อดทน VS อุเบกขา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 1 กรกฎาคม 2008.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อดทน VS อุเบกขา

    ทนสิ่งที่ใจทนไม่ได้ นั่นคือ อดทน

    นิ่งเฉย ปล่อยวาง นั่นคือ อุเบกขา

    ธรรมสองข้อนี้ ที่สุดแล้วอยู่ที่กลางวางใจ
    บางเวลา เราเลือกจะข่มใจ
    อดทน ในสิ่งที่เห็น
    อดทน ในสิ่งที่ได้ยิน
    หากความอดทนมีน้อย ย่อมแสดงกรรมออกมาตอบสนองด้วยการโต้ตอบ
    นั่นเพราะกิเลสที่อยู่ในอกมันล้นออกมา
    หากเก่งหน่อย รู้จักกลั้นความรู้สึก สิ่งนั้นก็จะทิ่งแทงตนเอง
    แล้วสิ่งไหนที่เรียกว่า อดทน....

    เห็นก็รู้ เห็นแล้วเฉย เป็นอุเบกขา
    การทรงตัวของใจ ให้เป็นอุเบกขานั้น
    แม้สิ่งใดกระทบใจ ก็รู้ แต่ไม่เข้าไปกระทำ
    เพราะรู้เหตุ รู้ที่มา และรู้ผล จึงวางก่อนที่คิดจะวาง

    ภายใต้สถานการณ์เดียวกัน
    บางคนเลือกอดทน บางคนเลือกอุเบกขา
    แต่หลายๆสถานการณ์บางคนมักส่งใจออกนอก แล้วเรียกตนว่า อดทน
    ลักษณะการทนอย่างนั้น เป็นการ ทน เก็บ สั่งสม รอปะทุ

    อดทน และ อุเบกขาที่ฉลาด เป็นอย่างไรหนอ....

    ;)
     
  2. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ขันติ คือ ความอดทน
    ฟังดูเหมือนกับว่า อดทน ไม่ค่อยดีนัก
    แล้วเหตุใด ขันติ จึงเป็นบรมธรรม?
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อดทน น่าจะหมายถึง ยังไม่วาง แต่ทนได้ แบบว่า หนักแน่น อึด แบกภูเขา ก็บ่ยั่น
    เป็นการฝึกกำลังใจจะได้ ทำงานใหญ่ๆได้ แบบว่า ศรีทนได้

    อุเบกขา น่าจะหมายถึง วางเฉย วางไว้แล้ว (ไม่รู้จะแบกไปทามมัย ก็วางไว้ก่อน)
    ถือเป็นการฝึกรู้มั้ง เหตุใดมากระทบ ก็รู้ แต่ไม่ข้อง ไม่ต้องทนวาง หรือวางทน มันวางเอง

    ปล. คิดเห็นเป็นการส่วนตัว อย.ไม่รับรองน้า
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขันติ ความอดทน อดกลั้น
    เพื่อระงับกรรมด้วยการไม่จองเวร ไม่ก่อกรรมดดยหยุดที่ตน

    แต่ปลายยอดสุดของธรรมคือ อุเบกขา
    นั่นเพราะรู้เหตุ รู้ผล ด้วยปัญญาหยั่งราก จึงวางโดยไม่เสียพื้นที่ขุ่นเคือง

    ธรรมสองสองข้อนี้ ต่างกันตรงอาการที่ใจสัมผัส
    นักดูจิตย่อมเห็นความเหมือนที่แตกต่าง ของอดทน และ อุเบกขา
    การพลิกใจด้วยสติระลึกรู้ ต่างแค่พลิกฝ่ามือ หุหุ
     
  5. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    อ่อ เป็นคุณธรรมต่างระดับกัน...
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จะสร้างงานที่เป็นเลิศ ก็ต้องใช้ความอดทน

    หากคิดจะหลุดพ้น... ก็ต้องหมั่นฝึกฝน การวางใจ ให้เป็น...กลาง

    [​IMG]
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ท่านก็ฟุ้งไปเรื่อย ตั้งสติหน่อยจิ เขาถามเรื่อง อดทน & อุเบกขา

    ท่านลองหยุดคิดก่อนนะ พอว่างจากความคิด แล้วลองตอบใหม่ นะ นะ

    จะได้ ยิงถูก ปุ ปุ ปุ แบบว่า ยิงแบบ หล่อ ๆ อะ
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อดทน เป็นกิจของผู้อาจหาญ
    การใหญ่สำเร็จได้เพราะอยู่บนฐานของ ขันติ
    จึงเป็นเรื่องของความเพียร

