หลวงพ่อพระเสริม แห่งวัดสระปทุม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 28 กันยายน 2009.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    [​IMG]
    ตำนานเล่าขานถึงพระพุทธรูป 3 พี่น้องชื่อดังของอาณาจักรล้านช้างในอดีต ( ประเทศลาวในปัจุบัน) ปัจจุบันพลัดถิ่นมาอยู่ที่แผ่นดินสยาม

    ขอความสุขสวัสดิ์จงมีแด่ทุกท่านที่ได้สดับและอ่านเรื่องนี้เถิด

    พระเสริม พระสุก พระใส หล่อขึ้นจากทองสีสุก ( โลหะสำฤทธิ์ที่มีทองคำเป็นส่วนผสมหลัก ) เมื่อปี พ.ศ. 2109 ( อ้างจากการท่องเที่ยวของ สปป. ลาว ) โดยพระราชธิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 3 พระองค์ ทรงพระนามว่า พระราชธิดาเสริม พระราชธิดาสุก และพระราชธิดาใส โปรดให้ช่างลาวล้านช้างหล่อพระพุทธรูปประจำพระองค์ เพื่อความเป็นสิริมงคลมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ

    ในพิธีการหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นั้น พระภิกษุและฆราวาสช่วยกันทำการสูบเตาหลอมทองอยู่ตลอดถึง 7 วัน แต่ทองก็ยังไม่ละลาย พอถึงวันที่ 8 มีเพียงพระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งกับสามเณรรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ก็ปรากฏมีชีปะขาวคนหนึ่งมาอาสาสูบเตาแทนพระและเณร แต่วันนั้นญาติโยมต่างเห็นบรรดาชีปะขาวสูบเตาอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพระภิกษุและสามเณรฉันเพลเสร็จแล้วก็จะไปสูบเตาต่อ ปรากฏว่าได้มีผู้เททองลงเบ้าทั้ง 3 จนเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่เห็นชีปะขาวอยู่แม้แต่คนเดียว การหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ สำเร็จลงด้วยดีอย่างน่าอัศจรรย์ พระราชธิดาเสริม สุก และใส ต่างถวายนามของตนเป็นนามของพระพุทธรูป ได้แก่ พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระราชธิดาองค์พี่ พระสุกเป็นพระพุทธรูปประจำพระราชธิดาองค์กลาง และพระใสเป็นพระพุทธรูปประจำพระราชธิดาองค์สุดท้อง

    สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ว่า พระเสริม พระสุก พระใส เป็นพระพุทธรูปลาวล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น 2 ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักรล้านช้าง และต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพุงขาว

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ครั้งเจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างก่อกบฏ คิดประกาศเอกราชไม่ขอขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์อีกต่อไป พระองค์ทรงโปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเป็นแม่ทัพยกทัพไปปราบ และได้ตั้งค่ายทหารที่เมืองพานพร้าว ทหารไทยเข้าตีเมืองเวียงจันทน์จนเจ้าอนุวงศ์หนีไปจากเวียงจันทน์ ในครั้งนั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากเมืองเวียงจันทน์หลายองค์ ได้แก่ พระแซกคำ พระฉันสมอ พระเสริม พระสุก พระใส พระแก่นจันทน์ พระเงินหล่อ พระเงินบุ พระสรงน้ำ มาเก็บรักษาไว้ที่เมืองพานพร้าว และได้มีการสร้างพระเจดีย์เพื่อประดิษฐานจารึกพระนาม พระเจดีย์ปราบเวียง ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ร่วมกับพวกญวนเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์คืนและตีค่ายพานพร้าว ทหารฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ได้ทำการรื้อพระเจดีย์ปราบเวียง และนำพระพุทธรูปที่บรรจุอยู่ทั้งหมดกลับเวียงจันทน์ ต่อมาทหารไทยเข้ายึดค่ายพานพร้าวคืนและตีเมืองเวียงจันทน์ ทำลายเมืองเวียงจันทน์ กำแพงเมือง ป้อมเมือง และหอคำ จนกลายเป็นทะเลเพลิง เหลือไว้แต่วัดสีสะเกดและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองบางแห่ง และได้มีการนำพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งข้ามกลับมาฝั่งไทย

