมหาสมุทร ส่วนลอยเหนือน้ำต้อง แสงสว่างและอากาศ ปรากฏแก่ สายตาโลก คือ จิต หรือ พฤติกรรม ที่อยู่ในความควบคุมของ ความสำนึกตัว ส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ (ซึ่งปริมาณมากกว่า) อยู่ใน ความมืดกว่า ไม่ปรากฏแก่สายตาโลก คือ จิตใต้สำนึก อันเป็นภาคสะสม ประสบการณ์ในอดีตมากมาย ถูกบีบอัด เก็บกด หรือคอย เพื่อให้สม ปรารถนา เพื่อให้ได้ จังหวะเหมาะ สำหรับตอบสนองสิ่งเร้า อันยังไม่ได้ทำ หรือทำ ไม่ได้ในภาวะปกติ (เช่น กฎหมายห้าม, ประเพณีไม่ยอมรับ ว่าถูก, สังคมไม่นิยม ฯลฯ)
    รูปซ้ายมือ เปรียบเหมือนเวลาอันเป็นปัจจุบันเท่านั้น และมีความเป็นปกติบุคคลย่อมรู้สึกสงบ สบาย มีสติ พลังจิตสำนึก ควบคุมพฤติกรรม ทั้งหลาย ให้เป็นไปตามที่เขาเห็นว่า ถูกต้อง,สมควร, ทำโดยเคารพกฎหมายและระเบียบของสังคม, รูปขวามือแสดงว่าเวลาลมฟ้าอากาศ แปรปรวน มหาสมุทรมีคลื่นจัด ภูเขาน้ำแข็งโครงเครง ส่วนที่เคยจมใต้น้ำ โผล่ขึ้นเหนือน้ำ ให้มองเห็นได้ เทียบได้กับยามบุคคล มีอารมณ์ขุ่นมัว เคร่งครัด ด้วยความโกรธ เกลียด อิจฉา พยาบาท กลัว ตื่นเต้น วิตก เจ็บป่วย ฯลฯ พลังจิตใต้สำนึกที่ไม่มีโอกาสได้แสดง พฤติกรรมออกมานั้น มักแปรรูปเป็นพฤติกรรมผิดปกติ รูปใดรูปหนึ่งก็ได้ เช่น รู้สึกกลัวตลอดเวลา กามวิปริตซึมเศร้าตลอดเวลาฯลฯ การช่วยเหลือบุคคล ที่มีพฤติกรรมผิดปกติประเภทนี้ จำเป็นจะต้องเข้าใจหยั่งรู้ถึง พลังจิตใต้สำนึก ที่เป็นต้นเหตุ จิตแพทย์สกุลฟรอยด์ อาจใช้วิธีการสะกดจิต หรือทำการบำบัดแบบ Free Association เพื่อให้คนไข้เปิดเผยพลังจิตใต้สำนึก ซึ่งเขาไม่เคยเล่า, ไม่เคยเปิดเผย, ไม่เคยแสดงออก หรือซึ่งเจ้าตัวเองก็อาจไม่ตระหนักรู้มาก่อน
    อนึ่ง พลังจิตใต้สำนึกมีหลายระดับ บางอย่างอยู่ในระดับตื้น บางอย่างอยู่ในระดับลึก และยังแตกต่างกันในแง่พลังแรงเข้ม หรืออ่อน ของการขับดัน ด้วยจากข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้อธิบายหรือทำความเข้าใจได้ว่า คนแต่ละคนแตกต่างกัน ในรูปของ พลังจิตสำนึก และใต้สำนึก ฉะนั้น คนแต่ละคนจึงมีบุคลิกภาพไม่เหมือนกัน


    [​IMG]


