อุเบกขา-อุเปกขา หมายความว่าอย่างไร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย คุณ วัชรพงษ์, 23 มีนาคม 2008.

  1. คุณ วัชรพงษ์

    คุณ วัชรพงษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +30
    [​IMG]
     
  2. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,938
    ในหลวงเคยถามหลวงพ่อชา ว่าอุเบกขาคือให้ วางเฉย ในเรื่องต่างๆหรือไม่

    หลวงพ่อชา ท่านตอบว่า "อุเบกขาคือความวางเฉยที่ต้องผ่าน เมตตา กรุณา มุทิตา มาก่อ่น"
     
  3. นิพพิทา2008

    นิพพิทา2008 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    346
    ค่าพลัง:
    +55
    <DL><DD>อุเปกขาสหคตทุกกุสลัตติกะ </DD></DL><DL><DD>[๑๗๒๑] อาศัยกุศลธรรมที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ มีวาระ ๖ เหมือนกับ </DD></DL>สัปปีติกทุกกุศล
    <DL><DD>คำว่าอุเบกขา ได้แก่อุเบกขาต่างๆ </DD></DL><DL><DD>ในปัจจนียะ ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙ </DD></DL><DL><DD>ในปัจจัยที่ไม่ใช่ฌานปัจจัย มีวาระ ๖ </DD></DL><DL><DD>[๑๗๒๒] อาศัยอกุศลธรรมที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ มีวาระ ๖ </DD></DL><DL><DD>[๑๗๒๓] อกุศลธรรมที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม อาศัยอกุศลธรรมที่เป็นอุเบกขาสหคต- </DD></DL>ธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย
    <DL><DD>อกุศลธรรมที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม อาศัยอกุศลธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม </DD></DL>เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย
    <DL><DD>อกุศลธรรมที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม อาศัยอกุศลธรรมที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม </DD></DL>และอกุศลธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย
    <DL><DD>[๑๗๒๔] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๓ </DD></DL><DL><DD>ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๙ </DD></DL><DL><DD>อกุศลก็พึงให้พิสดารในปัจจัยทั้งปวงอย่างนี้ เหมือนกับสัปปีติกทุกะ </DD></DL><DL><DD>[๑๗๒๕] อัพยากตธรรมที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมที่เป็นอุเบกขา- </DD></DL>สหคตธรรม ฯลฯ มีวาระ ๙ เหมือนกับสัปปีติกทุกอัพยากตะ
    <DL><DD>[๑๗๒๖] ในปัญหาวาร ในกุศล อกุศล ในอินทริยปัจจัย ในฌานปัจจัย </DD></DL>มีวาระ ๖ ในอัพยากตะ มีวาระ ๙
    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 1/1000000Post-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes#ifexist count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwikisource:pcache:idhash:12373-0!1!0!!th!2 and timestamp 20080321233612 -->
    <!-- end content -->
     
  4. นิพพิทา2008

    นิพพิทา2008 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    346
    ค่าพลัง:
    +55
    <!--emo&:113:-->[​IMG]<!--endemo--> อกุศลวิบากจิต 7 <!--emo&:113:-->[​IMG]<!--endemo-->



    อกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของอกุศลกรรม เป็นผลของฝ่ายชั่วฝ่ายบาปอกุศล
    ที่ได้สั่งสมที่ได้กระทำมาแล้วแต่อดีต จึงต้องมาได้รับผลเป็นอกุศลวิบากจิต
    อันเป็นผลที่ไม่ดี ๗ ดวงนี้



    [​IMG]



    ----------------------------------------------------------------


    อกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของบาปอกุศล ซึ่งมีจำนวน ๗ ดวงนั้น ได้แก่



    ๑. อุเปกฺขาสหคตํ อกุศลวิปากํ จกฺขุวิญฺญาณํ


    (อุ-เปก-ขา-สะ-หะ-คะ-ตัง อะ-กุ-ศะ-ละ-วิ-ปา-กัง จัก-ขุ-วิญ-ญา-ณัง)

