หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู นครสวรรค์

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย lekpluto, 9 มิถุนายน 2008.

  1. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p< font O:p<>
    **********************
    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype class=inlineimg id=_x0000_t75 title="Tongue out" coordsize="21600,21600" o:spt="75" src="images/smilies/tongue-smile.gif" smilieid="24" alt="" border="0" v:shapetype o<>[​IMG]
    ถ้าเอ่ยชื่อ “พระครูนิทัศน์ศาสนกิจ” หลายท่านอาจจะเป็นงง แต่ถ้าบอกว่า นี่คือสมณศักดิ์ของหลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ก็จะหายมึนงงและถึงบ้างอ้อ โดยเฉพาะพวกดารานักร้อง นักแสดง สื่อมวลชนด้านบันเทิงทั้งหลาย จะต้องร้อง “อ๋อ” กันทุกคน เพราะท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องของ “เสน่ห์เมตตา มหานิยม” เป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ
    [FONT=border=]ไม่ต้องดูอื่นไกล ตลกหน้าผีอย่าง เอ้ดดี้ ผีน่ารัก ที่ไม่ว่าจะมองแง่มุมไหน ก็หาความมีเสนห์เมตตา น่านิยมไม่เจอ แต่ก็ได้รับแรงศรัทธาจากผู้คนล้นหลามเมื่อเปิดทำการแสดงตามที่ต่าง ๆ แถมยังมี “เมียสองต้องห้าม” ตามตำรา และ “แหกตำรา” คือ ปกครองให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ชนิดที่เราท่านทั้งหลายต้องพากันอิจฉา หรือ โก๊ะตี๋ หนุ่มแคระ หน้าแป๊ะยิ้ม ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและได้รับความนิยมจากมหาชนมาได้ ก็เพราะได้พึ่งพาบุญบารมีของหลวงปู่พิมพานี่แหละครับ โดยฝากให้เข้าไปอยู่กับเอ้ดดี้ ที่เข้าวงการมาก่อนหน้า แม้แต่ สรพงศ์ ชาตรี พระเอกชั้นแนวหน้า พี่ใหญ่ในวงการบันเทิง ก็ยังให้ความเคารพนับถือหลวงปู่ดุจบิดาเช่นกัน

    [FONT=border=]พระครูนิทัศน์ศาสนกิจ เดิมชื่อ พิมพา สาริกิจ ท่านไม่ได้เป็นชาวบรรพตพิสัยโดยกำเนิด เพราะท่านเกิดที่บ้านท่ามะกูด ต.วังเมือง อ.ทับทัน จ.อุทัยธานี โดยถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา โยมบิดาชื่อ นายสิงห์ โยมมารดาชื่อ นางแถม ท่านมีพี่น้องท้องเดียวกัน ๑๐ คน ตัวท่านเป็นคนที่ ๗ ต่อมาถึงได้ย้ายติดตามบิดามารดามาอยู่ที่ ต.หูกวาง อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์[/FONT]
    ในวัยเรียน เมื่อเติบใหญ่เข้าสู่วัยเรียน ท่านเข้ารับการศึกษาชั้นต้นที่ โรงเรียนบ้านวังกะชอน ต.หูกวาง อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ที่อยู่ใกล้บ้าน ท่านเป็นเด็กนักเรียนที่เรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย เป็นที่รักใคร่ของเพื่อนนักเรียน และครูอาจารย์มาก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ท่านต้องเรียนจบแค่ชั้น ป.๔ ก็ต้องออกมาช่วยพ่อแม่ทำไร่ ไถนา เพราะครอบครัวท่านลูกมาก ยากจน ขัดสนไม่ค่อยจะพอกินพอใช้
