พระแก้ว 25 พุทธศตวรรษในมุมมองของผมในฐานะช่างผู้สร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษ

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 15 ธันวาคม 2018.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    1115_super-guppy-floor-lamp-industrial-mucc1.jpg โคมไฟถนนก็ใช้น้ำแก้วชนิดเดียวกันกับน้ำแก้วที่นำมาสร้างพระแก้ว ๒๕ พุทธศตวรรษ แต่ส่วนมากใช้น้ำแก้วสีใส ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นแก้วชนิดโซดาไลม์ซิลิก้า คือแก้วธรรมดาๆ แต่หลังจากขึ้นรูปเป็นโคมไฟถนนแล้ว เราต้องทดสอบทดลองใช้หลอดไฟที่ให้ความร้อนตรงผิวหลอดไฟประมาณ 115C และอุณหภูมิเมื่อมากระทบผิวแก้วที่ประมาณ 75C ชิ้นงานคือโคมถนนยังสามารถทนได้ แต่นั่นคือน้ำแก้วสีใสนะครับ ส่วนสีอื่นๆมักไม่ค่อยได้ผ่านการทดสอบทดลองด้วยความร้อนขนาดนี้ ยิ่งแก้วสีนมหรือแก้วตะกั่วด้วยแล้ว ยิ่งผ่านการทดสอบทดลองด้วยความร้อนต่ำกว่ามาก
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    174673-old-fashioned-street-lamp-papworth-st-agnes.jpg
    โคมไฟถนนในต่างประเทศที่ใช้หลอดไฟบางชนิด เช่น ในภาพคือหลอดไฮเพรสเซ่อร์โซเดี้ยม ที่ให้ความร้อนสูงกว่ามากๆ ในต่างประเทศเขาอาจเลือกสร้างด้วยแก้วชนิดโบโรซิลิเกตก็อาจเป็นไปได้ ดังนั้น ท่านที่มีความรู้ทางด้านหลอดไฟที่ให้ความร้อนสูง อาจคิดว่าแก้วโซดาไลม์ซิลิก้าอาจทนความร้อนของไฮเพรสเซ่อร์โซเดี้ยมไม่ไหว ก็ช่างแก้วเขาก็เปลี่ยนชนิดของน้ำแก้วก็ทนได้แล้วครับ
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    EL30748.jpg
    ที่โรงงานผมในอดีตนั้น เราสร้างโคมไฟหน้าของรถยนต์หลายยี่ห้อ สมัยนั้นทรงกลมทรงเหลี่ยมและทรงนูน โคมไฟหน้าสมัยนั้นใช้แก้วจริงๆแก้วแท้ๆกันส่วนมาก ผิดกับสมัยนี้ที่หันไปใช้พลาสติคกันมากแล้ว แก้วโคมไฟหน้ารถยนต์ โคมสปอร์ตไล้ท์แรงสูง มีความร้อนสูง และต้องทนทานต่อการที่รถยนต์เปิดไฟมานานๆ ความร้อนที่กระจกหน้าขึ้นไปเป็นร้อยหรือกว่าร้อยองศา และเมื่อฝนตกทันทีทันใด หรือการวิ่งไปถูกน้ำบนผิวการจราจรทันที แก้วนี้ต้องไม่แตกร้าว