    รูป พลังจิตสำนึกและใต้สำนึก กระตุ้นให้มนุษย์ประกอบพฤติกรรมต่าง ๆ นานา พฤติกรรมบางประเภทถูกกระตุ้นโดยจิตสำนึกอย่างเดียว (เครื่องหมาย ๑) และจิตใต้สำนึกปะปนกัน (เครื่องหมาย ๒) เช่น บางคราวเผลอพูด คิด ทำ แล้วมีสติระลึกได้ทันทีว่าควรหรือไม่ควร จึงเปลี่ยนคำพูด วิธีคิด การกระทำพฤติกรรมบางประเภทถูกกระตุ้นโดยจิตใต้สำนึกอย่างเดียว (เครื่องหมาย ๓) เช่น ความฝัน การพลั้งปาก การทำอะไรอย่างเผลอไผล ไม่รู้ตัว​

    ที่มา อินเตอร์เน็ต​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2012
  6. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ตัวกู ทันแน่นอนครับ
     
  7. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    สัญชาตญาณมาจากความเคยชิน ที่สะสมมานาน จนยากที่จะทันตั้งตัว จะกระทำไปโดยอัตโนมัติ

    หากมองในวัยเด็ก สัญชาตญาณจะมีน้อย หรือ ไม่มีเลย จะมีแต่ความเป้นมนุษย์เต็มตัว

    คือ จะมีแต่การหิว การง่วงนอน ร้อน หนาว โหยหา สัญชาตญาณจะสะสมมาในการใช้ชีวิตครับ
     
  8. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    เอาล่ะวุ๋ย เอาล่ะวา
    ธรรมชาติ ล้วนๆเน้อ
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เราเข้าใจว่า ในเด็กเขาใช้สัญชาติญาณล้วนๆ หิว อิ่ม ร้องไห้ หัวเราะ ชอบใจ ไม่ชอบใจ ทุกข์ สุข ฯลฯ
    พอสัก 7 ขวบ ก็จะเริ่มมีจิตสำนึก(สติสัมปชัญญะ)เรียนรู้เรื่องของโลกภายนอก
    ได้ยินมาว่า การบรรลุธรรม หรือเริ่มปฏิบัติธรรมได้ดีที่อายุ 7 ขวบ
    แต่ก่อน 7 ขวบจะมีได้ไหม ไม่มีข้อมูลยืนยัน