    [FONT=border=]จวบจนกระทั่งท่านมีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ก็ได้บวชทดแทนคุณบิดามารดา ณ วัดเขาดินใต้ อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๐๗.๐๐ น. โดยมีพระครูนิสิทธิ์สมถคุณ (หลวงพ่อเฮง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระใบฎีกาแขก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ชื่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาในทางธรรมว่า “ธัมมวโร” หรือ “ผู้มีธรรมอันประเสริฐ”[/FONT]
    ก่อนอุปสมบท หลวงปู่พิมพาท่านมีนิสัยที่ฝักใฝ่ในทางธรรมมาแต่เด็ก ท่านไม่เคยแม้แต่ที่จะฆ่ามดปลวกสักตัวเดียว เรื่องสุรา นารี พาชี กีฬาบัตร ตลอดจนอบายมุขทั้งหลายท่านมิเคยได้เข้าไปข้องแวะแม้แต่สักครั้ง เมื่อท่านได้มีโอกาสได้บวช จึงตั้งใจไว้ก่อนบวชว่า ถ้าศีรษะไม่ล้านถึงท้ายทอย จะไม่ยอมลาสิกขาบท แต่เมื่อบวชพรรษาแรกก็มีมารมาผจญ เกิดอาพาธหนักแทบจะเอาชีวิตไม่รอด โยมบิดามารดาได้ขอร้องให้ลาสิกขาบท โดยจัดเตรียมเสื้อผ้ามาให้เปลี่ยนด้วย แต่ท่านก็ไม่ยอมลาสิกขาบท ท่านว่า “ถึงตายก็ยอมตายในผ้าเหลือง” ในที่สุดด้วยอำนาจแห่งผ้ากาสาวพัสตร์ และกุศลกรรมของท่านที่สั่งสมไว้ จะส่งผลให้ท่านได้เจริญรุ่งเรืองในทางพระพุทธศาสนา เป็นที่พึ่งของสาธุชนสืบไป ท่านก็หายจากอาการอาพาธในที่สุด
    การเรียนกฤตยาคม หลวงปู่พิมพา ท่านสนใจในเรื่องของการศึกษาเล่าเรียนด้านกฤตยาคม หรือเวทย์มนตร์คาถา มาตั้งแต่ท่านอายุได้ ๑๗ ปี โดยเริ่มเรียนจาก พระอาจารย์สา และพระอาจารย์โสภา วัดวังกระชอน ประมาณ ๒ ปี และได้เรียนจากคนเฒ่า คนแก่ ในหมู่บ้าน ที่มีเวทย์มนตร์คาถา แก่กล้าในวิทยาคมอีกหลายคน นอกจากนั้นยังสนใจในเรื่องของสมุนไพรใบยา จนสามารถปรุงยาแผนโบราณ ให้ญาติโยมที่เจ็บไข้ไม่สบายได้นำไปต้มกิน จนหายจากโรคภัยมาหลายราย
    เมื่อบวชแล้วก็ได้เสาะแสวงหาครูอาจารย์อีกหลายท่าน จนพรรษาที่ ๕ ได้เข้าศึกษากับ “หลวงพ่อพวง วัดวังกระชอน” อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ จนหมดสิ้นวิชาความรู้ที่หลวงพ่อพวงจะมอบให้ จากนั้นจึงได้ไปศึกษากับ “หลวงพ่อเคลือบ วัดหนองกระดี่” อ.ทับทัน จ.อุทัยธานี จนกระทั่งหลวงพ่อเคลือบได้มรณภาพลง จึงได้มอบตัวเป็นศิษย์ “หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ” อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ศึกษาการลงตะกรุด และการทำมีดหมอ รวมทั้งเวทย์มนตร์ต่าง ๆ อยู่ ๕ พรรษา หลวงพ่อเดิมมีความรักใคร่เมตตามาก ถึงกับยอมยกตำรา และวัตถุมงคลที่จัดทำขึ้นให้ จากนั้นก็ยังสนใจร่ำเรียนต่อ ได้มอบตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์ผู้เรืองอาคมในยุคนั้นอีกหลายท่าน เช่น