    ปรมาจารย์ผมสอนวิชานี้แก่คน 2 คนคือผมและศิษย์ร่วมสำนักท่านหนึ่ง ผมทำโคมหน้ารถยนต์อยู่เพียงไม่กี่ปี ต่อมาเมื่อมีการเพิ่มสเปคให้ต้องยืดหยุ่นมากขึ้นมาก ศิษย์ร่วมสำนักได้ไปเปิดโรงงานแก้วอีกแห่งหนึ่ง เพื่อผลิตโคมไฟหน้ารถยนต์ที่มีคุณภาพสูงกว่า โดยสร้างแต่โคมไฟหน้ารถยนต์เพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้ศิษย์ท่านนี้ ยังคงยืนหยัดและยังสร้างโคมไฟหน้ารถยนต์มาจนถึงทุกวันนี้ แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง ผมได้เคยคุยกับท่าน ท่านบอกว่า ปัจจุบันหากมีงานอื่นใดที่ต้องใช้แก้วคุณภาพยืดหยุ่นทนความร้อนเย็นมากๆ ท่านก็ยังต้องการรับงานเพิ่ม เนื่องจากโคมไฟหน้ารถยนต์ถูกพลาสติคแย่งตลาดไปเป็นจำนวนมาก
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    s-l1600jar1.jpg
    ที่โรงงานผมเคยผลิตโถเครื่องปั่นน้ำผลไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งวิธีการผลิตนั้น ใกล้เคียงหรือคล้ายวิธ๊การสร้างพระแก้วมาก โปรดสังเกตุหูจับโถ ที่มีลักษณะคล้ายวงแขนของพระแก้ว พระแก้วส่วนมากโดยเฉพาะปางนั่ง ตรงแขนมักมีการเจาะทะลุคล้ายมือจับนี้ แต่พอเป็นพระแก้ว พวกเราชาวช่างแก้วกลับไม่ค่อยประณีต ทำกับแบบว่าง่ายๆ ไม่เหมือนโถปั่นน้ำผลไม้ที่พวกช่างแก้วต้องคอยดูแล เพราะทุกอย่างต้องแม่น ต้องมีเกลียวที่คม มีล๊อค จะผิดพลาดไม่ได้เลย

    ที่ผมอยากพูดคือ พวกเราชาวช่างแก้วส่วนมากทำงานแบบสุกเอาเผากินกับงานพระแก้วมานานแล้ว ผมหวังว่าต่อไปในอนาคต เราจะได้ประณีตกับงานพระแก้วต่อไป
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    0aa1.jpg
    ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2561 ยังมีสำนักฯต่างๆสร้างพระแก้ว ๒๕ พุทธศตวรรษอยู่ ดังในภาพนี้ เป็นภาพพระแก้วที่สร้าขึ้นใหม่ๆในเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2561 นี่เอง สีของพระแก้วจางลงกว่าของเดิม ซึ่งดีมาก ผมได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ควรยึดติดสีเข้มมากเหมือนในอดีต ดูจากภาพเคร่าๆรู้สึกว่า น่าจะดีกว่าของเดิมที่สร้างมาหรือไม่ ? ผมต้องเห็นองค์พระจริงก่อนจึงจะพูดได้ แต่ที่แน่ๆคือการบรรจุกล่องใส่โฟมที่โฟมขึ้นรูปมาเฉพาะองค์พระ นับว่าดีกว่าเดิมมากที่แค่เอาพระหย่อนลงในกล่องเท่านั้น
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    นับจากปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา มีการเปิดเผยเคล็ดลับคือเปิดเผยสูตรการอบลดอุณหภูมิของแก้วจากเมืองนอก ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้โรงงานแก้วขนาดเล็ก คือขนาดหลอมแก้ววันละ 3 - 6 ตัน ซึ่งนับเป็นขนาดเล็กสุดของวงการโรงงานหลอมแก้ว น่าจะมีการตื่นตัวมากยิ่งขึ้นในการทำการอบลดอุณหภูมิได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

    แต่ก็ไม่ใช่ว่าในอดีตนั้นผิดมาตลอดนะครับ เพียงแต่องค์ความรู้อาจจะยังไม่แน่นอน ทั้งที่เมืองนอกเขาอาจจะแน่นอนมากว่า 30 ปีแล้ว แต่ในไทยเราไม่ได้ติดตามวงในอย่างแท้จริง เพิ่งมาติดตามวงในมาไม่เกิน 10 ปีหลังมานี้เอง

    ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในอดีตนั้น โรงงานแก้วขนาดเล็กที่สร้างชิ้นงานต่างๆที่ไม่ใช่กระจกแผ่นหรือโรงงานทำขวดเบียร์ ( ขวดเบียร์และกระจกแผ่นถือว่าเป็นโรงงานขนาดใหญ่ ) โรงงานเล็กมักเลือกงานแก้วที่มีความหนาเพียงไม่กี่มิลลิเมตร ทำให้อบง่าย แต่พอเป็นงานพระแก้วนั้น เนื้อพระแก้วมักหนากว่างานแก้วทั่วไป เมื่ออบผิดพลาดในอดีต ก็มักแตกร้าวและคนที่ครอบครองก็นำไปวางใต้ต้นโพธิ์ต้นไทร
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    2_img07.jpg
    2_img05.jpg
    ในต่างประเทศที่เขาค่อนข้างเคร่งครัดต่องานอบลดอุณหภูมิแก้ว เขาเริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบพระแก้วที่พระแก้วต้องมีการออกแบบให้ผิวมีความหนาที่ใกล้เคียงกันทั้งองค์ ภาพจะแสดงให้เห็นว่า เขาออกแบบและสร้างตามนั้น วิธีนี้เป็นการทำงานที่ถูกต้องของ Hollow core Glass