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width=599 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] โดย...ณวมพุทธ
    พระทัพพมัลลบุตรเถระ คลอดจากครรภ์ อัศจรรย์ พันลึก
    เกินนึก เจ็ดขวบลุ อรหันต์
    แต่วิบาก บาปกรรม ก็ตามทัน
    ใส่ไคล้กัน ได้แม้ ไม่มีมูล
    ในอดีตชาติของพระทัพพมัลลบุตรเถระ ได้สั่งสมบุญไว้แล้ว ดังเช่นได้ฟังธรรมบังเกิดจิต ศรัทธายิ่ง และ ได้นิมนต์พระพุทธเจ้าองค์ปทุมุตระพร้อมหมู่สงฆ์ ให้ฉันอาหารตลอดทั้ง ๗ วัน
    แต่ครั้นได้เกิดในสมัยของพระพุทธเจ้าองค์วิปัสสี แม้ได้ทำบุญถวายข้าวสุก ที่หุงด้วยน้ำนม (ข้าวปายาส) แก่พระเถระทั้งหลาย แต่ได้พลาดพลั้งกระทำบาปด้วยจิตขัดเคือง กล่าวตู่ (กล่าวอ้างผิดๆ) ต่ออรหันตสาวก ของพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์
    จนกระทั่งถึงยุคสมัยของพระพุทธเจ้าองค์สมณโคดม ท่านได้เกิดเป็นพระราชโอรสของ พระเจ้า มัลลราช แห่งนครกุสินารา เมืองหลวงของแคว้นมัลละ แต่ขณะที่ยังอยู่ใน พระครรภ์ของ พระมารดานั้น เมื่อพระครรภ์แก่ ถึงเวลาคลอด พระนางคลอดลูกยาก ต้องทุกข์ทรมานมากจนทนไม่ไหว ถึงแก่ความตาย ในที่สุด ผู้คนทั้งหลาย จึงช่วยกันยกขึ้น สู่เชิงตะกอน ปรากฏว่าพระโอรส ได้หลุดออกมา ตกลงที่กองไม้ บนเชิงตะกอนนั้นเอง ดังนั้นกุมารจึงได้รับนามว่า ทัพพะ(ไม้ฟืน) มีชีวิตรอดด้วยบุญบารมีแท้ๆ
    พอพระโอรสมีอายุได้ ๗ ขวบ พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ได้เสด็จจาริกมาที่แคว้นมัลละ ประทับอยู่ใน อนุปิยัมพวัน วาสนาบารมีชักนำให้ทัพพกุมารได้พบเห็นพระศาสดา เพียงแค่ ได้พบเห็นเท่านั้น ก็บังเกิด ความศรัทธาอย่างแรงกล้า หมายใจจะบวชกับพระศาสดาในทันที
    ในที่สุดเมื่อได้รับอนุญาตจากพระราชบิดาแล้ว จึงได้ขอบวชกับพระผู้มีภาคเจ้า พระองค์ก็ได้ ตรัสกับ ภิกษ ุรูปหนึ่งว่า
    "ดูก่อนภิกษุ เธอจงนำทัพพกุมารนี้ไปบรรพชาเถิด"
    ภิกษุนั้นจึงพาทัพพกุมารไปเตรียมตัวบวช ขณะที่กำลังปลงผม(โกนหัว)จุกแรกเสร็จ ทัพพกุมาร ก็ได้ บรรลุธรรม เป็นพระโสดาบันแล้ว ด้วยการพิจารณาปลงวางในสังขาร ร่างกาย ทั้งปวง พอปลงผม จุกที่สองเสร็จ ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระสกิทาคามี พอปลงผม จุกที่สามเสร็จ ก็ได้บรรลุธรรมเป็น พระอนาคามี พอปลงผมทั้งหมดที่หลงเหลืออยู่เสร็จ ก็ได้บรรลุธรรมเป็น พระอรหันต์ แล้ว
    เมื่อบวชแล้ว พระทัพพมัลลบุตรเถระก็ได้ตามเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ ซึ่งพระศาสดา ประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร
    ที่นั้นเอง พระทัพพเถระบังเกิดความคิดอย่างหนึ่งอันเป็นกุศล จึงเข้าเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า