    [FONT=border=]หลวงพ่อดี วัดหัวถนน อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์[/FONT]
    [FONT=border=]หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี[/FONT]
    หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก
    และยังศึกษาสมถกรรมฐาน ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดเรื่อยมา เมื่อรู้ที่ใดว่ามีครูอาจารย์ดี ก็จะดั้นต้นไปมอบตัวเป็นศิษย์ที่นั่น จนกระทั่งท่านบวชได้ ๑๒ พรรษา ก็ได้เดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร จำพรรษา ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี พบอาจารย์สุก อาจารย์สุกเกิดถูกชะตา ชวนให้เรียนที่นั่นจนจบ ปริเฉท ๙ และเข้าปฏิบัติวิปัสสนา หลังจากนั้นท่านเจ้าคุณสังฆมนตรี (วัดมหาธาตุ) นิมนต์ให้ไปอยู่วัดมหาธาตุ ได้ศึกษาวิปัสสนาอยู่ที่วัดมหาธาตุ ๒ พรรษา
    ในช่วงนั้นการบิณฑบาตเป็นไปด้วยความลำบาก เพราะไม่รู้จักเส้นทาง ญาติโยมก็จะใส่บาตรกับพระที่มาประจำ ในช่วงแรก ๆ ออกไปแทบจะไม่มีข้าวใส่บาตรเลย แต่ก็ไม่นาน สักระยะหนึ่ง ถึงกับต้องหาลูกศิษย์ติดตามไปด้วย เพราะญาติโยมมารอใส่บาตรกันอย่างมากมาย มีหลายครั้งที่พระในวัดบิณฑบาตไม่ได้ ท่านต้องออกบิณฑบาตมาถวายพระเณรในวัด เป็นที่เคารพของพระเณรและญาติโยมมาก ถึงขนาดมีโยมบางคนมาขอไปเป็นลูกเขย ยอมยกลูกสาวให้ แต่ท่านไม่สนใจ มุ่งที่จะศึกษาร่ำเรียนอย่างเดียว หลังจากนั้น ญาติโยมก็มารับกลับหนองตางู
    ความเป็นมาและปฏิปทา หลวงปู่พิมพาท่านมีความจำเป็นเลิศ แม้จะอายุ ๙๐ ปีแล้วก็ตาม ท่านได้เล่าชีวิตในคราวหลังได้อย่างแม่นยำ ไม่มีหลงลืม หลังจากได้บวช และได้นักธรรมตรี เป็นครูสอนอยู่ที่วัดวังกระชอนได้ ๓ พรรษาแล้ว มีโยมอิ้ง และชาวบ้านชายเคือง ได้ไปนิมนต์ท่าน จากวัดวังกระชอน อ. บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ มาอยู่วัดชายเคือง ต.ระหาน อ.ขาณุวรลักษณ์ จ.กำแพงเพชรลวงปู่รับนิมนต์และได้สร้างวัดขึ้นใหม่แทนวัดเก่า เพราะวัดเก่านั้นกันดารน้ำมาก และอยู่ไกลจากหมู่บ้าน สัญจรไปมาลำบาก มีสัตว์ป่ามากมาย แต่หลวงปู่มิได้เกรงกลัว หากพบพานก็จะแผ่เมตตาให้ และได้ยึดมั่นในพระวินัยการกระทำดีในพระบวรพุทธศาสนา และด้วยอำนาจบารมีในการประพฤติปฏิบัติธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด จึงทำให้สัตว์ร้ายเหล่านั้น ไม่ทำร้ายหลวงปู่เลย
