อันว่าด้วยเรื่อง “พระโพธิสัตว์”

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 10 กันยายน 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    [​IMG]
    [ภาพวาดลายเส้น : พระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์
    ผู้จะเสด็จลงมาตรัสรู้เป็น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป]


    อั น ว่ า ด้ ว ย เ รื่ อ ง
    “พ ร ะ โ พ ธิ สั ต ว์”
    ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ
    มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)


    • พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ต่างกันอย่างไร โพธิญาณคืออะไร ?


    o พระโพธิสัตว์

    คือบุคคลผู้ตั้งจิตปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า
    เพื่อโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์
    แม้จะต้องบำเพ็ญบารมียากลำบากเพียงใดก็ตาม

    o พระอรหันต์

    คือท่านผู้บรรลุมรรคผลชั้นสูงสุด
    ละกิเลส คือ โลภ โกรธ หลงได้สิ้นเชิง

    o พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    คือท่านผู้ตรัสรู้สัจธรรมด้วยพระองคเองแล้ว
    สั่งสอนผู้อื่นให้ตรัสรู้ตามได้

    o โพธิญาณ

    คือปัญญาอันรู้ประจักษ์ คือตรัสรู้สัจธรรม
    หมายถึงพระปัญญาของพระพุทธเจ้า ผู้ตั้งพระพุทธศาสนา

    [​IMG]

    • คำอธิษฐานของพระโพธิญาณ
    มีเนี้อความเป็นองค์ประกอบอะไรบ้าง ขอคำแนะนำ


    พระโพธิญาณ คือ ปัญญาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    ไม่ต้องขอจากใคร เพียงแต่ตั้งใจว่าจะบำเพ็ญคุณงามความดี
    ที่เรียกว่าบารมีอย่างไม่ย่อท้อ
    หรือยอมแพ้แก่อุปสรรคใดใด

    เพื่อให้ทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่
    คือช่วยปลดเปลื้องทุกข์ของประชาสัตว์
    ได้อย่างกว้างขวางก็พอแล้ว


    เป็นผู้มีความเข้มแข็ง
    ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ถึงขนาดว่า

    ถ้าให้เอาหน้าอกไถไปบนมีดโกนเป็นระยะทางยาวไกล
    ก็พร้อมที่จะเป็นเช่นนั้น

    หรือจะยอมตกนรกหมกไหม้ ตลอด ๔ อสงไขยแสนกัลป์
    แล้วได้เป็นพระพุทธเจ้าก็ยินดี เป็นต้น

    ถ้าจิตใจเข้มแข็งขนาดนี้ ก็เป็นพระโพธิสัตว์ได้

    ความเป็นพระพุทธเจ้านั้น
    ไม่ใช่เพื่อมีความสุข มีคนมากราบไหว้
    แต่เพื่อทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ตลอดพระชนมชีพ



    [​IMG]
    [ภาพพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ในภัทรกัปป์]

    • เรื่องพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ พระโพธิสัตว์หลายพระองค์
    ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานนั้น มีหลักการและเหตุผลอย่างไร


    มีหลักการเหตุผลที่ว่า

    ในพระพุทธศาสนา ตำแหน่งหรือฐานะในพระพุทธเจ้า นั้น
    ไม่จำกัด ไว้หรือผูกขาดไว้เพื่อผู้ใด ผู้หนึ่งโดยเฉพาะ

    ผู้ใดทำความตั้งใจดี มีความพากเพียรดี
    พยายามบำเพ็ญคุณงามความดีเพียงพอ
    ก็สามารถบรรลุฐานะนั้นได้เท่าเทียมกันหมด


    การเป็นพระโพธิสัตว์
    คือบุคคลนั้นจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกัน

    เมื่อตำแหน่งพระพุทธเจ้าเปิดกว้างไว้สำหรับทุกคน
    ใครก็ตามที่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า
    ก็มีสิทธิตั้งความปรารถนาและบำเพ็ญบารมีได้เท่าเทียมกันหมด



    [​IMG]
    [พระโพธิสัตว์กวนอิม ทางฝ่ายมหายาน]


    ในระหว่างบำเพ็ญบารมีเรียกว่า “พระโพธิสัตว์”
    การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์
    ก็เพื่อสามารถเป็นพระพุทธเจ้า
    โปรดมุนษย์สัตว์และเทพ
    ให้พ้นจากทุกข์โดยไม่หวังอะไรตอบแทน
    แม้แต่คำขอบใจ หรือเครื่องสักการะบูชา

    เป็นการทำความดีเพื่อความดีอย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง
    ม่งให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ และได้รับความสุขเป็นสำคัญ


    หลักการและเหตุผลนี้
    จึงประเสริฐวิเศษ และมีค่าสูงสมควรแก่การยกย่อง
    และประพฤติปฏิบัตตามอย่างแท้จริง


    [​IMG]
    [ภาพวาดลายเส้น : พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร]

    • ถ้าพระโพธิสัตว์จะตั้งจิตไม่ปรารถนาทำบุญร่วมกับคนพาล
    จะทำให้เป็นการเลือกทีรักมักที่ชังหรือไม่ ?