    แต่งานสร้างพระแก้วแบบที่คนไทยนิยมนั้น ความจริงนิยมแบบตันๆมากที่สุด แต่ช่างแก้วไทยก็แอบใช้ลิ่มเดือยอัดเข้าไปจากฐานพระไปถึงหน้าอก ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้แก้วดูเหมือนว่า ใกล้เคียงกับการออกแบบตามหลัก Hollow core Glass แต่ที่จริงนั้น พี่ไทยทำถูก แต่ถูกไม่ทั้งหมด คือถ้าตันๆก็ตันไปเลยดีกว่า หรือไม่ก็กลวงให้ถูกวิธีเต็ม 100%
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    952695-11d11.jpg
    จึงมีการสร้างแก้วสีนมขึ้น เพื่อปกปิดรอยลิ่มเดือยที่เราอัดเข้าไปถึงท้องบ้าง ถึงหน้าอกบ้าง แก้วสีนมนั้นทึบแสง จึงถือว่า เป็นการปกปิดที่มิดชิดและน่าจะถูกต้อง
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    4829630561_a21dd3c55e_b.jpg
    ภาพนี้ผมขอนำภาพพระแก้วหน้าตัก 9 นิ้วรุ่นที่ผมสร้างเองสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2549 มาประกอบคำอธิบายครับ

    แก้วเป็นวัสดุโปร่งแสง แต่อดีตตอนที่เราสร้างแก้วนมทึบแสงมาสร้างพระแก้ว ๒๕ พุทธศตวรรษนั้น เรามีการสร้างพระแก้วสีเขียวเข้ม ( หล่อสีคล้ายขวดเซเว่นอัพ ) เรามีการสร้างพระแก้วสีเหลืองเข้ม ( หล่อสีคล้ายขวดเบียร์สิงห์ ) ทั้งนี้อาจเพราะตอนนั้นเราผสมสีจางๆไม่เก่ง คือหลอมให้จางและสวยแบบจางๆไม่ค่อยได้ การผสมสีเข้มไปเลยง่ายกว่า เราจึงทำแบบสีเข้ม ซึ่งไม่ถูกต้องตรงตามคุณสมบัติของแก้ว แต่คนไทยไม่รู้ มีอะไรก็บริโภคอย่างนั้นไป ไม่มีปากมีเสียงอะไร

    แถมด้วยวิธีใช้แป้งอุดในองค์พระในรอยลิ่มเดือยโดยอ้างเป็นแป้งเสก ความจริงก็คือการปัดความสนใจว่าทำไมพระมีรอยกลวงโบ๋กลางองค์พระนั่นเอง
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    001a.JPG 127588.jpg
    พระแก้วไม่ว่าจะสร้างจากสีอะไร ไม่ว่าจะเป็นขาวฝ้า หรือสีใส ก็ควรมีคุณสมบัติโปร่งแสง และเมื่อโปร่งแสงก็ไม่ควรมีแป้งขาวมาอุดกลางองค์พระให้ขวางทางแสง คือเมื่อเราสร้างแบบถูกต้อง ทำได้ถูกต้องตรงตามหลักวิชาการได้หมด เราก็ไม่ต้องหลบเลี่ยงใดๆ สิ่งที่ถูกต้องจึงสวยงาม เหมาะสม และอธิบายได้ทุกมิติครับ
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    001as.jpg
    สมเด็จพระญาณสังวรพระสังฆราชทรงประทานปางนี้แก่วัดบวรฯ และเมื่อผมสร้างเป็นพระแก้วหน้าตัก 3 นิ้ว ก็เห็นว่าสวยกว่าแก้วสีเข้มหรือแก้วสีทึบ ซึ่งหากทึบแสงก็ไม่ใช่คุณสมบัติของแก้ว
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    02s.jpg
    มองจากมุมไหนก็สวยกว่าแก้วทึบแสงหรือแก้วสีเข้มมีผงแป้งขาวอุดกลางองค์พระแน่นอน