    การอัญเชิญพระเสริม พระสุก พระใส จากเมืองเวียงจันทน์

    มีเรื่องเล่าเป็นตำนานต่อกันมาว่าพบพระพุทธรูปในถ้ำแห่งหนึ่งบนภูเขาควาย ( เนื่องจากชาวเมืองได้นำไปซ่อนไว้เพื่อหนีภัยสงคราม ) จึงนำขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่อัญเชิญมาทางลำน้ำงึมออกลำน้ำโขง เมื่อถึงบริเวณปากน้ำงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้งเมืองหนองคาย ( ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอโพนพิสัย ) เกิดพายุฝนตกหนักพัดแท่นที่ประดิษฐานพระสุกจมน้ำ สถานที่นั้นต่อมาจึงเรียกว่า “เวินแท่น” และในที่ใกล้ ๆ กันองค์พระสุกจมก็หายไปในแม่น้ำโขง และสถานที่นั้นต่อมาเรียกว่า “เวินพระสุก” หรือ “เวินสุก” ส่วนพระเสริมและพระใสได้ อัญเชิญมาถึงเมืองหนองคายอย่างปลอดภัย

    พระเสริมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสประดิษฐานอยู่ที่วัดหอก่อง ( วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ) ต่อมายุครัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์สมัยนั้น พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะอัญเชิญพระเสริมมาประดิษฐานยังพระบวรราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและข้าหลวง ( เหม็น ) ไปอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนคร เมื่อครั้งอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนครนั้น กล่าวกันว่าพระใสแสดงปาฏิหาริย์ เกวียนที่ประดิษฐานพระใสหักลงตรงหน้าวัดโพธิ์ชัย ซ่อมก็หักอีก วัวลากเกวียนไม่ยอมเดิน ทั้งเชิญและบวงสรวงก็ไม่เป็นผล สุดท้ายทหารจึงอัญเชิญพระใสประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยแทน ส่วนพระเสริมอัญเชิญไปกรุงเทพฯ

    ( ปัจจุบันหลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดหนองคายประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมือง )

    ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้อัญเชิ ญพระเสริมจากพระบวรราชวัง ไปประดิษฐานยังพระวิหารวัดปทุมวนาราม ชาวลาวล้านช้างได้มาเฝ้ากราบไหว้บูชาพระเสริมตลอดทั้ งวัน ชื่อเสียงพระเสริมกระจายไปทั่วเขตพระนคร ว่ามีพระใหญ่ล้านช้างองค์สำคัญถูกอัญเชิญมาใว้ในกรุง รัตนโกสินทร์ ผู้คนทั่วสารทิศต่างแห่แหนกราบไหว้บูชาทั้งวัน

    วันเวลาผ่านไปนาน 200 กว่าปี ชื่อเสียงพระเสริมลืมหายไปตามกาลเวลา......

    คนกรุงเทพฯ ไม่รู้จักพระเสริม ส่วนพระใสยังพอมีชื่อผู้คนหนองคายและคนลาวนับถือนัก. ....

    ว่างๆ วันหยุด เชิญแวะเวียนไปสักการะ พระคู่บ้านคู่เมืองของอาณาจักรล้านช้างที่อยู่ ณ วัดประทุมวนาราม ราชวรวิหาร ณ ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ บ้างนะ (วัดอยู่ตรงเชิงสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม)

    ขอผู้มีจิตเลื่อมใสโปรดไปนมัสการสักครั้งในชีวิต
    ข้อมูลจากเรื่องราวของพระลาวล้านช้าง 3 พี่น้อง พระเสริม พระสุก พระใส | MThA! Webboard

    บูรพาจารย์พระกรรมฐาน
    [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
    กุฏิที่หลวงปู่มั่นจำพรรษา ณ วัดสระปทุม อยู่ข้างอุโบสถใหม่ ใกล้กับตึกเอนกประสงค์เก่า