    พระโพธิสัตว์จะตั้งจิตอย่างไร
    ก็แล้วแต่เหตุผลของท่าน


    บางท่านอาจตั้งจิตหลีกเลี่ยงคนพาล
    เพราะยังไม่อยากจะยุ่งกับบุคคลเหล่านั้น

    บางครั้งอาจตั้งจิตทำบุญร่วมกับคนพาล
    เพื่อตามไปช่วยคนพาลให้กลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดีก็ได้
    ไม่มีอะไรเป็นข้อบังคับตายตัว


    เรื่องเหล่านี้ขึ้นอยู่กับกาละและเทศะ
    รวมทั้งเหตุผลในแต่ละกรณี


    [​IMG]
    [พระโพธิสัตว์ปรัชญาปารมิตา สัญญลักษณ์แห่งปัญญาบารมี
    และสุญญตาของฝ่ายมหายาน และวัชรยาน]


    • บางท่านกล่าวว่า พระอรหันต์ต่ำกว่าพระโพธิสัตว์
    โดยอธิบายว่า พระโพธิสัตว์บรรลุอรหัตตผลแล้ว แต่ยังไม่ถึงนิพพาน
    เพราะจะช่วยรื้อสัตว์ขนสัตว์ออกจากทุกข์ก่อน ขอฟังคำอธิบาย


    กล่าวโดยเจตนา

    พระโพธิสัตว์มีปณิธานที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    เพื่อแสดงธรรมโปรดประชาชนอย่างกว้างขวาง
    ในแง่นี้ จึงนับว่ามีเจตนาอันยิ่งใหญ่
    สูงกว่าผู้มุ่งเพียรทำตนเอง
    ให้หลุดพ้นจากทุกข์เช่นพระอรหันต์


    ตามขั้นตอนของจิตใจ

    พระโพธิสัตว์ที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว
    ก็เป็นพระพุทธเจ้าไปเลย
    จะเป็นพระอรหันต์ด้วย
    เป็นพระโพธิสัตว์ด้วยเป็นไปไม่ได้


    นี้ตอบตามหลักวิชาทั่วไป

    ขอยกตัวอย่างเช่นพระพุทธเจ้าของเรา

    เมื่อตอนประกาศแสดงปณิธานจะเป็นพระพุทธเจ้า
    ต่อหน้าพระพักตร์ พระพุทธเจ้าทีปังกรนั้น
    พระองค์พร้อมที่จะเป็นพระอรหันต์ได้
    แต่ทรงยับยั้งไว้ก่อน

    ทรงบำเพ็ญพระบารมีเพิ่มเติม
    เพื่อพระพุทธเจ้าในอนาคต
    และก็ได้เป็นพระโคตมพระพุทธเจ้า
    ตามที่พระทีปังกรพระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์แล้ว

    ข้อเปรียบเทียบอีกอย่างหนึ่งก็คือ

    พระโพธิสัตว์ย่อมไหว้พระภิกษุสามเณร
    เป็นการแสดงคารวะต่อศีลธรรม
    ทั้งที่มีปณิธานอันยิ่งใหญ่ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต


    รวมความว่าพระอรหันต์เป็นผู้บรรลุถึงจุดสุดยอดแล้ว
    แต่พระโพธิสัตว์ท่านรอไว้ถึงจุดสุดยอดในภายหลัง
    เพื่อจะได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนา
    สั่งสอนประชาชนได้กว้างขวางมากกว่าเป็นเพียงพระอรหันต์




    (คัดลอกบางตอนมาจาก : คำถาม-คำตอบ ปัญหาทางพระพุทธศาสนา เล่ม ๒
    โดย อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ,
    พิมพ์ครั้งที่ ๒ ๒๕๔๒,
    โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์,
    หน้า ๑๑, ๗๒-๗๓, ๘๓-๘๔, ๑๐๔-๑๐๖)


    [​IMG]



    ที่มาhttp://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=31258
     
  2. Phuket

    Phuket เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    499
    ค่าพลัง:
    +877
    นิพพาน ก็พอครับ ^^
     
  3. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,691
    ค่าพลัง:
    +9,239

    [​IMG]


    ขออนุโมทนาค่ะ

     
  4. แชมป์คุง

    แชมป์คุง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    212
    ค่าพลัง:
    +279
    อนุโมทนาสุธุการครับ และถ้ขอเป็นศิษย์ของพระโพธิสัตว์และครับเราก็ต้องบำเพ็ญแบบพระโพธิสัตว์ใช่ไหมครับ แต่บางครั้งกรทำตัวแบบบพระโพธิสัตว์ในปัจจุบันมากเหลือเกินเลย แต่ไงแล้วขอเป็นศิษย์ของพระแม่กวนอิมตลอดไปครับ นำมอกวน ซีอิม ผู่สัก
     