    หลวงปู่ท่านเล็งเห็นถึงความสำคัญของแหล่งน้ำ และเส้นทางคมนาคม เมื่อมาอยู่วัดชายเคือง ได้ร่วมกับชาวบ้านพัฒนาปูชนียวัตถุ สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ พอท่านสร้างโรงเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางราชการหาครูมาสอนไม่ได้ เพราะอยู่ในถิ่นกันดาร ท่านต้องสอนนักเรียน และสอนพระเณรเอง จนถึงพรรษาที่ ๖ หมอสุข บุญสวัสดิ์ ชาวบ้านหนองตางู ได้นิมนต์ให้ไปอยู่หนองตางู เพราะที่บ้านหนองตางูนั้นไม่มีวัด ชาวบ้านไม่ได้ตักบาตรทำบุญกัน หลวงปู่จึงรับนิมนต์ เพราะเป็นการโปรดสัตว์ด้วย หากได้นำเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไปแนะนำสั่งสอนแก่ชาวบ้านหนองตางู และจะได้อานิสงส์ที่ชาวบ้านได้ทำบุญตักบาตรไปด้วย
    ตอนมาอยู่ใหม่ ๆ ชาวบ้านปลูกกระต๊อบหลังคามุงแฝกให้หนึ่งหลัง ซึ่งสร้างในที่ดินของนายทอง นางตา คำยา ซึ่งเป็นวัดหนองตางูอยู่ในขณะนี้ เมื่อมาถึงก็เริ่มพัฒนาวัด ในสมัยนั้นหนองตางูมีโจรผู้ร้ายชุกชุมมาก ท่านก็อบรมสั่งสอนชาวบ้าน ให้ยึดถือศาสนา และประพฤติปฏิบัติตน ให้อยู่ในศีลในธรรม ไม่รบกวนฆ่าฟันกัน
    การพัฒนาหมู่บ้านมีปัญหาที่สำคัญคือ แหล่งน้ำและในการพัฒนาแหล่งน้ำ ทำให้มีคนเสียผลประโยชน์ คือ พวกนักเลงในหมู่บ้าน หลวงปู่เล่าว่า เข้ามาพบแล้วเข้ามาต่อว่าท่านต่าง ๆ นา ๆ ท่านก็ทำใจดีบอกว่า ได้รับนิมนต์ให้มาอยู่ที่นี่ แต่พวกนั้นก็ขับไล่ท่าน ถึงกับจะฆ่าท่าน ท่านก็ไม่ถือไม่โกรธ ท่านถือว่า ได้ยอมสละชีวิตจิตใจแก่พระพุทธศาสนาแล้ว ถือว่าเกิดมาเป็นลูกพระตถาคตแล้วไม่เป็นไร ไม่โกรธ ไม่แค้น ไม่เดือดร้อนทั้งสิ้น คนเราจะชั่วจะดีอย่างไรก็ต้องตาย
    จากนั้นท่านก็แนะนำสั่งสอนไป จนยอมรับฟังความคิดเห็น และได้หันมาร่วมกันพัฒนาเรื่อยมา โดยร่วมกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ในสมัยนั้น สร้างฝายเพื่อกักเก็บน้ำ ขุดลอกคูคลอง แยกออกมาจากแม่น้ำปิงจนเสร็จ ได้ใช้น้ำอย่างเพียงพอมาจนถึงทุกวันนี้ ต่อจากนั้นก็พัฒนางานด้านอื่น ๆ เรื่อยมา แต่ในช่วงนั้นไม่ได้อยู่วัดประจำ จะไป ๆ มา ๆ เพราะท่านเริ่มออกหาอาจารย์ เพื่อศึกษากับอาจารย์ต่าง ๆ ตามที่ได้บันทึกเอาไว้ในเบื้องต้นแล้ว
    จากนั้นก็เริ่มธุดงค์ขึ้นเหนือ สู่อีสาน และจากคำบอกเล่าของท่าน ท่านเคยธุดงค์ไปจีน ลาว พม่า ไปช่วยพระสร้างวัด เช่น วัดหนองคำแสง (ปัจจุบันยังมีปรากฏให้เห็น) จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้ท่านผูกพันกับคนที่นั่น พอถึงปีท่านจะนำพระพุทธรูปบ้าง ผ้าป่าบ้าง ไปถวายเป็นประจำ ครั้งหนึ่งเคยนำพระพุทธรูปไปถวายเป็นจำนวนมากถึง ๑๕๐ องค์ พอกลับมาอยู่หนองตางู ก็ยังมีญาติโยมชาวลาว พม่า จีน และญาติโยมทางภาคเหนือ และอีสาน มากราบนมัสการท่านอยู่เป็นประจำ หลังจากกลับมาแล้วในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้สร้างอุโบสถ (หลังเก่า) จากนั้นได้เริ่มออกพัฒนาช่วยเหลือไปยังวัดอื่นๆ อีกหลายวัด กระทั่งอุโบสถหลังเก่าเริ่มทรุดโทรมลง จึงได้เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่ มีการยกช่อฟ้า ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ และในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้จัดให้มีการฝังลูกนิมิตขึ้นเป็นเวลา ๑๐ วัน