    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดขึ้นมาว่า ข้าพระองค์ มีอายุ เกิดเพียง ๗ ปี ได้ทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลแล้ว กิจส่วนตนใดๆทำเสร็จสิ้นแล้ว ดังนั้น ข้าพระองค์จึงปรารถนา ช่วยเหลือหมู่สงฆ์ในการจัดแจงสถานที่พักอาศัย(เสนาสนะ) แก่สงฆ์ และ ในการจัดแจกอาหารแก่สงฆ์ พระเจ้าข้า"
    "ดีล่ะ ดีล่ะ ทัพพะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงทำหน้าที่จัดแจงที่พักแก่สงฆ์ และแจกอาหารแก่สงฆ์เถิด"
    แล้วทรงหันมารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์จงสมมุติ(ตกลงกัน)ให้ทัพพมัลลบุตร เป็นผู้จัดเสนาสนะ และ แจกอาหาร แก่สงฆ์"
    พระทัพพเถระจึงจัดที่พักแก่สงฆ์ คือ
    ภิกษุพวกทรงพระสูตร ให้พักอยู่ร่วมกัน เพื่อว่าจะได้ซักซ้อมพระสูตรกัน
    ภิกษุพวกทรงพระวินัย ให้พักอยู่ร่วมกัน เพื่อว่าจะได้วินิจฉัยพระวินัยด้วยกัน
    ภิกษุพวกพระธรรมกถึก ให้พักอยู่ร่วมกัน เพื่อว่าจะได้สนทนาธรรมร่วมกัน
    ภิกษุพวกบำเพ็ญฌาน ให้พักอยู่ร่วมกัน เพื่อว่าจะได้ไม่รบกวนกัน
    พระเถระจัดแจงที่พักให้ดังนี้ แม้ในที่ใกล้หรือไกล ก็จัดให้ได้อย่างดี ทำให้ภิกษุในที่ต่างๆ มาทดลอง ความสามารถของท่านเสมอๆ บ้างก็มาในยามค่ำคืน บ้างก็ขอให้จัดพักที่ภูเขาบ้าง พักที่ถ้ำบ้าง เหวบ้าง แต่พระทัพพเถระก็มีฤทธิ์จัดให้ได้ทั้งหมด ยิ่งนานวันชื่อเสียง ก็ลือ กระฉ่อน ไปทั่ว เป็นที่ยกย่องของภิกษุ ทั้งหลาย รวมทั้งพระศาสดาก็สรรเสริญ แล้วได้ แต่งตั้งท่านไว้ในตำแหน่งของ ภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งปวง ในด้านการจัดแจงเสนาสนะ
    ส่วนการเอาภาระเป็นภัตตุทเทสก์(ผู้ทำหน้าที่จัดภิกษุไปฉันอาหารตามกิจนิมนต์ในที่ต่างๆ) พระทัพพเถระ ก็ทำหน้าที่ ได้ยาวนานเป็นอย่างดี
    แต่มีอยู่คราวหนึ่ง.....คหบดี(ผู้มีอันจะกิน)พร้อมด้วยบุตรภรรยา นิมนต์ถวายอาหารทุกวัน แก่สงฆ์ ถวาย วันละ ๔ รูป
    วันหนึ่งพระทัพพเถระได้จัดให้พระเมตติยะ และพระภุมมชกะ ซึ่งเป็นภิกษุบวชใหม่ อยู่ใน กลุ่มพวกภิกษุ ฉัพพัคคีย์ ที่ประพฤติไม่เหมาะสมต่างๆ ให้ไปฉันอาหารที่เรือนของคหบดีนั้น เพราะปกติของภิกษุใหม่ ทั้งสอง มักได้ฉันแต่อาหารธรรมดา พวกปลายข้าว และน้ำส้ม เป็นกับเท่านั้น พระเถระจึงปรารถนา ให้ได้ฉันอาหารอันประณีตที่มีรสอร่อยบ้าง
    แต่ปรากฏว่า เมื่อคหบดีรู้ว่าเป็นภิกษุบวชใหม่สองรูปนี้จะเป็นผู้มาฉันอาหารที่เรือนของตน ก็เกิดจิต ไม่ศรัทธา แล้วคิดน้อยใจว่า
    "ไฉนจึงให้ภิกษุลามก(ไม่น่าชื่นชมในด้านความดีงาม) มาฉันอาหารที่เรือนเราเล่า"
    คหบดีจึงสั่งหญิงรับใช้ให้จัดที่นั่งฉันไว้ที่ซุ้มประตู แล้วให้ถวายอาหารหยาบพวกปลายข้าว มีน้ำผักดอง เป็นกับ ทำให้ภิกษุทั้งสองบังเกิดความเสียใจ ฉันไม่อิ่ม พูดคุยกันว่า
    "เมื่อวานนี้ คหบดีไปหาพระทัพพเถระ พวกเราคงถูกพระทัพพเถระยุยงให้ร้ายเป็นแน่ จึงได้เป็นอย่างนี้"