  5. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    อ่านแล้วนึกถึงในหลวงของเราเลยครับ
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน

    __________________
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นคือทุกข์
     
  6. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ขออนุญาตขุดกระทู้นี้ขึ้นมา
    ให้เพื่อนธรรมทั้งหลายได้อ่านกัน
    ขออนุโมทนาครับ
     
  7. Little Mermaid

    Little Mermaid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    718
    ค่าพลัง:
    +1,768
    พระโพธิสัตว์

    พระโพธิสัตว์" คือ ผู้ซึ่งจะได้มาตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ท่านอธิษฐานจิตถึงพระพุทธภูมิ ทุ่มเทปฏิบัติธรรม ช่วยผู้อื่นทั้งทางโลกและทางธรรม สะสมบารมี ๑๐ ทัศ ทุกๆคนเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทั้งนั้น ถ้าหากว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้มีจิตเมตตาประจำใจ ทำแต่คุณประโยชน์ช่วยเหลือคนทุกข์ยาก ไม่ประพฤติเบียดเบียนสนับสนุนผู้อื่นในทางผิดศีลธรรม


    คุณธรรม หลักของผู้ตั้งความปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ คือ "มหาเมตตา" แปลว่า ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข พระโพธิสัตว์จึงมีคุณธรรมอื่นๆต่อเนื่องกันคือ

    มหา กรุณา คือความปราณีต่อสรรพสัตว์(หมายรวมมนุษย์) ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง สงสารผู้ยากลำบากทั้งหลาย เฝ้าตามช่วยแนะเพื่อความสุขของเขา เป็นความยินดีกรุณาของพระโพธิสัตว์ทั้งลาย

    มหาปัญญา คือเป็นผู้มีความรู้หรือศึกษาหาวิชาใส่ตัว ได้เป็นประโยชน์ส่วนตนเอง ส่วนผู้อื่นช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปให้รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว

    มหาอุบาย คือรู้ในวิธีนำตนและผู้อื่นให้พ้นภัยและสัมฤทธิผลเข้าถึงในคุณธรรมต่างๆที่มีประโยชน์

    ความหมายของคำว่า
    "พระโพธิสัตว์"


    โพธิสัตว์ หรืออาจจะเขียนได้ว่า โพธิสัตต์ มาจากคำว่า โพธิ + สัตต

    "โพธิ" แปลว่า ความตรัสรู้หรือความรู้แจ้ง

    "สัต ต" ตามบาลีไม่ได้หมายถึงสิ่งมีชีวิต (สัตวะ) หรือมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการใช้ความหมายคล้ายคลึงกับ "สัตวัน" (Sattavan) ในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ ซึ่งหมายถึง ผู้ทรงพลัง ผู้นำ นักรบ "สัตต" ในคำว่า "โพธิสัตต์" จึงหมายถึง ผู้นำ หรือผู้มีใจเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ องอาจ เยี่ยงนักรบ ซึ่งให้ความหมายเดียวกับคำว่า โพธิสัตต์ ในภาษาทิเบต คือ byan chub sems-dpah โดยคำว่า byan chub หมายถึง โพธิ (bodhi), sems หมายถึง จิต (mind) และ dpah หมายถึง วีรบุรุษ ผู้กล้า หรือผู้เข้มแข็ง

    "โพธิสัตต์" จึงแปลว่า ผู้มีใจยึดมั่นในสัมมาสัมโพธิญาณอย่างเด็ดเดี่ยว

    มหาปณิธานของพระโพธิสัตว์

    ๑. เราจะละกิเลสทั้งหลายให้หมด
    ๒. เราจะต้องตั้งใจศึกษาพระะรรมทั้งหลายให้เจนจบ
    ๓. เราจะไปโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
    ๔. เราจะบำเพ็ญตนให้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    .......................................................
     
  8. Little Mermaid

    Little Mermaid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    718
    ค่าพลัง:
    +1,768
    ทศภูมิของพระโพธิสัตว์