    ในวันที่ทำการตัดหวายลูกนิมิต หลวงปู่ได้เดินทางไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดเขาหนองตะเคียน ได้สร้างศาลาการเปรียญและปรับปรุงพัฒนาวัดขึ้น จากเดิมมีกระต๊อบหลังเดียว ท่านได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดหนองตะเคียน เป็นเวลา ๒ พรรษา จากนั้นญาติโยมชาวบ้านมาบมะขาม ได้มานิมนต์ให้ไปอยู่จำพรรษาวัดสี่แพ่ง จากนั้นท่านจึงได้ลงจากเขาหนองตะเคียน ไปอยู่วัดสี่แพ่ง และได้ร่วมกับพระครูวุฒิวรคุณ(หลวงพ่อวุฒิ วัดเจริญผล) พร้อมด้วยชาวบ้าน ช่วยกันพัฒนาวัดสี่แพ่ง ท่านได้จำพรรษา ณ วัดสี่แพ่ง ๑ พรรษา จึงได้กลับวัดหนองตางู
    ท่านเริ่มมีกิจนิมนต์มากขึ้น เหตุเพราะท่านมีความเมตตาต่อลูกศิษย์ลูกหา โดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ จึงทำให้ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ทั้งข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักการเมือง พ่อค้า ประชาชน โดยเฉพาะอย่างศิลปินดารา นักร้อง ตลก ต่างก็มาขอพรจากท่านอยู่เสมอ ได้มาบวชอยู่จำพรรษาวัดหนองตางูหลายท่าน และท่านเริ่มโหมงานมากขึ้น ถึงขั้นต้องฉันภัตตาหารบนรถก็มี เพราะกลัวว่าจะไปตามที่รับนิมนต์ไว้ไม่ทัน
    และเมื่อมีเวลาว่างก็จะไปช่วยบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอื่น ๆ ตามที่มีมาขอความอนุเคราะห์หลายวัดด้วยกัน จนกระทั่งร่างกายทรุดโทรมมาก ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ศิษยานุศิษย์ต่างขอร้องให้หยุดพักผ่อน แต่ท่านไม่ยอม ท่านว่า เขามาขอความช่วยเหลือ เราก็ควรอนุเคราะห์แก่เขา ไม่ว่าจะมานิมนต์ไหน หลวงปู่ท่านไปทุกที่ ไม่ว่าไกลหรือกันดารเพียงใด ไม่ว่างานเล็กงานใหญ่ หากมีเวลาว่างท่านจะรับไว้ทันที
    [FONT=border=]จากนั้นท่านเริ่มมีอาการปวดท้องบ่อยขึ้น และเริ่มรุนแรงขึ้น จนกระทั่งวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๑ ต้องเข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลเปาโล กรุงเทพ ฯแพทย์ผู้ทำการรักษาวินิจฉัยว่า เป็นมะเร็งในถุงน้ำดี จำเป็นต้องผ่าตัด ถ้าไม่ผ่า มีโอกาสรอดเพียง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ลูกศิษย์ลูกหาต่างไม่อยากให้ผ่าตัด เพราะท่านอายุมากแล้ว และเสี่ยงมากไป จึงได้เข้าปรึกษากับหลวงปู่ หลวงปู่ท่านจึงว่า ไม่เป็นไรหรอก อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา ดีเสียอีก หากผ่าตัด หมอและพยาบาลจะได้มาศึกษาหาความรู้จากเราว่า โรคนี้ อายุขนาดนี้ ควรทำอย่างไร[/FONT]