    ท่านพระอาจารย์หนู ฐิตปญฺโญ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นศิษย์วัดไหน และสาเหตุที่พระอาจารย์หนู ฐิตปญฺโญ ได้รับอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดปทุมวนาราม? เรื่องนี้ท่านพระอาจารย์มั่นได้เมตตาเล่าไว้หลายครั้งหลายคราวและหลายปี ว่าการศึกษาพระปริยัติธรรมและอบรมกัมมัฏฐานระยะที่ 2 ของพระอาจารย์ทั้ง 3 รูปนั้น ท่านได้มาศึกษาที่กรุงเทพมหานคร โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส เป็นพระอาจารย์ แต่ทำไมท่านพระอาจารย์ทั้ง 3 รูป ไม่พักที่วัดบรมนิวาส แต่มาพักที่วัดปทุมวนาราม หรือวัดสระปทุม ปทุมวัน ทั้งนี้เพราะทั้ง 3 รูปมีความผูกพันกับวัดปทุมวนาราม
    วัดปทุมวนารามนี้เป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ผู้ทรงเป็นต้นวงศ์คณะธรรมยุต ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2400 พร้อมทั้งได้ทรงอาราธนาเจ้าอธิการก่ำ จากวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของพระองค์สมัยที่ทรงผนวช มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดปทุมวนาราม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวิปัสสนาที่ พระครูปทุมธรรมธาดา มีพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศวิหารจำนวนหนึ่ง เป็นพระอนุจรมาจำพรรษาด้วย พระอารามแห่งนี้อยู่ภายนอกพระนคร สถานที่เงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติกัมมัฏฐาน เจ้าอาวาสรูปแรกและรูปต่อๆ มา มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดยโสธร มีเฉพาะท่านเจ้าอาวาสรูปที่ 6 คือ พระธรรมปาโมกข์ (บุญมั่น มนฺตาสโย) เท่านั้นที่เป็นชาวกรุงเทพมหานคร ก่อนอุปสมบท พระธรรมปาโมกข์ท่านเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ท่านเป็นนักเรียนของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบรุ่นแรก ท่านออกบวชในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พระเดชพระคุณมีชื่อคล้ายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และท่านได้ติดตามพระอาจารย์มั่นออกธุดงค์ที่ภาคเหนือ และประเทศพม่า ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส ได้ออกไปเรียนวิปัสสนาอยู่กับท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (สิงห์) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม และได้เข้ามาจำพรรษาที่วัดปทุมวนารามใน พ.ศ.2439 ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (สิงห์) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม รูปที่ 3 เมื่อก่อนพระคุณท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่พระธรรมวิโรจน์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสต้นไปยังวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ทรงพบท่านเจ้าคุณพระธรรมวิโรจน์ (สิงห์) ทรงเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติ เพราะพระคุณท่านเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ปฏิบัติกัมมัฏฐาน จึงทรงอาราธนาให้มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดปทุมวนาราม เพราะท่านพระครูปทุมธรรมธาดา (สิงห์ อคฺคธมฺโม) เจ้าอาวาสรูปที่ 2 มรณภาพ วัดยังว่างเจ้าอาวาส ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวิปัสสนา ที่พระปัญญาพิศาลเถร พร้อมทั้งพระราชทานพัดงาสาน เป็นพัดยศสมณศักดิ์ พัดงาสานนี้ พระราชทานเฉพาะพระราชาคณะเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ซึ่งได้รับพระราชทานมี 4 รูป คือ
    1. พระปัญญาพิศาลเถร (สิงห์) เจ้าอาวาสรูปที่ 3
    2. พระวิสุทธิญาณเถร (ผิว) เจ้าอาวาสรูปที่ 4
    3. พระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) เจ้าอาวาสรูปที่ 5
    4. พระธรรมปาโมกข์ (พระปัญญาพิศาลเถร บุญมั่น มนฺตาสโย) เจ้าอาวาสรูปที่ 6