    ทศภูมิของพระโพธิสัตว์ คือภูมิจิตของพระโพธิสัตว์ มี ๑๐ ภูมิดังนี้
    ๑. มุทิตาภูมิ พระโพธิสัตว์มีความยินดีในความไร้ทุกข์ของสัตว์ (ภูมินี้บำเพ็ญหนักในทานบารมี)
    ๒. วิมลาภูมิ (ปราศจากมลทิน) พระโพธิสัตว์ละมิจฉาจริยาได้เด็ดขาด ปฏิบัติแต่ในสัมมาจริยา (ภูมินี้มีศีลบารมีเป็นใหญ่)
    ๓. ประภาการีภูมิ (มีความสว่าง) พระโพธิสัตว์ทำลายอวิชาได้เด็ดขาด มีความอดทนทุกประการ (ภูมินี้มีขันติบารมีเป็นใหญ่)
    ๔. อรรถจีสมดีภูมิ (รุ่งเรือง) พระโพธิสัตว์มีความเพียรในการบำเพ็ญธรรม (ภูมินี้มีวิริยะบารมีเป็นใหญ่)
    ๕. ทุรชยาภูมิ (ผู้อื่นชนะยาก) พระโพธิสัตว์ละสภาวะสาวกญาณ กับปัจเจกโพธิญาณ ซึ่งเป็นธรรมเครื่องกั้นพุทธภูมิ (ภูมินี้มีญาณบารมีเป็นใหญ่)
    ๖. อภิมุขีภูมิ (มุ่งหน้าต่อทางนิพพาน) พระโพธิสัตว์บำเพ็ญยิ่งในปัญญาบารมี เพื่อรู้แจ้งเห็นชัดในปฏิจจสมุปบาท (ภูมินี้มีปัญญาบารมีเป็นใหญ่)
    ๗. ทูรังคมาภูมิ (ไปไกล) พระโพธิสัตว์มีอุบายอันฉลาดแม้บำเพ็ญกุศลน้อย แต่ได้ผลแก่สรรพสัตว์มาก (ภูมินี้มีอุบายบารมีเป็นใหญ่)
    ๘. อจลาภูมิ (ไม่คลอนแคลน มั่นคง) พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในปณิธานบารมี
    ๙. สาธุบดีภูมิ พระโพธิสัตว์แตกฉานในอภิญญา และปฏิสัมภิทาญาณ (ภูมินี้บำเพ็ญหนักในพลบารมี)
    ๑๐. ธรรมเมฆภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในญาณบารมีมีจิตอิสระ ไม่ติดในรูปธรรม นามธรรม (บำเพ็ญหนักญาณบารมี)

    เมื่อ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญทศภูมิเต็มบริบูรณ์แล้ว ย่อมมีพระคุณเทียบเท่าพระพุทธเจ้า เหลืออีกชาติเดียวก็จักตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับพระศรีอริยเมตตไตรยโพธิสัตว์

    จริยธรรมของพระโพธิสัตว์ ๑๐ ประการ

    ๑. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
    ๒. พระโพธิสัตว์ ครองชีวิตโดยไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีภยันตราย
    ๓. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตให้บริสุทธิ์
    ๔. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารมาขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ
    ๕. พระโพธิสัตว์ คิดว่าจะทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว
    ๖. พระโพธิสัตว์ จะคบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผล
    ๗. พระโพธิสัตว์ จะไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอทุกอย่าง
    ๘. พระโพธิสัตว์ จะทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน
    ๙. พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาจะมีหุ้นส่วนด้วย
    ๑๐ พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียน นินทาแล้ว ไม่ปรารถนาจะโต้ตอบ หรือฟ้องร้อง

    อุดมการณ์โพธิสัตว์ มีหน้าที่หลัก ๒ ประการ

    ๑. โพธิสัตว์นอกจากจะมุ่งช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์แล้ว ยังมุ่งในความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีในโลกนี้
    ๒. โพธิสัตว์ปรารถนาให้สรรพสัตว์ได้บรรลุนิพพาน โดยตนเองปฏิเสธการเข้าถึงนิพพานของตน เพื่อที่จะได้ยังมีโอกาสรับใช้ช่วยเหลือผู้อื่น แม้ว่าจะต้องยังอยู่ในที่แห่งความทุกข์ยาก เพื่อสร้างคุณความดีช่วยเหลือสรรพสัตว์ ซึ่งนับว่าเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่โดยตั้งปณิธานสำคัญว่า


    "ข้าฯจะไม่เข้าสู่ปรินิพพานจนกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายจะพ้นทุกข์
    ข้าฯจะยังคงอยู่ที่นี่ตราบจนวัฏสงสารจะสิ้นสุดลง
    แม้ว่าข้าฯยังจะต้องอยู่ที่นี่อีก แม้เพียงชีวิตใดชีวิตเดียว"

    ยาน (yanas) หรือเส้นทางซึ่งนำไปสู่การบรรลุโพธิ แบ่งเป็น ๓ ประเภท

    ๑. สาวกยาน คือ ยานของพระสาวกที่มุ่งเพียงอรหันตภูมิ ซึ่งรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า
    ๒. ปัจเจกยาน คือ ยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ ผู้รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ให้บรรลุมรรคผลได้
    ๓. โพธิสัตวยาน คือ ยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีจิตใจเมตตา ใจคอกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหันตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวาง และเป็นรู้แจ้งในสุญญตธรรม