    ในขณะนั้นทุกคนที่มาเฝ้าปรนนิบัติต่างร้องไห้ เพราะคำพูดของท่าน และกลัวว่าหลังจากผ่าตัด อาการของท่านจะทรุดมากขึ้น วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๑ พยาบาลขึ้นมารับพาไปยังห้องผ่าตัด ทำการผ่าตัด ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง เสร็จแล้วกลับห้องพักด้วยความปลอดภัย แพทย์ผู้รักษาเข้ามารายงานผลการผ่าตัดว่า หลังจากผ่าตัดแล้ว พบว่า มะเร็งไม่ได้อยู่ในถุงน้ำดีที่เดียว แต่มันได้กระจายออกไปจนทั่วช่องท้องแล้ว จึงทำอะไรไม่ได้นอกจากช่วยรักษาตามอาการ และท่านจะมีชีวิตอยู่ได้อีกประมาณ ๘ เดือน
    [FONT=border=]พวกเราทุกคนที่ทราบข่าว ต่างเสียใจกันมาก แต่หลวงปู่กลับไม่รู้สึกสะทกสะท้านใด ๆ เลย ตรงกันข้ามกลับให้กำลังใจกับทุกคน คอยพูดให้คลายความโศกเศร้า ท่านอยู่โรงพยาบาลประมาณ ๑ เดือน อาการเริ่มดีขึ้น แพทย์จึงอนุญาตให้กลับได้ พอกลับวัดก็ไม่ยอมพักผ่อน ยังคงออกรับแขก พูดคุยกับญาติโยมที่มากราบนมัสการเหมือนเดิม และช่วงไหนไม่มีแขกมา ก็จะออกเดินตรวจวัด ห้ามอย่างไรก็ไม่ยอม จากนั้นอาการได้กำเริบขึ้นอีก จึงขอให้ท่านกลับเข้ารักษาตัวอีกครั้ง ที่โรงพยาบาลเปาโล ใช้เวลาประมาณ ๑๕ วัน อาการดีขึ้นมาก และท่านยังคงออกรับแขกเหมือนเดิม[/FONT]
    แต่ด้วยความเด็ดเดี่ยวเข้มแข็งนี่เอง กลับทำให้ร่างกายซูบผอมลง และมีอาการปวดท้องรุนแรงขึ้นอีก จึงได้นำท่านเข้ารักษาตัว ณ โรงพยาบาลปากน้ำโพ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงช่วยบรรเทาอาการไม่ให้หนักขึ้นกว่าเดิม ท่านเริ่มเบื่ออาหาร ฉันอาหารน้อยลง มื้อละ ๓ คำบ้าง ๕ คำบ้าง แพทย์ต้องให้อาหารเสริม สลับกับการให้เลือด
    พออาการเริ่มดีขึ้นบ้าง ก็จะกลับวัดให้ได้ ท่านว่า เป็นห่วงวัด กลัวจะไม่มีใครดูแล แต่ลูกศิษย์ลูกหาขอให้ท่านอยู่ดูอาการก่อน และในขณะที่ยังมีอาการอาพาธอยู่นั้น ก็ไม่ยอมหยุดงาน ได้สั่งให้ดำเนินการก่อสร้างต่อเติมศาลาการเปรียญออกไปอีก เวลามีญาติโยมมาจะได้มีที่พักเพียงพอ และสั่งให้สร้างกุฏิขึ้นที่วัดเขาหนองตะเคียน ด้วยความเป็นห่วงกลัวว่าทำได้ไม่ดี กลัวไม่เสร็จ ท่านจึงออกจากโรงพยาบาลขึ้นไปอยู่ วัดเขาหนองตะเคียน เพื่อดูแลการก่อสร้าง