    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล เห็นรูปที่ไม่ดี


    ๒. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ โสตวิญฺญาณํ

    (อุ-เปก-ขา-สะ-หะ-คะ-ตัง อะ-กุ-ศะ-ละ-วิ-ปา-กัง โส-ตะ-วิญ-ญา-ณัง)

    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้ยินเสียงที่ไม่ดี


    ๓. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ ฆานวิญฺญาณํ

    (อุ-เปก-ขา-สะ-หะ-คะ-ตัง อะ-กุ-ศะ-ละ-วิ-ปา-กัง ฆา-นะ-วิญ-ญา-ณัง)

    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้กลิ่นที่ไม่ดี




    อกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของบาปอกุศล มีจำนวน ๗ ดวง ดวงที่ ๔,๕,๖,๗ ได้แก่


    ๔. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ

    (อุ-เปก-ขา-สะ-หะ-คะ-ตัง อะ-กุ-ศะ-ละ-วิ-ปา-กัง ชิว-หา-วิญ-ญา-ณัง)

    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้รสที่ไม่ดี


    ๕. ทุกฺขสหคตํ อกุศลวิปากํ กายวิญฺญาณํ

    (อุ-เปก-ขา-สะ-หะ-คะ-ตัง อะ-กุ-ศะ-ละ-วิ-ปา-กัง กา-ยะ-วิญ-ญา-ณัง)

    จิตเกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา เป็นผลของอกุศล กายถูกต้องสิ่งที่ไม่ดี


    ๖. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ สมฺปฏิจฺฉนจิตฺตํ

    (อุ-เปก-ขา-สะ-หะ-คะ-ตัง อะ-กุ-ศะ-ละ-วิ-ปา-กัง สัม-ปะ-ฏิจ-ฉะ-นะ-จิต-ตัง)

    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล รับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี


    ๗. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ สนฺตีรณจิตฺตํ

    (อุ-เปก-ขา-สะ-หะ-คะ-ตัง อะ-กุ-ศะ-ละ-วิ-ปา-กัง สัน-ตี-ระ-ณะ-จิต-ตัง)