    พระแก้วที่สร้างได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพราะเราชนะอุปสรรค์ได้ทั้งหมด และไม่ถูกใครชักจูงไปว่าต้องมีแป้งขาวเสกอุดอยู่กลางองค์พระให้ขวางทางแสง เราก็จะเข้าใกล้ความถูกต้องมากที่สุด
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    000000000011113.jpg
    พระแก้วของลาลีคฝรั่งเศสที่ผมจัดอันดับว่าเป็นอันดับ 1 ของโลกด้วยวิธีการสร้าง ด้วยวัสดุ และด้วยทุกอย่างเท่าที่มนุษย์เคยสร้างพระแก้วมา หน้าตัก 8 นิ้ว ถึงแม้จะเป็นสีเหลืองอำพันเข้ม แต่เมื่อถูกแสงก็สามารถให้แสงผ่านได้สะดวก และไม่มีผงแป้งขาวไปอุดอยู่กลางหน้าอกให้ขวางทางแสงแบบพี่ไทยเราด้วย
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    0005.jpg
    องค์นี้หน้าตัก 9 นิ้ว ผมสร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับลาลีคฝรั่งเศสโดยผมไม่รู้มาก่อนว่าลาลีคสร้างรุ่นด้านบนอยู่ เพราะลาลีคปิดข่าวเงียบในขณะนั้น ผมสร้างเสร็จใช้แสงทังสเตนใส่อยู่ในฐานไม้ ยิงแสงไฟทังสเตนดูแล้วคล้ายแก้วสีเหลืองอำพัน แต่ความจริงไม่ใช่ เป็นแก้วสีขาวฝ้าครับ

    ใกล้เคียงกับอันดับ 1 ของโลกไหมครับ
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    1194900-tall-buddha-sculpture1.jpg
    พระแก้วลาลีคฝรั่งเศสสร้างองค์ใหญ่หน้าตัก 8 นิ้วเศษเรียกว่า Lalique Grand Buddha มี 2 สี คือสีขาวฝ้าและสีเหลืองอำพัน

    ในขณะเดียวกันก็สร้างองค์เล็กหน้าตัก 4 นิ้ว เรียกว่า Lalique Buddha มี 2 สีในตอนแรก ต่อมาเพิ่มอีก 1 สี รวมเป็น 3 สี คือสีขาวฝ้า เหลืองอำพัน และสีดังภาพด้านล่างนี้ครับ s-l160022.jpg
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    0003.jpg
    พระแก้ว 25 พุทธศตวรรษทั้งที่สร้างในไทยและในต่างประเทศมีอินเดีย ญี่ปุ่นหรือแม้แต่ในอิตาลีหรือประเทศอื่นใด ก็มักคล้ายๆกัน คือตามความคิดเห็นของผมคือ ยังไม่ละเอียดประณีต นับตั้งแต่การออกแบบกันเลย การที่ยอมให้มีอุปสรรค์เข้ามาเป็นเนื้องาน ยอมให้มีผงแป้งเสกมาอุดอยู่กลางองค์พระ หรืออื่นใดก็ตามที่ทำให้พระพุทธลักษณะหรือพระสิริโฉมด้อยลงแม้แต่น้อย คือการที่เราไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง

    แต่ก็ไม่ใช่พระแก้ว 25 พุทธศตวรรษทั้งหมดจะเป็นเช่นนั้น ยังมีพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษที่มีความพยายามจะสร้างให้ประณีตเหมือนกัน เพียงแต่ว่า อาจยังติดปัญหาช่างแก้วบ้าง ติดปัญหาแม่พิมพ์เหล็กบ้าง หรือปัญหาอื่นใด จึงทำให้ความสมบูรณ์แบบนั้น ยังไม่ถึง 100%
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    สำนักฯต่างๆที่สร้างพระแก้วในประเทศไทยมีไม่ต่ำกว่า 25 สำนักฯ ส่วนมากสำนักฯต่างๆเหล่านี้มักไม่ใช่โรงงานหลอมแก้ว ไม่มีโรงงานหลอมแก้วเป็นของตัวเอง มักไปจ้างวานโรงงานหลอมแก้วสร้างพระแก้ว ๒๕ พุทธศตวรรษโดยบางแห่งก็ให้โรงงานหลอมแก้วไปแกะแม่พิมพ์เหล็ก หรือบางสำนักฯก็ไปแกะแม่พิมพ์เหล็กส่งมาให้โรงงานแก้วสร้าง