    โพธิสัตว์จะต้องมีจรรยา ๔ คือ

    ๑. โพธิปักขิยจรรยา คือ ปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้ง อันประกอบด้วยคุณธรรม ๓๗ ประการ คือ
    ๑.๑ สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม
    ๑.๒ สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียรอันบุคคลตั้งไว้ชอบ ได้แก่ สังวรปธาน(เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน), ปหาปธาน(เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว), ภาวนาปธาน(เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน) และอนุรักขนาปธาน(เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม)
    ๑.๓ อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
    ๑.๔ อินทรีย์ ๕
    ๑.๕ พละ ๕ ได้แก่ สัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ และปัญญา
    ๑.๖ โพชฌงค์ ๗ ได้แก่ สติ(ความระลึกได้), ธัมมวิจยะ(ความเฟ้นหาธรรม), วิริยะ(ความเพียร), ปีติ(ความอิ่มใจ), ปัสสัทธิ(ความสงบใจ), สมาธิ(ความมีใจตั้งมั่น), อุเบกขา(ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามความเป็นจริง)
    ๑.๗ มรรค ๘ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ

    ๒. อภิญญาจรรยา คือ การปฏิบัติความรู้ทั้งมวล

    ๓. ปารมิจาจรรยา คือ ปฏิบัติเพื่อการสร้างสมบารมี ซึ่งในทางเถรวาทจะกล่าวถึงทศบารมี ๑๐ ประการ แต่ฝ่ายมหายานจะกล่าวถึงบารมีหรือปารมิตาที่สำคัญ ๖ ประการ ได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน ปัญญา โดยสาระที่แท้จริงแล้วก็คือการพัฒนาหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง ส่วนเนกขัมบารมี ซึ่งแม้จะไม่ได้ระบุไว้ในบารมีของฝ่ายมหายาน แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียด จะพบว่า ในการบำเพ็ญฌานบารมีนั้น เมื่อปฏิบัติในขั้นสูง ผู้ปฏิบัติจะรักษาพรหมจรรย์ ซึ่งใกล้เคียงกับการออกบวชในประเด็นที่เป็นผู้ออกจากกามเช่นกัน

    ๔. สัตตวปริปาจรรยา คือ การอบรมสั่งสอนสรรพสัตว์

    ประเภทของพระโพธิสัตว์

    ในทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แบ่งพระโพธิสัตว์ออกเป็น ๒ ประเภท คือ

    ๑. พระฌานิโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งกำหนดไม่ได้ว่ามาเกิดในโลกมนุษย์เมื่อใด แต่เกิดขึ้นก่อนกาลแห่งพระศากยมุนีพุทธเจ้า ซึ่งพระโพธิสัตว์เหล่านี้ ท่านได้บรรลุพุทธภูมิแล้ว แต่ทรงมีความกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงตั้งพระทัยไม่เข้าสู่พุทธภูมิ ประทับอยู่เพื่อโปรดสัตว์ในโลกนี้ต่อไป ดังเช่น

    - พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญา ในหัตถ์ขวาทรงถือพระขันธ์เป็นสัญลักษณ์ในการทำลายล้างกิเลสตัณหาและอวิชา ทั้งปวง และในหัตถ์ซ้ายถือคัมภีร์บนดอกบัว
    - พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ทรงไว้ด้วยความกรุณา และได้ทรงตั้งปณิธานว่าจะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากกิเลสความผูกพันทั้งปวง หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการรื้อสัตว์ ขนสัตว์จากนรก
    - พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา จะลงมาจุติในโลกมนุษย์เป็นครั้งคราว เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นภัย ความเมตตาของพระองค์แผ่ไปไกลและลึกแม้กระทั่งในดินแดนนรก ในประเทศจีนพระอวโลกิเตศวรเป็นที่รู้จักกันในปางสตรีคือ "เจ้าแม่กวนอิม" และชาวธิเบตเชื่อว่าองค์ประมุขทไลลามะ เป็นอวตารของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้
    - พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ทรงปัญญาเป็นเยี่ยม และทรงใช้ปัญญานี้เป็นเครื่อง บั่นทอนอวิชา
    - พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ทรงตั้งปณิธานที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ยาก และเจาะจงช่วยโดยเฉพาะแก่เด็กและมิจฉาชน
    - พระเมตไตรยโพธิสัตว์ (พระศรีอริยเมตไตรย มหาโพธิสัตว์) เชื่อว่าเป็นองค์อนาคตพุทธเจ้า และจะลงมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า เป็นผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา

    ๒. มนุษิโพธิสัตว์ คือ ผู้ปฏิบัติตนเพื่อบรรลุเป็นพระโพธิสัตว์ ปฏิบัติตนอยู่ในความบริสุทธิ์ ประกอบการบุญ เจริญศีล ทาน ภาวนา ทำประโยชน์แก่มวลมนุษย์ ช่วยชีวิตคนและสัตว์โลกให้พ้นจากกองทุกข์ กระทำกัลยาณวัตร และบำเพ็ญกุศลเพื่อบารมีแต่ละชาติไป โดยมุ่งหวังบรรลุพระโพธิญาณในขั้นสุดท้าย เช่น อดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นโพธิสัตว์ จึงเป็นอุดมการณ์ของชาวพุทธมหายาน ที่พยายามดำเนินรอยตามแนวทางพระยุคลบาทสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งทรงเป็นมนุษิโพธิสัตว์ เพื่อให้ได้ถึงพุทธภูมิในที่สุด

