หลวงปู่ทวดพิมพ์เตารีดใหญ่ ปี05 วัดคอกหมู คับ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย jujubb, 13 เมษายน 2012.

  1. jujubb

    jujubb สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2011
    โพสต์:
    86
    ค่าพลัง:
    +21
    พอดีเพิ่งได้มาเลยนำมาให้ชี้แนะกันคับว่าเป็นยังไงบ้าง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.JPG
      1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      65.5 KB
      เปิดดู:
      10,528
    • 2.JPG
      2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      56.9 KB
      เปิดดู:
      7,656
    • 4.JPG
      4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      47.2 KB
      เปิดดู:
      4,249
    • 5.JPG
      5.JPG
      ขนาดไฟล์:
      51.6 KB
      เปิดดู:
      3,866
    • 3.JPG
      3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      66.4 KB
      เปิดดู:
      6,130
  2. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050

    ผมว่าองค์นี้ใหม่ครับประสบการณ์จากการดูหล่อ
    อธิบายว่าสีผิวเสมอ ผมดูไม่ออกว่าเนื้ออะไรมีเคลือบหรือกระไหล่ไว้หรือเปล่า
    ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วย ลองดูท่านอื่นที่มีประสบการณ์ในการดูรุ่นนี้ก้นอีกที

    [​IMG]
     
  3. ล้างใจ

    ล้างใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    7,268
    ค่าพลัง:
    +24,820
    วัดคอกหมู .? ลองอ่านดู......


    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  4. jujubb

    jujubb สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2011
    โพสต์:
    86
    ค่าพลัง:
    +21
    องค์นี้ยังเคลือบเดิมยาดำเดิมๆอยู่คับ ขอบคุนคับที่ช่วยเข้ามาชี้แนะ เท่าที่ดูมาประวัติประมานนี้คับ วัดคอกหมูมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ”วัดสิตาราม” อยู่ถนนดำรงรักษ์ บนถนนจักรพรรดิพงษ์เยื้องวัดสะเกศจะมีสี่แยกย่อย(เดิมเรียกว่าแยกสะพานสาวร้องไห้) ก่อนถึงสี่แยกหลานหลวง เลี้ยวขวาเข้าถนนดำรงรักษ์ทางจะไปมหานาค บริเวณวัดนี้เมื่อก่อนชาวจีนได้มาเลี้ยงหมูจนร่ำรวยภายหลังได้ถวายที่ดินส่วนนี้ให้สร้างวัด ชื่อวัดแต่ดั้งเดิมจึงเรียกกันว่า วัดคอกหมูและต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อวัดสิตาราม..ละแวกวัดนี้ในอดีตมีช่างหล่อและโรงหล่อของช่างอิน(บางท่านเรียกว่าช่างแสวง) นายอินผู้นี้คือช่างผู้หล่อพระกริ่งหน้าอินเดียให้กับวัดสุทัศน์ ต่อมาในปี2491 นายอินพาทีมช่างหล่อลงใต้ไปสงขลาเพื่อทำการหล่อพระกริ่งโภคทรัพย์ให้ พ่อท่านเส่ง วัดปหลมทราย
    ครั้นในปี2505 พระอาจารย์ทิม แห่งวัดช้างให้ สร้างพระพ่อปู่ทวดหลังเตารีดขึ้นที่วัดช้างให้ ปรากฎว่าเนื่องด้วยเวลาที่กระชั้นชิดช่างหล่อทำงานไม่ทันกำหนด จึงได้ให้ช่างอินในกรุงเทพฯ ช่วยหล่ออีกแรงหนึ่ง พิมพ์ที่ช่างอินทำการหล่อคือ ลป.ทวดเตารีดใหญ่พิมพ์เอ พระของช่างอินที่หล่อจะแก่ทองเหลืองไม่ออกแดงอย่างที่หล่อพระลป.ทวดพิพม์เตารีดที่วัดช้างให้ ..ครั้นเมื่อช่างอินหล่อพระเสร็จแล้วก็จะคัดงานดีที่หล่อสวยแยกไว้ในลัง ส่วนงานพระที่หล่อติดไม่คมชัดหรือชำรุดหล่อติดแต่ไม่สวย ได้คัดแยกไว้ต่างหากและทำการตอกโค๊ตรูปหมูไว้ที่หลังองค์พระ จุดประสงค์เพื่อนำไปถวายวัดคอกหมู พระทั้งสองแบบได้ถูกนำส่งผ่านไปทางรถไฟเพื่อไปยังวัดช้างให้สำหรับเข้าในพิธีปลุกเสกปี๒๕๐๕ ครั้นเมื่อ พระอาจารย์ทิมปลุกเสกในพิธีเสร็จแล้ว ท่านก็นำพระในส่วนที่ช่างอินคัดสวยให้เอาไปแจกญาติโยมที่วัดช้างให้ ส่วนอีกส่วนที่ช่างอินคัดไว้และตอกโค๊ตรูปหมูไว้ด้านหลัง ท่านก็ส่งกลับคืนมายังช่างอินที่กรุงเทพฯ เพื่อให้ช่างอินนำไปถวายที่วัดคอกหมู นั้นหมายความว่า พระลป.ทวดหลังเตารีดที่แจกที่วัดคอกหมูนั้นเป็นพระเข้าในพิธีเดียวกับพระลป.ทวดหลังเตารีดวัดช้างให้ พุทธคุณจึงเสมอเหมือนกันทุกประการ ...สำหรับโค๊ตรูปหมูที่ตอกไว้ด้านหลังนั้น มีปรากฏตั้งแต่๑ตัว ๒ตัว ๓ตัว ๔ตัว จนถึง๙ตัว ซึ่งราคาเช่าหาจะถูกหรือจะแพง ก็อยู่ทีความสูงและจำนวนตอกของโค๊ตหมูที่ด้านหลังองค์พระครับ พระชุดนี้สมัยก่อนเคยมีคนหัวหมอเอาพระไปลบโค๊ตรูปหมูออกและขายเป็นพระลป.ทวดเตารีดวัดช้างให้มาแล้วนะครับ...
    +++อ้างอิงบทความจาก..หนังสือเซียนพระเล่มที่๔๓๑+++ขออนุญาตใช้บทความของคุณนุโค09ด้วยนะคับ ถ้าผิดพลาดประการใดผมขออภัยด้วยนะคับ ขอบคุนคับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2012
  5. brutus