    ช่วงนี้ท่านเริ่มไม่มีแรง ต้องนั่งรถเข็นออกตรวจงาน แม้ฝนตกแดดออกก็ไม่ยอมเข้าห้อง พองานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยแล้ว ท่านจึงกลับวัดหนองตางู อาการดีบ้าง ทรุดบ้าง ท่านเริ่มไม่ฉันอาหาร เสียงพูดไม่ค่อยได้ยิน จึงกลับเข้ารักษาตัวอีกครั้ง ประมาณ ๑๔ วัน กลับวัดในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๑ กลับมาครั้งนี้ท่านไม่ฉันอาหาร ไม่พูด ไม่ค่อยขยับตัว แต่ยังคงให้ญาติโยมเข้าเยี่ยมอยู่ แม้กระทั่งเที่ยงคืน ตีหนึ่ง ยังมาเคาะประตูขอเข้ากราบนมัสการ และในวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๑ เวลาประมาณ ๒๓.๓๐ น.ท่านเริ่มหายใจช้าลง ชีพจรเต้นช้าลง เบาลง จนกระทั่งเวลา ๐๒.๓๖ น. ของวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๑ ท่านได้มรณภาพด้วยอาการสงบ
    </v:shapetype></O:p<>[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2008
  2. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    ประมวลภาพวัตถุมงคล ชุดที่ ๑
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    ประมวลภาพวัตถุมงคล ชุดที่ ๒
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    ประมวลภาพวัตถุมงคล ชุดที่ ๓
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    ประมวลภาพวัตถุมงคล ชุดที่ ๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    ประมวลภาพวัตถุมงคล ชุดที่ ๕
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    จากศีลาจารวัตร วัตรปฏิบัติที่งดงาม และได้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างมากมาย ทำให้เกิดผลานิสงส์ เมื่อหลวงปู่พิมพาละสังขารแล้ว สังขารของท่านไม่เน่าเปื่อย ผุสลาย ยังคงสภาพเดิมเหมือนคนนอนหลับทุกประการ ลองพิจารณาดูภาพสรีระของท่าน ที่บรรจุไว้ในโลงแก้ว เบื้องหลังพระที่ทำหน้าที่จัดทำหนังสืออนุสรณ์ครบ ๑๐๐ วัน สิครับ

    ตอนที่ผมไปที่วัดของท่านนั้น ท่านมรณภาพไปแล้วกว่า ๔ ปี ผมขอรับรองและยืนยันได้ว่า สรีระของท่านนั้น เหมือนคนนอนหลับทุกประการ ไม่มีการการซูบ ซีด เปลี่ยนสี เหี่ยวแห้งเลยแม้แต่น้อย น่าอัศจรรย์ใจจริง ๆ ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. cc5922

    cc5922 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    4,193
    ค่าพลัง:
    +16,973
    กราบนมัสการครับ
     
  9. thaiput

    thaiput เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    9,528
    ค่าพลัง:
    +27,656
    *-* ขออนุโมทนาด้วยครับ ขอบคุณครับ *-* thaiput007@hotmail.com
     
  10. artzaza

    artzaza สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    ศิษสายสำนักพ่อท่านเณร ธาตุพุทธคุณ

    ท่านเก่งมากครับเชิญไปกลาบท่านเองนะครับ เบอท่าน0870176158
     
  11. วานรินทร์

    วานรินทร์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +4
    ใครมีวัตถุมงคลของท่านให้บูชาบ้างครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...