    และ อุดมการณ์โพธิสัตว์นี้ยังมีสมบัติเป็นตัวเชื่อมทำให้ไม่มีช่องว่างมากนัก ระหว่างบรรพชิตกับฆราวาส เนื่องจากผู้ที่จะเป็นโพธิสัตว์ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นบรรพชิต แม้ฆราวาสเองก็เป็นโพธิสัตว์ได้ (ไม่ใช่ด้วยความอยากจะเป็น) เช่นกัน โดยหัวใจของการเป็นโพธิสัตว์นั้นขั้นแรกต้องมี โพธิจิต คือจิตตั้งมั่น ยึดพุทธภูมิเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต มีศรัทธาในโพธิ หรือความรู้แจ้งว่าเป็นอุดมการณ์สูงสุด และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์

    ........................................................
     
  9. Little Mermaid

    Little Mermaid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    718
    ค่าพลัง:
    +1,768
    พระโพธิสัตว์คือ..

    ถ้าจะว่ากันตามภาษาชาวบ้านร้านช่องทั่วไป พระโพธิสัตว์ก็คือหน่อเนื้อเชื้อไขของพระพุทธเจ้า หมายถึงบุคคลที่ประกอบไปด้วยทศบารมี และมีจิตตั้งมั่นอยู่ในภูมิทั้งสิบ อีกนัยหนึ่งก็คือบุคคลที่จ่อคิวจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติถัดไป เรียกว่าเข้าไปสู่แดนพุทธภูมิแล้ว รอเพียงเสด็จเข้าสู่จุดโฟกัสของศูนย์กลางพุทธภูมิ บรรลุถึงพุทธภาวะเต็มรูปแบบเท่านั้น


    พุทธศาสนามหายานให้ความสำคัญอยู่มาก ก็ต้องมีเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ที่น่าสนใจในแง่การศึกษาค้นคว้าอยู่บ้าง โดยเฉพาะคนไทย รับหมด ไม่ว่าจะเป็นอะไร แต่ก็ไม่ค่อยศึกษาค้นคว้าที่มาที่ไปกันนัก ถึงขนาดเชื่อว่าถ้าไปรู้มากเข้าแล้ว ก็จะทำให้ขาดความขลังไป

    คติของชาวตะวันตกนั้นเขาจะศึกษาเป้าหมายเสียก่อนอย่างละเอียดลออ เมื่อได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ทะลุปรุโปร่งแล้ว ด้วยความเข้าใจนั้นนั่นเองจะเป็นเครื่องเจริญศรัทธาหรือยังซึ่งความเชื่อถือ ให้งอกงามขึ้นมา ส่วนชาวตะวันออก ตรงข้าม อะไรก็ตามรับเอาไว้ก่อน ด้วยความศรัทธาเชื่อถือเกิดขึ้นก่อนเป็นเบื้องแรก ยิ่งเห็นเป็นเรื่องพิศดารพันลึกเกินมนุษย์มนาแล้วล่ะก็ แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว แล้วก็เชื่อถือชนิดหัวหกก้นขวิดกันเลยทีเดียว เรียกว่าศรัทธากันจนสำลัก แล้วค่อยมาศึกษาค้นคว้ากันทีหลัง

    บุคคลหรืออริยบุคคลที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเข้าสู่ความเป็นพุทธะได้ นั้น จะต้องมีบารมีแต่เดิมมาก่อน ซึ่งต้องบำเพ็ญบารมีนั้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานทีเดียว เสมือนการสะสมสตางค์ทีละสลึง กว่าจะได้เงินจำนวนเป็นล้านบาทนั้น ต้องใช้เวลามากเหลือเกิน

    [​IMG]ความ ที่อดทนหยอดลงกระปุกทีละสลึงอย่างนี้ เพื่อหวังให้ครบล้านบาท นั่นล่ะครับเป็นบารมีชนิดหนึ่ง (ในจำนวนสิบหรือทศบารมี) ซึ่งต้องใช้ความตั้งใจอย่างมาก แล้วต้องเป็นความตั้งใจที่แน่วแน่มั่นคงต่อเนื่องไม่ขาดตอน พูดได้ว่ามีปณิธานที่มั่นคงยิ่งเสียกว่าภูผาสิงขร ทั้งหนักแน่นและมั่นคง

    พระโพธิสัตว์จึงไม่จำเป็นต้องเป็นนักบวชหรือนักพรต หรือเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นใครที่ไหนก็ได้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและต่อเนื่อง ก็ย่อมได้ชื่อว่าพระโพธิสัตว์ เป้าหมายสูงสุดคือการได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพุทธะ เพียงแต่ตั้งใจอธิษฐานหรือตั้งปฏิญาณ(ปณิธาน) ต่อสิ่งที่ตนเชื่อมั่นหรือต่อจิตใจของตนเองว่า ปรารถนาจะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ โดยไม่เลือกว่าเป็นใคร , ที่ไหนและเวลาใด

