อาการเวลานั่งสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เวิ้งว้าง, 23 มิถุนายน 2010.

  1. เวิ้งว้าง

    เวิ้งว้าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +177
    ดิฉันเพิ่งเริ่มนั่งสมาธิได้ไม่นานและมีอาการเวลานั่งเกิดขึ้นดังนี้

    1. พอนั่งไปสักพักรู้สึกเหมือนกำลังไต่ระดับขึ้นไปเหมือนขึ้นเครื่องบิน
    2. บางครั้งนั่งไปสักพักก็รู้สึกเหมือนมีโดนผลัก หรือกระโจนพรวดเข้าไปอีกที่หนึ่ง
    3. บางครั้งนั่งไปสักพักก็รู้สึกเหมือนตกจากที่สูงอย่างรวดเร็ว ดิ่งลงไปลึกเลย
    4. บางครั้งมีภาพบางอย่างเกิดขึ้นซึ่งเป็นภาพที่เราไม่เคยเห็นหรือคิดมาก่อน
    5. รู้สึกเหมือนลืมหายใจ (บางครั้งรู้ตัวและบางครั้งไม่รู้ตัว)
    6. รู้สึกตัวโงนเงน วืด ๆ เป็นช่วง ๆ เหมือนรถเบรค ในบางครั้ง

    ระหว่างอาการที่เกิดขึ้นนี้ก็ได้กำหนดยุบหนอพองหนอตลอดเวลา พยายามตั้งสติให้รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา

    และเมื่อเกิดเวทนาก็ได้ลองอดทนโดยไม่เปลี่ยนท่าซึ่งก็คิดเหมือนคุณว่าไม่มีใครนั่งสมาธิแล้วตาย ก็เลยลองทนปวดให้ถึงที่สุด แล้วในที่สุดมันก็ค่อย ๆ หายไป แล้วก็เกิดขึ้นมาอีก ตามที่หลวงพ่อจรัญกล่าวไว้ว่าทุกอย่างมีตั้งอยู่ ดับไป หลัง ๆ นี่ทนนั่งจนขาชาเริ่มไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดมากเท่าไหร

    รบกวนท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยแนะนำด้วยค่ะว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะอะไร
     
  2. agkavat

    agkavat สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +5
    อาการสมาธิ

    อาการที่กล่าวมาข้างต้นจากความรู้อันน้อยนิดในทางธรรมของกระผมที่ได้ฟังมา (อ้างอิงหลวงพ่อวิริยังค์) ท่านเรียกว่าปิติ ปิติคืออาการขนพองขนลุกกับอาการของการนั่งสมาธิ แต่ไม่น่ากลัว เท่าที่อ่านน่าจะอยู่ในสมาธิขั้นประถมฌาน หรือบางทีก็เรียกขนิกสมาธิแต่เวลาหลวงพ่อท่านกล่าวมักจะเรียกเป็นฌาน คือฌานมันจะละเอียดกว่าสมาธิ เอาเป็นว่าฌานขั้นที่ 1 สมาธิขั้นที่ 1 ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกคตา

    วิตกวิจาร คือ ยึดคำภาวณาเพื่อให้จิตรวม จะภาวนา พุทธ โท หรือ ยุบหนอ พองหนอ ก็ได้
    ปิติ จะเกิดขึ้นเมื่อจิตกำลังจะรวมเป็นหนึ่ง บางท่านอาจจะเกิดอาการตัวหมุน ตัวเบา เย็นวูบวาบ ทำให้เราแปลกใจ อิ่มเอิบแล้วแต่บุญกุศลนิสัยที่เคยฝึกปฏิบัติมาแต่อดีตไม่ต้องสนใจ ให้สนใจที่คำภาวนา เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าท่านกำลังก้าวเข้าสู่ฌานสมาธิขั้นที่ 1
    สุข ก็รู้สึกสบายกาย สบายใจ
    เอกคตา คือจิตรวม จิตไม่คิดไปนอกเหนือคำภาวนา
    เมื่อทำบ่อย ๆ ก็จะเลื่อนขึ้นสู่ ทุติฌาน สมาธิขั้นที่สอง ไม่ยึดคำภาวนา คำภาวนาเป็นเหมือนอุปกรณ์ช่วยในการทำสมาธิ เมื่อชำนาญแล้วก็ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการทำสมาธิ แต่สมาธิขั้นแรกที่ประกอบไปด้วย 5 อย่างนั้นต้องทำไปเรื่อยๆ อย่าเพิ่งทิ้งคำภาวนา เหมือนทานข้าวทานหลายคำก็จะอิ่มเอง แล้วสมาธิก็จะเลื่อนขึ้นสู่ขั้นสอง ที่เรียกว่าทุติฌาน ขั้นสองไม่ยึดคำภาวนาจิตก็รวมได้ ให้ยึดที่ลมหายใจรู้ว่าลมเข้าลมออก อาการของสมาธิ มีเพียง ปิติ สุข เอกคตา เท่านั้น แล้วเมือเข้าสู่ขั้นสองทำบ่อยๆ ก็จะเลื่อนขึ้นสู่ขั้น 3 ประกอบไปด้วย สุข เอกคตา อาการปิติจะหายไป ที่เป็นอาการตัวโยก เหมือนตกเหวต่างๆ ส่วนอาการลืมหายใจเคยฟังเรื่องราวที่หลวงปู่มั่นท่านเล่าคือจะเป็นกิเลสขั้นสูงที่จะมาทำลายสมาธิ เมื่อจิตเรารวมแล้วเราไม่หายใจทำให้เรากลัวตายถอนจิตออกมา เป็นแบบนี้บ่อยๆ สมาธิฌานก็ไม่ก้าวไปขั้นที่สูงขึ้นซักทีไม่ใช่สิ่งดีหรืออภินิหารอะไรนะครับ แต่เป็นกิเลสขั้นสูงระวังเอาไว้ให้ดีนะครับสำหรับผู้ที่กำลังฝึกสมาธิ ลองสังเกตุดูว่าท่านทำสมาธิได้ฌานขั้นไหนจากที่กระผมกล่าวมาตามที่ได้ฟังมา สมาธิฌานมีทั้งหมด 8 ขั้นนะครับ แต่ถ้าจะทำเพื่อตัดกิเลสทำถึงจัตุฌานก็พอ คือขั้นที่สี่ เมื่อได้กำลังแห่งสมาธิฌานแล้วค่อยวิปัสนาพิจารณาเพื่อให้เกิดความเบื่อหน่ายและละกิเลสได้ ถ้าทำเกินไปก็จะได้ฤทธิ์ได้เดชอะไรประมาณนั้น ตายไปก็ได้เป็นพรหมจากที่ได้ฟังมา กระผมเองก็เป็นบ่อยอาการตัวหมุนเหมือนตกเหวตอนแรกๆ หากไม่ถูกต้องประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ

    จากผู้มีความรู้ทางธรรมเพียงน้อยนิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2010
  3. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    เป็นอาการทั่วไปที่คล้ายๆกันกับหลายๆคน แต่หลายๆก็อาจจะเกิดคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน

    รวมแล้วเรียกกันว่าเป็นอาการที่บ่งบอกลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ตามระดับขั้นของสมาธิ
    เป็นสภาวะที่เกิดกับสมาธิในแต่ละระดับขั้น
    เราไม่ขอกล่าวว่าคืออะไรอยู่ตรงไหน
    แต่ที่สำคัญไม่ว่าจะเกิดขึ้นก็กำหนดรู้อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ทำเหมือนไม่ได้อะไรเลย นั่งแบบเซ็งๆเบื่อๆ มานั่งนับหายใจไปเรื่อยๆ และไล่ไปตามความเป็นจริงทุกๆอย่าง แต่ระวังจะหลอกตัวเองเข้าให้นะ อย่างนั้น

    ดีแล้วล่ะครับ อะไรเกิด มันก็ต้องดับ อยู่ดี พอดับ แล้วก็เกิดอีก เหมือนทุกข์กับสุข นี่แล..