    อุเบกขา ทำกิจใหญ่ได้ไหมหนอ
     
  9. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    [​IMG] อุ เบก ขา อุ อุ อุ
     
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เมื่อวาน ทนอด วันนี้ อดทน หุหุ
     
  11. siamgirl

    siamgirl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,682
    ค่าพลัง:
    +2,742
    น่าจะหมายถึงอดทนต่อสิ่งไม่ดีหรือว่ากิเลสนะค่ะ
    ปล.น่าจะเขียนว่า อดทน feat. อุเบกขา เพราะสองอย่างนี้ไปกันได้ อิอิ55555
     
  12. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    น่าคิดอยู่นะ
    ขอเดาว่า
    อุเบกขา ทำกิจใหญ่ไม่ได้
    เพราะขาดแรงผลักดันภายใน

    ใครช่วยเฉลยที...
     
  13. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    [​IMG] เด็ดดอก มั๊ยยย....สะเทือนถึง จักรวาล...อุอุอุ
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จะทำกิจใดๆ ล้วนต้องใช้ ความอดทน และความเพียร

    แต่เมื่อพบกับความผิดหวัง ก็ต้องหัดใช้อุเบกขา เพื่อวางลง

    ไปทำกิจอื่นต่อไปไม่ต้องเศร้าเสียใจ หากทำสำเร็จ ก็ต้องใช้อุเบกขา

    พื่อไม่ให้ลุ่มหลง ต่อความสำเร็จ ทุกสิ่งอยู่ที่เข้าใจ และเลือกใช้

    ถ้าติดอยู่ที่ตัวอักษร ติดอยู่ที่คำแปล ก็ยากที่จะพลิกแพลง และเข้าใจ
     
  15. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    อยู่นอกๆ ก็ไม่ได้ (ขันติ)

    อยู่ในใน ก็ไม่ได้ (อุเบกขา)

    ต้องอยู่กลางๆ (......)
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หูยยยย วันนี้มาหล่อ เชี๊ยะ...

    [​IMG]
     
  17. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    ความคิดเห็นส่วนบุคคล โปรดพิจารณา

    อดทน และอุเบกขา ที่ฉลาด ย่อมตั้งอยู่ในแนวแห่ง อริยมรรค ๘
     
  18. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    แอ๊บแบ้ว ช่วยขยายความหน่อยสิ
    พูดแบบนี้มันล่องลอย...

    เช่น ผมกล่าวว่า สติปัฏฐาน4 เป็นแนวทางให้เกิด อริยมรรค8
    ...แล้วยังไงหรือ
     
  19. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 6 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 3 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>หลงเข้ามา, แอ๊บแบ้ว, อาจารย์ส่ายหน้า </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อยากเห็นหน้าแอ๊บแบ๊วครับ หุหุ
     
  20. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    อดทนและอุเบกขา ในแนวทางอริยมรรค เป็นอย่างไร?

    ขอโอกาสวิสัชนา ด้วยกุศลเจตนาอันบริสุทธิ

    ด้วยหวังว่าหากข้าพเจ้าเข้าใจผิดจักได้รับคำชี้แนะจากผู้รู้
    นำมาแก้ไขปรับปรุงตนต่อไป