    หลังอาหารแล้วกลับอาราม ด้วยความเศร้าโศก จึงนั่งรัดเข่าอยู่ที่ซุ้มประตูอาราม นิ่งอึ้ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่พูดจาเลย
    บังเอิญภิกษุณีเมตติยามาพบเข้า ได้ทักทายภิกษุทั้งสองรูปนั้น แล้วปรารถนาจะช่วยเหลือ ภิกษุทั้งสอง จึงกล่าวว่า
    "เธอจงไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ทิศนี้มีภัย มีจัญไร มีอันตราย บัดนี้หม่อมฉัน ถูกพระคุณเจ้า ทัพพมัลลบุตร ประทุษร้าย (ข่มขืน) คล้ายดั่งถูกไฟเผา พระพุทธเจ้าข้า"
    ภิกษุณีเมตติยาก็รับคำไปกระทำตามนั้น พระศาสดาจึงรับสั่งประชุมสงฆ์ แล้วทรงสอบถาม พระ ทัพพเถระว่า
    "ดูก่อนทัพพะ เธอเป็นผู้กระทำตามที่ภิกษุณีนี้กล่าวหาหรือไม่"
    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ย่อมทรงทราบดีว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า"
    พระศาสดาตรัสถามถึงสามครั้ง พระทัพพเถระก็ตอบอย่างเดิมทั้งสามครั้ง ทำให้พระผู้มี พระภาคเจ้า ต้องตรัสบอกว่า
    "ดูก่อนทัพพะ บัณฑิตไม่ควรกล่าวแก้ข้อกล่าวหาเช่นนี้ ถ้าเธอกระทำก็จงบอกว่ากระทำ ถ้าไม่ได้กระทำ ก็จงบอกว่า ไม่ได้กระทำ"
    "พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเกิดมาแล้ว แม้โดยความฝันก็ยังไม่รู้จักเสพเมถุนธรรม (ร่วมประเวณี) เลย จะกล่าวไปไยถึงเมื่อตื่นอยู่เล่า"
    เมื่อพระทัพพมัลลบุตรเถระประกาศสัจจะอย่างนี้แล้ว พระศาสดาจึงตรัสกับหมู่สงฆ์ว่า
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงให้ภิกษุณีเมตติยาสึกไปเสีย แล้วจงสอบสวน ให้ถึงสาเหตุ เรื่องนี้"
    หมู่สงฆ์จึงให้ภิกษุณีนั้นสึก แม้ภิกษุเมตติยะกับภิกษุภุมมชกะจะได้สารภาพผิดต่อหมู่สงฆ์ว่า
    "ขอหมู่สงฆ์อย่าให้ภิกษุณีเมตติยาสึกเลย นางไม่ผิดอะไร พวกผมผิดเองที่แค้นเคือง ไม่พอใจ จึงได้ให้ ภิกษุณีเมตติยาใส่ไคล้ให้ร้าย ด้วยหวังว่าจะให้พระทัพพเถระ ต้องเคลื่อนจาก พรหมจรรย์ (สึก) ไปเสีย"
    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องแล้ว ทรงบัญญัติอาบัติสังฆาทิเสส(ความผิดหนัก) แก่ภิกษุ ผู้กล่าวตู่ ใส่ร้ายภิกษุอื่น ด้วยอาบัติปาราชิก(ความผิดหนัก)ที่ไม่มีมูล
    ส่วนพระทัพพมัลลบุตรเถระ เมื่อพ้นจากข้อกล่าวหาได้แล้ว ก็กล่าวว่า
    "เราประพฤติพรหมจรรย์ อายุได้ ๗ ขวบ ก็หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้ว แต่เพราะวิบากบาป ที่เคยกล่าวตู่ พระอรหันต์ เราจึงต้องถูกคนกล่าวหาผิดๆมากมาย บัดนี้เราได้บรรลุสันติ (ความสงบ) ชั้นสูงแล้ว"
    - ณวมพุทธ -
    ศุกร์ ๑๐ มิ.ย. ๒๕๔๘
    (พระไตรปิฎกเล่ม ๖ ข้อ ๕๘๙
    พระไตรปิฎกเล่ม ๓๓ ข้อ ๑๒๔
    อรรถกถาแปลเล่ม ๕๐ หน้า ๗๙)
    - สารอโศก อันดับ ๒๘๓ พฤษภาคม ๒๕๔๘ -



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...