    brutus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,250
    ค่าพลัง:
    +2,082
    เรียนคุณ jujubb ผมก็เคยสนใจ หลวงพ่อทวดที่ออกวัด คอกหมู เหมือนกัน เพราะพระของสายตรง จากวัดช้างให้ ราคาต่างกันมาก แต่หลังจากศึกษา แล้วหลักฐานการสร้าง นั้นผมว่าค่อนข้างไม่ชัดเจน และเล่นหากันเพียงบางกลุ่มเท่านั้น แถม เมื่อสักสี่ ห้าปีก่อน ก็ยังไม่ค่อยมีคนนำมาให้เช่าหากัน แต่ตอนนี้ราคาหลวงพ่อทวดสายตรง นั้นขึ้นไปมาก ก็เลยเริ่มมีแบบที่ตอกโค๊ตหมู ออกมามากขึ้นเรื่อยๆ
    เท่าที่ทราบทางวัดสิตารามเอง ก็ออก ย้อนยุค มาปี 36 และ 50 อีก และก็มีการตอกโค๊ตหมูเหมือนกันอีกด้วย
    หากจะเล่นหา หลวงพ่อทวด คอกหมูปี 05 จริงๆ คงจะต้องดูจากกระแสโลหะ ว่าเป็นของเก่าถึงยุค หรือไม่ แบบที่คุณ Stoes ว่านะครับ ส่วนโค๊ต ผมไม่แน่ใจว่าจะมีวิธีดูอย่างไร หากคุณ jujubb มีข้อมูล ลองเอามาลงเพื่อเป็นความรู้จะดีมากเลยครับ
     