    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุธธัสะ


    อดทนและอุเบกขา ในแนวทางอริยมรรค เป็นอย่างไร?
    เริ่มด้วย สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ในอริยสัจ ๔ และ คิดถูกต้อง (สัมมาสังกัปปะ) อันเป็น (ฝ่ายปัญญา)
    โดยมี ฝ่ายศีลเป็นบาทฐาน คือ ประกอบด้วย พูดถูกต้อง (สัมมาวาจา), ทำถูกต้อง (สัมมากัมมันตะ), อาชีพถูกต้อง (สัมมาอาชีวะ) ด้วยความ เพียรถูกต้อง (สัมมาวายามะ) พร้อมกับอาศัยการป้องกันกิเลสคือการตั้งจิต(สติถูกต้อง (สัมมาสติ))ไว้ในชัยภูมิที่ดีคือ สติปัฏฐาน ๔ ด้วย...ทำให้กุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น๑ กุศลที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญงอกงามขึ้น๑ ทำให้อกุศลที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปไม่เจริญงอกงามยิ่งขึ้น๑ และอกุศลที่ยังไม่เกิดก็ไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น๑ เพราะ ดำรงตนด้วยดี(เพียรชอบ) ในชัยภูมิคือสติปัฏฐาน ๔ ....ซึ่งต้องอาศัยบรมธรรม คือความอดทนอดกลั้นต่อสัมผัสอันน่าใคร่น่าปรารถนา อันเป็นฝ่ายราคะ๑ อดทนต่อสัมผัสอันไม่น่าใคร่น่าปรารถนา อันเป็นฝ่ายโทสะ๑ อันเป็นกิเลส ที่จรมาปกคลุมจิต ...ทั้งราคะ โทสะ ในส่วนของกิเลสอย่างหยาบก็ล้วนแต่ อาศัยกำลังของขันติ ความอดทนอดกลั้น เป็นบรมธรรมเครื่องเผาเครื่องระงับ ตามนัยแห่งความเพียรดังกล่าวข้างต้น
    และทั้งหมดเมื่อประชุมกันเป็นสมาธิ(อริยมรรคสมังคี)ที่เกิดจึงเป็นสมาธิถูกต้อง (สัมมาสมาธิ) ซึ่งมีอุเบกขา เป็นขั้นที่ ๔ ของสมาธิ (ฝ่ายสมาธิ) อาศัยกำลังจากสมาธิไปอบรมจิตรู้เท่าในอาการทั้งสอง (ราคะ๑ โทสะ๑) ตามจริง พัฒนาเป็นอธิจิต อธิศีล อธิปัญญา ทำลายความโมหะความหลงอันเป็นกิเลสอย่างละเอียดต่อไป .....จนกระทั่งถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นแล
    อดทนและอุเบกขา ที่ฉลาด ในแนวทางอริยมรรค เป็นอย่างไร? ฉลาดเพราะกำจัดโมหะความหลงออกเสียได้ หยุดการสืบต่อ อันเป็นภพ ชาติ พ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้น ไม่ต้องมาเวียนเกิดอีก นี้ชื่อว่าฉลาด
    ....ควรมิควรประการใดแล้วแต่ วิจารณญาณของท่านเถิด จบ....
    ต่อไปจักได้นำเหตุผลขึ้นประกอบ
    ข้อที่ ๑ พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พลกรณียสูตรที่ ๒
    อาศัยศีลเจริญอริยมรรคมีการกำจัดราคะ
    [๒๖๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังเหล่านี้ อันบุคคลย่อมกระทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน.
    [๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ
    (ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ. . . สัมมาวาจา. . . สัมมากัมมันตะ. . . สัมมาอาชีวะ. . . สัมมาวายามะ . . . สัมมาสติ. . . - ธัมมโชติ)
    ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
    http://www.dhammathai.org/treatment/nivorn/nivorn22.php
    ข้อที่ ๒ มุตโตทัย (โอวาทของ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต)
    บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ( ปัจจุบันพระราชธรรมเจติยาจารย์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ ) ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๖
    ......
    ๘. สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน
    พระบรมศาสดาจารย์เจ้า ทรงตั้งชัยภูมิไว้ในธรรมข้อไหน? เมื่อพิจารณาปัญหานี้ได้ความขึ้นว่า พระองค์ทรงตั้งมหาสติปัฏฐานเป็นชัยภูมิ