    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี
     
  5. นิพพิทา2008

    นิพพิทา2008 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    346
    ค่าพลัง:
    +55
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" border=0 marginheight="0" marginwidth="0"><TBODY><TR vAlign=top><TD class=tdNorm align=left bgColor=#f1efee>อเหตุกกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของกุศลกรรม หรือจิตที่เกิดจากอำนาจของกุศลเจตนาในมหากุศลจิต ๘ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต แต่เพราะความบกพร่องแห่งเจตนาในกาลทั้ง ๓ คือ เจตนาก่อนทำกุศล เจตนาขณะทำกุศลและเจตนาภายหลังที่ทำกุศลกรรมนั้นแล้วกาลใดกาลหนึ่ง จึงทำให้ผลแห่งเจตนานั้นมีกำลังอ่อน และให้ผลเป็นอเหตุกะ คือเป็นจิตที่ไม่มีเหตุบุญ หรือกุศลเหตุ อันได้แก่อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ อันเป็นสัมปยุตเหตุ หากแต่เกิดขึ้นด้วย อุปัตติเหตุเท่านั้น ท่านจึงตั้งชื่อจิตชนิดนี้ว่า “อเหตุกกุศลวิบากจิต” ซึ่งปรากฏขึ้นเป็นผลของกุศลกรรมในอดีตมี ๘ ดวง คือ
    [​IMG]๑. อุเปกฺขาสหคตํ กุศลวิปากํ จกฺขุวิญฺ[​IMG]าณํ
    [​IMG][​IMG]จิตที่เกิดขึ้นทางตาที่ได้เห็นรูปที่ดี โดยรู้สึกเฉย ๆ (จักขุวิญญาณจิต)
    [​IMG]๒. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ โสตวิญ[​IMG]าณํ
    [​IMG][​IMG]จิตที่เกิดขึ้นทางหูที่ได้ยินเสียงที่ดี โดยรู้สึกเฉย ๆ (โสตวิญญาณจิต)
    [​IMG]๓. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ ฆานวิญฺ[​IMG]าณํ
    [​IMG][​IMG]จิตที่เกิดขึ้นทางจมูกที่ได้กลิ่นที่ดี โดยรู้สึกเฉย ๆ (ฆานวิญญาณจิต)
    [​IMG]๔. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ ชิวฺหาวิญฺ[​IMG]าณํ
    [​IMG][​IMG]จิตที่เกิดขึ้นทางลิ้นที่ได้ลิ้มรสที่ดี โดยรู้สึกเฉย ๆ (ชิวหาวิญญาณจิต)
    [​IMG]๕. สุขสหคตํ กุสลวิปากํ กายวิญฺ[​IMG]าณํ
    [​IMG][​IMG]จิตที่เกิดขึ้นทางกายที่ได้กระทบสิ่งที่ดี โดยรู้สึกเป็นสุข (กายวิญญาณจิต)
    [​IMG]๖. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ สมฺปฏิจฺฉนฺนํ
    [​IMG][​IMG]จิตที่เกิดขึ้นโดยรับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดีนั้น โดยรู้สึกเฉย ๆ (สัมปฏิจฉันนจิต)
    [​IMG]๗. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ สนฺตีรณํ
    [​IMG][​IMG]จิตที่เกิดขึ้นพิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดีนั้น โดยรู้สึกเฉย ๆ (อุเบกขาสันตีรณจิต)
    [​IMG]๘. โสมนสฺสสหคตํ กุสลวิปากํ สนฺตีรณํ
    [​IMG][​IMG]จิตที่เกิดขึ้นพิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดีนั้น โดยรู้สึกยินดีมาก (โสมนัสสันตีรณจิต)
    [​IMG]เกี่ยวกับอเหตุกจิตนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า อเหตุกกุศลวิบากมีถึง ๘ ดวง มากกว่าอกุศลวิบาก ๑ ดวง คือ โสมนัสสันตีรณจิต ทั้งนี้ก็เพราะว่าสันตีรณจิตเป็นจิตที่พิจารณาอารมณ์และอารมณ์ที่พิจารณานั้นมี ๒ ชนิด คือ
    [​IMG]๑. อิฏฐมัชฌัตตารมณ์ อารมณ์ที่ดีอย่างธรรมดา
    [​IMG]๒. อติอิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ดียิ่ง
    [​IMG]สันตีรณกุศลวิบากจิตนั้น เมื่อเวลาได้รับอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับอุเบกขาเวทนา จึงมีชื่อเต็มของจิตดวงนี้ว่า “อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากจิต” แต่เมื่อได้อติอิฏฐารมณ์ ก็ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับโสมนัสสเวทนา กุศลวิบากจิตดวงนี้จึงมีชื่อเต็มว่า “โสมนัสสกุศลสันตีรณวิบากจิต
    [​IMG]ส่วนสันตีรณอกุศลวิบากจิต เมื่อได้รับ อนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่ดีอย่างธรรมดาหรือได้รับ อติอนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่ดีมาก ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับอุเบกขาเวทนาอย่างเดียว ไม่อาจเกิดพร้อมกับโทมนัสสเวทนาได้ เพราะโทมนัสสเวทนานั้นจะต้องเกิดขึ้นกับโทสมูลจิตเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าโทสมูลจิตนั้น เมื่อว่าตามชาติตระกูลของจิตแล้ว ก็เป็นอกุศลชาติและเมื่อว่าโดยเหตุแล้ว ก็เป็นสเหตุกจิตชนิดที่ประกอบด้วยอกุศลเหตุ คือ โทสเหตุ และโมหเหตุ แต่ สันตีรณจิตนี้เป็นจิตที่เป็นวิบากชาติอย่างเดียวคือ เป็นจิตที่เป็นผล ไม่ใช่ชนิดที่เป็นเหตุและยังเป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุใด ๆ อีกด้วย
    [​IMG]เพราะฉะนั้น อกุศลวิบากสันตีรณจิต ถึงแม้จะรับอารมณ์ที่เป็น อติอนิฏฐารมณ์ ก็เกิดพร้อมกับโทมนัสสเวทนาไม่ได้เลย ต้องเกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เองอกุศลวิบากจิตจึงมีเพียง ๗ ดวง น้อยกว่าอเหตุกกุศลวิบากจิตอยู่ ๑ ดวง
    [​IMG]ในการเรียกชื่ออเหตุกจิตนี้ อาจจะมีผู้สงสัยว่า “เพราะเหตุไร อกุศลวิบากจิต จึงไม่มีคำว่า “อเหตุก” นำหน้าเหมือนอเหตุกกุศลวิบากจิตทั้ง ๆ ที่เป็นอเหตุกจิตเหมือนกัน ข้อนี้ขอเฉลยว่า กุศลวิบากจิต (จิตที่เป็นผลของกุศล) มีอยู่ถึง ๒ ประเภท คือ มหากุศลวิบากจิตและอเหตุกกุศลวิบากจิต ถ้าไม่มีคำว่า “มหา” หรือ คำว่า “อเหตุก” ไว้ข้างหน้าแล้ว การเรียกชื่อกุศลวิบากจิตทั้ง ๒ ประเภทนี้ก็อาจจะเหมือนกันได้ ส่วนอกุศลวิบากจิตนั้นมีเพียงอย่างเดียว ไม่มีมหาอกุศลวิบากจิต จึงไม่จำเป็นต้องใส่อเหตุกเข้ามาไว้ข้างหน้าว่า “อเหตุกกุศลวิบากจิต” และการที่อกุศลวิบากจิตมีเพียงอย่างเดียว ไม่มีมหาอกุศลวิบากจิตเหมือนอย่างฝ่ายมหากุศลวิบากจิตนั้น ก็เพราะว่าจิตฝ่ายอกุศลนั้น มี อุทธัจจะ อันเป็นอกุศลเจตสิกเกิดร่วมอยู่ด้วยทุกดวง จึงไม่อาจจะมีกำลังมากได้ เนื่องจากอุทธัจจะเป็นเจตสิกที่ทำให้จิตกำลังอ่อน
    [​IMG]อนึ่ง จักขุวิญญาณจิต โสตวิญญาณจิต ฆานวิญญาณจิต ชิวหาวิญญาณจิต และกายวิญญาณจิต ฝ่ายกุศลวิบาก ๕ ดวง และฝ่ายอกุศลวิบาก ๕ ดวง รวม ๑๐ ดวงนี้ นิยมเรียกกันว่า “ทวิปัญจวิญญาณ” ซึ่งแปลว่า “ปัญจวิญญาณจิตทั้งคู่” คือจิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี ฝ่ายละ ๕
    <TR vAlign=top><TD class=tdNorm align=left bgColor=#f1efee></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. คุณ วัชรพงษ์