    หลังจากที่ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (บุญมั่น มนฺตาสโย) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นราชในราชทินนามเดิม จึงคืนพัดยศงาสานเล่มนั้นไปที่กรมการศาสนา หลังจากนั้นมา พัดงาสานก็ไม่ได้อยู่ที่วัดปทุมวนารามอีกเลย พระอาจารย์ทั้ง 3 จึงถือว่าเคยอยู่สำนักวัดปทุมวนารามแม้แต่บทนิพนธ์ขันธะวิมุตติสมังคีธรรมะ ที่ท่านพระอาจารย์มั่นเขียนขึ้น ก็ยังใช้คำว่า"พระภูริทัตโต (หมั่น) วัดสระประทุมวัน เป็นผู้แต่ง" สมุดเล่มนี้ปรากฏอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ท่านพระอาจารย์มั่นได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า ในฤดูแล้งปีหนึ่ง ได้พากันจาริกไปธุดงค์แถวจังหวัดนครนายก วันหนึ่งเวลาว่าง ท่านพระอาจารย์หนู ฐิตปญฺโญ ได้เล่าความฝันให้เพื่อนสหธรรมิกที่ออกธุดงค์ด้วยกันฟังว่า "ท่านฝันว่าได้ลอยข้ามทุ่งกว้างมุ่งหน้าสู่ทิศตะวันตก แล้วลอยต่ำลงๆ จนถึงพื้นดิน ได้มีบุรุษ 4 คน แต่งตัวคล้ายมหาดเล็กสมัยโบราณ บนศีรษะใส่กระโจมแหลมๆ เหมือนคนแต่งเป็นเทวดาเวลามีขบวนแห่ขบวนใหญ่ๆ ได้นำเสลี่ยงเข้ามาหา แล้วยื่นหนังสือพระบรมราชโองการ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวาย เสร็จแล้วนิมนต์ท่านขึ้นเสลี่ยงตั้งขบวนแห่แหนท่านเข้าเฝ้าถวายพระพร"
    ท่านตื่นพอดี
    หลังจากนั้นไม่นาน ก็เป็นจริงเหมือนตามฝัน ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธิญาณเถร (ผิว) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามรูปที่ 4 มรณภาพ จึงมีพระบรมราชโองการ อาราธนา พระอาจารย์หนู ฐิตปญฺโญ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามรูปที่ 5 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูปทุมธรรมธาดา พระครูเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวิปัสสนา แล้วได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวิปัสสนาในโอกาสต่อมา โดยพระราชทานพัดยศงาสานเป็นพัดยศสมณศักดิ์
    ท่านพระอาจารย์มั่นได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า การแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวงที่สำคัญๆ ในสมัยนั้น เมื่อเจ้าอาวาสว่างลง หลังจากที่เลือกสรรผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้แล้ว ต้องเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชฯ จะทรงพิจารณา ถ้ามีความเหมาะสมด้วยประการใดแล้ว จึงนำเข้าเฝ้าถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วัดปทุมวนารามก็เช่นเดียวกัน เมื่อท่านเจ้าคุณพระวิสุทธิญาณเถร (ผิว) มรณภาพลง สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธ ได้ถวายพระพรสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าว่า วัดปทุมวนารามเป็นพระอารามที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระกัมมัฏฐาน และผู้คนที่อยู่ในบริเวณรอบวัดก็อพยพมาจากล้านช้าง ผู้ที่เป็นเจ้าอาวาสก็มาจากพระกัมมัฏฐานและมาจากมณฑลอุบลราชธานี ในครั้งนี้ก็เห็นสมควรที่จะอาราธนา พระอาจารย์หนู ฐิตปญฺโญ ซึ่งเป็นชาวอุบลราชธานี มาเป็นเจ้าอาวาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นดีด้วย จึงได้มีพระบรมราชโองการอาราธนา พระอาจารย์หนู มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 5 ดังกล่าว
    (พระปัญญาพิศาลเถร(หนู ฐิตปญฺโญ) เป็นสหธรรมิกที่รักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดียิ่งกับท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านพ่อลี ธมฺมธโร พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย - ภิเนษกรมณ์)
    ข้อมูลจาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2009
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    สถานที่ปฏิบัติธรรมในเมืองกรุง(วัดสระปทุม) ที่ร่มรื่น สงบ ในสวนป่า เข้าออกได้ ตลอด 24 ชม.