    ปฏิบัติต่อไปนะครับ

    รายละเอียดสภาวะดังกล่าวเดี๋ยวจะมีคนอธิบายให้อย่างแน่นอน

    อนุโมทนาในการปฏิบัติครับ
     
  4. warinton

    warinton สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +17
    โมธนากับคุณด้วยนะ คนที่ปฏิบัติเท่านั้นที่จะรู้
     
  5. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677


    โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท

    เมื่อลงนั่งสมาธิถ้าเกิดนิมิตต่างๆ เช่น เห็นนางฟ้า เป็นต้น เมื่อเห็นอย่างนั้นให้เราดูเสียก่อนว่า จิตเป็นอย่างไร อย่าทิ้งหลักนี้ จิตต้องสงบจึงเป็นอย่างนั้น นิมิตที่เกิดขึ้น อย่าอยากให้มันเกิด อย่าไม่อยากให้มันเกิด มันมาก็พิจารณา พิจารณาแล้วอย่าหลง ให้นึกว่ามันไม่ใช่ของเรา นี่ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นกัน ถึงมันจะเป็นอยู่ก็อย่าเอาใจใส่มัน เมื่อมันยังไม่หายตั้งจิตใหม่ กำหนดลมหายใจมากๆ สูดลมเข้ายาวๆ หายใจออกยาวๆ อย่างน้อย ๓ ครั้งก็ตัดได้ ตั้งกำหนดใหม่เรื่อยไป
    สิ่งเหล่านี้อย่าว่าเป็นของเรา สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงนิมิต คือ ของหลอกลวงให้เราชอบ ให้เรารัก ให้เรากลัว นิมิตเป็นของหลอกลวงใจเรา มันไม่แน่นอน ถ้าเห็นแล้วอย่าไปหมายมัน ไม่ใช่ของเรา อย่าวิ่งตามนิมิต เห็นนิมิตให้ย้อนดูจิตเลย อย่าทิ้งหลักเดิม ถ้าทิ้งตรงนี้ไปวิ่งตามมัน อาจพูดลืมตัวเองเป็นบ้าไปได้ ไม่กลับมาพูดกับเรา เพราะหนีออกจากคอกแล้ว ให้เชื่อตัวเองแน่นอน เห็นอะไรมาก็ตาม ถ้านิมิตเกิดขึ้นมาดูจิตตัวเอง จิตต้องสงบมันจึงเป็น
    ถ้าเป็นมา ให้เข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้มิใช่ของเรา นิมิตนี้ให้ประโยชน์แก่คนมีปัญญา ให้โทษแก่คนไม่มีปัญญา ทำความเพียรไปจนเราไม่ตื่นเต้นในนิมิต มันอยากเกิดก็เกิด ไม่เกิดก็ไม่เกิด ไม่กลัวมัน เชื่อใจได้อย่างนี้ไม่เป็นไร ทีแรกเราตื่นของน่าดู มันก็อยากดู ความดีใจเกิดขึ้นมาอย่างนี้ก็หลง ไม่อยากให้มันดีมันก็ดี ไม่รู้จะทำอย่างไร ปฏิบัติไม่ถูกก็เป็นทุกข์ มันอยากดีใจก็ช่างมัน ให้เรารู้ความดีใจนั่นเองว่า ความดีใจนี้ก็ผิดไม่แน่นอนเช่นกัน แก้มันอย่างนี้ อย่าไปแก้ว่า “ไม่อยากให้มันดีใจ ทำไมจึงดีใจ” นี่ผิดอยู่นะ ผิดอยู่กับของเหล่านี้ ผิดอยู่ใกล้ๆ ไม่ได้ผิดอยู่ไกลหรอก อย่ากลัวนิมิต ไม่ต้องกลัว เรื่องภาวนานี้พอพูดให้ฟังได้ เพราะเคยทำมา ไม่รู้ว่าจะถูกหรือไม่นะ ให้เอาไปพิจารณาเอาเอง เอ้า พอสมควรละนะ.
     
  6. guaregod

    guaregod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    962
    ค่าพลัง:
    +1,009
    การเข้าสมาธิ มันจะไปปรับระบบการประมวลผลประสาทให้ทำงานช้าลง แต่ประสาทสัมผัสยังทำงานปกติ ก็เลยมีการสื่อสารทางระบบประสาทผิดเพี้ยนไปบ้าง เลยเกิดอาการต่างๆขึ้น
     
  7. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    ฝึกต่อไปนะครับแล้วจะดีเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...