  6. brutus

    brutus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,250
    ค่าพลัง:
    +2,082
    หากผมเอารูปพระคนอื่นเขามาลงโดยไม่ขอก่อนจะผิดไหมนี่ครับ ขออนุญาตหากไม่ถูกต้องเดี๋ยวผมจะลบออกให้นะครับ ขอนำท่านมาเป็นแม่แบบ เพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่ทุกท่านๆ ก่อน
    ผมเจอหนึ่งองค์ที่มีใบรับรองจาก Web พระเครื่องแห่งหนึ่งอยู่ แต่บอกว่าเป็นปี 08 มีโค๊ตหมู ด้วย ลองพิจารณาเปรียบเทียบกันดูนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. jujubb

    jujubb สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2011
    โพสต์:
    86
    ค่าพลัง:
    +21
    ขอบคุณคุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->stoes คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ล้างใจ<!-- google_ad_section_end --> คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->brutus ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันคับ<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5993317", true); </SCRIPT> เท่าที่ทราบมา ปี36 จะตอกโค๊ดเป็นหมูตัวใหญ่กว่าของรุ่นแรกคือปี05 และโค๊ดหมูที่เป็นของวัดต้องเป็นโค๊ดที่ตอกลึกชัดดูแล้วมีมิติคับ ผิดถูกยังไงขออภัยด้วยนะคับ อันนี้เป็นข้อมูลตามที่ทราบมาคับ ใครมีข้มูลดีๆเอามาแชร์กันได้นะคับ พอดีองค์นี้ได้มาจากผู้ใหญ่ที่บ้านติดอยู่วัดคอกหมูคับ เลยเอามาชมกันในวันหยดสงกรานับ ท่านอื่นชี้แนะได้นะคับถือว่าเป็นการเอาข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันคับ
     
  8. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    <TABLE borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center bgColor=#000000 border=1><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 20px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px" height=30>ชื่อเรื่อง : ทำไม!!!ค่านิยมในพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีด ปี 05 พิมพ์ใหญ่ เนื้อวรรณะแดงกับเนื้อวรรณะเหลืองถึงไม่เท่ากัน??? </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 20px; PADDING-LEFT: 20px; PADDING-BOTTOM: 20px; PADDING-TOP: 20px">
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    ทำไมค่านิยมในพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดปี05 พิมพ์ใหญ่ เนื้อแดงกับเนื้อเหลืองถึงไม่เท่า

    ทำไมค่านิยมในพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดปี05 พิมพ์ใหญ่ เนื้อแดงกับเนื้อเหลืองถึงไม่เท่ากัน???

    พระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีด พิมพ์ใหญ่ ในปัจจุบันนี้ซึ่งวงการพระฯ ยอมรับมีทั้งเนื้อทองคำ นวะโลหะ(องค์พระจะบางกว่าเนื้ออื่นๆ) และโลหะผสมมี 2 วรรณะ คือ พระฯ เนื้อวรรณะแดงหล่อโดยโรงหล่อแถววัดคอกหมู และพระฯ เนื้อวรรณะเหลืองหล่อที่วัด ในวันนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีด พิมพ์ใหญ่ เนื้อโลหะผสมที่มีเนื้อ 2 วรรณะก่อน คือ "พระฯ เนื้อวรรณะแดง และวรรณะเหลือง เนื่องจากมีการจัดสร้างขึ้น 2 สถานที่
    ทำไมค่านิยมในพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดปี05 พิมพ์ใหญ่ เนื้อแดงกับเนื้อเหลืองถึงไม่เท่ากัน???