    คุณ วัชรพงษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +30
    แล้วอุเบกขาเป็นคุณลักษณะของอะไร
     
  7. คุณ วัชรพงษ์

    คุณ วัชรพงษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +30
    อุเบกในความเข้าใจของคุณคือ วางเฉย นิ่งเฉย เพ่งเฉย หรือนิ่งอยู่เฉยๆใช่มั้ย
     
  8. นิพพิทา2008

    นิพพิทา2008 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    346
    ค่าพลัง:
    +55
    วางเฉยคือปล่อยวางไม่ยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งทั้งปวงที่เราไม่สามารถจะควบคุม หรือบัญชาให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้ แต่หลังคารั่วก็ต้องซ่อม เงินหมดก็ต้องหา
    ป่วยก็กินยา งานมาก็ต้องทำ จะมานอนวางเฉยอยู่ไม่ได้ เคยได้ยินหลวงตามหาบัวบอกว่าอย่างนี้เรียกอุเบกขาควาย
     
  9. คุณ วัชรพงษ์

    คุณ วัชรพงษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +30
    สมีปัง อิกขตีติอุเปกขา
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ในด้านสมาธิ
    ------------
    เคยเลี้ยงลูกบาสให้อยู่บนนิ้วมือใหม การที่เราตอบรับวิตก วิจาร การสัดส่าย
    ของลูกบอลจนกระทั่งมันรวมลงมาที่จุดเดียว ทรงตัวอยู่ได้ ทั้งที่ยังมีการสัด
    ส่ายอยู่ มากบ้าง น้อยบ้าง นิ่งบ้าง(ไม่หลุดออกจากจุดสมดุล) นั้นแหละ