    อุปมาในทางโลก การรบทัพชิงชัย มุ่งหมายชัยชนะจำต้องหา ชัยภูมิ ถ้าได้ชัยภูมิที่ดีแล้วย่อมสามารถป้องกันอาวุธของข้าศึกได้ดี ณ ที่นั้นสามารถรวบรวมกำลังใหญ่เข้าฆ่าฟันข้าศึกให้ปราชัยพ่ายแพ้ไปได้ ที่เช่นนั้นท่านจึงเรียกว่า ชัยภูมิ คือที่ที่ประกอบไปด้วยค่ายคูประตูและหอรบอันมั่นคงฉันใด
    อุปไมยในทางธรรมก็ฉันนั้น ที่เอามหาสติปัฏฐานเป็นชัยภูมิก็โดยผู้ที่จะเข้าสู่สงครามรบข้าศึก คือ กิเลส ต้องพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นต้นก่อน เพราะคนเราที่จะเกิด กามราคะ เป็นต้น ขึ้น ก็เกิดที่กายและใจ เพราะตาแลไปเห็นกายทำให้ใจกำเริบ เหตุนั้นจึงได้ความว่า กายเป็นเครื่องก่อเหตุ จึงต้องพิจารณากายนี้ก่อน จะได้เป็นเครื่องดับนิวรณ์ทำให้ใจสงบได้ ณ ที่นี้พึง ทำให้มาก เจริญให้มาก คือพิจารณาไม่ต้องถอยเลยทีเดียว ในเมื่ออุคคหนิมิตปรากฏ จะปรากฏกายส่วนไหนก็ตาม ให้พึงถือเอากายส่วนที่ได้เห็นนั้นพิจารณาให้เป็นหลักไว้ไม่ต้องย้ายไปพิจารณาที่อื่น จะคิดว่าที่นี่เราเห็นแล้ว ที่อื่นยังไม่เห็น ก็ต้องไปพิจารณาที่อื่นซิ เช่นนี้หาควรไม่ ถึงแม้จะพิจารณาจนแยกกายออกมาเป็นส่วนๆ ทุกๆอาการอันเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ได้อย่างละเอียด ที่เรียกว่าปฏิภาคก็ตาม ก็ให้พิจารณากายที่เราเห็นทีแรกด้วยอุคคหนิมิตนั้นจนชำนาญ ที่จะชำนาญได้ก็ต้องพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีก ณ ที่เดียวนั้นเอง เหมือนสวดมนต์ฉะนั้น อันการสวดมนต์ เมื่อเราท่องสูตรนี้ได้แล้ว ทิ้งเสียไม่เล่าไม่สวดไว้อีก ก็จะลืมเสียไม่สำเร็จประโยชน์อะไรเลย เพราะไม่ทำให้ชำนาญด้วยความประมาทฉันใด การพิจารณากายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อได้อุคคหนิมิตในที่ใดแล้ว ไม่พิจารณาในที่นั้นให้มากปล่อยทิ้งเสียด้วยความประมาทก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรอย่างเดียวกัน
    การพิจารณากายนี้มีที่อ้างมาก ดั่งในการบวชทุกวันนี้ เบื้องต้นต้องบอกกรรมฐาน ๕ ก็คือ กายนี้เอง ก่อนอื่นหมดเพราะเป็นของสำคัญ ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์พระธรรมบทขุทฺทกนิกายว่า อาจารย์ผู้ไม่ฉลาด ไม่บอกซึ่งการพิจารณากาย อาจทำลายอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ของกุลบุตรได้ เพราะฉะนั้นในทุกวันนี้จึงต้องบอกกรรมฐาน ๕ ก่อน
    อีกแห่งหนึ่งท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระขีณาสวเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าจะไม่กำหนดกาย ในส่วนแห่ง โกฏฐาส (คือการพิจารณาแยกออกเป็นส่วนๆ) ใดโกฏฐาสหนึ่งมิได้มีเลย จึงตรัสแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้กล่าวถึงแผ่นดินว่า บ้านโน้นมีดินดำดินแดงเป็นต้นนั้นว่า นั่นชื่อว่า พหิทฺธา แผ่นดินภายนอกให้พวกท่านทั้งหลายมาพิจารณา อัชฌัตติกา แผ่นดินภายในกล่าวคืออัตตภาพร่างกายนี้ จงพิจารณาไตร่ตรองให้แยบคาย กระทำให้แจ้งแทงให้ตลอด เมื่อจบการวิสัชชนาปัญหานี้ ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปก็บรรลุพระอรหันตผล
    เหตุนั้นการพิจารณากายจึงเป็นของสำคัญ ผู้ที่จะพ้นทุกทั้งหมดล้วนแต่ต้องพิจารณากายนี้ทั้งสิ้น จะรวบรวมกำลังใหญ่ได้ต้องรวบรวมด้วยการพิจารณากาย แม้พระพุทธองค์เจ้าจะได้ตรัสรู้ทีแรกก็ทรงพิจารณาลม ลมจะไม่ใช่กายอย่างไร? เพราะฉะนั้นมหาสติปัฏฐาน มีกายานุปัสสนาเป็นต้น จึงชื่อว่า "ชัยภูมิ" เมื่อเราได้ชัยภูมิดีแล้ว กล่าวคือปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานจนชำนาญแล้ว ก็จงพิจารณาความเป็นจริงตามสภาพแห่งธาตุทั้งหลายด้วยอุบายแห่งวิปัสสนา ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า
    หมายเหตุ สำเนามาเฉพาะเรื่อง ที่มา http://www.luangpumun.org/muttothai_2.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...