    เนื้อวรรณะแดงนั้น ทางวัดได้จ้างโรงหล่อแถววัดคอกหมูสร้างให้ ส่วนเนื้อวรรณะเหลืองทางวัดจัดสร้างขึ้นเอง โดยมีการหล่อพระฯขึ้นที่วัดช้างให้ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวการสร้างพระฯ คนที่มีความศรัทธาได้ถอดสร้อยคอทองคำบ้าง สร้อยคอนากบ้าง สร้อยคอเงินบ้าง และนำขัน ช้อน ทัพพีที่เป็นทองเหลือง หรือของใช้ในบ้านที่เป็นโลหะมาใส่ลงไปในเบ้าหลอมโลหะของทางวัด ในวันหล่อพระหลวงพ่อทวดรุ่นหลังเตารีด จึงทำให้พระฯ ที่หล่อมาได้ มีเนื้อโลหะผสมที่มีความหลากหลายมาก เช่น แก่ทองบ้าง แก่ทองเหลืองบ้าง บางองค์มีทองเป็นจ้ำๆในองค์พระฯ องค์ที่แก่เงินจะมีสีออกดำ พระฯ รุ่นนี้เมื่อทิ้งไว้นานก็จะมีเนื้อกลับดำคล้ำ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “เตารีดเนื้อกลับ” บางองค์เป็นทองคำทั้งองค์ (นัยว่ามีแค่ 2 องค์ ข้อมูลจาก คุณภิยวัฒน์ วัฒนายากร ที่ได้สัมภาษณ์คุณมานพ คณานุรักษ์ ลูกชายคนโตของนายอนันต์ คณานุรักษ์ และนายอนันต์ คณานุรักษ์เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการจัดสร้างพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน 2497 อันโด่งดังทั่วฟ้าเมืองไทย) <O:p</O:p

    <O:p</O:p



    ทำไมค่านิยมในพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีด พิมพ์ใหญ่ เนื้อวรรณะแดงกับเนื้อวรรณะเหลืองถึงไม่เท่ากัน???”<O:p</O:p

    <O:p></O:p>
    ผู้เขียนได้รวบรวมมาจากการได้พูดคุยกับกูรูหรือปราชญ์ทางด้านหลวงพ่อทวดได้แก่ คุณสมศักดิ์ วาณิชย์สุวรรณ(โกหมิ่น หาดใหญ่) และ คุณภิยวัฒน์ วัฒนายากร(แต๊ก สงขลา) ดังสรุปมาได้ดังนี้<O:p</O:p

    - ในสมัยก่อนเซียนภาคกลางซึ่งหมายถึงกทม.และปริมณฑลไม่เล่นพระฯ กระแสเนื้อเหลือง เขาว่า “ เป็นของปลอม ” เขาเล่นแต่พระฯกระแสเนื้อแดง ทำให้ความคิดนี้ติดยึดอยู่ถึงปัจจุบันนี้ แม้ว่าในภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่า มีการหล่อพระฯ ที่วัดจริงและมีกระแสเนื้อเหลือง ก็ไม่ได้ทำให้พระฯกระแสเนื้อเหลืองมีราคาสูงขึ้นมากนัก<O:p></O:p>

    - พระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีด องค์ที่วัดสร้าง(กระแสเนื้อเหลือง) ช่างหล่อพระฯ ได้ไม่ค่อยสวยงาม ไม่ค่อยเรียบร้อย (องค์ที่สวยก็มี แต่มีน้อยมากและทางภาคใต้เขาเล่นเนื้อเหลืองแพงกว่าเนื้อแดงเพราะถือว่าสร้างที่วัด) พระฯบางองค์ลีบบ้าง เบี้ยวบ้าง หล่อไม่เต็มบ้าง พื้นผิวหรือองค์พระฯเป็นหลุมเป็นบ่อก็มาก พูดง่ายๆ คือฟอร์มพระฯไม่สวยงาม ทำให้ราคาพระฯกระแสเนื้อเหลืองฯสู้พระฯกระแสเนื้อแดงไม่ได้ ผู้เขียนขอสันนิษฐานว่า “เพราะต้องถอดแบบเป็นหุ่นเทียนตั้งไว้เป็นจำนวนมาก การหล่อพระฯแต่ละครั้งต้องใช้เวลามาก ดังนั้นเมื่ออากาศร้อนทำให้หุ่นเทียนละลายไปบ้าง พระฯที่หล่อออกมาได้จึงไม่ค่อยสวยงาม” <O:p</O:p