    ในจำนวนมากกว่า 25 สำนักสร้างพระแก้ว ผมสังเกตุเห็นว่า มีหลายสำนักที่เขามีความพยายามในการจะเอาชนะอุปสรรค์เพื่อให้พระแก้วสวยสุด ประณีตสุด แต่ก็มักไปไม่ถึงดวงดาว ทั้งนี้เพราะไม่สามารถควบคุมได้เองทุกขั้นตอน ไปติดปัญหาออกแบบไม่เป็นบ้าง เพราะความไม่เข้าใจงานอย่างเต็มที่ ไปติดปัญหาโรงงานแกะแม่พิมพ์บ้าง
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    FB_IMG_001.jpg FB_IMG_002.jpg FB_IMG_003.jpg FB_IMG_004.jpg
    ผมได้รับภาพนี้จากคุณทนงศักดิ์ โบจรัส ซึ่งเป็นผู้ที่มีความพยายามทำหนังสือเกี่ยวกับพระแก้วแห่งสยาม และได้เชิญผมไปเป็นที่ปรึกษาแบบว่า ปรึกษาหรือช่วยให้ความรู้เป็นวิทยาทานตามแนววิธีของผมเอง

    ผมเคยเห็นพระแก้วองค์นี้ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2559 โดยตอนนั้นน้องชายคุณสมศักดิ์ เจ้าของโรงงานแก้วเจษฏาเป็นคนนำมาให้ผมดู เพื่ออวดให้เห็นว่า พระแก้วที่จะนับว่าเป็นพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษก็นับได้ แต่ถ้าจะนับว่า ไม่ใช่ก็ได้ เพราะโรงงานแก้วเจษฏาได้สร้างรุ่นนี้เพียงไม่นานก่อนที่จะนำมาให้ผมดู ซึ่งนั่นต้องแปลว่า เขาดีใจที่มีความก้าวหน้า หรือเจ้าของงานมีความรักความก้าวหน้า ไม่ได้สร้างอยู่ในหุ่นเดิม หุ่นเก่าๆที่ต้องดูเป็น ๒๕ ศตวรรษรุ่นเก่า ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างก็ต้องแบบเก่า สีก็ต้องแบบเก่า หรืออะไรๆก็ต้องเก่าๆยึดแต่ความไม่ถูกต้องเอาไว้ แต่รุ่นนี้ ทางโรงงานแก้วเจษฏามีโอกาสได้แสดงฝีมือดีพอสมควร

    แต่ถึงแม้ดีขนาดนี้ ผมเองก็ยังคงคิดว่า หากเราสร้างเป็นแบบตันๆ ซึ่งต้นทุนต่างกันเพียงไม่กี่บาท ( ไม่ถึง 2 - 3 บาท ) [ ต้นทุนน้ำแก้วต่างกันเพียง 1 - 3 บาท ] แต่ยังมีต้นทุนการอบลดอุณหภูมิที่ต้องเพิ่มขึ้นอีก 2 - 3 บาท เพราะต้องอบนานกว่า รวมแล้วเพิ่มอีกเพียงองค์ละ 5 - 6 บาทเท่านั้น

    ซึ่งต่อมาอีกไม่กี่เดือน น้องชายคุณสมศักดิ์เจ้าของโรงงานแก้วเจษฏามาบอกผมว่า เขาได้สร้างพระแก้วหน้าตัก 5 นิ้วเนื้อแก้วตันๆ รูปทรงสมัยใหม่ และมีความสวยได้ถูกใจ รุ่นนั้น ( ไม่ใช่รุ่นภาพด้านบนนี้นะครับ เป็นอีกรุ่นหนึ่ง ) รุ่นนั้นเนื้อแก้วตันๆ อบได้ดีด้วย ราคาส่งให้เจ้าของงานองค์ละ 300.- บาท
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมไม่อยากบอกเลยว่า ที่จริงแล้วการสร้างพระแก้วด้วยแก้วโซดาไลม์ซิลิก้านั้น มีต้นทุนที่ถูกมากๆ หน้าตัก 5 นิ้ว เนื้อแก้วตันๆ สร้างประมาณปี พ.ศ. 2559 หรือ 2560 หรือแม้แต่ปัจจุบัน 2561 และ 2562 ก็ตาม ราคาขายส่งก็อยู่ที่องค์ละ 300.- บาทเท่านั้น