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR width="100%"><TD colSpan=2>[​IMG]

    [​IMG]

    ที่ศาลาพระราชศรัทธา นี้ สามารถเข้า-ออกได้ตลอด 24 ชม.
    ห้องน้ำและน้ำดื่ม มีบริการให้ตลอดค่ะ (รับรองว่าสะอาด และร่มรื่นมาก)
    สำหรับท่านที่สนใจก็ลองไปดูนะค่ะ ที่นี่สงบมากค่ะ ถ้าท่านเข้าไปในสวนป่าแล้ว
    จะรู้สึกเหมือนอยู่ต่างจังหวัด มองเห็นแต่ต้นไม้
    บริเวณศาลาสามารถเดินเท้าเปล่าได้ตลอดและมีที่เก็บรองเท้าไว้เป็นระเบียบดีค่ะ

    วัดปทุมวนาราม (ถ.พระราม 3 อยู่ระหว่างเวิล์ดเทรด เซ็นเตอร์
    กับ ศูนย์การค้าสยาม)
    ในวัดจะมีส่วนของสวนป่า เรียกว่าสวนป่าพระราชศรัทธา
    มี ศาลาพระราชศรัทธา เปิดให้ประชาชนทั่วไป
    สามารถเข้าไปนั่งสมาธิ ฟังธรรม
    สวดมนต์ เดินจงกรม หรือทำกิจทางศาสนาอื่นได้ตามอัธยาศัย
    ปกติ จะมีเทปธรรมะเปิดให้ฟังตลอดทั้งวัน และทุกวันอาทิตย์ที่ 1
    และ 3 ของเดือนจะมีการนิมนต์พระจากวัดต่าง ๆมาเทศน์ ในช่วง 13.00 น. ค่ะ
    *****************

    ส่วนที่มาของศาลาพระราชศรัทธาธรรม มีดังต่อไปนี้ค่ะ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และ
    สมเด็จพระนางสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมา
    ถวายผ้าพระกฐิน เป็นการส่วนพระองค์ ณ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร
    เมื่อวันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2533 ในโอกาสนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร
    สถานที่อบรมและปฏิบัติธรรมชั่วคราว
    ซึ่งพระครูปลัดสัมพิพัฒนเมธาจารย์ (ถาวร จิตฺตถาวโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามฯ
    เป็นผู้ดำเนินการ มีพระราชปรารถว่าสมควรสร้างอาคารอันเป็นถาวรวัตถุขึ้น
    เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้ใช้ศึกษาและปฏิบัติธรรม
    โดยมีสัปปายะตามสมควร
    บรรดาศิษยานุศิษย์ของพระครูปลัดสัมพิพัฒนเมธาจารย์ (ถาวร จิตฺตถาวโร)
    และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาจึงร่วมกัน สนองพระราชดำริ
    โดยจัดตั้ง "มูลนิธิศาลาพระราชศรัทธา" ขึ้น รับบริจาค
    จากผู้มีจิตศรัทธาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
    และได้สร้างพระพุทธรูปบูชา (พระเสริมจำลอง)
    .......แล้วนำเงินที่ได้จากการบริจาค และการบูชาวัตถุมงคล
    มาดำเนินการก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรมจนกระทั่งแล้วเสร็จ
    โดยให้ชื่อศาลานี้ว่า "ศาลาพระราชศรัทธา"

    ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดศาลาพระราชศรัทธา
    ในวันพฤหัสบดี ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2536
    (คัดลอกมาจากแผ่นหิน ตรงด้านทางเข้าของสวนป่า)


    </TD></TR><TR width="100%"><TD width="90%">โดย: เจ้าบ้าน [​IMG] [29 ส.ค. 49 16:23] ( IP A:58.9.142.154 X: )</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...