    - อีกทั้งพระฯกระแสเนื้อเหลืองที่สร้างที่วัดมีจำนวนน้อยกว่าพระฯกระแสเนื้อแดงมาก ทำให้มีการหมุนเวียนในตลาดน้อย เมื่อมีการเปลี่ยนมือน้อยครั้ง ราคาก็ไม่ขึ้น นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระฯกระแสเนื้อเหลืองราคาไม่ค่อยขึ้น <O:p</O:p

    - ส่วนพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดที่สร้างออกจากโรงหล่อแถววัดคอกหมู(กระแสเนื้อแดง) ช่างมีความชำนาญมากกว่า ในโรงหล่อมีมาตรฐานกว่าที่วัด มีหลังคาคลุมมิดชิด มีระบบถ่ายเทอากาศที่ดี ทำให้หุ่นเทียนไม่ละลาย อีกทั้งเป็นอาชีพของเขา ย่อมจะหล่อพระฯได้ดีกว่าและสวยงามกว่า ฟอร์มพระฯกระแสเนื้อแดงจึงไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก และพระฯที่โรงหล่อแถววัดคอกหมูสร้างมีจำนวนมากกว่า ทำให้ในตลาดพระ มีพระฯเนื้อแดงให้เซียนได้เล่นเยอะกว่า มีการเปลี่ยนมือผู้ครอบครองบ่อยครั้งกว่า ราคาก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย <O:p</O:p

    - พระฯกระแสเนื้อแดง ที่สร้างจากโรงหล่อแถววัดคอกหมูใช่ว่าจะมีแต่พระฯองค์สวยๆ เมื่อสร้างจำนวนมากก็ต้องมีองค์ที่ไม่สวยติดมาด้วยเป็นทวีคูณ ทางวัดช้างให้เลือกเอาแต่องค์ที่สวยงามออกมาแจกจ่ายให้ผู้ศรัทธานำไปบูชา สุดท้ายก็เหลือแต่องค์ที่ไม่สวย ช่างผู้หล่อพระฯเกิดความเสียดายเนื้อโลหะเนื่องจากหล่อมาด้วยความยากลำบาก ช่างจึงใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านแก้ไข โดยแกะบล็อกใหม่ แล้วนำพระฯองค์ที่ไม่สวยทั้งหลายมาปั๊ม จึงเป็นที่มาของคำว่า “พิมพ์ใหญ่ปั๊มซ้ำ” นี่ก็คือสาเหตุที่พวกเราจึงเจอพระฯกระแสเนื้อแดง ส่วนมากมีแต่องค์สวยๆ ราคาพระฯกระแสเนื้อแดงจึงแพง<O:p</O:p

    ในความคิดเห็นของผู้เขียนนั้น “พระหลวงพ่อทวดรุ่นหลังเตารีดไม่ว่าจะเป็นกระแสเนื้อใด ถ้ามีรูปแบบของพระ(Shape) หรือฟอร์มของพระฯสวยสมบูรณ์กว่า พระฯองค์นั้นต้องแพงกว่า” ถ้าผู้เขียนไปพบพระฯทั้งกระแสเนื้อเหลืองและเนื้อแดง หากให้เลือกแล้วก็ขอเลือกพระฯองค์ที่สวยและฟอร์มพระฯสมบูรณ์ ผู้เขียนขอให้ท่านผู้อ่านได้เอาไปพิจารณากลั่นกรอง ไตร่ตรอง และค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป <O:p</O:p

    อย่าเชื่อในสิ่งที่เขาว่า ให้เชื่อในสิ่งที่ตนเองคิดโดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล<O:p</O:p

    หากข้อความข้างบนนี้มีประโยชน์อยู่บ้าง ผู้เขียนขอยกความดีทั้งหมดให้กับบิดา-มารดาของผู้เขียนและกูรูหรือปราชญ์ผู้รู้อย่างลึกซึ้งทางด้านหลวงพ่อทวดทั้งสามท่านคือ คุณสมศักดิ์ วาณิชย์สุวรรณ(โกหมิ่น หาดใหญ่) คุณภิยวัฒน์ วัฒนายากร(แต๊ก สงขลา) คุณชัยนฤทธิ์ เพชรพันธุ์ทอง หากมีสิ่งใดผิดพลาด ผู้เขียนขอรับผิดแต่เพียงผู้เดียวและขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย<O:p</O:p