    นิ่ง เฉย แต่ไม่ได้เพราะทุกอย่างมันนิ่ง วัตถุไม่ได้นิ่ง รูปไม่ได้นิ่ง แต่ อารมณ์
    ตื่น ตกใจ สงสัย หงุดหงิด เหนื่อย อยาก (นิวรณ์ 5) มันไม่มารบกวน เราก็
    เลี้ยงลูกบอลได้
     
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ในด้านวิหารธรรม
    ----------------
    เคยเห็นนกไม้ของฟรั่งที่เอาปากจรดฐานแต่ทรงตัวอยู่ได้ไหม

    [​IMG]

    เปรียบปีกข้างหนึ่งเป็น เมตตา อีกข้าง เป็น กรุณา ที่โอบอุ้มสรรพสัตว์ได้
    และหางเป็น มุทิตา ที่คอยคัดท้ายไม่ให้หน้าคว่ำเพราะปีกที่ส่งไปข้างหน้า
    มากเกินไป เมื่อทุกอย่างสมดุลย์ มันก็นิ่ง ไม่ใช่นิ่งเพราะไม่ได้ไม่มี
    เมตตา กรุณา มุทิตา ประกอบอยู่

    นิ่งแบบไม่มีเมตตา กรุณา มุทิตา ประกอบอยู่ ไม่เรียกอุเบกขา

    เช่น

    เราเดินผ่านขอทาน ถ้าตาเรามองกระทบจิตกระเพื่อม เมตตา กรุณา มุทิตา มัน
    ประกอบอยู่ แต่อาจจะเกิด หรือไม่เกิดกริยา ไม่ว่าอย่างไร จะต้องไปจบที่
    อุเบกขา

    แต่ถ้าเราผ่านขอทาน เตะถ้วยเขาแล้วก็เฉย อันนี้เรียกว่ามีอุเบกขาเหมาะหรือไม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2008
  12. คุณ วัชรพงษ์

    คุณ วัชรพงษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +30
    อันนี้เขาเรียก "ตุณฮี" ครับไม่ใช่อุเบกขา "ตุณฮีภาวะ"
     
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ตุณฮี

    ไม่แปลกใจที่คนไทยไม่ยืมคำนี้ไปใช้ ยอมใชอุเบกขาอย่างผิดๆ มันดูดีกว่า
    คำมันแปลกๆ เกินไป ไม่เคยมีการใช้เลย พึ่งได้เห็นวันนี้
     
  14. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    อุเบกขา ในที่นี้ หมายถึงจิต นิ่ง

    ไม่ยินดีหรือ ยินร้ายกับสถานะการณ์ใดที่เข้ามาปะทะ

    สงบทั้งกาย วาจา ใจ และเมื่อมี ข้อขัดเเย้งก็สามารถแก้ไขปัญหา ด้วยปัญญา

    ไม่ใช่วางเฉย แล้วแข็งทื้อ เหมือน สากเบือคะ

    อันนั้นไม่ใช่อุเบกขา อันนั้น มีแต่ตัวเเต่ ขาดสติ
     
  15. คุณ วัชรพงษ์

    คุณ วัชรพงษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +30
    รูปวิเคราะห็ของ อุเบกขาคือ สมีปัง อิกขตีติ อุเปกขา (ปัญญา) แปลว่า ปัญญาใดย่อมมองดูอยู่อย่างใกล้ชิด เหตุนั้น ปัญญานั้น ชื่อว่าอุเปกขา (ปัญญาที่เฝ้าสังเกตุดูอยู่อย่างใกล้ชิด) หรือจะแปลว่า ปัญญาใดที่เฝ้าพิจารณาดูอยู่อย่างใกล้ชิด ปัญญานั้นชื่อว่าอุเปกขา หรือจะตั้งรูปวิเคราะห์ว่า อิกขนัสส สมีปัง อุเปกขา (ปัญญา) แปลว่าที่ใกล้แห่งการเฝ้าดู ดังนั้น อุเปกขา ชื่อว่า ปัญญาที่เฝ้าสังเกตุดูอยู่อย่างใกล้ๆ หรือปัญญาที่เฝ้าสังเกตุการณ์ดูอยู่อย่างละเอียด
     

แชร์หน้านี้

Loading...