    แล้วมีความจริงใจจริงจัง ด้วยความมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายเต็มเปี่ยมไม่ย่อท้อ ไม่หย่อนยาน ด้วยความมั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน ดังคำคมที่ว่า " ภูผาสิงขรไม่สั่นไหวด้วยแรงลมฉันใดแล้ว จิตเมตตาแห่งปณิธานโพธิสัตว์ ย่อมไม่สั่นไหวด้วยความสงสัยลังเลฉันนั้น" ปฏิบัติตนให้เป็นไปตามที่อธิษฐานจิต หรือปฏิญาณที่ได้ตั้งไว้แต่แรกเสมอไป

    คุณสมบัติต่อเนื่องของผู้เป็นโพธิสัตว์ ( สัตว์ผู้ประเสริฐมีความรู้เป็นเครื่องประดับ) จำต้องมีเป็นเบื้องต้นคือ ทศบารมี ( บารมี 10 ประการ) ผมจะขอยกอ้างเฉพาะหัวข้อที่สำคัญ ไม่แจกแจงลงไปในรายละเอียด ไม่ต้องการให้ยืดยาวมากความออกไป ทศบารมี ได้แก่

    1.) ทาน คือ การให้ปัน

    2.) ศีล คือ การประพฤติดีละชั่ว

    3.) ขันติ คือ ความอดทนอดกลั้น
    4.) วิริยะ คือ ความเพียรความพยายามโดยธรรม

    5.) สมาธิ คือ ความตั้งใจมุ่งมั่นในการบำเพ็ญญาณ

    6.) ปัญญา คือ ความรู้ความเห็น ในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็นจากการบำเพ็ญญาณ

    7.) อุบาย คือ ความฉลาดโดยธรรม ในการใช้ความรู้ความเห็นที่ได้มา

    ( ในคัมภีร์วิมลกีรติสูตรของมหายาน ให้ความสำคัญบารมีในสองข้อหลังนี้มาก(6. ปัญญา และ 7. อุบาย) ตีความ "อุบาย" ได้เท่ากับเป็น “ บิดา ” ของพระโพธิสัตว์ โดยมีปัญญาบารมีเป็น “ มารดา ” หากขาดซึ่งบารมีทั้งสองเสียแล้ว พระโพธิสัตว์ก็ย่อมอุบัติขึ้นมิได้ อุปมาว่าถ้าไม่มีพ่อไม่มีแม่ย่อมเกิดเป็นคนไม่ได้ฉันนั้น)

    [​IMG]ผู้ ที่มีปัญญาและอุบาย หรือพูดง่ายๆว่ามีความรู้และฉลาด ถ้ามีจิตแห่งความละโมบโลภมาก อิจฉาริษยา อาฆาตมาดร้ายเป็นกมลสันดาน ทะเยอทะยานอย่างบ้าๆ แทนที่จะทำประโยชน์เพื่อคนทั่วไป ก็จะใช้บารมีสองข้อนี้ เป็นไปเพื่อตนเองและพวกพ้อง ที่สุดก็จะนำมาซึ่งความอยุติธรรมแก่ผู้อื่นไม่สิ้นสุด

    ด้วยปัญญาและอุบายนั้น ก็จะทำให้ผู้คนจำนวนมาก ต้องได้รับความเดือดร้อน มีให้เห็นกันอยู่ทุกวันในทุกวงการ อย่างนี้ไม่มีวันเข้าใกล้ความเป็นโพธิสัตว์ได้เลย แม้ว่าสองประการนี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง แต่หากผู้ที่มีคุณสมบัติสองประการนี้ แต่ขาดซึ่งเมตตาแล้ว ปัญหาต่างๆก็จะตามมา ฉะนั้นพระโพธิสัตว์จึงต้องมีคุณธรรมในหมวดความเมตตาอยู่เป็นพื้นฐานเสมอ

    อุบายบารมีของพระโพธิสัตว์ จึงต้องตั้งมั่นอยู่บนฐานใหญ่คือปฏิญาณแต่แรก นั่นคือเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตากรุณาอันมั่นคง ไม่คลอนเคลน เป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขของผู้อื่นเป็นสำคัญ ซึ่งได้กล่าวอ้างไว้แล้วในตอนต้นนั่นเอง

    อีก 3 บารมีที่เหลือได้แก่

    8.) ปณิธานบารมี คือ ความมุ่งมั่นอันแรงกล้าที่จะพาสรรพสัตว์ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ข้ามให้พ้นห้วงทุกข์เพื่อเข้าสู่นิพพาน (น่าจะหมายถึงแดนสุขาวดีพุทธเกษตรมณฑล)

    9.) พลบารมี คือ ความพยายามและความมีเมตตาที่ได้สั่งสอนให้เกิดขึ้นแล้ว บำเพ็ญไว้ให้มีอยู่อย่างมั่นคงเสมอต้นเสมอปลาย ,