    <O:p></O:p>


    นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา <O:p


    ขออำนาจแห่งองค์สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด โปรดดลบันดาลให้ท่านผู้อ่านทุกๆท่าน ปราศจากภัยพิบัติใดๆทั้งสิ้นด้วยเทอญ<O:p</O:p


    <O:p></O:p>


    ด้วยความปรารถนาดีจาก แพะ สงขลา (วิจิตร ปิยะศิริโสฬส)<O:p</O:p

    5 กรกฎาคม 2552<O:p</O:p



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  9. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    [​IMG]

    คำวิจารณ์เพิ่มเติม....
    หรับผมแล้วองค์นี้ผมถือว่าเป็นแบบชนิดหล่อโบราณจริงเนื้อในออกสีเหลืองจำปา
    ชนิดมีโลหะหลายอย่างส่วนสีผิวที่สมบูรณ์ออกเป็นสีแดงนั้นคือผิวไฟที่โลหะทำปฏิกิริยากับเบ้าพิมพ์
    ถ้าท่านใดที่เคยอ่านสิ่งที่ผมเขียนอย่างละเอียดก็จะเข้าใจว่าเป็นอย่างไรและคืออะไร
    แต่ลักษณะพิมพ์ก็ยังยิ่งหย่อนหรือความลึกชัดก็ยังยิ่งหย่อนไปกว่าของหลวงปู่ทวดที่ออกจากวัดช้างให้ และต้องระวังความไม่มีประสบการณ์ว่า
    ถ้าเขา.Who...? นำพระหลวงปู่ทวดบล็อคที่วัดช้างให้ไปถอดพิมพ์และหล่อขึ้นมาก็จะมีลักษณะใกล้เคียงและนำไปตอกโค๊ดก็จะเป็นของวัดคอกหมูไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2012
  10. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    [​IMG]

    องค์นี้ดูแล้วลึกแต่มีความคมชัดน้อยกว่าองค์แล้ววรรณะอย่างที่เขาได้กล่าวคือ
    ผิวไฟมีความกลมกลืนไปกับคราบเบ้ารมดำผิวไฟจึงออกสีแดงน้ำกว่าองค์แรก
    เนื้อในออกเหลืองซีดกว่าองค์แรก แต่พิมพ์ลึกกว่าความชัดและความคมด้อยกว่าเท่านั้น
     
  11. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    [​IMG]

    องค์ที่สามกับองค์แรกจะมีลักษณะเหมือนกันแต่อย่างที่กล่าวคือหล่อได้สวยงามปานกลาง
     
  12. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    [​IMG]

    องค์นี้คือองค์ที่สี น่ากลัวสุดสำหรับความรู้สึกผม คือพิมพ์ปั้มซ้ำถ้าไม่มีโค๊ดด้านหลัง
    ก็จะเป็นหลวงปู่ทวดวัดช้างให้พิมพ์ปั้มซ้ำทั่ว ๆ ไปทันทีและผมเห็นมามากหลายสภาพ
    ฝีมือเลยทีเดียวก็ว่าได้เห็นคนที่นิยมหลวงปู่ทวดโดนทั้งเซียนใหญ่เซียนน้อยเลยทีเดียวก็ว่าได้
    ซึ่งไม่เกี่ยวกับพิมพ์ของวัดคอกหมูนะครับ แต่เป็นปั้มซ้ำที่เขาทำปลอมของวัดช้างให้


    เพื่อน ๆ ที่ไม่ค่อยมีความชำนาญแล้วแยกไม่ออกนี่สิครับคือสิ่งที่ผมกังวลใจและเป็นห่วง<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- edit note -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
     
  13. หมอรวย

    หมอรวย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +105
    ผ่านมือผมไปไม่นานนี้ คือ 05 พิมพ์ใหญ่ บี

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับ
     
  14. Que16731

    Que16731 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2017
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
     

แชร์หน้านี้

Loading...