    แต่การที่ทางวัด หรือสำนักต่างๆเอาไปขายราคาสูงกว่านั้น อาจมีอะไรบวกเอาไว้ เช่น หากมีรายการสร้างโรงพยาบาล หรืออื่นๆ ก็ต้องเอาส่วนต่างไปทำบุญทำกุศล

    ในช่วงที่ผมสร้างพระแก้ว 25 ศตวรรษด้วยตัวผมเองนั้น ราคาขายส่งองค์ละไม่กี่สิบบาท และยังมีพระแก้วที่สร้างแล้วไม่สวย มีตำหนิ หรือแม้แต่ที่ไม่มีตำหนิเลย แต่สร้างเกินจำนวนที่สำนักฯสั่ง ทางโรงงานแก้วต้องนำไปดั้มให้พวกพ่อค้าเงินสด คือจะมีพ่อค้าเงินสดที่เขามีเงินพร้อมๆ เขาจะมาเหมาในราคาถูกมากๆ องค์ละไม่กี่บาท แล้วเขาก็นำเงินสดมาซื้อมารับสินค้าเองก็มี หรือให้ไปส่งสินค้าที่โกดังของเขาหรือไปถ่ายของกันที่อื่นก็มี ส่วนการขายให้สำนักฯต่างๆนั้น ต้องเครดิต 3 เดือนแล้วค่อยไปวางบิล บางสำนักฯยังตีเช็คอีก 1 - 2 เดือน น้อยรายนักที่สำนักฯจะจ่ายเงินสดให้ นั่นต้องเป็นสำนักฯที่คนไม่ค่อยให้เครดิตครับ

    หมายเหตุ
    แป้งขาวถังละ 200 ลิตรจำนวนมาก ( ที่เรียกว่าแป้งเสก ) และตราประทับของวัดหรือของสำนักฯก็อยู่ในโรงงานแก้ว เมื่อสร้างพระแก้วเสร็จก็กรอกแป้งแล้วตีตราประทับ หรือแล้วแต่ผู้สั่งจะให้ตีตรากรรมการก็ต้องมีตรา
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    48362851_1997829320265432_6122197751250812928_n.jpg
    มองให้เป็นจะเห็นครับ เนื้อแก้วสีเข้มจะมีสกปรกที่หากมองเผินๆก็อาจจะปกปิดได้ง่าย

    นี่คือสาเหตุที่ช่างแก้วสมัยนั้น หรือแม้แต่ในสมัยหลังๆที่ยังคงแนะนำให้สร้างพระแก้ว 25 ศตวรรษสีเข้ม

    ส่วนสีจาง ไม่เข้มที่สร้างขึ้นในสมัยหลังๆ เป็นเพราะเนื้อแก้วเราสะอาดขึ้น ไม่มีฟองอากาศและสิ่งสกปรกในเนื้อแก้ว แต่ราคาก็ยังถูกเกือบจะเท่าเดิมเลย แต่อาจจะมีแค่ค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้นนิดหน่อย จากค่าแรงงานสมัยก่อนวันละ 30.- บาทมาเป็นวันละ 300.- บาท ทีมช่างแก้วต่อชุดก็ไม่น้อยกว่า 6 คน ก็คำนวนไม่ยากครับ เพิ่มขึ้นคนละ 270.- บาท คูณ 6 ต้นทุนสูงขึ้น 1,620.- บาท เมื่อหารด้วยกำลังการผลิตต่อทีมช่าง 1 ทีม วันละ 600 องค์ ก็เพิ่มแค่องค์ละไม่ถึง 3.- บาท นี่คือความจริงนะครับ ต้นทุนไม่ได้เพิ่มมากมายอะไร แต่คนนำไปขายปลีกแพงก็แล้วแต่เขาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...