    10.) ญาณบารมี คือ ความรู้แจ้งเห็นจริงอย่างสมบูรณ์ในทุกสรรพสิ่ง ไร้ขีดขั้นจำกัด

    [​IMG]วิริยบารมีหรือความเพียร พระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวทรงพระราชนิพนธ์เผยแผ่มาแล้ว ด้วยทรงตระหนักถึงบารมีข้อนี้คือความเพียร ซึ่งพสกนิกรทั้งหลายควรให้ความสำคัญในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ความนั้นได้กล่าวถึง พระศากยมุนีพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็น พระมหาชนกโพธิสัตว์ เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี ( ความเพียรพยายามอันชอบด้วยธรรม) อันเป็นหนึ่งในทศชาติก่อนได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ

    หลังจากได้บำเพ็ญบารมี 10 ประการข้างต้นโดยสมบูรณ์แล้ว สภาวะแห่งจิตของพระโพธิสัตว์ก็จะเจริญเข้าสู่ ภูมิ 10 ( ไม่ใช่บารมีสิบ แต่เป็นอีกระดับหนึ่งสูงขึ้นไป มีสิบคุณสมบัติที่แยบยลเช่นกัน) พร้อมกับได้เจริญฌานให้สูงขึ้นเป็นลำดับไป

    แต่ด้วยภูมิ 10 นี้ที่ว่านี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พระโพธิสัตว์แตกต่างไปจากพื้นฐานเดิม ซึ่งบางคัมภีร์หรืออรรถกถาจารย์บางท่านก็เรียกพระโพธิสัตว์ในระดับนี้ว่า พระมหาสัตว์ คือ เหนือกว่าสัตว์ทั้งปวง มีบุญญฤทธิ์อิทธิฤทธิ์เป็นอเนกอนันต์ ได้ฌานบารมีในขั้นสูง
    คติของพระพุทธศาสนามหายานต่อ พระโพธิสัตว์ นั้น นอกจากการบำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ยังเป็นเสมือนผู้ช่วยเผยแผ่พระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าด้วย

    มีหน้าที่บำเพ็ญบารมีเพื่อสู่พุทธภาวะ, มีหน้าที่ช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์, มีหน้าที่ช่วยเหลือพุทธกิจของพระพุทธเจ้าคือ เผยแผ่พระสัทธรรม

    ในภูมิ 10 นั้น มีอยู่คุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้พระโพธิสัตว์แบ่งแยกออกเป็น 2 คุณลักษณะอย่างชัดเจน พระโพธิสัตว์ที่มุ่งบำเพ็ญบารมีด้วยการโปรดสรรพสัตว์นั้น หากมีปณิธานอันแรงกล้า ก็จะตั้งปฏิญาณว่า “ หากยังไม่บรรลุซึ่งหน้าที่ในการช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากห้วงทุกข์ ก็จะไม่ขอตรัสเป็นพระพุทธเจ้า ” หมายความว่าจะไม่ขอเสด็จเข้าสู่แดนพุทธภูมิ เพื่อบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า

    [​IMG]อย่างนี้เรียกว่า พระฌานิโพธิสัตว์ (หรือธยานิโพธิสัตว์ก็เรียก) มีพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ , พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์เป็นอาทิ

    ส่วนพระโพธิสัตว์ที่จะต้องบรรลุพระสัมมาสัมพุทธะเพื่อเป็นพระศาสดาให้พระพุทธศาสนาสืบต่อไปในโลกนั้น เรียกว่า พระมานุษิโพธิสัตว์ ซึ่งในพุทธศาสนาทุกนิกายและแทบทุกคัมภีร์ล้วนมีความสอดคล้องต้องกันว่า มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นคือ พระศรีอารยเมตตรัยมานุษิโพธิสัตว์ ซึ่งประทับบำเพ็ญพระบารมี ณ โลกธาตุสวรรค์ชั้นดุสิต

    ก็ที่คนไทยคุ้นเคยกันดีในรูปเคารพของพระสังกัจจายน์จีน หรือพระอ้วนพุงพลุ้ย นั่งยิ้มปากกว้างอย่างอารมณ์ดีนั่นล่ะครับ พระโพธิสัตว์พระองค์นี้จะเสด็จมาตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โปรดและสืบพระพุทธศาสนาต่อจากพระศากยมุนีพระพุทธเจ้าในมนุษย์โลก กาลข้างหน้าต่อไป

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหมายถึง ตรัสรู้ด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้บรรลุตามได้, ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัสรู้ด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถสอนผู้อื่นให้บรรลุตามได้ ตามคติพระพุทธศาสนาเชื่อว่าในกัลป์หนึ่งจะมีผู้ที่ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าได้เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ส่วนปัจเจกพุทธเจ้านั้นมีจำนวนมากมายแต่ละโลกธาตุ

    และพระโพธิสัตว์ที่จะจุติมาตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่อไป ก็คือพระศรีอารยเมตตรัยมนุษิโพธิสัตว์นั่นเอง

    ...................................................
     

แชร์หน้านี้

Loading...